การขออนุญาตก่อสร้าง สำนักการโยธา

2 วิธี คือ การขออนุญาตก่อสร้างอาคารตามมาตรา 21
ในการขออนุญาตก่อสร้างอาคารในอำนาจของสำนักงานเขตให้ผู้ประสงค์จะก่อสร้างอาคาร ขออนุญาตที่สำนักงานเขตพื้นที่นั้น ๆ ส่วนอาคารที่นอกเหนืออำนาจของสำนักงานเขตให้ยื่นขอที่กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
2 .มิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม.10400
เอกสารประกอบการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคาร
(ตามมาตรา 21) มีดังนี้
(1)
แบบคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (แบบ ข.1)
(2)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลที่หน่วยงานซึ่งมีอำนาจรับรองออกให้ไม่เกิน 6 เดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต) และผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
(3)
สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดินขนาดเท่ากับต้นฉบับจริง และเจ้าของที่ดินลงนาม รับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าจำนวน 5 ชุด
(4)
หนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างอาคารในที่ดินหรือสำเนาสัญญาเช่าที่ดิน (กรณี ผู้ขออนุญาตไม่ใช่เจ้าของที่ดิน) จำนวน 1 ชุด
(5)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต, ผู้รับมอบอำนาจ, ผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล และเจ้าของที่ดิน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
(6)
หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของสถาปนิกวิศวกรผู้ออกแบบและคำนวณพร้อมสำเนาใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพฯ (กรณีอาคารที่ขออนุญาตอยู่ในประเภทเป็นวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรม) จำนวน 1 ชุด
(7)
แผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลน จำนวน 5 ชุด
(8)
รายการคำนวณโครงสร้าง จำนวน 1 ชุด
(9)
โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ตลาดสด ภัตตาคาร อาคารชุด หอพัก และอาคารที่เกี่ยวกับกิจการค้าอันเป็นที่น่ารังเกียจ ต้องแสดงแบบระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 5 ชุด และรายการคำนวณระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 1 ชุด
หมายเหตุ
1. แบบฟอร์มต่างๆ ถ้ามีมากกว่า 1 หน้าให้พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของกระดาษ
2.
แบบ ข1, แบบ ข5, แบบ ข8, แบบคำร้อง,ใบรับรองวิศวกร, ใช้กระดาษ Legal 81/2 x 14 in.
2.
การยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างดัดแปลงรื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ตามมาตรา 39 ทวิ มีดังนี้
(1)
แบบหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้างดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร (แบบ กทม.1) หรือแบบหนังสือแจ้งความประสงค์จะเคลื่อนย้ายอาคาร (แบบ กทม.2)
(2)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่หน่วยงานซึ่งมีอำนาจรับรองออกให้ไม่เกิน 6 เดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต) และผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
(3)
สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดินขนาดเท่ากับต้นฉบับ และเจ้าของที่ดินลงนาม รับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้า จำนวน 5 ชุด
(4)
หนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างอาคารในที่ดินหรือสำเนาสัญญาเช่าที่ดิน (กรณี ผู้ขออนุญาตไม่ใช่เจ้าของที่ดิน) จำนวน 1 ชุด
(5)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้แจ้งความประสงค์, ผู้รับมอบอำนาจ, ผู้มีอำนาจ, ลงนามแทนนิติบุคคลและเจ้าของที่ดิน พร้อมลงนามสำเนารับรองถูกต้องทุกหน้าจำนวน 1 ชุด
(6)
หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของวุฒิสถาปนิกวุฒิวิศวกรผู้ออกแบบและคำนวณ (แบบกทม.5) พร้อมสำเนาใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรม จำนวน 1 ชุด
(7)
หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของผู้ควบคุมงานของสถาปนิก และวิศวกร (แบบ กทม.5) พร้อมสำเนาใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพฯ จำนวน 1 ชุด
(8)
แผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลน จำนวน 5 ชุด
(9)
รายการคำนวณโครงสร้าง จำนวน 1 ชุด
(10)
โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ตลาดสด ภัตตาคาร อาคารชุด หอพัก และอาคารที่เกี่ยวกับกิจการค้าอันเป็นที่น่ารังเกียจ ต้องแสดงแบบระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 5 ชุด และรายการคำนวณระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 1
(11)
รายการคำนวณพื้นที่อาคารทุกชั้นและทุกหลัง /จำนวนที่จอดรถรถยนต์ /การคิดค่าธรรมเนียม
(12)
ชำระค่าธรรมเนียมในวันที่ยื่นแจ้งฯ ตามมาตรา 39 ทวิ
(13)
ปฏิบัติตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดแบบหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคารโดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น แบบใบรับแจ้ง และแบบหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร (ฉบับที่ 2) ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ..2545
หมายเหตุ
1. แบบฟอร์มต่างๆ ถ้ามีมากกว่า 1 หน้าให้พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของกระดาษ
2.
