วัสดุปูพื้นบ้านเราอาจแยกใหญ่ ๆ ได้เป็น 5-6 ประเภท วัสดุเหล่านี้แต่ละอย่าง จะมีจุดเด่น จุดด้อยต่างกัน และมักเป็นปัญหาไม่จบสิ้นสำหรับท่านเจ้าของบ้านว่าจะเลือกอะไรดี
1. พื้นไม้จริง เป็นของธรรมดาพื้นบ้านมานมนานกาเล แต่ปัจจุบันกลายเป็นความใฝ่ฝันที่หลายคนอยากมี แต่ก่อนจะวางพื้นไม้บนตงและคาน ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างไปด้วย แต่ส่วนใหญ่ตอนนี้ มักจะปูบนพื้นคอนกรีตอีกที (ซึ่งต้องระมัดระวังวิธีกรรมในการปูให้ถูกต้อง ต้องมีการวางระแนงไม้ฝังในคอนกรีต และสูงกว่าผิวคอนกรีต ประมาณ 2 ซม. เพื่อความยืดหยุ่น และไม่โก่งงอ จากการอัดเข้าลิ้นภายหลัง) ราคาพื้นไม้นี้จะแพง แต่ให้ความรู้สึกดีมาก
2. พื้นปาเก้ คือชิ้นไม้เล็ก ๆ ที่ปูบนพื้นคอนกรีต มีทั้งแบบเข้าลิ้นรอบ และไม่เข้าลิ้น ราคาจะถูกกว่าพื้นไม้ธรรมดา สิ่งที่ต้องระวังในการปูก็คือ คอนกรีตจะต้องแห้งสนิท พร้อมทำกันซึมไว้ด้วย กาวจะต้องดี ปูปาเก้แล้วต้องทิ้งไว้นาน ๆ เพื่อให้กาวแห้งก่อนขัดพื้น และต้องไม่อัดแผ่นปาเก้แน่นเกินไป ไม่เช่นนั้นอาจโก่งงอระเบิดได้
3. กระเบื้องเคลือบ ราคาจะมีตั้งแต่ตารางเมตรละ 200 บาท จนถึง 5,000 บาท แล้วแต่ชนิดของกระเบื้อง ใช้ปูบนพื้นคอนกรีตที่ไม่จำเป็นต้องแห้งสนิท แต่ต้องกันซึมไว้เรียบร้อย การปูกระเบื้องเล่นลายเป็นสิ่งที่ต้องระวังมาก เพราะกระเบื้องแต่ละแผ่น แต่ละยี่ห้อจะมีขนาด – ความหนาไม่เท่ากัน ทำให้น่าเกลียดกว่าที่ออกแบบไว้มากทีเดียว ปัญหาของการปูกระเบื้อง ก็คือ กระเบื้องมักขาดตลาด (ในลายที่ต้องการ) และหากเสียหายแตกหักภายหลัง จะหาอะไหล่มาทดแทนไม่ได้ (ควรเก็บสต็อคกระเบื้องที่ใช้ไว้บ้าง)
4. หินอ่อน หรือแกรนิต เป็นของที่นิยมใช้กันมากขึ้น เพราะราคาเริ่มใกล้เคียงกับวัสดุปูพื้นอย่างอื่น สิ่งที่ต้องระวัง ก็คือ การเตรียมพื้นผิว จะต้องเผื่อระดับปูนทรายไว้ให้หนา (ประมาณ 2-3 ซม.) ไม่เช่นนั้น พื้นหินอ่อนจะปรับระดับไม่ได้ และต้องคิดไว้เสมอว่า หินอ่อนเป็นของธรรมชาติ ซึ่งคุณจะเลือกลายดังใจนึกไม่ได้ และอย่าปูหินอ่อนตากแดด ไม่เช่นนั้นจะเป็นฝ้าเป็นฟางหมด
5. พื้นพรม เป็นวัสดุที่สวย นุ่มนวล ไม่แพงนัก หรูหรา ติดตั้งง่าย แต่บำรุงรักษายาก และมีอายุการใช้งานสั้น หากต้องการเปลี่ยนบรรยากาศบ่อย ๆ หรือเร่งงานก่อสร้าง พรมเป็นวัสดุที่น่าใช้ทีเดียว
