ระเบียบของคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์

ระเบียบของคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์
เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ 2535 และ ฉบับที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538


-----------------------------


อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 105 เบญจ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2534 และมาดรา 62 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบของคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริม ทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่า ธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ. 2535"

ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป

ข้อ 3. บรรดาระเบียบข้อบังคับและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน

ข้อ 4. ให้อธิบดีกรมที่ดินเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้

ข้อ 5. ในระเบียบนี้
“ราคาประเมินทุนทรัพย์” หมายความว่า ราคาตลาดที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมิน ทุนทรัพย์เห็นชอบให้ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมสำหรับอสังหาริมทรัพย์
“ราคาดลาด” หมายความว่า (1) ราคาที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายส่วนมากยินดีตกลงซื้อขายกัน (2) ราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายทั้งสองฝ่ายทราบ ข้อมูลในทรัพย์สินที่จะซื้อขายนั้นพอสมควร (3) ราคาที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายมิได้ถูกบังคับหรือมีแรงจูงใจให้ซื้อขายกัน (4) ราคาของตลาดการค้าเสรีที่มีการแข่งกัน ไม่ใช่ราคาจากตลาดผูกขาด โดยผู้ซื้อหรือผู้ขาย หรือราคาขายทอดตลาด หรือราคาในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ หรือเงินเฟ้อ
"เขต" หมายความว่า บริเวณที่ดินที่ประกอบด้วยเขตย่อยไม่เกิน 26 เขต
"เขตย่อย" หมายความว่า กลุ่มย่อยของที่ดินในเขตหนึ่ง ๆ
"หน่วยที่ดิน" หมายความว่า ที่ดินแปลงเดียวหรือหลายแปลงในบริเวณเดียวกัน หรือต่างบริเวณกัน ซงประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลทำให้ราคาที่ดินนั้นแตกต่างกันน้อยที่สุด
"คณะอนุกรรมการประจำจังหวัด" หมายรวมถึง คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดสำหรับ กรุงเทพมหานคร ด้วย
"อำเภอ" หมายรวมถึง เขต และกิ่งอำเภอ ด้วย
"ตำบล" หมายรวมถึง แขวง ด้วย
"วิธีต้นทุนทดแทน" หมายความว่า เป็นวิธีการคิดหามูลค่าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างที่จะทำการประเมินราคาโดยการประมาณราคาต้นทุนราคาค่าก่อสร้าง ใหม่ในลักษณะทดแทนของเก่าหัก ด้วยค่าเสื่อมตามอายุการก่อสร้าง
"ต้นทุนราคาค่าก่อสร้างใหม่" หมายความว่า การประเมินราคาค่าก่อสร้างที่สมมุติว่าสร้างขึ้นใหม่ทดแทนของเดิม ณ วันที่ทำการประเมินราคาโดยให้มีขนาด รูปร่าง ลักษณะ วัสดุก่อสร้างและประโยชน์ใช้สอย เหมือนเดิม
"ค่าเสื่อม" หมายความว่า การเสื่อมค่าอันเนื่องมาจากอายุการก่อสร้างของโรงเรือน สงปลูกสร้าง โดยคิดหักเป็นร้อยละต่อปี ตามประเภทของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ
"พื้นที่ใช้สอย" หมายความว่า พื้นที่ของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างอันประกอบด้วยพื้นห้องต่างๆ และให้รวมถึงเฉลียง ระเบียง และส่วนโล่งหลังคาคลุม


หมวด 1 การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน


ข้อ 6. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดพิจารณากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์เกี่ยวกับ ที่ดินแต่ละเขตไว้เป็นหลักฐาน ในการนี้จะเชิญผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการประเมินราคา ที่ดินมาชี้แจงแสดงเหตุผลประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้

ข้อ 7. คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดอาจตั้งคณะทำงานเพื่อสืบหาข้อเท็จจริงของราคา ตลาดสำหรับที่ดินแต่ละเขตย่อยภายในเขตจังหวัดและวิเคราะห์ประเมินราคาที่ดิน ก็ได้

ข้อ 8. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดจัดทำแผนที่ประกอบการพิจารณาและกำหนดจำนวนทุน ทรัพย์ ดังนี้
(1) ในท้องที่ใดซึ่งสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินได้จัดทำแผนที่ประเมินราคา ที่ดิน และกำหนดหน่วยที่ดินไว้แล้ว ให้ใช้แผนที่ดังกล่าวเป็นหลักฐานในการประเมินราคา
(2) ที่ดินนอกเขตดังกล่าวใน (1) ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดกำหนดหน่วยที่ดิน โดยใช้แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 เป็นหลัก เว้นแต่กรณีจำเป็นก็ให้ใช้แผนที่ที่มีมาตราส่วนตามความเหมาะสม แล้วแบ่งหน่วยที่ดินเป็นกลุ่มตามสภาพความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ ตลอดจน ความเจริญของท้องที่ โดยให้ถือเอาสาธารณูปโภคและแนวเขตธรรมชาติเป็นหลักในการพิจารณากำหนด ทุนทรัพย์
(3) ในการจัดทำแผนที่ตาม (1) หรือ (2) ให้จัดทำแยกเป็นรายตำบลและอำเภอ

ข้อ 9. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดพิจารณากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ เพื่อใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยทำการสำรวจข้อมูลราคาซื้อขายที่ดินในท้องตลาดย้อนหลังไม่เกินสามปี และสำรวจข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นในการประเมินราคา เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม สภาพทางกายภาพของเมือง รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และโครงการของรัฐหรือท้องถิ่น ตลอดจนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน แนวโน้มการพัฒนาเมือง ซึ่งอาจเก็บรวบรวมข้อมูลเหล่านี้จากสำนักงานที่ดินจังหวัดหรืออำเภอ สำนักงาน จังหวัด สำนักงานสถิติจังหวัด สำนักงานเทศบาล สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

ข้อ 10. เมื่อได้ทำการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลตามข้อ 9 เสร็จแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(1) วิเคราะห์และประเมินราคา โดยวิธีเปรียบเทียบราคาตลาด
(2) ในกรณีที่ดินบริเวณใดไม่มีการซื้อขายให้พิจารณากำหนดจำนวนทุนทรัพย์โดย พิจารณา จากที่ดินหน่วยใกล้เคียง ซึ่งมีสภาพคล้ายคลึงกันในปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
(ก) สภาพการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
(ข) การคมนาคม สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ
(ค) ข้อจำกัดทางกฎหมาย เช่น การผังเมือง หรือที่ดินที่อยู่ในเขตเวนคืน
(ง) แนวโน้มของการพัฒนาในอนาคต
(จ) ข้อมูลการตกลงจะซื้อจะขายที่ดิน
(ฉ) ค่าเช่าหรือรายได้ที่ได้รับจากที่ดิน
(3) ในการกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ของที่ดิน มิให้รวมราคาอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเข้าไว้ด้วย

ข้อ 11. ในกรณีที่สำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินได้ทำการสำรวจและประเมิน ราคาที่ดินในเขตท้องที่ใดไว้แล้ว ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดนำรายงานการประเมินราคาของสำนักงานกลางประเมิน ราคาทรัพย์สินประกอบการพิจารณากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ได้


หมวด 2 การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง


ข้อ 12. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดสำรวจประเภทของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ในจังหวัดต่างๆ แล้วกำหนดเป็นแบบมาตรฐานสำหรับจังหวัดนั้นๆ ตามความเหมาะสมแก่ท้องที่ ในกรณีที่สำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินได้ทำการสำรวจกำหนดแบบ และจัดทำ ราคาโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างในจังหวัดใดไว้แล้ว ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดนำราคาดังกล่าวประกอบการพิจารณากำหนดราคา ประเมินทุนทรัพย์ได้

ข้อ 13. การกำหนดแบบมาตรฐานของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภทให้ประกอบด้วยแปลน พื้น รูปด้าน รูปตัด และอื่นๆ เท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักการเขียนแบบสถาปัตยกรรม

ข้อ 14. เพื่อให้สามารถกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ได้ละเอียดถูกต้องและเป็นธรรมแก่ ผู้เสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม อาจกำหนดแบบมาตรฐานโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างประเภทเดียวกันเป็นประเภทย่อยตาม คุณภาพของวัสดุก่อสร้าง เช่น ธรรมดา ปานกลาง ดี ดีมาก

ข้อ 15. ให้สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับราคาโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างในท้องที่แต่ละจังหวัด ได้แก่ ราคาวัสดุก่อสร้าง อัตราค่าจ้างแรงงาน และสถิติราคาค่าก่อสร้างจากหน่วยราชการ

ข้อ 16. ให้ประมาณราคาค่าก่อสร้างโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างโดยวิธีการประมาณราคา จากปริมาณงานและวัสดุก่อสร้างต่อหน่วย หรือวิธีประมาณราคาจากพื้นที่ แล้วแต่ความเหมาะสม

ข้อ 17. ให้ประมาณการค่าอำนวยการและดำเนินงาน กำไร และภาษี โดยกำหนดเป็นอัตราร้อยละจากข้อ 16

ข้อ 18. เมื่อได้ดำเนินการดามข้อ 16 และข้อ 17 เสร็จแล้วให้นำมารวมกันแล้วหารด้วยพื้นที่ใช้สอยของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง ตามแบบมาตรฐานของประเภทนั้น ก็จะได้ราคาค่าก่อสร้างต่อตารางเมตร

ข้อ 19. การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ให้วิเคราะห์เปรียบเทียบราคาค่าก่อสร้าง ของหน่วยงานอื่น ๆ ได้แก่ สำนักงบประมาณ กรมโยธาธิการ ธนาคารพาณิชย์ ผู้รับเหมา หรือหน่วยงาน อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 20. ให้จัดทำบัญชีราคามาตรฐานค่าก่อสร้างแยกตามประเภทของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง หรือประเภทย่อยตามระดับคุณภาพวัสดุก่อสร้าง โดยมีหน่วยเป็นบาทต่อตารางเมตร

ข้อ 21. ในบัญชีตามข้อ 20 อาจประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับโรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง และวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ โครงสร้าง ฐานราก โครงหลังคา วัสดุมุงหลังคา พื้น การตกแต่งพื้นผิว ผนัง การ ตกแต่งผนัง ฝ้าเพดาน ประดู หน้าต่าง บันได ตกแต่งบันได ห้องน้ำ - ส้วม สุขภัณฑ์ และรายละเอียดอื่นๆ ตามความเหมาะสม

ข้อ 22. ให้กำหนดอัตราค่าเสื่อมของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท ดังนี้
(1) โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างที่เป็นตึก ให้หักค่าเสื่อมปีที่ 1 ถึงปีที่ 10 ร้อยละ 1 ต่อปี ปีที่ 11 ถึงปีที่ 42 ร้อยละ 2 ต่อปี และตั้งแต่ ปีที่ 43 เป็นต้นไปให้หักค่าเสื่อมร้อยละ 76 ตลอดอายุการใช้งานของ โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างนั้น
(2) โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างที่เป็นตึกครึ่งไม้ ให้หักค่าเสื่อมปีที่ 1 ถึงปีที่ 5 ร้อยละ 2 ต่อปี ปีที่ 6 ถึงปีที่ 15 ร้อยละ 4 ต่อปี ปีที่ 16 ถึงปีที่ 21 ร้อยละ 5 ต่อปี และตั้งแต่ปีที่ 22 เป็นต้นไป ให้หักค่าเสื่อมร้อยละ 85 ตลอดอายุการใช้งานของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างนั้น
(3) โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างที่เป็นไม้ให้หักค่าเสื่อมปีที่ 1 ถึงปีที่ 5 ร้อยละ 3 ต่อปี ปีที่ 6 ถึงปีที่ 15 ร้อยละ 5 ต่อปี ปีที่ 16 ถึงปีที่ 18 ร้อยละ 7 ต่อปี และตั้งแต่ปีที่ 19 เป็นต้นไป ให้หักค่าเสื่อมร้อยละ 93 ตลอดอายุการใช้งานของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างนั้น


หมวด 3 การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด


ข้อ 23. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดพิจารณากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ ห้องชุด เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับห้องชุด ของอาคารชุดนั้นๆ ในกรณีที่สำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินได้ทำการสำรวจ และประเมินราคากรรมสิทธิ์ห้องชุดของอาคารชุดใดไว้แล้ว ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดนำรายงานการประเมินราคาของสำนักงานกลางประเมิน ราคาทรัพย์สินประกอบการพิจารณากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ได้

ข้อ 24. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดใช้ราคาตลาดของห้องขุด ณ วันที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดนั้นๆ มากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์

ข้อ 25. การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุดให้คำนึงถึง
(1) ราคาซื้อขาย เงื่อนไขสัญญาซื้อขาย หรือค่าเช่าของห้องชุดในแต่ละชั้นของห้องชุดนั้น และข้อมูลลักษณะเดียวกันของอาคารชุดอื่นที่คล้ายคลึงกันในบริเวณใกล้เคียง
(2) ปริมาณและคุณภาพเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง
(3) สิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการในอาคารชุดนั้น
(4) คุณภาพของวัสดุ และการตกแต่งภายในห้องชุดในลักษณะที่เป็นส่วนควบ
(5) ประเภทของห้องชุดที่ใช้ประโยชน์แตกต่างกัน เช่น ห้องชุดพาณิชยกรรม ห้องชุดสำนักงาน และห้องชุดพักอาศัย เป็นต้น
(6) แบบและตำแหน่งที่ตั้งห้องชุดในอาคารชุดนั้น
(7) ระบบการบริหารและการจัดการทรัพย์ส่วนกลาง
(8) ราคาตลาดของที่ดินอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด และต้นทุนค่าก่อสร้างอาคาร ณ วันขอจดทะเบียนอาคารชุด

ข้อ 26. เมื่อได้ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลตามข้อ 25 เสร็จแล้ว ให้ดำเนินการประเมิน ราคาโดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีประกอบกัน ดังนี้
(1) ให้ใช้วิธีเปรียบเทียบราคาตลาด กรณีที่มีข้อมูลราคาซื้อขายห้องชุดในอาคารชุดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและ ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน
(2) ให้ใช้วิธีคิดจากรายได้ กรณีที่มีข้อมูลค่าเช่าห้องชุดในอาคารชุดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน
(3) ให้ใช้วิธีต้นทุนทดแทน กรณีข้อมูลใน (1) หรือ (2) ไม่เพียงพอหรือไม่สามารถเปรียบ เทียบกันได้

ข้อ 27. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของห้องชุด เป็นราคาต่อตารางเมตร โดยกำหนดเป็นชั้นๆ หรือกลุ่มชั้นที่มีราคาเท่ากัน หากราคาในชั้นเดียวกันแตกต่าง กันก็อาจกำหนดให้ละเอียดเป็นรายห้องชุดก็ได้

ข้อ 28. อาคารชุดใดประกอบด้วยอาคารหลายอาคาร การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์จะรวมกันหรือแยกแต่ละอาคารก็ได้ตามความเหมาะสม ดังนี้
(1) ให้รวมกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ กรณีแต่ละอาคารมีสภาพทำเลที่ตั้งและราคาเท่ากัน
(2) ให้แยกกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ กรณีแต่ละอาคารมีสภาพทำเลที่ตั้งและราคา แตกต่างกัน

ข้อ 29. อาคารชุดใดมีทรัพย์ส่วนบุคคลอื่นๆ ที่จัดไว้เป็นของห้องชุดเฉพาะห้องให้กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์แยกไว้ต่างหาก


หมวด 4 การจัดทำบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์


ข้อ 30. เมื่อคณะอนุกรรมการประจำจังหวัดได้กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเสร็จแล้ว ให้จัดทำบัญชีกำหนดราคาประเมิน ทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์ตามแบบท้ายระเบียบนี้ตามข้อ 8 (1) (2) พร้อมทั้งแผนที่แสดงเขตและแผนที่ แสดงเขตย่อย ข้อ 20 ข้อ 27 ข้อ 28 และข้อ 29 แล้วแต่กรณี ส่งไปยังกรมที่ดิน เพื่อเสนอคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์พิจารณาให้ความเห็นชอบและ ประกาศใช้ต่อไป

ข้อ 31. เมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ให้ความเห็นชอบกับราคา ประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์ที่คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดเสนอมาตาม ข้อ 30 แล้วให้ประธาน คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดประกาศใช้บัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์แล้วส่ง ให้สำนักงานที่ดิน จังหวัด สำนักงานที่ดินสาขา สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอท้องที่และที่ว่าการกิ่งอำเภอท้องที่ เพื่อปิด ประกาศไว้ ณ สำนักงานหรือที่ว่าการนั้นๆ แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งส่งบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ และสำเนาแผนที่ไปยังกรมที่ดิน 2 ชุด ให้เก็บบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ไว้ที่สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินสาขา สำนักงานที่ดินอำเภอหรือสำนักงานที่ดินกิ่งอำเภอแล้วแต่กรณี อย่างน้อยแห่งละ 1 ชุด เพื่อให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและขอคัดสำเนาโดยเสียค่าธรรมเนียมตาม ระเบียบได้

ข้อ 32. การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์แต่ละคราวให้ใช้ได้ ไม่เกินสี่ปี นับแต่วันที่ประกาศใช้บัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่ปรากฏว่า ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่หนึ่งท้อง ที่ใดในจังหวัดนั้น แตกต่างจาก ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ได้ประกาศไว้มากพอสมควร ก็ไห้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดพิจารณากำหนด ราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์นั้นใหม่โดยเร็ว แล้วเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรม การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ เพื่อประกาศใช้ต่อไป [ข้อความในข้อ 32 นี้แก้ไขใหม่ตามระเบียบฯ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2538 ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2538]


ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2535
ร้อยตรี เบญจกุล มะกะระธัช (เบญจกุล มะกะระธัช)
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ประธานคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์



Source: ข้อมูลจากสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ ศิริชัย/พิมพ์ ชรินทร ทาน /ตรวจ พฤษภาคม 2551

การขอราคาประเมิน

1. การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์

กรมที่ดินมีหน้าที่รับผิดชอบการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์ เพื่อใช้สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตาม
ที่กฎหมายกำหนด
ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ ที่ดิน โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง และห้องชุดโดยมีสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินเป็นผู้ปฏิบัติ สรุปได้ดังนี้

(1) จัดทำบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินรายแปลง ซึ่งขณะนี้ใช้อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร 50 เขต เทศบาลเมืองหลัก 5 เทศบาล คือ สมุทรปราการ
นนทบุรี ภูเก็ต นคร
ราชสีมา เชียงใหม่ และพื้นที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และสุขาภิบาลสำโรงเหนือ จังหวัดสมุทรปราการ

(2) จัดทำบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างทุกจังหวัด ตามแบบมาตรฐานที่กำหนดไว้ 46 แบบ รายละเอียด

(3) จัดทำบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุดในทุกจังหวัดทั่วประเทศ

(4)เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะอนุกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์กรุงเทพมหานครและคณะกรรมการกำหนดราคาประเมิน
ทุนทรัพย์ซึ่งมีหน้าที่ต่าง ๆ เช่น จัดประชุม รวมทั้งรวบรวมข้อมูลและเสนอความเห็นประกอบการพิจารณา ตามอำนาจหน้าที่
ของคณะอนุกรรมการและคณะกรรมการดังกล่าว

สำหรับการจัดทำบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินรายบล็อก (Block) ซึ่งใช้อยู่ในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ สำนักงานที่ดินจังหวัดต่าง ๆ ในฐานะฝ่ายเลขานุการ
คณะอนุกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ประจำจังหวัด จะเป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินเป็นผู้ให้คำแนะนำและอบรมวิธีการจัดทำบัญชี
ดังกล่าวแก่สำนักงานที่ดินจังหวัดต่าง ๆ เพื่อให้การจัดทำบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินเป็นมาตรฐานเดียวกันพร้อมทั้งเป็นผู้ตรวจสอบกลั่นกรองก่อนนำเสนอคณะกรรม
การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์พิจารณา ให้ความเห็นชอบก่อนการประกาศใช้ต่อไป

2. การขอหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน

(1) บัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินโดยปกติประชาชนทั่วไปสามารถขอดูหรือขอทราบราคาประเมินทุนทรัพย์ได้ ณ สำนักงานที่ดินท้องที่แต่หาก
ต้องการคัดสำเนาบัญชี
หรือรูปแผนที่ประกอบบัญชี หรือขอให้ออกหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินแปลงใด ผู้ขอจะต้องเป็นเจ้าของที่ดิน หรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากเจ้า
ของที่ดินแปลงนั้นเท่านั้น โดยผู้ขอจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการขอคัดหรือขอรับรองราคาประเมินตามระเบียบ อย่างไรก็ตาม การที่ประชาชนทั่วไปซึ่งมีความประสงค์เพียง
เพื่อขอดูหรือขอทราบราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินโดยไม่มีการขอคัดสำเนาหรือขอให้ออกหนังสือรับรองก็อาจ
ขอดูได้ที่สำนักงานกลาง
ประเมินราคาทรัพย์สิน (อาคารตลิ่งชัน) ซึ่งมีบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินทั่วประเทศไว้บริการ โดยผู้ขอไม่จำเป็นต้องเดินทางไปติดต่อที่สำนักงานที่ดิน
ท้องที่ แต่การบริการดังกล่าวยังมีข้อจำกัดในเรื่องของที่ดินซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครที่ใช้ราคาประเมินที่ดินแบบรายบล็อก เพราะหากผู้ขอไม่ทราบตำแหน่งที่ตั้งของ
ที่ดินที่แน่นอน
ว่าอยู่ในบล็อคใดและหน่วยใดแล้ว ก็จะไม่สามารถระบุได้ว่าที่ดินแปลงนั้นมีราคาประเมินทุนทรัพย์เท่าใด ฉะนั้นในกรณีนี้ ผู้ขอดูหรือขอทราบราคาประเมินจำเป็นจะต้องรู้
ตำแหน่งที่ตั้ง
ของที่ดินแปลงนั้น ๆ เป็นอย่างดีด้วยจึงจะสามารถทราบราคาที่ดินที่ถูกต้องได้

(2) หลักฐานที่จะต้องนำไปประกอบคำขอ

1. โฉนดที่ดิน, น.ส.3, น.ส.3ก, ฯลฯ หรือสำเนาเอกสารดังกล่าว (กรณีไม่สามารถนำมาได้)

2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ ของผู้ขอและผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรดังกล่าว ในกรณีมอบอำนาจจะต้องนำบัตรประจำ
ตัวประชาชน
หรือบัตรข้าราชการ บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจพร้อมสำเนาบัตรดังกล่าวที่รับรองสำเนาแล้วของผู้มอบอำนาจมาด้วย

3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอ ในกรณีมอบอำนาจต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจมาด้วย

4. หลักฐานของนิติบุคคล หรือหนังสือมอบอำนาจ ในกรณีไม่สามารถไปด้วยตนเอง

(3) ยื่นคำขอกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา สำนักงานที่ดินอำเภอ ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่

(4) ค่าใช้จ่ายในการรับรองราคาประเมิน
ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท

ค่ารับรองฉบับละ 10 บาท

ค่าพยานคำขอเรื่องละ 20 บาท

ค่ามอบ (ถ้ามี) เรื่องละ 20 บาท

ที่มา : กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย

ค่าใช้จ่ายที่เกิด ณ สำนักงานที่ดิน

ค่าใช้จ่ายที่เกิด ณ สำนักงานที่ดิน กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ( ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน ) »»
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( หัก ณ ที่จ่าย ) ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร »»
ค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรม ( ค่าโอน ) 2 % จากราคาประเมิน หรือราคาขาย แล้วแต่อย่างใดสูงกว่า
ค่าจดจำนอง ( กรณีจำนองกับสถาบันการเงิน ) 1% ของมูลค่าที่จำนอง
ค่าอากรแสตมป์ (ชำระอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง อากรแสตมป์ หรือธุรกิจเฉพาะ) 200 บาท ติดอากรแสตมป์ 1 บาท(0.50%) ตามราคา
ซื้อขายแต่ ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน
ภาษีธุรกิจเฉพาะ ( ไม่ต้องชำระหากถือครองเกิน 5 ปี ) 3.3% ของราคาซื้อขายที่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน
ค่าใช้จ่ายที่เกิด ณ สำนักงานที่ดิน กรณีเป็นนิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ( หัก ณ ที่จ่าย ) 1% ของราคาซื้อขาย ( ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน )
ค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรม ( ค่าโอน ) 2 % จากราคาประเมิน หรือราคาขาย แล้วแต่อย่างใดสูงกว่า
ค่าจดจำนอง ( กรณีจำนองกับสถาบันการเงิน ) 1% ของมูลค่าที่จำนอง
ค่าอากรแสตมป์ (ชำระอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง อากรแสตมป์ หรือธุรกิจเฉพาะ) 200 บาท ติดอากรแสตมป์ 1 บาท(0.50%) ตามราคา
ซื้อขายแต่ ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน
ภาษีธุรกิจเฉพาะ ( ไม่ต้องชำระหากถือครองเกิน 5 ปี ) 3.3% ของราคาซื้อขายที่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน
ที่มา : กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย

การขอทราบราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์-กรมที่ดิน

1. กรมที่ดินมีหน้าที่รับผิดชอบการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์ เพื่อใช้สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ ที่ดิน โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง และห้องชุดโดยมีสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินเป็นผู้ปฏิบัติ สรุปได้ดังนี้

(1) จัดทำบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินรายแปลง ซึ่งขณะนี้ใช้อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร 50 เขต เทศบาลเมืองหลัก 5 เทศบาล คือ สมุทรปราการ นนทบุรี ภูเก็ต นครราชสีมา เชียงใหม่ และพื้นที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และสุขาภิบาลสำโรงเหนือ จังหวัดสมุทรปราการ
(2) จัดทำบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างทุกจังหวัด ตามแบบมาตรฐานที่กำหนดไว้ 46 แบบ
(3) จัดทำบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุดในทุกจังหวัดทั่วประเทศ
(4) เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะอนุกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์กรุงเทพมหานครและคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ซึ่งมีหน้าที่ต่าง ๆ เช่น จัดประชุม รวมทั้งรวบรวมข้อมูลและเสนอความเห็นประกอบการพิจารณา ตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการและคณะกรรมการดังกล่าว
สำหรับการจัดทำบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินรายบล็อก (Block) ซึ่งใช้อยู่ในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ สำนักงานที่ดินจังหวัดต่าง ๆ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ประจำจังหวัด จะเป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินเป็นผู้ให้คำแนะนำและอบรมวิธีการจัดทำบัญชีดังกล่าวแก่สำนักงานที่ดินจังหวัดต่าง ๆ เพื่อให้การจัดทำบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินเป็นมาตรฐานเดียวกันพร้อมทั้งเป็นผู้ตรวจสอบกลั่นกรองก่อนนำเสนอคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการประกาศใช้ต่อไป

2. การขอหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน

(1) บัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินโดยปกติประชาชนทั่วไปสามารถขอดูหรือขอทราบราคาประเมินทุนทรัพย์ได้ ณ สำนักงานที่ดินท้องที่แต่หากต้องการคัดสำเนาบัญชี หรือรูปแผนที่ประกอบบัญชี หรือขอให้ออกหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินแปลงใด ผู้ขอจะต้องเป็นเจ้าของที่ดิน หรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินแปลงนั้นเท่านั้น โดยผู้ขอจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการขอคัดหรือขอรับรองราคาประเมินตามระเบียบ อย่างไรก็ตาม การที่ประชาชนทั่วไปซึ่งมีความประสงค์เพียงเพื่อขอดูหรือขอทราบราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินโดยไม่มีการขอคัดสำเนาหรือขอให้ออกหนังสือรับรองก็อาจขอดูได้ที่สำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน (อาคารตลิ่งชัน) ซึ่งมีบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินทั่วประเทศไว้บริการ โดยผู้ขอไม่จำเป็นต้องเดินทางไปติดต่อที่สำนักงานที่ดินท้องที่ แต่การบริการดังกล่าวยังมีข้อจำกัดในเรื่องของที่ดินซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครที่ใช้ราคาประเมินที่ดินแบบรายบล็อก เพราะหากผู้ขอไม่ทราบตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินที่แน่นอนว่าอยู่ในบล็อคใดและหน่วยใดแล้ว ก็จะไม่สามารถระบุได้ว่าที่ดินแปลงนั้นมีราคาประเมินทุนทรัพย์เท่าใด ฉะนั้นในกรณีนี้ ผู้ขอดูหรือขอทราบราคาประเมินจำเป็นจะต้องรู้ตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินแปลงนั้น ๆ เป็นอย่างดีด้วยจึงจะสามารถทราบราคาที่ดินที่ถูกต้องได้
(2) หลักฐานที่จะต้องนำไปประกอบคำขอ
1. โฉนดที่ดิน, น.ส.3, น.ส.3ก, ฯลฯ หรือสำเนาเอกสารดังกล่าว (กรณีไม่สามารถนำมาได้)
2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ ของผู้ขอและผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรดังกล่าว ในกรณีมอบอำนาจจะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจพร้อมสำเนาบัตรดังกล่าวที่รับรองสำเนาแล้วของผู้มอบอำนาจมาด้วย
3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอ ในกรณีมอบอำนาจต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจมาด้วย
4. หลักฐานของนิติบุคคล หรือหนังสือมอบอำนาจ ในกรณีไม่สามารถไปด้วยตนเอง

(3) ยื่นคำขอกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา สำนักงานที่ดินอำเภอ ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่
(4) ค่าใช้จ่ายในการรับรองราคาประเมิน
- ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท
- ค่ารับรองฉบับละ 10 บาท
- ค่าพยานคำขอเรื่องละ 20 บาท
- ค่ามอบ (ถ้ามี) เรื่องละ 20 บาท

ที่มา: กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย

ขั้นตอนการขอกู้เงินสร้างบ้าน

เลือกแบบบ้านทีี่ท่านต้องการ หรือจ้างคนเขียนแบบ
เมื่อได้แบบทางสถาปัตย์มาแล้ว ให้ติดต่อจ้างวิศวะกรโยธา เพื่อดำเนินการคำนวนโครงสร้างครับว่าต้องใช้วัสดุอะไรบ้าง
เมื่อได้แบบทางสถาปัตย์ และรายการคำนวนโครงสร้างจากวิศวกรแล้ว ก็ต้องให้ผู้รับเหมาประเมินราคาในการก่อสร้างทั้งหมดครับ (ทำสัญญาเลยก็ดี)
นำแบบบ้านที่ได้ ไปขออนุญาตก่อสร้างบ้านที่เขตที่เราอยู่ครับ โดยให้เตรียมเอกสารดังนี้ แบบบ้าน , โฉนดที่ดินตัวจริงพร้อมสำเนา , บัตรประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนา
, ทะเบียนบ้านตัวจริงพร้อมสำเนา (ส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์)
ติดต่อเเสดงความจำนงกับฝ่ายสินเชื่อบ้านหรือสินเชื่อเคหะของธนาคารที่ต้องการขอกู้เงินสร้างบ้าน โดยให้เตรียมเอกสารต่างๆไปให้พร้อม และต้องเตรียมเงินค่าธรรมเนียมการประเมินราคาหลักประกันไปด้วย
ธนาคารที่เราไปขอกู้เงินสร้างบ้านจะส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจและประเมินราคา (ส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 2-7 วัน)
ธนาคารที่เราไปขอกู้เงินสร้างบ้านจะตัดสินใจว่าจะให้คุณกู้เงินหรือไม่ โดยพิจารณาจากรายได้ , ฐานะทางการเงิน , ความสามารถในการผ่อนชำระ , หลักประกันของคุณ รวมไปถึงปัจจัยอื่น (ส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 1-3 อาทิตย์)
ที่มา http://www.banpatan.com/homebuilding/homeloan.html
ที่มา http://topicstock.pantip.com/home/topicstock/R3173760/R3173

การจำนอง

ความหมายของการจำนอง จำนอง คือ การที่บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้จำนอง" เอาอสังหาริมทรัพย์ของตน เช่น ที่ดินหรือทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ไปจดทะเบียน ไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้รับจำนอง"เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ทั้งนี้โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบที่ดินหรือทรัพย์สิน ดังกล่าว นั้น ให้แก่ ผู้รับจำนอง (ป.พ.พ.มาตรา ๗๐๒) การจำนองเพื่อการประกันการชำระหนี้แก่ผู้รับจำนองนั้น แบ่งออกเป็น ๒ กรณี คือ ๑. การจำนองทรัพย์ของตนเองเพื่อการประกันการชำระหนี้ของตนเอง ตัวอย่าง นายเอก ได้กู้เงินจากนายโท ๑ แสนบาท โดยนายเอกนำที่ดินซึ่งเป็นของตนเองไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้ของนายเอกเอง ๒. การจำนองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของบุคคลอื่นตัวอย่าง นายเอก ได้กู้เงินจากนายโท ๑ แสนบาท โดยนายตรีได้นำที่ดินของตนไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ที่นายเอกได้กู้ไปจากนายโท ทรัพย์สินที่อาจใช้ในการจำนองได้ แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ได้ ๒ ประเภท กล่าวคือ ๑. อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน หรือสิ่งปลูกสร้างทุกชนิดที่ปลูกติดกับพื้นดินนั้น ๒. อสังหาริมทรัพย์ที่จำนองได้ คือ ก. เรือกำปั่น หรือ เรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป หรือเรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ข. แพ ค. สัตว์พาหนะ ง. อสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ซึ่งกฏหมายได้บัญญัติให้จดทะเบียนจำนองได้ เช่น เครื่องจักรขนาดใหญ่ เป็นต้น หลักเกณฑ์ในการจำนอง ๑. ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จะจำนอง ๒. สัญญาจำนอง ต้องทำเป็นหนังสือและนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้น สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะไม่มีผลผูกพันแก่คู่สัญญาแต่อย่างใด ในการกู้ยืมเงินนั้นมีอยู่เสมอที่ผู้กู้ได้นำเอาโฉนดที่ดินของตนไปมอบให้แก่ผู้ให้กู้เก็บรักษาไว้เฉย ๆ เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ โดยไม่มีการทำเป็นหนังสือและไม่ได้นำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่การจำนอง ผู้ให้กู้หาได้สิทธิใด ๆ ในที่ดินตามโฉนดแต่อย่างใด คงได้แต่เพียงกระดาษโฉนดไว้ในครอบครองเท่านั้น ดังนั้น ถ้าผู้ให้กู้ประสงค์ที่จะให้เป็นการจำนองตามกฎหมายแล้ว จะต้องทำเป็นหนังสือและนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ๓. ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจรับจดทะเบียนจำนองตามกฎหมาย กล่าวคือ ก. ที่ดินที่มีโฉนดต้องนำไปจดทะเบียนที่กรมที่ดิน หรือสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร (สาขา) หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินจังหวัด (สาขา) ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ในเขตอำนาจ ข. ที่ดินที่ไม่มีโฉนด ได้แก่ ที่ดิน น.ส.๓ ต้องไปจดทะเบียนที่อำเภอ ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ในเขตอำนาจ ค. การจำนองเฉพาะบ้านหรือสิ่งปลูกสร้าง ไม่รวมที่ดิน ต้องไปจดทะเบียนจำนองที่อำเภอ ง. การจำนองสัตว์พาหนะ หรือแพ ต้องไปจดทะเบียนที่อำเภอ จ. การจำนองเรือต้องไปจดทะเบียนจำนองที่กรมเจ้าท่า ฉ. การจดทะเบียนเครื่องจักรต้องไปจดทะเบียนที่กระทรวงอุตสาหกรรม
ที่มา http://www.centerestate.net

จะซื้อบ้านสักหลัง จะเลือกดอกเบี้ยอย่างไร

สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเพิ่งมีงานมหกรรมการเงินมันนี่เอ็กซ์โป ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ โดยเป็นที่ทราบกันดีว่างานนี้ เป็นงานที่รวมโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม ของบรรดาสถาบันการเงินทั้งใหญ่น้อยมากันคับคั่ง แม้ในยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ดแบบนี้ ก็ยังพบว่างานดังกล่าวยังได้การตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภคเช่นเคย โดยมียอดธุรกรรมเกิดขึ้นจากงานร่วมแสนล้าน คิดเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัยก็เก้าหมื่นกว่าล้านบาท แสดงให้เห็นว่ายังมีความต้องการซื้อบ้าน และสินเชื่อเพื่อการซื้อบ้านอยู่ระดับหนึ่ง เชื่อว่าคงมีท่านผู้อ่านหลายท่าน ทั้งที่มีแผนซื้อบ้านชัดเจน และกลุ่มที่อยากได้แต่ยังไม่ระบุกำหนดการแน่ชัด ได้ไปจับจองสิทธิ์ลงชื่อเพื่อขอรับอัตราดอกเบี้ยพิเศษในงาน ว่าแต่ของสถาบันการเงินใดจะพิเศษจริง และจะรู้ได้อย่างไร จะกู้ได้เท่าไหร่ ที่ฝันไว้จะเป็นจริงหรือไม่ เราลองมาดูกันดีไหมครับ

ก่อนอื่นคงต้องยอมรับว่าบ้านเป็นสินค้าที่มีราคาแพงมาก ในชีวิตชาวบ้านทั่วไปคงมีโอกาสซื้อได้เพียง 1 – 2 ครั้ง ดังนั้นคงจะไม่มีใครเชี่ยวชาญไปกว่าใคร หากไม่ได้อยู่ในธุรกิจนี้เสียเอง สิ่งแรกหากคิดจะซื้อบ้านสักหลัง ก็จะต้องสำรวจดูว่าเรามีกำลังทรัพย์จะซื้อบ้านได้เท่าไร หรือหากต้องกู้ธนาคารจะมีกำลังที่จะผ่อนบ้านได้เดือนละกี่บาท โดยทั่วไปในเว็บไซต์ของธนาคารแทบทุกธนาคารจะมีโปรแกรมคำนวณยอดวงเงินกู้ตามระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนให้บริการอยู่แล้ว หรืออาจจะคำนวณง่ายๆ คือหากต้องการกู้เงิน 1,000,000 บาท เป็นระยะเวลา 20 ปี โดยมีอัตราดอกเบี้ย 7% ธนาคารจะคำนวณยอดการผ่อนประมาณร้อยละ 40 ของรายได้ ซึ่งผู้กู้จะต้องมีรายได้ประมาณ 20,000 บาท ต่อเดือน ดังนั้นจะต้องผ่อนชำระประมาณเดือนละ 8,000 บาท หากบ้านราคาสูงหรือต่ำกว่านี้ ก็สามารถเทียบสัดส่วนได้ครับ หรือหากต้องการกู้นานกว่านั้น ยอดการผ่อนและรายได้ขั้นต่ำที่ต้องมีจะลดลงครับ นอกจากนั้น ในกรณีที่มีการผ่อนเงินกู้อื่นๆ อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นผ่อนรถ ผ่อนสินเชื่ออื่นๆ ผ่อนบ้านหลังเดิมอยู่ก่อนแล้ว หรือแม้กระทั่งการค้ำประกันวงเงินกู้ให้กับญาติพี่น้องก็ควรนำมานับรวมเป็นยอดภาระเงินผ่อนด้วยนะครับ ตัวอย่างเช่น ถ้าปัจจุบันติดผ่อนรถอยู่ 4,000 บาท ท่านก็จะเหลือวงเงินให้ผ่อนอีกเพียง 4,000 บาทจากรายได้ 20,000 บาท ทำให้กู้ได้จริงเหลือเพียงประมาณ 500,000 บาท ซึ่งหากท่านไม่รู้เรื่องนี้มาก่อนอาจจะสงสัยว่าธนาคารคิดเลขผิดรึเปล่า ซึ่งเป็นข้อสงสัยที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ครับ

ต่อมาก็มาดูกันว่าจะเลือกดอกเบี้ยโปรโมชั่นแบบไหนถึงจะคุ้มที่สุด โดยทั่วไปสินเชื่อบ้านจะมีดอกเบี้ยโปรโมชั่นช่วง 1 – 3 ปีแรกอยู่ 2 ประเภทคือแบบคงที่ และแบบลอยตัวอิงตาม MLR (Minimum Loan Rate) หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า “อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา” หรือบางธนาคารก็ใช้ MRR (Minimum Retail Rate) ซึ่งจะสูงกว่า MLR ขึ้นมาระดับหนึ่ง ในภาวะดอกเบี้ยขาลงเช่นนี้ มองเผินๆ ดอกเบี้ยโปรโมชั่นแบบลอยตัวดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะเมื่อ MLR ลด ก็เท่ากับว่าเราได้ลดดอกเบี้ยไปในตัว แต่ธนาคารผู้ปล่อยกู้เองก็รู้ผลข้อนี้ดี จึงมักจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยคงที่นะปัจจุบันจะแพงกว่าเล็กน้อย เป็นการป้องกันความเสี่ยงไว้ระดับหนึ่ง ขณะที่มีการคาดการณ์กันว่าในเร็วๆ นี้ ดอกเบี้ยอาจจะลดลงได้อีกเล็กน้อย อันเป็นผลมาจากความต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านนโยบายดอกเบี้ยของ ธปท แต่ธนาคารพาณิชย์ก็อาจไม่สามารถลดตามลงไปได้มาก เพราะวิกฤติรอบนี้มีความเสี่ยงเรื่องคุณภาพหนี้ค้ำคออยู่ ดังนั้นโอกาสที่จะเห็น MLR ลดลงต่ำมากๆ เป็นหน่วยเปอร์เซ็นต์นั้นน่าจะเป็นไปได้ค่อนข้างยาก

