วัตถุประสงค์ของการประมาณราคา
1. ให้ทราบถึงงบประมาณค่าก่อสร้างเพื่อกำหนดราคากลางสำหรับค่าก่อสร้างในโครงการ ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการประเมินราคาของผู้รับจ้างในการประมูลงาน
2. เพื่อกำหนดค่างวดงานในการก่อสร้างซึ่งจะประมาณการตามแบบและแผนงานเพื่อกำหนดค่างวดงานและสะดวกในการเบิกจ่ายค่างานในแต่ละงวด หรือในบางกรณีที่จะต้องคำนวณเพื่อหาปริมาณงานที่ทำได้จริงและทำการประเมินราคาเพื่อกำหนดค่างานที่จะจ่ายในงวดนั้น ๆ
3. เพื่อคิดค่างานเพิ่มหรือลดจากสัญญาในงานก่อสร้าง ใช้สำหรับกรณีที่ผู้ว่าจ้างกำหนดให้ผู้รับจ้างทำงานเพิ่มเติมจากที่กำหนดในแบบและข้อกำหนดประกอบสัญญาจ้าง ซึ่งจะต้องทำการประมาณการหาปริมาณงานจากแบบที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมโดยราคาต่อหน่วยที่ใช้ในการคิดราคาเป็นราคาที่แสดงอยู่ในสัญญาจ้างเดิม
4. เพื่อสามารถประมาณราคาขั้นต้น โดยการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โดยอาจจะมีแบบเพียงแบบร่างที่รับรองแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องมีแบบรายละเอียด ทั้งนี้อาจโดยวิธีการคำนวณราคาต่อพื้นที่ใช้สอย (บาท/ตร.ม.) หรือราคาต่อหน่วยการใช้ (บาท/ห้องพัก) เป็นต้น ซึ่งนำมาเป็นข้อมูลในการนำมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
5. เพื่อจัดทำเอกสารเสนอราคาก่อสร้างในการประมูลของผู้รับเหมา ทั้งนี้การประมาณราคาต้องทำอย่างละเอียดและรอบคอบ ทั้งนี้หากผิดพลาดอาจทำให้ทางราชการเสียผลประโยชน์ได้
อุปสรรค ปัญหา และข้อผิดพลาดในการประมาณราคา
1. ปัญหาที่ตัวบุคคล
- เจ้าหน้าที่บางคนมีคุณสมบัติพื้นฐานไม่เพียงพอ เช่น ขาดทักษะความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ ความเข้าใจและความสามารถในการอ่านแบบก่อสร้าง เทคนิคการก่อสร้าง แหล่งที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติมด้านวัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องใช้
2. ปัญหาที่ข้อมูลราคา
- ไม่ได้รับความร่วมมือจากร้านค้าที่สอบถามราคา
- ใบเสนอราคาไม่ตรงกับราคาซื้อขายจริง
3. กฎระเบียบทางราชการ
- ไม่สามารถกำหนดราคาได้ตามราคาขายตามท้องตลาด เนื่องจากใช้ราคาควบคุมจากกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งบางครั้งราคาขายจริงในท้องตลาดและสำนักงบประมาณขยับตัวสูงขึ้นแล้ว
- วัสดุ มอก.เดียวกัน มีราคาแตกต่างกัน
4. ข้อจำกัดในเรื่องของเวลากับปริมาณงานที่เข้ามา และจำนวนเจ้าหน้าที่คิดราคาไม่สมดุลกัน การประมาณราคาที่เร่งรีบบางครั้งแบบไม่สมบูรณ์ มีการแก้ไขและเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดข้อผิดพลาด
5. มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบและไม่ได้รับการประสาน ทำให้การประมาณราคากับแบบไม่ตรงกัน
6. แบบที่ไม่ชัดเจนทำให้เกิดความล่าช้าในการคิดราคา
7. งานประสานข้างที่ทำไว้แล้วไม่ตรงกับงานที่ออกเรื่องจริง ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน ล่าช้า ต้องคิดราคาใหม่
8. วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นกับการปฏิบัติงาน เช่น กระดาษ หมึกพิมพ์ มีไม่เพียงพอ ทำให้งานเกิดความล่าช้า ไม่คล่องตัว
9. เจ้าหน้าที่พิมพ์ พิมพ์ตกหล่น พิมพ์ผิด หรือใส่สูตรคำนวณผิดพลาด เช่น รวมโดยการ SUM ไม่ครบทุกบรรทัด หรือเกี่ยวกับการใช้ทศนิยม การใส่เลขศูนย์เกิน ทั้งนี้ต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น รวมถึงเจ้าของงานต้องตรวจสอบงานให้ละเอียดขึ้นก่อนออกงานทุกครั้ง
วิธีประมาณราคางานก่อสร้าง
การประมาณราคาค่าก่อสร้างตามขั้นตอนต่าง ๆ ในกระบวนการก่อสร้างอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ ดังนี้
1. การประมาณราคาขั้นต้น
- การประมาณราคาต่อหน่วยการใช้
การประมาณราคาโดยวิธีนี้ทำได้โดยการที่ทราบแบบอาคารที่จะใช้ในโครงการทั้งหมด เป็นการคำนวณได้ผลค่อนข้างหยาบโดยมีความคลาดเคลื่อนของผลลัพธ์ 20-30% แต่ใช้เวลาน้อย ทั้งนี้ผู้ประมาณการจะใช้วิธีนับหน่วยการใช้ของอาคาร เช่น งานแฟลตอาจนับจำนวนห้องพัก งานโรงพยาบาลอาจนับจำนวนเตียงคนไข้ผู้ป่วยใน เป็นต้น แล้วคำนวณงบประมาณ 487,994 บาทต่อห้องพัก หรือ 4,879,947 บาทต่อหลัง (ตัวเลขประมาณปี พ.ศ. 2550)
ทั้งนี้ผู้ประมาณการต้องมีข้อมูลในอดีตมากเพียงพอสำหรับใช้เป็นพื้นฐานในการประยุกต์ใช้ ทั้งนี้การนำข้อมูลมาใช้ต้องคำนึงถึง
- อัตราเงินเฟ้อในแต่ละปีที่ผ่านมา
- จำนวนหรือขนาดของโครงการที่ต่างกัน เช่น งานสร้างบ้านพักนายพันจำนวน 1 หลังกับสร้างบ้านพักแบบเดียวกันจำนวน 3 หลัง
- ค่า FACTOR F (อำนวยการ, กำไร, ภาษี ฯลฯ) ที่เปลี่ยนไป
ตัวอย่าง กาคำนวณราคาต่อหน่วย
ต้องการทราบงบประมาณในการก่อสร้างอาคารตึกแถวชั้นประทวน 10 ครอบครัว จำนวน 2 หลัง ห้องน้ำ-ห้องส้วม จำนวน 2 หลัง
วิธีประมาณราคา
1. ใช้ราคาข้อมูลอาคารที่มีในอดีตนำมาปรับปรุงโดยยึดเป็นเปอร์เซ็นต์หรือถ้ามีราคาปัจจุบันก็นำมาคิดคำนวณได้เลย ดังนี้
1.1 ราคาอาคารตึกแถวชั้นประทวน จุ 10 ครอบครัว หลังละ 4,384,410 บาท
ราคาไฟฟ้าภายในอาคารตึกแถวชั้นประทวน จุ 10 ครอบครัว หลังละ 272,488 บาท
ราคาประปาภายในอาคารตึกแถวชั้นประทวน จุ 10 ครอบครัว หลังละ 223,040 บาท
รวมราคาตึกแถวชั้นประทวน จุ 10 ครอบครัวต่อ 1 หลังเป็นเงิน 4,879,947 บาท
รวมราคาตึกแถวชั้นประทวน จุ 10 ครอบครัวต่อ 2 หลังเป็นเงิน
4,879,947 x 2 = 9,759,894 บาท
1.2 ราคาห้องน้ำ-ส้วมหลังละ 1,069,159 บาท
ราคาไฟฟ้าภายในหลังละ 31,759 บาท
ราคาประปาภายในหลังละ 80,151 บาท
รวมราคาห้องน้ำ-ส้วม 1 หลังเป็นเงิน 1,181,069 บาท
รวมราคาห้องน้ำ-ส้วม 2 หลังเป็นเงิน 1,181,069 x 2 = 2,362,138 บาท
รวมราคาทั้งสิ้น (1.1 + 1.2) เป็นเงิน 12,122,032 บาท
2. คิดค่าระบบสาธารณูปโภค (ถนน,ดินถม,ไฟฟ้า-ประปาภายนอก ฯลฯ) อีกประมาณ 40 % ของราคาที่ประมาณได้ตามรายการข้อ 1 เป็นเงิน 4,848,800 บาท
รวมราคาตามรายการข้อ 1.2 เป็นเงิน 12,122,032 + 4,848,800 บาท
= 16,970,832 บาท
FACTOR (F) (1.2229) = 16,970,832 x 1.2229
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น = 20,753,630 บาท
