สำหรับหน่วยงานราชการ หน่วยงานกำกับของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจ ที่ต้องมีการจัดซื้อจัดหาครุภัณฑ์ เพื่อใช้ในการสนับสนุนให้การดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วงนั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนงบประมาณประจำปี และจำเป็นต้องรับทราบถึงเกณฑ์ราคามาตรฐานครุภัณฑ์ เพื่อช่วยให้หน่วยงานต่าง ๆ มีกรอบในการจัดซื้อจัดหาครุภัณฑ์ อันนำมาซึ่งความคุ้มค่าในการลงทุน และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันทางราคา จึงมีการกำหนดเกณฑ์ราคามาตรฐานของครุภัณฑ์ขึ้น ซึ่งเกณฑ์ราคามาตรฐานล่าสุดต่าง ๆ มีดังนี้
บัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ ตามที่สำนักมาตรฐานงบประมาณ สำนักงานประมาณ ประกาศเมื่อ มีนาคม 2554 โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bb.go.th
อัตราราคางานต่อหน่วย ตามที่สำนักมาตรฐานงบประมาณ สำนักงานประมาณ ประกาศเมื่อ มีนาคม 2554 โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bb.go.th
บัญชีราคามาตรฐานสิ่งก่อสร้าง ตามที่สำนักมาตรฐานงบประมาณ สำนักงานประมาณ ประกาศเมื่อ มีนาคม 2554 โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bb.go.th
เกณฑ์ราคาพื้นฐาน สำหรับอุปกรณ์ ICT ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกาศมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 เดือนพฤษภาคม ปีงบประมาณ 2554 โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mict.go.th
เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐาน ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์สำหรับงานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกาศมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 เดือนพฤษภาคม ปีงบประมาณ 2554 โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mict.go.th
ที่มา http://www.tistr.or.th
การเลือกใช้เสาเข็ม
ในบทความนี้จะกล่าวถึง ประเภทของฐานราก, ประเภทของเสาเข็ม? ว่ามีอะไรบ้าง และการเลือกใช้เสาเข็มชนิดต่างๆว่า จะมีวิธีการเลือกใช้อย่างไร
เท่าที่จำได้ประเภทของเสาเข็ม มีดังต่อไปนี้
1. เสาเข็ม สั้น พวกเสาเข็มไม้ หรือ เสาหกเหลี่ยมอัดแรงกลวง, ตัวไอ
2. เสาเข็มตอก เป็นคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จ จะมีหลายรูปทรง เช่น กลม เหลี่ยม ไอ เสาเข็มสปัน, เข็มเหล็ก
3. เข็มเจาะ
3.1 เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก (สามขาหยั่ง)
3.2 เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ (รถเครนติดหัวสว่าน คันยังกับยักษ์ เห็นตามโครงการใหญ่ๆในกรุงเทพ)
3.3 เข็มเจาะเสียบ (เจาะดิน เสียบเข็ม แล้วตอกซ้ำ)
3.4 ไมโครไพล์
นึกออกแค่นี้ครับ ใครรู้ว่ามีมากกว่านี้แนะนำด้วยครับ
จะใช้เสาเ็ข็มยังไง เอาทีละอันนะครับ
ก่อน อื่น ถ้าเป็นกรุงเทพ ฟันธง เสาเข็มแน่นอนเพราะดินอ่อน ปากแม่น้ำ ที่แถวนี้อดีตกาลเป็นทะเล ส่วนใหญ่ 90% ชั้นดินแข็ง อยู่ลึกลงไปใต้ดิน ประมาณ 19-22 เมตร ใกล้เคียงกันหมด แต่จะเป็นเสาเข็มประเภทไหน
็
1. เสาเข็มสั้น
พวกเสาเข็มไม้ หรือ เสาหกเหลี่ยมอัดแรงกลวง เป็นเสาเข็มที่ใช้สำหรับงาน หรืออาคารที่รับน้ำหนักไม่มาก หรือ ฐานรากแบบตอกเข็มปูพรม เช่นพวก รั้ว บ่อปลา กำแพงกันดิน แต่มีอาคารอยู่เยอะเหมือนกันที่ใช้เสาเข็มสั้น เพราะว่า น้ำหนักอาคารที่ลงแต่ละฐานไม่มากและใช้ฐานนึงหลายต้น เลยพอไหว ถามว่า มันจะทรุดไหม ตอบว่าทรุดครับแน่นอน 100% แต่ไม่พัง เพราะ มันจะทรุดตัวเท่าๆกัน ไม่เป็นไร ยืนยันได้ ตัวอย่างคือ บ้านยุคเก่าในกรุงเทพรวมทั้งบ้านผม เป็นเข็มสั้นเกือบทั้งหมด ผมได้ยินมาว่าตึกลุมพินี(ชื่อไม่แน่ใจ)ที่เป็นอาคารสูงยอดแหลมๆอยู่บนสี่แยก ลุมพินี(ตรงข้ามสวนลุมไนท์)ที่เป็นโรงแรมใหย่โตก็เป็นเสาเข็มสั้น เสาเข็มสั้นจะรับน้ำหนักได้จากแรงฝืดรอบตัวเสาเข็มกับดิน และตามหลักวิศวกรรมยอมรับได้ถ้ามันทรุดตัวเท่าๆกันครับ
2. เสาเข็มตอก
มันก็คือเสาเข็มตอกโดยใช้ปั้นจั่นนั่นหละครับ ส่วนใหญ่การตอกเข็มจำเป็นต้องตอกให้ลึกลงไปอยู่ที่ชั้นดินแข็ง ถ้าเป็นกรุงเทพ ก็อยู่ที่ความยาวประมาณ 21 เมตร ส่วนจะใช้เสาเข็มประเภทไหนรูปทรงอะไร ตอบคือ ถ้าเสาเข็มรูปตัว ไอจะเป็นเสาเข็มที่สามารถรับแรงฝืดรอบเสาเข็มแถมมาให้ด้วยเพราะการหล่อเสา เข็มเป็นรูปตัวไอ จะทำให้เสาเข็มมีพื้นที่รอบรูปมากขึ้นกว่า เสารูปสี่เหลี่ยมธรรมดา แต่มีข้อเสียของเสารูปตัวไอคือตอกยาก หักง่ายกว่าเสารูปสี่เหลี่ยม ที่มีพื้นที่หน้าตัดมากกว่า คนตอกเข็มสามารถตอกเข็มเหลี่ยมแรงๆได้มากกว่าเข็มไอ ถ้าเป็นดินแข็งๆ ส่วนใหญ่จะต้องเป็นเข็มเหลี่ยมครับ ไม่งั้นหัวเข็มกระจุย
ส่วนชนิดของเสา เข็มตอกส่วนใหญ่จะเป็นคอนกรีตอัดแรง ที่ต้องอัดแรงเพราะว่าจะสามารถหล่อคอนกรีตได้ยาวกว่าเข็มที่ไม่ได้อัดแรง (ไว้ทีหลังจะอธิบาเรื่องคอนกรีตอัดแรงอีกทีนะครับ มีสองอย่าง อัดแรงก่อน กับอัดแรงหลัง เรื่องมันยาว) จะต้อสั่งจากโรงงานผู้ผลิตเข็มเพื่อที่จะกำหนดคุณสมบัติของเสาเข็มด้วยครับ ไว้ว่าเราต้องการรับแรงเท่าไร
ที่สำคัญของเสาเข็ม อัดแรงอีกเรื่องนึงคือ การขนย้าย กับการยกเข็มขึ้นตอก จะต้องยกตามจุดที่โรงงานเขากำหนดมาให้เท่านั้น ถ้าสังเกตุเสาเข็มที่สั่งมาจากโรงงานนะครับจะเห็นว่าเขาจะมีห่วงอยู่ที่เสา เข็มมาให้ 2 ห่วง โดยเวลาขนส่งจะต้องยกที่ห่วงนี้เท่านั้น ไม่งั้นเข็มจะหักได้ก่อนตอก เสาเข็มจะเสียไปเลย เวลาเขามาส่งเสาที่หน้างานให้สังเกตุด้วยครับว่ามีเสาร้าวหรือเปล่า ถ้ามีให้คืนโรงงานกลับไปเลย หรือทิ้งเสาต้นนั้นไปครับ
เสาเข็มอีกแบบ หนึ่งทีเห็นบ่อยคือ เข็มสปัน จะเป็นเข็มกลม กลวงตรงกลาง มีเพลทเหล็กแปะที่หัวเสา ผลิตโดยใช้เครื่องจักรเหวี่ยง คอนกรีตขณะเทเสาให้กลวงตรงกลาง แล้วอัดแรง ข้อดีของเข็มสปันคือสามารถรับแรงได้มากๆ เหมาะสำหรับโครงการใหญ่ๆ ตอกลึกๆ แต่ข้อเสียคือเสาสปันสามารถรับแรงเฉือนหรือแรงดันจากด้านข้างได้น้อยครับ
หัวใจ สำคัญของเสาเข็มตอกที่ห้ามลืมคือ การเชคโบลเคาท์ครับ ต้องเชคทุกต้นอย่าลืม อย่าปล่อยละเลย ผมเคยเล่าไปแล้วในกระทู้ก่อน หาอ่านดูนะครับ
3. เสาเข็มเจาะ
เสาเข็มเจาะจะมีหลายแบบเท่าที่แยกออกมาได้คือ
3.1 เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก
แบบใช้สามขาหยั่ง ลักษณะของเสา เข็มแบบนี้คือการ ตอกปลอกเหล็กเป็นท่อนๆลงไปในดิน แล้วเจาะเอาดินในปลอกขึ้นมาทิ้ง จนถึงระดับดินที่ต้องการ เสร็จแล้ว ใส่เหล็ก เทคอนกรีตลงไปในหลุมที่เจาะไว้ แล้วก็ถอนปลอกออก เป็นอันเสร็จ
ข้อ ดีของเข็มเจาะแบบนี้มีหลายอย่างครับ อย่างแรกคือ มันจะไม่กระทบกระเทือนอาคารข้างเคียงเวลาตอกเข็มครับ เพราะว่าเวลาตอกเข็ม ดินบริเวณข้างเคียงในรัศมี 50 เมตรจะสะเทือนอาจมีผลทำให้อาคารข้างเคียงแตกร้าว หรือเสียหายได้ อาคารที่สร้างติดกับอาคารอื่นข้างเคียง หรืออาคารที่ต่อเติม จำเป็นต้องใช้เสาเข็มแแบบนี้ เพราะปลอดภัย ไม่ต้องกลัวมีปัญหา อีกอย่างคือการเจาะเข็มแบบนี้สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะเป็นสามขาหยั่ง สามารถเจาะเข็มชิดอาคารข้างเคียงหรือห่างจากผนังออกมาแค่ 0.75 เมตรได้ ความสูงที่ต้องการก็แค่ 3.00 เมตร สามารถมุดเข้าไปตอกเข็มที่ชั้นล่างของอาคารเก่าได้ใน กรณียต้องเสริมเสาเข็ม การรับน้ำหนักก็สามารถรับได้มากพอสมควร อาจมากกว่าเสาเข็มตอกด้วย แต่ข้อเสียก็มีครับ อย่างแรกคือราคาที่แพงกว่าเสาเข็มตอก ประมาณ 2 เท่า และการควบคุมงานควรจะต้องทั่วถึงเพราะในขั้นตอนการทำงาน บริษัทเข็มเจาะจะลักไก่ได้ตลอด เช่น เจาะไม่ถึงชั้นดินที่ควรเป็นบ้าง ไม่ใส่เหล็กให้ครบบ้าง หลุมพังในระหว่างเจาะบ้างทำให้เสาแคบเป็นคอขวด และอีกเยอะครับ ไว้จะตั้งกระทู้ใหม่ เล่ารายละเอียดพร้อมโฆษณาไปในตัวด้วย อิอิ
3.2 เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่
ผมไม่ค่อยรู้รายละเอียดเท่าไร คร่าวๆ หลักการมันก็เหมือนเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก แต่เจาะลงไปลึกกว่า ขนาดใหญ่กว่า มีขั้นตอนยุ่งยากกว่าครับ เท่าที่ทราบคือ โดยมากมันจะต้องเจาะให้ทะลุชั้นทราย ลงไปใต้ดิน มากกว่าเข็มเจาะขนาดเล็กจะทำได้ (เกิน 21 เมตร) และมันจะเจอตาน้ำ กับปัญหาการพังทลายของข้างหลุม ต้องใช้สารเคมีเรียกว่า เบนโทไนท์ ป้องกันดินพัง กับเครื่องจักรกลหนักในการทำงาน เช่นพวก steam hammer, Hydraulic jack, หรือการอัดน้ำ
3.3 เสาเข็มเจาะเสียบ
มันก็ใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเหมือนข้อ 2 นั่นแหละครับ แต่ตอนต้นจะเป็นการเจาะรูนำให้เกินระดับความลึกชั้นดินอ่อนเสียก่อน โดยใช้รถเจาะ แล้วค่อยแทงเข็มลงไปตอกซ้ำ ที่ต้องทำแบบนี้ เพราะเป็นการลดการสั่นสะเทือนของอาคารข้างเคียง อาจเป็นแค่บางแนวที่ใกล้กับอาคารข้างเคียงมากเกินไป ข้อเสียคือ จะการรับน้ำหนักของเข็มที่เกิดจากแรงเสียดทานด้านข้างจะลดลงไป และต้องทำงานซ้ำซ้อน ราคาแพงขึ้น
3.4 ไมโครไพล์
ผมไม่ค่อยรู้เรื่องเข็มแบบนี้มากนักครับ เป็นงานเฉพาะทาง ที่เสาเข็มเจาะสามขาหยั่งแบบข้อ 3.1 เข้าไปทำไม่ได้ เพราะไมโครไพล์ จะมีขนาดเล็กกว่า ใช้พื้นที่ในการทำงานน้อยกว่า และก็แพงกว่าด้วย คร่าวๆของไมโครไพล์คือ จะใช้ท่อเหล็กเป็นท่อนๆ ขนาดเส้นผ่าศูยน์กลาง ประมาณ 15-25 เซน ยาวท่อนละ 2-3 เมตร ปลาย 2ด้านเป็นเกลียว ต่อด้วยข้อต่อ ฝังลงไปในดิน แล้วอัดน้ำปูน และฝังท่อเหล็กที่ว่าเป็นเสาเข็มไปเลยครับ
แถม เสาเข็มอีกแบบครับ
3.6 เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก แบบใช้รถติดหัวสว่าน
เป็นรถสว่านทำเข็มเจาะขนาดเล็ก เป็นเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก เหมือนข้อ 3.1 แต่สามารถ เจาะความลึกได้จำกัด อาจแค่ 6-8 เมตร ขึ้นอยู่กับความยาวของสว่านที่วางอยู่หลังรถ 10ล้อแค่นั้น ถ้าเกินกว่านั้นก็ทำไม่ได้ ส่วนใหญ่ผมเห็นอยู่ตาม ภาคกลาง กับแถบชลบุรี ที่ชั้นดินมีความลึกไม่เกิน 8.00 เมตร รับงานเจาะเข็มได้ถูกกว่า เพราะขนย้ายง่ายและทำได้ง่ายกว่า
แหล่งที่มาข้อมูล http://borepile.com
เท่าที่จำได้ประเภทของเสาเข็ม มีดังต่อไปนี้
1. เสาเข็ม สั้น พวกเสาเข็มไม้ หรือ เสาหกเหลี่ยมอัดแรงกลวง, ตัวไอ
2. เสาเข็มตอก เป็นคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จ จะมีหลายรูปทรง เช่น กลม เหลี่ยม ไอ เสาเข็มสปัน, เข็มเหล็ก
3. เข็มเจาะ
3.1 เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก (สามขาหยั่ง)
3.2 เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ (รถเครนติดหัวสว่าน คันยังกับยักษ์ เห็นตามโครงการใหญ่ๆในกรุงเทพ)
3.3 เข็มเจาะเสียบ (เจาะดิน เสียบเข็ม แล้วตอกซ้ำ)
3.4 ไมโครไพล์
นึกออกแค่นี้ครับ ใครรู้ว่ามีมากกว่านี้แนะนำด้วยครับ
จะใช้เสาเ็ข็มยังไง เอาทีละอันนะครับ
ก่อน อื่น ถ้าเป็นกรุงเทพ ฟันธง เสาเข็มแน่นอนเพราะดินอ่อน ปากแม่น้ำ ที่แถวนี้อดีตกาลเป็นทะเล ส่วนใหญ่ 90% ชั้นดินแข็ง อยู่ลึกลงไปใต้ดิน ประมาณ 19-22 เมตร ใกล้เคียงกันหมด แต่จะเป็นเสาเข็มประเภทไหน
็
1. เสาเข็มสั้น
พวกเสาเข็มไม้ หรือ เสาหกเหลี่ยมอัดแรงกลวง เป็นเสาเข็มที่ใช้สำหรับงาน หรืออาคารที่รับน้ำหนักไม่มาก หรือ ฐานรากแบบตอกเข็มปูพรม เช่นพวก รั้ว บ่อปลา กำแพงกันดิน แต่มีอาคารอยู่เยอะเหมือนกันที่ใช้เสาเข็มสั้น เพราะว่า น้ำหนักอาคารที่ลงแต่ละฐานไม่มากและใช้ฐานนึงหลายต้น เลยพอไหว ถามว่า มันจะทรุดไหม ตอบว่าทรุดครับแน่นอน 100% แต่ไม่พัง เพราะ มันจะทรุดตัวเท่าๆกัน ไม่เป็นไร ยืนยันได้ ตัวอย่างคือ บ้านยุคเก่าในกรุงเทพรวมทั้งบ้านผม เป็นเข็มสั้นเกือบทั้งหมด ผมได้ยินมาว่าตึกลุมพินี(ชื่อไม่แน่ใจ)ที่เป็นอาคารสูงยอดแหลมๆอยู่บนสี่แยก ลุมพินี(ตรงข้ามสวนลุมไนท์)ที่เป็นโรงแรมใหย่โตก็เป็นเสาเข็มสั้น เสาเข็มสั้นจะรับน้ำหนักได้จากแรงฝืดรอบตัวเสาเข็มกับดิน และตามหลักวิศวกรรมยอมรับได้ถ้ามันทรุดตัวเท่าๆกันครับ
2. เสาเข็มตอก
มันก็คือเสาเข็มตอกโดยใช้ปั้นจั่นนั่นหละครับ ส่วนใหญ่การตอกเข็มจำเป็นต้องตอกให้ลึกลงไปอยู่ที่ชั้นดินแข็ง ถ้าเป็นกรุงเทพ ก็อยู่ที่ความยาวประมาณ 21 เมตร ส่วนจะใช้เสาเข็มประเภทไหนรูปทรงอะไร ตอบคือ ถ้าเสาเข็มรูปตัว ไอจะเป็นเสาเข็มที่สามารถรับแรงฝืดรอบเสาเข็มแถมมาให้ด้วยเพราะการหล่อเสา เข็มเป็นรูปตัวไอ จะทำให้เสาเข็มมีพื้นที่รอบรูปมากขึ้นกว่า เสารูปสี่เหลี่ยมธรรมดา แต่มีข้อเสียของเสารูปตัวไอคือตอกยาก หักง่ายกว่าเสารูปสี่เหลี่ยม ที่มีพื้นที่หน้าตัดมากกว่า คนตอกเข็มสามารถตอกเข็มเหลี่ยมแรงๆได้มากกว่าเข็มไอ ถ้าเป็นดินแข็งๆ ส่วนใหญ่จะต้องเป็นเข็มเหลี่ยมครับ ไม่งั้นหัวเข็มกระจุย
ส่วนชนิดของเสา เข็มตอกส่วนใหญ่จะเป็นคอนกรีตอัดแรง ที่ต้องอัดแรงเพราะว่าจะสามารถหล่อคอนกรีตได้ยาวกว่าเข็มที่ไม่ได้อัดแรง (ไว้ทีหลังจะอธิบาเรื่องคอนกรีตอัดแรงอีกทีนะครับ มีสองอย่าง อัดแรงก่อน กับอัดแรงหลัง เรื่องมันยาว) จะต้อสั่งจากโรงงานผู้ผลิตเข็มเพื่อที่จะกำหนดคุณสมบัติของเสาเข็มด้วยครับ ไว้ว่าเราต้องการรับแรงเท่าไร
ที่สำคัญของเสาเข็ม อัดแรงอีกเรื่องนึงคือ การขนย้าย กับการยกเข็มขึ้นตอก จะต้องยกตามจุดที่โรงงานเขากำหนดมาให้เท่านั้น ถ้าสังเกตุเสาเข็มที่สั่งมาจากโรงงานนะครับจะเห็นว่าเขาจะมีห่วงอยู่ที่เสา เข็มมาให้ 2 ห่วง โดยเวลาขนส่งจะต้องยกที่ห่วงนี้เท่านั้น ไม่งั้นเข็มจะหักได้ก่อนตอก เสาเข็มจะเสียไปเลย เวลาเขามาส่งเสาที่หน้างานให้สังเกตุด้วยครับว่ามีเสาร้าวหรือเปล่า ถ้ามีให้คืนโรงงานกลับไปเลย หรือทิ้งเสาต้นนั้นไปครับ
เสาเข็มอีกแบบ หนึ่งทีเห็นบ่อยคือ เข็มสปัน จะเป็นเข็มกลม กลวงตรงกลาง มีเพลทเหล็กแปะที่หัวเสา ผลิตโดยใช้เครื่องจักรเหวี่ยง คอนกรีตขณะเทเสาให้กลวงตรงกลาง แล้วอัดแรง ข้อดีของเข็มสปันคือสามารถรับแรงได้มากๆ เหมาะสำหรับโครงการใหญ่ๆ ตอกลึกๆ แต่ข้อเสียคือเสาสปันสามารถรับแรงเฉือนหรือแรงดันจากด้านข้างได้น้อยครับ
หัวใจ สำคัญของเสาเข็มตอกที่ห้ามลืมคือ การเชคโบลเคาท์ครับ ต้องเชคทุกต้นอย่าลืม อย่าปล่อยละเลย ผมเคยเล่าไปแล้วในกระทู้ก่อน หาอ่านดูนะครับ
3. เสาเข็มเจาะ
เสาเข็มเจาะจะมีหลายแบบเท่าที่แยกออกมาได้คือ
3.1 เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก
แบบใช้สามขาหยั่ง ลักษณะของเสา เข็มแบบนี้คือการ ตอกปลอกเหล็กเป็นท่อนๆลงไปในดิน แล้วเจาะเอาดินในปลอกขึ้นมาทิ้ง จนถึงระดับดินที่ต้องการ เสร็จแล้ว ใส่เหล็ก เทคอนกรีตลงไปในหลุมที่เจาะไว้ แล้วก็ถอนปลอกออก เป็นอันเสร็จ
ข้อ ดีของเข็มเจาะแบบนี้มีหลายอย่างครับ อย่างแรกคือ มันจะไม่กระทบกระเทือนอาคารข้างเคียงเวลาตอกเข็มครับ เพราะว่าเวลาตอกเข็ม ดินบริเวณข้างเคียงในรัศมี 50 เมตรจะสะเทือนอาจมีผลทำให้อาคารข้างเคียงแตกร้าว หรือเสียหายได้ อาคารที่สร้างติดกับอาคารอื่นข้างเคียง หรืออาคารที่ต่อเติม จำเป็นต้องใช้เสาเข็มแแบบนี้ เพราะปลอดภัย ไม่ต้องกลัวมีปัญหา อีกอย่างคือการเจาะเข็มแบบนี้สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะเป็นสามขาหยั่ง สามารถเจาะเข็มชิดอาคารข้างเคียงหรือห่างจากผนังออกมาแค่ 0.75 เมตรได้ ความสูงที่ต้องการก็แค่ 3.00 เมตร สามารถมุดเข้าไปตอกเข็มที่ชั้นล่างของอาคารเก่าได้ใน กรณียต้องเสริมเสาเข็ม การรับน้ำหนักก็สามารถรับได้มากพอสมควร อาจมากกว่าเสาเข็มตอกด้วย แต่ข้อเสียก็มีครับ อย่างแรกคือราคาที่แพงกว่าเสาเข็มตอก ประมาณ 2 เท่า และการควบคุมงานควรจะต้องทั่วถึงเพราะในขั้นตอนการทำงาน บริษัทเข็มเจาะจะลักไก่ได้ตลอด เช่น เจาะไม่ถึงชั้นดินที่ควรเป็นบ้าง ไม่ใส่เหล็กให้ครบบ้าง หลุมพังในระหว่างเจาะบ้างทำให้เสาแคบเป็นคอขวด และอีกเยอะครับ ไว้จะตั้งกระทู้ใหม่ เล่ารายละเอียดพร้อมโฆษณาไปในตัวด้วย อิอิ
3.2 เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่
ผมไม่ค่อยรู้รายละเอียดเท่าไร คร่าวๆ หลักการมันก็เหมือนเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก แต่เจาะลงไปลึกกว่า ขนาดใหญ่กว่า มีขั้นตอนยุ่งยากกว่าครับ เท่าที่ทราบคือ โดยมากมันจะต้องเจาะให้ทะลุชั้นทราย ลงไปใต้ดิน มากกว่าเข็มเจาะขนาดเล็กจะทำได้ (เกิน 21 เมตร) และมันจะเจอตาน้ำ กับปัญหาการพังทลายของข้างหลุม ต้องใช้สารเคมีเรียกว่า เบนโทไนท์ ป้องกันดินพัง กับเครื่องจักรกลหนักในการทำงาน เช่นพวก steam hammer, Hydraulic jack, หรือการอัดน้ำ
3.3 เสาเข็มเจาะเสียบ
มันก็ใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเหมือนข้อ 2 นั่นแหละครับ แต่ตอนต้นจะเป็นการเจาะรูนำให้เกินระดับความลึกชั้นดินอ่อนเสียก่อน โดยใช้รถเจาะ แล้วค่อยแทงเข็มลงไปตอกซ้ำ ที่ต้องทำแบบนี้ เพราะเป็นการลดการสั่นสะเทือนของอาคารข้างเคียง อาจเป็นแค่บางแนวที่ใกล้กับอาคารข้างเคียงมากเกินไป ข้อเสียคือ จะการรับน้ำหนักของเข็มที่เกิดจากแรงเสียดทานด้านข้างจะลดลงไป และต้องทำงานซ้ำซ้อน ราคาแพงขึ้น
3.4 ไมโครไพล์
ผมไม่ค่อยรู้เรื่องเข็มแบบนี้มากนักครับ เป็นงานเฉพาะทาง ที่เสาเข็มเจาะสามขาหยั่งแบบข้อ 3.1 เข้าไปทำไม่ได้ เพราะไมโครไพล์ จะมีขนาดเล็กกว่า ใช้พื้นที่ในการทำงานน้อยกว่า และก็แพงกว่าด้วย คร่าวๆของไมโครไพล์คือ จะใช้ท่อเหล็กเป็นท่อนๆ ขนาดเส้นผ่าศูยน์กลาง ประมาณ 15-25 เซน ยาวท่อนละ 2-3 เมตร ปลาย 2ด้านเป็นเกลียว ต่อด้วยข้อต่อ ฝังลงไปในดิน แล้วอัดน้ำปูน และฝังท่อเหล็กที่ว่าเป็นเสาเข็มไปเลยครับ
แถม เสาเข็มอีกแบบครับ
3.6 เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก แบบใช้รถติดหัวสว่าน
เป็นรถสว่านทำเข็มเจาะขนาดเล็ก เป็นเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก เหมือนข้อ 3.1 แต่สามารถ เจาะความลึกได้จำกัด อาจแค่ 6-8 เมตร ขึ้นอยู่กับความยาวของสว่านที่วางอยู่หลังรถ 10ล้อแค่นั้น ถ้าเกินกว่านั้นก็ทำไม่ได้ ส่วนใหญ่ผมเห็นอยู่ตาม ภาคกลาง กับแถบชลบุรี ที่ชั้นดินมีความลึกไม่เกิน 8.00 เมตร รับงานเจาะเข็มได้ถูกกว่า เพราะขนย้ายง่ายและทำได้ง่ายกว่า
แหล่งที่มาข้อมูล http://borepile.com
วิธีการเลือกใช้ฐานราก แบบฐานรากแผ่ หรือ แบบเสาเข็ม
สมมุติว่าเรา จะก่อสร้างอาคารสักอาคารนึง และเราจะเลือกฐานรากแบบไหนดี ความลึกของฐานราก หรือความลึกของเสาเข็มจะลึกเท่าไร
ส่วนตัวผมจะทำอย่างนี้ครับ
ถ้า ไม่ใช่กรุงเทพ อันดับแรกผมจะถามข้อมูลดินจากที่ข้างเคียงก่อน หรือบริษัทเสาเข็มเจ้าถิ่นครับ ว่าบริเวณนั้นเขาทำฐานรากยังไง ความลึกเท่าไรเป็นข้อมูลในใจ
แล้วคำนวนออกแบบโครงสร้างตามปรกติ ผมจะทราบน้ำหนักของอาคารที่ลงในฐานรากแต่ละฐานครับว่ามีน้ำนักกดลงไปเท่าไร
