การประหยัดไฟฟ้า ต้องเริ่มจากการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างมีหลักเกณฑ์ ซึ่งข้อแนะนำต่อไปนี้จะเป็นเครื่องช่วยประเมินคุณค่าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะซื้อ ก่อนตัดสินใจควรพิจารณาดังนี้
1. ควรทราบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่พบเห็นนั้น กินไฟมากน้อยเพียงไร
2. มีความเหมาะสมในการใช้งานหรือไม่
3. สะดวกในการใช้สอย คงทน ปลอดภัยหรือไม่
4. ภาระการติดตั้ง และค่าบำรุงรักษา
5. พิจารณาคุณภาพ ค่าใช้จ่าย อายุใช้งาน มาประเมินออกมาเป็นตัวเงินด้วย
ปริมาณการกินไฟ (กำลังไฟฟ้า) ของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ
เครื่องใช้ไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า (วัตต์)
พัดลมตั้งพื้น 20 - 75
พัดลมเพดาน 70 - 100
โทรทัศน์ขาว-ดำ 28 - 150
โทรทัศน์สี 80 - 180
เครื่องเล่นวิดีโอ 25 - 50
ตู้เย็น 7-10 คิว 70 - 145
หม้อหุงข้าว 450 - 1,500
เตาหุงต้มไฟฟ้า 200 - 1,500
หม้อชงกาแฟ 200 -600
เตาไมโครเวฟ 100 - 1,000
เครื่องปิ้งขนมปัง 800 - 1,000
เครื่องทำน้ำอุ่น/ร้อน 2,500 - 12,000
เครื่องเป่าผม 400 - 1,000
เตารีดไฟฟ้า 750 - 2,000
เครื่องซักผ้าแบบมีเครื่องอบผ้า 3,000
เครื่องปรับอากาศ 1,200 - 3,300
เครื่องดูดฝุ่น 750 - 1,200
มอเตอร์จักรเย็บผ้า 40 - 90
การคิดค่ากระแสไฟฟ้า
ตัวอย่าง การคิดค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.2 สมมุติในเดือนมกราคม 2546 ผู้ใช้ไฟฟ้าใช้ไฟฟ้า 500 หน่วย
1. ค่าไฟฟ้าฐาน
1.1 ค่าพลังงานไฟฟ้า
150 หน่วยแรก 150 x 1.8047 เป็นเงิน 270.705 บาท
250 หน่วยต่อไป 250 x 2.7781 เป็นเงิน 694.525 บาท
เกิน 400 หน่วยต่อไป (500 – 400) x 2.9780 เป็นเงิน 297.80 บาท
รวมค่าไฟฟ้าฐาน เป็นเงิน 1,303.93 บาท
Ft ที่เรียกเก็บเพิ่มจากค่าไฟฟ้าฐานประจำเดือนมกราคม 2546 = 21.95 สตางค์ต่อหน่วย
2. ค่าไฟฟ้าผันแปร = 500 x (21.95/100) เป็นเงิน 109.75 บาท
รวมค่าไฟฟ้าฐานและค่าไฟฟ้าผันแปร เป็นเงิน 1,413.68 บาท
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7 เป็นเงิน 98.95 บาท
รวมค่าไฟฟ้าทั้งสิ้น เป็นเงิน 1,512.63 บาท
ที่มา:การไฟฟ้านครหลวง