ดังนั้น ดอกเบี้ยคงที่ระยะยาวๆ 2 – 3 ปี ในราคาที่ใกล้เคียงกับแบบลอยตัว ณ วันนี้ น่าจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจกว่า เพราะในบ้านเมืองเราความแน่นอนก็คือความไม่แน่นอน การมีอะไรที่ไว้ใจได้ คาดเดาได้แน่อย่างดอกเบี้ยคงที่น่าจะพอลดความเสี่ยงให้เราได้ในระดับหนึ่งครับ ส่วนจะเปรียบเทียบว่าดอกเบี้ยแต่ละแบบ อย่างไหนถูก-แพง ต่างกันอย่างไร ขอเสนอสูตรง่ายๆ ให้ลองคิดกันเบื้องต้น โดยเอาดอกเบี้ยลอยตัวอิง MLR มาแทนค่า MLR ด้วยค่าดอกเบี้ย MLR ณ ปัจจุบัน แต่ถ้าธนาคารไหนใช้ MRR ก็ต้องเอา MRR ของธนาคารนั้นๆ มาแทนค่านะครับ จากนั้นเอามาคำนวณรวมกัน ประมาณ 4 – 5 ปีแรก เช่น 6 เดือนแรก 0% จากนั้นเดือนที่ 7-24 คิด 4.25% หลังจากนั้นคิด MLR – 0.25% (MLR = 6.10%) ก็จะเท่ากับดอกเบี้ยเฉลี่ย 4 ปี ((((0*6)+(4.25*6))/12)+4.25+(6.10-0.25)+(6.10-0.25))/4 เท่ากับ 4.52% เป็นต้น เมื่อคำนวณดอกเบี้ยทุกแบบจากทุกธนาคารให้เป็นตัวเลขตัวเดียวแบบนี้แล้ว ก็จะทำให้เปรียบเทียบและตัดสินใจได้ง่ายขึ้นครับ มีข้อสังเกตเล็กน้อยเกี่ยวกับอัตรดอกเบี้ย MLR และ MRR ผู้บริโภคที่ไม่คุ้นเคยกับการกู้เงินธนาคารหลายท่านคิดว่าอัตราเหล่านี้เหมือนกันทุกธนาคาร และบางท่านก็คิดว่าเพราะมี ธปท เป็นผู้กำหนด ซึ่งขอเรียนชี้แจงว่า อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงนี้ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งเป็นผู้กำหนดเอง และส่วนใหญ่ธนาคารขนาดใหญ่จะคิดอัตราดอกเบี้ยนี้ต่ำกว่าธนาคารขนาดเล็กครับ

คำถามสุดท้ายคือเราควรซื้อบ้านช่วงดอกเบี้ยขาลงดีจริงหรือไม่ หลายท่านพูดกันว่าควรซื้อตอนขาลง แต่ยังไม่ซื้อเพราะจะรอให้ลงสุดๆ จนลงสุดแล้วก็ยังไม่แน่ใจว่าจะซื้อดีหรือไม่ โดยเฉพาะปัจจุบันดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง ก็ยิ่งทำให้ตัดสินใจไม่ได้ รีๆรอๆ จนชีวิตนี้อาจจะไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ผมคงต้องขอบอกว่า ในความเป็นจริงแล้วอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้นมีการขึ้น-ลงเป็นวัฏจักร สำหรับประเทศไทยในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา มีรอบการขึ้น-ลงอยู่ระหว่าง 7 – 10 ปีต่อรอบ ในขณะที่การกู้เงินซื้อบ้านนั้นมักจะทำสัญญาอยู่ระหว่าง 15 – 30 ปี ทำให้ทุกท่านมีโอกาสจะพบทั้งช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นและขาลงแน่นอนอย่างน้อย 1 รอบ ฉะนั้นผลกระทบจากวัฏจักรดอกเบี้ยในระยะยาวจะมีค่อนข้างน้อย (เพราะอย่างไรก็หนีไม่พ้น) ในขณะที่ระยะสั้นจะส่งผลชัดเจนต่ออำนาจการซื้อโดยรวม กล่าวคือถ้าซื้อบ้านในช่วงดอกเบี้ยต่ำจะมีโอกาสซื้อบ้านราคาสูงได้มากกว่าช่วงดอกเบี้ยสูง เพราะมีภาระในการผ่อนดอกเบี้ยต่ำกว่า สำหรับท่านที่กังวลว่าหากดอกเบี้ยขึ้นเร็วจะส่งผลให้ผ่อนไม่ไหว หรือตกอยู่ในสถานการณ์ผ่อนแต่ดอกต้นไม่ลดนั้น คงต้องขอบอกให้สบายใจว่าธนาคารแต่ละแห่งมีการคำนวณยอดผ่อนชำระเผื่อไว้ส่วนหนึ่งแล้วประมาณ 1 – 2% และหากท่านมีรายได้เพิ่มขึ้นในแต่ละปีตามข้อแรกก็จะไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวครับ

โดยสรุปก็คือ เมื่อท่านคิดจะซื้อบ้านก็คงจะต้องคิดกันให้รอบคอบสักนิด การตัดสินใจจะต้องมาจากการประเมินความพร้อม ความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละท่าน และการคาดคะเนจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจควบคู่กันไป แม้ในภาวะเศรษฐกิจไม่ดี แต่คนที่มีความพร้อมก็สามารถซื้อบ้านได้นะครับยิ่งจะได้ของดีราคาถูกอีกต่างหาก โดยทั่วไปแล้วตลาดมีความเสี่ยงในระดับหนึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่เตรียมการด้วยความรอบคอบ ผู้ที่มีความพร้อมยังสามารถซื้อบ้านได้สบายๆ ครับ แล้วพบกันใหม่เดือนหน้าครับ

จากบทความ khomesmilesclub.com

คำแนะนำเบื้องต้นในการไปติดต่อสำนักงานที่ดิน

ก่อนไปติดต่อสำนักงานที่ดิน ต้องเตรียมเอกสารหลักฐานให้พร้อม รายละเอียดเอกสารหลักฐานในการติดต่อแต่ละประเภท จะอยู่ในหัวข้อประเภทของการติดต่อ เช่น การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์และ การรังวัดประเภทต่าง ๆ
ก่อนไปติดต่อสำนักงานที่ดินท่านควรทราบว่าเอกสารสิทธิของท่าน เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานที่ดินใด และตั้งอยู่ที่ใด เพื่อไม่ให้ไปผิดสถานที่
เตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกรรมที่จะต้องชำระตามกฎหมายให้พร้อม
ค่าใช้จ่ายในการติดต่อราชการเจ้าหน้าที่จะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้ไว้เป็นหลักฐานทุกครั้งตามจำนวนที่ได้จ่ายจริง
ทุกสำนักงานที่ดินส่วนใหญ่จะมีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เมื่อท่านไปติดต่องานสำนักงานที่ดิน ลำดับแรกขอให้ท่านไปที่ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของสำนักงานที่ดิน เพื่อขอคำแนะนำ ตรวจสอบหลักฐานเอกสารและรับบัตรคิว
การให้บริการเป็นไปตามลำดับคิว
เมื่องานของท่านสำเร็จแล้ว ขอให้ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารสิทธิ เช่น ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ จำนวนเนื้อที่ในโฉนดที่ดิน และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ท่านเตรียมมาว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพื่อไม่ให้มีปัญหาในภายหลัง
ขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินงานในแต่ละประเภทจะมีประกาศไว้ที่สำนักงานที่ดิน หากท่านเห็นว่างานล่าช้าเกินกว่าปกติ หรือไม่ได้รับความสะดวก หรือมีข้อสงสัยขอให้สอบถามได้ที่เจ้าหน้าที่ หัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดได้ตามแต่กรณี หากงานของท่านไม่มีปัญหาข้อขัดของอื่นใดจะเสร็จในเวลามาตรฐานที่ประกาศไว้
หากมีปัญหาไม่ได้รับความเป็นธรรมในการให้บริการ โปรดแจ้งกรมที่ดินได้โดยส่งข้อร้องเรียนทางไปรษณียบัตร ถึงกรมที่ดิน ตู้ ปณ. 11 ปณฝ. วัดเลียบ กทม. 10200 หรือ โทร. 222-2837
คำแนะนำเบื้องต้นในการไปติดต่อสำนักงานที่ดิน เพื่อขอทำการรังวัดที่ดินประเภทต่าง ๆ
ในช่วง พ.ศ. 2532-2536 ประชาชนผู้มาติดต่อสำนักงานที่ดินเพื่อขอทำการรังวัดที่ดินประเภทต่าง เช่น การออกโฉนดดิน การรังวัดแบ่งแยก การสอบเขตที่ดิน จะประสบปัญหาต่าง ๆ เช่น

ปัญหาคิดนัดรังวัดที่มีระยะยาว โดยสำนักงานที่ดินบางแห่งมีคิวนัดรังวัดเป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปีเศษ
ปัญหาค่าใช้จ่ายในการรังวัดที่ดิน สำนักงานที่ดินแต่ละแห่งไม่มีมาตรฐานในการกำหนดค่ามัดจำรังวัดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้กำหนดค่าใช้จ่ายในการรังวัด เช่น ในกรณีที่เนื้อที่เท่ากัน สำนักงานที่ดินบางแห่งจะให้ทำการรังวัดเป็นเวลา 2 วัน แต่บางแห่งจะให้ทำการรังวัดเพียงวันเดียว จึงก่อให้เกิดความสับสนต่อประชาชนผู้มาติดต่อ หรือในกรณีที่กำหนดค่ามัดจำรังวัดไว้แล้ว ช่างผู้ทำการรังวัดได้เบิกค่าใช้จ่ายไปหมดแล้ว แต่เรื่องรังวัดยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ทำให้เกิดปัญหาตามมา นั้นคือประชาชนผู้มาติดต่อรังวัดจะเสียค่ามัดจำเพิ่ม ทั้งที่เรื่องรังวัดยังไม่แล้วเสร็จ โดยบางรายอาจจะต้องเสียเงินมัดจำถึงจำนวน 2-3 ครั้ง ทำให้ประชาชนผู้มาติดต่อต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก

กรมที่ดินได้หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยมุ่งหวังว่าจะก่อให้เกิดผลดีด้านต่าง ๆ หลายประการดังนี้

เพื่อแก้ไขปัญหางานรังวัดค้างและลดระยะเวลาในการนัดรังวัด
เพื่อแก้ไขปัญหาอัตรากำลังช่างรังวัดที่มีไม่เพียงพอกับปริมาณงาน
ทำให้เกิดขวัญกำลังใจแก่ช่างรังวัดผู้ปฏิบัติงาน
เพือตอบสนองความต้องการเกี่ยวกับการรังวัดของประชาชนให้ได้รับบริการที่รวดเร็ว สะดวกยิ่งขึ้นโดยเสียค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจต่อการบริการ

การกำหนดค่าใช้จ่ายในการรังวัดที่ดินในลักษณะเหมาจ่าย เป็นแนวทางหนึ่งจากหลาย ๆ แนวทางที่กรมที่ดินนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรังวัดเดิม มีหลักเกณฑ์การคิดค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและเบิกจ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริงโดยยึดถือตามอัตราที่ทางราชการกำหนด แต่ค่าใช้จ่ายที่คิดในลักษณะเหมาจ่ายนี้จะมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

เพื่อให้ประชาชนเสียค่าใช้จ่ายในการรังวัดเพียงครั้งเดียว โดยเรื่องรังวัดรายใดที่ช่างรังวัดไปทำการรังวัดแต่ไม่แล้วเสร็จ จะไม่ให้มีการเบิกจ่าย
เพื่อทำให้การกำหนดจำนวนวันทำการรังวัด และการคิดค่าใช้จ่ายในการรังวัดเป็นมาตรฐานเดียวกันในการกำหนดจำนวนวันทำการรังวัดและเงินค่าใช้จ่ายในการรังวัดเดิม สำนักงานที่ดินบางแห่งได้กำหนดไว้สูงเกินความจำเป็น กรมที่ดินจึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา เพื่อให้การกำหนดจำนวนวันทำการรังวัดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันจะมีผลต่อการกำหนดค่าใช้จ่ายในการรังวัด เช่น กรณีเนื้อที่ที่ที่ทำการรังวัดมีเนื้อที่ไม่เกิน 5 ไร่ ให้ทำการรังวัดได้จำนวน 1 วัน ตามหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท 0706/ว 30708 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2540 สำหรับค่าใช้จ่ายในการรังวัด เช่น กรณีค่าพาหนะเดินทางให้จังหวัดตั้งคณะกรรมการกำหนดค่าพาหนะสูงสุดไม่เกินวันละ 800 บาท โดยเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดินหรือพิสูจน์สอบสวนหรือตรวจสอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ พ.ศ.2542 โดยให้สำนักงานที่ดินกำหนดค่าใช้จ่ายแต่ละพื้นที่ แล้วจัดทำบัญชีกำหนดจำนวนเงินมัดจำรังวัดปิดประกาศให้ประชาชนทราบ ตามหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท 07067/ว 01082 ลงวันที่ 14 มกราคม 2541 เรื่อง การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบเกี่ยวกับการรังวัดที่ดินเฉพาะราย ซึ่งสำนักงานที่ดินจะเรียกค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ประกาศของกระทรวงไม่ได้ เช่น ประกาศกรุงเทพมหานคร ประกาศจังหวัดสุโขทัย ประกาศจังหวัดนราธิวาสเป็นต้น

ที่มา :กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย

การเตรียมตัวกู้บ้านสำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ

ในปัจจุบันที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะลอตัว ค่าครองชีพของประชาชนเพิ่มขึ้น ทั้งจากราคาสินค้า และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ราคาที่อยู่อาศัยก็ปรับตัวตามต้นทุนค่าก่อสร้างที่สูงขึ้นด้วย รัฐบาลชุดใหม่จึงพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าผ่าน 6 มาตรการที่ผ่านคณะรัฐมนตรีไปเมื่อ 1 เมษายนที่ผ่านมา แต่เป็นที่สังเกตว่ามีเพียงมาตรการเดียวที่คนในเขตเมืองโดยเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑลให้ความสนใจที่สุด นั่นก็คือมาตรการสินเชื่อบ้านแก่ผู้มีรายได้น้อยอัตราดอกเบี้ยต่ำของธอส. ที่ปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหลังแรกให้แก่ผู้มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 15,000 บาทในวงเงินไม่เกินรายละ 600,000 บาท โดยคิดดอกเบี้ยคงที่ระยะยาวและต่ำกว่าธนาคารทั่วไป ซึ่งมี 2 ทางเลือกคือ อัตราดอกเบี้ยคงที่ 7 ปีที่ 4.0% และคงที่ 10 ปีที่ 4.5% หลังจากนั้นลอยตัวที่ MRR – 0.50% ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยมีโอกาสมีบ้านหลังแรกเป็นของตนเองโดยตรง ทั้งยังสามารถช่วยลดภาระการผ่อนชำระต่อเดือนได้อย่างมาก

โดยปกติ หากท่านต้องการซื้อบ้านราคา 600,000 บาทและยื่นขอกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ด้วยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยประมาณ 6 – 7% ต่อปี ท่านจะต้องมีเงินเดือนขั้นต่ำประมาณ 11,500 บาทจึงจะสามารถกู้ได้ แต่นี่ยังไม่นับรวมภาระอื่นที่ท่านมีอยู่ในขณะนั้นๆ เช่น ค่าผ่อนรถและข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งในความเป็นจริงค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็จะถูกนำมานับรวมในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อด้วย แต่เมื่อภาครัฐฯ คลอดมาตรการดังกล่าวออกมา อัตราดอกเบี้ยที่ท่านต้องเสียจะลดลงเหลือ 4% ต่อปีเท่านั้น ซึ่งการลดอัตราดอกเบี้ยทุก 1% จะทำให้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นถึง 6% ดังนั้นมาตรการนี้จึงมีส่วนทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นถึง 18% เลยทีเดียว

จากที่ต้องมีรายได้สูงถึง 11,500 บาทต่อเดือนถึงจะซื้อบ้านราคา 600,00 บาทได้ ตอนนี้เพียงท่านมีเงินเดือน 9,000 บาท ท่านก็สามารถเป็นเจ้าของบ้านได้ทันที นอกจากนี้ภาระการผ่อนชำระค่างวดต่อเดือนก็ลดลงถึงเดือนละ 1,000 บาท จากปกติผ่อนอยู่ 4,600 บาททุกเดือน ก็จะลดลงเหลือเพียง 3,600 บาทเท่านั้น การกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำนี้จึงเป็นการเพิ่มความสามารถในการกู้ให้กับประชาชนโดยตรง ซึ่งธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากติดภาระต้นทุนที่สูงกว่า แต่หากต้องทำจริงก็คงทำได้เพียงการเสนออัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะยาวอยู่ที่ประมาณ 6 – 7% ซึ่งก็คงไม่มีใครยอมมากู้แน่ เพราะมันยังคงแพงเกินไปอยู่ดี

สำหรับท่านที่มีรายได้น้อย และกำลังวางแผนที่จะซื้อบ้านและกู้สินเชื่อบ้านควรจะเตรียมตัวอย่างไร เพื่อให้การกู้ของท่านสะดวกรวดเร็วและได้รับอนุมัติสมใจท่าน หากท่านเป็นพนักงานกินเงินเดือนประจำก็ไม่ค่อยมีปัญหามากนัก แต่หากท่านมีอาชีพอิสระ เช่น นักร้อง นักแสดง นายหน้า ขายประกัน ขายตรง ขายก๋วยเตี๋ยว ขายข้าวแกง ขายกล้วยแขก ท่านอาจจะประสบกับปัญหาการประเมินรายได้ของธนาคาร เนื่องจากอาชีพเหล่านี้พิสูจน์รายได้ยาก ด้วยเหตุนี้เองท่านจึงต้องมีการเตรียมตัวที่มากกว่า ในวันนี้จึงผมขอแนะนำให้ฟังเบื้องต้นว่าหากท่านมีอาชีพอิสระ ท่านควรทำอย่างไรกู้ได้ หรือทำอย่างไรให้เป็นผู้ที่มีเครดิตในสายตาของสถาบันการเงินกรณีเป็นการกู้ส่วนบุคคล โดยเริ่มจาก

หมั่นนำรายได้ฝากธนาคาร หากมีความจำเป็นต้องการใช้เงินก็ใช้วิธีเบิก-ถอนจาก ATM แทน การเก็บเงินไว้ที่บ้าน เพื่อให้มีการเดินรายการผ่านบัญชีสม่ำเสมอ
สะสมเงินฝากต่างๆ เช่น เงินฝากทวีทรัพย์ เพื่อให้มีรายได้สม่ำเสมอ และมีเงินคงเหลืออยู่ในบัญชีตลอดเวลา
พยายามกู้ และลดภาระการใช้จ่ายให้น้อยลง อย่านำรายได้ของตัวเองไปจมอยู่กับการผ่อนรถ, ผ่อนข้าวของเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากจนเกินไป เพราะการกระทำดังกล่าวจะเป็นการกินรายได้ของตนเองมากจนไม่เหลือพอที่จะยื่นขอกู้บ้านได้ ควรให้ความสำคัญกับการกู้บ้านเป็นอันดับแรก
หากมีวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคล หรือหนีบัตรเครดิตที่ยังผ่อนชำระไม่หมด ควรรีบจัดการชำระให้หมด เพราะปกติวงเงินของบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลต่างๆ จะให้วงเงินอยู่ประมาณ 3 – 5 เท่าของรายได้เต่อเดือนเท่านั้น แต่การกู้บ้านมีวงเงินสูงถึง 50 – 60 เท่าของรายได้ต่อเดือน ดังนั้นท่านจะเลือกให้ความสำคัญกับสิ่งไหนมากกว่า
เป็นผู้มีวินัยทางการเงิน เพราะหากท่านมีประวัติผิดนัดชำระหนี้จนเป็น NPL หรือมีประวัติเสียในระบบเครดิตบูโร สถาบันการเงินคงไม่ให้ท่านกู้ แต่ถ้าท่านมีภาระเดิมก็ขอแนะนำ ให้พยายามรักษาเครดิตให้ดี เพราะสถาบันการเงินจะนำภาระหนี้เดิมของท่าน ไปคำนวณความสามารถในการผ่อนต่อไป
พยายามถ่ายรูปร้านค้าของท่านเวลามีลูกค้าเข้าร้านเยอะๆ เพื่อเป็นเอกสารประกอบการยื่นขอกู้กับธนาคาร
ถ้าท่านไม่สามารถพิสูจน์รายได้ชัดเจน คงต้องปรึกษากับเจ้าหน้าที่ธนาคาร เพื่อให้คำแนะนำการจัดเตรียมข้อมูลการประมาณการรายได้ของท่านต่อไป
สุดท้ายผมขอแนะนำว่า ท่านควรมีรายได้สม่ำเสมอและแน่นอนก่อนจึงค่อยคิดจะกู้บ้าน เพราะท่านจะต้องผ่อนชำระไปอีก 15 - 20 ปี และควรจะซื้อบ้านตามกำลังที่ตนเองมีอยู่เท่านั้นไม่ควรซื้อบ้านให้ใหญ่เกินตัวเกินกำลังของตน จะก่อความเดือดร้อนให้ท่านในอนาคตได้ ขอให้ระวังสักนิดครับ...


ขอขอบคุณ คุณ ชาติชาย พยุหนาวีชัย
Ref: khomesmilesclub

เคล็ดลับการขอสินเชื่อให้โดนใจแบงค์

ปัจจุบันนี้มีหนังสือหรือบทความมากมายที่พูดถึงกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเอสเอ็มอี ให้ประสบความสำเร็จ แต่กลับมีจำนวนน้อยมากที่แนะนำเจ้าของธุรกิจเหล่านี้ถึงเคล็ดลับในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จ ทั้งที่ข้อเท็จจริงคือ มีคำขอสินเชื่อนับพันในแต่ละปีถูกปฏิเสธโดยสถาบันการเงิน

9 เคล็ดลับต่อไปนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังวางแผนขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ครับ
เดิน statement เดิน statement เดิน statement

ธนาคารไม่ได้รู้จักธุรกิจของคุณทุกราย งบการเงินของธุรกิจเอสเอ็มอีโดยเฉลี่ยมีความผิดพลาดสูง (แต่มากกว่าร้อยละ 80 ไม่มีงบการเงิน) เกือบทุกธนาคารจึงอ้างอิงกระแสเงินสดเข้า - ออกบัญชี (หรือที่เรียกกันว่ายอดหมุนเวียนบัญชี) ในการประเมินรายได้ ดังนั้นการเดินบัญชีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างประวัติธุรกิจของคุณกับธนาคาร

การขอสินเชื่อเป็นเรื่องของเครดิต จงรักษามันให้ดีที่สุด
หลายคนไม่ได้ใส่ใจเรื่องประวัติค้างชำระในการใช้เครดิตส่วนบุคคล (บัตรเครดิต สินเชื่อที่พักอาศัย รถยนต์ หรือสินเชื่อเงินสด เป็นต้น) โดยไม่ทราบว่าประวัติเหล่านี้ถูกเก็บไว้ที่เครดิตบูโร และจะถูกนำมาประมวลผลพร้อมกันเมื่อคุณขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจ ดังนั้น หากกรรมการหรือหุ้นส่วนท่านใดมีประวัติค้างชำระในระบบ อาจส่งผลกระทบต่อการขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อย่าปล่อยให้ประวัติเช็คคืนมีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ
เช็คคืนที่เจ้าของธุรกิจสั่งจ่ายไป อาจแสดงถึงความสามารถในการจัดการด้านการเงินหรือสภาพคล่องที่ไม่เพียงพอของธุรกิจ ควรหาคนที่ไว้ใจได้ดูแลเงินหมุนเวียนในบัญชีของคุณให้ราบรื่น หากพบว่ามีกระแสเงินสดไม่พอ ควรรีบดำเนินการติดต่อผู้รับเช็คเพื่อขอผ่อนปรนระยะเวลาการชำระเงิน และเปลี่ยนเช็คที่มีกำหนดเวลาที่คุณสามารถจัดการได้ทันเวลา

ความลับทางการค้าจะไม่ถูกเปิดเผยโดยธนาคาร
มีข้อมูลหลายอย่างที่มีความสำคัญต่อการพิจารณาสินเชื่อ (โดยเฉพาะข้อมูลการเดินบัญชีหลักที่ไม่ได้เปิดในนามกิจการ) แต่ไม่ได้มีการนำเสนอเพื่อสนับสนุนการขอสินเชื่อ เนื่องจากเจ้าของธุรกิจหลายรายกลัวความลับทางการค้าหรือทางภาษีเหล่านั้นรั่วไหล ในความเป็นจริงคือ ธนาคารไม่สามารถนำเอกสารเหล่านี้เปิดเผยให้กับบุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ขอสินเชื่อ อีกทั้งหน่วยงานราชการ (เช่น กรมสรรพากร) มีวิธีตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้เอกสารที่ไม่สมบูรณ์ดังกล่าวในการอ้างอิงรายได้ของคุณ

เอกสารทางการค้ามีมูลค่า จงเก็บมันไว้เสมอ
เอกสารที่แสดงถึงผลการดำเนินงานของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นบัญชีซื้อ/ขาย สำเนาใบกำกับภาษี ใบสั่งซื้อสินค้า ใบเสร็จรับเงิน เหล่านี้เป็นเอกสารที่คุณอาจจำเป็นต้องใช้เพื่อนำเสนอผลประกอบการต่อธนาคาร และจะจำเป็นมากขึ้นในกรณีที่ยอดหมุนเวียนบัญชีของคุณไม่สะท้อนรายได้ของธุรกิจที่แท้จริง คุณสามารถใช้เอกสารเหล่านี้ประกอบการขอสินเชื่อได้

หลักประกันคือฟันเฟืองสำคัญของการพิจารณาสินเชื่อ
หลักประกันเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อ หลักประกันที่ดีที่สุดสำหรับการขอสินเชื่อคือ สถานประกอบกิจการ รองลงมาคือหลักประกันที่คุณมีไว้ในครอบครองแต่ไม่ได้ใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการ อาทิ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือเครื่องจักร หลักประกันบางชนิดอาจมีมูลค่าด้อยกว่าหลักประกันอื่น หรืออาจไม่สามารถใช้เป็นหลักประกันได้ ขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นและความสามารถในการจัดการผลิตภัณฑ์ของแต่ละธนาคาร เช่น สิทธิการเช่า ที่ดินที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ หรือมีแต่ไม่สมบูรณ์ เช่น โฉนดหลังแดง สค.1 ภบท.5 เป็นต้น

แหล่งรายได้และภาระหนี้สินรวมคือแหล่งที่มาของวงเงิน
แม้ว่าบางครั้งหลักประกันจะมีมูลค่ามากกว่าวงเงินที่ขอสินเชื่อ ธนาคารอาจอนุมัติวงเงินที่ต่ำกว่าที่ขอ เนื่องจากธนาคารไม่ได้พิจารณาตามมูลค่าหลักประกันเพียงอย่างเดียว แต่ว่าดูภาระหนี้สินรวมหรือจำนวนเงินที่คุณจะสามารถผ่อนชำระได้ในที่สุดด้วย ซึ่งความสามารถในการผ่อนชำระดังกล่าวก็ดูได้จากแหล่งรายได้ของคุณนั่นเอง

ไม่มีหลักประกันก็สามารถขอสินเชื่อได้
ในการปล่อยสินเชื่อประเภทที่ไม่ใช้หลักประกัน ธนาคารถือว่ามีความเสี่ยงสูง ดังนั้นคุณสมบัติของผู้ที่จะผ่านการอนุมัติได้ ก็จำเป็นต้องสูงกว่าการขอสินเชื่อทั่วไป ไม่ว่าจะเรื่องประสบการณ์ ยอดหมุนเวียนบัญชี อัตราดอกเบี้ยที่คิดก็มักจะสูงกว่า (ขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดของวงเงินที่ได้รับการอนุมัติ) ดังนั้นถ้าคุณมีหลักประกัน สิ่งที่ดีที่สุดคือเสนอหลักประกันประกอบการขอสินเชื่อ กรณีที่มีหลักประกันไม่พอ คุณสามารถติดต่อหน่วยงานภาครัฐเพื่อขอใช้บริการค้ำประกันวงเงินสินเชื่อได้

เตรียมพร้อมดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
การขอสินเชื่อที่ดีจำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมก่อนเสมอ นอกเหนือจากเอกสารประกอบต่าง ๆ แล้ว ยังต้องประเมินแผนการทางการเงินคร่าวๆ เช่น คุณต้องการเงินเท่าไหร่ รายได้โดยประมาณต่อปีเป็นเท่าไหร่ สามารถใช้หลักประกันอะไรได้บ้าง ประเมินจากเงื่อนไขของแต่ละธนาคารแล้ว คุณน่าจะได้วงเงินสักเท่าไหร่ ถ้าไม่พอคุณมีแผนจะทำอย่างไร คุณจะสามารถชำระคืนได้หรือไม่ ภายในกี่ปี คำถามเหล่านี้จะช่วยให้คุณเตรียมพร้อมก่อนดำเนินการเรื่องขอสินเชื่อ

ในการพิจารณาคำขอสินเชื่อนั้น นอกจากข้อมูลตัวเลขแล้ว คุณสมบัติและประสบการณ์ของผู้กู้ก็มีความสำคัญเช่นกัน การพิจารณาจะต้องดูองค์ประกอบทั้งหมดร่วมกันโดยขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่อนุมัติสินเชื่อ ดังนั้น คุณควรขอคำปรึกษาและนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อให้เขาเข้าใจธุรกิจของคุณ และนำเสนอต่อผู้อนุมัติสินเชื่อได้ดียิ่งขึ้น

ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการขอสินเชื่อในครั้งต่อไป
โดย ปกรณ์ พรรธนะแพทย์
รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

การเลือกเครื่องปรับอากาศ

เครื่องปรับอากาศที่มีขายในท้องตลาดออกแบ่งออกได้ 4 ลักษณะดังนี้ :
1.แบบติดหน้าต่าง หรือ WINDOW TYPE
     เป็น ประเภทที่รวมอุปกรณ์ทุกอย่างไว้ในชุดเดียว และติดแขวนไว้ที่ช่องหน้าต่างหรือผนังห้อง โดยเป่าลมเย็นให้เข้าห้อง พร้อมกับมีส่วนระบายความร้อนออกมาด้านนอก แบบนี้ตัวเครื่องจะมีขนาด ประมาณ 0.7-2.5 ตัน เครื่องปรับอากาศประเภทนี้เหมาะกับห้องที่ติดตั้งวงกบหน้าต่าง มีกระจกช่องแสงปิดตาย บานกระทุ้งหรือบานเกล็ด

