เรามักจะคุ้นเคยกับการมี "วันเด็กแห่งชาติ" เพื่อเป็นการแสดงถึงความสำคัญกับเด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติ แต่กับเรื่องราวของ "คนแก่" หรือ ผู้สูงอายุ มักจะละเลยหรือลืมเลือนกัน ทั้งที่คนชรานั้นได้สร้างคุณประโยชน์มหาศาลแก่ประเทศชาติไม่แพ้วัยอื่นในช่วงระยะเวลาที่ยังเป็นหนุ่มเป็นสาว
เพื่อให้คนทั้งหลายระลึกถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ จึงได้กำหนดวันสำคัญขึ้นอีกวันในปฏิทินของสากลโลก คือ "วันผู้สูงอายุสากล" ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปีผู้สูงอายุไม่ว่าจะอยู่ประเทศไหนคนเหล่านั้นล้วนสร้างคุณประโยชน์มากมายจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
สำหรับประเทศไทย รู้หรือไม่ว่าอีก 15 ปี ข้างหน้า ตัวเลขผู้สูงอายุในเมืองไทยจะพุ่งสูงขึ้นอีกเท่าตัวของปัจจุบัน เพราะคนที่เกิดช่วงปี 2506 ถึง 2526 เป็นช่วงที่มีคนเกิดมากกว่าปกติ จนถูกเรียกว่า "ยุคเบบี้บูม" จึงทำให้อีก 15 ปีข้างหน้า คนยุคนี้จะแก่กันหมด!!!
ทุกวันนี้ปัญหาของคนแก่จำนวนมาก คือการถูกทอดทิ้ง บางคนถึงแม้จะอยู่กับลูกหลานแต่ก็เหมือนถูกทิ้ง เพราะไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอ ส่วนมากจะเกิดจากความไม่เข้าใจของลูกหลานนั่นเอง
จากการศึกษาวิจัยของหน่วยงานประชากรศาสตร์ พบว่าคนแก่จำนวนมากไม่ต้องการเป็นภาระของลูกหลาน จึงไม่เรียกร้องถึงความต้องการของตัวเอง อย่างไรก็ตามภาครัฐได้มองเห็นความสำคัญ จึงได้กำหนดแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ.2545 ถึง 2564 ในหมวดที่ 2 ว่าด้วยยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมผู้สูงอายุ โดยมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมปลอดภัย
แต่ที่ผ่านมาการศึกษาวิจัยเรื่องสภาพที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุแทบไม่ค่อยได้รับความสนใจจากลูกหลาน ญาติพี่น้อง น้อยคนจะปรับเปลี่ยนสภาพบ้านเรือนให้เหมาะกับผู้สูงอายุ
ทั้งที่ผู้สูงอายุหลายคนมีปัญหาทางกายภาพกับที่อยู่อาศัย ปัญหาที่พบบ่อย คือ หกล้ม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของห้องน้ำ ห้องส้วม ทางเดินตามจุดต่างๆ ภายในบ้าน
นั่นแสดงว่าที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตประจำวัน *ไตรรัตน์ จารุทัศน์* อาจารย์ประจำภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ ได้ศึกษาวิจัยจนมีผลงานเรื่อง "มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับที่พักอาศัย และสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุ"
เป็นงานวิจัยที่เนื้อหาครอบคลุมทางกายภาพและจิตใจของผู้สูงอายุ พร้อมทั้งตัวอย่างแบบแปลนห้องต่างๆของที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุด้วย งานนี้ได้รับการสนับสนุนจาก *สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย*(สกว.) *สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ*(สสส.) และ *มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ*(มสช.)
