ระเบียบของคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์

ระเบียบของคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์
เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ 2535 และ ฉบับที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538


-----------------------------


อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 105 เบญจ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2534 และมาดรา 62 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบของคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริม ทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่า ธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ. 2535"

ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป

ข้อ 3. บรรดาระเบียบข้อบังคับและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน

ข้อ 4. ให้อธิบดีกรมที่ดินเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้

ข้อ 5. ในระเบียบนี้
“ราคาประเมินทุนทรัพย์” หมายความว่า ราคาตลาดที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมิน ทุนทรัพย์เห็นชอบให้ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมสำหรับอสังหาริมทรัพย์
“ราคาดลาด” หมายความว่า (1) ราคาที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายส่วนมากยินดีตกลงซื้อขายกัน (2) ราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายทั้งสองฝ่ายทราบ ข้อมูลในทรัพย์สินที่จะซื้อขายนั้นพอสมควร (3) ราคาที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายมิได้ถูกบังคับหรือมีแรงจูงใจให้ซื้อขายกัน (4) ราคาของตลาดการค้าเสรีที่มีการแข่งกัน ไม่ใช่ราคาจากตลาดผูกขาด โดยผู้ซื้อหรือผู้ขาย หรือราคาขายทอดตลาด หรือราคาในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ หรือเงินเฟ้อ
"เขต" หมายความว่า บริเวณที่ดินที่ประกอบด้วยเขตย่อยไม่เกิน 26 เขต
"เขตย่อย" หมายความว่า กลุ่มย่อยของที่ดินในเขตหนึ่ง ๆ
"หน่วยที่ดิน" หมายความว่า ที่ดินแปลงเดียวหรือหลายแปลงในบริเวณเดียวกัน หรือต่างบริเวณกัน ซงประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลทำให้ราคาที่ดินนั้นแตกต่างกันน้อยที่สุด
"คณะอนุกรรมการประจำจังหวัด" หมายรวมถึง คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดสำหรับ กรุงเทพมหานคร ด้วย
"อำเภอ" หมายรวมถึง เขต และกิ่งอำเภอ ด้วย
"ตำบล" หมายรวมถึง แขวง ด้วย
"วิธีต้นทุนทดแทน" หมายความว่า เป็นวิธีการคิดหามูลค่าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างที่จะทำการประเมินราคาโดยการประมาณราคาต้นทุนราคาค่าก่อสร้าง ใหม่ในลักษณะทดแทนของเก่าหัก ด้วยค่าเสื่อมตามอายุการก่อสร้าง
"ต้นทุนราคาค่าก่อสร้างใหม่" หมายความว่า การประเมินราคาค่าก่อสร้างที่สมมุติว่าสร้างขึ้นใหม่ทดแทนของเดิม ณ วันที่ทำการประเมินราคาโดยให้มีขนาด รูปร่าง ลักษณะ วัสดุก่อสร้างและประโยชน์ใช้สอย เหมือนเดิม
"ค่าเสื่อม" หมายความว่า การเสื่อมค่าอันเนื่องมาจากอายุการก่อสร้างของโรงเรือน สงปลูกสร้าง โดยคิดหักเป็นร้อยละต่อปี ตามประเภทของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ
"พื้นที่ใช้สอย" หมายความว่า พื้นที่ของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างอันประกอบด้วยพื้นห้องต่างๆ และให้รวมถึงเฉลียง ระเบียง และส่วนโล่งหลังคาคลุม


หมวด 1 การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน


ข้อ 6. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดพิจารณากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์เกี่ยวกับ ที่ดินแต่ละเขตไว้เป็นหลักฐาน ในการนี้จะเชิญผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการประเมินราคา ที่ดินมาชี้แจงแสดงเหตุผลประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้

ข้อ 7. คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดอาจตั้งคณะทำงานเพื่อสืบหาข้อเท็จจริงของราคา ตลาดสำหรับที่ดินแต่ละเขตย่อยภายในเขตจังหวัดและวิเคราะห์ประเมินราคาที่ดิน ก็ได้