ที นี้ก็มาดูข้อมูลดิน ว่าเป็นยังไง ถ้ารู้ข้อมูลดินมาว่าแถวนั้น ตอกเข็มไม่ลง และ้ต้องเป็นฐานแผ่แน่ๆ ผมก็จะระบุไว้ในแบบ เพื่อความปลอดภัยว่า
“ผู้รับเหมาจะต้องทำการสำรวจชั้นดิน หรือทำการทดสอบการรับน้ำหนักของดินก่อนทำการก่อสร้าง”
ขั้นตอนต่อมาคือการตรวจสอบข้อมูลดิน ที่สถานที่จริง?? สำหรับการ ตรวจสอบส่วนใหญ่ จะมี 2 วิธีคือ การทำ Borring Log และการทำ plate barring Test (รายละเอียดค่อยว่ากันนะ คร่าวๆคืออันแรกเป็นการตวจสอบชั้นดิน อีกอันเป็นการเทสการรับน้ำหนักของชั้นดินครับ)
พอได้ข้อมูลดินที่แท้จริงจากบริษัทที่ทำการสำรวจแล้ว? ขั้นตอนต่อมาก็มาตัดสินใจว่า จะเลือกใช้ฐานรากแบบไหนอย่างไร ? วิธีการตัดสินใจคือ ถ้าดินในระยะตื้นๆที่สามารถทำฐานรากแผ่ได้นั้น สามารถรับน้ำหนักของอาคารได้เพียงพอ ก็จะทำการออกแบบฐานรากแผ่ตามความลึกตามที่ว่า? แต่ถ้าข้อมูลดินระบุว่าที่ระดับความลึกที่สามารถทำฐานรากแผ่นั้นไม่สามารถรับน้ำหนักอาคารของเราได้ ก็จำเป็นต้องพิจารณาเป็นฐานรากแบบเสาเข็มครับ
วิธีการออกแบบฐานรากแผ่ ว่าควรจะใหญ่ขนาดไหน ถ้าไม่มีข้อมูลดินจริงๆ ก็สามารถทำได้โดยการสมมุติ การรับน้ำหนักของดิน เรียกว่าเดาอย่างมีหลักการครับว่า
1. ภาคกลาง, ภาคเหนือ, อีสาน ใช้ 8 ตันต่อตารางเมตร
2. ภาคตะวันออก ชลบุรี, ระยอง ภาคใต้ ใช้ 10 ตันต่อตารางเมตร
3. โซนใกล้ ภูเขา มองเห็นภูเขา ใกล้ทะเล ใช้ 12 ตันต่อตารางเมตร
4. กรุงเทพ หรือดินอ่อน ที่อยากจะใช้ฐานแผ่ ใช้ 2 ตันต่อตารางเมตร
คร่าวๆ การออกแบบนะครับ ว่าขนาดฐานรากจะเป็นเท่าไรคือ น้ำหนักของอาคารที่ลงเสาเข็ม ลบ กับ การรับน้ำหนักของดินคูณกับพื้นที่ของฐานรากที่สัมผัสดิน
ตัวอย่างเช่น ภาคกลาง ใช้ ฐานราก 1×2 เมตร(ยังไม่พูดถึงความหนานะ) จะรับน้ำหนักอาคารได้ 16 ตันครับ (8×1x2=16)ทีนี้ พอถึงเวลาการก่อสร้างจริง หน้าที่ของผู้รับเหมาก็จะต้องไปตรวจสอบสอบพื้นที่ จริงครับว่าชั้นดินแข็งที่ว่า รับน้ำหนักได้ 8 ตัน 10 ตันอยู่ครงไหน ลึกไปจากผิวดินอยู่เท่าไร
ส่วนมากอย่างน้อยๆ ควรจะลึกลงไปไม่ต่ำกว่า 1.00 เมตร โดยไม่รวมดินถมนะครับ ถ้ามีดินถมก็ต้องจากระดับดินถมลงไป เพราะดินถมรับน้ำหนักไม่ได้พอ
วิธีสังเกตุ ตอนคนงานขุด หรือแมคโคจ้วงลงไป คือลักษณะดินจะเป็นชั้นๆ มีสีต่างๆกัน และมีลักษณะดิน ไม่เหมือนกัน ตอนขุดลงไป คอยสังเกตุครับดินที่รับงน้ำหนักได้ดีควร จะเป็นดินแข็ง, ลูกรัง, ทราย หรือดินปนทราย, ถ้าเป็นดินเหนียว หรือดินปลูกต้นไม้ยังใช้ไม่ได้ ใหุ้ขุดลงไปอีก แต่ชั้นดินที่แข็งมันก็ยังเป็นชั้นๆอีกครับ ถ้าทะลุชั้นดินแข็งลงไปอาจจะกลายเป็นดินอ่อนอีกรอบก็ได้ไม่แน่
เพื่อนๆ อาจเคยเห็น อาคารบางอาคาร ที่อยู่ในบริเวณที่ไม่น่าจะต้องตอกเข็ม เช่นชายทะเล เชิงเขา แต่ ก็ยังตอกเข็มอีก เป็นเพราอะไร
ตอบคือ น้ำหนักของอาคารที่ลงในแต่ละเสาเข็มมันมากเกินกว่าที่จะทำฐานแผ่นั่นเองครับ ดินมันรับไม่ไหว ถ้าจะทำฐานแผ่ ฐานอาจต้องใหญ่มากๆ
วิศวกรเลยจำเป็นต้องออกแบบให้ตอกเข็ม ทั้งๆที่ตอกยาก
และฝาก นิดนึงครับ สำหรับ ท่านผู้ออกแบบทั้งหลาย ว่าการ ออกแบบอาคารที่มี span ยาวๆ หรือการออกแบบเสา คานที่ไม่ตรง grid line เยื้องไปเยื้องมาที่ท่านชอบนั้น จะทำให้อาคารนั้นมีน้ำหนักลงไปฐานรากมากกว่าปรกติ และก็เปลืองกว่าด้วยครับ
บางทีดินอาจรับไม่ไหวก็ได้ ถ้าสามารถเลือกได้ควรออกแบบให้เป็น กริดๆ ตารางๆ และก็ span เสาไม่ยาวเกินไปครับ เรื่องนี้ผมเถียงกับสถาปนิกที่เป็นเพื่อนกันมานานมาก แบบว่าจะเอาถูกๆ แต่เล่นออกแบบ ยึกยักๆ กริดไลน์เยอะมาก span ก็ห่างๆ พอเห็นขนาด กับจำนวนเสาเข็มก็แทบเป็นลมเรื่องราคาค่าก่อสร้าง? แต่ก็อย่างว่าทำไงได้? การออกแบบอาคารให้ถื่อเกินไปบางที ก็รับไม่ได้เหมือนกันครับ
แหล่งที่มาข้อมูล http://borepile.com
ส่วนตัวผมจะทำอย่างนี้ครับ
ถ้า ไม่ใช่กรุงเทพ อันดับแรกผมจะถามข้อมูลดินจากที่ข้างเคียงก่อน หรือบริษัทเสาเข็มเจ้าถิ่นครับ ว่าบริเวณนั้นเขาทำฐานรากยังไง ความลึกเท่าไรเป็นข้อมูลในใจ
แล้วคำนวนออกแบบโครงสร้างตามปรกติ ผมจะทราบน้ำหนักของอาคารที่ลงในฐานรากแต่ละฐานครับว่ามีน้ำนักกดลงไปเท่าไร
ที นี้ก็มาดูข้อมูลดิน ว่าเป็นยังไง ถ้ารู้ข้อมูลดินมาว่าแถวนั้น ตอกเข็มไม่ลง และ้ต้องเป็นฐานแผ่แน่ๆ ผมก็จะระบุไว้ในแบบ เพื่อความปลอดภัยว่า
“ผู้รับเหมาจะต้องทำการสำรวจชั้นดิน หรือทำการทดสอบการรับน้ำหนักของดินก่อนทำการก่อสร้าง”
ขั้นตอนต่อมาคือการตรวจสอบข้อมูลดิน ที่สถานที่จริง?? สำหรับการ ตรวจสอบส่วนใหญ่ จะมี 2 วิธีคือ การทำ Borring Log และการทำ plate barring Test (รายละเอียดค่อยว่ากันนะ คร่าวๆคืออันแรกเป็นการตวจสอบชั้นดิน อีกอันเป็นการเทสการรับน้ำหนักของชั้นดินครับ)
พอได้ข้อมูลดินที่แท้จริงจากบริษัทที่ทำการสำรวจแล้ว? ขั้นตอนต่อมาก็มาตัดสินใจว่า จะเลือกใช้ฐานรากแบบไหนอย่างไร ? วิธีการตัดสินใจคือ ถ้าดินในระยะตื้นๆที่สามารถทำฐานรากแผ่ได้นั้น สามารถรับน้ำหนักของอาคารได้เพียงพอ ก็จะทำการออกแบบฐานรากแผ่ตามความลึกตามที่ว่า? แต่ถ้าข้อมูลดินระบุว่าที่ระดับความลึกที่สามารถทำฐานรากแผ่นั้นไม่สามารถรับน้ำหนักอาคารของเราได้ ก็จำเป็นต้องพิจารณาเป็นฐานรากแบบเสาเข็มครับ
วิธีการออกแบบฐานรากแผ่ ว่าควรจะใหญ่ขนาดไหน ถ้าไม่มีข้อมูลดินจริงๆ ก็สามารถทำได้โดยการสมมุติ การรับน้ำหนักของดิน เรียกว่าเดาอย่างมีหลักการครับว่า
1. ภาคกลาง, ภาคเหนือ, อีสาน ใช้ 8 ตันต่อตารางเมตร
2. ภาคตะวันออก ชลบุรี, ระยอง ภาคใต้ ใช้ 10 ตันต่อตารางเมตร
3. โซนใกล้ ภูเขา มองเห็นภูเขา ใกล้ทะเล ใช้ 12 ตันต่อตารางเมตร
4. กรุงเทพ หรือดินอ่อน ที่อยากจะใช้ฐานแผ่ ใช้ 2 ตันต่อตารางเมตร
คร่าวๆ การออกแบบนะครับ ว่าขนาดฐานรากจะเป็นเท่าไรคือ น้ำหนักของอาคารที่ลงเสาเข็ม ลบ กับ การรับน้ำหนักของดินคูณกับพื้นที่ของฐานรากที่สัมผัสดิน
ตัวอย่างเช่น ภาคกลาง ใช้ ฐานราก 1×2 เมตร(ยังไม่พูดถึงความหนานะ) จะรับน้ำหนักอาคารได้ 16 ตันครับ (8×1x2=16)ทีนี้ พอถึงเวลาการก่อสร้างจริง หน้าที่ของผู้รับเหมาก็จะต้องไปตรวจสอบสอบพื้นที่ จริงครับว่าชั้นดินแข็งที่ว่า รับน้ำหนักได้ 8 ตัน 10 ตันอยู่ครงไหน ลึกไปจากผิวดินอยู่เท่าไร
ส่วนมากอย่างน้อยๆ ควรจะลึกลงไปไม่ต่ำกว่า 1.00 เมตร โดยไม่รวมดินถมนะครับ ถ้ามีดินถมก็ต้องจากระดับดินถมลงไป เพราะดินถมรับน้ำหนักไม่ได้พอ
วิธีสังเกตุ ตอนคนงานขุด หรือแมคโคจ้วงลงไป คือลักษณะดินจะเป็นชั้นๆ มีสีต่างๆกัน และมีลักษณะดิน ไม่เหมือนกัน ตอนขุดลงไป คอยสังเกตุครับดินที่รับงน้ำหนักได้ดีควร จะเป็นดินแข็ง, ลูกรัง, ทราย หรือดินปนทราย, ถ้าเป็นดินเหนียว หรือดินปลูกต้นไม้ยังใช้ไม่ได้ ใหุ้ขุดลงไปอีก แต่ชั้นดินที่แข็งมันก็ยังเป็นชั้นๆอีกครับ ถ้าทะลุชั้นดินแข็งลงไปอาจจะกลายเป็นดินอ่อนอีกรอบก็ได้ไม่แน่
เพื่อนๆ อาจเคยเห็น อาคารบางอาคาร ที่อยู่ในบริเวณที่ไม่น่าจะต้องตอกเข็ม เช่นชายทะเล เชิงเขา แต่ ก็ยังตอกเข็มอีก เป็นเพราอะไร
ตอบคือ น้ำหนักของอาคารที่ลงในแต่ละเสาเข็มมันมากเกินกว่าที่จะทำฐานแผ่นั่นเองครับ ดินมันรับไม่ไหว ถ้าจะทำฐานแผ่ ฐานอาจต้องใหญ่มากๆ
วิศวกรเลยจำเป็นต้องออกแบบให้ตอกเข็ม ทั้งๆที่ตอกยาก
และฝาก นิดนึงครับ สำหรับ ท่านผู้ออกแบบทั้งหลาย ว่าการ ออกแบบอาคารที่มี span ยาวๆ หรือการออกแบบเสา คานที่ไม่ตรง grid line เยื้องไปเยื้องมาที่ท่านชอบนั้น จะทำให้อาคารนั้นมีน้ำหนักลงไปฐานรากมากกว่าปรกติ และก็เปลืองกว่าด้วยครับ
บางทีดินอาจรับไม่ไหวก็ได้ ถ้าสามารถเลือกได้ควรออกแบบให้เป็น กริดๆ ตารางๆ และก็ span เสาไม่ยาวเกินไปครับ เรื่องนี้ผมเถียงกับสถาปนิกที่เป็นเพื่อนกันมานานมาก แบบว่าจะเอาถูกๆ แต่เล่นออกแบบ ยึกยักๆ กริดไลน์เยอะมาก span ก็ห่างๆ พอเห็นขนาด กับจำนวนเสาเข็มก็แทบเป็นลมเรื่องราคาค่าก่อสร้าง? แต่ก็อย่างว่าทำไงได้? การออกแบบอาคารให้ถื่อเกินไปบางที ก็รับไม่ได้เหมือนกันครับ
แหล่งที่มาข้อมูล http://borepile.com
แต่งบ้านราคาประหยัด
ในยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ดอย่างทุกวันนี้ ค่าน้ำมันก็แพงขึ้นทุกวัน ทำให้ข้าวของอย่างอื่นแพงตามไปด้วย อยากจะหนีความวุ่นวายภายนอกมาพักผ่อนอยู่กับบ้าน แต่ตามประสาคนรักบ้าน อยู่บ้านก็ต้องอยากแต่งบ้านเป็นธรรมดา เรามีไอเดียในการแต่งบ้านแบบประหยัด ที่จะช่วยทำให้บ้านยังคงเป็นสถานที่พิเศษที่พร้อมจะรองรับคุณในทุกสภาวะเศรษฐกิจ
1.ประหยัดด้วยไอเดีย เปลี่ยนสีบนผนัง การทาสีผนังบ้านใหม่ นับเป็นวิธีแต่งบ้านที่ง่าย ประหยัด และได้ผลดีที่สุดทางหนึ่ง ลงทุนแค่สีน้ำพลาสติกสีสวยๆ กับแปรงทาสีอีกสักอันราคารวมกันไม่เท่าไหร่ มาจัดการเปลี่ยนผนังเก่าสีหมองในบ้านให้ดูสวยสดใสขึ้น เท่านี้ก็สามารถสร้างบรรยากาศแปลกใหม่ในบ้านได้ ด้วยราคาแบบสบายกระเป๋า
2.เก็บสายไฟในท่อ การเดินสายไฟแบบฝังในผนังดูเรียบร้อยก็จริง แต่จะซ่อมแซมหรือเดินเพิ่มทั้งทีก็ต้องทุบผนัง เสียสตางค์และเสียเวลา ลองเปลี่ยนมาเดินลอยบนผนัง โดยร้อยใส่ท่อเหล็กแล้วอาจทาสีทับให้ดูเรียบร้อย ช่วยประหยัดงบประมาณในการดูแลรักษาและซ่อมแซม
3.ปรับแสงปรับอารมณ์ เปลี่ยนสีของหลอดฟลูออเรสเซนต์ทั่วๆไป โดยนำมาหุ้มด้วยปลอกพลาสติกหลากสีราคาเพียงปลอกละ 10 บาทซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป เพียงเท่านี้ก็จะได้หลอดไฟสีสวย ไว้ใช้ตกแต่งและสร้างบรรยากาศของบ้านได้ ในราคาถูกและช่วยประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดนีออน
4.เปลี่ยนโครงสร้างบ้านเป็นเฟอร์นิเจอร์ ใช้ประโยชน์จากส่วนโครงสร้างของบ้าน เช่น ช่องว่างระหว่างเสา โดยติดแผ่นไม้ทำเป็นชั้นวางของ ติดประตูบานเลื่อนเพื่อกันฝุ่น หรือติดม่านกั้นแทนบานตู้ เท่ากับว่าเราประหยัดงบประมาณเงินค่าทำเฟอร์นิเจอร์ทั้งด้านหลังและด้านข้าง นอกจากนี้อาจก่อปูนสูงสัก 40 เซนติเมตร หรือติดแผ่นไม้วางเบาะเพื่อทำเป็นม้านั่งก็ได้ ช่วยประหยัดงบประมาณในการทำเฟอร์นิเจอร์ไปได้เยอะ
5. ปรับเปลี่ยนได้ หนึ่งชิ้นหลายหน้าที่ เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่เปลี่ยนหน้าที่การใช้งานได้อย่างเช่น โซฟาเบด ที่สามารถใช้นั่งหรือปรับเป็นเตียงนอนได้ ราคาต่อชิ้นอาจจะแพงกว่าสักหน่อย แต่ด้วยประโยชน์ที่หลากหลายก็ช่วยให้คุณประหยัดได้กว่าการซื้อเฟอร์นิเจอร์หลายชิ้น
6.ยืดได้หดได้ เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบที่สามารถ ปรับเปลี่ยนขนาด ย่อขยาย ยืดหด วางต่อ หรือซ้อนชั้นกันได้ เพื่อรองรับการใช้งานในหลากหลายรูปแบบตามความต้องการ ช่วยให้คุณประหยัดได้ทั้งงบประมาณและพื้นที่ใช้สอย
7.เคลื่อนที่ได้ สำหรับเฟอร์นิเจอร์ชิ้นที่ไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก อย่างโต๊ะที่มีล้อเลื่อน จะช่วยให้เราสลับตำแหน่งและการใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น โต๊ะรับประทานอาหารขนาดเล็ก เลื่อนไปใช้งานในครัวเมื่อต้องทำอาหารมื้อใหญ่ วิธีนี้ช่วยประหยัดไปได้ตั้งครึ่ง
8.แต่งบ้านอย่างมีแผน วางแผนก่อนเพื่อเห็นภาพรวม เหมือนมืออาชีพที่ต้องเขียนแบบแปลน ก่อนจะเริ่มตกแต่งคุณเองควรเขียนแบบแปลนหรือแผนการตกแต่งทั้งหมด เพื่อช่วยให้เห็นภาพรวมและรู้ว่าควรทำอะไรก่อนหลัง เช่น ควรทาสีผนังให้เรียบร้อยก่อนเก็บงานที่พื้น เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดจนต้องทำงานซ้ำซ้อน ซึ่งส่งผลต่อสตางค์ในกระเป๋าของคุณอย่างแน่นอน
9.แต่งบ้านทีละระยะ การแต่งบ้านให้เสร็จลุล่วงในคราวเดียวเป็นเรื่องที่ดี แต่อาจทำให้กระเป๋าฉีกได้ ลองแบ่งงานตกแต่งบ้านทั้งหมด(ตามแผนที่คุณวางไว้) ออกเป็นช่วงๆโดยให้ระยะแรกเป็นส่วนที่จำเป็นที่สุดก่อน แล้วดำเนินการทีละขั้นตอน เมื่อระยะแรกจบอาจทิ้งช่วงเก็บสตางค์สักพัก จากนั้นจึงเริ่มช่วงต่อไป กว่าจะเสร็จอาจใช้เวลาสักหน่อย แต่เพื่อไม่ให้คุณต้องรับภาระหนักเกินไป และยังเป็นการให้เวลาตัวคุณสรรหาของที่ถูกใจจริงๆอีกด้วย
10.ซื้อช่วงลดราคาถูกกว่าเยอะ ร้านขายของแต่งบ้านเกือบทุกร้านจะมีช่วงลดกระหน่ำประจำปี โดยเฉพาะร้านใหญ่ๆอย่าง Modernform Index Habitat ซึ่งหากเราอดใจรอซื้อในช่วงลดราคา ก็จะได้ของดีที่ราคาถูกกว่ามาก โดยเฉพาะของชิ้นใหญ่ใช้งบเยอะอย่าง ที่นอน โซฟา เตียง หรือตู้เสื้อผ้า รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆด้วย แต่คุณอาจต้องจดบันทึกสักหน่อยว่าร้านที่คุณไปเล็งๆของไว้นั้น เขาลดราคากันช่วงไหน เดือนไหนของปี บางที่ลดปีละ 2 หน เพื่อปีถัดไปคุณจะได้วางแผนการช็อป(และเตรียมเก็บเงิน)ได้พอดี และต้องตาดีพอจะเลือกของ คนละเวลา คนละสถานที่ แล้วนำมาเข้าชุดกันได้
DIY ทำเองก็ได้ไม่ต้องซื้อ
11. วอลล์เปเปอร์ทำมือ วอลล์เปเปอร์ที่กำลังอินเทรนด์ ช่วยให้ผนังบ้านคุณดูน่าสนใจทีเดียว แต่ราคาก็สูงเช่นกัน แล้วถ้าลองทำเองล่ะ โดยใช้แผ่นแฟ้มพลาสติกฉลุลาย(ลอกจากในหนังสือแต่งบ้านก็ได้)ใช้เป็นแบบ แล้วนำไปพ่นสีสเปย์หรือทาสีที่ต่างจากผนัง ให้สีลอดส่วนที่ฉลุลงไปบนผนังจนเกิดเป็นลวดลายบนผนัง เพียงเท่านี้คุณจะได้วอลล์เปเปอร์ลายสวยไม่ซ้ำใครในราคาสุดประหยัด
12. สวยด้วยผ้า ไปเดินเลือกผ้าลายสวยราคาไม่แพงสักผืนจากพาหุรัด นำมาบวกกับไอเดียและฝีมือเย็บปักถักร้อยของคุณ ก็สามารถใช้ทำของตกแต่งบ้านอย่างง่ายๆในราคาแสนถูก โดยนำมาใช้เย็บเป็นปลอกหมอน หรือทำเป็นเบาะรองนั่ง ช่วยให้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นเก่าของคุณให้ดูสวยน่าใช้ยิ่งขึ้น
13. ใช้ผ้าซ่อนความเก่า เก้าอี้นั่งที่ดูเก่าและเชย หรือโซฟาสมัยคุณยายที่ขาดแล้ว หากยังไม่มีสตางค์เอาไปซ่อมหรือซื้อของใหม่ ลองเย็บผ้าคลุมดูไหม โดยเลือกผ้าลายสวยที่ชอบเย็บให้ได้รูปทรง แล้วสวมทับลงไปปิดบังความเก่า และใช้งบน้อยมาก ใครที่นึกวิธีทำไม่ออก เราแนะให้ไปดูหนังสือ Sott Furnishings ของสำนักพิมพ์บ้านและสวน มีไอเดียเกี่ยวกับผ้าและแพตเทิร์นให้ทำตามมากมาย
14. บางอย่างใช้แทนกันได้ สมมุติว่าเป็นไม้ ม่านปรับแสงไม้ขาดแผ่นกว้าง 2 นิ้วกำลังเป็นที่นิยม ช่วยให้บ้านมีอารมณ์สบายแบบรีสอร์ท แต่ราคาค่อนข้างสูง คุณอาจเลือกใช้ม่านปรับแสงที่ทำจากอะลูมิเนียมแทน โดยเลือกขนาดของแผ่นม่านให้เท่ากัน ขึงด้วยแถบผ้าสีเข้มๆ เช่น สีดำหรือสีน้ำตาล ก็จะได้ม่านปรับแสงที่ดูดีแต่ราคาถูกกว่าเยอะ
15. สมมุติว่าเป็นโต๊ะ กล่อง ลัง หรือกระเป๋าเดินทาง แทนที่จะใช้เก็บของแล้ววางซ่อนอยู่มุมห้องเพียงอย่างเดียว เมื่อนำมาวางซ้อนกันยังสามารถใช้ทำเป็นโต๊ะกลาง หรือโต๊ะวางของอย่างง่ายๆ ช่วยประหยัดเหมือนได้เฟอร์นิเจอร์อีกชิ้นโดยไม่ต้องซื้อเพิ่ม
16. สมมุติว่าเป็นผนัง ถ้าคุณจำเป็นต้องแบ่งสัดส่วนของห้องเพิ่ม แต่ยังไม่มีสตางค์พอที่จะทำผนังเบา ลองทำราวเพื่อแขวนผ้าม่านขนาดยาวแทน โดยเลือกให้ขนาดของแผ่นผ้าม่านเท่ากัน นอกจากจะราคาถูกกว่าแล้วยังสามารถรูดม่านเก็บได้เมื่อต้องการเปิดพื้นที่โล่ง หรือปรับเปลี่ยนลายผ้าได้ไม่ยากด้วย
17. วงกบสีดำ ดูเหมือนแพง แทนที่ต้องใช้วงกบ UPVC หรือวงกบไม้ที่ราคาสูง วงกบอะลูมิเนียมสีดำก็ดูเท่ ดูดีได้ ราคาก็ถูกกว่ากันเยอะ แถมเข้ากับบ้านได้ทุกสไตล์ เป็นทางเลือกที่สถาปนิกนิยมเลือกใช้ เพราะประตูหน้าต่างแบบเรียบๆ กับกรอบสีเข้ม จะช่วยให้บ้านคุณดูดีขึ้นได้เกินราคา
Mix &Match ประหยัดกว่า
18. เรียบไว้ก่อน เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ที่เราต้องใช้ไปอีกนาน อย่างโซฟา หรือโต๊ะรับประทานอาหาร ควรเลือกซื้อแบบและสีเรียบๆไว้ก่อน เพราะเฟอร์นิเจอร์ที่ดูเรียบนั้นเข้ากับอะไรก็ได้ แถมดูไม่น่าเบื่อง่ายหรือล้าสมัย ช่วยให้การซื้อของอื่นๆที่อยู่รายรอบง่ายดายขึ้น และประหยัดงบไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ
19. แต่งแบบไม่ยึดติด การเลือกแต่งบ้านโดยไม่ยึดติดกับสไตล์ใดสไตล์หนึ่ง เช่น การเลือกใช้เก้าอี้คละแบบสำหรับชุดประทานอาหาร บางตัวอาจราคาถูก บางตัวอาจมีราคาสักหน่อย แต่เลือกให้เข้ากันได้ ก็ช่วยประหยัดได้มากกว่าการซื้อเฟอร์นิเจอร์แบบยกชุด
20. เสียตรงไหนเปลี่ยนตรงนั้น ข้อดีของการแต่งบ้าน Mix&Match อีกข้อหนึ่งก็คือ เมื่อของบางชิ้นชำรุดเสียหาย เราก็สามารถเปลี่ยนหรือซ่อมใหม่ได้เฉพาะตัวที่เสีย ไม่ต้องเปลี่ยนหรือซ่อมทั้งชุด ประหยัดไปได้เยอะ
1.ประหยัดด้วยไอเดีย เปลี่ยนสีบนผนัง การทาสีผนังบ้านใหม่ นับเป็นวิธีแต่งบ้านที่ง่าย ประหยัด และได้ผลดีที่สุดทางหนึ่ง ลงทุนแค่สีน้ำพลาสติกสีสวยๆ กับแปรงทาสีอีกสักอันราคารวมกันไม่เท่าไหร่ มาจัดการเปลี่ยนผนังเก่าสีหมองในบ้านให้ดูสวยสดใสขึ้น เท่านี้ก็สามารถสร้างบรรยากาศแปลกใหม่ในบ้านได้ ด้วยราคาแบบสบายกระเป๋า
2.เก็บสายไฟในท่อ การเดินสายไฟแบบฝังในผนังดูเรียบร้อยก็จริง แต่จะซ่อมแซมหรือเดินเพิ่มทั้งทีก็ต้องทุบผนัง เสียสตางค์และเสียเวลา ลองเปลี่ยนมาเดินลอยบนผนัง โดยร้อยใส่ท่อเหล็กแล้วอาจทาสีทับให้ดูเรียบร้อย ช่วยประหยัดงบประมาณในการดูแลรักษาและซ่อมแซม
3.ปรับแสงปรับอารมณ์ เปลี่ยนสีของหลอดฟลูออเรสเซนต์ทั่วๆไป โดยนำมาหุ้มด้วยปลอกพลาสติกหลากสีราคาเพียงปลอกละ 10 บาทซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป เพียงเท่านี้ก็จะได้หลอดไฟสีสวย ไว้ใช้ตกแต่งและสร้างบรรยากาศของบ้านได้ ในราคาถูกและช่วยประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดนีออน
4.เปลี่ยนโครงสร้างบ้านเป็นเฟอร์นิเจอร์ ใช้ประโยชน์จากส่วนโครงสร้างของบ้าน เช่น ช่องว่างระหว่างเสา โดยติดแผ่นไม้ทำเป็นชั้นวางของ ติดประตูบานเลื่อนเพื่อกันฝุ่น หรือติดม่านกั้นแทนบานตู้ เท่ากับว่าเราประหยัดงบประมาณเงินค่าทำเฟอร์นิเจอร์ทั้งด้านหลังและด้านข้าง นอกจากนี้อาจก่อปูนสูงสัก 40 เซนติเมตร หรือติดแผ่นไม้วางเบาะเพื่อทำเป็นม้านั่งก็ได้ ช่วยประหยัดงบประมาณในการทำเฟอร์นิเจอร์ไปได้เยอะ
5. ปรับเปลี่ยนได้ หนึ่งชิ้นหลายหน้าที่ เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่เปลี่ยนหน้าที่การใช้งานได้อย่างเช่น โซฟาเบด ที่สามารถใช้นั่งหรือปรับเป็นเตียงนอนได้ ราคาต่อชิ้นอาจจะแพงกว่าสักหน่อย แต่ด้วยประโยชน์ที่หลากหลายก็ช่วยให้คุณประหยัดได้กว่าการซื้อเฟอร์นิเจอร์หลายชิ้น
6.ยืดได้หดได้ เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบที่สามารถ ปรับเปลี่ยนขนาด ย่อขยาย ยืดหด วางต่อ หรือซ้อนชั้นกันได้ เพื่อรองรับการใช้งานในหลากหลายรูปแบบตามความต้องการ ช่วยให้คุณประหยัดได้ทั้งงบประมาณและพื้นที่ใช้สอย
7.เคลื่อนที่ได้ สำหรับเฟอร์นิเจอร์ชิ้นที่ไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก อย่างโต๊ะที่มีล้อเลื่อน จะช่วยให้เราสลับตำแหน่งและการใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น โต๊ะรับประทานอาหารขนาดเล็ก เลื่อนไปใช้งานในครัวเมื่อต้องทำอาหารมื้อใหญ่ วิธีนี้ช่วยประหยัดไปได้ตั้งครึ่ง
8.แต่งบ้านอย่างมีแผน วางแผนก่อนเพื่อเห็นภาพรวม เหมือนมืออาชีพที่ต้องเขียนแบบแปลน ก่อนจะเริ่มตกแต่งคุณเองควรเขียนแบบแปลนหรือแผนการตกแต่งทั้งหมด เพื่อช่วยให้เห็นภาพรวมและรู้ว่าควรทำอะไรก่อนหลัง เช่น ควรทาสีผนังให้เรียบร้อยก่อนเก็บงานที่พื้น เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดจนต้องทำงานซ้ำซ้อน ซึ่งส่งผลต่อสตางค์ในกระเป๋าของคุณอย่างแน่นอน
9.แต่งบ้านทีละระยะ การแต่งบ้านให้เสร็จลุล่วงในคราวเดียวเป็นเรื่องที่ดี แต่อาจทำให้กระเป๋าฉีกได้ ลองแบ่งงานตกแต่งบ้านทั้งหมด(ตามแผนที่คุณวางไว้) ออกเป็นช่วงๆโดยให้ระยะแรกเป็นส่วนที่จำเป็นที่สุดก่อน แล้วดำเนินการทีละขั้นตอน เมื่อระยะแรกจบอาจทิ้งช่วงเก็บสตางค์สักพัก จากนั้นจึงเริ่มช่วงต่อไป กว่าจะเสร็จอาจใช้เวลาสักหน่อย แต่เพื่อไม่ให้คุณต้องรับภาระหนักเกินไป และยังเป็นการให้เวลาตัวคุณสรรหาของที่ถูกใจจริงๆอีกด้วย
10.ซื้อช่วงลดราคาถูกกว่าเยอะ ร้านขายของแต่งบ้านเกือบทุกร้านจะมีช่วงลดกระหน่ำประจำปี โดยเฉพาะร้านใหญ่ๆอย่าง Modernform Index Habitat ซึ่งหากเราอดใจรอซื้อในช่วงลดราคา ก็จะได้ของดีที่ราคาถูกกว่ามาก โดยเฉพาะของชิ้นใหญ่ใช้งบเยอะอย่าง ที่นอน โซฟา เตียง หรือตู้เสื้อผ้า รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆด้วย แต่คุณอาจต้องจดบันทึกสักหน่อยว่าร้านที่คุณไปเล็งๆของไว้นั้น เขาลดราคากันช่วงไหน เดือนไหนของปี บางที่ลดปีละ 2 หน เพื่อปีถัดไปคุณจะได้วางแผนการช็อป(และเตรียมเก็บเงิน)ได้พอดี และต้องตาดีพอจะเลือกของ คนละเวลา คนละสถานที่ แล้วนำมาเข้าชุดกันได้
DIY ทำเองก็ได้ไม่ต้องซื้อ
11. วอลล์เปเปอร์ทำมือ วอลล์เปเปอร์ที่กำลังอินเทรนด์ ช่วยให้ผนังบ้านคุณดูน่าสนใจทีเดียว แต่ราคาก็สูงเช่นกัน แล้วถ้าลองทำเองล่ะ โดยใช้แผ่นแฟ้มพลาสติกฉลุลาย(ลอกจากในหนังสือแต่งบ้านก็ได้)ใช้เป็นแบบ แล้วนำไปพ่นสีสเปย์หรือทาสีที่ต่างจากผนัง ให้สีลอดส่วนที่ฉลุลงไปบนผนังจนเกิดเป็นลวดลายบนผนัง เพียงเท่านี้คุณจะได้วอลล์เปเปอร์ลายสวยไม่ซ้ำใครในราคาสุดประหยัด
12. สวยด้วยผ้า ไปเดินเลือกผ้าลายสวยราคาไม่แพงสักผืนจากพาหุรัด นำมาบวกกับไอเดียและฝีมือเย็บปักถักร้อยของคุณ ก็สามารถใช้ทำของตกแต่งบ้านอย่างง่ายๆในราคาแสนถูก โดยนำมาใช้เย็บเป็นปลอกหมอน หรือทำเป็นเบาะรองนั่ง ช่วยให้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นเก่าของคุณให้ดูสวยน่าใช้ยิ่งขึ้น
13. ใช้ผ้าซ่อนความเก่า เก้าอี้นั่งที่ดูเก่าและเชย หรือโซฟาสมัยคุณยายที่ขาดแล้ว หากยังไม่มีสตางค์เอาไปซ่อมหรือซื้อของใหม่ ลองเย็บผ้าคลุมดูไหม โดยเลือกผ้าลายสวยที่ชอบเย็บให้ได้รูปทรง แล้วสวมทับลงไปปิดบังความเก่า และใช้งบน้อยมาก ใครที่นึกวิธีทำไม่ออก เราแนะให้ไปดูหนังสือ Sott Furnishings ของสำนักพิมพ์บ้านและสวน มีไอเดียเกี่ยวกับผ้าและแพตเทิร์นให้ทำตามมากมาย
14. บางอย่างใช้แทนกันได้ สมมุติว่าเป็นไม้ ม่านปรับแสงไม้ขาดแผ่นกว้าง 2 นิ้วกำลังเป็นที่นิยม ช่วยให้บ้านมีอารมณ์สบายแบบรีสอร์ท แต่ราคาค่อนข้างสูง คุณอาจเลือกใช้ม่านปรับแสงที่ทำจากอะลูมิเนียมแทน โดยเลือกขนาดของแผ่นม่านให้เท่ากัน ขึงด้วยแถบผ้าสีเข้มๆ เช่น สีดำหรือสีน้ำตาล ก็จะได้ม่านปรับแสงที่ดูดีแต่ราคาถูกกว่าเยอะ
15. สมมุติว่าเป็นโต๊ะ กล่อง ลัง หรือกระเป๋าเดินทาง แทนที่จะใช้เก็บของแล้ววางซ่อนอยู่มุมห้องเพียงอย่างเดียว เมื่อนำมาวางซ้อนกันยังสามารถใช้ทำเป็นโต๊ะกลาง หรือโต๊ะวางของอย่างง่ายๆ ช่วยประหยัดเหมือนได้เฟอร์นิเจอร์อีกชิ้นโดยไม่ต้องซื้อเพิ่ม
16. สมมุติว่าเป็นผนัง ถ้าคุณจำเป็นต้องแบ่งสัดส่วนของห้องเพิ่ม แต่ยังไม่มีสตางค์พอที่จะทำผนังเบา ลองทำราวเพื่อแขวนผ้าม่านขนาดยาวแทน โดยเลือกให้ขนาดของแผ่นผ้าม่านเท่ากัน นอกจากจะราคาถูกกว่าแล้วยังสามารถรูดม่านเก็บได้เมื่อต้องการเปิดพื้นที่โล่ง หรือปรับเปลี่ยนลายผ้าได้ไม่ยากด้วย
17. วงกบสีดำ ดูเหมือนแพง แทนที่ต้องใช้วงกบ UPVC หรือวงกบไม้ที่ราคาสูง วงกบอะลูมิเนียมสีดำก็ดูเท่ ดูดีได้ ราคาก็ถูกกว่ากันเยอะ แถมเข้ากับบ้านได้ทุกสไตล์ เป็นทางเลือกที่สถาปนิกนิยมเลือกใช้ เพราะประตูหน้าต่างแบบเรียบๆ กับกรอบสีเข้ม จะช่วยให้บ้านคุณดูดีขึ้นได้เกินราคา
Mix &Match ประหยัดกว่า
18. เรียบไว้ก่อน เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ที่เราต้องใช้ไปอีกนาน อย่างโซฟา หรือโต๊ะรับประทานอาหาร ควรเลือกซื้อแบบและสีเรียบๆไว้ก่อน เพราะเฟอร์นิเจอร์ที่ดูเรียบนั้นเข้ากับอะไรก็ได้ แถมดูไม่น่าเบื่อง่ายหรือล้าสมัย ช่วยให้การซื้อของอื่นๆที่อยู่รายรอบง่ายดายขึ้น และประหยัดงบไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ
19. แต่งแบบไม่ยึดติด การเลือกแต่งบ้านโดยไม่ยึดติดกับสไตล์ใดสไตล์หนึ่ง เช่น การเลือกใช้เก้าอี้คละแบบสำหรับชุดประทานอาหาร บางตัวอาจราคาถูก บางตัวอาจมีราคาสักหน่อย แต่เลือกให้เข้ากันได้ ก็ช่วยประหยัดได้มากกว่าการซื้อเฟอร์นิเจอร์แบบยกชุด
20. เสียตรงไหนเปลี่ยนตรงนั้น ข้อดีของการแต่งบ้าน Mix&Match อีกข้อหนึ่งก็คือ เมื่อของบางชิ้นชำรุดเสียหาย เราก็สามารถเปลี่ยนหรือซ่อมใหม่ได้เฉพาะตัวที่เสีย ไม่ต้องเปลี่ยนหรือซ่อมทั้งชุด ประหยัดไปได้เยอะ
ผนังเบา
ผนังเบา คือผนังที่ทำขึ้นโดยไม่ต้องมีคานรองรับใต้พื้น เป็นวัสดุเบาๆ มีน้ำหนัก 30-40 กิโลกรัมต่อตารางเมตร นิยมใช้ทั้ง ภายในและภายนอกอาคาร ตัวอย่างเช่น ผนังอีเตอร์แพน บอร์ด
อีเตอร์แพน บอร์ด เป็นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด ใช้งานได้หลากหลาย เช่น ผนังภายนอกใช้ความหนาที่ 6, 7.5, 9 และ 12 มม. ตามแต่ละสภาพของงาน สามารถตัดแผ่นให้ได้ขนาดที่ต้องการ เว้นรอยต่อ 3-5 มม. รอยต่อใช้โพลียูริเทนยาแนว ก็จะเป็น ผนังเบาที่สวยงามได้
หรืองานผนังภายใน สามารถใช้ความหนาที่ 5.5, 6, 7.5 และ 9 มม. ตีชิดฉาบเรียบด้วยผงยิบซั่มและปลาสเตอร์ ไม่ต้อง เว้นรอยต่อระหว่างแผ่นเรียบสนิทไร้ร่องรอย เก็บหัวสกรูได้สวยงาม เป็นทั้งผนังเก็บเสียง กันไฟปลอดภัยจากมอก ปลวก และ เชื้อรา
นอกจาก แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ดแล้ว ยังมีวัสดุแผ่นอีกหลายชนิดในท้องตลาด เช่น ยิบซั่มบอร์ด ไม้อัด กระเบื้องแผ่น เรียบ สามารถเลือกใช้ได้โดยไม่ต้องทำคานรองรับใต้พื้น การจะใช้วัสดุอะไร ขอให้ดูข้อมูลวัสดุนั้นๆ ว่ากันปลวก กันมอด กันน้ำ ได้ดีเพียงใด การยึดโยงติดตั้งทำอย่างไร มีความคงทนได้ดีเพียงใด เพื่อนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้ วัสดุนั้นๆ กับบ้านคุณ
ขอบคุณ interhouse.co.th
อีเตอร์แพน บอร์ด เป็นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด ใช้งานได้หลากหลาย เช่น ผนังภายนอกใช้ความหนาที่ 6, 7.5, 9 และ 12 มม. ตามแต่ละสภาพของงาน สามารถตัดแผ่นให้ได้ขนาดที่ต้องการ เว้นรอยต่อ 3-5 มม. รอยต่อใช้โพลียูริเทนยาแนว ก็จะเป็น ผนังเบาที่สวยงามได้
หรืองานผนังภายใน สามารถใช้ความหนาที่ 5.5, 6, 7.5 และ 9 มม. ตีชิดฉาบเรียบด้วยผงยิบซั่มและปลาสเตอร์ ไม่ต้อง เว้นรอยต่อระหว่างแผ่นเรียบสนิทไร้ร่องรอย เก็บหัวสกรูได้สวยงาม เป็นทั้งผนังเก็บเสียง กันไฟปลอดภัยจากมอก ปลวก และ เชื้อรา
นอกจาก แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ดแล้ว ยังมีวัสดุแผ่นอีกหลายชนิดในท้องตลาด เช่น ยิบซั่มบอร์ด ไม้อัด กระเบื้องแผ่น เรียบ สามารถเลือกใช้ได้โดยไม่ต้องทำคานรองรับใต้พื้น การจะใช้วัสดุอะไร ขอให้ดูข้อมูลวัสดุนั้นๆ ว่ากันปลวก กันมอด กันน้ำ ได้ดีเพียงใด การยึดโยงติดตั้งทำอย่างไร มีความคงทนได้ดีเพียงใด เพื่อนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้ วัสดุนั้นๆ กับบ้านคุณ
ขอบคุณ interhouse.co.th
การเลือกวอลเปเปอร์
วอลเปเปอร์ทำจากวัสดุหลากหลายชนิดด้วยกัน แต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันซึ่งก็เหมาะกับผนังห้องแต่ละห้องที่แตกต่างกันไป
ตัวอย่างชนิดของวอลเปเปอร์
- วอลเปเปอร์ผ้า ดูอ่อนนุ่ม สวยงาม เหมาะกับห้องที่ไม่พลุกพล่าน เช่น ห้องนอน หรือห้องผนังผิวไม่เรียบ แต่ข้อจำกัดคือ ราคาแพง ไม่ทนทาน
- วอลเปเปอร์แผ่นฟอยล์ ดูหรูหรา เหมาะกับพื้นที่เล็กๆ แต่มีราคาแพง ไม่ทนทาน ติดตั้งยาก
- วอลเปเปอร์กระดาษ มีลวดลายงดงามให้เลือกมากมาย ติดตั้งสะดวก แต่มีปัญหาในการทำความสะอาด เพราะกระดาษซับน้ำได้ง่าย จึงไม่ควรเลือกวอลเปเปอร์ที่เป็นกระดาษอย่างเดียว แต่ควรเคลือยไวนิล บุผ้าด้านหลังด้วย จะทำความสะอาดง่ายกว่า
- วอลเปเปอร์ไวนิล ถ้ามองในแง่ของการทำความสะอาดแล้ว ไวนิลถือเป็นวัสดุพลาสติกที่ช่วยขจัดปัญหาเรื่องความเปียกชื้น คราบน้ำมัน หรือคราบฝุ่นเกาะ เพราะไวนิลทำความสะอาดง่าย เพียงใช้ฟองน้ำชุบน้ำสบู่เช็ด คราบเลอะๆก็จะหมดไป นอกจากนี้ไวนิลยังมีความทนทาน ติดตั้งง่าย จึงเหมาะกับบริเวณที่ต้องใช้งานมาก โดยเฉพาะ ห้องครัว ห้องนั่งเล่น เป็นต้น
วอลเปเปอร์ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ มองจากภายนอกคล้ายผ้า สามารถใช้ได้ทั้งส่วนของผนังและเพดาน มีส่วนช่วยป้องกันความร้อน สามารถใช้ได้กับทุกห้อง ยกเว้นห้องน้ำและห้องครัว เนื่องจากเป็นห้องที่มีความชื้นสูง อาจทำให้วอลเปเปอร์หลุดร่อนหรือขึ้นราได้
วอลเปเปอร์ที่ใช้กันในปัจจุบันมี 2 ชนิดให้เลือก คือ วอลเปเปอร์แผ่นเรียบหรือ “ไวนิล” มีลักษณะเรียบไปกับพื้นผนัง ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ วอลเปเปอร์ชนิดเนื้อโฟม มีลักษณะหนา ลวดลายนูนออกมา และสามารถเก็บเสียงได้มากกว่าวอลเปเปอร์ชนิดไวนิล สำหรับการตัดสินใจเลือกซื้อวอลเปเปอร์ย่อมต้องคำนึงถึงคุณสมบัติที่ต่างกัน วอลเปเปอร์ชนิดไวนิล มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและทำความสะอาดง่าย แต่หากต้องการเปลี่ยนวอลเปเปอร์ภายในระยะเวลา 1-3 ปี ก็สามารถรื้อปูใหม่ได้ง่าย ส่วนวอลเปเปอร์ชนิดเนื้อโฟม จะมีลวดลายที่เหมือนจริง แม้ว่ามีราคาถูกกว่าแต่ทำความสะอาดได้ยากกว่า และมีอายุการใช้งานเพียง 5-6 ปี
การเลือกวอลเปเปอร์ให้เข้ากับบรรยากาศของห้องต่าง ๆ นั้น หากต้องการให้ห้องที่มีบรรยากาศคลาสสิกให้เลือกวอลเปเปอร์ที่มีลวดลายมาก ๆ เช่น ลายดอกไม้หรือลายเครือเถา แต่ถ้าต้องการห้องที่มีการประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบให้เลือกวอลเปเปอร์ที่มีลวดลายอ่อนช้อย สำหรับห้องที่มีความทันสมัยให้เลือกวอลเปเปอร์ที่ไม่มีลวดลาย
นอกจากค่าใช้จ่ายในการติดตั้งของวอลเปเปอร์ต่อตารางเมตรทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันแล้ว ยังขึ้นอยู่กับค่าติดตั้งซึ่งบางแห่งไม่รวมค่าติดตั้ง การคำนวณพื้นที่เพื่อประมาณการค่าใช้จ่ายนั้นขึ้นอยู่กับการตกลงกันเบื้องต้น สามารถคำนวณได้ 2 วิธี คือ การคำนวณตามพื้นที่โดยนำความกว้างคูณความสูงของด้านนั้น ๆ แล้วนำพื้นที่ที่ได้มาคูณกับราคาค่าใช้จ่ายต่อตารางเมตรที่ทางบริษัทผู้ขายวอลเปเปอร์กำหนดไว้ อีกวิธีหนึ่งคือ คำนวณตามการใช้สินค้าจริงเป็นม้วน อย่างไรก็ตามการติดตั้งอาจใช้มากกว่าพื้นที่จริงประมาณ 10-20 % แล้วแต่ลวดลาย หากว่าต้องการรื้อวอลเปเปอร์เดิมที่ติดอยู่บนผนัง ทางบริษัทผู้ขายวอลเปเปอร์จะคิดค่าใช้จ่ายในการรื้อด้วย
การพิจารณาเลือกบริษัทผู้ขายวอลเปเปอร์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก คือ การเลือกบริษัทที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อความสะดวกในการติดต่อและติดตามงาน การเลือกประเภทและลวดลายของวอลเปเปอร์ควรพิจารณาจากจำนวนที่มีให้เลือกว่ามากน้อยเพียงใด และราคาเหมาะสมหรือไม่ โดยสอบถามจากหลาย ๆ แห่งเพื่อเปรียบเทียบกัน นอกจากนี้ การบริการหลังการขายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ควรสอบถามถึงระยะการรับประกันและบริการซ่อมแซมให้ เมื่อตกลงกับบริษัทผู้ขายวอลเปเปอร์แล้ว ทางบริษัทก็จะส่งช่างมาวัดพื้นที่และคำนวณราคา พร้อมทั้งตกลงเรื่องระยะเวลาการติดตั้งจนแล้วเสร็จ ในขั้นตอนนี้หากเกิดข้อสงสัยใดๆ ควรสอบถามให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาขึ้นภายหลัง
ที่มา : www.thaihomemaster.com
ตัวอย่างชนิดของวอลเปเปอร์
- วอลเปเปอร์ผ้า ดูอ่อนนุ่ม สวยงาม เหมาะกับห้องที่ไม่พลุกพล่าน เช่น ห้องนอน หรือห้องผนังผิวไม่เรียบ แต่ข้อจำกัดคือ ราคาแพง ไม่ทนทาน
- วอลเปเปอร์แผ่นฟอยล์ ดูหรูหรา เหมาะกับพื้นที่เล็กๆ แต่มีราคาแพง ไม่ทนทาน ติดตั้งยาก
- วอลเปเปอร์กระดาษ มีลวดลายงดงามให้เลือกมากมาย ติดตั้งสะดวก แต่มีปัญหาในการทำความสะอาด เพราะกระดาษซับน้ำได้ง่าย จึงไม่ควรเลือกวอลเปเปอร์ที่เป็นกระดาษอย่างเดียว แต่ควรเคลือยไวนิล บุผ้าด้านหลังด้วย จะทำความสะอาดง่ายกว่า
- วอลเปเปอร์ไวนิล ถ้ามองในแง่ของการทำความสะอาดแล้ว ไวนิลถือเป็นวัสดุพลาสติกที่ช่วยขจัดปัญหาเรื่องความเปียกชื้น คราบน้ำมัน หรือคราบฝุ่นเกาะ เพราะไวนิลทำความสะอาดง่าย เพียงใช้ฟองน้ำชุบน้ำสบู่เช็ด คราบเลอะๆก็จะหมดไป นอกจากนี้ไวนิลยังมีความทนทาน ติดตั้งง่าย จึงเหมาะกับบริเวณที่ต้องใช้งานมาก โดยเฉพาะ ห้องครัว ห้องนั่งเล่น เป็นต้น
วอลเปเปอร์ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ มองจากภายนอกคล้ายผ้า สามารถใช้ได้ทั้งส่วนของผนังและเพดาน มีส่วนช่วยป้องกันความร้อน สามารถใช้ได้กับทุกห้อง ยกเว้นห้องน้ำและห้องครัว เนื่องจากเป็นห้องที่มีความชื้นสูง อาจทำให้วอลเปเปอร์หลุดร่อนหรือขึ้นราได้
วอลเปเปอร์ที่ใช้กันในปัจจุบันมี 2 ชนิดให้เลือก คือ วอลเปเปอร์แผ่นเรียบหรือ “ไวนิล” มีลักษณะเรียบไปกับพื้นผนัง ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ วอลเปเปอร์ชนิดเนื้อโฟม มีลักษณะหนา ลวดลายนูนออกมา และสามารถเก็บเสียงได้มากกว่าวอลเปเปอร์ชนิดไวนิล สำหรับการตัดสินใจเลือกซื้อวอลเปเปอร์ย่อมต้องคำนึงถึงคุณสมบัติที่ต่างกัน วอลเปเปอร์ชนิดไวนิล มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและทำความสะอาดง่าย แต่หากต้องการเปลี่ยนวอลเปเปอร์ภายในระยะเวลา 1-3 ปี ก็สามารถรื้อปูใหม่ได้ง่าย ส่วนวอลเปเปอร์ชนิดเนื้อโฟม จะมีลวดลายที่เหมือนจริง แม้ว่ามีราคาถูกกว่าแต่ทำความสะอาดได้ยากกว่า และมีอายุการใช้งานเพียง 5-6 ปี
การเลือกวอลเปเปอร์ให้เข้ากับบรรยากาศของห้องต่าง ๆ นั้น หากต้องการให้ห้องที่มีบรรยากาศคลาสสิกให้เลือกวอลเปเปอร์ที่มีลวดลายมาก ๆ เช่น ลายดอกไม้หรือลายเครือเถา แต่ถ้าต้องการห้องที่มีการประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบให้เลือกวอลเปเปอร์ที่มีลวดลายอ่อนช้อย สำหรับห้องที่มีความทันสมัยให้เลือกวอลเปเปอร์ที่ไม่มีลวดลาย
นอกจากค่าใช้จ่ายในการติดตั้งของวอลเปเปอร์ต่อตารางเมตรทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันแล้ว ยังขึ้นอยู่กับค่าติดตั้งซึ่งบางแห่งไม่รวมค่าติดตั้ง การคำนวณพื้นที่เพื่อประมาณการค่าใช้จ่ายนั้นขึ้นอยู่กับการตกลงกันเบื้องต้น สามารถคำนวณได้ 2 วิธี คือ การคำนวณตามพื้นที่โดยนำความกว้างคูณความสูงของด้านนั้น ๆ แล้วนำพื้นที่ที่ได้มาคูณกับราคาค่าใช้จ่ายต่อตารางเมตรที่ทางบริษัทผู้ขายวอลเปเปอร์กำหนดไว้ อีกวิธีหนึ่งคือ คำนวณตามการใช้สินค้าจริงเป็นม้วน อย่างไรก็ตามการติดตั้งอาจใช้มากกว่าพื้นที่จริงประมาณ 10-20 % แล้วแต่ลวดลาย หากว่าต้องการรื้อวอลเปเปอร์เดิมที่ติดอยู่บนผนัง ทางบริษัทผู้ขายวอลเปเปอร์จะคิดค่าใช้จ่ายในการรื้อด้วย
การพิจารณาเลือกบริษัทผู้ขายวอลเปเปอร์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก คือ การเลือกบริษัทที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อความสะดวกในการติดต่อและติดตามงาน การเลือกประเภทและลวดลายของวอลเปเปอร์ควรพิจารณาจากจำนวนที่มีให้เลือกว่ามากน้อยเพียงใด และราคาเหมาะสมหรือไม่ โดยสอบถามจากหลาย ๆ แห่งเพื่อเปรียบเทียบกัน นอกจากนี้ การบริการหลังการขายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ควรสอบถามถึงระยะการรับประกันและบริการซ่อมแซมให้ เมื่อตกลงกับบริษัทผู้ขายวอลเปเปอร์แล้ว ทางบริษัทก็จะส่งช่างมาวัดพื้นที่และคำนวณราคา พร้อมทั้งตกลงเรื่องระยะเวลาการติดตั้งจนแล้วเสร็จ ในขั้นตอนนี้หากเกิดข้อสงสัยใดๆ ควรสอบถามให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาขึ้นภายหลัง
ที่มา : www.thaihomemaster.com
เทคนิคการทำความสะอาดห้องต่างๆ ของบ้านแสนรักของคุณ
ห้องอ่านหนังสือ
หน้าต่าง
วิธีที่ง่ายและประหยัดที่สุดคือการใช้หนังสือพิมพ์ชุบน้ำแล้วเช็ด แต่ถ้าใครไม่ชอบกลิ่นของหมึกจากหนังสือพิมพ์ให้ใช้น้ำ 1 ส่วนผสมน้ำส้มสายชู 2ส่วน แล้วใช้ผ้าชุบเช็ดบริเวณกระจกหรือหน้าบานตู้เก็บหนังสือ เท่านี้กระจกก็จะกลับมาเหมือนใหม่แล้ว
ชั้นหนังสือบิลท์อิน
ส่วนใหญ่ตู้แบบบิลท์อินมักปิดผิวด้วยแผ่นลามิเนตหรือเมลามีนซึ่งทนต่อการขูดขีด ฝุ่นหรือคราบสกปรกเกาะติดยากจึงง่ายต่อการทําความสะอาดง่าย เพียงใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ด แต่จุดที่มักสกปรกคือบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นที่มักมีสิ่งสกปรกฝังแน่นให้ใช้ผ้าชุบน้ำยาทําความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ทั่วไปเช็ดออก
ห้องนั่งเล่น
ผนังวอลล์เปเปอร์
หากเปื้อนคราบน้ำมันให้ใช้แป้งฝุ่นผสมกับน้ำยาทําความสะอาดป้ายบริเวณที่เปื้อนคราบน้ำมัน ทิ้งไว้จนแห้งแล้วใช้ผ้าเช็ด คราบก็จะหลุดออกมา แต่วอลล์เปเปอร์บางชนิดต้องใช้น้ำยาทําความสะอาดเฉพาะตัว จึงควรสอบถามทางผู้จําหน่ายก่อนที่จะทําความสะอาด
พื้นไม้ลามิเนต
แม้พื้นลามิเนตจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการดูแลรักษา แค่ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำยาทําความสะอาดสัปดาห์ละครั้งก็พอ แต่หากเลอะสารเคมีให้ใช้ผ้าชุบทินเนอร์หรือน้ำมันสนเช็ดให้รอยเปื้อนออก แล้วใช้ผ้าชุบน้ำยาทําความสะอาดเช็ดซ้ำอีกครั้ง
เฟอร์นิเจอร์ไม้
คราบไขมันบนเฟอร์นิเจอร์ไม้ทําความสะอาดได้โดยใช้ผ้าชุบน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วเช็ดบริเวณที่เปื้อน หากมีรอยขีดข่วนให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำมันชักเงาถูจนรอยขีดข่วนจางไป เมื่อทําความสะอาดแล้วควรลงน้ำมันเพื่อช่วยรักษาเนื้อไม้อย่างสม่ำเสมอ
.................................................................
