· ไม่ควรใช้หลอดอินแคนเดสเซนต์เป็นหลอดหลักในการให้แสงสว่างในสำนักงาน เพราะที่ความส่องสว่างตามมาตรฐานด้วยหลอดประเภทนี้จะรู้สึกจ้า
· ถ้าต้องการมองเห็นสีสันที่แท้จริงของวัตถุ ควรใช้หลอดที่มีดัชนีความถูกต้องของสี CRI (Color Rendering Index) สูงๆ
· ถ้าต้องการมองเห็นวัตถุให้เด่น ไม่ใช่เลือกหลอดที่มีดัชนีความถูกต้องของสี CRI (Color Rendering Index) สูงๆ แต่เลือกหลอดที่ให้สเปกตรัมสีเดียวกับวัตถุมากๆ
· หลอดที่ให้ลำแสงแคบหรือหลอดที่ต้องการใช้เพื่อให้มีความปลอดภัยควรใช้หลอดที่มีแรงดันต่ำ
· หลอดที่ติดตั้งที่เพดานสูงๆควรใช้หลอดที่มีอายุการใช้งานนาน หรือ อาจใช้หลอดที่มีอายุการใช้งานต่ำ เช่น อินแคนเดสเซนต์ แต่ใช้ร่วมกับตัวหรี่ไฟ แต่ถ้าเพดานสูงมากและไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือหรือช่างเปลี่ยนให้ก็ควรหันมาใช้การเล่นแสงที่ระดับล่างไม่ว่าจะเป็นไฟส่องขึ้นหรือใช้เป็นไฟกิ่งแทนก็ตาม
· หลอดอินแคนเดสเซนต์อายุการใช้งานสั้น 1000-3000 ชม. แต่มี CRI 100 เปอร์เซนต์
· อายุการใช้งานของหลอดอินแคนเดสเซนต์สั้นลงมากถ้าศักดาไฟฟ้าสูงขึ้น
· หลอด PAR 38 มีมุมแสงสองชนิดคือ 15 และ 30 องศา
· หม้อแปลงหลอดฮาโลเจนแรงดันต่ำไม่ควรอยู่ห่างจากหลอดมาก
· อย่าไปสัมผัสถูกหลอดฮาโลเจนเพราะจะทำให้อายุการใช้งานสั้นลงมาก
· หลอดฟลูออเรสเซนต์ใช้กับสำนักงาน และโรงงานที่มีเพดานสูงไม่เกิน 7 เมตร
· หลอดฟลูออเรสเซนต์เมื่อใช้ในห้องแช่เย็น สตาร์ทยาก และ ปริมาณแสงน้อยลงมาก
· หลอดฟลูออเรสเซนต์เดไลท์เหมาะใช้กับความส่องสว่าง 700 ลักซ์ หรือมากกว่า
· หลอดคูลไวท์เหมาะใช้กับสำนักงานที่มีความส่องสว่าง 500-1000 ลักซ์
· หลอดวอร์มไวท์เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความส่องสว่างไม่มากแต่ดูอบอุ่น
· การต่อวงจรLEAD-LAG เพื่อแก้เพาเวอร์แฟคเตอร์ต้องใช้คาปาซิเตอร์ที่มีอัตราแรงดันไม่น้อยกว่า 440 โวลท์
· ถ้านำคาปาซิเตอร์ต่ออนุกรมทุกหลอดไม่ได้ทำให้เพาเวอร์แฟคเตอร์ดีขึ้เลย เพียงแต่เปลี่ยนจาก lagging เป็น leading เท่านั้น
· การหรี่ไฟหลอดคอมแพคท์สามารถทำได้ แต่หลอดต้องใช้บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ และสวิตช์หรี่ไฟต้องเป็นชนิดพิเศษเฉพาะ
· หลอดปรอทความดันสูงใช้แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ เมื่อต้องการวัตต์สูงๆ ใช้ในพื้นที่ที่มีเพดานสูงๆ ใช้ในการส่องบริเวณ ใช้กับไฟถนน
· หลอดโซเดียมความดันสูงมีประสิทธิผลรองจากโซเดียมความดันต่ำ แต่ CRI ดีกว่า
· หลอดโซเดียมความดันสูงมีสีเหลืองทอง ใช้กับถนนที่มีขนาดกลางและใหญ่ ใช้ในโรงงานที่ไม่พิถีพิถันเรื่องสีสันมากนัก ใช้กับไฟส่องปริเวณ และทางเดิน
· หลอดโซเดียมความดันต่ำมีประสิทธิผลมากที่สุด แต่ ความถูกต้องสีน้อยที่สุด
· หลอดโซเดียมความดันต่ำมีสีเหลืองจัด ใช้เป็นไฟถนนที่มีขนาดใหญ่ ใช้เป็นไฟส่องบริเวณเพื่อการรักษาความปลอดภัย
· หลอดเมทัลฮาไลด์ ให้แสงทุกสีเด่น จึงนิยมใช้กับสนามกีฬาที่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์
· การใช้หลอดฆ่าเชื้อมีอันตรายต่อตาและผิวหนัง
· การให้แสงเพื่อให้ต้นไม้ใบหญ้าเจริญเติบโตได้ดีต้องมากพอเพื่อให้ขบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) มากกว่าขบวนการการหายใจ(Respiration)
· ย่านความยาวคลื่นที่ดึงดูดแมลงกลางคืนมากที่สุดได้แก่ 310-380 นาโนเมตร
· ปัญหาเรื่องแมลงกลางคืนแก้โดยใช้หลอดสีเหลือง หรือแดงซึ่งไม่มีรังสีอัลตราไวโอเลต
· ถึงแม้ใช้หลอดสีเหลืองหรือแดงเพื่อไม่ดึงดูดแมลงแล้ว การใช้ตัวสะท้อนแสงโดยจำกัดให้แสงสว่างเฉพาะบริเวณที่ต้องการ ไม่เลยออกไปไกลก็ช่วยได้มาก
· การติดตั้งหลอดแบลคไลท์ (Black Light) เพื่อดึงดูดแมลงโดยติดตั้งที่รอบๆอาคารห่างออกไปประมาณ 30-60เมตร ช่วยดักแมลงไว้ไม่ให้ไปที่อาคารได้
· หลอดที่มีอุณหภูมิสีเหมือนกัน เมื่อส่องวัตถุชิ้นเดียวกัน อาจเห็นสีสันของวัตถุเด่นต่างกัน
ที่มา http://www.tieathai.org