1. ให้ทราบถึงงบประมาณค่าก่อสร้างเพื่อกำหนดราคากลางสำหรับค่าก่อสร้างในโครงการ ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการประเมินราคาของผู้รับจ้างในการประมูลงาน
2. เพื่อกำหนดค่างวดงานในการก่อสร้างซึ่งจะประมาณการตามแบบและแผนงานเพื่อกำหนดค่างวดงานและสะดวกในการเบิกจ่ายค่างานในแต่ละงวด หรือในบางกรณีที่จะต้องคำนวณเพื่อหาปริมาณงานที่ทำได้จริงและทำการประเมินราคาเพื่อกำหนดค่างานที่จะจ่ายในงวดนั้น ๆ
3. เพื่อคิดค่างานเพิ่มหรือลดจากสัญญาในงานก่อสร้าง ใช้สำหรับกรณีที่ผู้ว่าจ้างกำหนดให้ผู้รับจ้างทำงานเพิ่มเติมจากที่กำหนดในแบบและข้อกำหนดประกอบสัญญาจ้าง ซึ่งจะต้องทำการประมาณการหาปริมาณงานจากแบบที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมโดยราคาต่อหน่วยที่ใช้ในการคิดราคาเป็นราคาที่แสดงอยู่ในสัญญาจ้างเดิม
4. เพื่อสามารถประมาณราคาขั้นต้น โดยการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โดยอาจจะมีแบบเพียงแบบร่างที่รับรองแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องมีแบบรายละเอียด ทั้งนี้อาจโดยวิธีการคำนวณราคาต่อพื้นที่ใช้สอย (บาท/ตร.ม.) หรือราคาต่อหน่วยการใช้ (บาท/ห้องพัก) เป็นต้น ซึ่งนำมาเป็นข้อมูลในการนำมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
5. เพื่อจัดทำเอกสารเสนอราคาก่อสร้างในการประมูลของผู้รับเหมา ทั้งนี้การประมาณราคาต้องทำอย่างละเอียดและรอบคอบ ทั้งนี้หากผิดพลาดอาจทำให้ทางราชการเสียผลประโยชน์ได้
อุปสรรค ปัญหา และข้อผิดพลาดในการประมาณราคา
1. ปัญหาที่ตัวบุคคล
- เจ้าหน้าที่บางคนมีคุณสมบัติพื้นฐานไม่เพียงพอ เช่น ขาดทักษะความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ ความเข้าใจและความสามารถในการอ่านแบบก่อสร้าง เทคนิคการก่อสร้าง แหล่งที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติมด้านวัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องใช้
2. ปัญหาที่ข้อมูลราคา
- ไม่ได้รับความร่วมมือจากร้านค้าที่สอบถามราคา
- ใบเสนอราคาไม่ตรงกับราคาซื้อขายจริง
3. กฎระเบียบทางราชการ
- ไม่สามารถกำหนดราคาได้ตามราคาขายตามท้องตลาด เนื่องจากใช้ราคาควบคุมจากกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งบางครั้งราคาขายจริงในท้องตลาดและสำนักงบประมาณขยับตัวสูงขึ้นแล้ว
- วัสดุ มอก.เดียวกัน มีราคาแตกต่างกัน
4. ข้อจำกัดในเรื่องของเวลากับปริมาณงานที่เข้ามา และจำนวนเจ้าหน้าที่คิดราคาไม่สมดุลกัน การประมาณราคาที่เร่งรีบบางครั้งแบบไม่สมบูรณ์ มีการแก้ไขและเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดข้อผิดพลาด
5. มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบและไม่ได้รับการประสาน ทำให้การประมาณราคากับแบบไม่ตรงกัน
6. แบบที่ไม่ชัดเจนทำให้เกิดความล่าช้าในการคิดราคา
7. งานประสานข้างที่ทำไว้แล้วไม่ตรงกับงานที่ออกเรื่องจริง ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน ล่าช้า ต้องคิดราคาใหม่
8. วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นกับการปฏิบัติงาน เช่น กระดาษ หมึกพิมพ์ มีไม่เพียงพอ ทำให้งานเกิดความล่าช้า ไม่คล่องตัว
9. เจ้าหน้าที่พิมพ์ พิมพ์ตกหล่น พิมพ์ผิด หรือใส่สูตรคำนวณผิดพลาด เช่น รวมโดยการ SUM ไม่ครบทุกบรรทัด หรือเกี่ยวกับการใช้ทศนิยม การใส่เลขศูนย์เกิน ทั้งนี้ต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น รวมถึงเจ้าของงานต้องตรวจสอบงานให้ละเอียดขึ้นก่อนออกงานทุกครั้ง
วิธีประมาณราคางานก่อสร้าง
การประมาณราคาค่าก่อสร้างตามขั้นตอนต่าง ๆ ในกระบวนการก่อสร้างอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ ดังนี้
1. การประมาณราคาขั้นต้น
- การประมาณราคาต่อหน่วยการใช้
การประมาณราคาโดยวิธีนี้ทำได้โดยการที่ทราบแบบอาคารที่จะใช้ในโครงการทั้งหมด เป็นการคำนวณได้ผลค่อนข้างหยาบโดยมีความคลาดเคลื่อนของผลลัพธ์ 20-30% แต่ใช้เวลาน้อย ทั้งนี้ผู้ประมาณการจะใช้วิธีนับหน่วยการใช้ของอาคาร เช่น งานแฟลตอาจนับจำนวนห้องพัก งานโรงพยาบาลอาจนับจำนวนเตียงคนไข้ผู้ป่วยใน เป็นต้น แล้วคำนวณงบประมาณ 487,994 บาทต่อห้องพัก หรือ 4,879,947 บาทต่อหลัง (ตัวเลขประมาณปี พ.ศ. 2550)
ทั้งนี้ผู้ประมาณการต้องมีข้อมูลในอดีตมากเพียงพอสำหรับใช้เป็นพื้นฐานในการประยุกต์ใช้ ทั้งนี้การนำข้อมูลมาใช้ต้องคำนึงถึง
- อัตราเงินเฟ้อในแต่ละปีที่ผ่านมา
- จำนวนหรือขนาดของโครงการที่ต่างกัน เช่น งานสร้างบ้านพักนายพันจำนวน 1 หลังกับสร้างบ้านพักแบบเดียวกันจำนวน 3 หลัง
- ค่า FACTOR F (อำนวยการ, กำไร, ภาษี ฯลฯ) ที่เปลี่ยนไป
ตัวอย่าง กาคำนวณราคาต่อหน่วย
ต้องการทราบงบประมาณในการก่อสร้างอาคารตึกแถวชั้นประทวน 10 ครอบครัว จำนวน 2 หลัง ห้องน้ำ-ห้องส้วม จำนวน 2 หลัง
วิธีประมาณราคา
1. ใช้ราคาข้อมูลอาคารที่มีในอดีตนำมาปรับปรุงโดยยึดเป็นเปอร์เซ็นต์หรือถ้ามีราคาปัจจุบันก็นำมาคิดคำนวณได้เลย ดังนี้
1.1 ราคาอาคารตึกแถวชั้นประทวน จุ 10 ครอบครัว หลังละ 4,384,410 บาท
ราคาไฟฟ้าภายในอาคารตึกแถวชั้นประทวน จุ 10 ครอบครัว หลังละ 272,488 บาท
ราคาประปาภายในอาคารตึกแถวชั้นประทวน จุ 10 ครอบครัว หลังละ 223,040 บาท
รวมราคาตึกแถวชั้นประทวน จุ 10 ครอบครัวต่อ 1 หลังเป็นเงิน 4,879,947 บาท
รวมราคาตึกแถวชั้นประทวน จุ 10 ครอบครัวต่อ 2 หลังเป็นเงิน
4,879,947 x 2 = 9,759,894 บาท
1.2 ราคาห้องน้ำ-ส้วมหลังละ 1,069,159 บาท
ราคาไฟฟ้าภายในหลังละ 31,759 บาท
ราคาประปาภายในหลังละ 80,151 บาท
รวมราคาห้องน้ำ-ส้วม 1 หลังเป็นเงิน 1,181,069 บาท
รวมราคาห้องน้ำ-ส้วม 2 หลังเป็นเงิน 1,181,069 x 2 = 2,362,138 บาท
รวมราคาทั้งสิ้น (1.1 + 1.2) เป็นเงิน 12,122,032 บาท
2. คิดค่าระบบสาธารณูปโภค (ถนน,ดินถม,ไฟฟ้า-ประปาภายนอก ฯลฯ) อีกประมาณ 40 % ของราคาที่ประมาณได้ตามรายการข้อ 1 เป็นเงิน 4,848,800 บาท
รวมราคาตามรายการข้อ 1.2 เป็นเงิน 12,122,032 + 4,848,800 บาท
= 16,970,832 บาท
FACTOR (F) (1.2229) = 16,970,832 x 1.2229
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น = 20,753,630 บาท
1.2 การประมวลราคาโดยราคาต่อหน่วยพื้นที่หรือหน่วยปริมาตร