ห้องนอน
ผ้าม่าน
การทําความสะอาดผ้าม่านขึ้นอยู่กับเนื้อผ้า ซึ่งผ้าม่านส่วนใหญ่มักมีเส้นใยสังเคราะห์เป็นส่วนประกอบจึงควรซักด้วยมือโดยใช้น้ำยาซักผ้าซักกับน้ำอุ่น แต่อย่าบิด ไม่งั้นผ้าม่านสุดหรูอาจจะดูไม่จืดก็เป็นได้
ที่นอน
ไม่ว่าจะเป็นที่นอนแบบใด ให้หมั่นนําออกมาตากแดด เพื่อให้ที่นอนได้ถ่ายเทอากาศ ช่วยลดฝุ่นละออง และควรกลับด้านที่นอนเป็นประจําทุกๆ 3 เดือน หากมีรอยเปื้อนหรือคราบสกปรกให้ใช้ผ้าชุบน้ำสบู่เช็ดเบาๆ แล้วนําไปตากแดดให้แห้งก่อนนํากลับมาใช้งาน
พื้นไม้
นอกจากการกวาดถูตามปกติแล้ว พื้นไม้ในห้องนอนควรลงน้ำยาประเภทโพลียูรีเทนเพื่อป้องกันผิวไม้จากหยดน้ำและคราบสกปรกต่างๆ หากเกิดรอยคราบบนผิวไม้ให้ใช้ผ้าชุบน้ำมันสนหมาดๆ แล้วเช็ดสักพักคราบสกปรกก็จะหายไป
เครื่องปรับอากาศ
ควรทําความสะอาดแผ่นกรองที่อยู่ด้านในอย่างน้อยเดือนละครั้ง ด้วยการถอดออกมาจากเครื่องแล้วใช้น้ำฉีดทางด้านหลังของแผ่นให้ฝุ่นหลุดออกมา ส่วนการล้างเครื่องปรับอากาศแบบเต็มระบบควรทําอย่างน้อยปีละครั้งและควรยกให้เป็นหน้าที่ของช่างจากศูนย์บริการจะดีที่สุด
.................................................................
ห้องโฮมเธียเตอร์
พื้นพรม
ควรดูดฝุ่นอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึงเพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของฝุ่นละอองหากต้องการทําความสะอาดพรมทั้งผืนควรนําไปซักด้วยน้ำยาซักพรมโดยใช้แปรงขนอ่อนถูไปในทิศทางเดียวกันให้ทั่วแล้วล้างน้ำตากให้แห้งถ้าเปื้อนคราบน้ำมันจากอาหารให้ใช้เบกกิ้งโซดาเทลงตรงบริเวณที่เปื้อนทิ้งไว้ประมาณ 12 ชั่วโมง แล้วใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดคราบก็จะจางหายไป
อุปกรณ์เครื่องเล่นภาพและเสียง
ควรหมั่นเช็ดฝุ่นละอองด้วยผ้านุ่มๆ (หรือผ้าไมโครไฟเบอร์) แต่ไม่ต้องชุบน้ำในบริเวณที่ไม่สามารถเอื้อมมือเข้าไปเช็ดได้ให้ใช้ลูกยางเป่าลมไล่ฝุ่นแทน ส่วนโทรทัศน์ประเภทจอแบนให้ใช้น้ำยาสําหรับเช็ดหน้าจอโดยเฉพาะ (มีขายที่ร้านคอมพิวเตอร์) เช็ดเบาๆ รอให้แห้งสนิทจึงจะใช้งานได้ และใครอยากจะใช้สเปรย์ป้องกันไฟฟ้าสถิตพ่นที่ตัวเครื่องเพื่อป้องกันฝุ่นละอองอีกรอบก็ไม่มีปัญหา
วัสดุบุผนัง
ถ้าใช้แผ่นยิปซัมสําหรับดูดเสียงซึ่งจะมีรูพรุนมาก ควรดูดฝุ่นเป็นประจําหรือใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ด หากมีรอยเปื้อนที่เช็ดไม่ออกให้ใช้สีที่ใกล้เคียงแต้มเพื่อปิดรอยเปื้อน หากเป็นผ้าบุผนังชนิดที่ถอดมาซักไม่ได้ ให้ทําความสะอาดด้วยการดูดฝุ่นเช่นกัน ถ้าเป็นคราบให้ใช้น้ำสบู่อ่อนเช็ดแล้วใช้ดรายเป่าผมเป่าให้แห้ง
................................................................
ห้องน้ำ
กระเบื้องพื้น-ผนัง
ส่วนใหญ่คราบสกปรกและเชื้อราดํามักจะเกิดขึ้นในห้องน้ำที่อับชื้นโดยเฉพาะบริเวณร่องยาแนวกระเบื้องหรือมุมห้องที่มีน้ำขัง ควรทําความสะอาดโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อราฉีดบริเวณที่เกิดเชื้อรา ทิ้งไว้สักครู่แล้วใช้แปรงขัดออก นอกจากนั้นแล้วควรป้องกันเชื้อราดําอย่างถาวรด้วยการติดตั้งพัดลมดูดอากาศหรือช่องเปิดที่ให้แสงสว่างและมีการระบายอากาศได้
ปูนเปลือย
คุณสมบัติของปูนเปลือยนั้นไม่เหมือนกระเบื้อง ทำให้เกิดตะไคร่น้ำได้ง่ายกว่าจึงต้องหมั่นทําความสะอาดและดูแลรักษาให้แห้งอยู่เสมอ ในจุดที่เกิดตะไคร่น้ำ ให้ฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อราและตะไคร่น้ำบนพื้นผิวปูนเปลือยทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก หลังจากพื้นผิวแห้งสนิทให้ใช้น้ำยาป้องกันตะไคร่น้ำมาเคลือบพื้นผิวทิ้งไว้ประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง แล้วจึงทาอีกครั้งก็จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
สุขภัณฑ์ห้องน้ำ
สุขภัณฑ์ห้องน้ำส่วนใหญ่มักจะเป็นสีขาวและปัญหาที่พบมากก็คือเมื่อใช้งานไปนานวัน สุขภัณฑ์ก็จะดูหม่นหมอง ไม่สดใสเหมือนวันแรกที่ซื้อมา คุณสามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการใช้คลอรีนผสมน้ำแล้วเทลงในอ่างล้างหน้า ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง หากเป็นโถสุขภัณฑ์ให้ใช้แปรงขนอ่อนชุบคลอรีนแล้วขัดเบาๆ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด เท่านี้สุขภัณฑ์ของคุณก็สะอาดเหมือนใหม่
ห้องครัว
พื้นกระเบื้อง
จุดที่ควรระวังของพื้นห้องครัวคือบริเวณร่องระหว่างแผ่นที่มักมีสิ่งสกปรกตกค้างอยู่แม้จะยาแนวแล้วก็ตาม ต้องหมั่นทําความสะอาดด้วยการใช้แปรงขนอ่อนชุบน้ำสบู่หรือผงซักฟอกแล้วขัดเบาๆ ถ้าเกิดเชื้อราควรใช้น้ำยาทําความสะอาดชนิดมีสารป้องกันเชื้อราก็จะช่วยได้
ผนังทาสี
คราบสกปรกจากการทําอาหาร ไอน้ำมัน ความชื้นต่างๆ มักเกาะติดอยู่ตามผนังครัว โดยเฉพาะบริเวณที่ปรุงอาหาร ต้องหมั่นใช้ผ้าชุบน้ำยาทําความสะอาดเช็ดเป็นประจํา หากมีโอกาสทาสีใหม่ก็ควรเลือกใช้สีทาผนังประเภทเช็ดล้างได้ซึ่งช่วยให้ทําความสะอาดง่ายและคราบสกปรกเกาะติดยากขึ้นด้วย
อุปกรณ์ครัว
สิ่งสกปรกที่พบมากคือคราบไขมันจากการปรุงอาหารจึงควรหมั่นทําความสะอาดอุปกรณ์ทําครัวด้วยการนํามาแช่น้ำยาทําความสะอาดเครื่องครัวหรือน้ำร้อนก่อนที่จะนําไปล้าง เพราะจะช่วยทําให้คราบสกปรกที่ติดอยู่หลุดออกมาได้ง่ายขึ้นกว่านําไปล้างเลยทันที
ที่มาจาก : นิตยสาร Home&decor
หน้าต่าง
วิธีที่ง่ายและประหยัดที่สุดคือการใช้หนังสือพิมพ์ชุบน้ำแล้วเช็ด แต่ถ้าใครไม่ชอบกลิ่นของหมึกจากหนังสือพิมพ์ให้ใช้น้ำ 1 ส่วนผสมน้ำส้มสายชู 2ส่วน แล้วใช้ผ้าชุบเช็ดบริเวณกระจกหรือหน้าบานตู้เก็บหนังสือ เท่านี้กระจกก็จะกลับมาเหมือนใหม่แล้ว
ชั้นหนังสือบิลท์อิน
ส่วนใหญ่ตู้แบบบิลท์อินมักปิดผิวด้วยแผ่นลามิเนตหรือเมลามีนซึ่งทนต่อการขูดขีด ฝุ่นหรือคราบสกปรกเกาะติดยากจึงง่ายต่อการทําความสะอาดง่าย เพียงใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ด แต่จุดที่มักสกปรกคือบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นที่มักมีสิ่งสกปรกฝังแน่นให้ใช้ผ้าชุบน้ำยาทําความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ทั่วไปเช็ดออก
ห้องนั่งเล่น
ผนังวอลล์เปเปอร์
หากเปื้อนคราบน้ำมันให้ใช้แป้งฝุ่นผสมกับน้ำยาทําความสะอาดป้ายบริเวณที่เปื้อนคราบน้ำมัน ทิ้งไว้จนแห้งแล้วใช้ผ้าเช็ด คราบก็จะหลุดออกมา แต่วอลล์เปเปอร์บางชนิดต้องใช้น้ำยาทําความสะอาดเฉพาะตัว จึงควรสอบถามทางผู้จําหน่ายก่อนที่จะทําความสะอาด
พื้นไม้ลามิเนต
แม้พื้นลามิเนตจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการดูแลรักษา แค่ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำยาทําความสะอาดสัปดาห์ละครั้งก็พอ แต่หากเลอะสารเคมีให้ใช้ผ้าชุบทินเนอร์หรือน้ำมันสนเช็ดให้รอยเปื้อนออก แล้วใช้ผ้าชุบน้ำยาทําความสะอาดเช็ดซ้ำอีกครั้ง
เฟอร์นิเจอร์ไม้
คราบไขมันบนเฟอร์นิเจอร์ไม้ทําความสะอาดได้โดยใช้ผ้าชุบน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วเช็ดบริเวณที่เปื้อน หากมีรอยขีดข่วนให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำมันชักเงาถูจนรอยขีดข่วนจางไป เมื่อทําความสะอาดแล้วควรลงน้ำมันเพื่อช่วยรักษาเนื้อไม้อย่างสม่ำเสมอ
.................................................................
ห้องนอน
ผ้าม่าน
การทําความสะอาดผ้าม่านขึ้นอยู่กับเนื้อผ้า ซึ่งผ้าม่านส่วนใหญ่มักมีเส้นใยสังเคราะห์เป็นส่วนประกอบจึงควรซักด้วยมือโดยใช้น้ำยาซักผ้าซักกับน้ำอุ่น แต่อย่าบิด ไม่งั้นผ้าม่านสุดหรูอาจจะดูไม่จืดก็เป็นได้
ที่นอน
ไม่ว่าจะเป็นที่นอนแบบใด ให้หมั่นนําออกมาตากแดด เพื่อให้ที่นอนได้ถ่ายเทอากาศ ช่วยลดฝุ่นละออง และควรกลับด้านที่นอนเป็นประจําทุกๆ 3 เดือน หากมีรอยเปื้อนหรือคราบสกปรกให้ใช้ผ้าชุบน้ำสบู่เช็ดเบาๆ แล้วนําไปตากแดดให้แห้งก่อนนํากลับมาใช้งาน
พื้นไม้
นอกจากการกวาดถูตามปกติแล้ว พื้นไม้ในห้องนอนควรลงน้ำยาประเภทโพลียูรีเทนเพื่อป้องกันผิวไม้จากหยดน้ำและคราบสกปรกต่างๆ หากเกิดรอยคราบบนผิวไม้ให้ใช้ผ้าชุบน้ำมันสนหมาดๆ แล้วเช็ดสักพักคราบสกปรกก็จะหายไป
เครื่องปรับอากาศ
ควรทําความสะอาดแผ่นกรองที่อยู่ด้านในอย่างน้อยเดือนละครั้ง ด้วยการถอดออกมาจากเครื่องแล้วใช้น้ำฉีดทางด้านหลังของแผ่นให้ฝุ่นหลุดออกมา ส่วนการล้างเครื่องปรับอากาศแบบเต็มระบบควรทําอย่างน้อยปีละครั้งและควรยกให้เป็นหน้าที่ของช่างจากศูนย์บริการจะดีที่สุด
.................................................................
ห้องโฮมเธียเตอร์
พื้นพรม
ควรดูดฝุ่นอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึงเพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของฝุ่นละอองหากต้องการทําความสะอาดพรมทั้งผืนควรนําไปซักด้วยน้ำยาซักพรมโดยใช้แปรงขนอ่อนถูไปในทิศทางเดียวกันให้ทั่วแล้วล้างน้ำตากให้แห้งถ้าเปื้อนคราบน้ำมันจากอาหารให้ใช้เบกกิ้งโซดาเทลงตรงบริเวณที่เปื้อนทิ้งไว้ประมาณ 12 ชั่วโมง แล้วใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดคราบก็จะจางหายไป
อุปกรณ์เครื่องเล่นภาพและเสียง
ควรหมั่นเช็ดฝุ่นละอองด้วยผ้านุ่มๆ (หรือผ้าไมโครไฟเบอร์) แต่ไม่ต้องชุบน้ำในบริเวณที่ไม่สามารถเอื้อมมือเข้าไปเช็ดได้ให้ใช้ลูกยางเป่าลมไล่ฝุ่นแทน ส่วนโทรทัศน์ประเภทจอแบนให้ใช้น้ำยาสําหรับเช็ดหน้าจอโดยเฉพาะ (มีขายที่ร้านคอมพิวเตอร์) เช็ดเบาๆ รอให้แห้งสนิทจึงจะใช้งานได้ และใครอยากจะใช้สเปรย์ป้องกันไฟฟ้าสถิตพ่นที่ตัวเครื่องเพื่อป้องกันฝุ่นละอองอีกรอบก็ไม่มีปัญหา
วัสดุบุผนัง
ถ้าใช้แผ่นยิปซัมสําหรับดูดเสียงซึ่งจะมีรูพรุนมาก ควรดูดฝุ่นเป็นประจําหรือใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ด หากมีรอยเปื้อนที่เช็ดไม่ออกให้ใช้สีที่ใกล้เคียงแต้มเพื่อปิดรอยเปื้อน หากเป็นผ้าบุผนังชนิดที่ถอดมาซักไม่ได้ ให้ทําความสะอาดด้วยการดูดฝุ่นเช่นกัน ถ้าเป็นคราบให้ใช้น้ำสบู่อ่อนเช็ดแล้วใช้ดรายเป่าผมเป่าให้แห้ง
................................................................
ห้องน้ำ
กระเบื้องพื้น-ผนัง
ส่วนใหญ่คราบสกปรกและเชื้อราดํามักจะเกิดขึ้นในห้องน้ำที่อับชื้นโดยเฉพาะบริเวณร่องยาแนวกระเบื้องหรือมุมห้องที่มีน้ำขัง ควรทําความสะอาดโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อราฉีดบริเวณที่เกิดเชื้อรา ทิ้งไว้สักครู่แล้วใช้แปรงขัดออก นอกจากนั้นแล้วควรป้องกันเชื้อราดําอย่างถาวรด้วยการติดตั้งพัดลมดูดอากาศหรือช่องเปิดที่ให้แสงสว่างและมีการระบายอากาศได้
ปูนเปลือย
คุณสมบัติของปูนเปลือยนั้นไม่เหมือนกระเบื้อง ทำให้เกิดตะไคร่น้ำได้ง่ายกว่าจึงต้องหมั่นทําความสะอาดและดูแลรักษาให้แห้งอยู่เสมอ ในจุดที่เกิดตะไคร่น้ำ ให้ฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อราและตะไคร่น้ำบนพื้นผิวปูนเปลือยทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก หลังจากพื้นผิวแห้งสนิทให้ใช้น้ำยาป้องกันตะไคร่น้ำมาเคลือบพื้นผิวทิ้งไว้ประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง แล้วจึงทาอีกครั้งก็จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
สุขภัณฑ์ห้องน้ำ
สุขภัณฑ์ห้องน้ำส่วนใหญ่มักจะเป็นสีขาวและปัญหาที่พบมากก็คือเมื่อใช้งานไปนานวัน สุขภัณฑ์ก็จะดูหม่นหมอง ไม่สดใสเหมือนวันแรกที่ซื้อมา คุณสามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการใช้คลอรีนผสมน้ำแล้วเทลงในอ่างล้างหน้า ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง หากเป็นโถสุขภัณฑ์ให้ใช้แปรงขนอ่อนชุบคลอรีนแล้วขัดเบาๆ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด เท่านี้สุขภัณฑ์ของคุณก็สะอาดเหมือนใหม่
ห้องครัว
พื้นกระเบื้อง
จุดที่ควรระวังของพื้นห้องครัวคือบริเวณร่องระหว่างแผ่นที่มักมีสิ่งสกปรกตกค้างอยู่แม้จะยาแนวแล้วก็ตาม ต้องหมั่นทําความสะอาดด้วยการใช้แปรงขนอ่อนชุบน้ำสบู่หรือผงซักฟอกแล้วขัดเบาๆ ถ้าเกิดเชื้อราควรใช้น้ำยาทําความสะอาดชนิดมีสารป้องกันเชื้อราก็จะช่วยได้
ผนังทาสี
คราบสกปรกจากการทําอาหาร ไอน้ำมัน ความชื้นต่างๆ มักเกาะติดอยู่ตามผนังครัว โดยเฉพาะบริเวณที่ปรุงอาหาร ต้องหมั่นใช้ผ้าชุบน้ำยาทําความสะอาดเช็ดเป็นประจํา หากมีโอกาสทาสีใหม่ก็ควรเลือกใช้สีทาผนังประเภทเช็ดล้างได้ซึ่งช่วยให้ทําความสะอาดง่ายและคราบสกปรกเกาะติดยากขึ้นด้วย
อุปกรณ์ครัว
สิ่งสกปรกที่พบมากคือคราบไขมันจากการปรุงอาหารจึงควรหมั่นทําความสะอาดอุปกรณ์ทําครัวด้วยการนํามาแช่น้ำยาทําความสะอาดเครื่องครัวหรือน้ำร้อนก่อนที่จะนําไปล้าง เพราะจะช่วยทําให้คราบสกปรกที่ติดอยู่หลุดออกมาได้ง่ายขึ้นกว่านําไปล้างเลยทันที
ที่มาจาก : นิตยสาร Home&decor
การทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ ภายในบ้าน
หลายๆ คนคงปวดหัวทุกครั้ง เมื่อถึงเวลาต้องมานั่งทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ ภายในบ้านที่มีวัสดุต่างชนิดกันมากมาย ตั้งแต่วัสดุปูพื้นห้องนอน ห้องน้ำ หรือผนัง เราลองมาดูเคล็ดลับดีๆ ในการทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ กัน
พื้นกระเบื้องเซรามิกและกระเบื้องโมเสก ให้ใช้แปรงที่มีขนอ่อนๆ ชุบน้ำสบู่หรือผงซักฟอก แล้วขัดบริเวณที่เป็นคราบสกปรกซ้ำๆ โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อ ถ้ามีเชื้อราให้ทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
พื้นหินเทียมหรือหินสังเคราะห์ให้ใช้น้ำอุ่นผสมกับเบกกิ้งโซดาเช็ดบริเวณที่เกิดคราบสกปรก ถ้าคราบสกปรกฝังลึกให้ผสมเบกกิ้งโซดาจนข้นแล้วนำไปพอกบริเวณนั้นๆ ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วจึงเช็ดออก แต่ถ้าเกิดรอยถลอกขีดข่วนให้ใช้น้ำยาเฉพาะ
พื้นไม้ธรรมชาติ เป็นวัสดุที่ดูแลรักษาง่าย แต่ต้องระวังเรื่องความชื้นและไม่ให้น้ำซึมเข้าสู่เนื้อไม้ ส่วนใหญ่มักจะเคลือบด้วยน้ำยารักษาเนื้อไม้ (ยูรีเทน) ถ้าสกปรกมากให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหมาดๆ เช็ด แล้วเช็ดตามด้วยผ้าแห้งทันที ถ้ามีคราบสกปรกที่เช็ดไม่ออกให้ใช้น้ำมะนาวทาทิ้งไว้ประมาณ 1 คืนแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
พื้นแผ่นลามิเนต เป็นพลาสติกที่เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย และต้องระวังไม่ให้สัมผัสกับภาชนะร้อนๆ โดยตรง วิธีทำความสะอาดให้ใช้ผ้าชุบน้ำผสมเบกกิ้งโซดาหมาดๆ เช็ดบริเวณที่เปื้อนสิ่งสกปรกแต่ระวังอย่าให้โดนน้ำมาก เพราะอาจทำให้กาวที่ติดลามิเนตหลุดออกได้
สเตนเลส ดูแลรักษาง่าย โดยใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเช็ด แต่ถ้าเป็นคราบที่เช็ดไม่ออกให้ใช้แอลกอฮอล์หรือยาสีฟันทาลงไปก่อนแล้วค่อยใช้ผ้าเช็ด และถ้าต้องการให้สเตนเลสดูใหม่อยู่เสมอ ควรลงน้ำยารักษาสเตนเลสเดือนละ 2 ครั้ง
กระจก วิธีทำความสะอาดนอกจากจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ชุบน้ำอย่างที่เคยแล้ว เราอาจใช้น้ำส้มสายชู แอมโมเนียเจือจางหรือเบกกิ้งโซดา แต่ถ้าไม่อยากเหนื่อยก็สามารถใช้เครื่องมือเช็ดกระจกที่มีแถบยางกว้างๆ จะได้ทุ่นแรง ส่วนตามมุมขอบใช้เสื้อผ้าเก่าๆ เช็ดก็ได้
พื้นหินแกรนิต เนื้อหินจะมีรูพรุน ถ้าทำน้ำหกจะทำให้เกิดเชื้อราได้ให้รีบเช็ดทันที ถ้าเกิดคราบสกปรกให้ใช้ผ้าชุบน้ำ 2 ถ้วยผสมน้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ ผงฟู บอแรกซ์ และน้ำยาล้างจานอย่างละ 1 ช้อนเช็ดบริเวณที่เกิดคราบสกปรก
พื้นหินอ่อน ดูแลรักษายาก เพราะซึมน้ำได้ง่าย จึงทำให้มีคราบไขมันและกลิ่นอาหารฝังอยู่ ถ้าป็นคราบสกปรกที่ฝังแน่นมากๆ ให้ใช้ทาร์ทาร์ซอสผสมน้ำมะนาวป้ายที่รอยสกปรกแล้วทิ้งไว้สักพัก ล้างออกด้วยน้ำปล่า ระวังอย่าใช้วัสดุที่เป็นเส้นหยาบๆ เช็ดเพราะจะทำให้เกิดรอยขีดข่วน
เพียงแค่นี้เรื่องการทำความสะอาดพื้นผิววัสดุต่างๆ ภายในบ้านของคุณก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายๆ และไม่น่าเบื่ออีกต่อไป
ที่มา : http://www.homeworks.co.th (เคล็ดลับน่ารู้กับ Mr.TipMan : เคล็ดลับการทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ ภายในบ้าน)
พื้นกระเบื้องเซรามิกและกระเบื้องโมเสก ให้ใช้แปรงที่มีขนอ่อนๆ ชุบน้ำสบู่หรือผงซักฟอก แล้วขัดบริเวณที่เป็นคราบสกปรกซ้ำๆ โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อ ถ้ามีเชื้อราให้ทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
พื้นหินเทียมหรือหินสังเคราะห์ให้ใช้น้ำอุ่นผสมกับเบกกิ้งโซดาเช็ดบริเวณที่เกิดคราบสกปรก ถ้าคราบสกปรกฝังลึกให้ผสมเบกกิ้งโซดาจนข้นแล้วนำไปพอกบริเวณนั้นๆ ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วจึงเช็ดออก แต่ถ้าเกิดรอยถลอกขีดข่วนให้ใช้น้ำยาเฉพาะ
พื้นไม้ธรรมชาติ เป็นวัสดุที่ดูแลรักษาง่าย แต่ต้องระวังเรื่องความชื้นและไม่ให้น้ำซึมเข้าสู่เนื้อไม้ ส่วนใหญ่มักจะเคลือบด้วยน้ำยารักษาเนื้อไม้ (ยูรีเทน) ถ้าสกปรกมากให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหมาดๆ เช็ด แล้วเช็ดตามด้วยผ้าแห้งทันที ถ้ามีคราบสกปรกที่เช็ดไม่ออกให้ใช้น้ำมะนาวทาทิ้งไว้ประมาณ 1 คืนแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
พื้นแผ่นลามิเนต เป็นพลาสติกที่เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย และต้องระวังไม่ให้สัมผัสกับภาชนะร้อนๆ โดยตรง วิธีทำความสะอาดให้ใช้ผ้าชุบน้ำผสมเบกกิ้งโซดาหมาดๆ เช็ดบริเวณที่เปื้อนสิ่งสกปรกแต่ระวังอย่าให้โดนน้ำมาก เพราะอาจทำให้กาวที่ติดลามิเนตหลุดออกได้
สเตนเลส ดูแลรักษาง่าย โดยใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเช็ด แต่ถ้าเป็นคราบที่เช็ดไม่ออกให้ใช้แอลกอฮอล์หรือยาสีฟันทาลงไปก่อนแล้วค่อยใช้ผ้าเช็ด และถ้าต้องการให้สเตนเลสดูใหม่อยู่เสมอ ควรลงน้ำยารักษาสเตนเลสเดือนละ 2 ครั้ง
กระจก วิธีทำความสะอาดนอกจากจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ชุบน้ำอย่างที่เคยแล้ว เราอาจใช้น้ำส้มสายชู แอมโมเนียเจือจางหรือเบกกิ้งโซดา แต่ถ้าไม่อยากเหนื่อยก็สามารถใช้เครื่องมือเช็ดกระจกที่มีแถบยางกว้างๆ จะได้ทุ่นแรง ส่วนตามมุมขอบใช้เสื้อผ้าเก่าๆ เช็ดก็ได้
พื้นหินแกรนิต เนื้อหินจะมีรูพรุน ถ้าทำน้ำหกจะทำให้เกิดเชื้อราได้ให้รีบเช็ดทันที ถ้าเกิดคราบสกปรกให้ใช้ผ้าชุบน้ำ 2 ถ้วยผสมน้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ ผงฟู บอแรกซ์ และน้ำยาล้างจานอย่างละ 1 ช้อนเช็ดบริเวณที่เกิดคราบสกปรก
พื้นหินอ่อน ดูแลรักษายาก เพราะซึมน้ำได้ง่าย จึงทำให้มีคราบไขมันและกลิ่นอาหารฝังอยู่ ถ้าป็นคราบสกปรกที่ฝังแน่นมากๆ ให้ใช้ทาร์ทาร์ซอสผสมน้ำมะนาวป้ายที่รอยสกปรกแล้วทิ้งไว้สักพัก ล้างออกด้วยน้ำปล่า ระวังอย่าใช้วัสดุที่เป็นเส้นหยาบๆ เช็ดเพราะจะทำให้เกิดรอยขีดข่วน
เพียงแค่นี้เรื่องการทำความสะอาดพื้นผิววัสดุต่างๆ ภายในบ้านของคุณก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายๆ และไม่น่าเบื่ออีกต่อไป
ที่มา : http://www.homeworks.co.th (เคล็ดลับน่ารู้กับ Mr.TipMan : เคล็ดลับการทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ ภายในบ้าน)
เสาเข็ม
โครงสร้างของฐานราก
ฐานรากของบ้านเป็นสิ่งที่ให้ความมั่งคงและแข็งแรงให้แก่ตัวบ้านเป็นอันดับแรก ถ้าจะเปรียบเทียบ กับต้นไม้ใหญ่ก็เปรียบเสมือนรากแก้วของต้นไม้เลยที่เดียว ต้นไม้ที่มีรากแก้วใหญ่จะหยั่งรากลึกลงไปในดิน ยิ่งมากเท่าไรก็ย่อมก่อเกิดความมั่งคงแข็งแรงแก่ต้นไม้นั้นมากขึ้นเท่านั้น บ้านก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีฐานรากที่ มั่นคงแข็งแรงผู้อยู่อาศัยก็ย่อมอุ่นใจได้ว่าบ้านที่อยู่นั้นจะไม่เอียงหรือทรุดลงมาในภายหลัง ซึ่งผู้อ่านก็คงได้ ยินข่าวเกี่ยวกับตึกแถวที่เอียงและพังถล่มลงมาซึ่งมีสาเหตุมาจากโครงสร้างของฐานรากที่ไม่แข็งแรงนั่นเอง
ส่วนประกอบที่สำคัญของโครงสร้างของฐานรากก็คือส่วนที่อยู่ลึกที่สุดลงไปในดินนั่งก็คือเสาเข็ม ผู้ซื้อบ้านหรือผู้ปลูกบ้านส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยสนใจหรือให้ความสำคัญกับเสาเข็มมากนัก เหตุผลหนึ่ง อาจ เป็นเพราะเสาเข็มซ่อนอยู่ใต้ดินเมื่อตอกลงไปแล้วก็หายไป ไม่ปรากฏเป็นหน้าเป็นตาของตัวบ้านแต่ประการใด อีกเหตุผลหนึ่งคงจะเป็นเพราะว่าการกำหนดว่าบ้านแต่ละแบบแต่ละหลังจะต้องใช้เสาเข็มชนิด ใด ขนาดใด เป็นจำนวนเท่าใดนั้น จะต้องใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมมาคำนวณและกำหนดลงไป ซึ่งควร จะเป็นหน้าที่ของวิศวกรผู้ออกแบบและผู้ควบคุมการก่อสร้างที่จะดำเนินขั้นตอนเหล่านี้ให้เป็นไปด้วยความ เรียบร้อย ผู้ซื้อบ้านหรือผู้ปลูกบ้านส่วนใหญ่มิได้มีพื้นความรู้ในสิ่งเหล่านี้จึงไม่น่าจะเป็นภาระที่จะต้องมากัง วล หรือสนใจกับสิ่งเหล่านี้ ความคิดเช่นนี้จะถูกหรือผิดเสียทีเดียวก็คงไม่ได้ แต่ในการออกแบบหรือควบคุมการปลูกสร้างบ้าน แต่ละหลัง บางครั้งก็มิใช่ว่าจะถูกต้องสมบูรณ์ไปเสียทั้งหมด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับมาตรฐาน ประสบการณ์ และความชำนาญของผู้ออกแบบและผู้ควบคุมการก่อสร้างแต่ละรายด้วย การที่ผู้ซื้อบ้านหรือผู้ปลูกบ้านมีความ รู้เกี่ยวกับการสร้างบ้านบ้างก็ย่อมจะเป็นการได้เปรียบ อย่างน้อยก็เพื่อเป็นข้อคิดหรือข้อสังเกต เมื่อพบเห็นสิ่งผิดสังเกตหรือข้อสงสัยจะได้สามารถสอบถามเพื่อขอคำชี้แจงได้ ซึ่งจะทำให้เจ้าของบ้านสามารถป้องกันหรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ตั้งแต่แรก