อาจารย์ไตรรัตน์เอ่ยถึงคอนเซปต์ของงานวิจัยนี้ ว่าแนวคิดเรื่องของคนพิการกับผู้สูงอายุเป็นอย่างเดียวกัน คือ อย่าตราหน้าว่าเขาเป็นคนพิการ หรือเป็นคนแก่แล้วต้องเข้าไปช่วยเหลือทุกอย่าง เพราะบางครั้งเขาไม่อยากเป็นภาระใคร ดังนั้นควรสร้างสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้เขาช่วยตัวเองได้มากที่สุด
"ทำอย่างไรก็ได้ให้เขารู้สึกภาคภูมิใจในการใช้ชีวิตตามปกติ" คือคอนเซ็ปต์ที่อาจารย์ไตรรัตน์กล่าวถึง การทำวิจัยของคณะนี้ใช้เวลาทั้งหมด 18 เดือน โดยสุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุทั่วประเทศประมาณ 400 คน ตั้งแต่การสอบถามประวัติ เช่น ใช้ชีวิตอยู่อย่างไร อยู่กับใคร บ้านที่อยู่เป็นอย่างไร มีการเจ็บป่วยบ้างหรือไม่ เป็นต้น
จากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่เนื้อหา คือทดสอบให้ลองใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น สวิตช์ ปลั๊กไฟ ก๊อกน้ำ ทางเดิน ราวจับ ลูกบิดประตู เพื่อทดสอบว่าเหมาะสมกับการใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง และมีอุปกรณ์อะไรที่ไม่เหมาะบ้าง
ต่อมาเป็นการวัดร่างกาย เพราะคนเราเมื่อแก่ไปร่างกายจะมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ 71 จุด เช่น ความสูง น้ำหนัก รอบเอว ระยะการเอื้อมต่างๆ เป็นต้น
"ที่เราสนใจทางร่างกาย เพราะปกติแล้วเราพบว่าผู้สูงอายุมักจะหลังค่อมและเตี้ยลง การเดินจะช้าลง เวลาเราพูดถึงการออกแบบในบ้านส่วนใหญ่จะใช้มาตรฐานการออกแบบจากหนังสือของฝรั่ง ตั้งแต่ความสูงประตู หน้าต่าง แม้กระทั่งบันไดที่เราก้าวเดิน เพราะฉะนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงให้ความสนใจความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายด้วยเพราะเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับการออกแบบก่อสร้างบ้านผู้สูงอายุ"
ปัญหาที่พบ คือในเมืองไทยไม่ว่าจะผลิตผลิตภัณฑ์อะไรออกมาก็ตาม จะมีเกณฑ์วัดแค่คนอายุ 17-49 ปี เท่านั้น เพราะกลุ่มนี้คือกลุ่มผู้บริโภคหลัก
ดังนั้น งานสร้างของคณะวิจัยชุดนี้ ข้อมูลในการวัดร่างกาย 71 จุดจึงมีความสำคัญในเชิงการผลิตผลิตภัณฑ์มาก เพราะเหมาะกับคนไทยโดยเฉพาะ
อาจารย์ไตรรัตน์ อธิบายว่าข้อมูลหลักของผลวิจัยชิ้นนี้ แยกเป็นชาย และหญิง การวัดร่างกายจะมีท่ายืน ความสูง การเอื้อม เช่น เราอยากจะรู้ว่าผู้สูงอายุไทยเอื้อมจับเคาน์เตอร์ได้สูงสุดแค่ไหน เพราะว่าที่ผ่านมามีผู้สูงอายุหกล้มในบ้านจำนวนตัวเลขสูงมาก สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะการเอื้อม หากสูงเกินไปไม่สามารถเอื้อมได้ก็จะก้าวพลาด
ส่วนการนั่ง การเดิน ผู้สูงอายุจะมีลักษณะการเดินเป็นพิเศษ คือ เดินแบบก้าวทับก้าว สังเกตดูว่าจะเป็นก้าวซ้าย แล้วเอาเท้าขวามาหาเท้าซ้าย แล้วค่อยเดินอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นการเดินแบบนี้จะมีผลเรื่องการออกแบบ เช่น ขั้นบันไดควรจะกว้างขึ้น
"บันไดปกติกฎหมายจะบังคับความกว้างที่ 25 เซนติเมตร แต่ควรออกแบบให้กว้างกว่านั้น ความสูงของบันได กฎหมายให้ถึงได้ 18 เซนติเมตร แต่พอแก่ไปจะก้าวได้ไม่สูงนัก ความสูงของบันไดที่เหมาะควรประมาณ 13 เซนติเมตร"
ที่ลืมไม่ได้ คือ ส้วม คนส่วนใหญ่มักจะซื้อที่นั่งขาลอยให้พ่อแม่ใช้นั่งกับส้วมนั่งยองเดิม แต่จากการวัด ปรากฏว่าที่นั่งขาลอยนั้นสูงเกินไป เพราะฉะนั้นความสูงจากพื้นถึงระยะก้นตรงที่นั่งควรประมาณ 42 เซนติเมตรกำลังดี จะลุกนั่งแบบสบายๆ ถ้าเตี้ยมากอาจจะลุกไม่ขึ้น
"การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายให้สังเกตง่ายๆ คือ อะไรที่เป็นในแกน X (แนวนอน) จะเพิ่มขึ้น ส่วนแกน Y (แนวตั้ง) จะลดลง"
*สรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือ คนแก่จะ อ้วนขึ้น และ เตี้ยลง*
ดังนั้นในการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับแกนนอน ควรจะกว้างขึ้นด้วย อย่างเช่น ประตู ทางลาดที่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยไม่ว่าจะเป็นเท้าแขน มือจับ หรือ รถเข็นก็ควรจะกว้างเกิน 90 เซนติเมตร
ทางลาดของคนแก่ควรใช้สัดส่วน 1:12 ถ้าพื้นสูง 10 เซนติเมตร ต้องมีทางลาดยาวไปถึง 120 เซนติเมตร การเข็นรถเข็นจะได้ง่าย และทางลาดต้องใช้วัสดุต่างสัมผัส มองแล้วรู้ว่าต่างกันระหว่างพื้นเรียบ กับพื้นลาด
ส่วนราวจับควรจะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เซนติเมตร ความสูง 80 เซนติเมตร แล้วราวจับที่ดีไม่ได้มีแค่ตรงบันได ควรจะเลยจากขั้นสุดท้ายไปประมาณ 30 เซนติเมตรเป็นอย่างน้อย จะได้มีระยะจับได้
ลูกบิดประตูบ้าน ปกติยังคุ้นเคยกับลูกบิดกลมๆ แต่คนแก่พอร่างกายเสื่อมถอยลงไปแล้ว จะไม่มีแรงบิด ดังนั้นควรจะใช้เป็นแบบก้านโยกจะเหมาะกว่า แต่ที่เมืองไทยผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังแพงและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
สำหรับระยะเอื้อมควรจะลดลง ปลั๊กไฟควรจะสูงกว่าปกติ ในขณะที่สวิตช์ต้องต่ำลง จะให้ดีตัวหน้ากากกับตัวสวิตช์ควรเป็นคนละสี เคาน์เตอร์ก็ไม่ควรกว้างเกิน 50 เซนติเมตร เป็นต้น
แม้กระทั่งระยะในการมอง ผู้สูงอายุเวลานั่งอยู่จะชอบมองออกไปข้างนอก เพราะฉะนั้นประตูหน้าต่างให้ความสูงลดลง และข้างล่างควรจะลึกขึ้นเพื่อให้มองเห็นแสงเห็นสิ่งแวดล้อมภายนอกได้
อาจารย์ไตรรัตน์ บอกว่า การเปลี่ยนแปลงควรให้ผู้สูงอายุได้อยู่ที่เดิม ไม่ควรย้ายไปสร้างที่อยู่ให้ใหม่โดยเฉพาะ เพราะถึงแม้จะออกแบบตามหลักการ แต่คนแก่มักจะมีเรื่องสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย บางคนถ้าย้ายจะป่วยทันที เพราะเหมือนขาดอะไรบางอย่างทั้งทางสังคมและจิตใจ
"ถึงแม้จะมีหลักการในการออกแบบสร้างบ้านสำหรับผู้สูงอายุอย่างที่กล่าวมา ขาดไม่ได้คือควรจะจัดเอาเฟอร์นิเจอร์เก่าไว้ให้เหมือนวันวานที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกคุ้นเคย เพราะการปรับตัวของผู้สูงอายุปรับตัวได้ยาก ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด ทางที่ดีควรปรับปรุงบ้านที่อยู่อาศัยเดิมแล้วให้ย้ายห้องมาอยู่ชั้นล่าง ส่วนที่เหลือก็สร้างตามหลักเกณฑ์"
การศึกษาวิจัยชิ้นนี้ หากจะคาดหวังในแง่ของการปฏิบัติอาจจะเป็นไปได้ยากสำหรับในบ้านเมืองไทย จะด้วยปัจจัยหลายอย่าง ทั้งเรื่องงบประมาณ และทัศนคติ ความรู้สึกที่ยังไม่มีการปลูกฝังให้เห็นถึงความสำคัญของคนแก่เท่าที่ควร
ถึงกระนั้นการวิจัยก็เป็นการเริ่มต้นที่ให้ความหวัง ว่านโยบายหรือแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้สูงอายุในเมืองไทยอาจได้รับความใส่ใจมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
ที่มา:http://www.thaihomemaster.com/showinformation.php?TYPE=11&ID=600
รับสร้างโรงงาน,รับออกแบบโรงงาน,รับเหมาก่อสร้าง,ผู้รับเหมา,รับเขียนแบบโรงงาน,แบบแปลนโรงงาน ตลอดจนรับเ
รับออกแบบอาคารทุกประเภท ยินดีให้คำปรึกษาฟรี
สนใจติดต่อมือถือ 0867431141 (คุณบี) ไอดีไลน์ @baanthaidd
รับออกแบบบ้านและอาคาร พร้อมให้คำแนะนำ เทคนิคดีๆ โดยคุณบี โทร 0867431141
แนะนำเทคนิคการออกแบบ ก่อสร้าง มากมาย โดยคุณบี
รับออกแบบบ้านและอาคารทุกประเภท
แบบบ้าน...(คลิกเข้าดู)
แบบโรงงาน แบบโกดัง แบบคลังสินค้า...(คลิกเข้าดู)
แบบสำนักงาน แบบออฟฟิศ...(คลิกเข้าดู)
แบบทาวน์โฮม แบบทาวเฮาส์ แบบอาคารพาณิชย์...(คลิกเข้าดู)
บริการฝึกอบรม คอร์สเรียนทั้งหมด...(คลิกเข้าดู)
เข้าชม ผลงานออกแบบ พร้อม เทคนิคก่อสร้างมากมาย โดยคุณบี คลิกลิงก์ http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/p/0867431141_21.html
ยินดีให้คำปรึกษาฟรี!! สอบถามได้ตลอดครับ ยินดีมากๆ
ติดต่อ คุณบี ได้ที่
โทรศัพท์มือถือ : 0867431141
Inbox: m.me/baanthaidd
Line: line052014 หรือแชทผ่านไลน์ คลิ๊กลิงค์ https://line.me/ti/p/P3J0gN59SF
Line@: @baanthaidd (ใส่ @ ด้วยนะครับ) หรือแชทผ่านไลน์ คลิ๊กลิงค์ https://lin.ee/sqYYLM6
อีเมล : baanthaidd@gmail.com
เว็บไซต์ : http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/
รับออกแบบบ้านและอาคาร
ยินดีให้คำปรึกษาฟรี!! ตอบ-คำถาม โดยคุณบี สอบถามได้ตลอดครับ... ยินดีมากๆ
บริการ รับออกแบบบ้านและอาคาร เขียนแบบเพื่อขออนุญาตก่อสร้าง พร้อมยื่นขอใบอนุญาต สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร(กทม) เทศบาล อบต. กนอ. นิคมอุตสาหกรรม แบบ.ข1 แบบ.อ1 แบบ.อ6 แบบ.รง.4 แบบ.รง.3 แบบ.น2 แบบ.น4
บริการถอดแบบประมาณราคา (BOQ) เพื่อขอสินเชื่อ ยื่นกู้ธนาคาร
รับออกแบบ เขียนแบบ ขายแบบแปลนพิมพ์เขียว แบบอพาร์ทเม้นท์ แบบคอนโด แบบรีสอร์ท แบบโรงแรม แบบหอพัก แบบบ้าน แบบโรงงาน แบบโกดัง แบบโรงแรม แบบรีสอร์ท แบบอาคารพาณิชย์ แบบทาวน์เฮ้าส์ แบบสำนักงาน แบบก่อสร้างอาคารทุกชนิด
บริการรับออกแบบอาคารพร้อม รับเซ็นต์แบบ รับเซ็นต์ควบคุมงาน โดย วุฒิวิศวกรโยธารับเซ็นต์แบบ สามัญสถาปนิกรับเซ็นต์แบบ วุฒิสถาปนิกรับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรโยธารับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรไฟฟ้ารับเซ็นต์แบบ วุฒิวิศวกรไฟฟ้ารับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรเครื่องกลรับเซ็นต์แบบ วุฒิวิศวกรเครื่องกลรับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรอุตสาหการรับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรสิ่งแวดล้อมรับเซ็นต์แบบ
รับออกแบบพร้อมก่อสร้าง รับสร้างอพาร์ทเม้นท์ รับสร้างคอนโด รับสร้างโรงแรม รับสร้างหอพัก รับสร้างบ้าน รับสร้างโรงงาน รับสร้างโกดัง รับสร้างสำนักงาน รับสร้างอาคารพาณิชย์ และรับเหมาก่อสร้างอาคารทุกชนิด
รับเป็นที่ปรึกษาบริหารงานก่อสร้าง รับปรึกษากฎหมายก่อสร้าง รับตรวจสอบ ควบคุมงานก่อสร้างอาคารทุกประเภท
รับออกแบบทางด้านวิศวกรรมทุกสาขา
รับออกแบบโครงสร้างอาคาร รายการคำนวณโครงสร้าง โดย วุฒิวิศวกรโยธา สามัญวิศวกรโยธา
รับออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย รายการคำนวนระบบบำบัดน้ำเสีย รับออกแบบระบบบำบัดมลพิษ และงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม โดยสามัญสิ่งแวดล้อม
รับออกแบบระบบดับเพลิง และ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire Alarm Fire Pump ระบบดับเพลิงอัตโนมัติสปริงเกอร์ โดยสามัญวิศวกรเครื่องกล
รับออกแบบระบบปั๊มน้ำ ระบบปรับอากาศ ระบบระบายอากาศ ระบบแอร์ โดยสามัญวิศวกรเครื่องกล
รับออกแบบระบบไฟฟ้า รับเขียนแบบไฟฟ้า รับเซ็นต์แบบไฟฟ้า โดย วุฒิวิศวกรไฟฟ้า สามัญวิศวกรไฟฟ้า
รับออกแบบ ขนาดมิเตอร์ ขนาด หม้อแปลง Single Ling Diagrams, Riser Diagrams,
รับทำ Main Schedule ขนาด ของ MDM (Main Distribution)
รับออกแบบ ตารางโหลด Load Schedule
รับออกแบบ ระบบ Lighting ไฟฟ้าแสงสว่าง, โคมไฟ, เต้ารับ,
รับออกแบบ ระบบ CCTV, TV, เครื่องเสียง, ระบบป้องกันฟ้าผ่า ฯลฯ
รับออกแบบ ระบบ Fire Alarm System , Smoke & Heat Detector