ข้อดี :

การติดตั้งเคลื่อนย้ายสะดวกและรวดเร็ว

ข้อเสีย :

หากเครื่องมีขนาดใหญ่เกินไปจะมีปัญหาในการติดตั้ง เพราะบริเวณช่องหน้าต่างไม่สามารถรับน้ำหนักมากได้

กินไฟสูงและมีเสียงดังกว่าทุกประเภทเพราะการสั่นสะเทือนของตัวเครื่อง

2.แบบแยกส่วน หรือ SPLIT TYPE
    เป็น แบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด ที่เรียกว่าแยกส่วนเพราะได้แยกเอาส่วนที่เป่าลมเย็นออกจากตัวเครื่องระบาย ความร้อน โดยมีขนาดตั้งแต่ 1- 50 ตัน ติดตั้งได้ทั้งที่ใต้เพดานหรือบนพื้นราบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสวยงามและความเหมาะสมกับห้อง
ข้อดี :
ไม่ค่อยมีเสียงดังรบกวน เหมาะกับห้องนอนที่ต้องการความเงียบ

ข้อเสีย :

มีความยุ่งยากในการติดตั้ง เพราะต้องคำนึงถึงการเดินท่อระหว่างเครื่องที่แยกส่วน

 

3. แบบเครื่องชนิดทำน้ำเย็น หรือ WATER CHILLER
     ระบบนี้ใช้น้ำเป็นตัวกลางในการสร้างความเย็น เหมาะใช้กับอาคารขนาดใหญ่ ตัวเครื่องมีน้ำหนักตั้งแต่100 ตันขึ้นไป
ข้อดี :
กินไฟน้อยกว่าประเภทอื่น

ข้อเสีย :

มีความยุ่งยากในการติดตั้งมาก และต้องเตรียมโครงสร้างให้แข็งแรง

4. แบบเคลื่อนที่ได้ หรือ PORTABLE TYPE

     เป็น ระบบที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการนำไปใช้งาน ตัวเครื่องมีขนาดกะทัดรัด เคลื่อนย้ายได้ง่าย เนื่องจากติดตั้งตัวล้อไว้ที่ฐาน
ข้อดี :
เคลื่อนย้ายไปทุกที่ได้สะดวก น้ำหนักเบา ใช้งานง่ายและกินไฟน้อย

ข้อเสีย :

ใช้ได้กับห้องที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ประมาณ 10-13 ตารางเมตร
ข้อควรพิจารณาในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ
ขนาดที่เหมาะสมกับห้องที่ต้องการติดตั้ง สามารถดูได้จากตาราง ขนาดพื้นที่ห้องเทียบความสูงของห้องปกติ ( ไม่เกิน 3เมตร ) พื้นที่ห้องตามความสูงปกติ ขนาดเครื่องปรับอากาศ ขนาดห้อง( ตารางเมตร) ( บีทียู/ชั่วโมง )
*B.T.U. ย่อมาจาก BRITISH THERMAL UNIT

คำนึงถึงการใช้งานหรือวัตถุประสงค์ของห้องต่างๆ เช่น

ห้องที่มีพื้นที่จำกัด เช่นห้องชุด คอนโดมิเนียม ควรใช้แบบแขวนใต้ฝ้าเพดาน

ห้องนอน ควรเน้นประเภทที่เงียบเป็นพิเศษ และให้ความแม่นยำในการควบคุมอุณหภูมิเพื่อการพักผ่อนยาวนานตลอดคืน

อาคารขนาดใหญ่ นิยมใช้เป็นระบบปรับอากาศส่วนกลาง หรือ CENTRAL AIR



นอกจากนี้ต้องคำนึง เรื่องการวางระบบโครงสร้าง ภายนอก ภายใน รวมถึงระบบไฟฟ้า และพื้นที่ในการเดินท่อต่างๆ

พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ ( ดูจากฉลากที่ติดมากับตัวเครื่อง )

ควรเลือกประเภทที่ประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยดูจาก ค่า EER ( ENERGY EFFICIENCY RATIO )

ค่าที่ได้ควรเท่ากับ10 หรือมากกว่า ค่า EER ยิ่งมากเท่าไรก็จะประหยัดไฟฟ้ามากขึ้น
ขนาดทำความเย็น (บีทียู/ชั่วโมง)
กำลังไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมด ( วัตต์ )

ค่า EER ตั้งแต่ 7.6 ลงไป ถือว่าอยู่ในระดับ 1 มีเกณฑ์ต่ำ

ค่า EER ตั้งแต่ 7.6-8.6 ถือว่าอยู่ในระดับ 2 มีเกณฑ์พอใช้

ค่า EER ตั้งแต่ 8.6-9.6 ถือว่าอยู่ในระดับ 3 มีเกณฑ์ปานกลาง

ค่า EER ตั้งแต่ 9.6-10.6 ถือว่าอยู่ในระดับ 4 มีเกณฑ์ดี

ค่า EER ตั้งแต่ 10.6ขึ้นไป ถือว่าอยู่ในระดับ 5 มีเกณฑ์ดีมาก

ราคาและการบริการหลังการขาย

ปัจจุบัน เครื่องปรับอากาศส่วนใหญ่มีมาตราฐานใกล้เคียงกันมาก ดังนั้นการพิจารณาอาจเปรียบเทียบจากจำนวนปีที่ใช้งานกับราคาของเครื่อง และใช้กระแสไฟน้อยที่สุดแต่ให้ความเย็นมากที่สุด รวมถึงการรับประกันสินค้าและบริการหลังการขาย

การเลือกตำแหน่งติดตั้งที่เหมาะสม

ไม่โดนฝนสาด ทำให้ยืดอายุการใช้งาน

บริเวณที่ไม่ถูกแสงแดดส่องโดยตรงตลอดเวลา

บริเวณที่สามารถปล่อยให้เสียงและลมร้อนเป่าออกมาได้โดยไม่รบกวนบริเวณข้างเคียง

ตำแหน่งติดตั้งมีโครงสร้างแข็งแรง หรือใกล้คานหรือเสา เพื่อรับน้ำหนักตัวเครื่องได้ดี ปลอดภัย

ตัวเครื่องควรยกระดับให้พ้นจากพื้นดินอย่างน้อย 10 เซนติเมตร หรือพ้นจากระดับที่น้ำท่วมถึง สามารถเข้าซ่อมบำรุงได้ง่าย

หลีกเลี่ยงการติดตั้งในบริเวณที่มีกรดซัลไฟด์ เช่น บริเวณท่อระบายน้ำทิ้ง

หลีกเลี่ยงการติดตั้งในบริเวณที่มีโอกาสติดไฟเนื่องจากแก๊สรั่ว

ตำแหน่งที่วางไม่กีดขวางทางเดิน

อยู่บริเวณที่สามารถระบายความร้อนได้สะดวก

ที่มาข้อมูล: http://www.propertytothai.com

ขั้นตอนการยื่นเรื่องขอสินเชื่อ


1.       ติดต่อกับฝ่ายสินเชื่อของธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ต้องการ
2.       ขอแบบฟอร์ม เพื่อแสดงความประสงค์ขอกู้เงิน พร้อมนำหลักฐานยื่นประกอบการกู้อย่างครบถ้วน ถ้าเอกสารไม่ครบต้องนำเอกสารมายื่นเพิ่มเติมภายหลัง อาจจะทำให้การอนุมัติล่าช้าออกไป
3.       การประเมินราคาหลักประกัน และชำระค่าธรรมเนียมในการประเมิน เพื่อตรวจสอบมูลค่าตลาดยุติธรรมที่เหมาะสมของหลักประกัน โดยส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบสภาพทรัพย์สิน และประเมินราคาบ้านที่ดิน หรือที่อยู่อาศัยที่จะนำมาจำนองเป็นหลักประกัน โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 3-7 วัน
4.       ธนาคารหรือสถาบันการเงินจะตรวจสอบคุณสมบัติของผู้กู้ พิจารณาวิเคราะห์รายได้, ฐานะการการเงิน, ความสามารถในการผ่อนชำระ, ตรวจสอบเครดิตบูโร, หลักประกันของผู้กู้ และปัจจัยอื่น ๆ และแจ้งผลการขอกู้ให้ผู้กู้ทราบ ปกติใช้เวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์
5.       เมื่อได้รับอนุมัติกู้แล้ว ผู้กู้ทำการติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อมาลงนามในสัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง พร้อมทั้งนัดวันไปทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์-จำนองที่สำนักงานที่ดิน
6.       วันโอนกรรมสิทธิ์ ผู้ซื้อ, ผู้ขาย และเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินจะไปพร้อมกันที่สำนักงานที่ดิน ทำสัญญาซื้อ-ขาย โอนกรรมสิทธิ์ และชำระค่าธรรมเนียม,อากร,ภาษี แล้วแต่ผู้ซื้อ,ผู้ขายจะตกลงกัน
7.       เจ้าหน้าที่สถาบันการเงินจะจ่ายเงินกู้ให้กับผู้กู้เป็น แคชเชียร์เช็ค เพื่อให้ผู้กู้จ่ายเงินคงเหลือให้กับผู้ขาย เมื่อผู้กู้ได้รับเงินกู้แล้ว ผู้กู้มีหน้าที่ในการผ่อนชำระเงินงวดทุกเดือน ภายในเวลาที่กำหนดตามสัญญา
เอกสารสำคัญประกอบคำขอกู้
1.       เอกสารส่วนตัว ทั้งผู้ขอกู้,ผู้กู้ร่วม และคู่สมรส เช่น บัตรประจำตัวประชาชน-ข้าราชการ, ทะเบียนบ้าน, ทะเบียนสมรส, ใบเปลี่ยนแปลงชื่อ
2.       เอกสรแสดงฐานะทางการเงิน เช่น บัญชีเงินฝากหรือ Statement ย้อนหลัง 6 เดือน, ต้นฉบับหนังสือรับรองเงินเดือน (กรณีพนักงาน), ใบทะเบียนการค้า/หนังสือรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์ (กรณีประกอบธุรกิจส่วนตัว)
3.       เอกสารหลักทรัพย์ เช่นสำเนาโฉนดที่ดิน,สัญญาจะซื้อจะขาย, หลักฐานการชำระเงินดาวน์หรือเงินมัดจำ
4.       เอกสารเพิ่มเติม เช่น สัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง,ใบอนุญาตก่อสร้าง,แบบแปลนอาคาร
ที่มาจาก: http://www.homethaitoday.com