ขั้นตอนการออกแบบ-เขียนแบบสถาปัตย์


ขั้นตอนการออกแบบ-เขียนแบบสถาปัตย์ มีดังต่อไปนี้
1 งานขั้นวางแผนแนวทางการออกแบบ ( Programming Phaze )
ขั้นการให้คำปรึกษาและขอข้อมูลสำหรับ การออกแบบของโครงการจากเจ้าของโครงการ เพื่อทำการสรุป ความต้องการขั้นต้น ของลูกค้า หรือ เจ้าของโครงการ

1.1 รับข้อมูล วัตถุประสงค์ และความต้องการของผู้ว่าจ้าง ข้อมูลที่จำเป็นต่อการขอคำปรึกษาจากนักออกแบบตกแต่งภายในได้แก่

1.1.1. ขนาด ที่ตั้งและรูปร่างของโครงการหรืออาคารที่จะทำการตกแต่ง

1.1.2. งบประมาณที่ได้ตั้งใจไว้

1.1.3. รูปแบบหรือ Style ที่ชอบเป็นพิเศษ

1.1.4. ความต้องการหรือประโยชน์ใช้สอยที่ต้องการจากพื้นที่นั้นๆ

1.1.5. ข้อจำกัดต่างๆ ในงานออกแบบ (ถ้ามี) และ

1.1.6. ของประดับใดหรือสีใดที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ และต้องการให้มีในงานออกแบบ (ถ้ามี)
โดยในขั้นตอนนี้อาจจะมีการพบปะพูดคุย ระหว่างสถาปนิก และลูกค้ามากกว่า 1 ครั้งเพื่อ ปรับความเข้าใจต่างๆ ให้ตรงกัน และบ่อยครั้งที่ลูกค้าใช้ การพูดคุยในขั้นตอนนี้เพื่อพิจารณาตัวสถาปนิก ว่าสามารถทำงานด้วยกันได้หรือไม่น่าเชื่อถือเพียงใด และมีความสามารถ หรือรูปแบบของงานตรงกับ ความต้องการของลูกค้าหรือไม่ และในทำนองเดียวกัน สถาปนิก ส่วนใหญ่ก็จะใช้ขั้นตอนนี้ ในการพิจารณาว่าจะรับงานของลูกค้ารายนั้นหรือไม่ ด้วยเช่นกัน
1.2 เสนอแนวความคิดในการออกแบบ ( Prelininaly Concept )

สถาปนิก จะทำการวางแนวความคิดในการออกแบบคร่าวๆให้กับลูกค้าทำการ พิจารณา รูปแบบการออกแบบ (Style) รวมทั้งแบ่งพื้นที่ ใช้สอยคร่าวๆ (Zoning) หรือวางผังพื้นที่ใช้สอย อย่างง่ายๆ (Lay-out Plan) เพื่อให้ลูกค้าทำการพิจารณา การแบ่งพื้นที่ทั้งหมดว่าตรงกับความต้องการใช้งานจริง ของลูกค้าหรือไม่
2 งานออกแบบร่างขั้นต้น ( Schematic Design Phaze )
สถาปนิก จะนำแนวความคิดในการออกแบบ และผังพื้นที่ในการใช้สอย ที่ได้ผ่านการอนุมัติ จากลูกค้าแล้วมาพัฒนาเป็น แบบร่างอย่างง่ายๆ เพื่อให้ ลูกค้าเกิดจินตภาพ ได้ว่างานออกแบบทั้งหมด จะออกมาเป็นอย่างไร โดยสถาปนิกจะทำการนำเสนอเป็นภาพ Sketch หรือ Perspective หรือ Model ก็ได้

2.1 แบบร่างขั้นต้นแสดงถึงการใช้สอยพื้นที่ในอาคาร ( Layout Plans )

2.2 รูปทัศนียภาพ ขาว-ดำ ( Black White Perspective Sketch )

2.3 การเสนองบประมาณค่าใช้จ่าย ( Preliminary Budget )

เมื่อผ่านขั้นตอนนี้แล้ว ลูกค้าจะเริ่มเข้าใจและมองเห็น หน้าตาของงานออกแบบ ที่สถาปนิกจะพัฒนาในขั้นตอนต่อไป และลูกค้าอาจจะขอปรับแบบได้ แต่ไม่ควรจะแก้ไขแบบจนผิดไปจาก แนวความคิดใน การออกแบบและผังที่ได้วางเอาไว้ เพราะจะทำให้สถาปนิก ต้องกลับไป เริ่มต้นใหม่ทั้งหมดนอกจากนี้ จะกำหนดจำนวนครั้งใน การขอแก้ไขแบบในขั้นตอนนี้ไว้ไม่เกิน 2 ครั้ง เพื่อให้งานออกแบบไม่ยืดเยื้อ และแล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
3 งานออกแบบขั้นพัฒนา ( Design Development Phaze )
3.1 แบบแปลนการจัดห้อง และพื้นที่ใช้สอยต่าง ( Layout Plans )

3.2 รูปทัศนียภาพ สี ขาว-ดำ ( Color or Black White Perspective Views )

