โดยปกติแล้วคนเอเซียอย่างเราๆมักจะตกแต่งภายในของบ้านเรือนด้วยการอาศัยแสงสว่างเป็นหลักกัน เพราะแสงสว่างไม่ว่าจะเป็นแสงธรรมชาติหรือแสงประดิษฐ์ก็สามารถให้อารมณ์ของ SPACE ที่แตกต่างกันได้ ซึ่งเราสามารถกรองแสงธรรมชาติที่ผ่านเข้ามาทางหน้าต่างได้ด้วยการใช้มู่ลี่หรือ SHADE มาช่วยกระจายสัมผัสของ SPACE ออกไป หน้าต่างที่ยาวจรดพื้นถึงผนังเปิดรับแสงธรรมชาติให้ผ่านเข้ามาได้มากก็จะเป็นการเพิ่มสัมผัสของ SPACE ได้เป็นสองเท่า หากเราต้องการจำกัดการเพิ่มของ SPACE ในห้อง เราก็อาจเลือกใช้ดวงโคมไฟเพดานแบบ Downlights หรือไฟที่ส่องขึ้นฝ้าเพดาน (Uplights) แทนที่จะใช้ไฟโคมตั้งโต๊ะหรือการจัดไฟ Spotlights แบบไฟราวส่องที่ภาพเขียนบนผนังห้องโดยอาศัยตัวหรี่ไฟ (Dimmer switch) เข้ามาช่วยก็จะทำให้ห้องดูนุ่มนวลขึ้นตามแบบชาวตะวันตกที่เค้ามักนิยมกัน นอกจากนี้การใช้วอลเปเปอร์ติดผนังก็สามารถจะเนรมิตห้องที่จืดชืดของเราให้กลายเป็นห้องสุดหรูสไตล์ Vintage Chic ได้เช่นกัน แถมตอนนี้ในท้องตลาดก็ยังมีวอลสติ๊กเกอร์ที่ช่วยการตกแต่งผนังห้องให้เป็นวอลเปเปอร์ติดผนังห้องที่เปลี่ยนลวดลายได้หลายๆครั้งโดยไม่ทำให้สีของผนังลอกเลยอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามเราก็มักนิยมตกแต่งภายในกันด้วยเฟอร์นิเจอร์เป็นหลักเสียมากกว่า ซึ่งก็จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทคือ
1. เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว ( Freestanding Furniture) สวยรอบด้าน มีอิสระในการจัดวาง
ด้วยจุดเด่นของการเป็นวัตถุที่เป็นสามมิติในตัวมันเอง เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวส่วนมากจะถูกสร้างขึ้นอย่างเรียบร้อยเพื่อให้มองดูสวยงามได้ครบทุกด้าน ดังนั้นราคาค่างวดของเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวจึงอาจสูงกว่าปกติตรงที่ช่างเฟอร์นิเจอร์จำเป็นต้องทำให้เฟอร์นิเจอร์นั้นๆเรียบร้อยสวยงามในทุกๆด้าน ยกเว้นเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวบางชิ้นที่กำหนดตำแหน่งให้ด้านหลังติดกับผนัง ด้านหลังของเฟอร์นิเจอร์นั้นๆจึงไม่มีการเก็บงานให้ดูสวยงามเรียบร้อย ซึ่งจะช่วยให้ราคาของเฟอร์นิเจอร์นั้นไม่สูงจนเกินไป ข้อดีของเฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัวนี้ก็คือ ให้อิสระในการตกแต่งได้อย่างเต็มที่ เพราะเราสามารถโยกย้ายเปลี่ยนแปลงตำแหน่งการจัดวางได้ตามชอบใจโดยไม่ต้องไปวุ่นวายกับช่างเฟอร์นิเจอร์ให้เสียอารมณ์เลย
2. เฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน (Build In Furniture) ประหยัดพื้นที่ ดูมีระเบียบ
เฟอร์นิเจอร์แบบบิลท์อินจะเหมาะกับห้องที่ต้องการระเบียบและมีพื้นที่ใช้สอยที่ค่อนข้างจำกัด โดยทั่วไป นักออกแบบมักเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ในการแก้ปัญหาพื้นที่ห้องและต้องการประหยัดเนื้อที่กัน ซึ่งการออกแบบเฟอร์นิเจอร์แบบบิลท์อินในบ้านที่สร้างใหม่นั้นก็ควรที่จะดำเนินการร่วมกันในช่วงออกแบบตัวบ้านครั้งแรก หรืออย่างน้อยๆก็ควรเป็นช่วงต้นๆในการก่อสร้างบ้าน เพราะการออกแบบส่วนเว้าของผนังห้องต่างๆในทางสถาปัตย์เพื่อรองรับ เฟอร์นิเจอร์บิลท์อินนั้นมีความสำคัญอยู่ไม่น้อย หรือแม้แต่เรื่องการแก้ไขช่องหน้าต่างเพื่อให้สอดคล้องกับเฟอร์นิเจอร์บิลท์อินก็ควรกระทำก่อนที่การก่อสร้างตัวบ้านจะเสร็จสิ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งเมื่อเราตัดสินใจเลือกเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ก็จะมีสิ่งหนึ่งที่พึงรำลึกไว้ก็คือ เฟอร์นิเจอร์บิลท์อินนั้นเมื่อทำขึ้นมาแล้วจะโยกย้ายเปลี่ยนแปลงไม่ได้ง่ายๆและบ่อยครั้ง โดยการโยกย้ายจะหมายถึงการจำต้องรื้อทิ้งไปโดยปริยาย ซึ่งความคิดที่ว่า เฟอร์นิเจอร์แบบบิลท์อินจะมีราคาถูกกว่าแบบลอยตัวนั้น ก็มิใช่เช่นนั้นเสมอไป เพราะค่าแรงในการทำงานนั้นแตกต่างกันไปตามลักษณะงานและระดับฝีมือของช่าง ทำให้บางครั้งเฟอร์นิเจอร์บิลท์อินกลับจะมีราคาสูงกว่าลอยตัว(กรณีที่เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวนั้นผลิตเป็นmass product)แต่ทั่วไปยังเลือกเฟอร์นิเจอร์แบบบิลท์อินกันอยู่ก็เพราะประหยัดพื้นที่และยังสามารถกำหนดลักษณะของเฟอร์นิเจอร์ได้ตามความต้องการนั่นเอง
ส่วนงบประมาณในการตกแต่งภายในโดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ (ยังไม่รวมเฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัว) กันแล้วก็จะมีมาตราฐานทั่วไป ดังต่อไปนี้
1. บ้านมูลค่า 4-7 ล้านบาท ตัองใช้งบตกแต่งภายในเฉลี่ยตั้งแต่ 10,000 บาท / ตร.ม. ขึ้นไปจึงจะสวยงามสมราคาบ้าน
2. บ้านมูลค่า 7-12 ล้านบาท งบตกแต่งภายในเฉลี่ยตั้งแต่ 15,000 บาท / ตร.ม. ขึ้นไป
3. บ้านมูลค่า 12-20 ล้านบาท งบตกแต่งภายในเฉลี่ยตั้งแต่ 20,000 บาท / ตร.ม. ขึ้นไป
4. บ้านมูลค่า 20-35 ล้านบาท งบตกแต่งภายในเฉลี่ยตั้งแต่ 25,000 บาท / ตร.ม. ขึ้นไป
5. บ้านมูลค่า 35-50 ล้านบาทขึ้นไป งบตกแต่งภายในเฉลี่ยตั้งแต่ 40,000 บาท / ตร.ม. ขึ้นไป
ซึ่งงบประมาณมาตราฐานในการตกแต่งภายในทั่วไปแล้วก็จะอยู่ที่เฉลี่ย 12,000 บาท / ตร.ม. ขึ้นไปโดยเฉพาะทาวน์เฮาส์ตามแบบที่ผู้ถามได้ถามมาก็ต้องใช้งบประมาณประมาณนี้ด้วยเช่นกัน
ฉะนั้น ผู้ถามคงต้องเป็นผู้ตัดสินใจเอาเองกันแล้วล่ะครับว่า จะเอาแบบใดดี เพราะผู้ถามเท่านั้นย่อมเป็นผู้รู้กำลังงบประมาณของตนเองเป็นอย่างดี...ไงล่ะครับ
ที่มา: http://www.student.chula.ac.th/~49718863/interia.htm
การขอรังวัดที่ดิน
สิ่งที่เจ้าของที่ดินควรทราบ1. ที่ดินที่ครอบครองอยู่มีหลักฐานอะไร ให้นำหลักฐานที่มีไปประกอบการยื่นคำขอรังวัดที่ดิน
2. ที่ดินตั้งอยู่ หมู่ที่เท่าใด ตำบล อำเภอ อะไร
3. เจ้าของที่ดินข้างเคียงเป็นผู้ใดบ้าง ติดที่สาธารณประโยชน์หรือไม่
4. สภาพที่ดินเป็นอย่างไร เช่น ที่นา ที่สวน ที่ไร่ ที่อยู่อาศัย
การยื่นคำขอรังวัดที่ดิน
ยื่นที่สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา หรือสำนักงานที่ดินอำเภอที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ คือ โฉนดที่ดิน ติดต่อที่สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ที่ที่ดินนั้น ตั้งอยู่ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ติดต่อที่สำนักงานที่ดินอำเภอที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ เว้นแต่ ได้มีการยกเลิกอำนาจนายอำเภอ ให้ติดต่อที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่
