ข้อดีของพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
1. เป็นการกระจายอำนาจทางการคลังไปสู่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างแท้จริง
ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการรายได้ด้วยตนเอง ลดการพึ่งพางบประมาณจากรัฐบาลกลาง
2. ท้องถิ่นประมาณการรายรับได้แน่นอน จากฐานของทรัพย์สินมิใช่จากฐานของ
รายได้ ทำให้รายรับค่อนข้างสม่ำเสมอไม่ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร และจัดสรร
งบประมาณประจำปีสำหรับการพัฒนาท้องถิ่นได้ค่อนข้างแน่นอน
3. ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ที่ดิน เนื่องจากผู้ถือครองที่ดินจำนวนมากก็ต้อง
เสียภาษีมากโดยเฉพาะหากปล่อยไว้รกร้างว่างเปล่า ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจก็ต้องเสียภาษี
ในอัตราสูงสุด จะทำให้มีการกักตุนที่ดินน้อยลง หรือผู้ถือครองที่ดินจำนวนมากจะนำที่ดินออกให้
ผู้อื่นใช้ประโยชน์ในรูปของการให้เช่า หรือให้ทำประโยชน์เพื่อไม่ให้รกร้างว่างเปล่า ซึ่งจะเป็นการลด
ภาระภาษีและจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อท้องถิ่นและต่อประเทศด้วย
4. ประชาชนในท้องถิ่น จะให้ความสำคัญกับการบริหารและการบริการ ของ
องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น เนื่องจากทุกครัวเรือนต้องเสียภาษีทุกๆปีทำให้เกิดการ
ตรวจสอบ และมี่ส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
ผลกระทบ
1. เดิมร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ได้ยกเว้นที่อยู่อาศัยทุกประเภท และพื้นที่เกษตรกรรม ร่าง
พระราชบัญญัติปัจจุบันยกเว้นการถือครองไม่เกินมูลค่าที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
2. เนื่องจากฐานภาษีคำนวณจากมูลค่าทรัพย์สิน จะเพิ่มภาระกรณีเจ้าของทรัพย์สินประสบปัญหา
รวมถึงทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการบังคับคดีหรือขายทอดตลาด
3. กระทบต่อกลุ่มซึ่งถือครองทรัพย์สินโดยไม่มีวัตถุประสงค์ในการค้าหรือหากำไร แต่อยู่ในพื้นที่
ซึ่งราคาประเมินทรัพย์สินสูง
4. กระทบต่อผู้ซึ่งต้องชำระเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภค หรือบริการสาธารณะตามกฎหมายอื่น
อยู่แล้ว
ข้อสังเกตและผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัยในโครงการ
จัดสรรและโครงการอาคารชุด
1. หากมีการประกาศใช้พรบ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก็ควรมีการทบทวนโครงสร้างภาษีและ
ค่าใช้จ่ายทุกประเภทที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนมือการซื้อขาย หรือการโอนกรรมสิทธิ์
เพราะปัจจุบันแม้ว่าอาคารจำนวนมากจะมิได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือภาษีบำรุงท้องที่ แต่ก็จะ
เสียภาษีที่เกิดจากการเปลี่ยนมือทุกทอด คือ ภาษีธุรกิจเฉพาะ3.3%( จากราคาซื้อขาย)
ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม2% (ของราคาประเมิน) ภาษีเงินได้อีก2-5%
(ขึ้นอยู่กับฐานภาษีและจำนวนปีที่ถือครอง) เพราะหากต่อไปที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุกประเภทต้อง
เสียภาษีทุกปี ก็ควรต้องทบทวนโครงสร้างภาษีและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการโอนกรรมสิทธิ์หรือซื้อ
ขายไปพร้อมกันด้วย
2. กรณีโครงการหมู่บ้านจัดสรร หรือกรณีอาคารชุด ซึ่งมีการจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรรหรือนิติบุคคล
อาคารชุด ตาม พรบ.จัดสรรที่ดินพ.ศ 2543 หรือตามพระราชบัญญัติอาคารชุด และมีการจัดเก็บค่า
สาธารณูปโภค และบริการสาธารณะตามกฎหมายเป็นประจำทุกเดือน เพื่อดูแล ถนน ท่อระบายน้ำ
สวนสาธารณะ ระบบไฟส่องสว่าง ระบบรักษาความปลอดภัย ควรมีมาตรการในการลดหย่อนภาษี
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพราะโครงการเหล่านี้จะลดภาระการดูแลของท้องถิ่นได้เป็นจำนวนมากตั้งแต่
การจัดสร้างและการบำรุงรักษา ไม่ว่าจะเป็นถนน ท่อระบายน้ำ ไฟส่องสว่างและสาธารณูปโภคอื่นๆ
3. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เพื่อเป็นสาธารณูปโภคหรือเพื่อการสันทนาการหรือเพื่อการศึกษา เพื่อ
สุขภาพอนามัยของประชาชน เช่น ถนนในโครงการจัดสรรหรือนิคมอุตสาหกรรม อาคารสโมสร
สวนสาธารณะ สนามกีฬา โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ ควรมีข้อยกเว้นหรือกำหนดอัตราภาษีใน
อัตราต่ำที่สุดเพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุน |