อิฐมวลเบา

Q-con และ Super Block

ลักษณะ

เป็นระบบก่อสร้างคอนกรีตมวลเบา มีทั้งชนิดเสริมเหล็ก (Q-con) คือพวกแผ่นผนัง/พื้น/หลังคา และแบบไม่เสริมเหล็ก(Q-con/Super Block) คือบล็อกสำหรับก่อผนัง หนา7.5,8,9,20-30 ซม. สูง 20,30 ซม. ยาว 60 ซม.
เลื่อยตัดได้เหมือนไม้ ทนแรงกด 30-80 กก. สามารถก่อเป็นผนังรับแรงได้ น้ำหนักประมาณ 80 กก./ตรม. 1 ก้อนเท่ากับอิฐมอญ 18 ก้อน
วัสดุที่ใช้ทำ เป็นส่วนผสมของ ทราย ซีเมนต์ ปูนขาว ยิปซั่ม และผงอลูมิเนียม
มีฟองอากาศมากประมาณ 75% ทำให้เบา(ลอยน้ำได้) ฟองอากาศเป็น closed cell ไม่ดูดซึมน้ำ(ดูดซึมน้ำน้อยกว่าอิฐมอญ 4 เท่า) ความเบาก็จะทำให้ประหยัดโครงสร้าง เป็นฉนวนความร้อน ค่าการต้านทานความร้อนดีกว่าคอนกรีตบล็อก 4 เท่า ดีกว่าอิฐมอญ 6-8 เท่า
ไม่สะสมความร้อน ไม่ติดไฟ ทนไฟ 1,100 องศาได้นาน 4 ชม. กันเสียงได้ดี เมื่อฉาบจะแตกร้าวน้อยกว่าก่ออิฐฉาบปูน เนื่องจากตัวบล็อกกับปูนฉาบมีส่วนผสมที่ใกล้เคียงกัน

ราคา

ตัวผลิตภัณฑ์มีราคาแพงกว่าอิฐมอญและคอนกรีตบล็อคแต่จะมาประหยัดในด้านค่าแรง 1 ตรม.ใช้เวลาก่อ+ฉาบ 45 นาทีในขณะที่ ก่ออิฐ / คอนกรีตบล็อก ฉาบปูนใช้เวลา 2-3 ชม. และ ประหยัดค่าเสาเอ็นเนื่องจากไม่ต้องใช้ และค่าโครงสร้างก็ถูกกว่าเนื่องจากความเบา
รวม ค่าก่อสร้าง แล้วถูกกว่า อิฐมอญแต่แพงกว่าคอนกรีตบล็อก

ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากโบรชัวร์

เบอร์โทร Q-CON โทร. (035)221-264-72 fax.(035)221-273 (อยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมบางประอินค่ะ)

การป้องกันความร้อน

เรื่องการป้องกันความร้อน ดีกว่าอิฐมอญจริงๆ

ค่า OTTV

ค่า OTTV ของ ผนังก่ออิฐฉาบปูนอยู่ที่ประมาณ 30-45 วัตต์/ตรม. ที่ความหนา 10 ซม. ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ค่าตัวไหนป้อนลงในโปรแกรมคำนวณ มีหลายตัว ให้เลือกใช้ และ ขึ้นกับ ความหนาอิฐ+ปูนฉาบ

ของคอนกรีตมวลเบาจะอยู่ที่ประมาณ 15 วัตต์/ตร.ม. ที่ความหนา 10 ซม.เช่นกัน

จะเห็นว่าค่าไม่เกินที่ทาง กม.กำหนดไว้ คือ 45 วัตต์/ตร.ม. สำหรับอาคารใหม่ และ 55 วัตต์/ตร.ม.สำหรับอาคารเก่า
อันนี้คือผนังเพียว ๆ ไม่มีช่องเปิดเลย ตัวที่จะทำให้เกินก็คือสัดส่วนของกระจก เพราะค่า OTTV เป็นค่าเฉลี่ยของความร้อนที่ผ่านเข้าผนังชนิดต่าง ๆของอาคารที่มีการปรับอากาศ หารด้วยพื้นที่ผนังรวม