หลักฐานประกอบการขอรังวัด
แบ่งแยกหรือสอบเขต รวมโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
1. บัตรประจำตัว ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุล (ถ้ามี)
2. โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
3. โฉนดที่ดินที่จะขอรวม ต้องมีลักษณะดังนี้
* ต้องเป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ประเภทเดียวกัน เว้นแต่ โฉนดแผนที่ กับโฉนดที่ดินให้รวมกันได้
* ต้องมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในโฉนดที่ดินเหมือนกันทุกฉบับและต้อง ยังมีชีวิตอยู่ทุกคน
* ต้องเป็นที่ดินติดต่อผืนเดียวกัน ในจังหวัดและสำนักงานที่ดินเดียวกัน
* ต้องเป็นที่ดินในจังหวัดเดียวกัน แม้จะต่างตำบล อำเภอก็ให้รวมกันได้ เมื่อรวมโฉนดแล้วให้ถือว่าที่ดินส่วนใดอยู่ในเขตตำบลใดมาก ก็ให้ใช้ตำบลและอำเภอนั้นสำหรับโฉนดที่ดินแปลงใหม่
* ต้องเป็นที่ดินในเขตสำนักงานที่ดินเดียวกัน
อนึ่ง ในกรณีที่ที่ดินที่จะขอรวมโฉนดมีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมผูกพันอยู่ เช่น จำนอง ขายฝาก เช่า และทรัพยสิทธิอื่น ๆ เช่น สิทธิเก็บกิน ภารจำยอม ฯลฯ เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ ก็ให้ทำได้
1. จะต้องเป็นกรณีที่ภาระผูกพันนั้น ๆ ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมรวมโฉนดไว้ เช่น จำนองรวมโฉนด หรือขายฝากรวมโฉนด เป็นต้น
2. ต้องได้รับความยินยอมจากคู่กรณีทุกฝ่าย คำยินยอมนี้คู่กรณีจะนำตัวมาบันทึกต่อหน้าเจ้าพนักงาน หรือจะให้คำยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
3. โฉนดที่ดินที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมรวมโฉนดไว้ จะขอรังวัดรวมโฉนดทั้งหมดหรือเพียงบางโฉนดก็ให้ทำได้
อนึ่ง ในกรณีรวมโฉนดที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับการรวมโฉนดที่ดิน
เจ้าของที่ดินประสงค์จะสอบเขตที่ดินหรือตรวจสอบเนื้อที่
ในกรณีผู้มีสิทธิในที่ดินประสงค์จะขอสอบเขตโฉนดที่ดินเฉพาะรายของตน หรือประสงค์จะขอให้ตรวจสอบเนื้อที่ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายของตน ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต่อเจ้า พนักงานที่ดินและพนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะไปรังวัดให้
ในการรังวัดสอบเขตหรือตรวจสอบเนื้อที่ ถ้าปรากฏว่าการครอบครองไม่ตรงกับแผนที่หรือเนื้อที่ในโฉนดที่ดินหรือหนังสือ รับรองการทำประโยชน์ เมื่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียง ที่เกี่ยวข้องได้ลงชื่อรับรองแนวเขต ให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจแก้ไขรูปแผนที่หรือเนื้อที่ให้ตรงกับความเป็น จริงได้ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่ใช่เป็นการสมยอมกันเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย เช่น ตัดแบ่งเนื้อที่ดินให้กันโดยไม่ต้องจดทะเบียนการโอน เป็นต้น
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงได้รับการติดต่อจากพนักงานเจ้า หน้าที่ให้มาระวังแนวเขตแล้ว แต่ไม่มาหรือมาแต่ไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตโดยไม่คัดค้านการรังวัด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำหนังสือแจ้งให้มาลงชื่อรับรองแนวเขตหรือคัดค้านการรังวัดโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้มีสิทธิในที่ดินแปลงข้างเคียงตามที่อยู่ที่เคยติดต่อ หรือตามที่อยู่ที่ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงนั้นได้แจ้งเป็นหนังสือไว้ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
หรือในกรณีที่ไม่อาจติดต่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงให้มาระวังแนวเขตได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ปิดหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงนั้นมาลงชื่อรับรองแนวเขตหรือ คัดค้านการรังวัดไว้ในที่เปิดเผย ณ บริเวณที่ดินของผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงนั้นมาลงชื่อรับรองแนวเขต หรือคัดค้านการรังวัดไว้ในที่เปิดเผย ณ บริเวณที่ดินของผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียง และ ณ ที่ว่าการเขตหรือที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ ในท้องที่อันเป็นที่ตั้งของที่ดินแห่งละฉบับ พร้อมกับส่งหนังสือแจ้งให้ผู้นั้นมาลงชื่อรับรองแนวเขตหรือคัดค้านการรังวัด ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงตามที่อยู่ที่ พนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามได้ความจากนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือถ้าสอบถามแล้วยังไม่ทราบที่อยู่ของผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงก็ให้ส่ง ไปยังผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงตามที่อยู่ ที่ปรากฏหลักฐานที่สำนักงานที่ดิน
ถ้าผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงไม่มาลงชื่อรับรองแนวเขต หรือคัดค้านการรังวัดภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้ส่งหนังสือ และผู้ขอได้ให้คำรับรองว่า มิได้นำทำการรังวัดรุกล้ำที่ดินข้างเคียง และยินยอมให้แก้ไขแผนที่หรือเนื้อที่ให้ตรงกับความเป็นจริง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการต่อไปโดยไม่ต้องมีการรับรองแนวเขต
ในการรังวัดสอบเขต ถ้าปรากฏว่ามีผู้คัดค้าน ให้เจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้สอบสวน ไกล่เกลี่ย ไม่ใช่สอบสวนเปรียบเทียบ ให้ถือหลักฐานแผนที่เป็นหลักในการพิจารณา ถ้าตกลงกันได้ให้ดำเนินการไปตามที่ตกลง แต่การตกลงกันนี้จะต้องไม่เป็นการสมยอมกันเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย
ถ้าตกลงกันไม่ได้ ให้แจ้งให้คู่กรณีไปฟ้องต่อศาลภายในกำหนด 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ผู้ที่จะฟ้องศาลก็คือ ผู้ที่ขอสอบเขตที่ดินหรือขอตรวจสอบเนื้อที่นั้นเอง ถ้าไม่มีการฟ้องร้องภายในกำหนดดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ขอไม่ประสงค์จะสอบเขตโฉนดที่ดินหรือจะตรวจสอบเนื้อที่ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ต่อไป พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมยกเลิกคำขอได้
ถ้ามีการฟ้องต่อศาลภายในกำหนด 90 วันและศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว เจ้าพนักงานที่ดินก็จะดำเนินการไปตามคำพิพากษาของศาล
ที่มา กรมที่ดิน
2. ที่ดินตั้งอยู่ หมู่ที่เท่าใด ตำบล อำเภอ อะไร
3. เจ้าของที่ดินข้างเคียงเป็นผู้ใดบ้าง ติดที่สาธารณประโยชน์หรือไม่
4. สภาพที่ดินเป็นอย่างไร เช่น ที่นา ที่สวน ที่ไร่ ที่อยู่อาศัย
การยื่นคำขอรังวัดที่ดิน
ยื่นที่สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา หรือสำนักงานที่ดินอำเภอที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ คือ โฉนดที่ดิน ติดต่อที่สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ที่ที่ดินนั้น ตั้งอยู่ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ติดต่อที่สำนักงานที่ดินอำเภอที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ เว้นแต่ ได้มีการยกเลิกอำนาจนายอำเภอ ให้ติดต่อที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่
หลักฐานประกอบการขอรังวัด
แบ่งแยกหรือสอบเขต รวมโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
1. บัตรประจำตัว ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุล (ถ้ามี)
2. โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
3. โฉนดที่ดินที่จะขอรวม ต้องมีลักษณะดังนี้
* ต้องเป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ประเภทเดียวกัน เว้นแต่ โฉนดแผนที่ กับโฉนดที่ดินให้รวมกันได้
* ต้องมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในโฉนดที่ดินเหมือนกันทุกฉบับและต้อง ยังมีชีวิตอยู่ทุกคน
* ต้องเป็นที่ดินติดต่อผืนเดียวกัน ในจังหวัดและสำนักงานที่ดินเดียวกัน
* ต้องเป็นที่ดินในจังหวัดเดียวกัน แม้จะต่างตำบล อำเภอก็ให้รวมกันได้ เมื่อรวมโฉนดแล้วให้ถือว่าที่ดินส่วนใดอยู่ในเขตตำบลใดมาก ก็ให้ใช้ตำบลและอำเภอนั้นสำหรับโฉนดที่ดินแปลงใหม่
* ต้องเป็นที่ดินในเขตสำนักงานที่ดินเดียวกัน
อนึ่ง ในกรณีที่ที่ดินที่จะขอรวมโฉนดมีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมผูกพันอยู่ เช่น จำนอง ขายฝาก เช่า และทรัพยสิทธิอื่น ๆ เช่น สิทธิเก็บกิน ภารจำยอม ฯลฯ เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ ก็ให้ทำได้
1. จะต้องเป็นกรณีที่ภาระผูกพันนั้น ๆ ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมรวมโฉนดไว้ เช่น จำนองรวมโฉนด หรือขายฝากรวมโฉนด เป็นต้น
2. ต้องได้รับความยินยอมจากคู่กรณีทุกฝ่าย คำยินยอมนี้คู่กรณีจะนำตัวมาบันทึกต่อหน้าเจ้าพนักงาน หรือจะให้คำยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
3. โฉนดที่ดินที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมรวมโฉนดไว้ จะขอรังวัดรวมโฉนดทั้งหมดหรือเพียงบางโฉนดก็ให้ทำได้
อนึ่ง ในกรณีรวมโฉนดที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับการรวมโฉนดที่ดิน
เจ้าของที่ดินประสงค์จะสอบเขตที่ดินหรือตรวจสอบเนื้อที่
ในกรณีผู้มีสิทธิในที่ดินประสงค์จะขอสอบเขตโฉนดที่ดินเฉพาะรายของตน หรือประสงค์จะขอให้ตรวจสอบเนื้อที่ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายของตน ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต่อเจ้า พนักงานที่ดินและพนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะไปรังวัดให้
ในการรังวัดสอบเขตหรือตรวจสอบเนื้อที่ ถ้าปรากฏว่าการครอบครองไม่ตรงกับแผนที่หรือเนื้อที่ในโฉนดที่ดินหรือหนังสือ รับรองการทำประโยชน์ เมื่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียง ที่เกี่ยวข้องได้ลงชื่อรับรองแนวเขต ให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจแก้ไขรูปแผนที่หรือเนื้อที่ให้ตรงกับความเป็น จริงได้ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่ใช่เป็นการสมยอมกันเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย เช่น ตัดแบ่งเนื้อที่ดินให้กันโดยไม่ต้องจดทะเบียนการโอน เป็นต้น
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงได้รับการติดต่อจากพนักงานเจ้า หน้าที่ให้มาระวังแนวเขตแล้ว แต่ไม่มาหรือมาแต่ไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตโดยไม่คัดค้านการรังวัด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำหนังสือแจ้งให้มาลงชื่อรับรองแนวเขตหรือคัดค้านการรังวัดโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้มีสิทธิในที่ดินแปลงข้างเคียงตามที่อยู่ที่เคยติดต่อ หรือตามที่อยู่ที่ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงนั้นได้แจ้งเป็นหนังสือไว้ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
หรือในกรณีที่ไม่อาจติดต่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงให้มาระวังแนวเขตได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ปิดหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงนั้นมาลงชื่อรับรองแนวเขตหรือ คัดค้านการรังวัดไว้ในที่เปิดเผย ณ บริเวณที่ดินของผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงนั้นมาลงชื่อรับรองแนวเขต หรือคัดค้านการรังวัดไว้ในที่เปิดเผย ณ บริเวณที่ดินของผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียง และ ณ ที่ว่าการเขตหรือที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ ในท้องที่อันเป็นที่ตั้งของที่ดินแห่งละฉบับ พร้อมกับส่งหนังสือแจ้งให้ผู้นั้นมาลงชื่อรับรองแนวเขตหรือคัดค้านการรังวัด ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงตามที่อยู่ที่ พนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามได้ความจากนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือถ้าสอบถามแล้วยังไม่ทราบที่อยู่ของผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงก็ให้ส่ง ไปยังผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงตามที่อยู่ ที่ปรากฏหลักฐานที่สำนักงานที่ดิน
ถ้าผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงไม่มาลงชื่อรับรองแนวเขต หรือคัดค้านการรังวัดภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้ส่งหนังสือ และผู้ขอได้ให้คำรับรองว่า มิได้นำทำการรังวัดรุกล้ำที่ดินข้างเคียง และยินยอมให้แก้ไขแผนที่หรือเนื้อที่ให้ตรงกับความเป็นจริง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการต่อไปโดยไม่ต้องมีการรับรองแนวเขต