6. กระเบื้องยาง เป็นสิ่งสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ มีทั้งเป็นแผ่นเล็ก ๆ และเป็นผืนใหญ่ ทนทานดีทีเดียวเมื่อเทียบกับราคา บำรุงรักษาไม่ยากนัก แต่ให้ความรู้สึกที่เป็นสำนักงานมากไปหน่อย ปรับเปลี่ยนง่าย แต่ต้องระวังให้ดีว่าพื้นผิวที่เตรียมไว้ปูกระเบื้องยางจะต้องเรียบดีเป็นระดับ ต้องแห้ง และกันซึม ไม่เช่นนั้น เมื่อใช้งานแล้วจะเป็นหลุม หรือหลุดร่อน
ที่มา : www.elib-online.com
สัดส่วนคร่าว ๆ ที่นักประมาณราคาควรรู้
สัดส่วนคร่าว ๆ ที่นักประมาณราคาควรรู้ เพื่อการตรวจสอบปริมาณอย่างคร่าว ๆ (RECHECK) ในคอนกรีตปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร มีอะไรที่ควรจะสนใจบ้าง ตามข้าพเจ้ามา
1.คอนกรีต จำนวน 1 ลูกบาศก์เมตร
2.ไม้แบบประมาณ 5 ตารางเมตร ถึง 9 ตารางเมตร ขึ้นอยู่กับโครงสร้างเล็ก ใหญ่ แคบ หนา เป็นต้น
3.เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ประมาณ 80 - 120 กก./ลบ.ม. ขึ้นอยู่กับโครงสร้างหนา หรือบาง
4.ลวดผูกเหล็ก ประมาณ 1.44 กก. - 2.16 กก. ( ลวดผูกเหล็ก 18 กก.ต่อเหล็ก 1,000 กก. )
5.ตะปู ประมาณ 2.03 กก. - 2.61 กก. ( ไม้แบบ 1 ตร.ม. ใช้ตะปูประมาณ 0.29 กก. )
6.หากปริมาณสัดส่วนของวัสดุตัวใดไม่อยู่ในขอบเขตนี้ ให้ทำการตรวจสอบการคำนวณของท่านใหม่ เพราะโอกาสที่ท่านจะถอดแบบผิดจะมีเปอร์เซ็นต์สูงมาก
ที่มา:http://reocities.com
1.คอนกรีต จำนวน 1 ลูกบาศก์เมตร
2.ไม้แบบประมาณ 5 ตารางเมตร ถึง 9 ตารางเมตร ขึ้นอยู่กับโครงสร้างเล็ก ใหญ่ แคบ หนา เป็นต้น
3.เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ประมาณ 80 - 120 กก./ลบ.ม. ขึ้นอยู่กับโครงสร้างหนา หรือบาง
4.ลวดผูกเหล็ก ประมาณ 1.44 กก. - 2.16 กก. ( ลวดผูกเหล็ก 18 กก.ต่อเหล็ก 1,000 กก. )
5.ตะปู ประมาณ 2.03 กก. - 2.61 กก. ( ไม้แบบ 1 ตร.ม. ใช้ตะปูประมาณ 0.29 กก. )
6.หากปริมาณสัดส่วนของวัสดุตัวใดไม่อยู่ในขอบเขตนี้ ให้ทำการตรวจสอบการคำนวณของท่านใหม่ เพราะโอกาสที่ท่านจะถอดแบบผิดจะมีเปอร์เซ็นต์สูงมาก
ที่มา:http://reocities.com
ระบบพื้น ON GROUND ในบ้าน
สแลบออนบีม (SLAB ON BEAM) และ สแลบออนกราวด์ (SLAB ON GROUND) เป็นยังไงกัน
1.สแลบออนบีม คือระบบโครงสร้างของพื้นวางบนคาน โดยจะถ่ายน้ำหนักของพื้น และน้ำหนักที่มากระทำทั้งหมดบนพื้น ให้คานเป็นตัวรับน้ำหนัก วิธีนี้จะทำให้ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายของโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างคาน เพราะโครงสร้างดังกล่าวต้องรับภาระทั้งหมดของพื้นด้วย ระบบพื้นแบบนี้จะไม่ทรุด ไม่แตกร้าว ไม่เสียหายแบบสแลบออนกราวด์
2. สแลบออนกราวด์ คือระบบโครงสร้างของพื้นวางบนดิน โดยจะถ่ายน้ำหนักของพื้น และน้ำหนักที่มากระทำทั้งหมดบนพื้น ลงไปให้ดินเป็นตัวรับน้ำหนัก วิธีนี้จะทำให้ประหยัดโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างคานคอดิน เพราะถ่ายน้ำหนักลงดินตลอด แต่ถ้าดินทรุดพื้นก็ทรุดตามนะครับ ยิ่งหนักกว่านั้น โดยส่วนใหญ่เมื่อพื้นทรุดแตกร้าวลักษณะนี้ จะทำการทุบพื้นแล้วเทใหม่เป็นระบบ สแลบออนบีม การกระทำนี้ผิดอย่างร้ายกาจมากครับ อยู่ดี ๆ ท่านก็เอาภาระทั้งหมดของพื้นชั้นล่าง ไปถ่ายลงคานคอดิน ลงฐานราก และลงเสาเข็ม ซึ่งไม่ได้มีการออกแบบเผื่อในส่วนนี้เลย ท่านอาจต้องเสียใจอีกครั้งเมื่อโครงสร้างช่วงล่างของอาคารท่านอาจพังอีกครั้ง และพังมากกว่าเก่าอีก พยายามอย่าทำอะไรโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นะครับ ปรึกษาผู้รู้เท่านั้นจะช่วยท่านได้
ที่มา:http://reocities.com
1.สแลบออนบีม คือระบบโครงสร้างของพื้นวางบนคาน โดยจะถ่ายน้ำหนักของพื้น และน้ำหนักที่มากระทำทั้งหมดบนพื้น ให้คานเป็นตัวรับน้ำหนัก วิธีนี้จะทำให้ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายของโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างคาน เพราะโครงสร้างดังกล่าวต้องรับภาระทั้งหมดของพื้นด้วย ระบบพื้นแบบนี้จะไม่ทรุด ไม่แตกร้าว ไม่เสียหายแบบสแลบออนกราวด์
2. สแลบออนกราวด์ คือระบบโครงสร้างของพื้นวางบนดิน โดยจะถ่ายน้ำหนักของพื้น และน้ำหนักที่มากระทำทั้งหมดบนพื้น ลงไปให้ดินเป็นตัวรับน้ำหนัก วิธีนี้จะทำให้ประหยัดโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างคานคอดิน เพราะถ่ายน้ำหนักลงดินตลอด แต่ถ้าดินทรุดพื้นก็ทรุดตามนะครับ ยิ่งหนักกว่านั้น โดยส่วนใหญ่เมื่อพื้นทรุดแตกร้าวลักษณะนี้ จะทำการทุบพื้นแล้วเทใหม่เป็นระบบ สแลบออนบีม การกระทำนี้ผิดอย่างร้ายกาจมากครับ อยู่ดี ๆ ท่านก็เอาภาระทั้งหมดของพื้นชั้นล่าง ไปถ่ายลงคานคอดิน ลงฐานราก และลงเสาเข็ม ซึ่งไม่ได้มีการออกแบบเผื่อในส่วนนี้เลย ท่านอาจต้องเสียใจอีกครั้งเมื่อโครงสร้างช่วงล่างของอาคารท่านอาจพังอีกครั้ง และพังมากกว่าเก่าอีก พยายามอย่าทำอะไรโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นะครับ ปรึกษาผู้รู้เท่านั้นจะช่วยท่านได้
ที่มา:http://reocities.com