ตัวอย่างเช่น กระจกใส หนา 5 มม.ที่ไม่มีอุปกรณ์บังแดด
ทิศเหนือมีค่า OTTV 137 วัตต์/ตร.ม. ทิศใต้มีค่า OTTV 200 วัตต์/ตร.ม.
ทิศตอ.มีค่า OTTV 201 วัตต์/ตร.ม. ทิศตต.มีค่า OTTV 188 วัตต์/ตร.ม.

ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกกระจกอะไรด้วย ถ้าเลือกใช้กระจกที่กันความร้อนได้มาก ค่า OTTV ก็จะลดลงและแน่นอนว่าราคาการก่อสร้างจะแพงขึ้น การเลือกใช้คอนกรีตมวลเบาแทนอิฐจะทำให้ความร้อนเข้าอาคารน้อยลง แอร์ทำงานน้อยลง และ ส่งผลถึง การ ประหยัด ค่าไฟฟ้า (ไม่พูดถึง ปัญหา ด้านเทคนิค ในการก่อสร้าง )

หรือ ในอีก แง่หนึ่ง ก็จะ ทำให้สามารถออกแบบอาคารให้มีสัดส่วนของกระจกได้มากกว่า การ ใช้อิฐ โดย ยังอยู่ใน ขอบเขต ที่ความร้อนจาก แสงอาทิตย์ สามารถ เข้าอาคาร ไม่เกินที่ กม.กำหนด

ปัญหาที่เจอ

มีปัญหาเรื่องฉาบแล้วร้าวเหมือนกัน แล้วก็ไม่ได้กันน้ำซึมเหมือนกับที่โฆษณาไว้ แต่เชื่อว่าคงป้องกันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญธรรมดา แต่การฉาบแล้วร้าวเป็นปัญหาถาวรของช่างปูนในปัจจุบัน ทำผนังก่ออิฐฉาบปูนธรรมดาๆ ยังร้าวเต็มไปหมดเลย ทุบก็แก้ไม่หาย

1. ราคาจริงบอกไม่ได้เลยครับตอนนี้ เพราะบางครั้งก็แพง บางครั้งก็ถูกเหลือเชื่อ อยู่ที่ว่าเราจะ "หมู" แค่ไหนในการติดต่อแต่ละครั้งครับ

2. มาตรฐานของอิฐแต่ละชุดต้องระวัง เพราะบางครั้งก็ดีอย่างที่โฆษณาเอาไว้ บางครั้งแค่จุ่มโดนน้ำ น้ำก็ซึมไหลโกร๊กแล้ว ถามทางตัวแทนไป เขาก็บอกว่ารุ่นนี้มีฟองอากาศมากหน่อย มีเนื้ออิฐน้อยหน่อย เพราะต้องการลดราคา ทำให้ฟองอากาศมันต่อกัน น้ำเลยเข้าง่าย เขาบอกว่าอิฐแบบนี้น่าจะใช้กับผนังภายใน (แต่เขาลืมบอกล่วงหน้า ....)

3. การฉาบปูนทับลงไปต้องระวังอย่างยิ่ง บางเจ้าก็โฆษณาว่าเป็น Fiber Cement ซึ่งทำให้มีแรงยึดเกาะดีกว่า แต่พอฉาบแล้วร้าว ถามไปที่เขา เขาก็ตอบกลับมาอย่างไม่รับผิดชอบใดๆเลย (เสียดายที่คนตอบไม่ได้เป็นสถาปนิกหรือวิศวกร ไม่ยังงั้นผมฟ้องอาญา ๒๒๗ และร้องเรียนให้ถอนใบอนุญาตไปแล้ว)

เรื่องปูนฉาบทราบมาว่า Super block เลิกขาย เพราะต้นทุนสูง ส่วน Q-con ระบุว่าสามารถใช้ปูนฉาบทั่วไปทดแทนได้ (แต่ไม่แนะนำอย่างยิ่ง)

4. เรื่องฉาบนี้บางเจ้าก็ต้องการขายแต่อิฐ ใครใคร่ใช้อะไรฉาบก็ฉาบไปเลย พอช่างที่ไม่รู้เรื่องฉาบเข้าไปโดยไม่เตรียมผิวให้เหมาะสม ก็ร้าวทั้งหลังอีกนั่นแหละ ถามไปที่บริษัท เขาก็บอกว่าเขาขายแต่อิฐ ไม่ได้ขายปูนฉาบ

5. หากมีช่างที่เข้าใจการก่อสร้าง การใช้อิฐมวลเบาจะทำงานได้รวดเร็วและเรียบร้อยมาก ถ้าคิดถึงภาพรวมของวิธีกรรมการก่อสร้าง คิดถึงค่าเก็บขยะ การจ่ายชำระเงิน การเก็บ ความสูญเสียน้อย โดยไม่รวมความเบาที่อาจจะทำให้โครงสร้างเล็กลง ....งบประมาณที่ใช้อิฐมวลเบา มักจะถูกกว่าอิฐมอญ

6. ทั้ง Q-Con และ Supper Block ต่างก็ไม่ทนความชื้นเหมือนที่โฆษาเอาไว้ แต่ก็ทนได้ดีกว่าอิฐมอญ หรือคอนกรีตบล๊อค

7. เวลาเข้าอยู่จริง จะตอกตะปูแขวนรูป หรือของ จะตอกไม่ได้ เพราะมันจะร่วน ต้องใช้พุก หรือ bolt เจาะเข้าไปก่อน ทำให้ยุ่งยาก

แนวทางการใช้งาน

1. ถ้าใครจะใช้อิฐมวลเบา จะต้องเข้าใจธรรมชาติของอิฐชนิดนี้ ต้องเข้าตรวจสอบในขณะก่อสร้างอย่างใกล้ชิด

2. ต้องทำใจกับราคาคุยที่ไม่รับผิดชอบของผู้ขาย เพราะ Supper Block & Q-Con ไม่เคยให้ข้อมูลที่ควรระวังที่ครบถ้วน แม้จะเป็นของดี น่าใช้น่าสนับสนุน ก็ตาม งานนี้ก็เหมือนจะนั่งเครื่องบินไอพ่นละครับ มันไปได้เร็ว ถึงที่หมายง่ายกว่า สะดวกกว่า นุ่มนิ่มกว่า ขี่เกวียนตั้งเยอะ .... แต่ถ้า เครื่องไอพ่น มันมีปัญหาเมื่อไร ... ก็สยองเมื่อนั้น .. แถมหาคนรับผิดชอบไม่ได้ด้วยละครับ ...

3. เวลาฉาบปูนต้องใช้น้ำยา ผสมปูนฉาบเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวช่วยด้วยครับ ไม่งั้นมันก็ร้าวอย่างที่ว่า
เคยใช้ยี่ห้อ Hi-flex แต่ค่อนข้างแพงหน่อยนะ ไม่เคยใช้กับบ้านคน ที่ทำเป็นโรงงาน เขาใช้น้ำยาตัวนี้อยู่แล้วกับงานฉาบทั่ว ๆ ไป

วัสดุอื่นๆในประเภทเดียวกัน

ประเภทของอิฐมวลเบาแบ่งเป็น 3 อย่าง

1. ประเภททำให้มีฟองอากาศข้างใน เหมือนเราทำขนมเคก โดยมี "สารฟู" เป็นตัวช่วย

อย่างแรกที่ใช้ระบบฟองอากาศนั้นก็คือเจ้าอิฐมวลเบาสองยี่ห้อที่พูดถึงในนี้

2. อย่างที่สอง เป็นการใช้ additive เป็นส่วนผสมให้เบาๆ (ขออนุญาตไม่อธิบายลึก)

อย่างที่สองตอนนี้ใช้ที่ CPAC ทำเป็นผนังเบาสำเร็จ

3. อย่างสุดท้าย ก็คือใช้โฟม์ เป็น aggrigate ส่วนผสมของทรายและปูน กวนกัน

เป็นวัสดุมวลเบา เช่นยี่ห้อ mtts lightgrert เป็นเทคโนโลยีจากออสเตรเลีย ทำที่โรงงานที่ เพชรบูรณ์ เป็นวัสดุ คอนกรีตผสมโฟมเป็นเม็ดๆ กันความร้อนได้ดี คนขายเอาไฟเผาให้ดูก็ไม่ติดไฟ เอาไปลอยน้ำก็ไม่จม เป็นก้อนๆใหญ่กว่า อิฐบล็อค ราคาไม่แพงถ้าเทียบกับ superblock

เอามาทำโรงงานสร้างเสร็จมาปีกว่าแล้วก็ไม่มีปัญหาอะไรแข็งแรงดี ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำซึมเลย แต่เรื่องปูนฉาบร้าวไม่แน่ใจ เพราะที่โรงงานก่อเปลือยไม่ได้ฉาบ ก่อสร้างเร็วมาก

แต่คนงานบ่นน่าดู เพราะก้อนมันใหญ่กว่าอิฐมอญเค้าไม่คุ้นมือ ต่อไปนี้คงต้องหาวัสดุตัวใหม่มาแทนอิฐมอญแล้ว เพื่อนเคยบอกว่าอิฐมอญมีค่าการนำความร้อนสูงมาก

การฉาบปูนของอิฐผมสเม็ดโฟม ต้องทำให้ถูกวิธี
หากใช้ปูนฉาบ (ไม่ว่าจะดีแค่ไหน) ฉาบด้วยวิธีกรรมปกติ รับรองมีปัญหาภายหลังกว่า 90% แน่นอน เพราะตรงที่เป็นเม็ดโฟมจะไม่เกาะปูนฉาบ หากฉาดด้วยกาวจะยิ่งไปกันใหญ่ เพราะกาวอาจจะไปกินโฟมได้เหมือนกัน จึงขอแนะนำวิธีการฉาบอิฐเม็ดโฟม ไว้สักสองวิธีดังนี้

ก.) ฉาบหนาแบบ stucco ของตึกฝรั่ง เป็นการใช้ปูนแบบปูนพลาสเตอร์ แล้วก็ไม่มีการฉาบให้เนียบอย่างการฉาบปูนบ้านเรา ....ไม่ค่อยแนะนำเลยวิธีนี้ เพราะถ้าใจร้อนจะร่วงหมด แล้วก็ราคาแพง

ข.) ใช้ระบบลวดกรงไก่เป็นตัวประสาน เป็นทั้ง Temperature Steel และเป็นทั้ง Tension bonding steel โดยการขึงลวดกรงไก่เข้าที่ผนังก่ออิฐ ค่อยๆสลัดปูนลงไปทีละชั้น (อย่าฉาบครั้งเดียวเสร็จนะ เพราะจะล่อนหมด เนื่องจากการกระเด้งตัวของลวดกรงไก่ และ จากความร้อนของปูนฉาบที่พยายามทะลุออกมา ทำให้การบ่อมปูนไม่สมบูรณ์) พอสลัดได้ที่ ก็ค่อยฉาบไล้ผิว ให้เรียบเนียบตามใจชอบ (แนะนำให้ใช้วิธีปั่นแห้งตีน้ำ อย่าใช้ระบบฟองน้ำซับน้ำ)

แหล่งที่มาข้อมูล: A r c h i t e c t ' s __ A n s w e r s