3.3 รูปด้าน ( Elevation Drawings )

3.4 ตัวอย่างการใช้สี และวัสดุอุปกรณ์ ( Material Board )

3.5 แบบจำลอง ( Model )
ในขั้นตอนนี้ สถาปนิกจะทำการพัฒนาแบบ ต่อจากแบบร่างขั้นต้น โดยนักออกแบบมักจะนำเสนอเป็นภาพ Perspective ที่เสมือนจริงหรือ Model ที่ ใกล้เคียงกับงานออกแบบ ที่จะออกมามากที่สุด เพื่อให้ลูกค้าสามารถจินตนาการ งานทั้งหมด ได้ชัดเจน และในขั้นตอนนี้ลูกค้า อาจจะขอแก้ไขแบบร่าง ในส่วนรายละเอียดได้บ้าง แต่ไม่มากนัก เนื่องจากแบบในขั้นตอนนี้ มักจะได้รับการอนุมัติจากแบบร่างขั้นต้น เกือบทั้งหมดแล้ว อย่างไรก็ดี หากลูกค้าต้องการทำการแก้ไขส่วนหลักๆ ในแบบร่าง ใน ขั้นตอนนี้ บริษัทจะขอคิดค่าบริการเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นการเพิ่มงาน หรือจัดว่า เป็นงาน ออกแบบใหม่เลยทีเดียว
  • รายระเอียดของแบบพิมพ์เขียวมาตรฐาน

รายระเอียดของแบบพิมพ์เขียวมาตรฐาน มีรายละเอียดของแบบพิมพ์เขียว ดังนี้



แบบสถาปัตยกรรม เป็นแบบแสดงรายละเอียดของอาคารประกอบด้วย - รายการสารบัญแบบ รายการวัสดุพื้น ผนัง ฝ้าเพดาน - รายการประกอบแบบ แสดงรายละเอียดตั้งแต่การเตรียมงานก่อสร้าง การเตรียมพื้นที่ งานฐานราก งานโครงสร้าง งานหลังคา ประตูหน้าต่าง งานสี งานฝ้าเพดานและรายละเอียดอื่น ๆ

- แบบผังบริเวณ แสดงการระบายน้ำออกนอกอาคาร

- แบบแปลนบ้านทุกชั้น แสดงรายละเอียดขนาดกว้างยาวของแต่ละห้องอย่างละเอียด พร้อมระบุรายการวัสดุที่ใช้

- แบบรูปด้านตัวบ้านทั้ง 4 ด้าน

- แบบรูปตัดแสดงรายละเอียดความสูงของตัวบ้าน รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง รายละเอียดโครงหลังคา

- แบบขยายรายละเอียดบันได ระบุวัสดุที่ใช้ทำพื้น ขนาดลูกตั้ง ลูกนอน รายละเอียดราวบันได

- แบบขยายรายละเอียดห้องน้ำทุกห้อง พร้อมระบุรายการวัสดุพื้น ผนัง รายการสุขภัณฑ์ และอุปกรณ์ในห้องน้ำอย่างละเอียด

- แบบขยายรายละเอียดประตู หน้าต่าง พร้อมระบุชนิด ขนาด วงกบ อุปกรณ์บานพับ มือจับ ลูกบิด กลอน

- แบบขยายรายละเอียดอื่นๆ เช่น รายละเอียดส่วนตกแต่ง เช่น คิ้ว บัว กระถางต้นไม้



แบบวิศวโครงสร้าง เป็นแบบแสดงรายละเอียดงานโครงสร้าง ประกอบด้วย
-แบบแปลนตำแหน่ง ขนาดเสาเข็ม พร้อมระยะอย่างละเอียด

- แบบแปลนฐานราก ระบุตำแหน่งพร้อมระยะอย่างละเอียด

- แบบแปลนคาน พื้นทุกชั้น ระบุชนิดของพื้นที่ใช้ เช่น พื้นคอนกรีตหรือพื้นสำเร็จรูป

- แบบโครงหลังคา แสดงรายละเอียดวัสดุหลังคา วัสดุโครงหลังคา ขนาดจันทัน แป ชนิดของกระเบื้อง

- แบบขยายฐานราก เสาเข็ม แสดงรายละเอียดการเสริมเหล็ก ชนิด ขนาดของเหล็ก และรายละเอียดชนิด ขนาดเสาเข็มที่ใช้

- แบบขยายรายละเอียดเสาของบ้านทุกชั้น พร้อมระบุขนาด ชนิดของเหล็ก การรับน้ำหนัก กำลังอัดของคอนกรีต

- แบบขยายคานคอนกรีตเสริมเหล็ก พร้อมระบุชนิดและขนาดเหล็กที่ใช้อย่างละเอียด

- แบบขยายพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก พร้อมระบุชนิดและขนาดเหล็กที่ใช้อย่างละเอียด

- แบบขยายการเสริมเหล็กบันได พร้อมระบุชนิดและขนาดเหล็กที่ใช้อย่างละเอียด

- แบบขยายส่วนโครงสร้างอื่นๆ เช่น เอ็นทับหลัง ระเบียง ม้านั่ง เป็นต้น



แบบวิศวสุขาภิบาล เป็นแบบแสดงรายละเอียดระบบสุขาภิบาลของอาคาร ประกอบด้วย

- รายการประกอบแบบสุขาภิบาล มาตรฐานการติดตั้ง และรายการวัสดุที่ใช้อย่างละเอียด

- แบบระบบสุขาภิบาลทุกชั้น แสดงรายระเอียดการเดินท่อ ชนิดและขนาดของท่อ แสดงการระบายน้ำ ตำแหน่งบ่อพักน้ำรอบตัวบ้าน การต่อมิเตอร์จากท่อประปาสาธารณะ

- แบบขยายรายละเอียดการเดินท่อในห้องน้ำทุกห้อง พร้อมระบุชนิดและขนาดท่ออย่างละเอียด

- แบบขยายรายละเอียดถังบำบัดน้ำเสีย พร้อมระบุชนิดและรายละเอียดการติดตั้ง

- แบบขยายรายละเอียดการติดตั้งสุขภัณฑ์ทุกชนิดอย่างละเอียด



แบบวิศวไฟฟ้า เป็นแบบแสดงรายละเอียดระบบไฟฟ้าของอาคาร ประกอบด้วย

- แบบแปลนไฟฟ้าทุกชั้น แสดงรายละเอียดการติดตั้งดวงโคม สวิทซ์ ทุกชั้น

- แบบแปลนไฟฟ้าแสดงรายละเอียดการติดตั้งปลั๊กไฟ ปลั๊กโทรศัพท์ ปลั๊กทีวี ไฟฉุกเฉิน กริ่งไฟฟ้า และแผงสวิทซ์บอร์ดทุกชั้น - รายการประกอบแบบไฟฟ้า ระบุชนิด ยี่ห้อดวงโคมและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้อย่างละเอียด

- มาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า พร้อมรายละเอียดต่างๆ



แบบขออนุญาตก่อสร้าง : เป็นแบบก่อสร้างที่จะต้องทำให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง และจะต้องส่งแบบ เพื่อขออนุญาต ก่อสร้างตามข้อกำหนดต่าง ๆที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกำหนดไว้ ประกอบด้วย



- รายการประกอบแบบ : บอกถึงรายละเอียดวัสดุ โครงสร้าง ข้อกำหนดของวัสดุ กำลังวัสดุที่ออกแบบไว้

- ผังบริเวณก่อสร้าง : บอกถึงขอบเขตที่ดิน แนวถอยร่นของตัวอาคาร ตามพระราชบัญญัติ



ระบบบำบัดน้ำเสีย และแนวท่อระบายน้ำ รวมถึงตำแหน่งการระบายน้ำออกสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ ทิศของตำแหน่งอาคาร ซึ่งแบบผังบริเวณนี้ จะเป็นแบบที่ใช้วาง ตำแหน่งของอาคารในพื้นที่จริง และจะถูกตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ในพื้นที่จริงว่าถูกต้องหรือไม่



- แผนที่สังเขป : บอกถึงแผนที่ตั้งของสถานที่ก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ในการเข้าตรวจสอบพื้นที่จริงของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และประโยชน์ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง

- แปลนพื้นทุกชั้น และ แปลนหลังคา

- รูปด้าน อย่างน้อย 2 ด้าน (ส่วนใหญ่จะทำรูปด้านทั้ง 4 ด้าน)

- รูปตัด อย่างน้อย 2 รูป

- รูปขยายบันได พร้อมรูปตัดบันได (กรณีอาคาร 2 ชั้นขึ้นไป)

- รูปขยายห้องน้ำ

- แปลนโครงสร้างทุกชั้น และแปลนโครงสร้างหลังคา

- รูปขยายโครงสร้าง

- แปลนระบบสุขาภิบาล

- แบบขยายระบบระบบบำบัดน้ำเสีย

- รายการคำนวณโครงสร้างของวิศวกร พร้อมสำเนาใบประกอบวิชาชีพ+สำเนาบัตรสมาชิกสภาวิศวกร

- หนังสือรับรองการออกแบบของสถาปนิก พร้อมสำเนาใบประกอบวิชาชีพสถาปนิก กส.

- หนังสือรับรองการออกแบบของวิศวกร พร้อมสำเนาใบประกอบวิชาชีพวิศวกร กว.

- รายการคำนวณโครงสร้างของวิศวกร พร้อมลายเซ็นของวิศวกรทุกแผ่น

- หนังสือรับรองการควบคุมงานของวิศวกรและ/หรือสถาปนิก (แล้วแต่ข้อตกลงในกรณีต้องใช้)



หากท่านได้จัดจ้างให้ผู้ออกแบบทำแบบยื่นขออนุญาตก่อสร้างท่านจะต้องได้ เอกสารเหล่านี้ครบถ้วน (ส่วนใหญ่จะเป็นขอบเขตงานแบบของการทำงาน จากสำนักงานเขต,เทศบาลหรือ อ.บ.ต. บางแห่ง
ที่มาจาก: http://www.novabizz.com/