แบบ ข1, แบบ ข5, แบบ ข8, แบบคำร้อง,ใบรับรองวิศวกร, ใช้กระดาษ Legal 81/2 x 14 in.
2
การขออนุญาตดัดแปลงอาคารสามารถดำเนินการโดย
2 วิธี
เช่นเดียวกับการขออนุญาตก่อสร้าง คือ
(1)
(2)
การขอรับใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร ตามมาตรา 21การแจ้งความประสงค์ ดัดแปลงอาคาร โดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต ตามมาตรา 39 ทวิ
เอกสารประกอบการขออนุญาตดัดแปลงอาคาร
เช่นเดียวกับการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร แต่แบบแปลนสำหรับการดัดแปลงอาคารให้แสดงส่วนที่มีอยู่เดิมและส่วนที่จะดัดแปลงให้ชัดเจนพร้อมแนบเอกสาร
(1)
ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารเดิมที่ได้รับอนุญาต
(2)
ในกรณีต่อเติมเพิ่มชั้นอาคาร ต้องมีหนังสือรับรองความมั่นคงของอาคารเดิม จากสถาบันที่น่าเชื่อถือได้ (ส่วนราชการหรือบริษัทจำกัดที่มีวัตถุประสงค์ในการให้คำปรึกษาแนะนำด้านวิศวกรรม ซึ่งมีวิศวกรประเภทวุฒิวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำและลงลายมือชื่อรับรองผลการตรวจสอบงานวิศวกรรมควบคุม)
การกระทำดังต่อไปนี้ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร
(1)
การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยใช้วัสดุ ขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม แต่เว้นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง หรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
(2)
การเปลี่ยนส่วนต่างๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคารโดยใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิมหรือวัสดุชนิดอื่นซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่ โครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดไม่เกินร้อยละสิบ
(3)
การเปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลด หรือ ขยาย ลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ของส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร ซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนัก ให้แก่ โครงสร้างของอาคารส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ
(4)
การลดหรือขยายเนื้อที่ของพื้นชั้นหนึ่งชั้นใด ให้มีเนื้อที่น้อยลงหรือมากขึ้นรวมกัน ไม่เกินห้าตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน
(5)
การลดหรือขยายเนื้อที่ของหลังคา ให้มีเนื้อที่มากขึ้นรวมกันไม่เกิน ห้าตารางเมตรโดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน
ทั้งนี้การกระทำข้างต้น ต้องไม่ขัดต่อกฎกระทรวง ฯ หรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหากเจ้าของอาคารมีความประสงค์จะดัดแปลงต่อเติมอาคารนอกเหนือจากการกระทำข้างต้น จะต้องยื่นขออนุญาตดัดแปลงอาคารก่อนดำเนินการ
3
เมื่อได้รับใบอนุญาตก่อสร้างก่อนลงมือก่อสร้างให้ท่านดำเนินการดังนี้
(1)
ติดป้ายโครงการแสดงรายละเอียดตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคารกำหนด
(2)
จัดให้มีใบอนุญาตก่อสร้างพร้อมแบบแปลนอยู่ที่สถานที่ก่อสร้าง 1 ชุด
(3)
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตมีหนังสือแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานและแจ้งวันเริ่มต้นจนถึงวันสิ้นสุดการดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตให้กรุงเทพมหานครทราบ พร้อมทั้งแนบหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานมาด้วย ผู้ควบคุมงานจะเป็นบุคคลใดหรือเป็นเจ้าของอาคารก็ได้เว้นแต่จะเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมหรือกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพสถาปัตยกรรม
แจ้งชื่อผู้ควบคุมงานและแจ้งวันเริ่มต้นจนถึงวันสิ้นสุดของการดำเนินการ
(4)
เอกสารที่ต้องใช้ในการแจ้งชื่อผู้ควบคุมงาน
(4.1)
แบบคำร้องทั่วไป
(4.2)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่หน่วยงานซึ่งมีอำนาจรับรองออกให้ ไม่เกิน 6 เดือน และผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
(4.3)
สำเนาบัตรประจำตัวและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นคำร้อง ผู้รับมอบอำนาจ ผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล พร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
(4.4)
หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของผู้ควบคุมงานของสถาปนิกและวิศวกรพร้อมสำเนาใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพฯ จำนวน 1 ชุด
(4.5)
สำเนาใบอนุญาตเดิมพร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
การแจ้งเลิกผู้ควบคุมงาน
ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตจะแจ้งเลิกตัวผู้ควบคุมงานที่ได้แจ้งชื่อไว้ ผู้ควบคุมงานจะแจ้งเลิกการเป็น ผู้ควบคุมงาน ให้มีหนังสือแจ้งให้กรุงเทพมหานครทราบ แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบถึงสิทธิหน้าที่ทางแพร่ระหว่างผู้ได้รับใบอนุญาตกับผู้ควบคุมงานนั้น
ในกรณีที่มีการแจ้งเลิกตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับอนุญาตต้องระงับการดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตไว้ก่อนจนกว่าจะได้มีหนังสือแจ้งชื่อและส่งหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานคนใหม่ ให้แก่กรุงเทพมหานครแล้ว
4
เอกสารที่ต้องใช้ในการแจ้งเลิกเป็นผู้ควบคุมงาน
(1)
แบบคำร้องทั่วไป
(2)
สำเนาใบอนุญาตเดิม พร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
(3)
หนังสือแจ้งการบอกเลิกผู้ควบคุมงาน (.5) หนังสือแจ้งการเลิกเป็นผู้ควบคุมงาน (.6)หนังสือการส่งมอบผู้ควบคุมงานคนใหม่ (.7) หนังสือการยินยอมของผู้ควบคุมงานคนใหม่ (.8) (แล้วแต่กรณี) จำนวน 1 ชุด
การก่อสร้างที่ติดต่อกับที่สาธารณะ หรือชิดที่ดินต่างผู้ครอบครอง ผู้ดำเนินการจะต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันวัสดุก่อสร้างหล่นที่จะเป็นภยันตรายต่อบุคคลอื่น และจัดให้มีรั้วชั่วคราวสูงไม่น้อยกว่า
2.00 เมตร ปิดกั้นรอบบริเวณที่ก่อสร้าง รวมทั้งจัดให้มีมาตรการป้องกันภยันตรายในการก่อสร้างตามแบบและเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาต
หมายเหตุ
1. แบบฟอร์มต่างๆ ถ้ามีมากกว่า 1 หน้าให้พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของกระดาษ
2.
แบบ ข1, แบบ ข5, แบบ ข8, แบบคำร้อง,ใบรับรองวิศวกร, ใช้กระดาษ Legal 81/2 x 14 in.5
ที่มา: สำนักการโยธา