อิฐมอญ (Brick)
ลักษณะทั่วไป
อิฐมอญ เป็นวัสดุที่ผลิตมาจากการนำดินเหนียวมาเผาเพื่อให้ได้วัสดุที่คงรูปและมีความแข็งแรง การใช้อิฐมอญในระบบก่อสร้างมีมาหลายสิบปี จึงเป็นวัสดุที่เป็นที่รู้จักและมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เนื่องจากความเชื่อมั่นในความคงทน และผลิตได้เองในประเทศจากแรงงานท้องถิ่น
คุณสมบัติของอิฐมอญจะยอมให้ความร้อนถ่ายเทเข้า-ออกได้ง่าย และเก็บความร้อนไว้ในตัวเองเป็นเวลานาน และเนื่องจากอิฐมอญมีความจุความร้อนสูงทำให้สามารถกักเก็บความร้อนไว้ในเนื้อวัสดุได้มากก่อนที่จะค่อยๆถ่ายเทสู่ภายนอก จึงเหมาะกับการใช้กับบริเวณที่ใช้งานเฉพาะช่วงกลางวัน
คอนกรีตบล็อก (Concrete Masonry Unit)
คอนกรีตบล็อกจะถูกผลิตในลักษณะอุตสาหกรรมมากกว่าอิฐมอญ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะกลวง(Hollow Concrete Block) เป็นที่นิยมใช้มากเนื่องจากมีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และไม่มีปัญหาในขั้นตอนการก่อสร้างเนื่องจากช่างมีความเคยชินในการทำงานอยู่แล้ว อีกทั้งยังสามารถทำงานได้เร็วเพราะมีขนาดก้อนใหญ่กว่าอิฐมอญ และจากลักษณะที่มีรูกลวงตรงกลางทำให้ช่องอากาศภายในนั้นเป็นฉนวนในการกันความร้อนที่ดี แต่ข้อเสียคือจะเปราะและแตกง่าย การตอกตะปูยึดพุกต้องทำที่ปูนก่อหรือเสาเอ็นคานเอ็น น้ำจะซึมได้ดีกว่าอิฐมอญ และบล็อกที่ขายกันทั่วไปคุณภาพต่ำ
คอนกรีตมวลเบา (Autoclaved Aerated Concrete-ACC)
คอนกรีตมวลเบาเป็นวัสดุก่อที่มีการนำมาใช้ และเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนได้มากกว่าวัสดุก่ออื่นที่มีมา โดยตัววัสดุเองมีส่วนผสมมาจาก ทราย ซีเมนต์ ปูนขาว น้ำ ยิปซั่ม และผงอลูมิเนียมผสมรวมกัน แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือฟองอากาศเล็กๆเป็นรูพรุนไม่ต่อเนื่อง( Disconnecting Voids) ที่อยู่ในเนื้อวัสดุมากประมาณ 75% ทำให้น้ำหนักเบา ซึ่งผลของความเบาจะช่วยให้ประหยัดโครงสร้าง อีกทั้งฟองอากาศเหล่านั้นยังเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี
กระจกตัดแสง (Heat Absorbing Glass)
ปัจจุบันอาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่นิยมใช้กระจกเป็นส่วนประกอบของผนังอาคาร เนื่องจากมีความสวยงามและช่วยให้สามารถมองออกไปเห็นทัศนียภาพภายนอกได้มากยิ่งขึ้น แต่การเลือกใช้ควรคำนึงถึงความร้อนที่จะเข้ามาภายในด้วยเนื่องจากกระจกทั่วไปจะยอมให้ทั้งแสงและความร้อนผ่านเข้ามาเป็นจำนวนมาก จึงควรเลือกใช้กระจกที่มีคุณสมบัติที่ช่วยลดแสงจ้าและปริมาณความร้อนที่ผ่านเข้ามาให้มีความเหมาะสม
ชนิดของกระจกที่ใช้เพื่อป้องกันแสงจ้าและความร้อนเข้ามาภายในบ้านหรืออาคารนั้นสามารถแบ่ง ออกได้เป็น 5 ประเภท ใหญ่ๆ คือ
กระจกใส (Clear Glass)
กระจกสี (Color Glass)
กระจกสีตัดแสง (Heat Absorbing Glass)
กระจกเคลือบผิวสะท้อนแสง (Reflective Metallic Coating Glass)
กระจกฉนวนกันความร้อน (Insulating Glass)
แต่ชนิดที่มีการใช้เพื่อป้องกันแสงจ้าและความร้อนมากที่สุด และได้ทำการศึกษาเพื่อจะเป็นประโยชน์ในการเลือกใช้ คือ
กระจกสีตัดแสง (Heat Absorbing Glass)
การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ที่มีลักษณะเป็นรังสีคลื่นสั้น (Short Wave Radiation) ซึ่งสามารถทะลุผ่านเข้าไปในอาคารได้ และเมื่อรังสีคลื่นสั้นกระทบกับวัสดุต่างๆภายในอาคาร เช่น พื้น ผนัง กระจก ฯลฯ ซึ่งดูดซับคลื่นรังสีเอาไว้ แล้วเปลี่ยนเป็นรังสีคลื่นยาว(Long Wave Radiation) หรือพลังงานความร้อนซึ่งไม่สามารถทะลุผ่านวัสดุโปร่งแสงอย่างกระจกกลับออกมาภายนอกอาคารได้ ดังนั้นความร้อนจึงสะสมอยู่ภายในอาคาร และกลายเป็นส่วนหนึ่งของภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ค่อนข้างมาก
กระจกสีตัดแสง เป็นกระจกโปร่งแสงที่สามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โดยสีต่างๆที่เห็นนั้นเกิดจากการเติมออกไซด์ของโลหะ เช่น เหล็ก โคบอลต์ หรือซีลีเนียมลงในส่วนผสมของเนื้อกระจก ช่วยลดพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่จะผ่านเข้ามา ด้วยคุณสมบัติที่สามารถดูดกลืนพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ที่ส่องมากระทบชั้นผิวกระจกได้ประมาณร้อยละ 40-50 จึงมีส่วนช่วยในการลดภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศลงได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดความจ้าของแสงที่ส่องผ่านเข้ามา ทำให้ได้แสงที่นุ่มนวลสบายตาขึ้น โดยมีสีให้เลือกใช้หลายสี เช่น สีบรอนซ์ สีเขียว สีฟ้า ฯลฯ แต่สีที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในประเทศไทยจะเป็นสีเขียว
ยิปซั่มบอร์ด (ชนิดกันความร้อน) (Gypsum Board)
เป็นวัสดุแผ่นเรียบที่ผลิตขึ้นจากแร่ยิปซั่มซึ่งเผาไฟไม่ติด มาประกอบเป็นแกนกลางของแผ่น ยึดประกบด้วยกระดาษเหนียวชนิดพิเศษทั้ง 2 ด้าน มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อน และเสียง นอกจากนี้แผ่นยิปซั่มยังไม่เป็นพิษและอันตรายต่อสุขภาพ อีกทั้งการติดตั้งก็ง่าย สะดวก รวดเร็วไม่เลอะเทอะ กรณีใช้เป็นผนังอาคารจะช่วยประหยัดโครงสร้างอาคาร เนื่องจากมีน้ำหนักเบากว่าผนังก่ออิฐฉาบปูนถึง 5 เท่า ทั้งนี้ขึ้นกับการออกแบบระบบผนังด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาให้มีคุณสมบัติและรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อความเหมาะสมในการใช้งานโดยจะมีตั้งแต่ชนิดธรรมดา ชนิดกันความร้อน ชนิดทนไฟ ชนิดทนความชื้น เป็นต้น
โดยชนิดที่มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนได้ดีเช่น ชนิดอลูมินั่มฟอยล์ ซึ่งเป็นการนำแผ่นยิปซั่มมาบุด้วยอลูมินั่มฟอยล์ด้านหลังของแผ่น สามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้ถึง 95% การนำความร้อนก็จะต่ำกว่าชนิดอื่น เหมาะสำหรับการทำฝ้าเพดานและผนังบริเวณที่ต้องการป้องกันความร้อนเป็นพิเศษ ช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในห้องให้คงที่เหมาะสำหรับห้องที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิให้คงที่สม่ำเสมอ หรือเพื่อลดขนาดการใช้เครื่องปรับอากาศ
ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board)
โดยวัสดุหลักได้มาจากเส้นใยไม้ที่ผ่านการย่อยสลายเป็นเส้นใยเซลลูโลส มาอัดติดกันเป็นแผ่นด้วยกาวชนิดพิเศษ ด้วยคุณสมบัติของเส้นใยที่ประสานกันอยู่ทำให้สามารถใช้เป็นวัสดุป้องกันความร้อนได้ระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากขาดความแข็งแรงทนทานจึงมักนิยมใช้เป็นฝ้าเพดานหรือผนังภายในเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีผู้นำเส้นใยเซลลูโลสเหล่านี้มาผสมกับปูนซีเมนต์ โดยใช้สารเคมีบางชนิดเป็นตัวประสาน ซึ่งเมื่อนำมาอัดแรงขึ้นเป็นแผ่นแล้วนอกจากจะมีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนแล้ว ยังเพิ่มความแข็งแรงทนทานให้กับวัสดุมากขึ้น สามารถนำไปใช้กับภายนอกโดยการทำเป็นผนังอาคารได้ ปัจจุบันมีการผลิตได้เองในประเทศแต่ก็ยังไม่มากนัก ทั้งคุณภาพก็ยังไม่เท่าของที่นำเข้า
เซรามิคโค้ตติ้ง (Ceramic Coating)
ฉนวนชนิดนี้มีสารประกอบหลักมาจากอนุภาคเซรามิค ซึ่งมีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนได้สูงแต่ดูดซับความร้อนต่ำ สามารถกระจายความร้อนได้เร็ว มีความยืดหยุ่นในตัวเองสูง ยึดเกาะกับพื้นผิวได้ดี จึงสามารถใช้ฉนวนเซรามิคโค้ตติ้งเคลือบภายนอกในส่วนที่ต้องการป้องกันความร้อนโดยตรงจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ เช่นผิวนอกของหลังคา ดาดฟ้า หรือผนังอาคาร โดยทำหน้าที่สะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ออกไปก่อนที่จะกระทบผิวอาคาร เป็นการช่วยลดความร้อนให้กับอาคารและความร้อนที่จะสะสมในเนื้อวัสดุเปลือกอาคาร และยังช่วยลดความเสียหายของโครงสร้างที่เกิดจากการยืดหดตัวเนื่องจากความร้อน จึงช่วยยืดอายุการใช้งานของหลังคาอีกด้วย อีกทั้งยังมีความสะดวกและปลอดภัยเนื่องจากเป็นฉนวนที่ใช้ภายนอกอาคาร การบำรุงรักษาจึงทำได้ง่าย
ใยแก้ว (Fiber Glass)
ใยแก้วเป็นฉนวนที่ผลิตจากการหลอมแก้วแล้วปั่นออกมาเป็นเส้นใยสีขาว จัดอยู่ในกลุ่มฉนวนเซลปิด มีความหนาแน่นต่างกันตั้งแต่ 10 kg/m3 ถึงมากกว่า 64 kg/m3 อาจผลิตในรูปแผ่นแข็ง แบบม้วน หรือขึ้นเป็นรูปทรงต่างๆกัน ตัวเส้นใยจะถูกเคลือบไว้ด้วยตัวประสาน (Binder) เช่น ฟิโนสิกเรซิน ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมระหว่างเส้นใย ที่พบมากจะเป็นฟีนอลฟอร์มอัลดีไฮน์ ซึ่งจะให้สีเหลืองหลังการผลิต
ตัวใยแก้วเป็นสารอนินทรีย์จึงไม่ติดไฟ แต่ตัวประสานจะติดไฟได้ จึงควรพิจารณาอุณหภูมิในการใช้งาน และการดูดซับความชื้นจะทำให้ความสามารถในการต้านทานความร้อนลดลง จึงต้องมีแผ่นมาประกบเพื่อช่วยต้านทานไอน้ำ เช่น แผ่นอลูมินั่มฟอยล์ หรือ ฟิล์มพลาสติกห่อหุ้มขณะใช้งานจริง ซึ่งต้องพิจารณาคุณภาพและคุณสมบัติการติดไฟในการเลือกใช้งานด้วย และจากการที่ขนาดของเส้นใยแก้วที่เล็กและยาวทำให้มีคุณสมบัติในการคืนรูป หรือคืนความหนาได้ดี คุณสมบัตินี้จะช่วยในการคืนสภาพของฉนวนจากการบรรจุและการขนส่งที่มักมีการบีบอัด และสุดท้ายคือเรื่องของกลิ่นที่มาจากตัวประสานจึงควรจัดเก็บในพื้นที่เปิดโล่ง คุณสมบัติของใยแก้ว การใช้งานโดยทั่วไป จะวางฉนวนใยแก้วที่มีการหุ้มด้วยแผ่น อลูมินั่มฟอยล์ เหนือฝ้าเพดาน
ฉนวนโฟม (Foam)
ฉนวนโฟมมีด้วยกันหลายชนิด ขึ้นอยู่กับสารประกอบทางเคมีที่นำมาใช้ รูปแบบที่นำมาใช้มีทั้งแบบพ่น และแบบสำเร็จรูปใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร น้ำหนักเบาไม่ก่อให้เกิดปัญหากับโครงสร้าง และไม่เป็นมลภาวะหรือเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม สามารถป้องกันความร้อนได้ดี มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูงโดยเฉพาะแบบฉีดพ่นเพราะจะใช้กับส่วนใดของอาคารก็ได้ และประหยัด เวลาในการติดตั้ง โดยชนิดของฉนวนโฟมที่นิยมใช้กันมากมีดังนี้
ฉนวนโพลีสไตรีนโฟม (Polystyrene, PS – Foam)
จัดอยู่ในกลุ่มฉนวนแบบกึ่งเซลล์ปิด มี 2 ลักษณะ คือ
1 ฉนวนโพลีสไตรีนแบบอัดรีด (Extruded Polystyrene)
ผลิตโดยขบวนการอัดรีด ทำให้มีเซลล์ที่ละเอียดซึ่งมีอากาศผสมกับก๊าซฟลูออโรคาร์บอน (ปัจจุบันมีการใช้ก๊าซประเภทอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงปรากฎการณ์เรือนกระจก) อยู่ภายใน ทำให้มีสภาพในการนำความร้อนที่ต่ำกว่าโพลีสไตรีนแบบหล่อ มีโครงสร้างและรูปร่างที่แข็งแรงคงที่มากกว่า ทำให้สามารถทนต่อแรงกดทับได้ดี และต้านทานไอน้ำได้ดี แต่ข้อเสียคือ ติดไฟได้ และหากสัมผัสกับรังสี UV ในบรรยากาศจะมีการเสื่อมสภาพได้ จึงควรมีวัสดุปิดผิวในการใช้งาน ปัจจุบันยังคงต้องนำเข้าจากต่างประเทศจึงมีราคาค่อนข้างสูง
2 ฉนวนโพลีสไตรีนแบบหล่อหรือขยายตัว (Molded or Expanded Polystyrene)
เป็นสไตรีนโพลีเมอร์เช่นกัน แต่ผลิตโดยขบวนการหล่อหรือขยายตัว ผลก็คือเซลล์จะหยาบกว่า และมีอากาศบรรจุอยู่ภายใน เมื่อเทียบกับแบบอัดรีดแล้วจะมีสภาพการนำความร้อนสูงกว่า ความหนาแน่นต่ำกว่า ต้านทานไอน้ำได้พอใช้ ติดไฟและก่อให้เกิดคาร์บอนมอนนอกไซด์(CO) แต่มีราคาถูกกว่า มีการเสื่อมสภาพจากการสัมผัสรังสีUVในบรรยากาศได้เช่นกัน จึงควรเลือกใช้ในโครงเคร่าปิดหรือมีแผ่นปิดผิว โดยมีการขึ้นรูปประกอบเป็นผนังมีแผ่นปิด2ด้านเพื่อป้องกันUV และใช้งานได้สะดวก ปัจจุบันมีการผลิตจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว
ฉนวนโพลียูเรเธนโฟม (Polyurethane, PU – Foam)
เป็นพลาสติกโพลิเมอร์ประเภทหนึ่ง พ่นให้เกิดเป็นโฟมมีลักษณะแข็ง อาทิ การพ่นเพื่อป้องกันความร้อน ใต้หลังคา จัดอยู่ในกลุ่มฉนวนแบบกึ่งเซลล์ปิด เซลล์ภายในจะบรรจุด้วยก๊าซฟลูออโรคาร์บอน ซึ่งเป็นก๊าซที่มีค่าการนำความร้อน(k) ต่ำกว่าอากาศ ทำให้ฉนวนประเภทนี้มีสภาพการนำความร้อนต่ำ อย่างไรก็ตามการนำความร้อนของฉนวนประเภทนี้จะเพิ่มขึ้นหรือ R-Value จะลดลงตามอายุการใช้งาน เนื่องมาจากการแพร่กระจายของอากาศเข้าไปในเซลล์ โดยเฉพาะกรณีที่สัมผัสกับรังสีUV จะทำให้สีของฉนวนเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และเสื่อมสภาพลง โดยเฉพาะโฟมที่ไม่ได้ปิดผิว การดูดซับน้ำจะมีบ้างเนื่องจากไม่ใช้เซลล์ปิดทั้งหมด และในกรณีเกิดเพลิงไหม้แม้ว่าจะมีการผสมสารป้องกันการติดไฟแล้ว แต่ก็ยังก่อให้เกิดก๊าซที่มีองค์ประกอบของไซยาไนด์ซึ่งเป็นอันตราย เนื้อฉนวนมีการขยายและหดตัวจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ หากใช้โครงเคร่าปิด เช่น ผนังห้องเย็น หรือ มีวัสดุปิดผิวที่แข็งแรงพอก็จะเป็นฉนวนที่ดีมาก
ฉนวนโพลีเอทเธลีนโฟม (Polyethelene, PE – Foam)
เป็นเอทเธลีนโพลิเมอร์รีดขึ้นรูปเป็นแผ่นมีฟองละเอียดของก๊าซอยู่ด้านใน จัดอยู่ในกลุ่มของฉนวนแบบเซลล์ปิด มีลักษณะอ่อนนุ่ม จึงไม่ควรใช้กับงานที่มีการกดทับ การต้านทานไอน้ำอยู่ในเกณฑ์สูง มีการเสื่อมสภาพได้จากรังสีUV จึงควรมีแผ่นปิดผิวขณะใช้งาน หรือไม่สัมผัสกับUVโดยตรง การเลือกใช้งานป้องกันความร้อนในระบบหลังคาในประเทศไทย ต้องพิจารณาความหนาของฉนวน ให้มี R-Value ที่เพียงพอ คือมีความหนาไม่น้อยกว่า 40 มม. ที่ใช้ติดใต้แผ่นหลังคา ซึ่งความหนาดังกล่าวจะต้านทานการไหลผ่านของพลังงานความร้อนได้น้อย และเนื่องจากเป็นโพลีเมอร์พลาสติกประเภทหนึ่งจึงก่อให้เกิดควันปริมาณมาก และก๊าซคาร์บอนมอนน็อกไซด์ที่เป็นอันตรายเมื่อเกิดเพลิงไหม้
อลูมินั่มฟอยล์ (Aluminum Foil)
อลูมินั่มฟอยล์เป็นชนิดหนึ่งของฉนวนประเภทสะท้อนความร้อน และเป็นที่นิยมใช้มากในปัจจุบัน โดยทั่วไปเป็นแผ่นอลูมินั่มฟอยล์ทากาวประกบกับแผ่นกระดาษคราฟมีเส้นใยเสริมแรง บางชนิด อาจมีชั้นของบิทูเมน(Bitumen) อยู่ด้วย ซึ่งถ้ามีควรพิจารณาคุณสมบัติการติดไฟด้วย การใช้งานทั่วไปจะติดตั้งใต้แผ่นหลังคา อาศัยความหนาของช่องอากาศระหว่างแผ่นหลังคาและแผ่นอลูมินั่มฟอยล์เป็นตัวลดสภาพการนำความร้อน และความมันวาวของอลูมินั่มฟอยล์เป็นตัวลดการแผ่รังสี ทำให้ความร้อนผ่านเข้าสู่อาคารได้น้อยลง ปัญหาที่พบคือฝุ่นที่มาเกาะบนผิวทำให้คุณสมบัติการต้านทานการแผ่รังสีความร้อนลดลงด้วย
แหล่งข้อมูล
สำนักส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (สสอ.)
