ประเภทของหน้าต่าง
หน้าต่างที่เรารู้จักกันก็มี
- บานเปิด เมื่อเปิดแล้วจะได้ช่องหน้าต่างเต็มที่ แต่ กินพื้นที่ด้านนอกบ้าน
- บานเลื่อน เมื่อเปิดแล้วจะได้ช่องหน้าต่างเพียงครึ่ง เดียว แต่ไม่กินพื้นที่ด้านนอก แต่ฝนสาดได้
- บานกระทุ้ง การรับลมอาจได้ไม่เต็มที่ แต่เมื่อเปิด แล้วตัวบานจะทำหน้าที่เป็นกันสาดในตัว
- บานพลิก เมื่อเปิดแล้วจะได้ช่องเปิดเต็มที่ สามารถ ทำความสะอาดได้สะดวก แต่กินพื้นที่ทั้งข้างในและข้างนอก
หน้าต่างบานเกล็ด
การทำหน้าต่างบานเกล็ดควรคำนึงถึง
1. ไม่ควรทำช่องหน้าต่างมีขนาดกว้างมาก ไม่ว่าบานเกล็ด จะทำด้วยวัสดุชนิดใดก็ตาม ไม้ อลูมิเนียม หรือกระจก เพราะจะ แอนตัว บิดงอ และแตกง่าย แต่ถ้าจะใช้วัสดุให้มีขนาดหนาขึ้น ก็ ทำให้มีน้ำหนักมาก อุปกรณ์ที่ใช้
เปิดปิดจะทำงานหนักและเสียเร็ว
2. หน้าต่างบานเกล็ดกันฝนไม่ค่อยได้ เพราะไม่มีบังใบ ถ้าฝนสาดแรงๆ น้ำฝนจะตีย้อนเข้ามาภายในบ้านได้ วิธีแก้โดย ให้มีรอยซ้อนกันของเกล็ดให้มากๆ
3. หน้าต่างบานเกล็ดเสี่ยงภัยต่อขโมยเข้าบ้านมาก เพราะ เพียงแค่ง้างอลูมิเนียมที่ยึดติดบานเกล็ดออก ก็สามารถดึงบาน ออกมาได้ ถ้ามีความจำเป็นต้องติดจริงๆ ก็สมควรต้องติดเหล็ก ดัดกันขโมยด้วย
ประตูไม้จริง
ข้อดี คือ มีความทนทาน แข็งแรง สวยงาม โดย เฉพาะไม้สัก และไม้มะค่า สามารถใช้กับประตูที่เปิดออก สู่ภายนอกซึ่งโดนฝนได้
ข้อเสีย คือ ราคาค่อนข้างแพง มีน้ำหนักมากกว่า มีขนาดให้เลือกไม่มากนัก ถ้าต้องการแบบเฉพาะอาจต้อง สั่งทำ
ประตูไม้อัด
ข้อดี คือ ราคาถูก น้ำหนักเบา มีขนาดมาตรฐาน มากมาย ควรใช้เฉพาะภายในบ้าน
ข้อเสีย คือ ไม่ค่อยแข็งแรง ไม่สามารถใช้ในส่วนที่ โดนน้ำได้ โดยเฉพาะในห้องน้ำ หรือส่วนที่เปิดออกไปภาย นอก ซึ่งจะโดนฝนตลอด
ประเภทของประตูไม้อัด
ประตูไม้อัดที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ชนิดแรก คือ ประตูไม้อัดธรรมดา ใช้กับประตูห้องทั่วไป ชนิดที่สอง คือ ประตูไม้อัดทนความชื้น ซึ่งจะใช้กับส่วนที่โดนน้ำเป็นบางครั้ง เช่น ห้องน้ำส่วนที่แห้ง ประตู
ที่เปิดออกสู่ภายนอกบ้านที่โดนฝนไม่มาก แต่ถ้าโดนน้ำ ทุกๆ วัน ก็จะผุได้
ประตูไม้สังเคราะห์
ปัจจุบันไม้เป็นวัสดุก่อสร้างที่หายาก ราคาแพง จึง ได้มีการผลิตประตูไม้สังเคราะห์ขึ้นมา โดยนำเอาเศษไม้ที่ เหลือใช้มาบดย่อยให้เป็นเส้นใยไม้ แล้วนำมาผสมกับเรซิน อัดประสานกันเป็นแผ่นภายใต้แรงดันสูง ทำให้โครงสร้าง ของเนื้อไม้แน่นและแข็งแรงกว่าไม้จริง เนื้อไม้มีคุณสมบัติ ทนทาน ไม่ดูดซึมน้ำ ไม่หลุดล่อน ไม่หดตัว หรือบิดงอ ใช้ได้กับวงกบไม้ทั่วไป มีความสะดวกในการติดตั้ง เจาะ ลูกบิด กลอนประตู มือจับ โช๊คอัพ ได้เหมือนกับประตู ทั่วไป ทั้งยังผ่านการเคลือบสีรองพื้นชนิดพิเศษ ทำให้ง่าย ต่อการย้อมสีตามต้องการ
ประตูเหล็ก
ประตูที่ใช้กันทั่วไปโดยมากจะเป็นบานประตูไม้ ซึ่ง จะมีปัญหา การยืดหดตัว ผุกร่อน ไม่ทนทานเท่าที่ควร ทาง เลือกใหม่ก็คือ การเปลี่ยนมาใช้บานประตูเหล็ก ซึ่งผลิตจาก เหล็กคุณภาพดี ผ่านการอบพ่นสีหลายชั้น ทั้งสีรองพื้นและสี เคลือบผิว จึงมีความสวยงามงามทนทาน โครงประตูภายใน มีทั้งชนิดโครงไม้และโครงเหล็กชุบสังกะสี ทำให้ประตูมีน้ำ หนักเบาเวลาเปิด-ปิด สามารถทำได้สะดวก
สำหรับอุปกรณ์บานพับ กลอน ลูกบิด มือจับ ได้ กำหนดตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ไว้แล้ว จึงไม่มีปัญหาในการติด ตั้งอุปกรณ์ทั่วไปตามท้องตลาด เหมาะสำหรับประตูที่ต้องเปิด -ปิดบ่อยๆ และมีการกระทบกระแทกอยู่ตลอดเวลา
ประตูห้องน้ำ
สำหรับห้องน้ำที่ใหญ่ ประตูไม่โดนน้ำก็ใช้ประตู ไม้อัดชนิดทนชื้นก็พอแล้ว ส่วนห้องน้ำที่เล็ก เวลาอาบน้ำ น้ำจะโดนประตู ก็ควร ใช้ประตูและวงกบที่เป็น PVC. ซึ่งราคาสูงกว่าประตูไม้อัดทน ชื้น แต่คุ้มค่ากว่า ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ
สำหรับห้องน้ำที่ติดกับห้องแอร์ ควรใช้แบบมีเกล็ด เพื่อสามารถติดพัดลมดูดอากาศได้ ซึ่งจะทำให้ลมเย็นผ่านเข้า มาในห้องน้ำได้อีกด้วย
วงกบ PVC.
วงกบ PVC. ผลิตจากเนื้อ PVC. ที่มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่บิดงอ เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ โครงสร้างภายในจะมีเหล็กเสริม ติดตั้งได้ทั้งผนังไม้ ปูน และโลหะ การเข้ามุมต่างๆ จะใช้ความร้อน สามารถทำให้ประสานกันได้สนิท สวยงาม มีขนาดมาตรฐาน และขนาดตามสั่ง
ชนิดของบานพับ
บานพับแต่ละชนิดแต่ละแบบมีความคงทนแตกต่างกัน บานพับที่มีแหวนเป็นไนล่อน จะทนทานน้อยที่สุด เพราะมีราคา ถูก ส่วนบานพับที่มีแหวนเป็นโลหะ ซึ่งมีทั้งแสตนเลส ทอง เหลือง หรือเหล็ก จะแพงกว่าบานพับที่เป็นแหวนไนล่อน บาน พับแต่ละแบบก็มีสีของวัสดุแตกต่างกัน การจะเลือกใช้สีแบบใด ก็ขึ้นอยู่กับสีของประตู ลูกบิด และรสนิยมของแต่ละคน การติด บานพับควรติดอย่างน้อย 3 ตัวต่อ 1 บาน เพื่อป้องกันบาน ประตูตกด้วย
การเลือกลูกบิดประตู
การเลือกใช้ลูกบิดจะแตกต่างกันตามความเหมาะสม ในการใช้งาน เช่น ห้องสำหรับเปิดผ่านก็ไม่จำเป็นต้องล็อค เรียกว่า PASSAGE DOORS ใช้ในบริเวณห้องที่ต่อเนื่องกัน เช่น ห้องทำงานกับห้องประชุมหรือห้องครัวกับห้อง PANTRY ส่วนห้องน้ำกับห้องนอนจะใช้ลูกบิดชนิด PRIVACY DOORS คือ ชนิดกดล็อคด้านใน ส่วนด้านนอกใช้เหรียญบิด เปิด-ปิด เพื่อคลายล็อคในกรณีฉุกเฉิน เพื่อความปลอดภัย สำหรับผู้ที่ อยู่ภายในห้อง อีกชนิดหนึ่งก็คือ ENTRANCE DOORS ลูกบิดชนิดนี้ใช้กับประตูทั่วไปหรือประตูทางเข้า โดยการกด ล็อคด้านใน ไขกุญแจด้านนอก จะเข้าจากภายนอกต้องไข กุญแจเท่านั้น ส่วนภายในสามารถเปิด-ปิดได้ตลอดเวลา
ปุ่มกันกระแทกประตู