ในการรังวัดสอบเขต ถ้าปรากฏว่ามีผู้คัดค้าน ให้เจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้สอบสวน ไกล่เกลี่ย ไม่ใช่สอบสวนเปรียบเทียบ ให้ถือหลักฐานแผนที่เป็นหลักในการพิจารณา ถ้าตกลงกันได้ให้ดำเนินการไปตามที่ตกลง แต่การตกลงกันนี้จะต้องไม่เป็นการสมยอมกันเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย
ถ้าตกลงกันไม่ได้ ให้แจ้งให้คู่กรณีไปฟ้องต่อศาลภายในกำหนด 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ผู้ที่จะฟ้องศาลก็คือ ผู้ที่ขอสอบเขตที่ดินหรือขอตรวจสอบเนื้อที่นั้นเอง ถ้าไม่มีการฟ้องร้องภายในกำหนดดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ขอไม่ประสงค์จะสอบเขตโฉนดที่ดินหรือจะตรวจสอบเนื้อที่ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ต่อไป พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมยกเลิกคำขอได้
ถ้ามีการฟ้องต่อศาลภายในกำหนด 90 วันและศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว เจ้าพนักงานที่ดินก็จะดำเนินการไปตามคำพิพากษาของศาล
ที่มา กรมที่ดิน
การติดต่อสำนักงานที่ดิน
เอกสารที่ต้องเตรียม
ก่อนไปติดต่อสำนักงานที่ดิน ต้องเตรียมเอกสารหลักฐานให้พร้อม รายละเอียดเอกสารหลักฐานในการติดต่อแต่ละประเภท จะอยู่ในหัวข้อประเภทของการติดต่อ เช่น
- การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
- การออกโฉนดที่ดิน
- หนังสือรับรองการทำประโยชน์
- การรังวัดประเภทต่าง ๆ
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนไปติดต่อสำนักงานที่ดินท่านควรทราบว่าเอกสารสิทธิของท่าน เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานที่ดินใด และตั้งอยู่ที่ใด เพื่อไม่ให้ไปผิดสถานที่
เตรียมค่าใช้จ่าย
เตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกรรมที่จะต้องชำระตามกฎหมายให้พร้อม ค่าใช้จ่ายในการติดต่อราชการเจ้าหน้าที่จะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้ไว้เป็นหลักฐานทุกครั้งตามจำนวนที่ได้จ่ายจริง
ติดต่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ทุกสำนักงานที่ดินส่วนใหญ่จะมีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เมื่อท่านไปติดต่องานสำนักงานที่ดิน ลำดับแรกขอให้ท่านไปที่ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของสำนักงานที่ดิน เพื่อขอคำแนะนำ ตรวจสอบหลักฐานเอกสารและรับบัตรคิว
การให้บริการเป็นไปตามลำดับคิว
เมื่องานของท่านสำเร็จแล้ว ขอให้ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารสิทธิ เช่น ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ จำนวนเนื้อที่ในโฉนดที่ดิน และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ท่านเตรียมมาว่า ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพื่อไม่ให้มีปัญหาในภายหลัง ขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินงานในแต่ละประเภทจะมีประกาศไว้ที่สำนักงานที่ดิน หากท่านเห็นว่างานล่าช้าเกินกว่าปกติ หรือไม่ได้รับความสะดวก หรือมีข้อสงสัยขอให้สอบถามได้ที่เจ้าหน้าที่ หัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดได้ตามแต่กรณี หากงานของท่านไม่มีปัญหาข้อขัดของอื่นใดจะเสร็จในเวลามาตรฐานที่ประกาศไว้
หากมีปัญหาไม่ได้รับความเป็นธรรมในการให้บริการ
โปรดแจ้งกรมที่ดินได้โดยส่งข้อร้องเรียนทางไปรษณียบัตร ถึงกรมที่ดิน
ตู้ ปณ. 11 ปณฝ. วัดเลียบ กทม. 10200
หรือ โทร. 0-2222-2837
ที่มา กรมที่ดิน
ก่อนไปติดต่อสำนักงานที่ดิน ต้องเตรียมเอกสารหลักฐานให้พร้อม รายละเอียดเอกสารหลักฐานในการติดต่อแต่ละประเภท จะอยู่ในหัวข้อประเภทของการติดต่อ เช่น
- การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
- การออกโฉนดที่ดิน
- หนังสือรับรองการทำประโยชน์
- การรังวัดประเภทต่าง ๆ
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนไปติดต่อสำนักงานที่ดินท่านควรทราบว่าเอกสารสิทธิของท่าน เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานที่ดินใด และตั้งอยู่ที่ใด เพื่อไม่ให้ไปผิดสถานที่
เตรียมค่าใช้จ่าย
เตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกรรมที่จะต้องชำระตามกฎหมายให้พร้อม ค่าใช้จ่ายในการติดต่อราชการเจ้าหน้าที่จะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้ไว้เป็นหลักฐานทุกครั้งตามจำนวนที่ได้จ่ายจริง
ติดต่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ทุกสำนักงานที่ดินส่วนใหญ่จะมีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เมื่อท่านไปติดต่องานสำนักงานที่ดิน ลำดับแรกขอให้ท่านไปที่ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของสำนักงานที่ดิน เพื่อขอคำแนะนำ ตรวจสอบหลักฐานเอกสารและรับบัตรคิว
การให้บริการเป็นไปตามลำดับคิว
เมื่องานของท่านสำเร็จแล้ว ขอให้ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารสิทธิ เช่น ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ จำนวนเนื้อที่ในโฉนดที่ดิน และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ท่านเตรียมมาว่า ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพื่อไม่ให้มีปัญหาในภายหลัง ขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินงานในแต่ละประเภทจะมีประกาศไว้ที่สำนักงานที่ดิน หากท่านเห็นว่างานล่าช้าเกินกว่าปกติ หรือไม่ได้รับความสะดวก หรือมีข้อสงสัยขอให้สอบถามได้ที่เจ้าหน้าที่ หัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดได้ตามแต่กรณี หากงานของท่านไม่มีปัญหาข้อขัดของอื่นใดจะเสร็จในเวลามาตรฐานที่ประกาศไว้
หากมีปัญหาไม่ได้รับความเป็นธรรมในการให้บริการ
โปรดแจ้งกรมที่ดินได้โดยส่งข้อร้องเรียนทางไปรษณียบัตร ถึงกรมที่ดิน
ตู้ ปณ. 11 ปณฝ. วัดเลียบ กทม. 10200
หรือ โทร. 0-2222-2837
ที่มา กรมที่ดิน
การขออนุญาตก่อสร้างบ้าน
การสร้างบ้าน การขอเลขประจำบ้าน และการรื้อถอนบ้าน บ้านเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของเรา การมีบ้านเป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ที่จะเจริญก้าวหน้าต่อไป
ดังนั้น การปลูกบ้านที่ได้มีการปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบจึงเป็นการส่งเสริมความมั่นคงของชีวิตในฐานะเป็นพลเมืองดีและเสริมสร้างความดีงามแก่จิตใจ
ขั้นตอนในการปลูกสร้างบ้าน
1. ในเขตที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมืองบ้านหรืออาคาร ที่จะปลูกสร้าง ต้องได้รับอนุญาตแบบแปลนเสียก่อนและจะสร้างเกินกว่าแบบที่ได้รับอนุญาตไม่ได้โดยยื่นคำร้อง ได้ที่สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมืองพัทยา และสำนักงานเขตหรือกรุงเทพมหานคร อำเภอ แล้วแต่กรณี
2. บริเวณนอกเขตควบคุมตามข้อ 1 บ้านหรืออาคารที่ปลูกสร้างไม่ต้องอนุญาตสามารถปลูกสร้างได้เลย
การแจ้งการปลูกสร้างบ้านและผู้มีหน้าที่รับแจ้ง
เมื่อปลูกบ้านหรืออาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เจ้าบ้านไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่นั้น ๆ คือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือกำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน หรือปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมือง สำนักเขต กรุงเทพมหานคร ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณีเพื่อขอเลขประจำบ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันปลูกสร้างบ้านเสร็จ หากไม่ไปแจ้งตามกำหนดมีความผิดตามกฎหมายมีโทษปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท
หลักฐานที่จะต้องนำไปแจ้งเพื่อขอเลขประจำบ้าน
1. หนังสือหรือเอกสารได้รับอนุญาตการปลูกสร้างบ้าน หรืออาคาร (เฉพาะในเขตพื้นที่ที่ประกาศ ใช้กฎหมายควบคุมอาคาร หรือกฎหมายผังเมือง) 2. สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวของผู้แจ้ง กรณีผู้ที่ได้รับมอบหมายให้นำบัตรประจำตัว ของผู้มอบและหนังสือมอบหมาย (ถ้ามี) ไปแสดงด้วย
3. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้างบ้าน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า (ถ้ามี) 4. ผู้แจ้งให้ยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งพร้อมหลักฐานที่นำไปแสดง
วิธีการรับแจ้ง
เมื่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งได้รับแจ้งการสร้างบ้านใหม่แล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดง เมื่อเห็นว่าถูกต้อง ก็ให้กำหนดเลขหมายประจำบ้านให้พร้อมกับจัดทำทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านต่อไป โดยจะมอบสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินกรในเรื่องการ ย้ายบุคคลเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านในโอกาสต่อไป หรือจะดำเนินการในคราวเดียวกันก็ได้ ส่วนเลขประจำบ้าน ที่นายทะเบียน กำหนดให้นั้น ให้เจ้าบ้านไปจัดทำเลขประจำบ้านติดไว้ที่หน้าบ้านหรือที่รั้วบ้าน ซึ่งเห็นได้ชัดแจ้ง
การรื้อถอนบ้านซึ่งมีเลขประจำบ้าน
เมื่อได้มีการรื้อถอนบ้านหรืออาคารโดยไม่ประสงค์จะปลูกสร้างใหม่ในที่ดินนั้นอีก หรือรื้อเพื่อไป ปลูกสร้างที่อื่น ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งภายใน 1 วัน นับแต่วันรื้อถอนเสร็จพร้อมกับนำสำเนาทะเบียนบ้านคืนแก่นายทะเบียนด้วย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
การก่อสร้าง การดัดแปลง การรื้อถอน เคลื่อนย้าย และการใช้สอยอาคาร ภายในเขตเทศบาลต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาลเสียก่อน จึงจะดำเนินการได้ ทั้งนี้ เพราะเทศบาลมีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคง แข็งแรง ความปลอดภัย การป้อง กันอัคคีภัย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกในการจราจร เพื่อประโยชน์ของผู้อยู่อาศัยในอาคาร
หลักเกณฑ์
1. ให้ยื่นคำร้องขออนุญาต(ข.1) ที่สำนักการช่าง 2. หลักฐานอื่นๆ ที่ต้องมายื่นประกอบแบบแปลนดังนี้
- แบบแปลนก่อสร้าง 5 ชุด
- ภาพถ่ายเอกสาร, สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ขออนุญาต 1 ชุด
- ภาพถ่ายเอกสาร, บัตรประจำตัวประชาชน(หน้า-หลัง) ผู้ขออนุญาต 1 ชุด
- ภาพถ่ายเอกสารโฉนดที่ดิน, นส.3 ถ่านต้นฉบับจริงทุกหน้า 1 ชุด
- รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ
3. กรณีสร้างในที่ของบุคคลอื่น มีหลักฐานดังต่อไปนี้
- หนังสือยินยอมเจ้าของที่ดิน
- ภาพถ่ายเอกสาร, สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1 ชุด
- รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ 4. กรณีตกลงก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคารโดยวิธีทำผนังร่วมกันกับบุคคลอื่น มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- หนังสือตกลงก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคารโดยวิธีทำผนังร่วมกัน 1 ชุด
- ภาพถ่ายเอกสาร, สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินผู้ขอทำความตกลง 1 ชุด - ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1 ชุด
- รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ
5. ขณะนี้กองช่าง มีแบบบ้านบริการประชาชน 30 แบบ
- มีอาคารชั้นเดียวและสองชั้น
- ขณะนี้เทศบาลได้ใช้เทศบัญญัติเรื่องควบคุมอาคารฉบับใหม่แล้ว ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่กองช่าง
6. หน้าที่อื่นๆ ที่ต้องขออนุญาตกับกองช่าง
- ขอกองวัสดุในเขตทางหลวงเทศบาล
- ตัด คัดหินทางเท้าคอนกรีต
- เชื่อมท่อระบายน้ำจากอาคารลงสู่ท่อสาธารณประโยชน์
ดังนั้น การปลูกบ้านที่ได้มีการปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบจึงเป็นการส่งเสริมความมั่นคงของชีวิตในฐานะเป็นพลเมืองดีและเสริมสร้างความดีงามแก่จิตใจ
ขั้นตอนในการปลูกสร้างบ้าน
1. ในเขตที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมืองบ้านหรืออาคาร ที่จะปลูกสร้าง ต้องได้รับอนุญาตแบบแปลนเสียก่อนและจะสร้างเกินกว่าแบบที่ได้รับอนุญาตไม่ได้โดยยื่นคำร้อง ได้ที่สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมืองพัทยา และสำนักงานเขตหรือกรุงเทพมหานคร อำเภอ แล้วแต่กรณี
2. บริเวณนอกเขตควบคุมตามข้อ 1 บ้านหรืออาคารที่ปลูกสร้างไม่ต้องอนุญาตสามารถปลูกสร้างได้เลย
การแจ้งการปลูกสร้างบ้านและผู้มีหน้าที่รับแจ้ง
เมื่อปลูกบ้านหรืออาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เจ้าบ้านไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่นั้น ๆ คือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือกำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน หรือปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมือง สำนักเขต กรุงเทพมหานคร ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณีเพื่อขอเลขประจำบ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันปลูกสร้างบ้านเสร็จ หากไม่ไปแจ้งตามกำหนดมีความผิดตามกฎหมายมีโทษปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท
หลักฐานที่จะต้องนำไปแจ้งเพื่อขอเลขประจำบ้าน
1. หนังสือหรือเอกสารได้รับอนุญาตการปลูกสร้างบ้าน หรืออาคาร (เฉพาะในเขตพื้นที่ที่ประกาศ ใช้กฎหมายควบคุมอาคาร หรือกฎหมายผังเมือง) 2. สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวของผู้แจ้ง กรณีผู้ที่ได้รับมอบหมายให้นำบัตรประจำตัว ของผู้มอบและหนังสือมอบหมาย (ถ้ามี) ไปแสดงด้วย
3. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้างบ้าน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า (ถ้ามี) 4. ผู้แจ้งให้ยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งพร้อมหลักฐานที่นำไปแสดง
วิธีการรับแจ้ง
เมื่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งได้รับแจ้งการสร้างบ้านใหม่แล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดง เมื่อเห็นว่าถูกต้อง ก็ให้กำหนดเลขหมายประจำบ้านให้พร้อมกับจัดทำทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านต่อไป โดยจะมอบสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินกรในเรื่องการ ย้ายบุคคลเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านในโอกาสต่อไป หรือจะดำเนินการในคราวเดียวกันก็ได้ ส่วนเลขประจำบ้าน ที่นายทะเบียน กำหนดให้นั้น ให้เจ้าบ้านไปจัดทำเลขประจำบ้านติดไว้ที่หน้าบ้านหรือที่รั้วบ้าน ซึ่งเห็นได้ชัดแจ้ง
การรื้อถอนบ้านซึ่งมีเลขประจำบ้าน
เมื่อได้มีการรื้อถอนบ้านหรืออาคารโดยไม่ประสงค์จะปลูกสร้างใหม่ในที่ดินนั้นอีก หรือรื้อเพื่อไป ปลูกสร้างที่อื่น ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งภายใน 1 วัน นับแต่วันรื้อถอนเสร็จพร้อมกับนำสำเนาทะเบียนบ้านคืนแก่นายทะเบียนด้วย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
การก่อสร้าง การดัดแปลง การรื้อถอน เคลื่อนย้าย และการใช้สอยอาคาร ภายในเขตเทศบาลต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาลเสียก่อน จึงจะดำเนินการได้ ทั้งนี้ เพราะเทศบาลมีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคง แข็งแรง ความปลอดภัย การป้อง กันอัคคีภัย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกในการจราจร เพื่อประโยชน์ของผู้อยู่อาศัยในอาคาร
หลักเกณฑ์
1. ให้ยื่นคำร้องขออนุญาต(ข.1) ที่สำนักการช่าง 2. หลักฐานอื่นๆ ที่ต้องมายื่นประกอบแบบแปลนดังนี้
- แบบแปลนก่อสร้าง 5 ชุด
- ภาพถ่ายเอกสาร, สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ขออนุญาต 1 ชุด
- ภาพถ่ายเอกสาร, บัตรประจำตัวประชาชน(หน้า-หลัง) ผู้ขออนุญาต 1 ชุด
- ภาพถ่ายเอกสารโฉนดที่ดิน, นส.3 ถ่านต้นฉบับจริงทุกหน้า 1 ชุด
- รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ
3. กรณีสร้างในที่ของบุคคลอื่น มีหลักฐานดังต่อไปนี้
- หนังสือยินยอมเจ้าของที่ดิน
- ภาพถ่ายเอกสาร, สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1 ชุด
- รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ 4. กรณีตกลงก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคารโดยวิธีทำผนังร่วมกันกับบุคคลอื่น มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- หนังสือตกลงก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคารโดยวิธีทำผนังร่วมกัน 1 ชุด
- ภาพถ่ายเอกสาร, สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินผู้ขอทำความตกลง 1 ชุด - ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1 ชุด
- รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ
5. ขณะนี้กองช่าง มีแบบบ้านบริการประชาชน 30 แบบ
- มีอาคารชั้นเดียวและสองชั้น
- ขณะนี้เทศบาลได้ใช้เทศบัญญัติเรื่องควบคุมอาคารฉบับใหม่แล้ว ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่กองช่าง
6. หน้าที่อื่นๆ ที่ต้องขออนุญาตกับกองช่าง
- ขอกองวัสดุในเขตทางหลวงเทศบาล
- ตัด คัดหินทางเท้าคอนกรีต
- เชื่อมท่อระบายน้ำจากอาคารลงสู่ท่อสาธารณประโยชน์
อ้างอิง
เกณฑ์การถอดแบบสำรวจปริมาณงานและวัสดุก่อสร้าง
1. งานขุดดินฐานรากและถมดิน เผื่อกันดินพังและทำงานสะดวก 30%
2. งานถมวัสดุรองพื้นหรือปรับระดับ เผื่อการยุบตัวเนื่องจากการบดอัดแน่นด้วยแรงคน
2.1 งานถมทราย เผื่อ 25%
2.2 งานถมดิน เผื่อ 25%
2.3 งานถมลูกรัง เผื่อ 25%
2.4 งานถมอิฐหัก เผื่อ 25%
3. งานไม้แบบหล่อคอนกรีต ใช้ปริมาณวัสดุตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
3.1 ไม้แบบหนา 1" เนื้อที่ 1 ตารางเมตร ใช้ไม้ประมาณ 1 ลูกบาศก์ฟุต
3.2 ไม้คร่าวยึดไม้แบบ ใช้ 30% ของปริมาณไม้แบบ
3.3 ไม้ค้ำยันไม้แบบ
3.3.1 ไม้ค้ำยันท้องคานและงานประเภทคานใช้ 1 ต้น/ความยาว 1 เมตร
3.3.2 ไม้ค้ำยันท้องพื้นและงานประเภทพื้นใช้ 1 ต้น/ตารางเมตร
3.4 ตะปูยึดงานไม้แบบใช้ 0.30 กก./ไม้แบบ 1 ตารางเมตร
การลดปริมาณไม้แบบ ไม้คร่าว และไม้ค้ำยัน เนื่องจากใช้งานได้หลายครั้ง
- อาคารชั้นเดียว ลดไม้ 20% ใช้ 80%
- อาคารสองชั้น ลดไม้ 30% ใช้ 70%
- อาคารสามชั้น ลดไม้ 40% ใช้ 60%
- อาคารสี่ชั้นขึ้นไป ลดไม้ 50% ใช้ 50%
4. งานเหล็กเสริมคอนกรีต
4.1 น้ำหนักเหล็กเส้น
4.1.1 เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ คุณภาพ SR 24
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. หนัก 0.222 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 มม. หนัก 0.499 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม. หนัก 0.888 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 มม. หนัก 1.390 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 มม. หนัก 2.230 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม. หนัก 3.850 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 28 มม. หนัก 4.830 กก./ม.
4.1.2 เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย คุณภาพ SD 30, SD 35 และ SD 40
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.5 มม. หนัก 0.556 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม. หนัก 0.888 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม. หนัก 1.580 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 มม. หนัก 2.470 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม. หนัก 3.850 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 28 มม. หนัก 4.830 กก./ม.