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
แบบบ้านลอยน้ำ
ขณะประเทศไทยประสบอุทกภัยน้ำท่วมเป็นจำนวนมาก เกิดความเดือดร้อนกันทั่วสารทิศ บางแห่งถึงกับไม่มีที่อยู่อาศัย ขาดข้าวปลาอาหารในการประทังชีวิตตน บางที่บ้านถูกน้ำท่วมหายไปทั้งหลัง บางแห่งบ้านถูกน้ำพัดพาไป จนไม่มีที่แม้จะพำนักพักพิง กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆเพื่อที่จะหาสิ่งต่างๆที่จะมาช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้ และเพื่อเตรียมรับมือกับภาวะน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้น
เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมายังกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อทรง เปิดพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อได้ทอดพระเนตรนิทรรศการแบบบ้านเพื่อประชาชน ของกรมฯ แล้วได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับ “บ้านลอยน้ำ” ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง จึงได้นำเอาแนวคิดดังกล่าวมาปรับใช้จาก “บ้านลอยน้ำท่าขนอน” โดยบ้านลอยน้ำท่าขนอน อยู่ในอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ในพื้นที่ โดย บ้านลอยน้ำนั้นมีลักษณะเป็นเรือนแพ ซึ่งในฤดูแล้งตัวบ้านจะตั้งอยู่บนพื้นดินตามปกติ แต่เมื่อถึงเวลาน้ำท่วม ตัวบ้านก็จะลอยขึ้นตามระดับน้ำ และมีการยึดตัวบ้านเอาไว้กับเสาหลักเพื่อป้องกับการโคลงตัว หรือลอยไปตามกระแสน้ำ จากนั้นพอเวลาน้ำลดลง บ้านก็จะกลับมาตั้งตัวอยู่บนพื้นดินเหมือนเดิม
แบบบ้านลอยน้ำ
ขนาดของบ้านลอยน้ำที่ได้ออกแบบขึ้นนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของขนาดวัสดุสำเร็จรูปที่มีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด เพื่อให้เป็นการใช้วัสดุที่คุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะทำได้ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้และทำการก่อสร้าง ได้ง่าย เนื่องจากมีระบบวิศวกรรมโครงสร้างเป็นรูปแบบอย่างง่าย ชาวบ้านที่มีความรู้ด้านช่างในระดับทั่วไปก็จะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้เอง
บ้านหลังนี้มีขนาดพื้นที่รวมประมาณ 60 ตารางเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่ใหญ่มาก เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างและการลอยน้ำ แต่หากมีความต้องการพื้นที่เพิ่มขึ้นก็อาจเชื่อมต่อหลายหลังเข้าด้วยกัน โดยใช้สะพานทางเชื่อมพาดระหว่างชานรอบตัวบ้าน
สำหรับราคาค่าก่อสร้างประมาณการได้ว่ากรณีดำเนินการก่อสร้างเองจะมีราคาประมาณหลังละ 719,000 บาท หากจ้างเหมาราคาประมาณหลังละ 915,000 บาทเนื่องจากต้องมีการคิดค่าดำเนินการ กำไรและภาษีด้วย
แนวคิดในการออกแบบนั้น ออกแบบขึ้นโดยแนวคิดเพื่อป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยตามฤดูกาล และตั้งอยู่บนพื้นดินในภาวะปกติ โดยให้บ้านทั้งหลังสามารถลอยสูงขึ้นได้ตามระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างไรก็ตามบ้านลอยน้ำนี้ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีน้ำไหลเชี่ยวกรากรุนแรง
ขนาดพื้นที่ที่ใช้ในการติดตั้งบ้านลอยน้ำประมาณ 60 ตารางเมตรประกอบด้วยพื้นที่อยู่อาศัย 23 ตารางเมตร ส่วนทำอาหารห้องน้ำและซักล้าง รวม 37 ตารางเมตร
โดยราคาค่าก่อสร้างบ้านลอยน้ำโดยประมาณ 719,000 บาท (กรณีปลูกสร้างเอง) ไม่ต้องใช้ผู้รับจ้างเหมาและประมาณ 915,000 บาท (กรณีมีผู้รับจ้างเหมา)
วัสดุก่อสร้างบ้านลอยน้ำจะใช้วัสดุก่อสร้างพื้นฐานทั่วไปที่สามารถหาได้ง่ายในท้องตลาด ซึ่งสามารถดัดแปลงได้ตามความเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ทุ่นลอยเป็นถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร หรือถังไฟเบอร์กลาสกรณีต้องการความทนทานเพิ่มขึ้น
ระบบสุขาภิบาลภายในบ้านลอยน้ำนั้น จะใช้ระบบการย่อยสลายโดยมีถังบรรจุจุลินทรีย์ EM ติดตั้งอยู่ใต้ห้องน้ำเพื่อย่อยสลายและเร่งการตกตะกอนของสิ่งปฎิกูล
บ้านลอยน้ำนั้น ก็ถือเป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่รองรับการท่วมของน้ำที่จะมาในอนาคตข้างหน้าได้เป็นอย่างดี เปรียบเสมือนการเตรียมตัวเพื่อรองรับผล ที่ยังไงๆมันก็ต้องเกิดอย่างแน่นอนให้รับมือกับมันได้ แต่อย่างไรก็ตาม เราทุกคนควรที่จะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ช่วยกันอนุรักษ์ป่าต้นน้ำของไทยเอาไว้ ดูแลทรัพยากรของโลกให้ดี ไม่เช่นนั้นก็ต้องเกิดภัยภิบัติแบบนี้ต่อไปอีกไม่รู้จบอย่างแน่นอน
สำหรับใครที่ต้องการจะช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลยครับ ทางเว็บไซต์ของเราได้รวบรวมศูนย์ที่คอยรับบริจาคไว้แล้วนะครับ ใครมีมากก็ช่วยมากใครมีน้อยก็ช่วยน้อย ใครไม่มีก็ช่วยแรง ช่วยส่งกำลังใจครับ เราคนไทยด้วยกันต้องช่วยเหลือกันนะครับผม : )
ลิงค์ – รวมช่องทางสำหรับการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (น้ำท่วม)
อ้างอิงข้อมูลจาก
- hilight.kapook.com/view/63246
- www.dpt.go.th/download/PW/floating_house/detail.html
การคำนวณ ถมดินสร้างบ้าน
มาตราวัดพื้นที่ไทย
1 ไร่ = 4 งาน
1 งาน = 100 ตารางวา
ดังนั้น 1 ไร่ = 400 ตารางวา
1 ตารางวา = 4 ตารางเมตร = 2 เมตร x 2 เมตร
1 ตารางเมตร = 1 เมตร x 1 เมตร
ดังนั้น ที่ดิน 1 ไร่ จะเท่ากับ 1,600 ตารางเมตร
ตัวอย่าง (การคำนวณขนาดพื้นที่)