ข้อ 8. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดจัดทำแผนที่ประกอบการพิจารณาและกำหนดจำนวนทุน ทรัพย์ ดังนี้
(1) ในท้องที่ใดซึ่งสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินได้จัดทำแผนที่ประเมินราคา ที่ดิน และกำหนดหน่วยที่ดินไว้แล้ว ให้ใช้แผนที่ดังกล่าวเป็นหลักฐานในการประเมินราคา
(2) ที่ดินนอกเขตดังกล่าวใน (1) ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดกำหนดหน่วยที่ดิน โดยใช้แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 เป็นหลัก เว้นแต่กรณีจำเป็นก็ให้ใช้แผนที่ที่มีมาตราส่วนตามความเหมาะสม แล้วแบ่งหน่วยที่ดินเป็นกลุ่มตามสภาพความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ ตลอดจน ความเจริญของท้องที่ โดยให้ถือเอาสาธารณูปโภคและแนวเขตธรรมชาติเป็นหลักในการพิจารณากำหนด ทุนทรัพย์
(3) ในการจัดทำแผนที่ตาม (1) หรือ (2) ให้จัดทำแยกเป็นรายตำบลและอำเภอ

ข้อ 9. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดพิจารณากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ เพื่อใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยทำการสำรวจข้อมูลราคาซื้อขายที่ดินในท้องตลาดย้อนหลังไม่เกินสามปี และสำรวจข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นในการประเมินราคา เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม สภาพทางกายภาพของเมือง รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และโครงการของรัฐหรือท้องถิ่น ตลอดจนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน แนวโน้มการพัฒนาเมือง ซึ่งอาจเก็บรวบรวมข้อมูลเหล่านี้จากสำนักงานที่ดินจังหวัดหรืออำเภอ สำนักงาน จังหวัด สำนักงานสถิติจังหวัด สำนักงานเทศบาล สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

ข้อ 10. เมื่อได้ทำการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลตามข้อ 9 เสร็จแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(1) วิเคราะห์และประเมินราคา โดยวิธีเปรียบเทียบราคาตลาด
(2) ในกรณีที่ดินบริเวณใดไม่มีการซื้อขายให้พิจารณากำหนดจำนวนทุนทรัพย์โดย พิจารณา จากที่ดินหน่วยใกล้เคียง ซึ่งมีสภาพคล้ายคลึงกันในปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
(ก) สภาพการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
(ข) การคมนาคม สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ
(ค) ข้อจำกัดทางกฎหมาย เช่น การผังเมือง หรือที่ดินที่อยู่ในเขตเวนคืน
(ง) แนวโน้มของการพัฒนาในอนาคต
(จ) ข้อมูลการตกลงจะซื้อจะขายที่ดิน
(ฉ) ค่าเช่าหรือรายได้ที่ได้รับจากที่ดิน
(3) ในการกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ของที่ดิน มิให้รวมราคาอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเข้าไว้ด้วย

ข้อ 11. ในกรณีที่สำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินได้ทำการสำรวจและประเมิน ราคาที่ดินในเขตท้องที่ใดไว้แล้ว ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดนำรายงานการประเมินราคาของสำนักงานกลางประเมิน ราคาทรัพย์สินประกอบการพิจารณากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ได้


หมวด 2 การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง


ข้อ 12. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดสำรวจประเภทของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ในจังหวัดต่างๆ แล้วกำหนดเป็นแบบมาตรฐานสำหรับจังหวัดนั้นๆ ตามความเหมาะสมแก่ท้องที่ ในกรณีที่สำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินได้ทำการสำรวจกำหนดแบบ และจัดทำ ราคาโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างในจังหวัดใดไว้แล้ว ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดนำราคาดังกล่าวประกอบการพิจารณากำหนดราคา ประเมินทุนทรัพย์ได้

ข้อ 13. การกำหนดแบบมาตรฐานของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภทให้ประกอบด้วยแปลน พื้น รูปด้าน รูปตัด และอื่นๆ เท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักการเขียนแบบสถาปัตยกรรม