การประมาณการขั้นต้นวิธีนี้มีความถูกต้องใกล้เคียงความจริงมากกว่าการประมาณราคาต่อหน่วยการใช้ โดยปกติแล้วความคลาดเคลื่อนอยู่ในช่วง 15-20% ทั้งนี้ต้องมีแบบร่างที่ดำเนินการได้ แบบที่ร่างแล้วแต่ยังไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียด คืออย่างน้อยควรมีแบบแปลนสถาปัตยกรรมรูปด้าน รูปตัด และข้อกำหนดงานก่อสร้างขั้นต้นแล้ว ซึ่งสามารถนำมาใช้คำนวณพื้นที่ใช้สอยได้ พร้อมจัดทำราคาต่อหน่วยพื้นที่สามารถทำตามแนวทางต่อไปนี้
1.2.1 คำนวณพื้นที่ใช้สอยในแต่ละขั้น และหาพื้นที่รวมทั้งหมด
1.2.2 เลือกข้อมูลต้นทุนก่อสร้างอาคารที่มีอยู่เดิม โดยเลือกอาคารที่มีแบบเหมือนกันหรือใกล้เคียงกับโครงการที่ประมาณการอยู่
1.2.3 เมื่อได้ราคาต่อหน่วยแล้ว ให้ทำการปรับปรุงต้นทุนตามสภาพแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงตามเวลา (ในกรณีข้อมูลไม่ทันสมัย ให้เพิ่มเปอร์เซ็นต์ที่เป็นไปได้โดยอาศัยดัชนีราคาค่าก่อสร้างมาปรับปรุงข้อมูล)
1.2.4 คำนวณราคากลางโดยใช้ต้นทุนต่อตารางเมตรคูณกับพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดจากที่คำนวณมาข้างต้น
1.2.5 ปรับปรุงราคาเพิ่มลดส่วนประกอบของอาคารของโครงการใหม่กับโครงการเดิมที่นำข้อมูลมาใช้
ตัวอย่าง รายการคำนวณโดยราคาต่อหน่วยพื้นที่
ให้ประมาณราคาอาคารสำนักงาน 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอยรวม 4,500 ตร.ม. โดยอาคารสำนักงานนี้มีชั้นใต้ดินสำหรับอาคารจอดรถยนต์ จำนวน 1 ชั้น นอกจากนี้ให้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินแบบเครื่องยนต์ดีเซลกำลัง 800 KVA จำนวน 1 ชุด พร้อมระบป้องกันอัคคีภัยจำนวน 15 ชุด โดยโครงการนี้ต้องก่อสร้างงานภายนอกอาคารด้วย สมมุติมีข้อมูลก่อสร้างอาคารสำนักงานในลักษณะเดียวกันหรือใกล้เคียงกับที่มีอยู่รวมกับค่าก่อสร้างงานระบบทุกระบบรวมถึงงานตกแต่งด้านสถาปัตยกรรม โดยปรับปรุงให้ทันสมัยแล้วเท่ากับ 12,500 บาท/ตร.ม.
วิธีประมาณราคา
1. คำนวณค่าก่อสร้างพื้นฐานจากข้อมูลต้นทุนเดิม
ค่าก่อสร้าง = พื้นที่ใช้สอย x ราคาต่อหน่วยพื้นที่
= 4,500 (ตร.ม.) x 12,500 (บาท/ตร.ม.)
รวมค่าก่อสร้าง = 56,250,000 บาท
2. ปรับปรุงราคาเพิ่มเติมจากปกติ
- เพิ่มเติมชั้นจอดรถใต้ดิน 1 ชั้น = 1,500 ตร.ม.
ค่าก่อสร้างส่วนจอดรถใต้ดินโดยประมาณ = 4,500 บาท/ตร.ม.
ค่าก่อสร้างส่วนจอดรถใต้ดิน 1,500 x 4,500 = 6,750,000 บาท
- เพิ่มเครื่องปั่นไฟแบบดีเซลขนาด 800 KVA จำนวน 1 ชุด
ราคาพร้อมติดตั้ง = 1,200,000 บาท
- อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน จำนวน 15 ชุด
เฉลี่ยต้นทุนต่อจุด = 4,500 บาท
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน = 15 x 4,500 = 67,000 บาท
รวมราคาค่าก่อสร้างเพิ่มเติม = 8,017,500 บาท
3. เพิ่มงานภายนอกอาคาร
- งานปรับเตรียมพื้นที่ 8,000 ตารางเมตร (ตารางเมตรละ 15 บาท) = 120,000 บาท
- งานถมดิน 8,000 ตารางเมตร พร้อมบดอัด 30% สมมติถมดินสูงเฉลี่ย 1 ม. = 8,000 x 1 x 1.3
คิดเป็นปริมาตรดิน = 10,400 ลบ.ม.
งานถมดิน (111 บาท/ลบ.ม.) = 10,400 x 111 = 1,154,400 บาท
- ถนน ค.ส.ล. 1,200 ตารางเมตร (ตารางเมตรละ 888 บาท) = 1,065,600 บาท
- ลานจอดรถยนต์ 1,000 ตารางเมตร (ตารางเมตรละ 888 บาท) = 880,000 บาท
รวมค่างานก่อสร้างภายนอกอาคาร = 3,228,000 บาท
รวมค่างานก่อสร้างทั้งสิ้น (ข้อ 1+2+3) = 56,250,000 + 8,017,500 + 3,228,000
= 67,495,500 บาท
ค่า FACTOR V (1.1978) = 67,495,500 x 1.1978
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น = 80,846,106 บาท
2. การประมาณราคาอย่างละเอียด
ในขั้นตอนการประมาณราคาอย่างละเอียดต้องดำเนินการดังนี้
- ตรวจสอบแบบที่ออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมโดยสถาปนิกและทางด้านโครงสร้างรวมถึงระบบงานต่าง ๆ โดยให้วิศวกรคิดคำนวณหาปริมาณงานต่อหน่วย โดยการถอดแบบคิดคำนวณหาปริมาณงานต่อหน่วยนั้นจะแบ่งตามหัวข้อการคิดราคาตามลำดับดังนี้
1. งานฐานราก
2. งานโครงสร้าง ค.ส.ล.
3. งานหลังคา
4. งานฝ้าเพดาน
5. งานผนังและฝา
6. งานตกแต่งผิวพื้นและผนัง
และรู้แหล่งที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติมด้านวัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ และมีการเก็บสถิติข้อมูลด้านต้นทุนงานก่อสร้างไว้อย่างสม่ำเสมอ และปรับตัวเลขให้ทันสมัย ซึ่งสามารถเข้ามาศึกษาได้ในหลักสูตรควบคุมงานก่อสร้าง
- กำหนดราคากลางของค่าวัสดุและค่าแรงต่อหน่วย โดยยึดถือราคาจากสำนักงานงบประมาณเป็นหลัก
- เมื่อได้ปริมาณงานและราคาทั้งหมดต่อหลังแล้ว ควรมีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนจัดทำเอกสารเสนอราคา โดยการตรวจสอบอาจทำโดยการเปรียบเทียบกับข้อมูลราคาที่มีอยู่เดิม เช่น ราคาต่อตารางเมตร การตรวจสอบปริมาณเหล็ก ตรวจสอบปริมาณคอนกรีต นอกจากนี้ความผิดพลาดทางการคำนวณ เช่น การใส่จุดทศนิยม หรือจำนวนเลขศูนย์ บางครั้งอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างไม่น่าเชื่อ
- จัดทำเอกสารเสนอราคาทั้งโครงการประกอบด้วย
1. การจัดทำบัญชีรายละเอียดประมาณราคา (ยย.5-6)
บัญชีรายละเอียดสถาปนิกจะเป็นผู้กำหนดและทางประมาณการจะเป็นผู้คิดราคาโดยรายละเอียดประกอบด้วย
- ราคาค่าก่อสร้างของอาคารต่าง ๆ ในโครงการ
- ราคาไฟฟ้า-ประปาภายในอาคาร
- ปริมาตรดินถมรวมถึงราคาค่าถมดิน
- ถนน ทางเท้าเข้าสู่อาคารของโครงการ (ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ)
- ไฟฟ้า-ประปาภายนอกอาคาร
- FACTOR F
ทำให้ทราบถึงค่าก่อสร้างในโครงการนั้น ๆ อย่างครบถ้วน และนำไปจัดทำแผนจัดหาต่อไป
2. การจัดทำรายละเอียดคำนวณราคาก่อสร้าง (บรคดาวน์)
- รายละเอียด ปริมาณวัสดุ ราคาค่าวัสดุ และค่าแรงของอาคาร ถนน ไฟฟ้าภายใน ประปาภายในแต่ละหลังของทั้งโครงการ
- รายละเอียดการคิดราคาของงานไฟฟ้า-ประปาภายนอกอาคาร
- FACTOR F
ใช้เป็นเอกสารประกอบในการเสนอราคาของผู้รับจ้าง
สรุป
เพื่อให้การคำนวณงบประมาณที่ควรได้รับในการจัดทำโครงการใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ควรสอบถามราคาหรือเก็บสถิติข้อมูลของราคากลางที่เคยทำมา ทั้งนี้ควรคำนึงถึงอัตราเงินที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละปี รวมถึงการคิดราคา FACTOR F และระบบสาธารณูปโภครวมไว้ด้วย
การประมาณการขั้นต้นวิธีนี้มีความถูกต้องใกล้เคียงความจริงมากกว่าการประมาณราคาต่อหน่วยการใช้ โดยปกติแล้วความคลาดเคลื่อนอยู่ในช่วง 15-20% ทั้งนี้ต้องมีแบบร่างที่ดำเนินการได้ แบบที่ร่างแล้วแต่ยังไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียด คืออย่างน้อยควรมีแบบแปลนสถาปัตยกรรมรูปด้าน รูปตัด และข้อกำหนดงานก่อสร้างขั้นต้นแล้ว ซึ่งสามารถนำมาใช้คำนวณพื้นที่ใช้สอยได้ พร้อมจัดทำราคาต่อหน่วยพื้นที่สามารถทำตามแนวทางต่อไปนี้
1.2.1 คำนวณพื้นที่ใช้สอยในแต่ละขั้น และหาพื้นที่รวมทั้งหมด
1.2.2 เลือกข้อมูลต้นทุนก่อสร้างอาคารที่มีอยู่เดิม โดยเลือกอาคารที่มีแบบเหมือนกันหรือใกล้เคียงกับโครงการที่ประมาณการอยู่
1.2.3 เมื่อได้ราคาต่อหน่วยแล้ว ให้ทำการปรับปรุงต้นทุนตามสภาพแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงตามเวลา (ในกรณีข้อมูลไม่ทันสมัย ให้เพิ่มเปอร์เซ็นต์ที่เป็นไปได้โดยอาศัยดัชนีราคาค่าก่อสร้างมาปรับปรุงข้อมูล)
1.2.4 คำนวณราคากลางโดยใช้ต้นทุนต่อตารางเมตรคูณกับพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดจากที่คำนวณมาข้างต้น
1.2.5 ปรับปรุงราคาเพิ่มลดส่วนประกอบของอาคารของโครงการใหม่กับโครงการเดิมที่นำข้อมูลมาใช้
ตัวอย่าง รายการคำนวณโดยราคาต่อหน่วยพื้นที่
ให้ประมาณราคาอาคารสำนักงาน 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอยรวม 4,500 ตร.ม. โดยอาคารสำนักงานนี้มีชั้นใต้ดินสำหรับอาคารจอดรถยนต์ จำนวน 1 ชั้น นอกจากนี้ให้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินแบบเครื่องยนต์ดีเซลกำลัง 800 KVA จำนวน 1 ชุด พร้อมระบป้องกันอัคคีภัยจำนวน 15 ชุด โดยโครงการนี้ต้องก่อสร้างงานภายนอกอาคารด้วย สมมุติมีข้อมูลก่อสร้างอาคารสำนักงานในลักษณะเดียวกันหรือใกล้เคียงกับที่มีอยู่รวมกับค่าก่อสร้างงานระบบทุกระบบรวมถึงงานตกแต่งด้านสถาปัตยกรรม โดยปรับปรุงให้ทันสมัยแล้วเท่ากับ 12,500 บาท/ตร.ม.
วิธีประมาณราคา
1. คำนวณค่าก่อสร้างพื้นฐานจากข้อมูลต้นทุนเดิม
ค่าก่อสร้าง = พื้นที่ใช้สอย x ราคาต่อหน่วยพื้นที่
= 4,500 (ตร.ม.) x 12,500 (บาท/ตร.ม.)
รวมค่าก่อสร้าง = 56,250,000 บาท
2. ปรับปรุงราคาเพิ่มเติมจากปกติ
- เพิ่มเติมชั้นจอดรถใต้ดิน 1 ชั้น = 1,500 ตร.ม.
ค่าก่อสร้างส่วนจอดรถใต้ดินโดยประมาณ = 4,500 บาท/ตร.ม.
ค่าก่อสร้างส่วนจอดรถใต้ดิน 1,500 x 4,500 = 6,750,000 บาท
- เพิ่มเครื่องปั่นไฟแบบดีเซลขนาด 800 KVA จำนวน 1 ชุด
ราคาพร้อมติดตั้ง = 1,200,000 บาท
- อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน จำนวน 15 ชุด
เฉลี่ยต้นทุนต่อจุด = 4,500 บาท
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน = 15 x 4,500 = 67,000 บาท
รวมราคาค่าก่อสร้างเพิ่มเติม = 8,017,500 บาท
3. เพิ่มงานภายนอกอาคาร
- งานปรับเตรียมพื้นที่ 8,000 ตารางเมตร (ตารางเมตรละ 15 บาท) = 120,000 บาท
- งานถมดิน 8,000 ตารางเมตร พร้อมบดอัด 30% สมมติถมดินสูงเฉลี่ย 1 ม. = 8,000 x 1 x 1.3
คิดเป็นปริมาตรดิน = 10,400 ลบ.ม.
งานถมดิน (111 บาท/ลบ.ม.) = 10,400 x 111 = 1,154,400 บาท
- ถนน ค.ส.ล. 1,200 ตารางเมตร (ตารางเมตรละ 888 บาท) = 1,065,600 บาท
- ลานจอดรถยนต์ 1,000 ตารางเมตร (ตารางเมตรละ 888 บาท) = 880,000 บาท
รวมค่างานก่อสร้างภายนอกอาคาร = 3,228,000 บาท
รวมค่างานก่อสร้างทั้งสิ้น (ข้อ 1+2+3) = 56,250,000 + 8,017,500 + 3,228,000
= 67,495,500 บาท
ค่า FACTOR V (1.1978) = 67,495,500 x 1.1978
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น = 80,846,106 บาท
2. การประมาณราคาอย่างละเอียด
ในขั้นตอนการประมาณราคาอย่างละเอียดต้องดำเนินการดังนี้
- ตรวจสอบแบบที่ออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมโดยสถาปนิกและทางด้านโครงสร้างรวมถึงระบบงานต่าง ๆ โดยให้วิศวกรคิดคำนวณหาปริมาณงานต่อหน่วย โดยการถอดแบบคิดคำนวณหาปริมาณงานต่อหน่วยนั้นจะแบ่งตามหัวข้อการคิดราคาตามลำดับดังนี้
1. งานฐานราก
2. งานโครงสร้าง ค.ส.ล.
3. งานหลังคา
4. งานฝ้าเพดาน
5. งานผนังและฝา
6. งานตกแต่งผิวพื้นและผนัง
และรู้แหล่งที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติมด้านวัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ และมีการเก็บสถิติข้อมูลด้านต้นทุนงานก่อสร้างไว้อย่างสม่ำเสมอ และปรับตัวเลขให้ทันสมัย ซึ่งสามารถเข้ามาศึกษาได้ในหลักสูตรควบคุมงานก่อสร้าง
- กำหนดราคากลางของค่าวัสดุและค่าแรงต่อหน่วย โดยยึดถือราคาจากสำนักงานงบประมาณเป็นหลัก
- เมื่อได้ปริมาณงานและราคาทั้งหมดต่อหลังแล้ว ควรมีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนจัดทำเอกสารเสนอราคา โดยการตรวจสอบอาจทำโดยการเปรียบเทียบกับข้อมูลราคาที่มีอยู่เดิม เช่น ราคาต่อตารางเมตร การตรวจสอบปริมาณเหล็ก ตรวจสอบปริมาณคอนกรีต นอกจากนี้ความผิดพลาดทางการคำนวณ เช่น การใส่จุดทศนิยม หรือจำนวนเลขศูนย์ บางครั้งอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างไม่น่าเชื่อ
- จัดทำเอกสารเสนอราคาทั้งโครงการประกอบด้วย
1. การจัดทำบัญชีรายละเอียดประมาณราคา (ยย.5-6)
บัญชีรายละเอียดสถาปนิกจะเป็นผู้กำหนดและทางประมาณการจะเป็นผู้คิดราคาโดยรายละเอียดประกอบด้วย
- ราคาค่าก่อสร้างของอาคารต่าง ๆ ในโครงการ
- ราคาไฟฟ้า-ประปาภายในอาคาร
- ปริมาตรดินถมรวมถึงราคาค่าถมดิน
- ถนน ทางเท้าเข้าสู่อาคารของโครงการ (ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ)
- ไฟฟ้า-ประปาภายนอกอาคาร
- FACTOR F
ทำให้ทราบถึงค่าก่อสร้างในโครงการนั้น ๆ อย่างครบถ้วน และนำไปจัดทำแผนจัดหาต่อไป
2. การจัดทำรายละเอียดคำนวณราคาก่อสร้าง (บรคดาวน์)
- รายละเอียด ปริมาณวัสดุ ราคาค่าวัสดุ และค่าแรงของอาคาร ถนน ไฟฟ้าภายใน ประปาภายในแต่ละหลังของทั้งโครงการ
- รายละเอียดการคิดราคาของงานไฟฟ้า-ประปาภายนอกอาคาร
- FACTOR F
ใช้เป็นเอกสารประกอบในการเสนอราคาของผู้รับจ้าง
สรุป
เพื่อให้การคำนวณงบประมาณที่ควรได้รับในการจัดทำโครงการใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ควรสอบถามราคาหรือเก็บสถิติข้อมูลของราคากลางที่เคยทำมา ทั้งนี้ควรคำนึงถึงอัตราเงินที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละปี รวมถึงการคิดราคา FACTOR F และระบบสาธารณูปโภครวมไว้ด้วย
เขียนโดย กองซ่อมสิ่งปลูกสร้างและสาธารณูปโภค