ฮวงจุ้ย : วิธีตกแต่งบ้านตามหลักฮวงจุ้ย

บ้าน
1. ไม่ควรมีถนนวิ่งตรงเข้าสู่บ้าน

2. ไม่ควรมีเสาตรงหน้าบ้าน

3. ไม่ควรมีต้นไม้ตรงประตูบ้าน

4. ไม่ควรมีประตูตรงกัน 2 ประตูเป็นทางผีผ่าน

5. ไม่ควรมีประตูหน้าบ้านประจันหน้ากับประตูบ้านอื่น

6. ไม่ควรมีประตูบ้านที่เล็กเกินไป เงินเข้าน้อย

7. ไม่ควรมีประตูบ้านตรงกับรถจอดพอดี เงินรั่วไหล

ห้องนอน 1. ห้องนอนเจ้าบ้านควรมีขนาดใหญ่ อยู่ทิศตะวันออกหรือกลางบ้านดี จะทำให้ความอบอุ่นมากขึ้น

2. ห้องนอนไม่ควรมีประตูตรงกัน

3. ห้องนอนไม่ควรอยู่ติดกับห้องครัว จะร้อนและสุขภาพไม่ดี

4. ประตูห้องห้องนอนไม่ควรตรงกับบันได ผีผ่าน

5. ประตูห้องนอนไม่ควรตรงกับประตูห้องส้วม จะทำให้ทุกข์ใจและสุขภาพเสีย

6. ห้องนอนหรือหัวนอนไม่ควรตรงกับ ห้องน้ำ จะมีปากเสียงและสุขภาพไม่ดี

7. ห้องนอนของคู่ชีวิตควรอยู่ทางทิศตะวันตกของบ้าน หันหัวทางทิศตะวันออก ส่งผลให้ร่มเย็นเป็นสุข

ห้องครัว
1. ห้องครัวควรอยู่หลังบ้าน จะส่งผลดีต่อครอบครัว

2. ห้องครัวไม่ควรมองเห็นชัดเจน ส่งผลให้ไม่มีสุข และเป็นโรคอ้วนได้

3. เตาไฟ ไม่ควรวางติดกับหน้าต่าง จะทำให้เกิดอุบัติภัยได้ และเป็นโรคได้

4. ไม่ควรนำเตาไฟติดกับอ่างน้ำ จะทำให้วุ่นวาย

5. เตาไฟควรวางทะแยงประตูเข้า จะทำให้เงินมากขึ้น

6. เตาไฟควรจัดให้เป็นเลขคี่ จะเป็นสิริมงคล ร่ำรวย

7. ห้องครัวควรมีช่องระบายอากาศให้สมดุล ธาตุลมจะทำให้ครอบครัวไม่วุ่นวาย

ห้องส้วม (ถูกฮวงจุ้ย) นำโชคดีมาให้

1. ห้องส้วมควรสะอาด จะส่งผลให้ครอบครัวมีสุข

2. ห้องส้วมไม่ควรตรงกับประตูห้องนอน ส่งผลร้ายต่อบ้าน

3. ห้องส้วมไม่ควรใหญ่เกินห้องกับข้าวจะทำให้ลูกหลานขี้เกียจ

4. โถส้วม ควรใช้สีถูกโฉลกกับเจ้าของบ้าน จะทำให้ร่ำรวย

5. ประตูห้องส้วม ควรมีฉากกั้นรูปวิว จะทำให้บ้านอยู่เย็นเป็นสุข

6. โถส้วม ควรเล็กกว่าที่อาบน้ำ 7. ห้องส้วมควรมีแสงสว่าง 2 ดวง ส่งผลให้ครอบครัวเจริญ

บันได
1. บันไดบ้านควรมีแสงสว่างเพียงพอ ใช้แสงสีขาว หรือสีเหลือง 1 ดวง จะส่งผลให้บ้านนั้น พ้นเรื่องอุบัติเหตุ

2. บันไดบ้านควรเป็นเลขคี่ จะส่งให้ร่ำรวย

3. บันไดให้ใช้สีสว่าง ส่งผลให้ธาตุน้ำดี บ้านร่มเย็นเป็นสุข ห้องรับแขก (บ้านแสนสุข) 1. ห้องรับแขกอเนกประสงค์ ควรมีอ่างบัว หรืออ่างปลาสวยทางมุมสุดของห้องรับแขก และติดวอลเปเปอร์ ภูเขา เมฆ สีฟ้าอ่อน (สว่าง) จะทำให้ห้องร่มรื่นถูกฮวงจุ้ย 2. ห้องรับแขกควรอยู่ตรงกับประตูใหญ่พอดี ใช้โซฟาสีฟ้าหรือสีชมพูอ่อนส่งเสริมให้อบอุ่น

เรื่องจาก Forward Mail ++ รวมหลักฮวงจุ้ย ในแบบต่างๆ

ทำเนียบวัสดุก่อสร้างออนไลน์

ทำเนียบวัสดุก่อสร้างออนไลน์  รวบรวมข้อมูลของวัสดุก่อสร้างและวัสดุตกแต่งทุกชนิด ตั้งแต่ฐานราก-หลังคา   รวมรายชื่อ/ที่อยู่ของบริษัทผู้ผลิต-จำหน่ายจากทั่วประเทศ   และรวมลิ้งค์เว็บไซต์วัสดุก่อสร้างมากที่สุด   เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับสถาปนิก มัณฑนากร วิศวกร ผู้รับเหมาก่อสร้าง เจ้าของโครงการ หน่วยราชการ/รัฐวิสาหกิจ ฝ่ายจัดซื้อ เจ้าของบ้าน .... และทุก ๆ คน
click ลิงค์ http://www.thaibuild.com/home.htm

