หากใครคิดที่จะสร้างบ้านไม้ควรมาศึกษาเรื่องไม้ต่างๆ
1. ประเภทไม้
1.1 ไม้เนื้อแข็ง
ไม้เนื้อแข็งจากป่าที่นิยมมากๆ คือ ไม้มะค่าดีๆ ต้องมาจากเขมร จากลาวก็พอได้ ไม้เนื้อแข็งที่พอได้ก็มี เต็งลาว ประดู่ ตะแบก เต็งจะหาง่ายหน่อยดูที่เนื้อแน่นๆ ประดู่ก็มีลายไม้สวย ไม้เนื้อแข็งจากสวน ไม่ยุ่งยาก ก็มีไม้สะเดาทนแดดทนฝนได้ ตอนเป็นต้นด้วงชอบทำลายแต่พอตัดออกมาใช้งาน ปลวกไม่กิน ไม้สะเดาไสแล้วเนื้อนวลบางสวยเอามาทำตง คาน พื้นกระดาน ได้ดี หาต้นใหญ่ๆ หน่อยอีกอย่างไม้มะขามเทศที่ต้นใหญ่พอถูกแดดไปนานๆ จะมีสีแดงสวย เนื้อแน่นไสแล้วนวลดี น่าเอาไปทำบันได ลูกขั้นแบบหนาๆ เรียกแบบเท่ห์ก็เป็นไม้กวางแดงลาว
ไม้มะขามเปรี้ยว เหมาะสำหรับทำเขียง เนื้อไม้แข็งเหนียว ลองเอามาทำกระดานดูปรากฎว่าชอบบิ้งเบี้ยวโตมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 นิ้ว
1.2 ไม้เนื้อปานกลาง
พวกยางนา หากเป็นไม้ใหญ่นานๆ อายุเป็นร้อยปีหากอายุอ่อนจะอ่อน
ไม้เลีอน หรือไม้มะเลี้ยน จากป่าแถวสีคิ้ว เนื้อไม้เนียนสวยเหมือนกัน ลายดี
ไม้กระถิ่นยักษ์ ขนาดโตๆ มาเลื่อยเป็นกระดานได้ลวดลายดี มาจากป่าเขาใหญ่
ไม้กระถิ่นณรงค์เป็นไม้ที่เลื่อยออกมาสวยเหมือนไม้สัก หากอายุเกิน 20 ปี ลำต้นมักจะกลวงต้องรีบตัดมาใช้งาน
1.3 ไม้เนื้ออ่อน
พวกไม้สักจะอ่อน อะไรตกใส่ก็จะยุบ แต่สักโบราณก็เป็นไม้แข็งเหมือนกัน
พวกไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ เช่นพวกไม้ยางพาราซึ่งเบาและอ่อน สีขาว เนื้อนวล ส่งออกต่างประเทศดี ญี่ปุ่นชอบไม้ยางพารามาก
พวกไม้สวนผลไม้ที่เอามาทำประตู วงกบ และไม้เส้นตกแต่งร้านก็มี ไม้มะม่วง ลวดลายสวยเหมือนไม้สัก เอาไปกลับทำแจกัน หรือแกะสลักได้ ไม้ขนุนหากแก่ๆ จะมีสีเหลือง
พวกไม้ก้ามปูหรือจามจุรี จะมีขนาดโตหากเป็นแกนที่เป็นสีแดงจะแข็ง หากเป็นส่วนกระพี้หรือเปลือกก็จะอ่อนเหมาะสำหรับทำพาเลสหรือไม้ลัง
ไม้สยาเป็นไม้อ่อนที่มีมากแถบมาเลเซียเนื้อไม้ทำวงกบ ทำประตู หน้าต่าง
2. การหาไม้
ต้องไปหาแถบๆ ประเทศลาว กัมพูชา หรือพม่าไปซื้อเป็นต้นๆ ก็ได้ หรือไปหาซื้อไม้ท่อน หรือไม้แปรรูปที่ถูกยึดมา
การหาไม้เก่าจากบ้านเก่า ก็อาจหาได้จากการซื้อเป็นหลังๆ แถวบุรีรัมย์ โนนดินแดง นางรอง แถวๆ สีคิ้ว ลำปาง แต่ละแห่งเป็นไม้ไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นแถวๆ บุรีรัมย์ก็มักเป็น ไม้เต็งรัง ไม้มะค่า ไม้ตะเคียนหิน หากเป็นแถบภาคเหนือก็จะเป็นพวกไม้สัก ไม้เต็งรัง
การหาไม้เก่าจากร้านขายไม้เก่า ที่เขาไปประมูลซื้อแล้วก็ซื้อมาขายเป็นชิ้นๆ รอให้นักสร้างบ้านไม้ พวกทำรีสอต จะมาซื้อมาหา ร้านขายไม้เก่าก็มีแถวๆ อ.ภาชี และ อ.นครหลวง จ.อยุธยา แถวๆ จ.สระบุรี ก็มีแถวๆ บัวลอย อ.หนองแค และแถวถนนบายพาสไปโคราช แถวๆ จ.นครนายกก็มีแถวคลองรังสิต มีอยู่หลายเจ้าเหมือนกัน
