ค่าใช้จ่ายในการกู้ซื้อบ้าน
ในการขอสินเชื่อแต่ละครั้งของผู้กู้ นอกจากดอกเบี้ยที่เป็นค่าใช้จ่ายหลักแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องถือเป็นต้นทุนในการกู้ด้วย คือ ค่าธรรมเนียมต่างๆ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ ต้องจ่ายให้กับสถาบันการเงิน และค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับกรมที่ดิน ดังนี้
ส่วนที่จ่ายให้กับสถาบันการเงิน ประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมแรกเข้าหรือค่าธรรม เนียมยื่นกู้ อัตราสูงสุดที่ธนาคารคิดกันในขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 0-1% ของวงเงินที่ขอกู้,ค่า ประเมินราคาหลักทรัพย์ อยู่ระหว่าง 0-0.5% ของราคาประเมินของกรมที่ดิน,ค่าธรรมประกัน อัคคีภัยประมาณ 2,000 บาท ต่อมูลค่าบ้าน 1 ล้านบาท และค่าปรับที่จะต้องจ่ายให้กับสถาบัน การเงินเดิม กรณีไถ่ถอนจำนองก่อนกำหนด 3-5 ปี (ตามแต่ละธนาคารกำหนด)
จ่ายให้กับกรมที่ดิน ประกอบด้วยค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% ของวงเงินที่ขอกู้, ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมินของกรมที่ดิน,ค่าอากร จำนวน 0.05% ของวงเงินกู้ ใหม่และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ตามระเบียบของกรมที่ดิน (หลักร้อยบาท)
ในจำนวนค่าใช้จ่ายทั้งหมด ค่าจัดการสินเชื่อหรือค่าธรรมเนียมแรกเข้า เป็นตัวแปรที่มี ผลต่อการกู้มากที่สุด เพราะเป็นจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูง และแต่ละธนาคารกำหนดค่าใช้จ่าย ส่วนนี้ไม่เท่ากัน บางรายคิดที่ 0.75% บางรายคิด 0.25% หรือบางรายใจป้ำ ไม่คิดค่าธรรมเนียม ส่วนนี้ก็มี
หรือบางรายคิดเป็นตัวเลขกลมๆ ตามสัดส่วนของวงเงินกู้ เช่น วงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาท คิดค่า ธรรมเนียม 500 บาท หรือวงเงินกู้เกิน 3 ล้านบาท คิดค่าธรรมเนียม 1,500 บาท ถ้าเปรียบเทียบ ค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนนี้โดยกำหนดวงเงินกู้ที่ 1,000,000 บาท การกู้โดยไม่มีค่ากู้กับการจ่ายค่ากู้ เต็ม 10,000 บาท ใครก็ย่อมเลือกอย่างแรก
เพราะฉะนั้นผู้กู้ที่เห็นดอกเบี้ยถูกแล้วรีบคว้าโดยไม่สอบถามค่าใช้จ่ายก่อนรู้ตัวก็ต่อเมื่อจะเซ็น สัญญากู้ ก็อาจลมจับเอาได้เมื่อเห็นจำนวนเงินที่จะต้องจ่าย ถึงแม้ขณะนี้ธนาคารบางแห่งจะมี การยกเว้นค่าธรรมเนียมบางอย่างให้กับลูกค้า ก็ต้องสอบถามให้แน่ใจว่าที่ยกเว้นมีอะไรบ้านเป็น จำนวนเงินเท่าไหร่ กันไว้ดีกว่าที่จะต้องวิ่งหัวหมุนหาเงินมาจ่าย
ขอขอบคุณข้อมูล
ที่มา : http://www.home.co.th
ในการขอสินเชื่อแต่ละครั้งของผู้กู้ นอกจากดอกเบี้ยที่เป็นค่าใช้จ่ายหลักแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องถือเป็นต้นทุนในการกู้ด้วย คือ ค่าธรรมเนียมต่างๆ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ ต้องจ่ายให้กับสถาบันการเงิน และค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับกรมที่ดิน ดังนี้
ส่วนที่จ่ายให้กับสถาบันการเงิน ประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมแรกเข้าหรือค่าธรรม เนียมยื่นกู้ อัตราสูงสุดที่ธนาคารคิดกันในขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 0-1% ของวงเงินที่ขอกู้,ค่า ประเมินราคาหลักทรัพย์ อยู่ระหว่าง 0-0.5% ของราคาประเมินของกรมที่ดิน,ค่าธรรมประกัน อัคคีภัยประมาณ 2,000 บาท ต่อมูลค่าบ้าน 1 ล้านบาท และค่าปรับที่จะต้องจ่ายให้กับสถาบัน การเงินเดิม กรณีไถ่ถอนจำนองก่อนกำหนด 3-5 ปี (ตามแต่ละธนาคารกำหนด)
จ่ายให้กับกรมที่ดิน ประกอบด้วยค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% ของวงเงินที่ขอกู้, ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมินของกรมที่ดิน,ค่าอากร จำนวน 0.05% ของวงเงินกู้ ใหม่และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ตามระเบียบของกรมที่ดิน (หลักร้อยบาท)
ในจำนวนค่าใช้จ่ายทั้งหมด ค่าจัดการสินเชื่อหรือค่าธรรมเนียมแรกเข้า เป็นตัวแปรที่มี ผลต่อการกู้มากที่สุด เพราะเป็นจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูง และแต่ละธนาคารกำหนดค่าใช้จ่าย ส่วนนี้ไม่เท่ากัน บางรายคิดที่ 0.75% บางรายคิด 0.25% หรือบางรายใจป้ำ ไม่คิดค่าธรรมเนียม ส่วนนี้ก็มี
หรือบางรายคิดเป็นตัวเลขกลมๆ ตามสัดส่วนของวงเงินกู้ เช่น วงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาท คิดค่า ธรรมเนียม 500 บาท หรือวงเงินกู้เกิน 3 ล้านบาท คิดค่าธรรมเนียม 1,500 บาท ถ้าเปรียบเทียบ ค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนนี้โดยกำหนดวงเงินกู้ที่ 1,000,000 บาท การกู้โดยไม่มีค่ากู้กับการจ่ายค่ากู้ เต็ม 10,000 บาท ใครก็ย่อมเลือกอย่างแรก
เพราะฉะนั้นผู้กู้ที่เห็นดอกเบี้ยถูกแล้วรีบคว้าโดยไม่สอบถามค่าใช้จ่ายก่อนรู้ตัวก็ต่อเมื่อจะเซ็น สัญญากู้ ก็อาจลมจับเอาได้เมื่อเห็นจำนวนเงินที่จะต้องจ่าย ถึงแม้ขณะนี้ธนาคารบางแห่งจะมี การยกเว้นค่าธรรมเนียมบางอย่างให้กับลูกค้า ก็ต้องสอบถามให้แน่ใจว่าที่ยกเว้นมีอะไรบ้านเป็น จำนวนเงินเท่าไหร่ กันไว้ดีกว่าที่จะต้องวิ่งหัวหมุนหาเงินมาจ่าย
ขอขอบคุณข้อมูล
ที่มา : http://www.home.co.th