การถมดินก่อสร้างบ้าน

ระดับดินที่เหมาะสม
ก่อนที่จะทำการสร้างบ้าน หรือสิ่งก่อสร้างใดๆ เจ้าของแทบทุกรายจะต้องเกิดคำถามว่า ระดับดินของบ้านหรือโครงการนั้นจะเอาสูงแค่ไหน การที่จะตอบปัญหาข้อนี้ควรจะดูปัจจัยต่างๆอย่างเช่น
บริเวณพื้นที่นั้น มีน้ำท่วมหรือเปล่า ท่วมสูงแค่ไหน อาจจะต้องสอบถามจากผู้คนแถวๆนั้น หรือถ้าสามารถดูร่องรอยน้ำท่วมที่อยู่ตามสิ่งก่อสร้างต่างๆได้ก็ยิ่งดีครับ
ระดับท่อระบายน้ำและบ่อพักสูงแต่ไหน ระดับน้ำในระบบท่อระบายน้ำในพื้นที่นั้นอยู่ที่ระดับไหน สามารถสอบถามได้จากหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบอยู่ หากระดับที่คุณต้องการถมอยู่ค่อนข้างสูงก็ไม่เป็นไรจะไม่มีปัญหาเรื่องการระบายน้ำ แต่ถ้าระดับของคุณค่อนข้างต่ำกว่าพื้นที่ข้างเคียง(ไม่ควร แต่จะด้วยเหตุจำเป็นใดๆก็ตาม) ควรจะเช็คตัวนี้ด้วยครับเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำในบ้านเราสามารถระบายออกสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะได้
ระดับถนนหน้าบ้าน และระดับดินพื้นที่ข้างเคียง ปัจจุบันมีการถมยกระดับถนนกันมาก แข่งกันถมทั้งถนน ทั้งเพื่อนบ้าน ถ้าสามารถให้ระดับดินของเราใกล้เคียงกับพื้นที่รอบๆก็น่าจะดีครับ ทั้งในแง่ความปลอดภัยของโครงสร้างรั้ว การระบายน้ำ ฯลฯ
การกำหนดระดับดินถมควรดูปัจจัยรอบๆด้าน ถมสูงหน่อยได้เปรียบ แต่ค่าถมและค่ากำแพงกันดินจะแพงขึ้นตามระดับครับ
ถมดินก่อสร้างบ้าน หรือ ถมทีหลังดี
การถมดินก่อนสร้างบ้านเครื่องจักรจะทำงานได้ง่าย อีกทั้งดินที่ถมทิ้งไว้จะยุบตัวไปบางส่วนขณะทำการก่อสร้าง เมื่อท่านสร้างบ้านเสร็จแล้วค่อยปรับระดับหน้าดิน และบดอัดดินทำถนนอีกครั้ง ดินจะยุบตัวอีกหลังจากนั้นไม่มากแล้วครับ
ถมดินอย่างไรไม่ทรุด (สำหรับดินบริเวณทั่วไป หรือ จัดสวน)
เรื่องการทรุดตัวของดินเกิดจากหลายสาเหตุคือ
ดินที่นำมาถมเมื่อถูกขุดและขนย้ายแล้วนำมาถม เนื้อดินจะไม่แน่นมีโพรงอยู่ข้างใน เมื่อถมทิ้งไว้สักหลายๆเดือนดินจะค่อยๆยุบตัวโดยที่โพรงอากาศข้างในจะถูกน้ำหนักดินกดเอาเนื้อดินเข้ามาแทนที่ ทางแก้ ใช้รถแบคโฮ รถบรรทุกดินหรือรถแทรกเตอร์ วิ่งบดไปบดมาเป็นชั้นๆละ 30-50 เซนติเมตร จะทำให้โพรงเหล่านี้ยุบลงไปได้มาก กรณีของถนนต้องใช้เสปกสำหรับทำถนนซึ่งยุ่งยากทีเดียว
ดินเดิมเมื่อถูกน้ำหนักดินถมกดลงมาก็จะยุบตัว ยุบมากยุบน้อยขึ้นอยู่กับสภาพดินเดิมว่ามีความแน่นเพียงใด เช่นดินเดิมที่เคยใช้เป็นลานจอดรถมานานและมีรถเข้าออกจอดอยู่เสมอก็จะทรุดน้อย ดินเดิมที่เป็นท้องนาหรือที่ต่ำขังน้ำดินอุ้มน้ำไว้มากจะทรุดตัวมาก ไม่มีทางแก้ครับ ดินจะทรุดไปตามธรรมชาติ แต่ไม่นานอาการนี้จะหยุดไปเอง
ดินทรุดจากการสูบน้ำบาดาลในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล อันนี้ก็ไม่มีทางแก้เช่นกัน ต้องทรุดลงไปเรื่อยๆอยู่แล้ว อาการนี้ไม่หยุด (ยกเว้นจะหยุดสูบน้ำบาดาลอาการก็จะค่อยๆช้าลง)
อินทรีย์วัตถุผิวดิน เช่นบริเวณน้ำขังจะมีขี้เลนซึ่งเป็นอินทรีย์วัตถุจากการเน่าเปื่อยของพืชน้ำ รวมทั้งซากต้นไม้ต่างๆด้วย เมื่อถมดินกลบไปแล้วจะค่อยๆย่อยสลายยุบตัวแล้วดินถมที่อยู่ข้างบนก็จะยุบตัวตามลงมา ทางแก้ กรณีเป็นที่น้ำขัง ถ้ามีขี้เลนเหลวๆ รวมทั้งพืชน้ำต่างๆ ให้ลอกออกก่อน ถ้าเป็นที่แห้งให้ถางพืชต่างๆรวมทั้งขุดตอไม้ใหญ่ออกด้วย หรืออาจใช้วิธีจุดไฟเผาก็ได้ถ้าสามารถควบคุมการลุกลามของไฟได้ ดินถมบริเวณใดไม่ได้มีการลอกเลน หรือบริเวณที่มีอินทรีย์วัตถุออกอยู่มากเอาออกไม่หมด ก็จะยุบเป็นหลุมๆ
หากมีการคุมงานที่ดี ตามวิธีในข้อ 1 และข้อ 4 แล้วดินที่ถมจะไม่ยุบมาก ไม่ต้องมาปรับระดับที่หลังอีกที (หรือปรับไม่มาก) ครับ
ในการพิจารณาว่าต้องมีการบดอัด หรือมาตรการป้องกันดีแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าเราต้องใช้พื้นที่บริเวณนั้นอย่างไร เช่นถ้าใช้เป็นถนนคอนกรีตจะต้องมีการบดอัด และกำจัดเศษวัชพืชอย่างดี เนื่องจากการทรุดตัวของดินต่างกันเล็กน้อยก็อาจทำให้ผิวถนนแตกร้าวได้ แต่ถ้าใช้เป็นพื้นที่จัดสวนนั้นเราสามารถปรับระดับดินภายหลังจากที่ทิ้งให้ดินยุบตัวไปสักปีสองปีแล้ว แต่ก็ควรจะบดอัดบ้างเหมือนกันถ้าเราต้องการสวนที่สวยเรียบในปีแรกๆครับ
ระวังรั้วเอียงด้วยนะจ๊ะ
ธรรมชาติดินนั้นมันไม่ใช่เพียงอยู่นิ่งๆเท่านั้น แต่มันจะมีแรงดันทางด้านข้างด้วย ดินที่ระดับเท่ากันต่างคนต่างดันกันเองกับเพื่อนๆรอบตัวมัน ก็ไม่เป็นไร แต่ดินต่างระดับความสูงที่ถูกกั้นไว้ด้วยกำแพงรั้วนั้น ดินที่สูงกว่าจะมีแรงดันมากกว่าผลักออกไปทางดินที่ต่ำกว่า แรงนี้เองที่กำแพงรั้วจะต้องรับไว้ คุณจึงเอากำแพงรั้วแบบธรรมดามาใช้เป็นกันดินที่ต่างระดับมากๆไม่ได้ครับ โครงสร้างกำแพงรั้วต้องออกแบบให้รับแรงดันดินได้โดยไม่เอียง
ถมดินอย่างไรไม่โดนโก่งราคา
ในการถมดินสำหรับเจ้าของงานนั้นไม่แนะนำให้จ้างรถดินขน และจ้างรถบดเข้ามาเองครับ เนื่องจากถ้าไม่คุ้นเคยกับงานแล้วอาจจะโดนโกงได้ง่าย ควรจะจ้างผู้รับเหมาถมดินให้จัดการให้เสร็จ แล้วทีนี้การติดต่อกับผู้รับเหมาถมดิน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าราคาควรจะเป็นเท่าไหร่ ตกลงกันตรงไหน
เริ่มที่การคิดปริมาณดิน ก็คือ กว้างคูณยาวคูณสูง หรือพื้นที่คูณความสูงนั่นเอง ในกรณีที่พื้นที่เดิมไม่สม่ำเสมออาจจะต้องเฉลี่ยระดับ กรณีพื้นที่กว้างๆ มูลค่างานมาก ควรจะจ้างช่างสำรวจหาระดับดินในตำแหน่งต่างๆ แล้วคำนวณปริมาณดินออกมา
ราคาต่อหน่วย เมื่อทราบปริมาณดินที่ต้องการแล้วคูณด้วยราคาต่อหน่วยก็จะเป็นราคารวม ราคาต่อหน่วยนี้ต้องสูงกว่าราคาดินจากรถขนดิน เนื่องจากเวลานำดินมาบดอัดแล้วปริมาตรจะยุบตัวลงไป และผู้รับเหมาต้องบวกค่าดำเนินการ กำไรต่างๆด้วย ให้ลองเช็คราคาดูกับผู้รับเหมาหลายๆราย ก็จะทำให้เราทราบราคาตลาดครับ
ข้อกำหนดในการทำงาน เช่นต้องลอกเลนหรือไม่(น่าจะลอกนะครับ) บดอัดทุก 30 ซม หรือ 50 ซม. ซึ่งจะคุมเข้มแค่ไหนขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งานพื้นที่ เช่นพื้นที่ถมทิ้งไว้เฉยๆ หรือใช้จัดสวน ก็ควรมีการบดอัดบ้าง แต่ถ้าเป็นถนนต้องมีการบดอัดและควบคุมคุณภาพอย่างดี
ตอนทำงานควรไปดูบ่อยๆด้วยครับ ผู้รับเหมาจะได้ทำตามที่ได้ตกลงกัน
ก่อนเริ่มทำการถม ควรมีการทำระดับอ้างอิงไว้เพื่อตรวจสอบ เช่นการพ่นสี ตอกตะปูกำหนดระดับไว้ตามเสาไฟฟ้า หรือสิ่งก่อสร้างข้างเคียงที่มีลักษณะถาวร ไม่เคลื่อนย้าย เมื่อผู้รับเหมาจะส่งมอบงานจะได้ทำการตรวจสอบได้ครับ
นอกจากนั้น ราคาที่ดินยังขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัยเช่น
1. ระยะทาง ระหว่างบ่อดินที่เราซื้อดินมากับสถานที่ก่อสร้าง(ราคาค่าขนส่ง)
2. ชนิดของดิน ดูจากความลึกของดินที่ขุดขึ้นมา หน้าดิน 0-0.50 ม.บางที่ก็ถึง1.00 ม. จะแพงที่สุด เหมาะสำหรับการปลูกต้นไม้(ดินจะมีสีดำ) ลึกกว่านี้ลงไปราคาจะถูกลง เพราะแร่ธาตุในดินจะน้อย ถมที่ดีแต่ไม่เหมาะจะปลูกต้นไม้แล้ว(ดินออกสีน้ำตาลๆ มีทรายปน) แต่ถ้าลึกลงไปมากๆ จนดินออกเป็นสีขาวๆ จะปลูกอะไรไม่ขึ้นเลย แต่นำมาใช้ถมได้ดีมาก ราคาถูกที่สุด
3. ลักษณะการถมดิน ถ้าใช้รถตัก-ตักดินแล้วเอามากองๆ ไว้ ดินจะดูเต็มเร็วแต่จะหลวมมาก และจะทรุดตัวในภายหลังอย่างมากด้วย ( ถ้าเป็นงานเหมา-ต้องระวังเรื่องนี้มากๆ ต้องมีคนคอยดูที่หน้างาน ) ถ้าถมในลักษณะ ถมแล้วใช้รถบรรทุกถอยทับ ดินจะแน่นขึ้น จะได้ดินปริมาณมาก(แต่ผู้รับเหมาไม่ชอบ และดินต้องเป็นดินแห้ง) มีถมลักษณะอื่นอีกหรือเปล่าผมไม่แน่ใจครับ แล้วแต่เทคนิคของผู้รับเหมาด้วย
4. การขนส่ง จะใช้รถบรรทุกเป็นส่วนมาก ความกว้างของกระบะรถ10 ล้อ ประมาณ 2.5 x 6 ม. ความสูง-ส่วนมากเค้านับกันเป็น"ไม้" เช่น ไม้ 1 , ไม้ 2 อะไรทำนองนี้ "ไม้" คือ ไม้ที่เป็นซี่วางตามนอนด้านข้างกระบะ นับจากล่างขึ้นบน รถแต่ละคันความสูงจากท้องกระบะถึงซี่ไม้จะไม่เท่ากันครับ รถบางคันท้องลึก บางคันท้องตื้น ถ้าคิดปริมาตร 2.5 x 6 x สูงซัก1.2 ม. จะได้ 18 ลบ.ม. แต่ส่วนใหญ่ งานดินจะคิดค่าความโปร่งที่ 50% แสดงว่าเราได้ดินจริงๆ แค่ 9 ลบ.ม.
5. เวลาในการถม ก็ขึ้นอยู่กับระยะทาง ที่ดินจะเดินทางมาจากบ่อดิน และจำนวนรถที่ใช้ขนส่ง ถ้าใช้รถหลายคันวันนึงก็ขนได้หลายเที่ยว(อันนี้ก็แล้วแต่ความเหมาะสม เพราะระหว่างทางผู้รับเหมาอาจต้องจ่ายค่าความสะดวกในการผ่านทางบ้าง)
6. ส่วนการบดอัด ก็แล้วแต่ตกลงว่า จะถมอย่างเดียว หรือบดอัดด้วย
7. ราคาดิน จริงๆ แล้วสามารถต่อลองกันได้ครับ ขึ้นอยู่กับความพอใจของทั้งสองฝ่าย
ที่มา www.land.co.th

เคล็ดลับเลือกซื้อที่ดิน ปลูกบ้านหลังใหม่ให้ถูกใจ

เคล็ดลับเลือกซื้อที่ดิน

คนเราคงมีโอกาสซื้อหรือปลูกสร้างบ้านได้ไม่เกิน 1-2 หลัง เพราะว่าบ้านคือหนึ่งในปัจจัยสี่ที่เราต้องอยู่อาศัยไปตลอดชีวิต ยิ่งในยุคเศรษฐกิจชะลอตัว น้ำมันแพง การจะปลูกสร้างบ้านสักหลังจึงต้องคิดให้รอบคอบ
คอลัมน์ "เรื่องน่ารู้ ของคนอยากมีบ้าน" ในหนังสือรับสร้างบ้าน 2005 ของสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน ได้แนะนำเคล็ดลับการปลูกสร้างบ้านไว้อย่างน่าสนใจ โดยในช่วงแรกจะขอนำเสนอถึงวิธีในการเลือกซื้อที่ดิน รวมถึงการพิจารณาระบบสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อมใกล้เคียง
เพราะปัจจุบันแม้ว่าจะมีโครงการหมู่บ้านจัดสรรเกิดขึ้นมากมาย แต่ความต้องการก็ใช่ว่าจะเหมือนกันไปทุกคน บางคนไม่ชอบแบบบ้าน บางคนไม่ชอบทำเล หรือเบื่อกับการที่ต้องอยู่บ้านที่หน้าตาเหมือนกันหมด นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งเลือก "ปลูกบ้านเอง"

ที่ดิน
ที่ดินสำหรับการปลูกสร้างบ้านอาจมี 2 ลักษณะ คือที่ดินที่มีอยู่เดิมจากมรดกตกทอด และที่ดินที่ซื้อเก็บไว้หรือกำลังจะหาซื้อมาไว้ในครอบครอง ที่ดินเป็นมรดกตกทอดคงไม่สามารถเลือกได้ว่าต้องการที่ดินรูปร่างแบบไหน มีน้ำ มีสาธารณูปโภคเข้าถึงหรือไม่ แต่ถ้าเป็นที่ดินที่ซื้อไว้สำหรับสร้างบ้านนั้น ก็ควรจะมีความรู้เบื้องต้น
1.ทำเลที่ตั้ง
พฤติกรรมและความเคยชินเป็นสิ่งที่กำหนดทำเลที่อยู่อาศัยของคน ผู้ที่เคยอยู่อาศัยในย่านใด ก็มักจะไม่ย้ายไปอยู่อาศัยในย่านอื่นๆ ที่ตนเองไม่คุ้นเคย ทำให้การเลือกทำเลเพื่อจะสร้างบ้านของแต่ละคนขึ้นอยู่กับความเคยชินเป็นหลัก
2.ขนาดและรูปร่างที่ดิน ระดับของที่ดิน
สิ่งต่อมาที่ต้องพิจารณาคือ ตัวที่ดิน ได้แก่ ลักษณะกายภาพของที่ดิน ขนาด รูปร่าง ระดับของที่ดิน สิ่งเหล่านี้สำคัญมาก เช่น ที่ดินมีลักษณะเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว (หน้าแคบ แต่ลึก) เพราะที่ดินหน้าแคบจะมีปัญหาในเรื่องเทศบัญญัติเกี่ยวกับระยะร่นด้านข้าง (set back) จะทำให้บ้านแคบมากกว่าเดิม ที่ดินหน้ากว้าง 12 เมตรขึ้นไป น่าจะเหมาะสมกับการซื้อไว้สำหรับสร้างบ้านที่สุด
ระดับที่ดินก็ควรเป็นที่สูง อย่างน้อยควรสูงกว่าระดับถนนในละแวกนั้น เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในหน้าฝน ถ้าเกิดที่ดินมีระดับต่ำก็ควรจะถมดินเพิ่ม แต่ต้องตรวจสอบสภาพความพร้อมของที่ดินที่จะถม และเมื่อถมแล้วก็สามารถก่อสร้างได้เลยไม่จำเป็นต้องรอให้ดินทรุดตัว เพราะความจริงแล้วเราสร้างบ้านอยู่บนเสาเข็มที่ตอกลงไปในชั้นหินหรือชั้นดินแข็งที่ลึกลงไป 16-21 เมตร ไม่ได้สร้างบนดินที่ถมเอาไว้
3.การเข้าถึง
ในการพิจารณาเลือกซื้อที่ดิน สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ การเข้าออกที่สะดวกและมีขนาดใหญ่พอที่จะให้รถขนวัสดุก่อสร้างเข้าไปได้ จะช่วยประหยัดค่าขนส่งได้ นอกจากนั้นควรตรวจสอบว่าทางเข้า-ออกนั้นเป็นที่สาธารณะจริงหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาการถูกหลอกซื้อที่ตาบอด
4.สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
ในการเลือกซื้อที่ดินสำหรับปลูกบ้านนั้น ที่ดินที่คุณเลือกซื้อควรจะมีระบบสาธารณูปโภคครบถ้วน ทั้งไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ สามารถตรวจสอบได้โดยสอบถามจากเพื่อนบ้าน หรือการไฟฟ้าและการประปาในเขตพื้นที่ และควรเลือกบริเวณที่มีท่อน้ำประปาและสายไฟฟ้าผ่านใกล้ที่ดินมากที่สุดเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขอต่อไฟฟ้าและน้ำประปา
5.สภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมที่อยู่รอบบ้านเป็นสิ่งที่จะต้องอยู่ด้วยไปนานเท่ากับบ้าน จึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงสภาพสิ่งแวดล้อมรวมทั้งองค์ประกอบรอบที่ดินผืนนั้น เช่น ถ้าที่ดินของคุณไม่มีเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน ก็ควรระวังเรื่องขโมย หรือถ้าข้างที่ดินมีบ้านสร้างอยู่แล้วก็ควรระวังเรื่องระดับที่ดินของเพื่อนบ้านที่อยู่สูงกว่า เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมได้
อีกเรื่องที่สำคัญคือ ถ้าบริเวณโดยรอบที่ดินมีการสร้างบ้านอยู่แล้ว ต้องใช้เข็มเจาะ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายแพงกว่าเข็มตอก 50-60% แต่จะปลอดภัยสำหรับปัญหาบ้านข้างเคียงร้าวเนื่องจากการตอกเสาเข็ม เรื่องปากท้องก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ควรดูว่าบริเวณนั้นมีตลาดสด ร้านค้า หรือห้างสรรพสินค้าหรือไม่ รวมทั้งโรงพยาบาลหรือคลินิก

ข้อมูลจาก hometophit.com

ทำไมราคาประเมินใกล้เคียงราคาตลาดจึงมีผลดี

ประชาชนทั่วไปเกี่ยวข้องกับราคาประเมินอย่างไร ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การคำนวณเงินค่าธรรมเนียม ภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์
ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรมที่ดินใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เป็นฐานคำนวณ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ดังนั้น ทรัพย์
สินที่มีลักษณะเดียวกัน ทำเลที่ตั้งลักษณะการใช้ประโยชน์เหมือนกัน ราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจึงควรเท่า
กัน หรือใกล้เคียงกันมากที่สุด
การที่ประชาชนแจ้งราคาซื้อขายที่แท้จริงต่อเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรม หรือการให้
ความร่วมมือ ในการให้ข้อมูลราคาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แก่เจ้าหน้าที่สำนักประเมินราคาทรัพย์สินที่ไปทำการ
สำรวจ และสอบถามราคาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ จะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินราคาได้ใกล้เคียงกับราคา
ตลาดมากยิ่งขึ้น
ทำไมราคาประเมินใกล้เคียงราคาตลาดจึงมีผลดี
1. ทำให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม กล่าวคือผู้มีเงินได้มากเสียภาษีมาก ผู้มีเงินได้น้อยเสียภาษีน้อย
2. ทำให้ผู้ที่ถูกเวนคืนได้รับเงินค่าทดแทนตามราคาที่มีการซื้อขายกันจริงในท้องตลาด เมื่อรัฐต้องจ่ายเงินค่า
ทดแทนเวนคืน
3. ทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์สามารถทราบมูลค่าของทรัพย์สินของตน ในโอกาสที่นำทรัพย์สินนั้นไปวางเป็น
ประกัน เช่น ประกันหนี้จำนอง ประกันผู้ต้องหา หรือในโอกาสอื่น เช่น การจัดทำงบประมาณเพื่อจัดซื้อที่ดิน
เป็นต้น
การให้บริการข้อมูลราคาประเมิน
1. ทางอินเตอร์เน็ต ในขณะนี้ประชาชนผู้สนใจจะขอทราบราคาประเมินที่ดินในพื้นที่ที่มีราคาประเมินที่ดินราย
แปลงแล้วทางอินเตอร์เน็ตได้โดยเข้าเว็บไซด์ของกรมธนารักษ์ www.trd.mof.go.th การสั่งค้นจะต้องมีข้อมูล
หมายเลขโฉนดที่ดิน เลขที่ดิน หน้าสำรวจ เลขระวาง ตำบล เขต และจังหวัดของแปลงที่ดินที่ต้องการทราบ
ราคาประเมิน
2. การสอบถามทางโทรศัพท์ สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ ให้บริการสอบถามราคาประเมินทาง
โทรศัพท์หมายเลข 0-2448-5062 และ 0-2448-5448 โดยผู้สอบถามจะต้องมีข้อมูลดังนี้
ต้องการทราบราคาประเมิน ผู้สอบถามจะต้องมีข้อมูล
ที่ดินรายแปลง หมายเลขโฉนดที่ดิน เลขที่ดิน หน้าสำรวจ ระวาง ตำบล เขตและจังหวัด
โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง ประเภทสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่อาคาร ปีที่ก่อสร้าง จังหวัดที่ตั้งอาคาร
ห้องชุด ชื่ออาคารชุด ชั้นที่ตั้งของห้องชุด ทะเบียนอาคารชุด จังหวัดที่ตั้งอาคารชุด
กรณีห้องชุดใน กทม. ขอทราบอำเภอ (เขต) ตำบล (แขวง) ด้วย
3. การสอบถามที่สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน ในกรณีราคาประเมินที่ดินรายบล็อก ซึ่งจะมีแผนที่ประกอบบัญชี
ราคาประเมิน ผู้สนใจต้องการทราบราคาประเมินจะต้องทราบตำแหน่งที่ตั้งที่ดินในแผนที่ประกอบบัญชีกำหนด
ราคาประเมินทุนทรัพย์บัญชีฯ ดังกล่าว สามารถติดต่อขอดูได้ที่สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน ซอยฉิมพลี 11
ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร E-mail pvb@treasury.go.th

ที่มา: กรมธนารักษ์

การขออนุญาตก่อสร้าง สำนักการโยธา

2 วิธี คือ การขออนุญาตก่อสร้างอาคารตามมาตรา 21
ในการขออนุญาตก่อสร้างอาคารในอำนาจของสำนักงานเขตให้ผู้ประสงค์จะก่อสร้างอาคาร ขออนุญาตที่สำนักงานเขตพื้นที่นั้น ๆ ส่วนอาคารที่นอกเหนืออำนาจของสำนักงานเขตให้ยื่นขอที่กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
2 .มิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม.10400
เอกสารประกอบการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคาร
(ตามมาตรา 21) มีดังนี้
(1)
แบบคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (แบบ ข.1)
(2)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลที่หน่วยงานซึ่งมีอำนาจรับรองออกให้ไม่เกิน 6 เดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต) และผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
(3)
สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดินขนาดเท่ากับต้นฉบับจริง และเจ้าของที่ดินลงนาม รับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าจำนวน 5 ชุด
(4)
หนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างอาคารในที่ดินหรือสำเนาสัญญาเช่าที่ดิน (กรณี ผู้ขออนุญาตไม่ใช่เจ้าของที่ดิน) จำนวน 1 ชุด
(5)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต, ผู้รับมอบอำนาจ, ผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล และเจ้าของที่ดิน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
(6)
หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของสถาปนิกวิศวกรผู้ออกแบบและคำนวณพร้อมสำเนาใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพฯ (กรณีอาคารที่ขออนุญาตอยู่ในประเภทเป็นวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรม) จำนวน 1 ชุด
(7)
แผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลน จำนวน 5 ชุด
(8)
รายการคำนวณโครงสร้าง จำนวน 1 ชุด
(9)
โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ตลาดสด ภัตตาคาร อาคารชุด หอพัก และอาคารที่เกี่ยวกับกิจการค้าอันเป็นที่น่ารังเกียจ ต้องแสดงแบบระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 5 ชุด และรายการคำนวณระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 1 ชุด
หมายเหตุ
1. แบบฟอร์มต่างๆ ถ้ามีมากกว่า 1 หน้าให้พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของกระดาษ
2.
แบบ ข1, แบบ ข5, แบบ ข8, แบบคำร้อง,ใบรับรองวิศวกร, ใช้กระดาษ Legal 81/2 x 14 in.
2.
การยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างดัดแปลงรื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ตามมาตรา 39 ทวิ มีดังนี้
(1)
แบบหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้างดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร (แบบ กทม.1) หรือแบบหนังสือแจ้งความประสงค์จะเคลื่อนย้ายอาคาร (แบบ กทม.2)
(2)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่หน่วยงานซึ่งมีอำนาจรับรองออกให้ไม่เกิน 6 เดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต) และผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
(3)
สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดินขนาดเท่ากับต้นฉบับ และเจ้าของที่ดินลงนาม รับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้า จำนวน 5 ชุด
(4)
หนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างอาคารในที่ดินหรือสำเนาสัญญาเช่าที่ดิน (กรณี ผู้ขออนุญาตไม่ใช่เจ้าของที่ดิน) จำนวน 1 ชุด
(5)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้แจ้งความประสงค์, ผู้รับมอบอำนาจ, ผู้มีอำนาจ, ลงนามแทนนิติบุคคลและเจ้าของที่ดิน พร้อมลงนามสำเนารับรองถูกต้องทุกหน้าจำนวน 1 ชุด
(6)
หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของวุฒิสถาปนิกวุฒิวิศวกรผู้ออกแบบและคำนวณ (แบบกทม.5) พร้อมสำเนาใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรม จำนวน 1 ชุด
(7)
หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของผู้ควบคุมงานของสถาปนิก และวิศวกร (แบบ กทม.5) พร้อมสำเนาใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพฯ จำนวน 1 ชุด
(8)
แผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลน จำนวน 5 ชุด
(9)
รายการคำนวณโครงสร้าง จำนวน 1 ชุด
(10)
โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ตลาดสด ภัตตาคาร อาคารชุด หอพัก และอาคารที่เกี่ยวกับกิจการค้าอันเป็นที่น่ารังเกียจ ต้องแสดงแบบระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 5 ชุด และรายการคำนวณระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 1
(11)
รายการคำนวณพื้นที่อาคารทุกชั้นและทุกหลัง /จำนวนที่จอดรถรถยนต์ /การคิดค่าธรรมเนียม
(12)
ชำระค่าธรรมเนียมในวันที่ยื่นแจ้งฯ ตามมาตรา 39 ทวิ
(13)
ปฏิบัติตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดแบบหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคารโดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น แบบใบรับแจ้ง และแบบหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร (ฉบับที่ 2) ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ..2545
หมายเหตุ
1. แบบฟอร์มต่างๆ ถ้ามีมากกว่า 1 หน้าให้พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของกระดาษ
2.
แบบ ข1, แบบ ข5, แบบ ข8, แบบคำร้อง,ใบรับรองวิศวกร, ใช้กระดาษ Legal 81/2 x 14 in.
2
การขออนุญาตดัดแปลงอาคารสามารถดำเนินการโดย
2 วิธี
เช่นเดียวกับการขออนุญาตก่อสร้าง คือ
(1)
(2)
การขอรับใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร ตามมาตรา 21การแจ้งความประสงค์ ดัดแปลงอาคาร โดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต ตามมาตรา 39 ทวิ
เอกสารประกอบการขออนุญาตดัดแปลงอาคาร
เช่นเดียวกับการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร แต่แบบแปลนสำหรับการดัดแปลงอาคารให้แสดงส่วนที่มีอยู่เดิมและส่วนที่จะดัดแปลงให้ชัดเจนพร้อมแนบเอกสาร
(1)
ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารเดิมที่ได้รับอนุญาต
(2)
ในกรณีต่อเติมเพิ่มชั้นอาคาร ต้องมีหนังสือรับรองความมั่นคงของอาคารเดิม จากสถาบันที่น่าเชื่อถือได้ (ส่วนราชการหรือบริษัทจำกัดที่มีวัตถุประสงค์ในการให้คำปรึกษาแนะนำด้านวิศวกรรม ซึ่งมีวิศวกรประเภทวุฒิวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำและลงลายมือชื่อรับรองผลการตรวจสอบงานวิศวกรรมควบคุม)
การกระทำดังต่อไปนี้ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร
(1)
การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยใช้วัสดุ ขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม แต่เว้นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง หรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
(2)
การเปลี่ยนส่วนต่างๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคารโดยใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิมหรือวัสดุชนิดอื่นซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่ โครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดไม่เกินร้อยละสิบ
(3)
การเปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลด หรือ ขยาย ลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ของส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร ซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนัก ให้แก่ โครงสร้างของอาคารส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ
(4)
การลดหรือขยายเนื้อที่ของพื้นชั้นหนึ่งชั้นใด ให้มีเนื้อที่น้อยลงหรือมากขึ้นรวมกัน ไม่เกินห้าตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน
(5)
การลดหรือขยายเนื้อที่ของหลังคา ให้มีเนื้อที่มากขึ้นรวมกันไม่เกิน ห้าตารางเมตรโดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน
ทั้งนี้การกระทำข้างต้น ต้องไม่ขัดต่อกฎกระทรวง ฯ หรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหากเจ้าของอาคารมีความประสงค์จะดัดแปลงต่อเติมอาคารนอกเหนือจากการกระทำข้างต้น จะต้องยื่นขออนุญาตดัดแปลงอาคารก่อนดำเนินการ
3
เมื่อได้รับใบอนุญาตก่อสร้างก่อนลงมือก่อสร้างให้ท่านดำเนินการดังนี้
(1)
ติดป้ายโครงการแสดงรายละเอียดตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคารกำหนด
(2)
จัดให้มีใบอนุญาตก่อสร้างพร้อมแบบแปลนอยู่ที่สถานที่ก่อสร้าง 1 ชุด
(3)
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตมีหนังสือแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานและแจ้งวันเริ่มต้นจนถึงวันสิ้นสุดการดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตให้กรุงเทพมหานครทราบ พร้อมทั้งแนบหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานมาด้วย ผู้ควบคุมงานจะเป็นบุคคลใดหรือเป็นเจ้าของอาคารก็ได้เว้นแต่จะเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมหรือกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพสถาปัตยกรรม
แจ้งชื่อผู้ควบคุมงานและแจ้งวันเริ่มต้นจนถึงวันสิ้นสุดของการดำเนินการ
(4)
เอกสารที่ต้องใช้ในการแจ้งชื่อผู้ควบคุมงาน
(4.1)
แบบคำร้องทั่วไป
(4.2)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่หน่วยงานซึ่งมีอำนาจรับรองออกให้ ไม่เกิน 6 เดือน และผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
(4.3)
สำเนาบัตรประจำตัวและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นคำร้อง ผู้รับมอบอำนาจ ผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล พร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
(4.4)
หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของผู้ควบคุมงานของสถาปนิกและวิศวกรพร้อมสำเนาใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพฯ จำนวน 1 ชุด
(4.5)
สำเนาใบอนุญาตเดิมพร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
การแจ้งเลิกผู้ควบคุมงาน
ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตจะแจ้งเลิกตัวผู้ควบคุมงานที่ได้แจ้งชื่อไว้ ผู้ควบคุมงานจะแจ้งเลิกการเป็น ผู้ควบคุมงาน ให้มีหนังสือแจ้งให้กรุงเทพมหานครทราบ แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบถึงสิทธิหน้าที่ทางแพร่ระหว่างผู้ได้รับใบอนุญาตกับผู้ควบคุมงานนั้น
ในกรณีที่มีการแจ้งเลิกตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับอนุญาตต้องระงับการดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตไว้ก่อนจนกว่าจะได้มีหนังสือแจ้งชื่อและส่งหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานคนใหม่ ให้แก่กรุงเทพมหานครแล้ว
4
เอกสารที่ต้องใช้ในการแจ้งเลิกเป็นผู้ควบคุมงาน
(1)
แบบคำร้องทั่วไป
(2)
สำเนาใบอนุญาตเดิม พร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
(3)
หนังสือแจ้งการบอกเลิกผู้ควบคุมงาน (.5) หนังสือแจ้งการเลิกเป็นผู้ควบคุมงาน (.6)หนังสือการส่งมอบผู้ควบคุมงานคนใหม่ (.7) หนังสือการยินยอมของผู้ควบคุมงานคนใหม่ (.8) (แล้วแต่กรณี) จำนวน 1 ชุด
การก่อสร้างที่ติดต่อกับที่สาธารณะ หรือชิดที่ดินต่างผู้ครอบครอง ผู้ดำเนินการจะต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันวัสดุก่อสร้างหล่นที่จะเป็นภยันตรายต่อบุคคลอื่น และจัดให้มีรั้วชั่วคราวสูงไม่น้อยกว่า
2.00 เมตร ปิดกั้นรอบบริเวณที่ก่อสร้าง รวมทั้งจัดให้มีมาตรการป้องกันภยันตรายในการก่อสร้างตามแบบและเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาต
หมายเหตุ
1. แบบฟอร์มต่างๆ ถ้ามีมากกว่า 1 หน้าให้พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของกระดาษ
2.
แบบ ข1, แบบ ข5, แบบ ข8, แบบคำร้อง,ใบรับรองวิศวกร, ใช้กระดาษ Legal 81/2 x 14 in.5
ที่มา: สำนักการโยธา


พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ข้อดีของพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

1. เป็นการกระจายอำนาจทางการคลังไปสู่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างแท้จริง 
ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการรายได้ด้วยตนเอง ลดการพึ่งพางบประมาณจากรัฐบาลกลาง

2. ท้องถิ่นประมาณการรายรับได้แน่นอน จากฐานของทรัพย์สินมิใช่จากฐานของ
รายได้ ทำให้รายรับค่อนข้างสม่ำเสมอไม่ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร  และจัดสรร
งบประมาณประจำปีสำหรับการพัฒนาท้องถิ่นได้ค่อนข้างแน่นอน

3. ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ที่ดิน เนื่องจากผู้ถือครองที่ดินจำนวนมากก็ต้อง
เสียภาษีมากโดยเฉพาะหากปล่อยไว้รกร้างว่างเปล่า ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจก็ต้องเสียภาษี
ในอัตราสูงสุด  จะทำให้มีการกักตุนที่ดินน้อยลง  หรือผู้ถือครองที่ดินจำนวนมากจะนำที่ดินออกให้
ผู้อื่นใช้ประโยชน์ในรูปของการให้เช่า หรือให้ทำประโยชน์เพื่อไม่ให้รกร้างว่างเปล่า ซึ่งจะเป็นการลด
ภาระภาษีและจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อท้องถิ่นและต่อประเทศด้วย

4. ประชาชนในท้องถิ่น จะให้ความสำคัญกับการบริหารและการบริการ ของ
องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น  เนื่องจากทุกครัวเรือนต้องเสียภาษีทุกๆปีทำให้เกิดการ
ตรวจสอบ และมี่ส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น

ผลกระทบ

1. เดิมร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ได้ยกเว้นที่อยู่อาศัยทุกประเภท และพื้นที่เกษตรกรรม  ร่าง
พระราชบัญญัติปัจจุบันยกเว้นการถือครองไม่เกินมูลค่าที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา 

2. เนื่องจากฐานภาษีคำนวณจากมูลค่าทรัพย์สิน จะเพิ่มภาระกรณีเจ้าของทรัพย์สินประสบปัญหา 
รวมถึงทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการบังคับคดีหรือขายทอดตลาด

3. กระทบต่อกลุ่มซึ่งถือครองทรัพย์สินโดยไม่มีวัตถุประสงค์ในการค้าหรือหากำไร แต่อยู่ในพื้นที่
ซึ่งราคาประเมินทรัพย์สินสูง

4. กระทบต่อผู้ซึ่งต้องชำระเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภค หรือบริการสาธารณะตามกฎหมายอื่น
อยู่แล้ว

ข้อสังเกตและผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัยในโครงการ
จัดสรรและโครงการอาคารชุด

1. หากมีการประกาศใช้พรบ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก็ควรมีการทบทวนโครงสร้างภาษีและ
ค่าใช้จ่ายทุกประเภทที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนมือการซื้อขาย หรือการโอนกรรมสิทธิ์ 
เพราะปัจจุบันแม้ว่าอาคารจำนวนมากจะมิได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือภาษีบำรุงท้องที่ แต่ก็จะ
เสียภาษีที่เกิดจากการเปลี่ยนมือทุกทอด คือ ภาษีธุรกิจเฉพาะ3.3%( จากราคาซื้อขาย) 
ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม2% (ของราคาประเมิน) ภาษีเงินได้อีก2-5% 
(ขึ้นอยู่กับฐานภาษีและจำนวนปีที่ถือครอง) เพราะหากต่อไปที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุกประเภทต้อง
เสียภาษีทุกปี ก็ควรต้องทบทวนโครงสร้างภาษีและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการโอนกรรมสิทธิ์หรือซื้อ
ขายไปพร้อมกันด้วย

2. กรณีโครงการหมู่บ้านจัดสรร หรือกรณีอาคารชุด ซึ่งมีการจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรรหรือนิติบุคคล
อาคารชุด ตาม พรบ.จัดสรรที่ดินพ.ศ 2543 หรือตามพระราชบัญญัติอาคารชุด และมีการจัดเก็บค่า
สาธารณูปโภค และบริการสาธารณะตามกฎหมายเป็นประจำทุกเดือน เพื่อดูแล ถนน ท่อระบายน้ำ 
สวนสาธารณะ ระบบไฟส่องสว่าง ระบบรักษาความปลอดภัย  ควรมีมาตรการในการลดหย่อนภาษี
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพราะโครงการเหล่านี้จะลดภาระการดูแลของท้องถิ่นได้เป็นจำนวนมากตั้งแต่
การจัดสร้างและการบำรุงรักษา  ไม่ว่าจะเป็นถนน ท่อระบายน้ำ ไฟส่องสว่างและสาธารณูปโภคอื่นๆ

3. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เพื่อเป็นสาธารณูปโภคหรือเพื่อการสันทนาการหรือเพื่อการศึกษา เพื่อ
สุขภาพอนามัยของประชาชน เช่น ถนนในโครงการจัดสรรหรือนิคมอุตสาหกรรม อาคารสโมสร 
สวนสาธารณะ  สนามกีฬา โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ  ควรมีข้อยกเว้นหรือกำหนดอัตราภาษีใน
อัตราต่ำที่สุดเพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุน
ข้อมูลโดย คุณอิสระ บุญยัง อุปนายกฝ่ายวิชาการ
                  http://www.housingbiz.org/

การยื่นเรื่อง เพื่อตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดิน จะทำได้เมื่อใด

สามารถกรอกแบบ ผมร.1 เพื่อแจ้งขอการให้ประโยชน์ที่ดินว่าจะประกอบกิจการอะไรบ้าง
(บ้านเดี่ยว บ้านแฝด หรืออาคารประเภทใด) และยื่นแนบมาพร้อมกับการขออนุญาตก่อสร้าง
อาคารได้เลย หากประสงค์จะตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินว่าสามารถสร้างอะไรได้บ้าง
ให้ทำเป็นหนังสือการขอตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินถึงสำนักผังเมืองว่าต้องการ
ทำกิจการประเภทนี้สามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งทางสำนักผังเมืองก็จะตรวจสอบให้และดูข้อกำ
หนดของกฎหมายควบคุมอาคารให้ด้วย ว่าบริเวณนั้นสามารถสร้างอาคารประเภทใดได้บ้าง
มีข้อบัญญัติอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง และควรแนบเอกสารรายละเอียดบริเวณใกล้เคียงมาให้ด้วยก็
จะทำให้การตรวจสอบสามารถทำได้เร็วขึ้น
ที่มา: http://www.housingbiz.org/

วิธีการตรวจสอบที่ดินก่อนการซื้อ

วิธีการตรวจสอบที่ดินก่อนการซื้อ ก่อนการซื้อจะต้องตรวจสอบดังนี้
1. ตรวจหลังโฉนด ชื่อเจ้าของ ติดจำนองหรือไม่
2. ทางเข้าออกถ้าติดทางสาธารณะไม่มีปัญหา แต่ถ้าติดที่ดินเอกชนเราได้รับภาระจำยอมหรือไม่
3. สำนักโยธาที่กทม.หรือฝ่ายโยธาที่เขต (ที่ดินของจังหวัดนั้น) ห้ามก่อสร้างประเภทอาคารอะไรบ้าง
4. การทางพิเศษอยู่ในแนวเวนคืนหรือไม่
5. กรมการบินพาณิชย์ อยู่ในเขตวิทยุสื่อสารการบิน หรือไม่
6. การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือส่วนภูมิภาค อยู่ในแนว เดินสายไฟแรงสูงหรือไม่
7. กรมทางหลวง อยู่ในบริเวณโครงการตัดถนนหรือไม่
วิธีการขออนุญาตปลูก "บ้าน"ก่อนอื่นต้องมีสถาปนิกและวิศวกรทำการออกแบบ และเขียนแบบให้ จากนั้นไปขอเอกสารการ ยื่นขออนุญาต จากทางเทศบาล แล้วนำมากรอกให้ครบถ้วน ประกอบด้วย
1. กรอกคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร ข.1)
2. แบบแปลนแผนผัง จำนวน 5 ชุด
3. หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ออกแบบ สถาปนิก และ วิศวกร พร้อมสำเนาใบอนุญาต
4. สำเนาโฉนดที่ดินที่จะก่อสร้าง
5. สำเนาบัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้านเจ้าของอาคาร ในกรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือ
รับรองการจดทะเบียน จากนั้นนำเอกสารทั้งหมดไปยื่นต่อเทศบาล ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ภายใน 45 วัน ต้องได้รับแจ้งว่าได้รับอนุญาตหรือไม่ ถ้าไม่อนุญาตจะต้องแก้ไขอะไรบ้าง เมื่อแก้ไขแล้ ก็ควรจะได้รับ อนุญาตและเสียค่าธรรมเนียมตารางเมตรละไม่เกิน 4 บาท
ที่มา :http://www.siamfibrecement.com