ข้อ 14. เพื่อให้สามารถกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ได้ละเอียดถูกต้องและเป็นธรรมแก่ ผู้เสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม อาจกำหนดแบบมาตรฐานโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างประเภทเดียวกันเป็นประเภทย่อยตาม คุณภาพของวัสดุก่อสร้าง เช่น ธรรมดา ปานกลาง ดี ดีมาก

ข้อ 15. ให้สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับราคาโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างในท้องที่แต่ละจังหวัด ได้แก่ ราคาวัสดุก่อสร้าง อัตราค่าจ้างแรงงาน และสถิติราคาค่าก่อสร้างจากหน่วยราชการ

ข้อ 16. ให้ประมาณราคาค่าก่อสร้างโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างโดยวิธีการประมาณราคา จากปริมาณงานและวัสดุก่อสร้างต่อหน่วย หรือวิธีประมาณราคาจากพื้นที่ แล้วแต่ความเหมาะสม

ข้อ 17. ให้ประมาณการค่าอำนวยการและดำเนินงาน กำไร และภาษี โดยกำหนดเป็นอัตราร้อยละจากข้อ 16

ข้อ 18. เมื่อได้ดำเนินการดามข้อ 16 และข้อ 17 เสร็จแล้วให้นำมารวมกันแล้วหารด้วยพื้นที่ใช้สอยของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง ตามแบบมาตรฐานของประเภทนั้น ก็จะได้ราคาค่าก่อสร้างต่อตารางเมตร

ข้อ 19. การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ให้วิเคราะห์เปรียบเทียบราคาค่าก่อสร้าง ของหน่วยงานอื่น ๆ ได้แก่ สำนักงบประมาณ กรมโยธาธิการ ธนาคารพาณิชย์ ผู้รับเหมา หรือหน่วยงาน อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 20. ให้จัดทำบัญชีราคามาตรฐานค่าก่อสร้างแยกตามประเภทของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง หรือประเภทย่อยตามระดับคุณภาพวัสดุก่อสร้าง โดยมีหน่วยเป็นบาทต่อตารางเมตร

ข้อ 21. ในบัญชีตามข้อ 20 อาจประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับโรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง และวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ โครงสร้าง ฐานราก โครงหลังคา วัสดุมุงหลังคา พื้น การตกแต่งพื้นผิว ผนัง การ ตกแต่งผนัง ฝ้าเพดาน ประดู หน้าต่าง บันได ตกแต่งบันได ห้องน้ำ - ส้วม สุขภัณฑ์ และรายละเอียดอื่นๆ ตามความเหมาะสม

ข้อ 22. ให้กำหนดอัตราค่าเสื่อมของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท ดังนี้
(1) โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างที่เป็นตึก ให้หักค่าเสื่อมปีที่ 1 ถึงปีที่ 10 ร้อยละ 1 ต่อปี ปีที่ 11 ถึงปีที่ 42 ร้อยละ 2 ต่อปี และตั้งแต่ ปีที่ 43 เป็นต้นไปให้หักค่าเสื่อมร้อยละ 76 ตลอดอายุการใช้งานของ โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างนั้น
(2) โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างที่เป็นตึกครึ่งไม้ ให้หักค่าเสื่อมปีที่ 1 ถึงปีที่ 5 ร้อยละ 2 ต่อปี ปีที่ 6 ถึงปีที่ 15 ร้อยละ 4 ต่อปี ปีที่ 16 ถึงปีที่ 21 ร้อยละ 5 ต่อปี และตั้งแต่ปีที่ 22 เป็นต้นไป ให้หักค่าเสื่อมร้อยละ 85 ตลอดอายุการใช้งานของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างนั้น
(3) โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างที่เป็นไม้ให้หักค่าเสื่อมปีที่ 1 ถึงปีที่ 5 ร้อยละ 3 ต่อปี ปีที่ 6 ถึงปีที่ 15 ร้อยละ 5 ต่อปี ปีที่ 16 ถึงปีที่ 18 ร้อยละ 7 ต่อปี และตั้งแต่ปีที่ 19 เป็นต้นไป ให้หักค่าเสื่อมร้อยละ 93 ตลอดอายุการใช้งานของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างนั้น