พื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน 95 ตารางวา
1 ไร่ = 4 งาน = 400 ตารางวา
2 งาน = 200 ตารางวา
1 ไร่ 2 งาน 95 ตารางวา = 400 + 200 + 95 = 695 ตารางวา (หรือเท่ากับ 695 x 4 = 2,780 ตารางเมตร)
ตัวอย่าง (การคำนวณปริมาณดินที่ต้องใช้)
ถ้าต้องการถมดิน พื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน 95 ตารางวา ถมสูงจากดินเดิม 1.2 เมตร
จะใช้ดิน 2,780 x 1.2 เมตร = 3,336 คิว
ที่มา: http://www.tomtee.com
1 ไร่ = 4 งาน
1 งาน = 100 ตารางวา
ดังนั้น 1 ไร่ = 400 ตารางวา
1 ตารางวา = 4 ตารางเมตร = 2 เมตร x 2 เมตร
1 ตารางเมตร = 1 เมตร x 1 เมตร
ดังนั้น ที่ดิน 1 ไร่ จะเท่ากับ 1,600 ตารางเมตร
ตัวอย่าง (การคำนวณขนาดพื้นที่)
พื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน 95 ตารางวา
1 ไร่ = 4 งาน = 400 ตารางวา
2 งาน = 200 ตารางวา
1 ไร่ 2 งาน 95 ตารางวา = 400 + 200 + 95 = 695 ตารางวา (หรือเท่ากับ 695 x 4 = 2,780 ตารางเมตร)
ตัวอย่าง (การคำนวณปริมาณดินที่ต้องใช้)
ถ้าต้องการถมดิน พื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน 95 ตารางวา ถมสูงจากดินเดิม 1.2 เมตร
จะใช้ดิน 2,780 x 1.2 เมตร = 3,336 คิว
ที่มา: http://www.tomtee.com
ขั้นตอนเสนอราคา เรามีวิธีการตรวจสอบราคา ก่อนตัดสินใจดังนี้
- หาข้อมูลกลับไปว่า ถ้าว่าจ้างแบบเป็นคิว หรือ เป็นคันรถ ราคาในการถมพร้อมบดอัด ตกคิวละเท่าไร
- เมื่อได้ราคาต่อคิวแล้ว เรามีวิธีการตรวจสอบปริมาณในการถมดินในที่ดินของเรา ดังนี้ครับ
- แปลงที่ดินของเรา จากตารางวา เป็นตารางเมตร โดยการ เอา 4 คูณจำนวนตารางวา เช่นที่ดิน 100 ตารางวา คูณ 4 จะได้ 400 ตารางเมตร
- ถ้าถมสูง 1 เมตร เอาความสูง คูณ จำนวนตารางเมตร ในที่นี้ คือ เอา 1 x 400 = 400 คิว เผื่อบดอัดด้วยรถแทรกเตอร์ ประมาณ 20 % (80 คิว) ดังนั้นจำนวนดินที่จะใช้จริง คือ 480 คิว
- ถ้าถมสูง 1.5 เมตร เอาความสูง คูณ จำนวนตารางเมตร ในที่นี้ คือ เอา 1.5 x 400 = 600 คิว เผื่อบดอัดด้วยรถแทรกเตอร์ ประมาณ 20 % (120 คิว) ดังนั้นจำนวนดินที่จะใช้จริง คือ 720 คิว
- ดินที่เหมาะที่จะนำมาใช้ถม ควรจะ เป็นดินท้องนา ในกรณีที่ที่ดินที่จะถม มีบ่อ หรือหลุมลึก ควรใช้ทราย เพื่อป้องกันการทรุดตัว เพราะเนื้อทรายละเอียดกว่า
- ระดับที่จะถมตกลงให้ชัดเจน โดยอาจจะทำเครื่องหมายไว้ที่ที่ดินของเรา ส่วนการบดอัดเป็นอย่างไร บดอัดแน่นแค่ไหน
- หลีกเลี่ยงการถมดินหน้าฝน เพราะช่วงหน้าฝนจะทำงานลำบาก และหาดินที่มาถมยาก
ระดับดินถมบ้าน
ระดับดินที่เหมาะสม
ก่อนที่จะทำการสร้างบ้าน หรือสิ่งก่อสร้างใดๆ เจ้าของเทบทุกรายจะต้องเกิดคำถามว่า ระดับดินของบ้านหรือโครงการนั้นจะเอาสูงแค่ไหน การที่จะตอบปัญหาข้อนี้ควรจะดูปัจจัยต่างๆอย่างเช่น
บริเวณพื้นที่นั้น มีน้ำท่วมหรือเปล่า ท่วมสูงแค่ไหน อาจจะต้องสอบถามจากผู้คนแถวๆนั้น หรือถ้าสามารถดูร่องรอยน้ำท่วมที่อยู่ตามสิ่งก่อสร้างต่างๆได้ก็ยิ่งดีครับ
ระดับท่อระบายน้ำและบ่อพักสูงแต่ไหน ระดับน้ำในระบบท่อระบายน้ำในพื้นที่นั้นอยู่ที่ระดับไหน สามารถสอบถามได้จากหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบอยู่ หากระดับที่คุณต้องการถมอยู่ค่อนข้างสูงก็ไม่เป็นไรจะไม่มีปัญหาเรื่องการระบายน้ำ แต่ถ้าระดับของคุณค่อนข้างต่ำกว่าพื้นที่ข้างเคียง(ไม่ควร แต่จะด้วยเหตุจำเป็นใดๆก็ตาม) ควรจะเชคตัวนี้ด้วยครับเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำในบ้านเราสามารถระบายออกสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะได้
ระดับถนนหน้าบ้าน และระดับดินพื้นที่ข้างเคียง ปัจจุบันมีการถมยกระดับถนนกันมาก แข่งกันถมทั้งถนน ทั้งเพื่อนบ้าน ถ้าสามารถให้ระดับดินของเราใกล้เคียงกับพื้นที่รอบๆก็น่าจะดีครับ ทั้งในแง่ความปลอดภัยของโครงสร้างรั้ว การระบายน้ำ ฯลฯ
การกำหนดระดับดินถมควรดูปัจจัยรอบๆด้าน ถมสูงหน่อยได้เปรียบ แต่ค่าถมและค่ากำแพงกันดินจะแพงขึ้นตามระดับครับ
ทำไมต้องใช้ลูกรัง
ดินลูกรังสามารถบดอัดได้ดี เมื่อบดอัดแล้วจะแน่นแข็ง เหมาะแก่การถมเพื่อทำผิวถนนคอนกรีต แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ทำสวน ในการถมที่ปลูกบ้านอาจจะแบ่งโซนเป็นดินลูกรังเฉพาะส่วนถนนก็ได้ครับ
ถมดินก่อสร้างบ้าน หรือ ถมทีหลังดี
การถมดินก่อนสร้างบ้านเครื่องจักรจะทำงานได้ง่าย อีกทั้งดินที่ถมทิ้งไว้จะยุบตัวไปบางส่วนขณะทำการก่อสร้าง เมื่อท่านสร้างบ้านเสร็จแล้วค่อยปรับระดับหน้าดิน และบดอัดดินทำถนนอีกครั้ง ดินจะยุบตัวอีกหลังจากนั้นไม่มากแล้วครับ
ถมดินอย่างไรไม่ทรุด (สำหรับดินบริเวณทั่วไป หรือ จัดสวน)
เรื่องการทรุดตัวของดินเกิดจากหลายสาเหตุคือ
ดินที่นำมาถมเมื่อถูกขุดและขนย้ายแล้วนำมาถม เนื่อดินจะไม่แน่นมีโพรงอยู่ข้างใน เมื่อถมทิ้งไว้สักหลายๆเดือนดินจะค่อยๆยุบตัวโดยที่โพรงอากาศข้างในจะถูกน้ำหนักดินกดเอาเนื้อดินเข้ามาแทนที่ ทางแก้ ใช้รถแบคโฮ รถบรรทุกดินหรือรถแทรกเตอร์ วิ่งบดไปบดมาเป็นชั้นๆละ 30-50 เซนติเมตร จะทำให้โพรงเหล่านี้ยุบลงไปได้มาก กรณีของถนนต้องใช้เสปกสำหรับทำถนนซึ่งยุ่งยากทีเดียว
ดินเดิมเมื่อถูกน้ำหนักดินถมกดลงมาก็จะยุบตัว ยุบมากยุบน้อยขึ้นอยู่กับสภาพดินเดิมว่ามีความแน่นเพียงใด เช่นดินเดิมที่เคยใช้เป็นลานจอดรถมานานและมีรถเข้าออกจอดอยู่เสมอก็จะทรุดน้อย ดินเดิมที่เป็นท้องนาหรือที่ต่ำขังน้ำดินอุ้มน้ำไว้มากจะทรุดตัวมาก ไม่มีทางแก้ครับ ดินจะทรุดไปตามธรรมชาติ แต่ไม่นานอาการนี้จะหยุดไปเอง
