ราคาวัสดุมุงหลังคาบ้าน

ด้านราคา (เฉพาะวัสดุมุงหลังคา)

ด้านความสามารถในการดูดซับความร้อน
เปรียบเทียบ ณ อุณหภูมิเดียวกันหลังคากระเบื้องแอมโมเนีย จะดูดซับความร้อนในปริมาณที่มากกว่ากระเบื้องใยหิน และสแกนรูฟ และในขณะเดียวกันหลังคากระเบื้องโมเนียสามารถคลายความร้อนได้ช้ากว่ากระเบื้องใยหินและกระเบื้องสแกนรูฟ
จากการเปรียบเทียบคุณภาพและคุณสมบัติ จะเห็นได้ว่าเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีชุบสีรูปโมเนีย มีข้อดีหลายประการ ทั้งนี้ในการมุงหลังคาต่อ 1 ตารางเมตร มีราคาสูงกว่ากระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา (กระเบื้องโมเนีย) และกระเบื้องใยหินประมาณร้อยละ 229 และ226 ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาปัจจัยด้านอื่นๆด้วย การใช้เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีชุมสีรูปโมเนีย ในการมุงหลังคา สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายจากงานฐานราก อาทิเช่น เสาเข็ม และเหล็กเส้น เป็นต้น เนื่องจากรับน้ำหนักจากหลังคาที่มีน้ำหนักเบากว่า และในระยะยาวประหยัดเรื่องค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงอีกด้วย

ที่มา: ผลงานทางวิชาการเพื่อรับการประเมินในระดับที่สูงขึ้นของนางสมพร จันทร์เกตุ
นักวิชาการพาณิชย์ 6ว. กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

home page: http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน

การเลือกซื้อวัสดุมุงหลังคา

การปลูกสร้างอาคาร ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัย อาคารโรงงานอุตสาหกรรมคลังสินค้าหรือสถานีบริการน้ำมัน ส่วนประกอบที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ วัสดุที่ใช้มุงหลังคา ในปัจจุบันมีให้ผู้บริโภคเลือกซื้อในท้องตลาดหลากหลายชนิด หลากหลายราคา เช่น กระเบื้องเคลือบ กระเบื้องใยหิน กระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ชุบสี เป็นต้น


หลังคาเป็นส่วนที่ตรวจสอบและบำรุงรักษาลำบากที่สุด จะก่อความเสียหายแก่ผู้ใช้โดยตรงหากเลือกวัสดุในการมุงหลังคาที่ไม่เหมาะสมกับประเภทสิ่งก่อสร้าง ดังนั้น ในการเลือกซื้อจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ เพราะอาจทำให้เกิดการแตกร้าวหรือการรั่วไหลของน้ำฝน การตัดสินใจเลือกซื้อวัสดุมุงหลังคาจึงควรเปรียบเทียบทั้งคุณภาพคุณสมบัติ และราคา โดยมีข้อพิจารณาขั้นพื้นฐาน ดังนี้



ประเภทกระเบื้องดินเผา



เช่น กระเบื้องว่าว ซึ่งมีมาแต่โบราณเมื่อประมาณสี่สิบปีแล้ว มีลักษณะเป็นดินเผาแผ่นเล็ก ๆ เวลามุงก็นำมาวางซ้อนต่อกันโดยวางสลับแนว เป็นกระเบื้องที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนัก เพราะไม่สามารถทำการผลิตเป็นแผ่นใหญ่ ๆ ไ ด้ เพราะไม่แข็งแรงพอ


ประเภทกระเบื้องกระดาษ



สามารถแบ่งออกได้เป็นกระเบื้องลูกฟูกลอนคู่,ลอนเล็ก, ลอนใหญ่ , กระเบื้องราง , กระเบื้องโค้ง เป็นกระเบื้องที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้สามารถมุงได้ต่อเนื้อที่กับจำนวนแผ่นน้อยลงสามารถทำหลังคาแบบเกือบแบนราบ มีความลาดเอียงได้น้อย ไม่มีปัญหาการระบายน้ำเพราะไม่มีการรั่วซึม



ประเภทกระเบื้องคอนกรีต



มีทั้งประเภทที่เคลือบสีสวยงามกับไม่เคลือบสี มีทั้งที่ผลิตด้วยเครื่อง มืออันทันสมัย เต็มไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่นกระเบื้องซีแพคโมเนีย กระเบื้องวิบูลย์ศรี และยี่ห้ออื่น ๆ อีกหลายอย่าง กระเบื้องคอนกรีตส่วนใหญ่ที่มีอยู่ 3 แบบคือ แบบลอนเหลี่ยม แบบลอนโค้ง เป็นกระเบื้องที่มีขนาด ลอนใหญ่ขึ้นอีกหน่อยและแบบลอนกาบกล้วย เป็นกระเบื้องที่มีขนาดลอนใหญ่ขึ้นอีกหน่อย ลักษณะคล้ายกาบกล้วย เหมือนกับกระเบื้องแบบของเก่าไทย


