1.แบบติดหน้าต่าง หรือ WINDOW TYPE
เป็น ประเภทที่รวมอุปกรณ์ทุกอย่างไว้ในชุดเดียว และติดแขวนไว้ที่ช่องหน้าต่างหรือผนังห้อง โดยเป่าลมเย็นให้เข้าห้อง พร้อมกับมีส่วนระบายความร้อนออกมาด้านนอก แบบนี้ตัวเครื่องจะมีขนาด ประมาณ 0.7-2.5 ตัน เครื่องปรับอากาศประเภทนี้เหมาะกับห้องที่ติดตั้งวงกบหน้าต่าง มีกระจกช่องแสงปิดตาย บานกระทุ้งหรือบานเกล็ด
ข้อดี :
การติดตั้งเคลื่อนย้ายสะดวกและรวดเร็ว
ข้อเสีย :
หากเครื่องมีขนาดใหญ่เกินไปจะมีปัญหาในการติดตั้ง เพราะบริเวณช่องหน้าต่างไม่สามารถรับน้ำหนักมากได้
กินไฟสูงและมีเสียงดังกว่าทุกประเภทเพราะการสั่นสะเทือนของตัวเครื่อง
2.แบบแยกส่วน หรือ SPLIT TYPE
เป็น แบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด ที่เรียกว่าแยกส่วนเพราะได้แยกเอาส่วนที่เป่าลมเย็นออกจากตัวเครื่องระบาย ความร้อน โดยมีขนาดตั้งแต่ 1- 50 ตัน ติดตั้งได้ทั้งที่ใต้เพดานหรือบนพื้นราบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสวยงามและความเหมาะสมกับห้อง
ข้อดี :
ไม่ค่อยมีเสียงดังรบกวน เหมาะกับห้องนอนที่ต้องการความเงียบ
ข้อเสีย :
มีความยุ่งยากในการติดตั้ง เพราะต้องคำนึงถึงการเดินท่อระหว่างเครื่องที่แยกส่วน
3. แบบเครื่องชนิดทำน้ำเย็น หรือ WATER CHILLER
ระบบนี้ใช้น้ำเป็นตัวกลางในการสร้างความเย็น เหมาะใช้กับอาคารขนาดใหญ่ ตัวเครื่องมีน้ำหนักตั้งแต่100 ตันขึ้นไป
ข้อดี :
กินไฟน้อยกว่าประเภทอื่น
ข้อเสีย :
มีความยุ่งยากในการติดตั้งมาก และต้องเตรียมโครงสร้างให้แข็งแรง
4. แบบเคลื่อนที่ได้ หรือ PORTABLE TYPE
เป็น ระบบที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการนำไปใช้งาน ตัวเครื่องมีขนาดกะทัดรัด เคลื่อนย้ายได้ง่าย เนื่องจากติดตั้งตัวล้อไว้ที่ฐาน
ข้อดี :
เคลื่อนย้ายไปทุกที่ได้สะดวก น้ำหนักเบา ใช้งานง่ายและกินไฟน้อย
ข้อเสีย :
ใช้ได้กับห้องที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ประมาณ 10-13 ตารางเมตร
ข้อควรพิจารณาในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ
ขนาดที่เหมาะสมกับห้องที่ต้องการติดตั้ง สามารถดูได้จากตาราง ขนาดพื้นที่ห้องเทียบความสูงของห้องปกติ ( ไม่เกิน 3เมตร ) พื้นที่ห้องตามความสูงปกติ ขนาดเครื่องปรับอากาศ ขนาดห้อง( ตารางเมตร) ( บีทียู/ชั่วโมง )
*B.T.U. ย่อมาจาก BRITISH THERMAL UNIT
คำนึงถึงการใช้งานหรือวัตถุประสงค์ของห้องต่างๆ เช่น
ห้องที่มีพื้นที่จำกัด เช่นห้องชุด คอนโดมิเนียม ควรใช้แบบแขวนใต้ฝ้าเพดาน
ห้องนอน ควรเน้นประเภทที่เงียบเป็นพิเศษ และให้ความแม่นยำในการควบคุมอุณหภูมิเพื่อการพักผ่อนยาวนานตลอดคืน
อาคารขนาดใหญ่ นิยมใช้เป็นระบบปรับอากาศส่วนกลาง หรือ CENTRAL AIR
นอกจากนี้ต้องคำนึง เรื่องการวางระบบโครงสร้าง ภายนอก ภายใน รวมถึงระบบไฟฟ้า และพื้นที่ในการเดินท่อต่างๆ
พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ ( ดูจากฉลากที่ติดมากับตัวเครื่อง )
ควรเลือกประเภทที่ประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยดูจาก ค่า EER ( ENERGY EFFICIENCY RATIO )
ค่าที่ได้ควรเท่ากับ10 หรือมากกว่า ค่า EER ยิ่งมากเท่าไรก็จะประหยัดไฟฟ้ามากขึ้น
ขนาดทำความเย็น (บีทียู/ชั่วโมง)
กำลังไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมด ( วัตต์ )
ค่า EER ตั้งแต่ 7.6 ลงไป ถือว่าอยู่ในระดับ 1 มีเกณฑ์ต่ำ
ค่า EER ตั้งแต่ 7.6-8.6 ถือว่าอยู่ในระดับ 2 มีเกณฑ์พอใช้
ค่า EER ตั้งแต่ 8.6-9.6 ถือว่าอยู่ในระดับ 3 มีเกณฑ์ปานกลาง
ค่า EER ตั้งแต่ 9.6-10.6 ถือว่าอยู่ในระดับ 4 มีเกณฑ์ดี
ค่า EER ตั้งแต่ 10.6ขึ้นไป ถือว่าอยู่ในระดับ 5 มีเกณฑ์ดีมาก
ราคาและการบริการหลังการขาย
ปัจจุบัน เครื่องปรับอากาศส่วนใหญ่มีมาตราฐานใกล้เคียงกันมาก ดังนั้นการพิจารณาอาจเปรียบเทียบจากจำนวนปีที่ใช้งานกับราคาของเครื่อง และใช้กระแสไฟน้อยที่สุดแต่ให้ความเย็นมากที่สุด รวมถึงการรับประกันสินค้าและบริการหลังการขาย
การเลือกตำแหน่งติดตั้งที่เหมาะสม
ไม่โดนฝนสาด ทำให้ยืดอายุการใช้งาน
บริเวณที่ไม่ถูกแสงแดดส่องโดยตรงตลอดเวลา
บริเวณที่สามารถปล่อยให้เสียงและลมร้อนเป่าออกมาได้โดยไม่รบกวนบริเวณข้างเคียง
ตำแหน่งติดตั้งมีโครงสร้างแข็งแรง หรือใกล้คานหรือเสา เพื่อรับน้ำหนักตัวเครื่องได้ดี ปลอดภัย
ตัวเครื่องควรยกระดับให้พ้นจากพื้นดินอย่างน้อย 10 เซนติเมตร หรือพ้นจากระดับที่น้ำท่วมถึง สามารถเข้าซ่อมบำรุงได้ง่าย
หลีกเลี่ยงการติดตั้งในบริเวณที่มีกรดซัลไฟด์ เช่น บริเวณท่อระบายน้ำทิ้ง
หลีกเลี่ยงการติดตั้งในบริเวณที่มีโอกาสติดไฟเนื่องจากแก๊สรั่ว
ตำแหน่งที่วางไม่กีดขวางทางเดิน
อยู่บริเวณที่สามารถระบายความร้อนได้สะดวก
ที่มาข้อมูล: http://www.propertytothai.com