ดินทรุดจากการสูบน้ำบาดาลในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล อันนี้ก็ไม่มีทางแก้เช่นกัน ต้องทรุดลงไปเรื่อยๆอยู่แล้ว อาการนี้ไม่หยุด (ยกเว้นจะหยุดสูบน้ำบาดาลอาการก็จะค่อยๆช้าลง)
อินทรีย์วัตถุผิวดิน เช่นบริเวณน้ำขังจะมีขี้เลนซึ่งเป็นอินทรีย์วัตถถุจากการเน่าเปื่อยของพืชน้ำ รวมทั้งซากต้นไม้ต่างๆด้วย เมื่อถมดินกลบไปแล้วจะค่อยๆย่อยสลายยุบตัวแล้วดินถมที่อยู่ข้างบนก็จะยุบตัวตามลงมา ทางแก้ กรณีเป็นที่น้ำขัง ถ้ามีขี้เลนเหลวๆ รวมทั้งพืชน้ำต่างๆ ให้ลอกออกก่อน ถ้าเป็นที่แห้งให้ถางพืชต่างๆรวมทั้งขุดตอไม้ใหญ่ออกด้วย หรืออาจใช้วิธีจุดไฟเผาก็ได้ถ้าสามารถควบคุมการลุกลามของไฟได้ ดินถมบริเวณใดไม่ได้มีการลอกเลน หรือบริเวณที่มีอินทรีย์วัตถุออกอยู่มากเอาออกไม่หมด ก็จะยุบเป็นหลุมๆ
หากมีการคุมงานที่ดี ตามวิธีในข้อ 1 และข้อ 4 แล้วดินที่ถมจะไม่ยุบมาก ไม่ต้องมาปรับระดับที่หลังอีกที (หรือปรับไม่มาก) ครับ
ในการพิจารณาว่าต้องมีการบดอัด หรือมาตราการป้องกันดีแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าเราต้องใช้พื้นที่บริเวณนั้นอย่างไร เช่นถ้าใช้เป็นถนนคอนกรีตจะต้องมีการบดอัด และกำจัดเศษวัชพืชอย่างดี เนื่องจากการทรุดตัวของดินต่างกันเล็กน้อยก็อาจทำให้ผิวถนนแตกร้าวได้ แต่ถ้าใช้เป็นพื้นที่จัดสวนนั้นเราสามารถปรับระดับดินภายหลังจากที่ทิ้งให้ดินยุบตัวไปสักปีสองปีแล้ว แต่ก็ควรจะบดอัดบ้างเหมือนกันถ้าเราต้องการสวนที่สวยเรียบในปีแรกๆครับ
ระวังรั้วเอียงด้วยนะจ๊ะ
ธรรมชาติดินนั้นมันไม่ใช่เพียงอยู่นิ่งๆเท่านั้น แต่มันจะมีแรงดันทางด้านข้างด้วย ดินที่ระดับเท่ากันต่างคนต่างดันกันเองกับเพื่อนๆรอบตัวมัน ก็ไม่เป็นไร แต่ดินต่างระดับความสูงที่ถูกกั้นไว้ด้วยกำแพงรั้วนั้น ดินที่สูงกว่าจะมีแรงดันมากกว่าผลักออกไปทางดินที่ต่ำกว่า แรงนี้เองที่กำแพงรั้วจะต้องรับไว้ คุณจึงเอากำแพงรั้วแบบธรรมดามาใช้เป็นกันดินที่ต่างระดับมากๆไม่ได้ครับ โครงสร้างกำแพงรั้วต้องออกแบบให้รับแรงดันดินได้โดยไม่เอียง
ถมดินอย่างไรไม่โดนโก่งราคา
ในการถมดินสำหรับเจ้าของงานนั้นไม่แนะนำให้จ้างรถดินขน และจ้างรถบดเข้ามาเองครับ เนื่องจากถ้าไม่คุ้นเคยกับงานแล้วอาจจะโดนโกงได้ง่าย ควรจะจ้างผู้รับเหมาถมดินให้จัดการให้เสร็จ แล้วทีนี้การติดต่อกับผู้รับเหมาถมดิน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าราคาควรจะเป็นเท่าไหร่ ตกลงกันตรงไหน
เริ่มที่การคิดปริมาณดิน ก็คือ กว้างคูณยาวคูณสูง หรือพื้นที่คูณความสูงนั่นเอง ในกรณีที่พื้นที่เดิมไม่สม่ำเสมออาจจะต้องเฉลี่ยระดับ กรณีพื้นที่กว้างๆ มูลค่างานมาก ควรจะจ้างช่างสำรวจหาระดับดินในตำแหน่งต่างๆ แล้วคำณวณปริมาณดินออกมา
ราคาต่อหน่วย เมื่อทราบปริมาณดินที่ต้องการแล้วคูณด้วยราคาต่อหน่วยก็จะเป็นราคารวม ราคาต่อหน่วยนี้ต้องสูงกว่าราคาดินจากรถขนดิน เนื้องจากเวลานำดินมาบดอัดแล้วปริมาตรจะยุบตัวลงไป และผู้รับเหมาต้องบวกค่าดำเนินการ กำไรต่างๆด้วย ให้ลองเชคราคาดูกับผู้รับเหมาหลายๆราย ก็จะทำให้เราทราบราคาตลาดครับ
ข้อกำหนดในการทำงาน เช่นต้องลอกเลนหรือไม่(น่าจะลอกนะครับ) บดอัดทุก 30 ซม หรือ 50 ซม. ซึ่งจะคุมเข้มแค่ไหนขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งานพื้นที่ เช่นพื้นที่ถมทิ้งไว้เฉยๆ หรือใช้จัดสวน ก็ควรมีการบดอัดบ้าง แต่ถ้าเป็นถนนต้องมีการบดอัดและควบคุมคุณภาพอย่างดีไม่งั้นถนนจะแตกร้าวได้ครับ
ตอนทำงานควรไปดูบ่อยๆด้วยครับ ผู้รับเหมาจะได้ทำตามที่ได้ตกลงกัน
ก่อนเริ่มทำการถม ควรมีการทำระดับอ้างอิงไว้เพื่อตรวจสอบ เช่นการพ่นสี ตอกตะปูกำหนดระดับไว้ตามเสาไฟฟ้า หรือสิ่งก่อสร้างข้างเคียงที่มีลักษณะถาวร ไม่เคลื่อนย้าย เมื่อผู้รับเหมาจะส่งมอบงานจะได้ทำการตรวจสอบได้ครับ
นอกจากนั้น ราคาที่ดินยังขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัยเช่น
1. ระยะทาง ระหว่างบ่อดินที่เราซื้อดินมากับสถานที่ก่อสร้าง(ราคาค่าขนส่ง)
2. ชนิดของดิน ดูจากความลึกของดินที่ขุดขึ้นมา หน้าดิน 0-0.50 ม.บางที่ก็ถึง1.00 ม. จะแพงที่สุด เหมาะสำหรับการปลูกต้นไม้(ดินจะมีสีดำ) ลึกกว่านี้ลงไปราคาจะถูกลง เพราะแร่ธาตุในดินจะน้อย ถมที่ดีแต่ไม่เหมาะจะปลูกต้นไม้แล้ว(ดินออกสีน้ำตาลๆ มีทรายปน) แต่ถ้าลึกลงไปมากๆ จนดินออกเป็นสีขาวๆ จะปลูกอะไรไม่ขึ้นเลย แต่นำมาใช้ถมได้ดีมาก ราคาถูกที่สุด
3. ลักษณะการถมดิน ถ้าใช้รถตัก-ตักดินแล้วเอามากองๆ ไว้ ดินจะดูเต็มเร็วแต่จะหลวมมาก และจะทรุดตัวในภายหลังอย่างมากด้วย ( ถ้าเป็นงานเหมา-ต้องระวังเรื่องนี้มากๆ ต้องมีคนคอยดูที่หน้างาน ) ถ้าถมในลักษณะ ถมแล้วใช้รถบรรทุกถอยทับ ดินจะแน่นขึ้น จะได้ดินปริมาณมาก(แต่ผู้รับเหมาไม่ชอบ และดินต้องเป็นดินแห้ง) มีถมลักษณะอื่นอีกหรือเปล่าผมไม่แน่ใจครับ แล้วแต่เทคนิคของผู้รับเหมาด้วย
4. การขนส่ง จะใช้รถบรรทุกเป็นส่วนมาก ความกว้างของกะบะรถ10 ล้อ ประมาณ 2.5 x 6 ม. ความสูง-ส่วนมากเค้านับกันเป็น"ไม้" เช่น ไม้ 1 , ไม้ 2 อะไรทำนองนี้ "ไม้" คือ ไม้ที่เป็นซี่วางตามนอนด้านข้างกะบะ นับจากล่างขึ้นบน รถแต่ละคันความสูงจากท้องกะบะถึงซี่ไม้จะไม่เท่ากันครับ รถบางคันท้องลึก บางคันท้องตื้น ถ้าคิดปริมาตร 2.5 x 6 x สูงซัก1.2 ม. จะได้ 18 ลบ.ม. แต่ส่วนใหญ่ งานดินจะคิดค่าความโปร่งที่ 50% แสดงว่าเราได้ดินจริงๆ แค่ 9 ลบ.ม.