หมวด 3 การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด


ข้อ 23. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดพิจารณากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ ห้องชุด เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับห้องชุด ของอาคารชุดนั้นๆ ในกรณีที่สำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินได้ทำการสำรวจ และประเมินราคากรรมสิทธิ์ห้องชุดของอาคารชุดใดไว้แล้ว ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดนำรายงานการประเมินราคาของสำนักงานกลางประเมิน ราคาทรัพย์สินประกอบการพิจารณากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ได้

ข้อ 24. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดใช้ราคาตลาดของห้องขุด ณ วันที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดนั้นๆ มากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์

ข้อ 25. การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุดให้คำนึงถึง
(1) ราคาซื้อขาย เงื่อนไขสัญญาซื้อขาย หรือค่าเช่าของห้องชุดในแต่ละชั้นของห้องชุดนั้น และข้อมูลลักษณะเดียวกันของอาคารชุดอื่นที่คล้ายคลึงกันในบริเวณใกล้เคียง
(2) ปริมาณและคุณภาพเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง
(3) สิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการในอาคารชุดนั้น
(4) คุณภาพของวัสดุ และการตกแต่งภายในห้องชุดในลักษณะที่เป็นส่วนควบ
(5) ประเภทของห้องชุดที่ใช้ประโยชน์แตกต่างกัน เช่น ห้องชุดพาณิชยกรรม ห้องชุดสำนักงาน และห้องชุดพักอาศัย เป็นต้น
(6) แบบและตำแหน่งที่ตั้งห้องชุดในอาคารชุดนั้น
(7) ระบบการบริหารและการจัดการทรัพย์ส่วนกลาง
(8) ราคาตลาดของที่ดินอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด และต้นทุนค่าก่อสร้างอาคาร ณ วันขอจดทะเบียนอาคารชุด

ข้อ 26. เมื่อได้ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลตามข้อ 25 เสร็จแล้ว ให้ดำเนินการประเมิน ราคาโดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีประกอบกัน ดังนี้
(1) ให้ใช้วิธีเปรียบเทียบราคาตลาด กรณีที่มีข้อมูลราคาซื้อขายห้องชุดในอาคารชุดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและ ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน
(2) ให้ใช้วิธีคิดจากรายได้ กรณีที่มีข้อมูลค่าเช่าห้องชุดในอาคารชุดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน
(3) ให้ใช้วิธีต้นทุนทดแทน กรณีข้อมูลใน (1) หรือ (2) ไม่เพียงพอหรือไม่สามารถเปรียบ เทียบกันได้

ข้อ 27. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของห้องชุด เป็นราคาต่อตารางเมตร โดยกำหนดเป็นชั้นๆ หรือกลุ่มชั้นที่มีราคาเท่ากัน หากราคาในชั้นเดียวกันแตกต่าง กันก็อาจกำหนดให้ละเอียดเป็นรายห้องชุดก็ได้

ข้อ 28. อาคารชุดใดประกอบด้วยอาคารหลายอาคาร การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์จะรวมกันหรือแยกแต่ละอาคารก็ได้ตามความเหมาะสม ดังนี้
(1) ให้รวมกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ กรณีแต่ละอาคารมีสภาพทำเลที่ตั้งและราคาเท่ากัน
(2) ให้แยกกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ กรณีแต่ละอาคารมีสภาพทำเลที่ตั้งและราคา แตกต่างกัน

ข้อ 29. อาคารชุดใดมีทรัพย์ส่วนบุคคลอื่นๆ ที่จัดไว้เป็นของห้องชุดเฉพาะห้องให้กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์แยกไว้ต่างหาก


หมวด 4 การจัดทำบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์


ข้อ 30. เมื่อคณะอนุกรรมการประจำจังหวัดได้กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเสร็จแล้ว ให้จัดทำบัญชีกำหนดราคาประเมิน ทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์ตามแบบท้ายระเบียบนี้ตามข้อ 8 (1) (2) พร้อมทั้งแผนที่แสดงเขตและแผนที่ แสดงเขตย่อย ข้อ 20 ข้อ 27 ข้อ 28 และข้อ 29 แล้วแต่กรณี ส่งไปยังกรมที่ดิน เพื่อเสนอคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์พิจารณาให้ความเห็นชอบและ ประกาศใช้ต่อไป