4.2 การถอดแบบสำรวจปริมาณเหล็กเสริม
4.2.1 เพื่อการคิดเร็ว คิดเหล็กเสริมทุกชนิดเป็นเส้นตรง โดยไม่ต้องเผื่อความยาวของเหล็กเสริม ที่ต้องทาบต่อ งอปลาย ดัดคอม้า และเหลือเศษสั้นใช้งานไม่ได้ ให้คิดหาปริมาณเหล็กของงานต่าง ๆ ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เหล็กตะแกรงของฐานราก ให้คิดความยาวของเหล็กเท่ากับความกว้างและความหนาของฐานราก
(2) เหล็กยืนของเสาตอม่อ ปลายเหล็กยืนส่วนที่ดัดงอเป็นมุม 90 เพื่อยึดติดกับเหล็กตะแกรงของฐานราก ให้คิดความยาวประมาณ ? ของความกว้างของฐานราก
(3) เหล็กยืนของเสาให้คิดความยาวเท่ากับความยาวของเสา เหล็กปลอกของเสาให้คิด ความยาวต่อ 1 ปลอกเท่ากับความยาวของเส้นรอบรูปเสา
(4) เหล็กนอนของคานทั้งเหล็กตรงและเหล็กคอม้า ให้คิดความยาวเท่ากับความยาวของคาน
- เหล็กปลอกของคานให้คิดความยาวต่อ 1 ปลอกเท่ากับความยาวของเส้นรอบรูปคาน
(5) เหล็กตะแกรงของพื้นเหล็กตรงและเหล็กคอม้า ให้คิดความยาวเท่ากับความกว้างของพื้น
- เหล็กเสริมพิเศษให้คิดความยาวตามที่กำหนดไว้ในแบบแปลน
(6) เหล็กนอนของบันไดให้คิดความยาวเท่ากับความกว้างของบันได,
เหล็กลูกโซ่ของบันไดให้คิดความยาวเท่ากับความกว้างของลูกนอนและความสูงของลูกตั้ง
(7) เหล็กนอนของเอ็นยึดผนังและบัวใต้หน้าต่าง
ให้คิดความยาวเท่ากับความยาวของเอ็นยึดผนังและบัวใต้หน้าต่าง
- เหล็กลูกโซ่ของเอ็นยึดผนังและบัวใต้หน้าต่างให้คิดความยาวเท่ากับความกว้างของเอ็นยึดผนังและบัวใต้หน้าต่าง
(8) เหล็กยืน เหล็กนอนและเหล็กคอม้าของผนังให้คิดความยาวเท่ากับความสูงและความกว้างของผนัง
- เหล็กเสริมพิเศษของผนังให้คิดความยาวตามที่กำหนดไว้ในแบบแปลน
(9) เหล็กเสริมของงานอื่น ๆ หากคล้ายคลึงกับงานประเภทใดใน (1)-(8) ให้คิดเหมือนประเภทนั้น ๆ หากไม่คล้ายคลึงให้ผู้ถอดแบบสำรวจปริมาณ ประมาณการโดยยึด หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
4.2.2 เมื่อได้ถอดแบบสำรวจปริมาณเหล็กเสริมตามเกณฑ์ในข้อ 4.2.1 และรวมปริมาณเหล็กเสริมทั้งหมดแล้ว ให้คิดเผื่อเหล็กเสริม เนื่องจากต้องทาบต่อ งอปลาย ดัดคอม้า และเหลือเศษนั้นใช้งานไม่ได้ ของเหล็กเสริม แต่ละขนาดทั้งเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ และเหล็กเสริมกลมผิวข้ออ้อย ตามเกณฑ์ต่อไปนี้
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. เผื่อ 5%
เหล็กเสริมขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 9 มม. เผื่อ 7%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.5 มม. เผื่อ 7%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม. เผื่อ 9%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 มม. เผื่อ 11%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม. เผื่อ 11%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 มม. เผื่อ 13%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 มม. เผื่อ 13%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม. เผื่อ 15%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 28 มม. เผื่อ 15%
4.3 งานผูกเหล็กเสริมใช้ลวดผูกเบอร์ 18 จำนวน 15 กิโลกรัม/เหล็กเสริม 1 เมตริกตัน
5. ปริมาณตะปูของงานประเภท
5.1 งานวางคาน ตง และปูพื้นไม้ ใช้ตะปูประมาณ 1.20 กก./ ตร.ม.
5.2 งานติดตั้งโครงหลังคาไม้ทรงต่าง ๆ
5.2.1 ทรงเพิงแหงน ใช้ตะปูประมาณ 0.20 กก./ ตร.ม.
5.2.2 ทรงจั่ว ใช้ตะปูประมาณ 0.20 กก./ ตร.ม.
5.2.3 ทรงปั้นหยา ใช้ตะปูประมาณ 0.25 กก./ ตร.ม.
5.2.4 ทรงไทย ใช้ตะปูประมาณ 0.30 กก./ ตร.ม.
6. การคิดปริมาณไม้ของงานก่อสร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ขนาดหน้าตัดของไม้ตามแบบแปลน ความยาววัดจากแบบโดยเผื่อการทาบต่อ แตกปลายและต้องใช้ไม้ตามความยาวมาตรฐาน ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเป็นเกณฑ์ประกอบ ทั้งนี้ผู้ถอดแบบสำรวจปริมาณต้องใช้ดุลยพินิจให้เหมาะสม
6.1 การคิดปริมาณไม้หน้าตัดเป็นนิ้ว ความยาวเป็นเมตร ให้คูณด้วยตัวคงที่ 0.0228 หน่วยเป็น ลูกบาศก์ฟุต
ตัวอย่าง ไม้ขนาดหน้าตัด 1"x8" ยาว 10 เมตร
คิดเป็นปริมาตร = 1x8x10x0.0228 = 1.824 ลูกบาศก์ฟุต
ที่มา: http://design.obec.go.th/action.html
2. งานถมวัสดุรองพื้นหรือปรับระดับ เผื่อการยุบตัวเนื่องจากการบดอัดแน่นด้วยแรงคน
2.1 งานถมทราย เผื่อ 25%
2.2 งานถมดิน เผื่อ 25%
2.3 งานถมลูกรัง เผื่อ 25%
2.4 งานถมอิฐหัก เผื่อ 25%
3. งานไม้แบบหล่อคอนกรีต ใช้ปริมาณวัสดุตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
3.1 ไม้แบบหนา 1" เนื้อที่ 1 ตารางเมตร ใช้ไม้ประมาณ 1 ลูกบาศก์ฟุต
3.2 ไม้คร่าวยึดไม้แบบ ใช้ 30% ของปริมาณไม้แบบ
3.3 ไม้ค้ำยันไม้แบบ
3.3.1 ไม้ค้ำยันท้องคานและงานประเภทคานใช้ 1 ต้น/ความยาว 1 เมตร
3.3.2 ไม้ค้ำยันท้องพื้นและงานประเภทพื้นใช้ 1 ต้น/ตารางเมตร
3.4 ตะปูยึดงานไม้แบบใช้ 0.30 กก./ไม้แบบ 1 ตารางเมตร
การลดปริมาณไม้แบบ ไม้คร่าว และไม้ค้ำยัน เนื่องจากใช้งานได้หลายครั้ง
- อาคารชั้นเดียว ลดไม้ 20% ใช้ 80%
- อาคารสองชั้น ลดไม้ 30% ใช้ 70%
- อาคารสามชั้น ลดไม้ 40% ใช้ 60%
- อาคารสี่ชั้นขึ้นไป ลดไม้ 50% ใช้ 50%
4. งานเหล็กเสริมคอนกรีต
4.1 น้ำหนักเหล็กเส้น
4.1.1 เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ คุณภาพ SR 24
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. หนัก 0.222 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 มม. หนัก 0.499 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม. หนัก 0.888 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 มม. หนัก 1.390 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 มม. หนัก 2.230 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม. หนัก 3.850 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 28 มม. หนัก 4.830 กก./ม.
4.1.2 เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย คุณภาพ SD 30, SD 35 และ SD 40
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.5 มม. หนัก 0.556 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม. หนัก 0.888 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม. หนัก 1.580 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 มม. หนัก 2.470 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม. หนัก 3.850 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 28 มม. หนัก 4.830 กก./ม.