การหาไม้อาจใช้วิธีไปซื้อต้นไม้เป็นต้นๆ ต้นละประมาณ 1,000-1,200 บาท เช่นไม้สะเดา จ้างคนไปตัดเป็นท่อนๆละ 2.5-4.0 เมตร ค่าจ้างประมาณ 700 บาท/ตัน ขึ้นรถบรรทุกมาที่โรงเลื่อย
3. การเลื่อยไม้
ไม้เป็นท่อนๆ ก็จะบรรทุกลงมาที่จุดแปรงรูปไม้อุปกรณ์แบบง่ายๆ ก็ประกอบด้วยโต๊ะเลื่อยไม้ขนาดวงเดือน 36 นิ้ว ต่อแบริ่ง ด้านเดียวต่อมาก็เป็นปุลเล่ย์ แล้วก็สายพานตัววีไปยังเครื่องต้นกำลังที่เป็นมอเตอร์หรือเครื่องยนต์
ครั้งแรก จะเอาท่อนไม้ใส่ตัวรับเพื่อให้ลุนท่อนไม้ไปตามลูกกลิ้ง เลื่อยเอาเปลือกออกด้านแรก พอสุดก็ดันท่อนไม้กลับ เอาไม้รองออกจากนั้นก็พื้นเรียบๆ วาง แล้วดันตัดเปลือกอีก พอสุดก็ดันกลับ จากนั้นก็ดันด้านที่สาม ซึ่งจะทำแนวรับเพื่อให้ขนาดไม้หนาเท่ากัน พวกครบ 3 ด้าน ก็มาดันไม้ เพื่อเลื่อยตามขนาดที่ต้องการ โดยเล็งกับแนวที่มาร์คไว้ที่แท่นเลื่อย จนหมดจึงหยุด
ปีกไม้ก็เอามากองๆ ไป หากเป็นไม้ไม่ดีก็เอาไปทำฟืน หากเป็นปีกไม้สักก็จะเอาไปขายได้ทำผนังก็ดี ขี้เลื้อยก็ใส่รถบรรทุก 6 ล้อ ไปขายเที่ยวละ 1,500 บาท
4. เอาไม้ไปอบ
เพื่อให้เนื้อไม้มีความชื้นลดลงเหลือประมาณ 12 - 17% การอบจะค่อยเป็นค่อยไป ต้มหม้อไอน้ำด้วยฟืน เดินท่อมาแล้ว เอาขดลวดท่อน้ำร้อนมาใส่ในโรงอบไม้ ช่วงแรกๆ จะพ่นไอน้ำแล้วใช้พัดลมเป่ากวนให้ทั่วถึง เพื่อป้องกันไม้หดตัวแล้วแตก หลังจากนั้นก็ไม่ต้องพ่นไอน้ำหลังจากความชื้นพื้นผิวไม้ลดลงใกล้เคียงเนื้อในอบประมาณ 10-14 วัน
หากเป็นไม้เนื้อแข็งจะหดน้อย ไม้เนื้ออ่อนก็จะเขาขึ้นมาก
การเรียงไม้ในเตาอบก็ให้โปร่งๆ ลมวิ่งสะดวก ทั่วถึง
5. ไม้หลังอบ
ควรเก็บไม้หลังอบให้ดีๆ มิเช่นนั้นจะบิดงอ ขนาดไม้เต็งแข็งขนาด 2X10 นิ้ว ยาว 5 เมตร ยังบิดงอโค้งได้
6. บทส่งท้าย
ความรู้เรื่องไม้ เพื่อที่จะเลือกชนิดไม้ให้สอดคล้องกับจุดติดตั้งว่าเป็นฝาผนังภายนอกหรือภายในจะตีฝ้าหรือพื้นหรือเอาไปทำเสา เสานั้นจะกลมหรือเป็นเหลี่ยม จะทำบันไดแบบในร่มหรือแบบทนแดดทนฟ้า ไม้เชิงชายปิดปลายหลังคาควรจะเป็นไม้เนื้อแข็ง เพราะต้องทนแดดและทนน้ำฝน
ความรู้เรื่องไม้ อาจหาวิธีการทำให้ใช้ไม้ต้นทุนถูกก็ได้ตลอดจนบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องเอาไปเอาไม้ป่ามาทำก็ได้ ไม้ไร่ไม้สวนไม้ปลูกมาทำก็ได้
ภาคคำนวน
ส่วนใหญ่ไม้จะขายเป็น ลบ.ฟุต แต่ผู้ใช้มักจะต้องคิดเป็นตารางเมตรตามแบบแปลนบ้าน
1 ลบ.ฟุต = 0.3048x0.3048x0.3048 ลบ.ม.
1 ลบ.ม. = 0.0283168 ลบ.ม.
1 ลบ.ม. = 1/0.283168 = 35.3147
หรือประมาณ 35 ลบ.ฟุต./ลบ.ม. *
ไม้หนา 1 นิ้ว ทำไม้กระดานพื้น 1 ลบ.ฟุต ทำได้ 12 แผ่น
1 แผ่น 0.348x0.3048 = 0.092903 ต.ร.ม
12 แผ่น 0.092903x12 = 1.1148 ต.ร.ม
หรือ ประมาณ 1 ลบ.ฟ/ตารางเมตร (ไม้หนา 1 นิ้ว)
ที่มา http://www.budmgt.com