หากเปรียบเทียบ ณ อุณหภูมิเดียวกัน หลังคากระเบื้องแอมโมเนีย จะดูดซับความร้อนในปริมาณที่มากกว่ากระเบื้องใยหิน และสแกนรูฟ และในขณะเดียวกันหลังคากระเบื้องโมเนียสามารถคลายความร้อนได้ช้ากว่ากระเบื้องใยหินและกระเบื้องสแกนรูฟ



จากการเปรียบเทียบคุณภาพและคุณสมบัติ จะเห็นได้ว่าเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีชุบสีรูปโมเนีย มีข้อดีหลายประการ ในการมุงหลังคาต่อ 1 ตารางเมตร มีราคาสูงกว่ากระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา (กระเบื้องโมเนีย) และกระเบื้องใยหินประมาณร้อยละ 229 และ226 ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาปัจจัยด้านอื่น ๆ ด้วย การใช้เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีชุมสีรูปโมเนีย ในการมุงหลังคา สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายจากงานฐานราก อาทิเช่น เสาเข็ม และเหล็กเส้น เป็นต้น เนื่องจากรับน้ำหนักจากหลังคาที่มีน้ำหนักเบากว่า และในระยะยาวประหยัดเรื่องค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงอีกด้วย




ที่มาของข้อมูล: dit

วิธีคํานวณกระเบื้องมุงหลังคาซีแพคมุมเอียง 35 องศา

วิธีคำนวณกระเบื้องมุงหลังคา
 กระเบื้องซีแพคต่อตารางเมตรละ 11 แผ่น
ถ้าต้องการให้ได้กี่แผ่นต่อหลังคานั้น ต้องเอา ( พื้นที่หลังคา / Cos(seta) ) x 11 เมื่อ seta คือ มุมของความเอียงหลังคา
ตัวอย่าง พื้นที่หลังคา = 132 ตร.ม. (วัดตามแปลน กว้าง 11 เมตร ยาว 12 เมตร)
มุมเอียง 35 องศา
มุงกระเบื้องซีแพคได้ (132 / Cos(35) ) x 11 = 1773 แผ่น

กระเบื้องคอนกรีตโมเนีย  เริ่มมีการนำมาใช้เมื่อหลังคาปั้นหยาได้รับความนิยมกันมาก กระเบื้องคอนกรีตโมเนีย  จึงมีน้ำหนักในตัวดี สามารถต้านทานต่อการพัดปลิวของแรงลมได้  และคอนกรีตมีความแข็งแรงทนทานกว่าเมื่อเทียบกับกระเบื้องซีเมนต์ใยหิน แต่ก็มีข้อด้อยคือทำให้ต้องเพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้างหลังคามากขึ้น และราคาก็แพงขึ้นด้วย แต่ก็ยังเป็นที่นิยมสำหรับอาคารที่มีราคาค่อนข้างสูง เพราะความสวยงาม ความแปลกใหม่ สีสันสดใส ไม่เป็นเชื้อรา บริษัทรายแรก ๆ ต่อมามีบริษัทที่ผลิตเพิ่มเติม เช่น ยี่ห้อ Magma ผลิตโดยบริษัทโอลิมปิคกระเบื้องไทย จำกัด ยี่ห้อง V-con ผลิตโดยบริษัท ศรีกรุงธนบุรี จำกัด เป็นต้น นอกจากนี้ในช่วงที่โลหะแผ่นเคลือบ (metal  sheet) กลับมานิยมใช้กับหลังคาอีกครั้ง บริษัท กรุงเทพ จำกัด (BSI) จึงนำข้อดีของโลหะแผ่นเคลือบที่มีความเบา  สะท้อนความร้อนได้ดี ติดตั้งได้ง่าย มาผลิตปั้มขึ้นรูปเลียนแบบกระเบื้อโมเนีย เรียกว่า Scanroof ทำให้ได้กระเบื้องโมเนียน้ำหนักเบา และช่วยประหยัดโครงสร้างหลังคาลงได้ และล่าสุด บริษัท กระเบื้องหลังคาซีแพค จำกัด ก็ได้ผลิตกระเบื้องโมเนียรุ่นใหม่เรียกว่า Newstils ซึ่งเป็นชนิดผิวเรียบที่ไม่มีลอนโค้ง ลักษณะการมุงหลังคากระเบื้องคอนกรีตโมเนีย 

บริการรับเหมาติดตั้งงานโครงหลังคาและมุงกระเบื้องหลังคา สนใจติดต่อ 086 - 743 -1141 ครับ
home page: http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน