การพิจารณาอนุมัติเงินกู้ของสถาบันการเงิน

ขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ของสถาบันการเงิน
การพิจารณาอนุมัติเงินกู้ของสถาบันการเงินแต่ละแห่งอาจใช้เวลาเร็วช้าต่างกัน แต่โดยทั่วไป แล้ว การยื่นกู้จนถึงอนุมัติให้กู้ของสถาบันการเงินในปัจจุบันจะใช้เวลานานประมาณ 10-20 วัน ทำการ โดยจะมีขั้นตอนการพิจารณาที่คล้ายคลึงกัน คือ

ผู้กู้จะต้องติดต่อขอแบบฟอร์มและยื่นความจำนงขอกู้พร้อมทั้งนำหลักฐานประกอบการขอกู้ให้ ครบตามที่ธนาคารกำหนด จากนั้นในการยื่นกู้ สถาบันการเงินจะเก็บค่าธรรมเนียมประเมินราคา หลักประกันด้วย (แต่ละแห่งไม่เท่ากัน ) จากนั้นสถาบันการเงินจะไปสำรวจและประเมินราคา บ้านและที่ดินที่จะนำมาเป็นหลักประกัน จะใช้เวลาประมาณ 2-5 วัน) และสถาบันการเงินจะ พิจารณาคำขอกู้โดยวิเคราะห์รายได้และหลักประกันของผู้กู้ รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ และจะแจ้งผล การขอกู้ ให้ผู้กู้ทราบภายใน 5-10 วัน) 
หลักเกณฑ์โดยทั่วไปในการพิจารณาเงินกู้ของสถาบันการเงินต่างๆ จะคล้ายกัน คือ ดูจากความ สามารถในการผ่อนชำระเงินกู้ของผู้กู้เอง (เงินรายได้) ว่าสามารถที่จะชำระหนี้ได้ตลอดระยะ เวลากู้หรือไม่ และจากหลักทรัพย์ที่ผู้กู้นำมาเป็นหลักประกัน ในกรณีที่ผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ 
ก็สามารถบังคับเอาจากหลักประกันได้

เมื่อผู้กู้ได้รับแจ้งจากธนาคารว่าได้อนุมัติกู้แล้ว ผู้กู้จะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน เพื่อมา ลงนามในสัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง พร้อมทั้งนัดวันไปทำ นิติกรรมจำนองที่สำนักงานที่ดิน 

ในกรณีที่ นัดวันแล้ว หากมีเหตุจำเป็นไม่อาจจะไปดำเนินการตามวันที่นัดไว้ได้ ผู้กู้ก็สามารถ แจ้งเลื่อนนัด และขอนัดวันทำสัญญากับธนาคารใหม่ได้ โดยในวันจดทะเบียนจำนองที่สำนัก งานที่ดิน ผู้กู้ ผู้ขาย และเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินจะไปพร้อมกันที่สำนักงานที่ดิน ที่หลัก ทรัพย์ตั้งอยู่ในเขต และผู้กู้จะต้องเตรียมเงินค่าจดจำนองจำนวน 0.1% ของวงเงินกู้ และค่าธรรม เนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ 2% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินของกรมที่ดิน (โดยทั่วไปผู้ขาย มักจะเป็นผู้จ่าย ยกเว้นจะมีการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย) จากนั้นผู้กู้ก็จะต้องมีภาระใน การผ่อนชำระเงินงวดทุกเดือน ภายในเวลาที่กำหนด เช่น ก่อนวันสิ้นเดือน ทั้งนี้อาจชำระเป็นเงิน สด หรือให้ธนาคารหักจากบัญชีเงินฝากของตนก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินแต่ละแห่ง 

นอกจากนี้ ในส่วนของค่าใช้จ่ายอีกส่วนที่ผู้กู้ไม่ควรมองข้าม คือค่าปรับต่างๆ เช่น กรณีที่ผู้กู้ต้อง ต้องการไถ่ถอนคืนก่อนครบเวลาตามสัญญากู้ สถาบันการเงินส่วนใหญ่จะคิดค่าปรับกับผู้กู้ใน กรณีที่มีการชำระคืนในระยะแรก โดยกำหนดภายใน 2-3 ปีแรกนับจากวันที่ทำสัญญากู้ หาก ชำระหมดหลังจากนั้น ก็ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ ซึ่งค่าเบี้ยปรับนี้ ธนาคารจะคิดไม่เหมือนกัน โดยทั่ว ไป ธนาคารพาณิชย์จะคิดประมาณ ร้อยละ 2 ของวงเงินกู้ เช่น กู้เงิน 700,000 บาท หากต้อง การชำระหนี้หมดภายใน 3 ปี จะต้องเสียเบี้ยปรับจำนวน 14,000 บาท 



ขอขอบคุณข้อมูล
ที่มา : http://www.home.co.th