ข้อ 31. เมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ให้ความเห็นชอบกับราคา ประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์ที่คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดเสนอมาตาม ข้อ 30 แล้วให้ประธาน คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดประกาศใช้บัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์แล้วส่ง ให้สำนักงานที่ดิน จังหวัด สำนักงานที่ดินสาขา สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอท้องที่และที่ว่าการกิ่งอำเภอท้องที่ เพื่อปิด ประกาศไว้ ณ สำนักงานหรือที่ว่าการนั้นๆ แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งส่งบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ และสำเนาแผนที่ไปยังกรมที่ดิน 2 ชุด ให้เก็บบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ไว้ที่สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินสาขา สำนักงานที่ดินอำเภอหรือสำนักงานที่ดินกิ่งอำเภอแล้วแต่กรณี อย่างน้อยแห่งละ 1 ชุด เพื่อให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและขอคัดสำเนาโดยเสียค่าธรรมเนียมตาม ระเบียบได้

ข้อ 32. การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์แต่ละคราวให้ใช้ได้ ไม่เกินสี่ปี นับแต่วันที่ประกาศใช้บัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่ปรากฏว่า ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่หนึ่งท้อง ที่ใดในจังหวัดนั้น แตกต่างจาก ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ได้ประกาศไว้มากพอสมควร ก็ไห้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดพิจารณากำหนด ราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์นั้นใหม่โดยเร็ว แล้วเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรม การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ เพื่อประกาศใช้ต่อไป [ข้อความในข้อ 32 นี้แก้ไขใหม่ตามระเบียบฯ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2538 ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2538]


ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2535
ร้อยตรี เบญจกุล มะกะระธัช (เบญจกุล มะกะระธัช)
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ประธานคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์



Source: ข้อมูลจากสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ ศิริชัย/พิมพ์ ชรินทร ทาน /ตรวจ พฤษภาคม 2551

รับสร้างโรงงาน,รับออกแบบโรงงาน,รับเหมาก่อสร้าง,ผู้รับเหมา,รับเขียนแบบโรงงาน,แบบแปลนโรงงาน ตลอดจนรับเ

รับออกแบบบ้านและอาคาร พร้อมให้คำแนะนำ เทคนิคดีๆ โดยคุณบี โทร 0867431141

แนะนำเทคนิคการออกแบบ ก่อสร้าง มากมาย โดยคุณบี

รับออกแบบบ้านและอาคารทุกประเภท
แบบบ้าน...(คลิกเข้าดู)
แบบโรงงาน แบบโกดัง แบบคลังสินค้า...(คลิกเข้าดู)
แบบสำนักงาน แบบออฟฟิศ...(คลิกเข้าดู)
แบบทาวน์โฮม แบบทาวเฮาส์ แบบอาคารพาณิชย์...(คลิกเข้าดู)
บริการฝึกอบรม คอร์สเรียนทั้งหมด...(คลิกเข้าดู)

เข้าชม ผลงานออกแบบ พร้อม เทคนิคก่อสร้างมากมาย โดยคุณบี คลิกลิงก์ http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/p/0867431141_21.html
ยินดีให้คำปรึกษาฟรี!!  สอบถามได้ตลอดครับ ยินดีมากๆ
ติดต่อ คุณบี ได้ที่
โทรศัพท์มือถือ : 0867431141
Line:  line052014 หรือแชทผ่านไลน์ คลิ๊กลิงค์  https://line.me/ti/p/P3J0gN59SF
Line@: @baanthaidd (ใส่ @ ด้วยนะครับ) หรือแชทผ่านไลน์ คลิ๊กลิงค์  https://lin.ee/sqYYLM6
อีเมล :   baanthaidd@gmail.com
เว็บไซต์ :   http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/


รับออกแบบบ้านและอาคาร 
ยินดีให้คำปรึกษาฟรี!! ตอบ-คำถาม โดยคุณบี สอบถามได้ตลอดครับ... ยินดีมากๆ
บริการ รับออกแบบบ้านและอาคาร  เขียนแบบเพื่อขออนุญาตก่อสร้าง พร้อมยื่นขอใบอนุญาต สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร(กทม) เทศบาล อบต.  กนอ.  นิคมอุตสาหกรรม แบบ.ข1 แบบ.อ1 แบบ.อ6 แบบ.รง.4 แบบ.รง.3 แบบ.น2 แบบ.น4
บริการถอดแบบประมาณราคา (BOQ) เพื่อขอสินเชื่อ ยื่นกู้ธนาคาร
รับออกแบบ เขียนแบบ ขายแบบแปลนพิมพ์เขียว  แบบอพาร์ทเม้นท์ แบบคอนโด แบบรีสอร์ท แบบโรงแรม แบบหอพัก แบบบ้าน แบบโรงงาน แบบโกดัง แบบโรงแรม แบบรีสอร์ท แบบอาคารพาณิชย์ แบบทาวน์เฮ้าส์ แบบสำนักงาน แบบก่อสร้างอาคารทุกชนิด
บริการรับออกแบบอาคารพร้อม รับเซ็นต์แบบ รับเซ็นต์ควบคุมงาน โดย วุฒิวิศวกรโยธารับเซ็นต์แบบ สามัญสถาปนิกรับเซ็นต์แบบ  วุฒิสถาปนิกรับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรโยธารับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรไฟฟ้ารับเซ็นต์แบบ วุฒิวิศวกรไฟฟ้ารับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรเครื่องกลรับเซ็นต์แบบ  วุฒิวิศวกรเครื่องกลรับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรอุตสาหการรับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรสิ่งแวดล้อมรับเซ็นต์แบบ     
รับออกแบบพร้อมก่อสร้าง รับสร้างอพาร์ทเม้นท์ รับสร้างคอนโด รับสร้างโรงแรม รับสร้างหอพัก รับสร้างบ้าน รับสร้างโรงงาน รับสร้างโกดัง รับสร้างสำนักงาน รับสร้างอาคารพาณิชย์  และรับเหมาก่อสร้างอาคารทุกชนิด 
รับเป็นที่ปรึกษาบริหารงานก่อสร้าง รับปรึกษากฎหมายก่อสร้าง รับตรวจสอบ ควบคุมงานก่อสร้างอาคารทุกประเภท
รับออกแบบทางด้านวิศวกรรมทุกสาขา  
รับออกแบบโครงสร้างอาคาร  รายการคำนวณโครงสร้าง โดย วุฒิวิศวกรโยธา สามัญวิศวกรโยธา   
รับออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย รายการคำนวนระบบบำบัดน้ำเสีย รับออกแบบระบบบำบัดมลพิษ และงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม  โดยสามัญสิ่งแวดล้อม
รับออกแบบระบบดับเพลิง และ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire Alarm Fire Pump ระบบดับเพลิงอัตโนมัติสปริงเกอร์  โดยสามัญวิศวกรเครื่องกล
รับออกแบบระบบปั๊มน้ำ ระบบปรับอากาศ ระบบระบายอากาศ  ระบบแอร์ โดยสามัญวิศวกรเครื่องกล
รับออกแบบระบบไฟฟ้า รับเขียนแบบไฟฟ้า รับเซ็นต์แบบไฟฟ้า โดย วุฒิวิศวกรไฟฟ้า สามัญวิศวกรไฟฟ้า  
รับออกแบบ ขนาดมิเตอร์  ขนาด หม้อแปลง Single Ling Diagrams, Riser Diagrams,
รับทำ Main Schedule ขนาด ของ MDM (Main Distribution)
รับออกแบบ ตารางโหลด Load Schedule
รับออกแบบ ระบบ Lighting ไฟฟ้าแสงสว่าง, โคมไฟ, เต้ารับ,
รับออกแบบ ระบบ CCTV, TV, เครื่องเสียง, ระบบป้องกันฟ้าผ่า ฯลฯ
รับออกแบบ ระบบ Fire Alarm System , Smoke & Heat Detector