5. เวลาในการถม ก็ขึ้นอยู่กับระยะทาง ที่ดินจะเดินทางมาจากบ่อดิน และจำนวนรถที่ใช้ขนส่ง ถ้าใช้รถหลายคันวันนึงก็ขนได้หลายเที่ยว(อันนี้ก็แล้วแต่ความเหมาะสม เพราะระหว่างทางผู้รับเหมาอาจต้องจ่ายค่าความสะดวกในการผ่านทางบ้าง)
6. ส่วนการบดอัด ก็แล้วแต่ตกลงว่า จะถมอย่างเดียว หรือบดอัดด้วย
7. ราคาดิน จริงๆ แล้วสามารถต่อลองกันได้ครับ ขึ้นอยู่กับความพอใจของทั้งสองฝ่าย
ที่มา : POWERED BY@ HOMES.CO.TH
ก่อนที่จะทำการสร้างบ้าน หรือสิ่งก่อสร้างใดๆ เจ้าของเทบทุกรายจะต้องเกิดคำถามว่า ระดับดินของบ้านหรือโครงการนั้นจะเอาสูงแค่ไหน การที่จะตอบปัญหาข้อนี้ควรจะดูปัจจัยต่างๆอย่างเช่น
บริเวณพื้นที่นั้น มีน้ำท่วมหรือเปล่า ท่วมสูงแค่ไหน อาจจะต้องสอบถามจากผู้คนแถวๆนั้น หรือถ้าสามารถดูร่องรอยน้ำท่วมที่อยู่ตามสิ่งก่อสร้างต่างๆได้ก็ยิ่งดีครับ
ระดับท่อระบายน้ำและบ่อพักสูงแต่ไหน ระดับน้ำในระบบท่อระบายน้ำในพื้นที่นั้นอยู่ที่ระดับไหน สามารถสอบถามได้จากหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบอยู่ หากระดับที่คุณต้องการถมอยู่ค่อนข้างสูงก็ไม่เป็นไรจะไม่มีปัญหาเรื่องการระบายน้ำ แต่ถ้าระดับของคุณค่อนข้างต่ำกว่าพื้นที่ข้างเคียง(ไม่ควร แต่จะด้วยเหตุจำเป็นใดๆก็ตาม) ควรจะเชคตัวนี้ด้วยครับเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำในบ้านเราสามารถระบายออกสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะได้
ระดับถนนหน้าบ้าน และระดับดินพื้นที่ข้างเคียง ปัจจุบันมีการถมยกระดับถนนกันมาก แข่งกันถมทั้งถนน ทั้งเพื่อนบ้าน ถ้าสามารถให้ระดับดินของเราใกล้เคียงกับพื้นที่รอบๆก็น่าจะดีครับ ทั้งในแง่ความปลอดภัยของโครงสร้างรั้ว การระบายน้ำ ฯลฯ
การกำหนดระดับดินถมควรดูปัจจัยรอบๆด้าน ถมสูงหน่อยได้เปรียบ แต่ค่าถมและค่ากำแพงกันดินจะแพงขึ้นตามระดับครับ
ทำไมต้องใช้ลูกรัง
ดินลูกรังสามารถบดอัดได้ดี เมื่อบดอัดแล้วจะแน่นแข็ง เหมาะแก่การถมเพื่อทำผิวถนนคอนกรีต แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ทำสวน ในการถมที่ปลูกบ้านอาจจะแบ่งโซนเป็นดินลูกรังเฉพาะส่วนถนนก็ได้ครับ
ถมดินก่อสร้างบ้าน หรือ ถมทีหลังดี
การถมดินก่อนสร้างบ้านเครื่องจักรจะทำงานได้ง่าย อีกทั้งดินที่ถมทิ้งไว้จะยุบตัวไปบางส่วนขณะทำการก่อสร้าง เมื่อท่านสร้างบ้านเสร็จแล้วค่อยปรับระดับหน้าดิน และบดอัดดินทำถนนอีกครั้ง ดินจะยุบตัวอีกหลังจากนั้นไม่มากแล้วครับ
ถมดินอย่างไรไม่ทรุด (สำหรับดินบริเวณทั่วไป หรือ จัดสวน)
เรื่องการทรุดตัวของดินเกิดจากหลายสาเหตุคือ
ดินที่นำมาถมเมื่อถูกขุดและขนย้ายแล้วนำมาถม เนื่อดินจะไม่แน่นมีโพรงอยู่ข้างใน เมื่อถมทิ้งไว้สักหลายๆเดือนดินจะค่อยๆยุบตัวโดยที่โพรงอากาศข้างในจะถูกน้ำหนักดินกดเอาเนื้อดินเข้ามาแทนที่ ทางแก้ ใช้รถแบคโฮ รถบรรทุกดินหรือรถแทรกเตอร์ วิ่งบดไปบดมาเป็นชั้นๆละ 30-50 เซนติเมตร จะทำให้โพรงเหล่านี้ยุบลงไปได้มาก กรณีของถนนต้องใช้เสปกสำหรับทำถนนซึ่งยุ่งยากทีเดียว
ดินเดิมเมื่อถูกน้ำหนักดินถมกดลงมาก็จะยุบตัว ยุบมากยุบน้อยขึ้นอยู่กับสภาพดินเดิมว่ามีความแน่นเพียงใด เช่นดินเดิมที่เคยใช้เป็นลานจอดรถมานานและมีรถเข้าออกจอดอยู่เสมอก็จะทรุดน้อย ดินเดิมที่เป็นท้องนาหรือที่ต่ำขังน้ำดินอุ้มน้ำไว้มากจะทรุดตัวมาก ไม่มีทางแก้ครับ ดินจะทรุดไปตามธรรมชาติ แต่ไม่นานอาการนี้จะหยุดไปเอง
ดินทรุดจากการสูบน้ำบาดาลในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล อันนี้ก็ไม่มีทางแก้เช่นกัน ต้องทรุดลงไปเรื่อยๆอยู่แล้ว อาการนี้ไม่หยุด (ยกเว้นจะหยุดสูบน้ำบาดาลอาการก็จะค่อยๆช้าลง)
อินทรีย์วัตถุผิวดิน เช่นบริเวณน้ำขังจะมีขี้เลนซึ่งเป็นอินทรีย์วัตถถุจากการเน่าเปื่อยของพืชน้ำ รวมทั้งซากต้นไม้ต่างๆด้วย เมื่อถมดินกลบไปแล้วจะค่อยๆย่อยสลายยุบตัวแล้วดินถมที่อยู่ข้างบนก็จะยุบตัวตามลงมา ทางแก้ กรณีเป็นที่น้ำขัง ถ้ามีขี้เลนเหลวๆ รวมทั้งพืชน้ำต่างๆ ให้ลอกออกก่อน ถ้าเป็นที่แห้งให้ถางพืชต่างๆรวมทั้งขุดตอไม้ใหญ่ออกด้วย หรืออาจใช้วิธีจุดไฟเผาก็ได้ถ้าสามารถควบคุมการลุกลามของไฟได้ ดินถมบริเวณใดไม่ได้มีการลอกเลน หรือบริเวณที่มีอินทรีย์วัตถุออกอยู่มากเอาออกไม่หมด ก็จะยุบเป็นหลุมๆ
หากมีการคุมงานที่ดี ตามวิธีในข้อ 1 และข้อ 4 แล้วดินที่ถมจะไม่ยุบมาก ไม่ต้องมาปรับระดับที่หลังอีกที (หรือปรับไม่มาก) ครับ
ในการพิจารณาว่าต้องมีการบดอัด หรือมาตราการป้องกันดีแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าเราต้องใช้พื้นที่บริเวณนั้นอย่างไร เช่นถ้าใช้เป็นถนนคอนกรีตจะต้องมีการบดอัด และกำจัดเศษวัชพืชอย่างดี เนื่องจากการทรุดตัวของดินต่างกันเล็กน้อยก็อาจทำให้ผิวถนนแตกร้าวได้ แต่ถ้าใช้เป็นพื้นที่จัดสวนนั้นเราสามารถปรับระดับดินภายหลังจากที่ทิ้งให้ดินยุบตัวไปสักปีสองปีแล้ว แต่ก็ควรจะบดอัดบ้างเหมือนกันถ้าเราต้องการสวนที่สวยเรียบในปีแรกๆครับ
ระวังรั้วเอียงด้วยนะจ๊ะ
ธรรมชาติดินนั้นมันไม่ใช่เพียงอยู่นิ่งๆเท่านั้น แต่มันจะมีแรงดันทางด้านข้างด้วย ดินที่ระดับเท่ากันต่างคนต่างดันกันเองกับเพื่อนๆรอบตัวมัน ก็ไม่เป็นไร แต่ดินต่างระดับความสูงที่ถูกกั้นไว้ด้วยกำแพงรั้วนั้น ดินที่สูงกว่าจะมีแรงดันมากกว่าผลักออกไปทางดินที่ต่ำกว่า แรงนี้เองที่กำแพงรั้วจะต้องรับไว้ คุณจึงเอากำแพงรั้วแบบธรรมดามาใช้เป็นกันดินที่ต่างระดับมากๆไม่ได้ครับ โครงสร้างกำแพงรั้วต้องออกแบบให้รับแรงดันดินได้โดยไม่เอียง
ถมดินอย่างไรไม่โดนโก่งราคา
ในการถมดินสำหรับเจ้าของงานนั้นไม่แนะนำให้จ้างรถดินขน และจ้างรถบดเข้ามาเองครับ เนื่องจากถ้าไม่คุ้นเคยกับงานแล้วอาจจะโดนโกงได้ง่าย ควรจะจ้างผู้รับเหมาถมดินให้จัดการให้เสร็จ แล้วทีนี้การติดต่อกับผู้รับเหมาถมดิน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าราคาควรจะเป็นเท่าไหร่ ตกลงกันตรงไหน
เริ่มที่การคิดปริมาณดิน ก็คือ กว้างคูณยาวคูณสูง หรือพื้นที่คูณความสูงนั่นเอง ในกรณีที่พื้นที่เดิมไม่สม่ำเสมออาจจะต้องเฉลี่ยระดับ กรณีพื้นที่กว้างๆ มูลค่างานมาก ควรจะจ้างช่างสำรวจหาระดับดินในตำแหน่งต่างๆ แล้วคำณวณปริมาณดินออกมา
ราคาต่อหน่วย เมื่อทราบปริมาณดินที่ต้องการแล้วคูณด้วยราคาต่อหน่วยก็จะเป็นราคารวม ราคาต่อหน่วยนี้ต้องสูงกว่าราคาดินจากรถขนดิน เนื้องจากเวลานำดินมาบดอัดแล้วปริมาตรจะยุบตัวลงไป และผู้รับเหมาต้องบวกค่าดำเนินการ กำไรต่างๆด้วย ให้ลองเชคราคาดูกับผู้รับเหมาหลายๆราย ก็จะทำให้เราทราบราคาตลาดครับ
ข้อกำหนดในการทำงาน เช่นต้องลอกเลนหรือไม่(น่าจะลอกนะครับ) บดอัดทุก 30 ซม หรือ 50 ซม. ซึ่งจะคุมเข้มแค่ไหนขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งานพื้นที่ เช่นพื้นที่ถมทิ้งไว้เฉยๆ หรือใช้จัดสวน ก็ควรมีการบดอัดบ้าง แต่ถ้าเป็นถนนต้องมีการบดอัดและควบคุมคุณภาพอย่างดีไม่งั้นถนนจะแตกร้าวได้ครับ
ตอนทำงานควรไปดูบ่อยๆด้วยครับ ผู้รับเหมาจะได้ทำตามที่ได้ตกลงกัน
ก่อนเริ่มทำการถม ควรมีการทำระดับอ้างอิงไว้เพื่อตรวจสอบ เช่นการพ่นสี ตอกตะปูกำหนดระดับไว้ตามเสาไฟฟ้า หรือสิ่งก่อสร้างข้างเคียงที่มีลักษณะถาวร ไม่เคลื่อนย้าย เมื่อผู้รับเหมาจะส่งมอบงานจะได้ทำการตรวจสอบได้ครับ
นอกจากนั้น ราคาที่ดินยังขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัยเช่น
1. ระยะทาง ระหว่างบ่อดินที่เราซื้อดินมากับสถานที่ก่อสร้าง(ราคาค่าขนส่ง)
2. ชนิดของดิน ดูจากความลึกของดินที่ขุดขึ้นมา หน้าดิน 0-0.50 ม.บางที่ก็ถึง1.00 ม. จะแพงที่สุด เหมาะสำหรับการปลูกต้นไม้(ดินจะมีสีดำ) ลึกกว่านี้ลงไปราคาจะถูกลง เพราะแร่ธาตุในดินจะน้อย ถมที่ดีแต่ไม่เหมาะจะปลูกต้นไม้แล้ว(ดินออกสีน้ำตาลๆ มีทรายปน) แต่ถ้าลึกลงไปมากๆ จนดินออกเป็นสีขาวๆ จะปลูกอะไรไม่ขึ้นเลย แต่นำมาใช้ถมได้ดีมาก ราคาถูกที่สุด
3. ลักษณะการถมดิน ถ้าใช้รถตัก-ตักดินแล้วเอามากองๆ ไว้ ดินจะดูเต็มเร็วแต่จะหลวมมาก และจะทรุดตัวในภายหลังอย่างมากด้วย ( ถ้าเป็นงานเหมา-ต้องระวังเรื่องนี้มากๆ ต้องมีคนคอยดูที่หน้างาน ) ถ้าถมในลักษณะ ถมแล้วใช้รถบรรทุกถอยทับ ดินจะแน่นขึ้น จะได้ดินปริมาณมาก(แต่ผู้รับเหมาไม่ชอบ และดินต้องเป็นดินแห้ง) มีถมลักษณะอื่นอีกหรือเปล่าผมไม่แน่ใจครับ แล้วแต่เทคนิคของผู้รับเหมาด้วย
4. การขนส่ง จะใช้รถบรรทุกเป็นส่วนมาก ความกว้างของกะบะรถ10 ล้อ ประมาณ 2.5 x 6 ม. ความสูง-ส่วนมากเค้านับกันเป็น"ไม้" เช่น ไม้ 1 , ไม้ 2 อะไรทำนองนี้ "ไม้" คือ ไม้ที่เป็นซี่วางตามนอนด้านข้างกะบะ นับจากล่างขึ้นบน รถแต่ละคันความสูงจากท้องกะบะถึงซี่ไม้จะไม่เท่ากันครับ รถบางคันท้องลึก บางคันท้องตื้น ถ้าคิดปริมาตร 2.5 x 6 x สูงซัก1.2 ม. จะได้ 18 ลบ.ม. แต่ส่วนใหญ่ งานดินจะคิดค่าความโปร่งที่ 50% แสดงว่าเราได้ดินจริงๆ แค่ 9 ลบ.ม.
5. เวลาในการถม ก็ขึ้นอยู่กับระยะทาง ที่ดินจะเดินทางมาจากบ่อดิน และจำนวนรถที่ใช้ขนส่ง ถ้าใช้รถหลายคันวันนึงก็ขนได้หลายเที่ยว(อันนี้ก็แล้วแต่ความเหมาะสม เพราะระหว่างทางผู้รับเหมาอาจต้องจ่ายค่าความสะดวกในการผ่านทางบ้าง)
6. ส่วนการบดอัด ก็แล้วแต่ตกลงว่า จะถมอย่างเดียว หรือบดอัดด้วย
7. ราคาดิน จริงๆ แล้วสามารถต่อลองกันได้ครับ ขึ้นอยู่กับความพอใจของทั้งสองฝ่าย
ที่มา : POWERED BY@ HOMES.CO.TH
การถมที่สร้างบ้าน
ที่ดินเป็นท้องนาต่ำกว่าถนนประมาณ 1 เมตร ค่ะ จะถมปลูกบ้าน 200 ตารางวา และทำถนนทางเข้าด้วย จะใช้วัสดุอะไรดีคะ ระหว่างทรายขี้เป็ด ดิน ลูกรัง ราคาประมาณแต่ละชนิดเท่าใด และข้อดีข้อเสียของวัสดุแต่ละชนิด ขอบคุณค่ะ
.............................................................................................................................
1.ดินลูกรังคุณสมบัติในทางวิศวกรรมเหมาะกับการใช้งานถนนส่วนทรายขี้เป็ดเป็นทรายแม่น้ำที่มีส่วนผสมของสารอินทรีย์ ราคาถูก มีสีคลํ้าๆ ออกไปทางดำ รดนํ้าลงไปจะเห็นเศษคราบโคลนลอยแยกตัวขึ้นมา ใช้ผสมปูนในการก่อสร้างไม่ได้ ทรายขี้เป็ดระบายน้ำได้ดี และมีสารอาหารอยู่บ้างแต่ไม่เท่าดิน นิยมนำมาโรยบนหน้าดิน ก่อนทำสนามหญ้าและดินที่ใช้ถมที่โดยทั่วไปเป็นดินท้องนา แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาว่าฐานรากของบ้านท่านที่จะก่อสร้างเป็นเสาเข็มประเภทใด ถ้าเป็นเสาเข็มเจาะก็จะมีปริมาณดินที่เหลือจากการเจาะเพิ่มขึ้นอีก
2. ส่วนราคาของงานดินนั้นขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัยเช่น
2.1 ระยะทาง ระหว่างบ่อดินที่เราซื้อดินมากับสถานที่ก่อสร้าง(ราคาค่าขนส่ง)
2.2 ชนิดของดิน ดูจากความลึกของดินที่ขุดขึ้นมา หน้าดิน 0-0.50 ม.บางที่ก็ถึง1.00 ม. จะแพงที่สุด เหมาะสำหรับการปลูกต้นไม้(ดินจะมีสีดำ) ลึกกว่านี้ลงไปราคาจะถูกลง เพราะแร่ธาตุในดินจะน้อย ถมที่ดีแต่ไม่เหมาะจะปลูกต้นไม้แล้ว(ดินออกสีน้ำตาลๆ มีทรายปน) แต่ถ้าลึกลงไปมากๆ จนดินออกเป็นสีขาวๆ จะปลูกอะไรไม่ขึ้นเลย แต่นำมาใช้ถมได้ดีมาก ราคาถูกที่สุด
2.3 ลักษณะการถมดิน ถ้าใช้รถตัก-ตักดินแล้วเอามากองๆ ไว้ ดินจะดูเต็มเร็วแต่จะหลวมมาก และจะทรุดตัวในภายหลังอย่างมากด้วย ถ้าถมในลักษณะถมแล้วใช้รถบรรทุกถอยทับ ดินจะแน่นขึ้น จะได้ดินปริมาณมาก(แต่ผู้รับเหมาไม่ชอบ และดินต้องเป็นดินแห้ง) จะมีการถมลักษณะอื่นอีกหรือเปล่า แล้วแต่เทคนิคของผู้รับเหมาด้วย
2.4 การขนส่ง จะใช้รถบรรทุกเป็นส่วนมาก ความกว้างของกะบะรถ10 ล้อ ประมาณ 2.5 x 6 ม. ความสูง-ส่วนมากจะนับกันเป็น"ไม้" เช่น ไม้ 1 , ไม้ 2 อะไรทำนองนี้ "ไม้" คือ ไม้ที่เป็นซี่วางตามนอนด้านข้างกะบะ นับจากล่างขึ้นบน รถแต่ละคันความสูงจากท้องกะบะถึงซี่ไม้จะไม่เท่ากัน รถบางคันท้องลึก บางคันท้องตื้น ถ้าคิดปริมาตร 2.5 x 6 x สูงประมาณ1.20 ม. จะได้ 18 ลบ.ม. แต่ส่วนใหญ่ งานดินจะคิดค่าความโปร่งที่ 50% แสดงว่าเราได้ดินจริงๆ แค่ 9 ลบ.ม.
2.5 เวลาในการถม ก็ขึ้นอยู่กับระยะทาง ที่ดินจะเดินทางมาจากบ่อดิน และจำนวนรถที่ใช้ขนส่ง ถ้าใช้รถหลายคันวันหนึ่งก็ขนได้หลายเที่ยว(อันนี้ก็แล้วแต่ความเหมาะสม เพราะระหว่างทางผู้รับเหมาอาจต้องจ่ายค่าความสะดวกในการผ่านทางบ้าง)
2.6 ส่วนการบดอัด ก็แล้วแต่ตกลงว่าจะถมอย่างเดียวหรือบดอัดด้วย
2.7 ราคาดิน จริงๆ แล้วสามารถต่อรองกันได้ ขึ้นอยู่กับความพอใจของทั้งสองฝ่าย
3.วิธีการคิดปริมาณดินถม
3.1 เริ่มที่การคิดปริมาณดิน ก็คือ กว้างคูณยาวคูณสูง หรือพื้นที่คูณความสูงนั่นเอง ในกรณีที่พื้นที่เดิมไม่สม่ำเสมออาจจะต้องเฉลี่ยระดับ กรณีพื้นที่กว้างๆ มูลค่างานมาก ควรจะจ้างช่างสำรวจหาระดับดินในตำแหน่งต่างๆ แล้วคำณวณปริมาณดินออกมา
3.2 ราคาต่อหน่วย เมื่อทราบปริมาณดินที่ต้องการแล้วคูณด้วยราคาต่อหน่วยก็จะเป็นราคารวม ราคาต่อหน่วยนี้ต้องสูงกว่าราคาดินจากรถขนดิน เนื้องจากเวลานำดินมาบดอัดแล้วปริมาตรจะยุบตัวลงไป และผู้รับเหมาต้องบวกค่าดำเนินการ กำไรต่างๆด้วย ให้ลองตรวจสอบราคาดูกับผู้รับเหมาหลายๆราย ก็จะทำให้ท่านทราบราคากลาง
3.3 ข้อกำหนดในการทำงาน เช่นต้องลอกเลนหรือไม่(ควรจะลอก) บดอัดทุก 30 ซม หรือ 50 ซม. ซึ่งจะคุมเข้มแค่ไหนขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งานพื้นที่ เช่นพื้นที่ถมทิ้งไว้เฉยๆ หรือใช้จัดสวน ก็ควรมีการบดอัดบ้าง แต่ถ้าเป็นถนนต้องมีการบดอัดและควบคุมคุณภาพอย่างดีไม่งั้นถนนจะแตกร้าวได้
3.4 ตอนทำงานควรไปดูบ่อยๆด้วย ผู้รับเหมาจะได้ทำตามที่ได้ตกลงกัน
3.5 ก่อนเริ่มทำการถม ควรมีการทำระดับอ้างอิงไว้เพื่อตรวจสอบ เช่นการพ่นสี ตอกตะปูกำหนดระดับไว้ตามเสาไฟฟ้า หรือสิ่งก่อสร้างข้างเคียงที่มีลักษณะถาวร ไม่เคลื่อนย้าย เมื่อผู้รับเหมาจะส่งมอบงานจะได้ทำการตรวจสอบได้
ที่มา: กรมโยธาธิการและผังเมือง
.............................................................................................................................
1.ดินลูกรังคุณสมบัติในทางวิศวกรรมเหมาะกับการใช้งานถนนส่วนทรายขี้เป็ดเป็นทรายแม่น้ำที่มีส่วนผสมของสารอินทรีย์ ราคาถูก มีสีคลํ้าๆ ออกไปทางดำ รดนํ้าลงไปจะเห็นเศษคราบโคลนลอยแยกตัวขึ้นมา ใช้ผสมปูนในการก่อสร้างไม่ได้ ทรายขี้เป็ดระบายน้ำได้ดี และมีสารอาหารอยู่บ้างแต่ไม่เท่าดิน นิยมนำมาโรยบนหน้าดิน ก่อนทำสนามหญ้าและดินที่ใช้ถมที่โดยทั่วไปเป็นดินท้องนา แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาว่าฐานรากของบ้านท่านที่จะก่อสร้างเป็นเสาเข็มประเภทใด ถ้าเป็นเสาเข็มเจาะก็จะมีปริมาณดินที่เหลือจากการเจาะเพิ่มขึ้นอีก
2. ส่วนราคาของงานดินนั้นขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัยเช่น
2.1 ระยะทาง ระหว่างบ่อดินที่เราซื้อดินมากับสถานที่ก่อสร้าง(ราคาค่าขนส่ง)
2.2 ชนิดของดิน ดูจากความลึกของดินที่ขุดขึ้นมา หน้าดิน 0-0.50 ม.บางที่ก็ถึง1.00 ม. จะแพงที่สุด เหมาะสำหรับการปลูกต้นไม้(ดินจะมีสีดำ) ลึกกว่านี้ลงไปราคาจะถูกลง เพราะแร่ธาตุในดินจะน้อย ถมที่ดีแต่ไม่เหมาะจะปลูกต้นไม้แล้ว(ดินออกสีน้ำตาลๆ มีทรายปน) แต่ถ้าลึกลงไปมากๆ จนดินออกเป็นสีขาวๆ จะปลูกอะไรไม่ขึ้นเลย แต่นำมาใช้ถมได้ดีมาก ราคาถูกที่สุด
2.3 ลักษณะการถมดิน ถ้าใช้รถตัก-ตักดินแล้วเอามากองๆ ไว้ ดินจะดูเต็มเร็วแต่จะหลวมมาก และจะทรุดตัวในภายหลังอย่างมากด้วย ถ้าถมในลักษณะถมแล้วใช้รถบรรทุกถอยทับ ดินจะแน่นขึ้น จะได้ดินปริมาณมาก(แต่ผู้รับเหมาไม่ชอบ และดินต้องเป็นดินแห้ง) จะมีการถมลักษณะอื่นอีกหรือเปล่า แล้วแต่เทคนิคของผู้รับเหมาด้วย
2.4 การขนส่ง จะใช้รถบรรทุกเป็นส่วนมาก ความกว้างของกะบะรถ10 ล้อ ประมาณ 2.5 x 6 ม. ความสูง-ส่วนมากจะนับกันเป็น"ไม้" เช่น ไม้ 1 , ไม้ 2 อะไรทำนองนี้ "ไม้" คือ ไม้ที่เป็นซี่วางตามนอนด้านข้างกะบะ นับจากล่างขึ้นบน รถแต่ละคันความสูงจากท้องกะบะถึงซี่ไม้จะไม่เท่ากัน รถบางคันท้องลึก บางคันท้องตื้น ถ้าคิดปริมาตร 2.5 x 6 x สูงประมาณ1.20 ม. จะได้ 18 ลบ.ม. แต่ส่วนใหญ่ งานดินจะคิดค่าความโปร่งที่ 50% แสดงว่าเราได้ดินจริงๆ แค่ 9 ลบ.ม.
2.5 เวลาในการถม ก็ขึ้นอยู่กับระยะทาง ที่ดินจะเดินทางมาจากบ่อดิน และจำนวนรถที่ใช้ขนส่ง ถ้าใช้รถหลายคันวันหนึ่งก็ขนได้หลายเที่ยว(อันนี้ก็แล้วแต่ความเหมาะสม เพราะระหว่างทางผู้รับเหมาอาจต้องจ่ายค่าความสะดวกในการผ่านทางบ้าง)
2.6 ส่วนการบดอัด ก็แล้วแต่ตกลงว่าจะถมอย่างเดียวหรือบดอัดด้วย
2.7 ราคาดิน จริงๆ แล้วสามารถต่อรองกันได้ ขึ้นอยู่กับความพอใจของทั้งสองฝ่าย
3.วิธีการคิดปริมาณดินถม
3.1 เริ่มที่การคิดปริมาณดิน ก็คือ กว้างคูณยาวคูณสูง หรือพื้นที่คูณความสูงนั่นเอง ในกรณีที่พื้นที่เดิมไม่สม่ำเสมออาจจะต้องเฉลี่ยระดับ กรณีพื้นที่กว้างๆ มูลค่างานมาก ควรจะจ้างช่างสำรวจหาระดับดินในตำแหน่งต่างๆ แล้วคำณวณปริมาณดินออกมา
3.2 ราคาต่อหน่วย เมื่อทราบปริมาณดินที่ต้องการแล้วคูณด้วยราคาต่อหน่วยก็จะเป็นราคารวม ราคาต่อหน่วยนี้ต้องสูงกว่าราคาดินจากรถขนดิน เนื้องจากเวลานำดินมาบดอัดแล้วปริมาตรจะยุบตัวลงไป และผู้รับเหมาต้องบวกค่าดำเนินการ กำไรต่างๆด้วย ให้ลองตรวจสอบราคาดูกับผู้รับเหมาหลายๆราย ก็จะทำให้ท่านทราบราคากลาง
3.3 ข้อกำหนดในการทำงาน เช่นต้องลอกเลนหรือไม่(ควรจะลอก) บดอัดทุก 30 ซม หรือ 50 ซม. ซึ่งจะคุมเข้มแค่ไหนขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งานพื้นที่ เช่นพื้นที่ถมทิ้งไว้เฉยๆ หรือใช้จัดสวน ก็ควรมีการบดอัดบ้าง แต่ถ้าเป็นถนนต้องมีการบดอัดและควบคุมคุณภาพอย่างดีไม่งั้นถนนจะแตกร้าวได้
3.4 ตอนทำงานควรไปดูบ่อยๆด้วย ผู้รับเหมาจะได้ทำตามที่ได้ตกลงกัน
3.5 ก่อนเริ่มทำการถม ควรมีการทำระดับอ้างอิงไว้เพื่อตรวจสอบ เช่นการพ่นสี ตอกตะปูกำหนดระดับไว้ตามเสาไฟฟ้า หรือสิ่งก่อสร้างข้างเคียงที่มีลักษณะถาวร ไม่เคลื่อนย้าย เมื่อผู้รับเหมาจะส่งมอบงานจะได้ทำการตรวจสอบได้
ที่มา: กรมโยธาธิการและผังเมือง