4.2 การถอดแบบสำรวจปริมาณเหล็กเสริม
4.2.1 เพื่อการคิดเร็ว คิดเหล็กเสริมทุกชนิดเป็นเส้นตรง โดยไม่ต้องเผื่อความยาวของเหล็กเสริม ที่ต้องทาบต่อ งอปลาย ดัดคอม้า และเหลือเศษสั้นใช้งานไม่ได้ ให้คิดหาปริมาณเหล็กของงานต่าง ๆ ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เหล็กตะแกรงของฐานราก ให้คิดความยาวของเหล็กเท่ากับความกว้างและความหนาของฐานราก
(2) เหล็กยืนของเสาตอม่อ ปลายเหล็กยืนส่วนที่ดัดงอเป็นมุม 90 เพื่อยึดติดกับเหล็กตะแกรงของฐานราก ให้คิดความยาวประมาณ ? ของความกว้างของฐานราก
(3) เหล็กยืนของเสาให้คิดความยาวเท่ากับความยาวของเสา เหล็กปลอกของเสาให้คิด ความยาวต่อ 1 ปลอกเท่ากับความยาวของเส้นรอบรูปเสา
(4) เหล็กนอนของคานทั้งเหล็กตรงและเหล็กคอม้า ให้คิดความยาวเท่ากับความยาวของคาน
- เหล็กปลอกของคานให้คิดความยาวต่อ 1 ปลอกเท่ากับความยาวของเส้นรอบรูปคาน
(5) เหล็กตะแกรงของพื้นเหล็กตรงและเหล็กคอม้า ให้คิดความยาวเท่ากับความกว้างของพื้น
- เหล็กเสริมพิเศษให้คิดความยาวตามที่กำหนดไว้ในแบบแปลน
(6) เหล็กนอนของบันไดให้คิดความยาวเท่ากับความกว้างของบันได,
เหล็กลูกโซ่ของบันไดให้คิดความยาวเท่ากับความกว้างของลูกนอนและความสูงของลูกตั้ง
(7) เหล็กนอนของเอ็นยึดผนังและบัวใต้หน้าต่าง
ให้คิดความยาวเท่ากับความยาวของเอ็นยึดผนังและบัวใต้หน้าต่าง
- เหล็กลูกโซ่ของเอ็นยึดผนังและบัวใต้หน้าต่างให้คิดความยาวเท่ากับความกว้างของเอ็นยึดผนังและบัวใต้หน้าต่าง
(8) เหล็กยืน เหล็กนอนและเหล็กคอม้าของผนังให้คิดความยาวเท่ากับความสูงและความกว้างของผนัง
- เหล็กเสริมพิเศษของผนังให้คิดความยาวตามที่กำหนดไว้ในแบบแปลน
(9) เหล็กเสริมของงานอื่น ๆ หากคล้ายคลึงกับงานประเภทใดใน (1)-(8) ให้คิดเหมือนประเภทนั้น ๆ หากไม่คล้ายคลึงให้ผู้ถอดแบบสำรวจปริมาณ ประมาณการโดยยึด หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
4.2.2 เมื่อได้ถอดแบบสำรวจปริมาณเหล็กเสริมตามเกณฑ์ในข้อ 4.2.1 และรวมปริมาณเหล็กเสริมทั้งหมดแล้ว ให้คิดเผื่อเหล็กเสริม เนื่องจากต้องทาบต่อ งอปลาย ดัดคอม้า และเหลือเศษนั้นใช้งานไม่ได้ ของเหล็กเสริม แต่ละขนาดทั้งเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ และเหล็กเสริมกลมผิวข้ออ้อย ตามเกณฑ์ต่อไปนี้
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. เผื่อ 5%
เหล็กเสริมขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 9 มม. เผื่อ 7%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.5 มม. เผื่อ 7%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม. เผื่อ 9%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 มม. เผื่อ 11%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม. เผื่อ 11%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 มม. เผื่อ 13%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 มม. เผื่อ 13%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม. เผื่อ 15%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 28 มม. เผื่อ 15%
4.3 งานผูกเหล็กเสริมใช้ลวดผูกเบอร์ 18 จำนวน 15 กิโลกรัม/เหล็กเสริม 1 เมตริกตัน
5. ปริมาณตะปูของงานประเภท
5.1 งานวางคาน ตง และปูพื้นไม้ ใช้ตะปูประมาณ 1.20 กก./ ตร.ม.
5.2 งานติดตั้งโครงหลังคาไม้ทรงต่าง ๆ
5.2.1 ทรงเพิงแหงน ใช้ตะปูประมาณ 0.20 กก./ ตร.ม.
5.2.2 ทรงจั่ว ใช้ตะปูประมาณ 0.20 กก./ ตร.ม.
5.2.3 ทรงปั้นหยา ใช้ตะปูประมาณ 0.25 กก./ ตร.ม.
5.2.4 ทรงไทย ใช้ตะปูประมาณ 0.30 กก./ ตร.ม.
6. การคิดปริมาณไม้ของงานก่อสร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ขนาดหน้าตัดของไม้ตามแบบแปลน ความยาววัดจากแบบโดยเผื่อการทาบต่อ แตกปลายและต้องใช้ไม้ตามความยาวมาตรฐาน ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเป็นเกณฑ์ประกอบ ทั้งนี้ผู้ถอดแบบสำรวจปริมาณต้องใช้ดุลยพินิจให้เหมาะสม
6.1 การคิดปริมาณไม้หน้าตัดเป็นนิ้ว ความยาวเป็นเมตร ให้คูณด้วยตัวคงที่ 0.0228 หน่วยเป็น ลูกบาศก์ฟุต
ตัวอย่าง ไม้ขนาดหน้าตัด 1"x8" ยาว 10 เมตร
คิดเป็นปริมาตร = 1x8x10x0.0228 = 1.824 ลูกบาศก์ฟุต
ที่มา: http://design.obec.go.th/action.html
วิธีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ขาย
วิธีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ขาย. ราคาขายอสังหาริมทรัพย์
คลิกลิงค์
http://rdsrv2.rd.go.th/landwht/formcal3.asp
คลิกลิงค์
http://rdsrv2.rd.go.th/landwht/formcal3.asp
การขอเลขที่บ้าน
การขอเลขที่บ้าน : คือเจ้าของบ้าน เจ้าบ้าน หรือผู้ที่เจ้าบ้านมอบหมายโดย แจ้งขอเลขที่บ้าน ภายใน 15 วัน ตั้งแต่วันที่ปลูกบ้านเสร็จ
click ลิงค์
วิธีการคำนวณอากรแสตมป์จากการขายอสังหาริมทรัพย์
วิธีการคำนวณอากรแสตมป์จากการขายอสังหาริมทรัพย์. รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์
click ลิงค์
วิธีการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์
วิธีการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์. รายรับจากการขาย อสังหาริมทรัพย์
click ลิงค์
คำนวณเงินงวด
การคำนวณเงินผ่อนชำระ
คือการคำนวณยอดเงินที่ต้องผ่อนชำระแต่ละเดือน โดยคำนวณจากยอดวงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาการกู้ หากปรากฏว่ายอดเงินงวดสูงเกินไป ให้ลองเพิ่มระยะเวลาผ่อนชำระขึ้นไปอีก
การคำนวณวงเงินกู้
คือการคำนวณยอดเงินที่ต้องผ่อนชำระแต่ละเดือน โดยคำนวณจากยอดวงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาการกู้ หากปรากฏว่ายอดเงินงวดสูงเกินไป ให้ลองเพิ่มระยะเวลาผ่อนชำระขึ้นไปอีก
คือการคำนวณยอดเงินที่ต้องผ่อนชำระแต่ละเดือน โดยคำนวณจากยอดวงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาการกู้ หากปรากฏว่ายอดเงินงวดสูงเกินไป ให้ลองเพิ่มระยะเวลาผ่อนชำระขึ้นไปอีก
การคำนวณวงเงินกู้
คือการคำนวณยอดเงินที่ต้องผ่อนชำระแต่ละเดือน โดยคำนวณจากยอดวงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาการกู้ หากปรากฏว่ายอดเงินงวดสูงเกินไป ให้ลองเพิ่มระยะเวลาผ่อนชำระขึ้นไปอีก
click ลิงค์
วิธีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นที่มิใช่มรดก
วิธีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นที่มิใช่ มรดก
click ลิงค์