บานประตูโดยทั่วไปจะถูกออกแบบให้เปิดพิงฝาผนัง เพื่อไม่ให้กีดขวางพื้นที่ใช้สอย ดังนั้นการเปิด-ปิดประตูควรจะ มีการป้องกันไม่ให้กระแทกกับผนัง ซึ่งจะทำให้ลูกบิด มือจับ และผนังด้านข้างถูกกระแทก เกิดการเสียหายได้ ถ้าเป็นผนัง เบา เช่น ผนังไม้อัด หรือแผ่นยิบซั่มบอร์ดจะถูกกระแทกเป็น รอยลึก ทางแก้ก็คือ ให้ติดตั้งอุปกรณ์กันกระแทกทุกครั้ง ซึ่ง มีทั้งชนิดปุ่มยางติดกับพื้น หรือชนิดก้ามปูติดกับผนัง หรือถ้ามี งบประมาณพอ ก็ควรติดแบบตั้งค้ำประตู (DOOR CLOSER) ซึ่งจะช่วยบังคับการเปิด-ปิดได้เอง ทำให้สะดวกมากขึ้น
เสาเอ็นทับหลังประตู-หน้าต่าง
เสาเอ็นทับหลัง คือ เสาและคานเล็กๆ ที่รัดรอบขอบ วงกบประตู หน้าต่าง ทำหน้าที่ช่วยรับน้ำหนักผนังก่ออิฐ ดังนั้น เสาเอ็นทับหลังจะต้องเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ถ้าไม่มีเสาเอ็น ทับหลัง วงกบจะแอ่นตัวทำให้การเปิดปิดประตูยากขึ้น และยัง ช่วยป้องกันการยืดหดตัวที่ต่างกันของวงกบไม้กับผนังก่ออิฐ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแตกร้าวได้ ท่านเจ้าของบ้านควร ตรวจดูให้แน่ใจว่า วงกบประตูหน้าต่างทุกบานต้องมีเสาเอ็น ทับหลัง เพราะเมื่อช่างฉาบปูนแล้วจะไม่เห็นส่วนนี้
การหล่อเสาเอ็นทับหลัง
วิธีการทำ คือ ต้องตั้งวงกบก่อน แล้วจึงก่อกำแพงอิฐ เข้ามาหา โดยเว้นช่องให้ได้ขนาดเท่ากับเสาเอ็น แล้วปิดด้วย ไม้แบบ ใส่เหล็กเสริม แล้วจึงเทคอนกรีต วิธีการนี้จะทำให้เสา เอ็นและทับหลังยึดติดกับตัวผนังก่ออิฐได้อย่างสนิท ไม่เกิดร่อง หรือรอยร้าว ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้น้ำรั่วซึมได้
การติดตั้งวงกบอลูมิเนียม
เมื่อวางวงกบอลูมิเนียมบนผนัง จะต้องเว้นช่องว่างไว้ ประมาณ 0.5 ซม. เพื่อให้มีพื้นที่พอที่ซิลิโคนจะเข้าไปอุดรอย ต่อระหว่างอลูมิเนียมกับขอบปูน เพื่อป้องกันการรั่วซึมจากน้ำ ฝน เพราะถ้าติดตั้งโดยไม่เว้นช่องว่างไว้ เนื้อซิลิโคนก็จะไม่ สามารถแทรกตัวเข้าไปในรอยต่อ ผลที่ตามมาก็คือ น้ำฝนก็จะ รั่วซึมเข้ามาภายในบ้าน มีวิธีแก้ไขก็คือ รื้อออกแล้วติดตั้งใหม่ ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก
ซิลิโคน
ซิลิโคนเป็นวัสดุคล้ายเยลลี่ มีความยืดหยุ่น เหนียว ทนต่อแรงดึงได้ดี และกันการรั่วซึมได้ แบ่งออกตามการใช้งาน ได้ 4 ชนิด คือ
ชนิดที่หนึ่ง ใช้เชื่อมกระจกกับกระจก ในกรณีที่เป็น ผนังกระจกไม่มีกรอบ ก็จะใช้แผ่นกระจกชนกัน แล้วอุดด้วย ซิลิโคน ชนิดนี้จะมีความแข็งแรงสูง มีสีใสมองทะลุกระจกได้
ชนิดที่สอง ใช้เชื่อมกระจกกับวัสดุอื่น เช่น กรอบบาน อลูมิเนียม หรือผนังปูนที่แผ่นกระจกไปชน เพื่อป้องกันการ รั่วซึม
ชนิดที่สาม ใช้สำหรับเชื่อมรอยต่อวัสดุที่มีการเคลื่อน ตัวสูง เช่น รอยต่ออาคารหรือรอยต่อของวัสดุที่ต่างชนิดกัน มี การการยืดหดตัวสูง และไม่เท่ากัน เช่น คสล.กับเหล็ก ชนิด นี้ต้องรับน้ำหนักและแรงดึงที่สูง
ชนิดที่สี่ ใช้อุดรอยต่อของแผ่นแกรนิตหรือหินอ่อน ชนิดนี้ต้องไม่มีฤทธิ์เป็นกรด (เพราะหินแกรนิตและหินอ่อนมี ความเป็นด่าง)
แหล่งที่มา : www.alinehomecare.com