ประเภทของเสาเข็ม
เสาเข็มที่ใช้กับอาคารบ้านเรือนทั่วไปในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของการผลิตและการใช้งาน ได้แก่
1. เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ( prestressed concrete pile )
2. เสาเข็มเจาะ ( bored pile )
3. เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง ( prestressed concrete spun pile )
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเสาเข็มแต่ละประเภทพร้อมทั้งข้อสังเกตที่สำคัญบางประการ ดังต่อไปนี้
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเป็นเสาเข็มที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับอาคารพานิชย์และบ้านพักอาศัยทั่วไป เป็นเสาคอนกรีตที่ทำจากปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็วและโครงเหล็กภายในทำจากลวดเหล็กอัดแรงกำลังสูง กรรมวิธีที่ใช้ในการลงเสาเข็มจะเป็นการตอกกระแทกลงไปในดินโดยใช้ปั้นจั่นซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อนและประหยัดค่าใช้จ่าย
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงสามารถแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกตามรูปร่างลักษณะของเสาเข็ม ที่ใช้กัน แพร่หลาย ได้แก่
1. เสาเข็มรูปตัวไอ
2. เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน
3. เสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง
4. เสาเข็มรูปตัวที
ชนิดเสาเข็มที่ใช้สำหรับรับน้ำหนักของตัวบ้านโดยทั่วไปจะเป็นเสาเข็ม รูปตัวไอ ส่วนขนาดและ ความยาวนั้นขึ้นอยู่กับวิศวกรผู้ออกแบบเป็นผู้กำหนด ส่วนเสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง หรือเสาเข็มรูปตัวทีนั้นมักจะใช้กับงานโครงสร้างที่เล็กกว่าหรือการรับน้ำหนักน้อยกว่า เช่น งานฐานราก ของรั้ว
เสาเข็มเจาะ
เสาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มอีกประเภทหนึ่งซึ่งแตกต่างจากเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงในลักษณะของการใช้ งาน กรรมวิธีในการทำเสาเข็มเจาะค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน และจะต้องทำ ณ สถานที่ที่จะใช้งานจริงเลย โดยใช้เครื่องมือเจาะขุดดินลงไปให้ได้ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางและความลึกของเสาเข็มตามที่กำหนดจาก นั้นจึงจะใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสาเข็ม
เสาเข็มเจาะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆตามขนาดของเสาเข็มและกรรมวิธีที่ใช้ อันได้แก่
1. เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ( small diameter bored pile )
เป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง 35-60 เซนติเมตร ( ส่วนใหญ่จะเป็น ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 35, 40, 50, 60 เซนติเมตร ) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 18-23 เมตร กรรมวิธีที่ใช้ในการเจาะมักจะเป็นแบบแห้ง ( dry process ) ซึ่งเป็นการขุดเจาะโดยใช้เครื่องมือขุดเจาะ ลงไปตามธรรมดา
2. เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ ( large diameter bored pile )
เป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 60 เซนติเมตรขึ้นไป ( ส่วนใหญ่จะมี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 80, 100, 120, 150 เซนติเมตร ) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 25-65 เมตร กรรมวิธีที่ในการเจาะมักจะเป็นระบบเปียก ( wet process ) ซึ่งแตกต่างจากระบบแห้ง คือจะต้องเพิ่ม ขั้นตอนในการฉีดสารเคมีเหลวซึ่งเรียกว่า Bentonite slurry ลงไปในหลุมที่ทำการขุดเจาะ โดยเฉพาะ หลุมที่มีความลึกมากๆถึงชั้นทรายหรือหลุมที่มีน้ำใต้ดิน ทั้งนี้ เพื่อสร้างแรงดันในหลุมที่เจาะและยึดประ สานผิวดินในหลุมเพื่อป้องกันมิให้ผนังหลุมที่เจาะพังทลายลงมา
การใช้เสาเข็มเจาะจะไม่ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนอันอาจเป็นอันตรายต่ออาคารข้างเคียง เพราะไม่มี การตอกกระแทกของปั้นจั่นดังเช่นที่ใช้กับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง อีกทั้งขนาดของเสาเข็มเจาะก็อาจทำให้มีขนาดใหญ่โดยมีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 200 เซนติเมตร เพราะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อจำกัดของขนาดของปั้นจั่นและน้ำหนักของตัวเสาเข็ม ขณะที่เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงนั้นขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ใช้กันทั่ว ไปมีขนาดความกว้างของพื้นที่หน้าตัดเพียง 40 เซนติเมตรเท่านั้น อีกทั้งความลึกของเสาเข็มเจาะก็สามมารถเจาะได้ลึกกว่าความยาวของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ฉะนั้นเสาเข็มเจาะจึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับอาคารสูงซึ่ง ต้องรับน้ำหนักมากและอาคารที่สร้างใกล้ชิดเพื่อป้องกันมิให้เกิดการสั่นสะเทือนซึ่งจะเป็นอันตรายต่ออาคาร ข้างเคียง ในทางปฏิบัติแล้วขั้นตอนในการทำเสาเข็มเจาะจะมีรายละเอียดที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่าที่กล่าวไว้มาก ที่กล่าวมาข้างต้นก็เพียงต้องการให้มองเห็นภาพและขั้นตอนของการทำเสาเข็มเจาะเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น การปลูกบ้านพักอาศัยโดยทั่วไปมักจะใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเพราะมีขั้นตอนที่ง่ายกว่าและราคาถูกกว่า เสาเข็มเจาะ
เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง
เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรงหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเสาเข็มสปัน เป็นเสาเข็มที่ผลิตที่ใช้กรรมวิธีการ ปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อ โดยวิธีธรรมดา จึงมีความแข็งแกร่งสูง รับน้ำหนักได้มาก เสาเข็มสปันมีลักษณะเป็นเสากลม ตรงกลางกลวง มีโครงลวดเหล็กอัดแรงฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ การตอกเสาชนิดนี้สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งวิธีการตอกด้วยปั้นจั่นแบบธรรมดา และวิธีการตอกด้วยระบบเจาะกด
เสาเข็มสปันมีให้เลือกใช้หลายขนาด ที่พบเห็นกันมากมีตั้งแต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 - 100 เซนติเมตร มีความหนาของเนื้อคอนกรีตอยู่ในช่วง 6 - 14 เซนติเมตร โดยมีความยาวอยู่ในช่วง 6 - 18 เมตร ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต ซึ่งความยาวนี้สามารถเพิ่มได้โดยการนำเสามาเชื่อมต่อกัน เนื่องจากเสาเข็มสปันมีลักษณะกลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอก และถ้าเสาเข็มที่ใช้ความ ยาวมากก็สามารถลดแรงดันของดินในขณะตอกได้โดยการเจาะนำและลำเลียงดินขึ้นทางรูกลวงของเสา ซึ่ง จะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่ออาคารข้างเคียงได้มาก เสาชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้เป็นฐานรากของอาคารสูงที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงสูงเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องลมแรงและการเกิดแผ่นดินไหว
ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเสาเข็มที่ใช้และกรรมวิธีในการตอก
ข้อสังเกตในที่นี้จะเน้นกล่าวถึงเฉพาะที่เกี่ยวกับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เนื่องจากเป็น เสาเข็มที่ใช้ กันแพร่หลายสำหรับอาคารบ้านเรือนทั่วไป
1. เสาเข็มที่ใช้ควรอยู่ในสภาพที่ดีไม่มีการแตกหักหรือชำรุดมาก่อน ถ้าเป็นไปได้ควร ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ( สมอ. ) โดยมี เครื่องหมายรับรองมาตร ฐานอุตสาหกรรม ( มอก. ) ประทับอยู่ และมีการระบุถึงวัน / เดือน / ปี ที่ทำการผลิตว่าผลิตออกมาเมื่อใด ถ้าเป็นไปได้เสาเข็มที่ใช้ควรจะมีอายุการผลิต 4 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะ เสาเข็มที่เพิ่งผลิตออกมาใหม่คอนกรีต ที่ใช้ทำเสาเข็มยังบ่มตัวไม่เข้าที่ ความแข็งแกร่งยัง มีน้อยอาจเกิดการชำรุดหรือแตกหักระหว่างการตอกได้
2. เสาเข็มที่มีขนาดยาวอาจใช้เสาเข็มขนาดสั้น 2 ท่อนมาเชื่อมต่อกันได้เพื่อความ สะดวกในการ ตอกหรือความสะดวกในการขนส่ง ทั้งนี้ เสาเข็มที่นำมาเชื่อมต่อกันจะต้องมีลักษณะ และขนาดของพื้นที่หน้าตัดเหมือนกัน กรรมวิธีในการตอกคือจะทำการตอกเสาท่อนแรกลงไปใน ดินจนเกือบมิดก่อนแล้วใช้ปั้นจั่นดึงเสาท่อนที่สองขึ้นมาจรดกับเสาท่อนแรกในแนวตรง แล้วทำการ เชื่อมเหล็กที่ขอบเสาตรงรอยต่อให้ติดกัน การเชื่อมจะต้องเชื่อมอย่างประณีตโดยรอบให้เสาทั้ง 2 ท่อนต่อกันอย่างสนิทและเป็นแนวเส้นตรง จากนั้นจึงใช้ปั้นจั่นตอกลงไปต่อ
3. การตอกเสาเข็มให้ลึกถึงระดับ การจะดูการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดเสร็จสิ้นเรียบ ร้อยได้ผล ตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปใน ดินเท่านั้น แต่จะต้องดู จำนวนครั้งในการตอกด้วย ( blow count ) ว่าเสาเข็มแต่ละต้นใช้ จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็ม จม มิดดิน ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความแน่นของดิน ที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยัง ไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะ เป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงกันข้าม ถ้าจำนวนครั้งในการตอกมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้น จะยังจมไม่ มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะตอกต่อลงไปอีก เพราะการฝืนตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็ม แต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของพื้นที่หน้าตัด และความยาวของเสาเข็มนั้น ๆ
ที่มาของบทความ http://srangbaan.com/library-ch5-base.htm
ฐานรากของบ้านเป็นสิ่งที่ให้ความมั่งคงและแข็งแรงให้แก่ตัวบ้านเป็นอันดับแรก ถ้าจะเปรียบเทียบ กับต้นไม้ใหญ่ก็เปรียบเสมือนรากแก้วของต้นไม้เลยที่เดียว ต้นไม้ที่มีรากแก้วใหญ่จะหยั่งรากลึกลงไปในดิน ยิ่งมากเท่าไรก็ย่อมก่อเกิดความมั่งคงแข็งแรงแก่ต้นไม้นั้นมากขึ้นเท่านั้น บ้านก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีฐานรากที่ มั่นคงแข็งแรงผู้อยู่อาศัยก็ย่อมอุ่นใจได้ว่าบ้านที่อยู่นั้นจะไม่เอียงหรือทรุดลงมาในภายหลัง ซึ่งผู้อ่านก็คงได้ ยินข่าวเกี่ยวกับตึกแถวที่เอียงและพังถล่มลงมาซึ่งมีสาเหตุมาจากโครงสร้างของฐานรากที่ไม่แข็งแรงนั่นเอง
ส่วนประกอบที่สำคัญของโครงสร้างของฐานรากก็คือส่วนที่อยู่ลึกที่สุดลงไปในดินนั่งก็คือเสาเข็ม ผู้ซื้อบ้านหรือผู้ปลูกบ้านส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยสนใจหรือให้ความสำคัญกับเสาเข็มมากนัก เหตุผลหนึ่ง อาจ เป็นเพราะเสาเข็มซ่อนอยู่ใต้ดินเมื่อตอกลงไปแล้วก็หายไป ไม่ปรากฏเป็นหน้าเป็นตาของตัวบ้านแต่ประการใด อีกเหตุผลหนึ่งคงจะเป็นเพราะว่าการกำหนดว่าบ้านแต่ละแบบแต่ละหลังจะต้องใช้เสาเข็มชนิด ใด ขนาดใด เป็นจำนวนเท่าใดนั้น จะต้องใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมมาคำนวณและกำหนดลงไป ซึ่งควร จะเป็นหน้าที่ของวิศวกรผู้ออกแบบและผู้ควบคุมการก่อสร้างที่จะดำเนินขั้นตอนเหล่านี้ให้เป็นไปด้วยความ เรียบร้อย ผู้ซื้อบ้านหรือผู้ปลูกบ้านส่วนใหญ่มิได้มีพื้นความรู้ในสิ่งเหล่านี้จึงไม่น่าจะเป็นภาระที่จะต้องมากัง วล หรือสนใจกับสิ่งเหล่านี้ ความคิดเช่นนี้จะถูกหรือผิดเสียทีเดียวก็คงไม่ได้ แต่ในการออกแบบหรือควบคุมการปลูกสร้างบ้าน แต่ละหลัง บางครั้งก็มิใช่ว่าจะถูกต้องสมบูรณ์ไปเสียทั้งหมด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับมาตรฐาน ประสบการณ์ และความชำนาญของผู้ออกแบบและผู้ควบคุมการก่อสร้างแต่ละรายด้วย การที่ผู้ซื้อบ้านหรือผู้ปลูกบ้านมีความ รู้เกี่ยวกับการสร้างบ้านบ้างก็ย่อมจะเป็นการได้เปรียบ อย่างน้อยก็เพื่อเป็นข้อคิดหรือข้อสังเกต เมื่อพบเห็นสิ่งผิดสังเกตหรือข้อสงสัยจะได้สามารถสอบถามเพื่อขอคำชี้แจงได้ ซึ่งจะทำให้เจ้าของบ้านสามารถป้องกันหรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ตั้งแต่แรก
ประเภทของเสาเข็ม
เสาเข็มที่ใช้กับอาคารบ้านเรือนทั่วไปในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของการผลิตและการใช้งาน ได้แก่
1. เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ( prestressed concrete pile )
2. เสาเข็มเจาะ ( bored pile )
3. เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง ( prestressed concrete spun pile )
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเสาเข็มแต่ละประเภทพร้อมทั้งข้อสังเกตที่สำคัญบางประการ ดังต่อไปนี้
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเป็นเสาเข็มที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับอาคารพานิชย์และบ้านพักอาศัยทั่วไป เป็นเสาคอนกรีตที่ทำจากปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็วและโครงเหล็กภายในทำจากลวดเหล็กอัดแรงกำลังสูง กรรมวิธีที่ใช้ในการลงเสาเข็มจะเป็นการตอกกระแทกลงไปในดินโดยใช้ปั้นจั่นซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อนและประหยัดค่าใช้จ่าย
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงสามารถแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกตามรูปร่างลักษณะของเสาเข็ม ที่ใช้กัน แพร่หลาย ได้แก่
1. เสาเข็มรูปตัวไอ
2. เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน
3. เสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง
4. เสาเข็มรูปตัวที
ชนิดเสาเข็มที่ใช้สำหรับรับน้ำหนักของตัวบ้านโดยทั่วไปจะเป็นเสาเข็ม รูปตัวไอ ส่วนขนาดและ ความยาวนั้นขึ้นอยู่กับวิศวกรผู้ออกแบบเป็นผู้กำหนด ส่วนเสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง หรือเสาเข็มรูปตัวทีนั้นมักจะใช้กับงานโครงสร้างที่เล็กกว่าหรือการรับน้ำหนักน้อยกว่า เช่น งานฐานราก ของรั้ว
เสาเข็มเจาะ
เสาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มอีกประเภทหนึ่งซึ่งแตกต่างจากเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงในลักษณะของการใช้ งาน กรรมวิธีในการทำเสาเข็มเจาะค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน และจะต้องทำ ณ สถานที่ที่จะใช้งานจริงเลย โดยใช้เครื่องมือเจาะขุดดินลงไปให้ได้ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางและความลึกของเสาเข็มตามที่กำหนดจาก นั้นจึงจะใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสาเข็ม
เสาเข็มเจาะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆตามขนาดของเสาเข็มและกรรมวิธีที่ใช้ อันได้แก่
1. เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ( small diameter bored pile )
เป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง 35-60 เซนติเมตร ( ส่วนใหญ่จะเป็น ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 35, 40, 50, 60 เซนติเมตร ) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 18-23 เมตร กรรมวิธีที่ใช้ในการเจาะมักจะเป็นแบบแห้ง ( dry process ) ซึ่งเป็นการขุดเจาะโดยใช้เครื่องมือขุดเจาะ ลงไปตามธรรมดา
2. เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ ( large diameter bored pile )
เป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 60 เซนติเมตรขึ้นไป ( ส่วนใหญ่จะมี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 80, 100, 120, 150 เซนติเมตร ) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 25-65 เมตร กรรมวิธีที่ในการเจาะมักจะเป็นระบบเปียก ( wet process ) ซึ่งแตกต่างจากระบบแห้ง คือจะต้องเพิ่ม ขั้นตอนในการฉีดสารเคมีเหลวซึ่งเรียกว่า Bentonite slurry ลงไปในหลุมที่ทำการขุดเจาะ โดยเฉพาะ หลุมที่มีความลึกมากๆถึงชั้นทรายหรือหลุมที่มีน้ำใต้ดิน ทั้งนี้ เพื่อสร้างแรงดันในหลุมที่เจาะและยึดประ สานผิวดินในหลุมเพื่อป้องกันมิให้ผนังหลุมที่เจาะพังทลายลงมา
การใช้เสาเข็มเจาะจะไม่ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนอันอาจเป็นอันตรายต่ออาคารข้างเคียง เพราะไม่มี การตอกกระแทกของปั้นจั่นดังเช่นที่ใช้กับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง อีกทั้งขนาดของเสาเข็มเจาะก็อาจทำให้มีขนาดใหญ่โดยมีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 200 เซนติเมตร เพราะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อจำกัดของขนาดของปั้นจั่นและน้ำหนักของตัวเสาเข็ม ขณะที่เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงนั้นขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ใช้กันทั่ว ไปมีขนาดความกว้างของพื้นที่หน้าตัดเพียง 40 เซนติเมตรเท่านั้น อีกทั้งความลึกของเสาเข็มเจาะก็สามมารถเจาะได้ลึกกว่าความยาวของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ฉะนั้นเสาเข็มเจาะจึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับอาคารสูงซึ่ง ต้องรับน้ำหนักมากและอาคารที่สร้างใกล้ชิดเพื่อป้องกันมิให้เกิดการสั่นสะเทือนซึ่งจะเป็นอันตรายต่ออาคาร ข้างเคียง ในทางปฏิบัติแล้วขั้นตอนในการทำเสาเข็มเจาะจะมีรายละเอียดที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่าที่กล่าวไว้มาก ที่กล่าวมาข้างต้นก็เพียงต้องการให้มองเห็นภาพและขั้นตอนของการทำเสาเข็มเจาะเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น การปลูกบ้านพักอาศัยโดยทั่วไปมักจะใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเพราะมีขั้นตอนที่ง่ายกว่าและราคาถูกกว่า เสาเข็มเจาะ
เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง
เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรงหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเสาเข็มสปัน เป็นเสาเข็มที่ผลิตที่ใช้กรรมวิธีการ ปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อ โดยวิธีธรรมดา จึงมีความแข็งแกร่งสูง รับน้ำหนักได้มาก เสาเข็มสปันมีลักษณะเป็นเสากลม ตรงกลางกลวง มีโครงลวดเหล็กอัดแรงฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ การตอกเสาชนิดนี้สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งวิธีการตอกด้วยปั้นจั่นแบบธรรมดา และวิธีการตอกด้วยระบบเจาะกด
เสาเข็มสปันมีให้เลือกใช้หลายขนาด ที่พบเห็นกันมากมีตั้งแต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 - 100 เซนติเมตร มีความหนาของเนื้อคอนกรีตอยู่ในช่วง 6 - 14 เซนติเมตร โดยมีความยาวอยู่ในช่วง 6 - 18 เมตร ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต ซึ่งความยาวนี้สามารถเพิ่มได้โดยการนำเสามาเชื่อมต่อกัน เนื่องจากเสาเข็มสปันมีลักษณะกลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอก และถ้าเสาเข็มที่ใช้ความ ยาวมากก็สามารถลดแรงดันของดินในขณะตอกได้โดยการเจาะนำและลำเลียงดินขึ้นทางรูกลวงของเสา ซึ่ง จะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่ออาคารข้างเคียงได้มาก เสาชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้เป็นฐานรากของอาคารสูงที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงสูงเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องลมแรงและการเกิดแผ่นดินไหว
ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเสาเข็มที่ใช้และกรรมวิธีในการตอก
ข้อสังเกตในที่นี้จะเน้นกล่าวถึงเฉพาะที่เกี่ยวกับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เนื่องจากเป็น เสาเข็มที่ใช้ กันแพร่หลายสำหรับอาคารบ้านเรือนทั่วไป
1. เสาเข็มที่ใช้ควรอยู่ในสภาพที่ดีไม่มีการแตกหักหรือชำรุดมาก่อน ถ้าเป็นไปได้ควร ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ( สมอ. ) โดยมี เครื่องหมายรับรองมาตร ฐานอุตสาหกรรม ( มอก. ) ประทับอยู่ และมีการระบุถึงวัน / เดือน / ปี ที่ทำการผลิตว่าผลิตออกมาเมื่อใด ถ้าเป็นไปได้เสาเข็มที่ใช้ควรจะมีอายุการผลิต 4 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะ เสาเข็มที่เพิ่งผลิตออกมาใหม่คอนกรีต ที่ใช้ทำเสาเข็มยังบ่มตัวไม่เข้าที่ ความแข็งแกร่งยัง มีน้อยอาจเกิดการชำรุดหรือแตกหักระหว่างการตอกได้
2. เสาเข็มที่มีขนาดยาวอาจใช้เสาเข็มขนาดสั้น 2 ท่อนมาเชื่อมต่อกันได้เพื่อความ สะดวกในการ ตอกหรือความสะดวกในการขนส่ง ทั้งนี้ เสาเข็มที่นำมาเชื่อมต่อกันจะต้องมีลักษณะ และขนาดของพื้นที่หน้าตัดเหมือนกัน กรรมวิธีในการตอกคือจะทำการตอกเสาท่อนแรกลงไปใน ดินจนเกือบมิดก่อนแล้วใช้ปั้นจั่นดึงเสาท่อนที่สองขึ้นมาจรดกับเสาท่อนแรกในแนวตรง แล้วทำการ เชื่อมเหล็กที่ขอบเสาตรงรอยต่อให้ติดกัน การเชื่อมจะต้องเชื่อมอย่างประณีตโดยรอบให้เสาทั้ง 2 ท่อนต่อกันอย่างสนิทและเป็นแนวเส้นตรง จากนั้นจึงใช้ปั้นจั่นตอกลงไปต่อ
3. การตอกเสาเข็มให้ลึกถึงระดับ การจะดูการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดเสร็จสิ้นเรียบ ร้อยได้ผล ตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปใน ดินเท่านั้น แต่จะต้องดู จำนวนครั้งในการตอกด้วย ( blow count ) ว่าเสาเข็มแต่ละต้นใช้ จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็ม จม มิดดิน ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความแน่นของดิน ที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยัง ไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะ เป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงกันข้าม ถ้าจำนวนครั้งในการตอกมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้น จะยังจมไม่ มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะตอกต่อลงไปอีก เพราะการฝืนตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็ม แต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของพื้นที่หน้าตัด และความยาวของเสาเข็มนั้น ๆ
ที่มาของบทความ http://srangbaan.com/library-ch5-base.htm
อาคารประหยัดพลังงาน
หลักการ และเหตุผล :
เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้อง และมีแนวโน้มการใช้พลังงานกับอาคารมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต เช่น การทำความเย็น การทำความร้อน การให้แสงสว่าง การขนส่งในอาคาร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ ล้วนต้องใช้ พลังงานทั้งสิ้น
นอกจากนี้ วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง และตกแต่งอาคาร เป็นสิ่งที่ต้องใช้พลังงานในการผลิตเช่นกัน ยิ่งวัสดุ มีขั้นตอนการผลิตซับซ้อนมากเท่าใด ยิ่งต้องใช้พลังงานมากขึ้นเท่านั้น
วิธีการติดตั้ง ก็ต้องใช้อุปกรณ์และพลังงานมากขึ้นด้วย พลังงานที่ใช้กับอาคารทั้งทางตรง และทางอ้อม ส่วนใหญ่ยังคงเป็นพลังงานประเภท ฟอสซิล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ปล่อยก๊าสเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ อาคารต่างๆ ที่เราใช้อยู่ จึง มีส่วนสำคัญในการใช้พลังงาน และสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่นกัน ใน ขณะที่ปัจจุบัน การสร้างอาคารทั่วไป และการเลือกใช้วัสดุส่วนใหญ่จะคำนึงถึงเรื่องความสวยงาม เป็นหลัก
วัตถุประสงค์
1. เพื่อใช้เป็นห้องสมุดของอาคารอาศรมพลังงาน
2. เพื่อให้เป็นอาคารตัวอย่างที่แสดงแนวคิด และเทคโนโลยีต่างๆ ด้าน Sustainable Building
3. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้าน Sustainable Building
เทคนิคที่นำมาใช้ในการออกแบบ
1. การนำระบบธรรมชาติ (Passive/ nature-driven technology) มาใช้ประกอบ การออกแบบ
1.1 การกำหนดทิศทาง และตำแหน่งของตัวอาคาร ( Building orientation) ให้ถูกต้องกับทิศทาง
โคจรของดวงอาทิตย์ และลม เพื่อให้อาคารโดนแสงแดดน้อย และรับลมได้เต็มที่
1.2 การสร้างสภาพภูมิอากาศบริเวณอาคาร (Micro-climate) ให้เย็นด้วยการจัดภูมิสถาปัตย์
การปลูกต้นไม้ ทรงสูง ในบริเวณที่ต้องการให้ร่มเงา และลมสามารถพัดผ่านใต้พุ่มใบได้
1.3 ป้องกันความชื้นจากดินในส่วนเก็บหนังสือ โดยการยกพื้นอาคารสูงขึ้น ให้มีอากาศระบายใต้ถุนอาคาร
1.4 การนำแสงธรรมชาติ (Day lighting) มาใช้ โดยการออกแบบให้สามารถใช้แสงธรรมชาติได้
ในเกือบทุก ส่วนของอาคาร
1.5 การรักษาสภาพอุณหภูมิ ภายในอาคารให้อยู่ในสภาวะสบาย (Comfort Zone)
2. การใช้วัสดุ
- ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการนำวัสดุที่มีอยู่กลับมาใช้เพื่อไม่ต้อง ซื้อวัสดุสำหรับก่อสร้าง ใหม่ เป็นการรักษาทรัพยากร ลดการสร้างผลกระทบให้กับสิ่งแวดล้อม และประหยัดพลังงานในการผลิตวัสดุ (Embodied Energy)
- ใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-friendly Material) และลดการใช้พลังงานในอาคาร การใช้วัสดุ และฉนวนป้องกันความร้อน (Thermal Envelope) ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศที่เปลือกอาคาร เพื่อ ป้องกัน หรือลดความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ภายในอาคาร
ข้อจำกัดของอาคาร
1.การป้องกันความชื้น จากอากาศภายนอก เนื่องจาก อาคารเป็นระบบเปิด จึงสามารถป้องกันความชื้น จาก อากาศภายนอกได้ยาก
2. การออกแบบไม่ได้ป้องกันแสงแดด ให้กับอาคารด้านทิศตะวันออก ซึ่งจะทำให้มีแสงแดด เข้าไปในอาคาร ด้านนี้
3. อาคารนี้ยังไม่ได้ออกแบบด้านคุณภาพของแสง และการนำเอาแสงธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
4. เนื่องจาก ใช้อิฐบล็อกประสานทำเป็นผนัง ทำให้ผนังภายในห้องมีสีเข้ม ซึ่งจะทำให้ความสว่างภายในห้อง ลดลง
ที่มา: สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม
เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้อง และมีแนวโน้มการใช้พลังงานกับอาคารมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต เช่น การทำความเย็น การทำความร้อน การให้แสงสว่าง การขนส่งในอาคาร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ ล้วนต้องใช้ พลังงานทั้งสิ้น
นอกจากนี้ วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง และตกแต่งอาคาร เป็นสิ่งที่ต้องใช้พลังงานในการผลิตเช่นกัน ยิ่งวัสดุ มีขั้นตอนการผลิตซับซ้อนมากเท่าใด ยิ่งต้องใช้พลังงานมากขึ้นเท่านั้น
วิธีการติดตั้ง ก็ต้องใช้อุปกรณ์และพลังงานมากขึ้นด้วย พลังงานที่ใช้กับอาคารทั้งทางตรง และทางอ้อม ส่วนใหญ่ยังคงเป็นพลังงานประเภท ฟอสซิล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ปล่อยก๊าสเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ อาคารต่างๆ ที่เราใช้อยู่ จึง มีส่วนสำคัญในการใช้พลังงาน และสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่นกัน ใน ขณะที่ปัจจุบัน การสร้างอาคารทั่วไป และการเลือกใช้วัสดุส่วนใหญ่จะคำนึงถึงเรื่องความสวยงาม เป็นหลัก
วัตถุประสงค์
1. เพื่อใช้เป็นห้องสมุดของอาคารอาศรมพลังงาน
2. เพื่อให้เป็นอาคารตัวอย่างที่แสดงแนวคิด และเทคโนโลยีต่างๆ ด้าน Sustainable Building
3. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้าน Sustainable Building
เทคนิคที่นำมาใช้ในการออกแบบ
1. การนำระบบธรรมชาติ (Passive/ nature-driven technology) มาใช้ประกอบ การออกแบบ
1.1 การกำหนดทิศทาง และตำแหน่งของตัวอาคาร ( Building orientation) ให้ถูกต้องกับทิศทาง
โคจรของดวงอาทิตย์ และลม เพื่อให้อาคารโดนแสงแดดน้อย และรับลมได้เต็มที่
1.2 การสร้างสภาพภูมิอากาศบริเวณอาคาร (Micro-climate) ให้เย็นด้วยการจัดภูมิสถาปัตย์
การปลูกต้นไม้ ทรงสูง ในบริเวณที่ต้องการให้ร่มเงา และลมสามารถพัดผ่านใต้พุ่มใบได้
1.3 ป้องกันความชื้นจากดินในส่วนเก็บหนังสือ โดยการยกพื้นอาคารสูงขึ้น ให้มีอากาศระบายใต้ถุนอาคาร
1.4 การนำแสงธรรมชาติ (Day lighting) มาใช้ โดยการออกแบบให้สามารถใช้แสงธรรมชาติได้
ในเกือบทุก ส่วนของอาคาร
1.5 การรักษาสภาพอุณหภูมิ ภายในอาคารให้อยู่ในสภาวะสบาย (Comfort Zone)
2. การใช้วัสดุ
- ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการนำวัสดุที่มีอยู่กลับมาใช้เพื่อไม่ต้อง ซื้อวัสดุสำหรับก่อสร้าง ใหม่ เป็นการรักษาทรัพยากร ลดการสร้างผลกระทบให้กับสิ่งแวดล้อม และประหยัดพลังงานในการผลิตวัสดุ (Embodied Energy)
- ใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-friendly Material) และลดการใช้พลังงานในอาคาร การใช้วัสดุ และฉนวนป้องกันความร้อน (Thermal Envelope) ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศที่เปลือกอาคาร เพื่อ ป้องกัน หรือลดความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ภายในอาคาร
ข้อจำกัดของอาคาร
1.การป้องกันความชื้น จากอากาศภายนอก เนื่องจาก อาคารเป็นระบบเปิด จึงสามารถป้องกันความชื้น จาก อากาศภายนอกได้ยาก
2. การออกแบบไม่ได้ป้องกันแสงแดด ให้กับอาคารด้านทิศตะวันออก ซึ่งจะทำให้มีแสงแดด เข้าไปในอาคาร ด้านนี้
3. อาคารนี้ยังไม่ได้ออกแบบด้านคุณภาพของแสง และการนำเอาแสงธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
4. เนื่องจาก ใช้อิฐบล็อกประสานทำเป็นผนัง ทำให้ผนังภายในห้องมีสีเข้ม ซึ่งจะทำให้ความสว่างภายในห้อง ลดลง
ที่มา: สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม
มาตรฐานและวิธีการทำงานสำหรับคอนกรีต
การที่จะให้ได้โครงสร้างคอนกรีตที่ดี จะต้องประกอบไปด้วยการเลือกใช้คอนกรีตประเภทที่เหมาะสมกับการใช้งานต่างๆ และขั้นตอนการทำงานคอนกรีตที่ดี ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม จึงจะได้คุณภาพของงานที่ดี โครงสร้างคอนกรีตมีคุณสมบัติตามที่ต้องการและมีความแข็งแรง ทนทาน
ว.ส.ท. ได้แนะนำวิธีการทำงานสำหรับคอนกรีต จึงขอคัดลอกบางส่วนมาเป็นแนวทางการทำงานดังนี้
1.การลำเลียงคอนกรีต
ในการลำเลียงคอนกรีตที่ผสมแล้วต้องคำนึงถึงสภาพการลำเลียงคอนกรีตว่าต้องระวังให้เนื้อคอนกรีตสม่ำเสมอ และไม่แยกตัวก่อนการเทลงแบบ โดยต้องป้องกันคอนกรีตจากสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิ ความร้อน และความชื้น เป็นต้น
การเลือกวิธีการลำเลียงขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
1) ปริมาณและอัตราการเทในแต่ละครั้ง
2) ขนาดและประเภทของโครงสร้าง
3) ลักษณะภูมิประเทศ สถานที่ทำงาน และเส้นทางการขนส่ง
4) ค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าแรง ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น
ข้อแนะนำ
ควรใช้เวลาในการลำเลียงคอนกรีตให้น้อยที่สุด โดยวิธีการที่เหมาะสมและประหยัดที่สุด เพื่อลดระยะเวลาในการเทคอนกรีตซึ่งจะทำให้คุณสมบัติของคอนกรีตไม่เปลี่ยนแปลงและสม่ำเสมอ นอกจากนั้นเพื่อให้การลำเลียง และการเทคอนกรีตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรวางแผนการเทคอนกรีตทุกครั้ง โดยคำนึงถึงสภาพของคอนกรีต ลักษณะของโครงสร้างที่จะเทคอนกรีต วิธีการลำเลียง และวิธีการเทคอนกรีต โดยมีหัวข้อที่ต้องพิจารณาดังนี้
(1) การเลือกใช้คอนกรีต
นอกจากกำลังอัดคอนกรีตแล้ว ควรเลือกใช้คอนกรีตให้เหมาะสมกับการเทลงแบบโครงสร้าง และเลือกวิธีการลำเลียงโดยคำนึงถึง ระยะเวลาในการก่อตัว ความข้นเหลว เป็นต้น โดยทั่วไประยะเวลาในการก่อตัวของคอนกรีตจะขึ้นอยู่กับส่วนผสมคอนกรีต วัตถุดิบที่ใช้ สารผสมเพิ่ม อุณหภูมิ ความชื้นของอากาศ และวิธีการลำเลียง
(2) แผนการเทคอนกรีต
การกำหนดแผนการเทคอนกรีต ต้องพิจารณาคุณสมบัติของคอนกรีต ชนิดของโครงสร้าง วิธีการเทคอนกรีต ปริมาณการเทคอนกรีตในแต่ละครั้ง ความยากง่ายในการเท สภาพอากาศ และอื่นๆ ที่มีผลต่อการเทคอนกรีต
(3) เครื่องมือและคนงานสำหรับการลำเลียง และการเทลงแบบ
การลำเลียงคอนกรีตควรรวดเร็วและใช้วิธีที่ประหยัด เพื่อลดการแยกตัวของคอนกรีต และลดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของคอนกรีตในด้านความสม่ำเสมอและความสามารถในการเท ดังนั้นต้องพิจารณาจำนวน ประเภทของเครื่องมือ และจำนวนคนงานที่ใช้ในการลำเลียงคอนกรีต
(4) เส้นทางการลำเลียงคอนกรีต
ควรเตรียมเส้นทางการลำเลียงคอนกรีตให้พร้อมก่อนการเท เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการลำเลียง และเพื่อให้งานเทคอนกรีตสำเร็จลงได้โดยใช้เวลาน้อยที่สุด
(5) การตรวจสอบคอนกรีต
ในขณะที่ทำการลำเลียงควรมีวิธีการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าคอนกรีตมีความสม่ำเสมอไม่แยกตัว
วิธีการลำเลียงคอนกรีต
วิธีการลำเลียงคอนกรีตที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานที่ผสมคอนกรีตและบริเวณที่จะทำการเทคอนกรีต โดยควรเลือกวิธีที่ไม่ทำให้คอนกรีตแยกตัว ตามข้อพิจารณาดังต่อไปนี้
1) เมื่อที่ผสมคอนกรีตอยู่ในระดับเดียวกับบริเวณที่ต้องการเทคอนกรีต ควรใช้วิธีการลำเลียงโดยคนงาน รถเข็น รถผสมคอนกรีต สายพานลำเลียง หรือคอนกรีตปั๊ม เป็นต้น
2) เมื่อที่ผสมคอนกรีตอยู่ในระดับสูงกว่าบริเวณที่ต้องการเทคอนกรีต ควรใช้วิธีการลำเลียงโดยราง สายพานลำเลียง หรือคอนกรีตปั๊ม เป็นต้น
3) เมื่อที่ผสมคอนกรีตอยู่ในระดับต่ำกว่าบริเวณที่ต้องการเทคอนกรีต ควรใช้วิธีการลำเลียงโดยใช้รอก ใช้ลิฟท์ รถเครน ทาวเวอร์เครน สายพานลำเลียง หรือคอนกรีตปั๊ม เป็นต้น
4) เมื่อที่ผสมคอนกรีตอยู่ห่างจากบริเวณที่ต้องการเทคอนกรีต ต้องใช้วิธีการลำเลียงโดยรถโม่ขนคอนกรีตมาส่งที่หน่วยงาน และลำเลียงต่อไปสู่บริเวณที่ต้องการเทคอนกรีตด้วยวิธีอื่นที่เหมาะสม
2. การเทคอนกรีต
การเตรียมเทคอนกรีต
สิ่งที่ควรเตรียมก่อนเทคอนกรีต มีดังต่อไปนี้
1) ต้องตรวจสอบปริมาณ และตำแหน่งของเหล็กเสริมให้ถูกต้องตามที่ออกแบบไว้ ตลอดจนตรวจสอบแบบเทคอนกรีตและอุปกรณ์อื่นๆ ให้ถูกต้องตามแผนที่วางไว้
2) ตรวจสอบผนังของเครื่องมือลำเลียง เครื่องมือเท และผนังด้านในของแบบเทคอนกรีต เพื่อไม่ให้มีสิ่งสกปรกที่จะเข้าไปผสมกับคอนกรีตที่จะเท เช่น เศษดินโคลน หรือเศษไม้ เป็นต้น ผนังด้านในของเครื่องมือและแบบเทคอนกรีตดังกล่าว ควรจะมีการทำให้ชื้นก่อนเพื่อป้องกันการดูดซับน้ำจากคอนกรีตที่ลำเลียงหรือเท
3) ในการเทหลุมหรือบ่อ ควรกำจัดน้ำที่หลงเหลืออยู่ในบ่อก่อนที่จะเทคอนกรีต และควรป้องกันไม่ให้น้ำไหลลงไปในบ่อในขณะที่เทคอนกรีตหรือขณะที่เทเสร็จแล้วใหม่ๆ
ข้อแนะนำ
การผูกเหล็กเสริมและวางตำแหน่งเหล็กเสริมต้องมีความมั่นใจว่ามีความแข็งแรงพอที่จะไม่เลื่อนตำแหน่งในขณะที่เทคอนกรีต ไม้แบบต้องมีความแข็งแรงพอเช่นกัน เศษดิน โคลน หรือเศษไม้ ที่ตกค้างอยู่ตามผนังของเครื่องมือลำเลียงหรือในแบบ จะมีผลเสียต่อกำลังของคอนกรีตในบริเวณที่มีวัสดุเหล่านี้ปะปนเข้าไป การที่ผนังของเครื่องมือลำเลียงหรือผนังแบบเทคอนกรีตดูดซับน้ำจากคอนกรีตในขณะที่เทคอนกรีต จะทำให้ผิวคอนกรีตไม่เรียบเมื่อแกะแบบแล้ว จึงควรทำให้ผนังเหล่านั้นชื้นก่อนการเทคอนกรีต แต่ไม่ควรทำให้เปียกมากจนมีน้ำขังอยู่ในแบบ
การลำเลียงคอนกรีตผ่านท่อเป็นระยะทางไกลๆ ควรมีการส่งมอร์ต้าร์นำไปก่อน มอร์ต้าร์ที่ใช้ส่งนำไปควรเป็นมอร์ต้าร์ที่มีส่วนผสมเหมือนกับมอร์ต้าร์ในคอนกรีตที่จะเท ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสูญเสียมอร์ต้าร์ไปเคลือบที่ผนังด้านในของท่อในช่วงต้นของการลำเลียงคอนกรีต
การเทคอนกรีตลงบนคอนกรีตเดิมหรือบนคอนกรีตที่เริ่มแข็งตัวแล้ว ควรเทมอร์ต้าร์ที่มีส่วนผสมเหมือนกับมอร์ต้าร์ในคอนกรีตที่จะเทลงไปก่อน ทั้งนี้เพื่อช่วยเพิ่มการยึดเกาะระหว่างคอนกรีตเดิมกับคอนกรีตที่เทใหม่ น้ำที่หลงเหลืออยู่ในบ่อที่จะเทคอนกรีตจะทำให้ส่วนผสมของคอนกรีตเปลี่ยนไป โดยทำให้กำลังของคอนกรีตและความทนทานลดลง ดังนั้นจึงควรกำจัดออกไปก่อนการเทคอนกรีต ในขณะที่เทคอนกรีตหรือในขณะที่คอนกรีตยังไม่แข็งตัวนั้น หากมีน้ำที่ไหลผ่านคอนกรีตน้ำจะกัดเซาะมอร์ต้าร์ออกจากผิวหน้าคอนกรีตได้ ทำให้ผิวคอนกรีตไม่สวย อีกทั้งกำลังและความทนทานในบริเวณนั้นจะลดลงด้วย
การเทคอนกรีต
ควรมีการวางแผนการเทคอนกรีตเพื่อให้สามารถเทได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพที่สุด โดยไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคต่องานที่ไม่เกี่ยวข้อง การเทคอนกรีตที่ดี คือการเทเพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีส่วนผสมสม่ำเสมอ ไม่มีการแยกตัว และไม่เกิดรูพรุน
ไม่ควรเทคอนกรีตให้กระทบโดยตรงกับเหล็กเสริมหรือข้างแบบ ควรเทคอนกรีตลงมาตรงๆ และไม่ควรให้คอนกรีตไหลไปในแนวราบเป็นระยะทางไกล ยกเว้นในกรณีของคอนกรีตไหล ซึ่งถูกออกแบบโดยมีการควบคุมการแยกตัว ถ้าพบว่ามีการแยกตัวของคอนกรีตหลังเริ่มการเทคอนกรีต จะต้องมีการแก้ไขทันที
ในกรณีที่แบ่งเทคอนกรีตต่อเนื่องกันเป็นชั้นๆ คอนกรีตที่เทใหม่ในชั้นบนควรเททับก่อนที่คอนกรีตชั้นล่างจะเริ่มก่อตัว
ในกรณีที่แบบมีความสูงมากไม่ควรเทคอนกรีตโดยปล่อยให้คอนกรีตตกอิสระจากส่วนบนที่สุดของแบบ แต่ควรใช้วิธีการใด ๆ เช่น สายพาน รางเท (Chute) ถัง หรือต่อท่อ เพื่อให้ระยะตกอิสระของคอนกรีตไม่เกิน 1.5 เมตร
ถ้าตรวจพบการเยิ้มของคอนกรีตระหว่างการเทคอนกรีต ควรหยุดเทจนกว่าจะกำจัดน้ำที่เยิ้มออกมาบนผิวคอนกรีตให้หมดก่อนที่จะเทคอนกรีตทับชั้นบนต่อไป
การเทคอนกรีตต่อเนื่องกันในองค์อาคารที่มีความสูง เช่น เสา หรือกำแพง ควรเทด้วยอัตราที่ไม่เร็วเกินไป โดยปกติอัตราการเทที่เหมาะสมจะอยู่ที่ประมาณ 2 ถึง 3 เมตร (ความสูง) ต่อชั่วโมง
ข้อแนะนำ
การแยกตัวของคอนกรีตในขณะที่เทอาจทำให้เกิดรูพรุน (Honey-comb) ในคอนกรีตที่เทแล้ว ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่หินซึ่งแยกตัวจากมอร์ต้าร์จะรวมกันอุดตัวอยู่ในบริเวณเหล็กเสริมที่หนาแน่น และกีดขวางไม่ให้คอนกรีตผ่านเข้าไปเติมในบริเวณเหล่านั้นได้
การเทคอนกรีตอาจทำให้เหล็กเสริมหรือแบบเคลื่อนตัวได้ ดังนั้นเหล็กเสริมและแบบต้องมั่นคงเพียงพอ อย่างไรก็ตามในขณะเทคอนกรีตควรให้ช่างเหล็กและช่างแบบเตรียมพร้อมอยู่เสมอ หากจำเป็นต้องแก้ไขตำแหน่งของเหล็กเสริมและแบบที่เคลื่อนตัวเนื่องจากการเทคอนกรีตอย่างทันท่วงที
การบังคับให้คอนกรีตไหลไปในแนวราบเป็นระยะทางยาวๆ จะทำให้เกิดการแยกตัว ยกเว้นในกรณีของคอนกรีตไหลที่มีการออกแบบโดยควบคุมการแยกตัวที่ดี ดังนั้นไม่ควรใช้เครื่องเขย่าเพื่อทำให้คอนกรีตไหลไปเติมบริเวณข้างเคียง ควรระลึกอยู่เสมอว่าจุดประสงค์ของการใช้เครื่องเขย่า คือการทำให้คอนกรีตแน่นเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อเป็นการทำให้คอนกรีตไหลไปในแนวราบ
ถ้าพบว่าคอนกรีตที่เทไปแล้วมีการแยกตัวเกิดขึ้น แสดงว่าส่วนผสมของคอนกรีตไม่เหมาะสม จึงควรแก้ไขส่วนผสมของคอนกรีตทันทีที่ตรวจพบการแยกตัวก่อนที่จะทำการเทต่อไป
ควรเทคอนกรีตให้ต่อเนื่องให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยหลีกเลี่ยงการมีรอยต่อ ทั้งนี้เนื่องจากรอยต่อที่เกิดจากการเทไม่ต่อเนื่องจะเป็นบริเวณที่มีแรงยึดเหนี่ยวกับคอนกรีตเดิมน้อยกว่าบริเวณที่เทได้อย่างต่อเนื่อง
การเทคอนกรีตโดยปล่อยให้ตกจากที่สูงมากเกินไปจะทำให้คอนกรีตบางส่วนค้างอยู่ตามเหล็กเสริมและข้างแบบในส่วนบน และเมื่อคอนกรีตเหล่านี้แข็งตัวในขณะที่ยังเทขึ้นมาไม่เต็มแบบ อาจจะเป็นอุปสรรคสำหรับการเทต่อไป เช่น กีดขวางการไหลของคอนกรีตที่เทขึ้นมาถึงระดับดังกล่าว หรือทำให้ได้ผิวหน้าของคอนกรีตไม่เรียบ อีกทั้งอาจเกิดการแยกตัวเนื่องจากหินในคอนกรีตกระทบกับเหล็กเสริมหรือข้างแบบแล้วกระเด็นไปในส่วนอื่นของแบบ เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องกำหนดระยะตกอิสระของคอนกรีตเพื่อป้องกันการเสียหายดังกล่าว
การเทคอนกรีตในองค์อาคารที่มีความสูง เช่น เสาหรือกำแพง จะทำให้มีการเคลื่อนที่ของน้ำในคอนกรีตมาก ทั้งนี้เนื่องจากคอนกรีตด้านล่างจะต้องรับน้ำหนักของคอนกรีตที่อยู่ด้านบนมาก ทำให้น้ำเคลื่อนที่ขึ้นไปด้านบน น้ำที่เคลื่อนที่เหล่านี้จะทำให้เกิดการเยิ้ม (Bleeding) และมักจะสะสมตัวอยู่บริเวณด้านล่างของเหล็กเสริมและบริเวณด้านล่างของมวลรวม ทำให้แรงยึดหน่วงระหว่างคอนกรีตกับเหล็กเสริม และแรงยึดหน่วงระหว่างซีเมนต์เพสต์กับมวลรวมลดลง
การเทคอนกรีตในกำแพงควรเทคอนกรีตให้เคลื่อนตัวออกจากมุมดีกว่าที่จะเทเข้าไปหามุม
ในการเทคอนกรีตเป็นชั้นๆ ควรทำให้ส่วนบนของชั้นของคอนกรีตที่เทไปแล้วได้ระดับในแนวราบ หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียงกับแนวราบ ก่อนการเทคอนกรีตทับชั้นบนต่อไป
3. การทำให้แน่น
ในขณะที่กำลังเทคอนกรีตอยู่นั้น จำเป็นต้องทำคอนกรีตให้แน่นโดยทั่วถึง โดยใช้อุปกรณ์ที่ใช้มือ ใช้เครื่องเขย่า หรือจะใช้เครื่องตบแต่ง ทั้งนี้เพื่อให้ได้คอนกรีตที่แน่น มีการยึดหน่วงกับเหล็กเสริมดีและได้ผิวเรียบ
รอบๆ เหล็กเสริม และสิ่งที่จะฝังติดในคอนกรีต และตามมุมของแบบหล่อควรจะทำคอนกรีตให้แน่นเป็นพิเศษ อาจจะใช้ฆ้อนเคาะภายนอกของแบบหล่อด้านข้างเพื่อช่วยกระจายคอนกรีตไปแทรกทุกๆ มุมของแบบหล่อ แต่ไม่ควรจะทำมากเกินไป เพราะจะทำให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว โดยน้ำและส่วนที่ละเอียดทั้งหลายจะเคลื่อนตัวขึ้นข้างบน น้ำที่ขึ้นมานี้มักจะรวมตัวอยู่ใต้เหล็กเสริมและใต้มวลรวมขนาดใหญ่ ซึ่งจะทำให้แรงยึดหน่วงน้อยลง และกลายสภาพเป็นร่องขึ้นจนน้ำสามารถไหลผ่านคอนกรีตได้
การกระทุ้งด้วยมือ
สำหรับคอนกรีตที่อยู่ในสภาพเทได้ ต้องใช้เครื่องมือกระทุ้งให้สุดความหนาของชั้นที่กำลังเท และควรกระทุ้งให้ถึงหรือเลยเข้าไปในชั้นคอนกรีตข้างใต้เป็นระยะประมาณ 10 ซม. การใช้เกรียงตบตรงหน้าแบบหรือใกล้ๆ กับแบบตั้ง จะช่วยลดความขรุขระที่ผิว และลดรูช่องว่างที่เกิดจากฟองอากาศด้วย
สำหรับการกระทุ้งคอนกรีตที่ค่อนข้างแห้งด้วยมือ จะใช้เครื่องมือที่มีผิวหน้าเรียบๆ และหนักตบตรงผิวจนกระทั่งมอร์ต้าร์หรือซีเมนต์เพสต์ปรากฎเป็นแผ่นบางๆ ขึ้นที่ผิว ซึ่งเป็นลักษณะที่แสดงว่าช่องว่างในมวลรวมนั้นถูกซีเมนต์เพสท์แทรกเต็มหมดแล้ว
ข้อแนะนำ
การกระทุ้งด้วยมือเหมาะสมกับงานคอนกรีตที่มีปริมาณการเทน้อยหรืองานคอนกรีตที่เหลวมาก เหล็กกระทุ้งอาจเป็นเหล็กเส้นกลมหรือเหล็กข้ออ้อย ซึ่งควรเลือกใช้ท่อนเหล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 16 มม.
การเขย่าด้วยเครื่อง
โดยทั่วไปการเขย่าด้วยเครื่องมีผลดีคือ สามารถใช้กับกรณีที่ไม่สามารถทำให้แน่นด้วยการกระทุ้งด้วยมือ ฉะนั้น การเขย่าด้วยเครื่องจะช่วยทำให้คอนกรีตที่มีค่าการยุบตัวต่ำสามารถอัดตัวแน่นได้ในแบบหล่อที่ลึกและแคบ หรือบริเวณที่มีเหล็กเสริมหนาแน่นและมีระยะเรียงของเหล็กเสริมแคบมาก ในกรณีคอนกรีตที่มีส่วนผสมเหลวและมีค่าการยุบตัวสูงจำเป็นต้องกระทุ้งคอนกรีตให้แน่นด้วยมือ แต่ถ้ามวลรวมหยาบเกิดแยกตัวเนื่องจากการเทคอนกรีตผิดวิธี จะแก้ไขด้วยวิธีใช้การเขย่าด้วยเครื่องไม่ได้
เครื่องเขย่าคอนกรีตแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ เครื่องเขย่าภายในแบบหล่อ เครื่องเขย่าที่วางบนผิวคอนกรีต และเครื่องเขย่าชนิดที่ตรึงติดกับแบบหล่อ
ข้อแนะนำ
ไม่ว่าจะใช้เครื่องเขย่าคอนกรีตชนิดไหนก็ตาม ควรเว้นระยะห่างสั้นๆ ให้เพียงพอที่ส่วนของคอนกรีตที่ถูกเขย่าแล้วมีระยะเหลื่อมกันโดยไม่เว้นข้ามส่วนไหนเลย ควรให้การเขย่าดำเนินต่อไปจนกระทั่งคอนกรีตแน่นตัวทั่วกันดี และแทรกเต็มช่องว่างทั้งหมด โดยสามารถสังเกตจากผิวคอนกรีตซึ่งจะมีลักษณะเรียบ และมวลรวมต่างๆ จมในคอนกรีต การเขย่ามากเกินไปจะทำให้มวลรวมหยาบทรุดตัวลงไปข้างล่าง ปล่อยให้น้ำหรือซีเมนต์เพสต์ลอยขึ้นมาข้างบน ปกติการเขย่าควรจะให้ผลที่ต้องการภายใน 5-15 วินาที ที่จุดห่างกัน 45-75 ซม.
เครื่องเขย่าภายในแบบหล่อ โดยทั่วไปหมายถึงเครื่องเขย่าแบบหัวจุ่ม ควรจะแหย่ลงไปในแนวดิ่งจนสุดความลึกของชั้นที่จะเท ไม่ควรลากหัวจุ่มผ่านคอนกรีตนั้นในแนวราบ ควรใช้วิธีแหย่หัวจุ่มลงไปและถอนขึ้นมาอย่างช้าๆ โดยเดินเครื่องอยู่ตลอดเวลาขณะที่กำลังถอนหัวจุ่มออกจากมวลคอนกรีต เพื่อจะได้ไม่มีรูช่องว่างเหลือค้างอยู่ในคอนกรีต ไม่ควรใช้เครื่องเขย่าเพื่อทำให้คอนกรีตไหลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดการแยกตัวขึ้นโดยหินจะตกค้างอยู่ในบริเวณที่แหย่หัวจุ่มค่อนข้างนาน
เครื่องเขย่าชนิดวางบนผิวคอนกรีต จะใช้ทำให้ชั้นที่กำลังเทแน่นตัวจนตลอดความหนาของชั้น แต่ถ้าทำให้แน่นตลอดชั้นไม่ได้ควรลดความหนาของชั้นลงมา หรือใช้เครื่องเขย่าที่มีกำลังสูงกว่า
เครื่องเขย่าชนิดที่ตรึงติดแบบหล่อ จะใช้ได้ดีสำหรับการเขย่าคอนกรีตที่มีความหนาน้อย หรือที่ตำแหน่งซึ่งเครื่องเขย่าภายในเข้าไม่ถึงเท่านั้น
ควรระมัดระวังเรื่องการเลือก การติดตั้ง และการเคลื่อนย้ายเครื่องเขย่าบ่อยๆ เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดต่อความหนาแน่นของคอนกรีต การเขย่าชั้นตื้นๆ ให้ทั่วจะช่วยลดจำนวนฟองอากาศในท่อคอนกรีตสำเร็จรูปได้อย่างมาก ตามปกติ การเขย่าคอนกรีตชั้นที่ลึกลงไป หรือการเขย่าเหล็กเสริม จะทำให้คอนกรีตที่เริ่มแข็งตัวไปแล้วบางส่วนเกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อย แต่ทั้งนี้ต้องระวังอย่าให้เกิดความเสียหายถึงขนาดที่จะแก้ด้วยการเขย่าซ้ำไม่ได้ขึ้นเป็นอันขาด เนื่องจากการเขย่าคอนกรีตซ้ำจะเป็นประโยชน์ตราบเท่าที่คอนกรีตยังไม่เริ่มก่อตัว
ตราบใดที่เครื่องเขย่าชนิดที่ใช้แหย่ลงไปในคอนกรีตยังคงจมลงไปในคอนกรีตด้วยน้ำหนักตัวเองได้ การเขย่าคอนกรีตซ้ำจะมีประโยชน์มาก การเขย่าซ้ำทีหลังนี้จะช่วยขจัดการแตกร้าวทางแนวราบ และลดรอยร้าวเนื่องจากการหดตัวซึ่งเกิดจากการทรุดตัวของคอนกรีตที่ติดค้างอยู่บนเหล็กเสริมหรือค้างอยู่กับแบบหล่อที่ขรุขระได้
การขจัดรอยร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติกและการทรุดตัวของคอนกรีต
ถ้ามีรอยร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติกและรอยร้าวเนื่องจากการทรุดตัวของคอนกรีตเกิดขึ้น ควรทำให้คอนกรีตแน่นทันทีโดยการใช้เกรียงปาดหรือตบที่ผิวเพื่อขจัดรอยร้าวดังกล่าว
ข้อแนะนำ
ถ้าพื้นหรือคานคอนกรีตมีการต่อเชื่อมกับผนังหรือเสา เพื่อป้องกันการเกิดรอยร้าวเนื่องจากการทรุดตัว คอนกรีตของพื้นหรือคานควรจะเทหลังจากการทรุดตัวของคอนกรีตของผนังและเสาสิ้นสุดแล้ว นอกจากนี้ วิธีการดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโครงสร้างที่มีส่วนยื่น
ในกรณีของโครงสร้างคอนกรีตที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ระดับการทรุดตัวของคอนกรีตขึ้นอยู่กับพื้นที่หน้าตัดของโครงสร้าง และเมื่อคอนกรีตถูกเทครั้งเดียวรอยร้าวมักจะเกิดขึ้นในตำแหน่งที่เป็นขอบเขตของพื้นที่หน้าตัดต่างๆ ดังนั้น การเทคอนกรีตควรจะหยุดชั่วคราวเมื่อมีพื้นที่หน้าตัดแตกต่างกัน การเทคอนกรีตในส่วนบนซึ่งรวมถึงส่วนยื่นด้วยควรจะกระทำหลังจากการทรุดตัวของคอนกรีตในส่วนล่างสิ้นสุดแล้ว ระยะเวลาที่เกิดการทรุดตัวของคอนกรีตขึ้นอยู่กับส่วนผสมคอนกรีต วัสดุที่ใช้ อุณหภูมิ เป็นต้น โดยปกติจะอยู่ในช่วง 1-2 ชั่วโมง
4. การตกแต่งผิวหน้าคอนกรีต
เพื่อที่จะให้ได้ผิวหน้าของคอนกรีตที่สวยงามและเป็นเนื้อเดียวกัน ควรเทคอนกรีตให้ต่อเนื่องกันด้วยคอนกรีตที่มีส่วนผสมเหมือนกัน ใช้วัสดุผสมคอนกรีตประเภทเดียวกันและใช้วิธีการเทคอนกรีตแบบเดียวกัน
ข้อแนะนำ
การเทคอนกรีตโดยไม่ต่อเนื่องจะทำให้เกิดรอยต่อ ในกรณีที่จำเป็นต้องมีรอยต่อควรมีการวางแผนเพื่อให้รอยต่อนั้นเป็นเส้นตรงเพื่อความสวยงาม
การตกแต่งผิวหน้าคอนกรีตที่ไม่ได้มีการใช้แบบหล่อ
โดยปกติผิวหน้าคอนกรีตที่ไม่ได้มีการใช้แบบหล่อจะหมายถึงผิวหน้าของคอนกรีตในแนวราบ
1) หลังจากทำให้คอนกรีตแน่นและปาดผิวหน้าคอนกรีต เพื่อให้ได้ระดับและรูปร่างที่ต้องการแล้ว ควรรอให้น้ำที่เยิ้มออกจากคอนกรีตระเหยหรือถูกกำจัดหมดก่อนที่จะตกแต่งผิวหน้าคอนกรีต แต่ไม่ควรตกแต่งผิวมากหรือนานเกินไป
2) รอยแตกที่เกิดบนผิวที่ตกแต่งไปแล้ว สามารถจะกำจัดได้โดยการทำให้แน่นหรือตกแต่งอีกครั้งก่อนคอนกรีตเริ่มก่อตัว
3) ในกรณีที่ต้องการผิวหน้าคอนกรีตที่เรียบและแน่น สามารถทำได้โดยกดเกรียงลงบนผิวหน้าคอนกรีตที่ต้องการตกแต่งให้ทั่ว
4) ควรหลีกเลี่ยงงานตกแต่งผิวหน้าคอนกรีตในขณะที่ฝนตก
ข้อแนะนำ
(1) ถ้าไม่กำจัดน้ำที่เยิ้มขึ้นมาบนผิวหน้าของคอนกรีตก่อนการตกแต่งผิว จะทำให้เกิดรอยแตกเล็กๆ จำนวนมากบนผิวหน้าคอนกรีตหลังจากที่ตกแต่งผิวหน้าคอนกรีตเสร็จแล้ว การที่ตกแต่งผิวมากหรือนานเกินไป จะทำให้ซีเมนต์เพสต์ขึ้นมาอยู่บนผิวหน้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะนำไปสู่การแตกร้าวบนผิวหน้าได้
(2) สาเหตุของรอยแตกก่อนการก่อตัวของคอนกรีต อาจเกิดจากการหดตัวแบบพลาสติก (Plastic Shrinkage) หรือ การทรุดตัว (Settlement) ซึ่งในกรณีหลังจะทำให้เกิดรอยแตกบนผิวคอนกรีตตามแนวเหล็กเสริมได้
(3) การกดเกรียงลงบนผิวหน้าคอนกรีตให้ทั่วเพื่อให้ได้ผิวหน้าคอนกรีตที่แน่นสามารถทำได้โดยรอให้ผิวหน้าคอนกรีตเริ่มมีความแข็งพอประมาณ การทดสอบอาจทำได้โดยใช้นิ้วมือกดดู ช่วงเวลาที่เหมาะสมจะเป็นช่วงที่เมื่อใช้นิ้วมือกดดูแล้วเริ่มไม่ปรากฎรอยนิ้วมือให้เห็นบนผิวหน้าของคอนกรีต
(4) ถ้าฝนตกลงบนคอนกรีตที่เทเสร็จใหม่ๆ น้ำจะชะผิวคอนกรีตสดละทำให้มอร์ต้าร์ที่ผิวหรือใกล้ๆ ผิวน้อยลงได้ ดังนั้น ควรหยุดงานตกแต่งผิวคอนกรีตจนกว่าฝนจะหยุดตก หรือถ้าจะตกแต่งผิวขณะฝนตกควรมีหลังคาป้องกันฝนที่ได้ผลเต็มที่
การตกแต่งผิวหน้าคอนกรีตที่มีการใช้แบบหล่อ
1) โครงสร้างหรือองค์อาคารที่เป็นคอนกรีตเปลือย จะต้องมีการควบคุมการคอนกรีตและการทำให้คอนกรีตแน่น เพื่อให้ได้ผิวหน้าที่มีมอร์ต้าร์ปกคลุมจนทั่ว
2) รอยสันหรือนูนบนผิวคอนกรีตควรได้รับการกำจัดเพื่อให้ได้ผิวหน้าคอนกรีตที่เรียบ ส่วนรูพรุนหรือรอยแตกควรทำการซ่อมแซมด้วยมอร์ต้าร์หรือคอนกรีตที่มีส่วนผสมที่เหมาะสม โดยการสกัดคอนกรีตส่วนที่ไม่แข็งแรงออก พรมน้ำให้เปียกแล้วจึงซ่อมด้วยมอร์ต้าร์หรือคอนกรีตที่เตรียมไว้
3) ในกรณีที่เกิดรอยแตกร้าวอย่างรุนแรงเนื่องจากการหดตัว หรือจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ต้องทำการซ่อมแซมโดยวิธีที่เหมาะสม
ข้อแนะนำ
(1) โดยปกติหลังจากแกะแบบหล่อแล้ว ผิวหน้าของคอนกรีตที่ดีควรจะเป็นผิวหน้าที่เคลือบคลุมไปด้วยมอร์ต้าร์ โดยไม่เห็นเม็ดหินหรือทรายอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ยกเว้นในกรณีพิเศษที่ผิวหน้าถูกออกแบบให้เห็นเม็ดทรายหรือหิน
(2) การตกแต่งผิวเป็นพิเศษบางอย่าง เช่น การใช้แปรง การขัด การถู หรือการฉาบด้วยพลาสเตอร์ อาจทำได้เมื่อถอดแบบแล้ว และคอนกรีตมีกำลังบ้างพอสมควร แต่สำหรับการทำหินขัด การสกัดโดยใช้ฆ้อนหรือใช้ทรายพ่นผิว จะทำได้ก็ต่อเมื่อคอนกรีตแข็งตัวโดยตลอดเสียก่อน การอุดรูพรุนและฟองอากาศอาจทำได้โดยที่ทำให้ผิวคอนกรีตเปียกโดยทั่วกันก่อนแล้วให้ใช้ส่วนผสมปูนซีเมนต์ 1 ส่วนต่อทรายละเอียด 2.5 ส่วน ถูให้ทั่วๆ ด้วยอุปกรณ์แต่งผิว
(3) รอยแตกบางชนิดมีผลเสียต่อการรับแรงขององค์อาคาร ดังนั้น การซ่อมรอยแตกต่างๆ ต้องคำนึงถึงความจำเป็นและวิธีการที่เหมาะสมด้วย การซ่อมบริเวณที่ชำรุดควรกระทำโดยที่ไม่ขัดขวางการบ่มคอนกรีต
การตกแต่งผิวหน้าของคอนกรีตที่รับแรงขัดสี
ถ้าต้องการให้คอนกรีตมีความต้านทานแรงขัดสีสูง ควรใช้คอนกรีตที่มีอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ต่ำและต้องทำให้แน่นเป็นอย่างดี อีกทั้งต้องบ่มให้เพียงพอด้วย
ข้อแนะนำ
โดยปกติผิวคอนกรีตประเภทนี้ หมายถึง ผิวถนน ผิวเขื่อน ทางน้ำล้น ท่อน้ำ เป็นต้น การเพิ่มความต้านทานต่อการขัดสีของคอนกรีต ทำได้โดยใช้คอนกรีตที่มีอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ต่ำ ใช้มวลรวมที่มีความแข็งแรงสูง เทและทำให้แน่นอย่างดี และบ่มให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ การเพิ่มความต้านทานการขัดสี อาจทำได้โดยการใช้คอนกรีตพิเศษชนิดต่างๆ เช่น โพลิเมอร์คอนกรีต หรือคอนกรีตเสริมใยเหล็ก เป็นต้น
5. การบ่มคอนกรีต
คอนกรีตจำเป็นต้องได้รับการบ่มทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการเท และควรบ่มต่อไปจนกระทั่งคอนกรีตมีกำลังอัดตามต้องการ หลักการทั่วไปของการบ่มที่ดีจะต้องสามารถป้องกันคอนกรีตไม่ให้เกิดการสูญเสียความชื้นไม่ว่าจะด้วยความร้อนหรือลม ไม่ให้คอนกรีตร้อนหรือเย็นมากเกินไป ไม่ให้สัมผัสกับสารเคมีที่จะเป็นอันตรายต่อคอนกรีตและไม่ถูกชะล้างโดยน้ำฝนหลังจากเทคอนกรีตเสร็จใหม่ๆ เป็นต้น
การบ่มเปียก
ในกรณีทั่วไปคอนกรีตต้องได้รับการป้องกันจากการสูญเสียความชื้นจากแสงแดดและลมหลังจากเสร็จสิ้นการเทจนกระทั่งคอนกรีตเริ่มแข็งแรง และหลังจากคอนกรีตเริ่มแข็งแรงแล้ว ผิวหน้าของคอนกรีตที่สัมผัสกับบรรยากาศยังต้องคงความเปียกชื้นอยู่ ซึ่งอาจทำได้โดยการปกคลุมด้วยกระสอบเปียกน้ำ ผ้าเปียกน้ำ หรือฉีดน้ำให้ชุ่ม เป็นต้น
- คอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ควรบ่มเปียกติดต่อกันอย่างน้อย 7 วัน
- คอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 3 ควรบ่มอย่างน้อย 3 วัน
- ในกรณีคอนกรีตที่มีวัสดุปอซโซลานผสม ควรบ่มมากกว่า 7 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัสดุปอซโซลานที่ใช้
ข้อแนะนำ
คอนกรีตที่ไม่ได้รับการบ่มอย่างถูกต้องจะไม่มีการพัฒนากำลังเท่าที่ควรเนื่องจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่นต้องการน้ำ นอกจากนั้น การสูญเสียความชื้นจากผิวหน้าของคอนกรีตที่ไม่ได้รับการบ่มจะทำให้เกิดการแตกร้าวด้วย กรณีใช้กระสอบหรือผ้าในการบ่มคอนกรีต กระสอบหรือผ้าที่ใช้ควรเป็นวัสดุที่มีความหนาพอสมควรเพื่อไม่ให้แห้งเร็วเกินไป และต้องรดน้ำให้เปียกชุ่มอยู่ตลอดเวลาการบ่มด้วย โดยปกติ ควรบ่มคอนกรีตที่ใช้วัสดุปอซโซลานผสมแทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วนให้นานกว่าคอนกรีตธรรมดา เนื่องจากปฏิกิริยาปอซโซลานเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นหลังปฏิกิริยาไฮเดรชั่น แต่ถ้าใช้วัสดุปอซโซลานปริมาณน้อย เช่น ไม่เกินร้อยละ 10-15 ของปริมาณวัสดุประสานทั้งหมด ก็อาจบ่มเช่นเดียวกับคอนกรีตธรรมดาก็ได้
สารเคมีสำหรับการบ่ม
โดยปกติสารเคมีสำหรับการบ่มจะใช้ต่อเมื่อไม่สามารถบ่มคอนกรีตแบบเปียกได้ สารเคมีสำหรับการบ่มนั้นจะใช้ฉีดพ่นลงบนผิวหน้าของคอนกรีตที่ต้องการบ่ม โดยควรฉีดพ่นซ้ำมากกว่า 1 เที่ยว เพื่อให้แผ่นฟิล์มเคลือบผิวหน้าคอนกรีตมีความหนาเพียงพอ และควรฉีดพ่นทันทีที่ผิวหน้าคอนกรีตเริ่มแห้งก็ให้ฉีดน้ำบนผิวคอนกรีตให้เปียกชุ่มไว้ก่อน
ข้อแนะนำ
การใช้สารเคมีสำหรับการบ่ม ไม่ควรจะฉีดพ่นสารเคมีเหล่านั้นลงบนเหล็กเสริม หรือรอยต่อของการก่อสร้าง เป็นต้น เนื่องจากบริเวณดังกล่าวต้องการการยึดเกาะที่ดีกับคอนกรีตที่จะเทต่อไปภายหลัง
ข้อควรระวังสำหรับการบ่ม
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้คอนกรีตได้รับความเสียหายในขณะที่บ่มอยู่มีดังต่อไปนี้ การสั่นสะเทือน การกระแทก การรับน้ำหนักมากเกินไป การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างมากในเวลาสั้นๆ เป็นต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอายุต้นๆ ของคอนกรีต
6. การถอดแบบหล่อและค้ำยัน
1) จะถอดแบบหล่อและค้ำยันออกได้ก็ต่อเมื่อคอนกรีตมีกำลังอัดเพียงพอที่จะสามารถรับน้ำหนักของคอนกรีตและน้ำหนักอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการก่อสร้างต่อไป
2) ขั้นตอนและระยะเวลาในการถอดแบบและค้ำยัน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของปูนซีเมนต์ ส่วนผสมของคอนกรีต ความสำคัญของโครงสร้าง ชนิดและขนาดของโครงสร้าง น้ำหนักที่กระทำต่อโครงสร้าง อุณหภูมิ และอื่น ๆ
3) กรณีโครงสร้างทั่วไปซึ่งมิได้มีข้อกำหนดระบุไว้ สามารถถอดแบบหล่อและค้ำยัน โดยมีค่ากำลังอัดของคอนกรีตขั้นต่ำดังแสดงในตารางที่ 1
4) กรณีโครงสร้างทั่วไปซึ่งมิได้มีข้อระบุไว้ และไม่มีผลทดสอบกำลังอัดของคอนกรีต ให้ใช้ระยะเวลาถอดแบบและค้ำยันเร็วที่สุดดังตารางที่ 2
ข้อแนะนำ
(1) ขั้นตอนและลำดับการถอดแบบหล่อและค้ำยัน ควรคำนึงว่าโครงสร้างซึ่งมีค้ำยันค้างอยู่บางส่วนจะสามารถรับแรงหรือโมเมนต์ที่จะเกิดขึ้นได้โดยไม่แตกร้าว
(2) การกองวัสดุบนโครงสร้างคอนกรีต หลังจากการถอดค้ำยันแล้ว ต้องตรวจสอบว่าไม่เป็นอันตรายต่อโครงสร้าง เนื่องจากโครงสร้างขณะนั้นอาจจะยังไม่สามารถรับน้ำหนักบบรรทุกได้ตามที่ออกแบบไว้ นอกจากนี้ อาจจะต้องเคลื่อนย้ายวัสดุที่กองไว้บนโครงสร้างตั้งแต่ก่อนการถอดค้ำยันออกไป หากตรวจพบว่าอาจเกิดอันตรายต่อโครงสร้างเมื่อถอดค้ำยันออก
การค้ำยันกลับ ( Reshoring )
การค้ำยันกลับ หมายถึงการถอดไม้แบบและค้ำยันของโครงสร้างคอนกรีตออกแล้วดำเนินการใส่ค้ำยันกลับคืนอีกครั้งหนึ่ง
1) การค้ำยันกลับเพื่อรองรับน้ำหนักโครงสร้าง ต้องมีการวางแผนไว้ก่อนและได้รับการอนุมัติจากวิศวกรแล้วเท่านั้น
2) โครงสร้างซึ่งกำลังอยู่ในระยะเวลารอการค้ำยันกลับ ห้ามมิให้รับน้ำหนักบรรทุกจร เว้นแต่ตรวจสอบแล้วว่า ไม่เกินความสามารถรับน้ำหนักของโครงสร้างคอนกรีตขณะนั้น
3) ในขั้นตอนการค้ำยันกลับ โครงสร้างต้องไม่รับน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าที่วิศวกรกำหนดให้ อนึ่งการค้ำยันกลับจะต้องดำเนินการโดยเร็วที่สุดภายหลังจากการถอดแบบหล่อและค้ำยันแล้ว
4) ค้ำยันที่ใช้ต้องขันให้แน่น เพื่อให้รับน้ำหนักโครงสร้างตามที่กำหนดไว้ ค้ำยันนี้ต้องคงค้างไว้จนกระทั่งผลทดสอบกำลังอัดคอนกรีตถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ข้อแนะนำ
(1) การค้ำยันกลับมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โครงสร้างคอนกรีตที่เพิ่งถอดแบบสามารถรับน้ำหนักบรรทุก และ/หรือ ถ่ายน้ำหนักบรรทุกที่จะมีเพิ่มขึ้นให้ลงสู่โครงสร้างส่วนล่าง
(2) การค้ำยันกลับอาจเกิดขึ้นได้หลายกรณี อาทิเช่น
- การถอดไม้แบบเพื่อนำไปหมุนเวียนใช้งานในส่วนอื่น แล้วนำค้ำยันมาค้ำกลับแทนเพื่อรับน้ำหนักบรรทุกที่จะเพิ่มขึ้นภายหลัง
- กรณีที่น้ำหนักบรรทุกที่จะเพิ่มขึ้นของโครงสร้างคอนกรีตมากกว่าเกินไม้แบบเดิมจะรับได้ อาจถอดไม้แบบออกเพื่อนำค้ำยันซึ่งแข็งแรงกว่ามาค้ำกลับ
ที่มา : "ข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้างสำหรับโครงสร้างคอนกรีต", คณะอนุกรรมการคอนกรีตและวัสดุ คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, มาตรฐาน ว.ส.ท. E.I.T Standard 1014-40
ว.ส.ท. ได้แนะนำวิธีการทำงานสำหรับคอนกรีต จึงขอคัดลอกบางส่วนมาเป็นแนวทางการทำงานดังนี้
1.การลำเลียงคอนกรีต
ในการลำเลียงคอนกรีตที่ผสมแล้วต้องคำนึงถึงสภาพการลำเลียงคอนกรีตว่าต้องระวังให้เนื้อคอนกรีตสม่ำเสมอ และไม่แยกตัวก่อนการเทลงแบบ โดยต้องป้องกันคอนกรีตจากสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิ ความร้อน และความชื้น เป็นต้น
การเลือกวิธีการลำเลียงขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
1) ปริมาณและอัตราการเทในแต่ละครั้ง
2) ขนาดและประเภทของโครงสร้าง
3) ลักษณะภูมิประเทศ สถานที่ทำงาน และเส้นทางการขนส่ง
4) ค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าแรง ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น
ข้อแนะนำ
ควรใช้เวลาในการลำเลียงคอนกรีตให้น้อยที่สุด โดยวิธีการที่เหมาะสมและประหยัดที่สุด เพื่อลดระยะเวลาในการเทคอนกรีตซึ่งจะทำให้คุณสมบัติของคอนกรีตไม่เปลี่ยนแปลงและสม่ำเสมอ นอกจากนั้นเพื่อให้การลำเลียง และการเทคอนกรีตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรวางแผนการเทคอนกรีตทุกครั้ง โดยคำนึงถึงสภาพของคอนกรีต ลักษณะของโครงสร้างที่จะเทคอนกรีต วิธีการลำเลียง และวิธีการเทคอนกรีต โดยมีหัวข้อที่ต้องพิจารณาดังนี้
(1) การเลือกใช้คอนกรีต
นอกจากกำลังอัดคอนกรีตแล้ว ควรเลือกใช้คอนกรีตให้เหมาะสมกับการเทลงแบบโครงสร้าง และเลือกวิธีการลำเลียงโดยคำนึงถึง ระยะเวลาในการก่อตัว ความข้นเหลว เป็นต้น โดยทั่วไประยะเวลาในการก่อตัวของคอนกรีตจะขึ้นอยู่กับส่วนผสมคอนกรีต วัตถุดิบที่ใช้ สารผสมเพิ่ม อุณหภูมิ ความชื้นของอากาศ และวิธีการลำเลียง
(2) แผนการเทคอนกรีต
การกำหนดแผนการเทคอนกรีต ต้องพิจารณาคุณสมบัติของคอนกรีต ชนิดของโครงสร้าง วิธีการเทคอนกรีต ปริมาณการเทคอนกรีตในแต่ละครั้ง ความยากง่ายในการเท สภาพอากาศ และอื่นๆ ที่มีผลต่อการเทคอนกรีต
(3) เครื่องมือและคนงานสำหรับการลำเลียง และการเทลงแบบ
การลำเลียงคอนกรีตควรรวดเร็วและใช้วิธีที่ประหยัด เพื่อลดการแยกตัวของคอนกรีต และลดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของคอนกรีตในด้านความสม่ำเสมอและความสามารถในการเท ดังนั้นต้องพิจารณาจำนวน ประเภทของเครื่องมือ และจำนวนคนงานที่ใช้ในการลำเลียงคอนกรีต
(4) เส้นทางการลำเลียงคอนกรีต
ควรเตรียมเส้นทางการลำเลียงคอนกรีตให้พร้อมก่อนการเท เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการลำเลียง และเพื่อให้งานเทคอนกรีตสำเร็จลงได้โดยใช้เวลาน้อยที่สุด
(5) การตรวจสอบคอนกรีต
ในขณะที่ทำการลำเลียงควรมีวิธีการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าคอนกรีตมีความสม่ำเสมอไม่แยกตัว
วิธีการลำเลียงคอนกรีต
วิธีการลำเลียงคอนกรีตที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานที่ผสมคอนกรีตและบริเวณที่จะทำการเทคอนกรีต โดยควรเลือกวิธีที่ไม่ทำให้คอนกรีตแยกตัว ตามข้อพิจารณาดังต่อไปนี้
1) เมื่อที่ผสมคอนกรีตอยู่ในระดับเดียวกับบริเวณที่ต้องการเทคอนกรีต ควรใช้วิธีการลำเลียงโดยคนงาน รถเข็น รถผสมคอนกรีต สายพานลำเลียง หรือคอนกรีตปั๊ม เป็นต้น
2) เมื่อที่ผสมคอนกรีตอยู่ในระดับสูงกว่าบริเวณที่ต้องการเทคอนกรีต ควรใช้วิธีการลำเลียงโดยราง สายพานลำเลียง หรือคอนกรีตปั๊ม เป็นต้น
3) เมื่อที่ผสมคอนกรีตอยู่ในระดับต่ำกว่าบริเวณที่ต้องการเทคอนกรีต ควรใช้วิธีการลำเลียงโดยใช้รอก ใช้ลิฟท์ รถเครน ทาวเวอร์เครน สายพานลำเลียง หรือคอนกรีตปั๊ม เป็นต้น
4) เมื่อที่ผสมคอนกรีตอยู่ห่างจากบริเวณที่ต้องการเทคอนกรีต ต้องใช้วิธีการลำเลียงโดยรถโม่ขนคอนกรีตมาส่งที่หน่วยงาน และลำเลียงต่อไปสู่บริเวณที่ต้องการเทคอนกรีตด้วยวิธีอื่นที่เหมาะสม
2. การเทคอนกรีต
การเตรียมเทคอนกรีต
สิ่งที่ควรเตรียมก่อนเทคอนกรีต มีดังต่อไปนี้
1) ต้องตรวจสอบปริมาณ และตำแหน่งของเหล็กเสริมให้ถูกต้องตามที่ออกแบบไว้ ตลอดจนตรวจสอบแบบเทคอนกรีตและอุปกรณ์อื่นๆ ให้ถูกต้องตามแผนที่วางไว้
2) ตรวจสอบผนังของเครื่องมือลำเลียง เครื่องมือเท และผนังด้านในของแบบเทคอนกรีต เพื่อไม่ให้มีสิ่งสกปรกที่จะเข้าไปผสมกับคอนกรีตที่จะเท เช่น เศษดินโคลน หรือเศษไม้ เป็นต้น ผนังด้านในของเครื่องมือและแบบเทคอนกรีตดังกล่าว ควรจะมีการทำให้ชื้นก่อนเพื่อป้องกันการดูดซับน้ำจากคอนกรีตที่ลำเลียงหรือเท
3) ในการเทหลุมหรือบ่อ ควรกำจัดน้ำที่หลงเหลืออยู่ในบ่อก่อนที่จะเทคอนกรีต และควรป้องกันไม่ให้น้ำไหลลงไปในบ่อในขณะที่เทคอนกรีตหรือขณะที่เทเสร็จแล้วใหม่ๆ
ข้อแนะนำ
การผูกเหล็กเสริมและวางตำแหน่งเหล็กเสริมต้องมีความมั่นใจว่ามีความแข็งแรงพอที่จะไม่เลื่อนตำแหน่งในขณะที่เทคอนกรีต ไม้แบบต้องมีความแข็งแรงพอเช่นกัน เศษดิน โคลน หรือเศษไม้ ที่ตกค้างอยู่ตามผนังของเครื่องมือลำเลียงหรือในแบบ จะมีผลเสียต่อกำลังของคอนกรีตในบริเวณที่มีวัสดุเหล่านี้ปะปนเข้าไป การที่ผนังของเครื่องมือลำเลียงหรือผนังแบบเทคอนกรีตดูดซับน้ำจากคอนกรีตในขณะที่เทคอนกรีต จะทำให้ผิวคอนกรีตไม่เรียบเมื่อแกะแบบแล้ว จึงควรทำให้ผนังเหล่านั้นชื้นก่อนการเทคอนกรีต แต่ไม่ควรทำให้เปียกมากจนมีน้ำขังอยู่ในแบบ
การลำเลียงคอนกรีตผ่านท่อเป็นระยะทางไกลๆ ควรมีการส่งมอร์ต้าร์นำไปก่อน มอร์ต้าร์ที่ใช้ส่งนำไปควรเป็นมอร์ต้าร์ที่มีส่วนผสมเหมือนกับมอร์ต้าร์ในคอนกรีตที่จะเท ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสูญเสียมอร์ต้าร์ไปเคลือบที่ผนังด้านในของท่อในช่วงต้นของการลำเลียงคอนกรีต
การเทคอนกรีตลงบนคอนกรีตเดิมหรือบนคอนกรีตที่เริ่มแข็งตัวแล้ว ควรเทมอร์ต้าร์ที่มีส่วนผสมเหมือนกับมอร์ต้าร์ในคอนกรีตที่จะเทลงไปก่อน ทั้งนี้เพื่อช่วยเพิ่มการยึดเกาะระหว่างคอนกรีตเดิมกับคอนกรีตที่เทใหม่ น้ำที่หลงเหลืออยู่ในบ่อที่จะเทคอนกรีตจะทำให้ส่วนผสมของคอนกรีตเปลี่ยนไป โดยทำให้กำลังของคอนกรีตและความทนทานลดลง ดังนั้นจึงควรกำจัดออกไปก่อนการเทคอนกรีต ในขณะที่เทคอนกรีตหรือในขณะที่คอนกรีตยังไม่แข็งตัวนั้น หากมีน้ำที่ไหลผ่านคอนกรีตน้ำจะกัดเซาะมอร์ต้าร์ออกจากผิวหน้าคอนกรีตได้ ทำให้ผิวคอนกรีตไม่สวย อีกทั้งกำลังและความทนทานในบริเวณนั้นจะลดลงด้วย
การเทคอนกรีต
ควรมีการวางแผนการเทคอนกรีตเพื่อให้สามารถเทได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพที่สุด โดยไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคต่องานที่ไม่เกี่ยวข้อง การเทคอนกรีตที่ดี คือการเทเพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีส่วนผสมสม่ำเสมอ ไม่มีการแยกตัว และไม่เกิดรูพรุน
ไม่ควรเทคอนกรีตให้กระทบโดยตรงกับเหล็กเสริมหรือข้างแบบ ควรเทคอนกรีตลงมาตรงๆ และไม่ควรให้คอนกรีตไหลไปในแนวราบเป็นระยะทางไกล ยกเว้นในกรณีของคอนกรีตไหล ซึ่งถูกออกแบบโดยมีการควบคุมการแยกตัว ถ้าพบว่ามีการแยกตัวของคอนกรีตหลังเริ่มการเทคอนกรีต จะต้องมีการแก้ไขทันที
ในกรณีที่แบ่งเทคอนกรีตต่อเนื่องกันเป็นชั้นๆ คอนกรีตที่เทใหม่ในชั้นบนควรเททับก่อนที่คอนกรีตชั้นล่างจะเริ่มก่อตัว
ในกรณีที่แบบมีความสูงมากไม่ควรเทคอนกรีตโดยปล่อยให้คอนกรีตตกอิสระจากส่วนบนที่สุดของแบบ แต่ควรใช้วิธีการใด ๆ เช่น สายพาน รางเท (Chute) ถัง หรือต่อท่อ เพื่อให้ระยะตกอิสระของคอนกรีตไม่เกิน 1.5 เมตร
ถ้าตรวจพบการเยิ้มของคอนกรีตระหว่างการเทคอนกรีต ควรหยุดเทจนกว่าจะกำจัดน้ำที่เยิ้มออกมาบนผิวคอนกรีตให้หมดก่อนที่จะเทคอนกรีตทับชั้นบนต่อไป
การเทคอนกรีตต่อเนื่องกันในองค์อาคารที่มีความสูง เช่น เสา หรือกำแพง ควรเทด้วยอัตราที่ไม่เร็วเกินไป โดยปกติอัตราการเทที่เหมาะสมจะอยู่ที่ประมาณ 2 ถึง 3 เมตร (ความสูง) ต่อชั่วโมง
ข้อแนะนำ
การแยกตัวของคอนกรีตในขณะที่เทอาจทำให้เกิดรูพรุน (Honey-comb) ในคอนกรีตที่เทแล้ว ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่หินซึ่งแยกตัวจากมอร์ต้าร์จะรวมกันอุดตัวอยู่ในบริเวณเหล็กเสริมที่หนาแน่น และกีดขวางไม่ให้คอนกรีตผ่านเข้าไปเติมในบริเวณเหล่านั้นได้
การเทคอนกรีตอาจทำให้เหล็กเสริมหรือแบบเคลื่อนตัวได้ ดังนั้นเหล็กเสริมและแบบต้องมั่นคงเพียงพอ อย่างไรก็ตามในขณะเทคอนกรีตควรให้ช่างเหล็กและช่างแบบเตรียมพร้อมอยู่เสมอ หากจำเป็นต้องแก้ไขตำแหน่งของเหล็กเสริมและแบบที่เคลื่อนตัวเนื่องจากการเทคอนกรีตอย่างทันท่วงที
การบังคับให้คอนกรีตไหลไปในแนวราบเป็นระยะทางยาวๆ จะทำให้เกิดการแยกตัว ยกเว้นในกรณีของคอนกรีตไหลที่มีการออกแบบโดยควบคุมการแยกตัวที่ดี ดังนั้นไม่ควรใช้เครื่องเขย่าเพื่อทำให้คอนกรีตไหลไปเติมบริเวณข้างเคียง ควรระลึกอยู่เสมอว่าจุดประสงค์ของการใช้เครื่องเขย่า คือการทำให้คอนกรีตแน่นเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อเป็นการทำให้คอนกรีตไหลไปในแนวราบ
ถ้าพบว่าคอนกรีตที่เทไปแล้วมีการแยกตัวเกิดขึ้น แสดงว่าส่วนผสมของคอนกรีตไม่เหมาะสม จึงควรแก้ไขส่วนผสมของคอนกรีตทันทีที่ตรวจพบการแยกตัวก่อนที่จะทำการเทต่อไป
ควรเทคอนกรีตให้ต่อเนื่องให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยหลีกเลี่ยงการมีรอยต่อ ทั้งนี้เนื่องจากรอยต่อที่เกิดจากการเทไม่ต่อเนื่องจะเป็นบริเวณที่มีแรงยึดเหนี่ยวกับคอนกรีตเดิมน้อยกว่าบริเวณที่เทได้อย่างต่อเนื่อง
การเทคอนกรีตโดยปล่อยให้ตกจากที่สูงมากเกินไปจะทำให้คอนกรีตบางส่วนค้างอยู่ตามเหล็กเสริมและข้างแบบในส่วนบน และเมื่อคอนกรีตเหล่านี้แข็งตัวในขณะที่ยังเทขึ้นมาไม่เต็มแบบ อาจจะเป็นอุปสรรคสำหรับการเทต่อไป เช่น กีดขวางการไหลของคอนกรีตที่เทขึ้นมาถึงระดับดังกล่าว หรือทำให้ได้ผิวหน้าของคอนกรีตไม่เรียบ อีกทั้งอาจเกิดการแยกตัวเนื่องจากหินในคอนกรีตกระทบกับเหล็กเสริมหรือข้างแบบแล้วกระเด็นไปในส่วนอื่นของแบบ เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องกำหนดระยะตกอิสระของคอนกรีตเพื่อป้องกันการเสียหายดังกล่าว
การเทคอนกรีตในองค์อาคารที่มีความสูง เช่น เสาหรือกำแพง จะทำให้มีการเคลื่อนที่ของน้ำในคอนกรีตมาก ทั้งนี้เนื่องจากคอนกรีตด้านล่างจะต้องรับน้ำหนักของคอนกรีตที่อยู่ด้านบนมาก ทำให้น้ำเคลื่อนที่ขึ้นไปด้านบน น้ำที่เคลื่อนที่เหล่านี้จะทำให้เกิดการเยิ้ม (Bleeding) และมักจะสะสมตัวอยู่บริเวณด้านล่างของเหล็กเสริมและบริเวณด้านล่างของมวลรวม ทำให้แรงยึดหน่วงระหว่างคอนกรีตกับเหล็กเสริม และแรงยึดหน่วงระหว่างซีเมนต์เพสต์กับมวลรวมลดลง
การเทคอนกรีตในกำแพงควรเทคอนกรีตให้เคลื่อนตัวออกจากมุมดีกว่าที่จะเทเข้าไปหามุม
ในการเทคอนกรีตเป็นชั้นๆ ควรทำให้ส่วนบนของชั้นของคอนกรีตที่เทไปแล้วได้ระดับในแนวราบ หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียงกับแนวราบ ก่อนการเทคอนกรีตทับชั้นบนต่อไป
3. การทำให้แน่น
ในขณะที่กำลังเทคอนกรีตอยู่นั้น จำเป็นต้องทำคอนกรีตให้แน่นโดยทั่วถึง โดยใช้อุปกรณ์ที่ใช้มือ ใช้เครื่องเขย่า หรือจะใช้เครื่องตบแต่ง ทั้งนี้เพื่อให้ได้คอนกรีตที่แน่น มีการยึดหน่วงกับเหล็กเสริมดีและได้ผิวเรียบ
รอบๆ เหล็กเสริม และสิ่งที่จะฝังติดในคอนกรีต และตามมุมของแบบหล่อควรจะทำคอนกรีตให้แน่นเป็นพิเศษ อาจจะใช้ฆ้อนเคาะภายนอกของแบบหล่อด้านข้างเพื่อช่วยกระจายคอนกรีตไปแทรกทุกๆ มุมของแบบหล่อ แต่ไม่ควรจะทำมากเกินไป เพราะจะทำให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว โดยน้ำและส่วนที่ละเอียดทั้งหลายจะเคลื่อนตัวขึ้นข้างบน น้ำที่ขึ้นมานี้มักจะรวมตัวอยู่ใต้เหล็กเสริมและใต้มวลรวมขนาดใหญ่ ซึ่งจะทำให้แรงยึดหน่วงน้อยลง และกลายสภาพเป็นร่องขึ้นจนน้ำสามารถไหลผ่านคอนกรีตได้
การกระทุ้งด้วยมือ
สำหรับคอนกรีตที่อยู่ในสภาพเทได้ ต้องใช้เครื่องมือกระทุ้งให้สุดความหนาของชั้นที่กำลังเท และควรกระทุ้งให้ถึงหรือเลยเข้าไปในชั้นคอนกรีตข้างใต้เป็นระยะประมาณ 10 ซม. การใช้เกรียงตบตรงหน้าแบบหรือใกล้ๆ กับแบบตั้ง จะช่วยลดความขรุขระที่ผิว และลดรูช่องว่างที่เกิดจากฟองอากาศด้วย
สำหรับการกระทุ้งคอนกรีตที่ค่อนข้างแห้งด้วยมือ จะใช้เครื่องมือที่มีผิวหน้าเรียบๆ และหนักตบตรงผิวจนกระทั่งมอร์ต้าร์หรือซีเมนต์เพสต์ปรากฎเป็นแผ่นบางๆ ขึ้นที่ผิว ซึ่งเป็นลักษณะที่แสดงว่าช่องว่างในมวลรวมนั้นถูกซีเมนต์เพสท์แทรกเต็มหมดแล้ว
ข้อแนะนำ
การกระทุ้งด้วยมือเหมาะสมกับงานคอนกรีตที่มีปริมาณการเทน้อยหรืองานคอนกรีตที่เหลวมาก เหล็กกระทุ้งอาจเป็นเหล็กเส้นกลมหรือเหล็กข้ออ้อย ซึ่งควรเลือกใช้ท่อนเหล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 16 มม.
การเขย่าด้วยเครื่อง
โดยทั่วไปการเขย่าด้วยเครื่องมีผลดีคือ สามารถใช้กับกรณีที่ไม่สามารถทำให้แน่นด้วยการกระทุ้งด้วยมือ ฉะนั้น การเขย่าด้วยเครื่องจะช่วยทำให้คอนกรีตที่มีค่าการยุบตัวต่ำสามารถอัดตัวแน่นได้ในแบบหล่อที่ลึกและแคบ หรือบริเวณที่มีเหล็กเสริมหนาแน่นและมีระยะเรียงของเหล็กเสริมแคบมาก ในกรณีคอนกรีตที่มีส่วนผสมเหลวและมีค่าการยุบตัวสูงจำเป็นต้องกระทุ้งคอนกรีตให้แน่นด้วยมือ แต่ถ้ามวลรวมหยาบเกิดแยกตัวเนื่องจากการเทคอนกรีตผิดวิธี จะแก้ไขด้วยวิธีใช้การเขย่าด้วยเครื่องไม่ได้
เครื่องเขย่าคอนกรีตแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ เครื่องเขย่าภายในแบบหล่อ เครื่องเขย่าที่วางบนผิวคอนกรีต และเครื่องเขย่าชนิดที่ตรึงติดกับแบบหล่อ
ข้อแนะนำ
ไม่ว่าจะใช้เครื่องเขย่าคอนกรีตชนิดไหนก็ตาม ควรเว้นระยะห่างสั้นๆ ให้เพียงพอที่ส่วนของคอนกรีตที่ถูกเขย่าแล้วมีระยะเหลื่อมกันโดยไม่เว้นข้ามส่วนไหนเลย ควรให้การเขย่าดำเนินต่อไปจนกระทั่งคอนกรีตแน่นตัวทั่วกันดี และแทรกเต็มช่องว่างทั้งหมด โดยสามารถสังเกตจากผิวคอนกรีตซึ่งจะมีลักษณะเรียบ และมวลรวมต่างๆ จมในคอนกรีต การเขย่ามากเกินไปจะทำให้มวลรวมหยาบทรุดตัวลงไปข้างล่าง ปล่อยให้น้ำหรือซีเมนต์เพสต์ลอยขึ้นมาข้างบน ปกติการเขย่าควรจะให้ผลที่ต้องการภายใน 5-15 วินาที ที่จุดห่างกัน 45-75 ซม.
เครื่องเขย่าภายในแบบหล่อ โดยทั่วไปหมายถึงเครื่องเขย่าแบบหัวจุ่ม ควรจะแหย่ลงไปในแนวดิ่งจนสุดความลึกของชั้นที่จะเท ไม่ควรลากหัวจุ่มผ่านคอนกรีตนั้นในแนวราบ ควรใช้วิธีแหย่หัวจุ่มลงไปและถอนขึ้นมาอย่างช้าๆ โดยเดินเครื่องอยู่ตลอดเวลาขณะที่กำลังถอนหัวจุ่มออกจากมวลคอนกรีต เพื่อจะได้ไม่มีรูช่องว่างเหลือค้างอยู่ในคอนกรีต ไม่ควรใช้เครื่องเขย่าเพื่อทำให้คอนกรีตไหลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดการแยกตัวขึ้นโดยหินจะตกค้างอยู่ในบริเวณที่แหย่หัวจุ่มค่อนข้างนาน
เครื่องเขย่าชนิดวางบนผิวคอนกรีต จะใช้ทำให้ชั้นที่กำลังเทแน่นตัวจนตลอดความหนาของชั้น แต่ถ้าทำให้แน่นตลอดชั้นไม่ได้ควรลดความหนาของชั้นลงมา หรือใช้เครื่องเขย่าที่มีกำลังสูงกว่า
เครื่องเขย่าชนิดที่ตรึงติดแบบหล่อ จะใช้ได้ดีสำหรับการเขย่าคอนกรีตที่มีความหนาน้อย หรือที่ตำแหน่งซึ่งเครื่องเขย่าภายในเข้าไม่ถึงเท่านั้น
ควรระมัดระวังเรื่องการเลือก การติดตั้ง และการเคลื่อนย้ายเครื่องเขย่าบ่อยๆ เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดต่อความหนาแน่นของคอนกรีต การเขย่าชั้นตื้นๆ ให้ทั่วจะช่วยลดจำนวนฟองอากาศในท่อคอนกรีตสำเร็จรูปได้อย่างมาก ตามปกติ การเขย่าคอนกรีตชั้นที่ลึกลงไป หรือการเขย่าเหล็กเสริม จะทำให้คอนกรีตที่เริ่มแข็งตัวไปแล้วบางส่วนเกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อย แต่ทั้งนี้ต้องระวังอย่าให้เกิดความเสียหายถึงขนาดที่จะแก้ด้วยการเขย่าซ้ำไม่ได้ขึ้นเป็นอันขาด เนื่องจากการเขย่าคอนกรีตซ้ำจะเป็นประโยชน์ตราบเท่าที่คอนกรีตยังไม่เริ่มก่อตัว
ตราบใดที่เครื่องเขย่าชนิดที่ใช้แหย่ลงไปในคอนกรีตยังคงจมลงไปในคอนกรีตด้วยน้ำหนักตัวเองได้ การเขย่าคอนกรีตซ้ำจะมีประโยชน์มาก การเขย่าซ้ำทีหลังนี้จะช่วยขจัดการแตกร้าวทางแนวราบ และลดรอยร้าวเนื่องจากการหดตัวซึ่งเกิดจากการทรุดตัวของคอนกรีตที่ติดค้างอยู่บนเหล็กเสริมหรือค้างอยู่กับแบบหล่อที่ขรุขระได้
การขจัดรอยร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติกและการทรุดตัวของคอนกรีต
ถ้ามีรอยร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติกและรอยร้าวเนื่องจากการทรุดตัวของคอนกรีตเกิดขึ้น ควรทำให้คอนกรีตแน่นทันทีโดยการใช้เกรียงปาดหรือตบที่ผิวเพื่อขจัดรอยร้าวดังกล่าว
ข้อแนะนำ
ถ้าพื้นหรือคานคอนกรีตมีการต่อเชื่อมกับผนังหรือเสา เพื่อป้องกันการเกิดรอยร้าวเนื่องจากการทรุดตัว คอนกรีตของพื้นหรือคานควรจะเทหลังจากการทรุดตัวของคอนกรีตของผนังและเสาสิ้นสุดแล้ว นอกจากนี้ วิธีการดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโครงสร้างที่มีส่วนยื่น
ในกรณีของโครงสร้างคอนกรีตที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ระดับการทรุดตัวของคอนกรีตขึ้นอยู่กับพื้นที่หน้าตัดของโครงสร้าง และเมื่อคอนกรีตถูกเทครั้งเดียวรอยร้าวมักจะเกิดขึ้นในตำแหน่งที่เป็นขอบเขตของพื้นที่หน้าตัดต่างๆ ดังนั้น การเทคอนกรีตควรจะหยุดชั่วคราวเมื่อมีพื้นที่หน้าตัดแตกต่างกัน การเทคอนกรีตในส่วนบนซึ่งรวมถึงส่วนยื่นด้วยควรจะกระทำหลังจากการทรุดตัวของคอนกรีตในส่วนล่างสิ้นสุดแล้ว ระยะเวลาที่เกิดการทรุดตัวของคอนกรีตขึ้นอยู่กับส่วนผสมคอนกรีต วัสดุที่ใช้ อุณหภูมิ เป็นต้น โดยปกติจะอยู่ในช่วง 1-2 ชั่วโมง
4. การตกแต่งผิวหน้าคอนกรีต
เพื่อที่จะให้ได้ผิวหน้าของคอนกรีตที่สวยงามและเป็นเนื้อเดียวกัน ควรเทคอนกรีตให้ต่อเนื่องกันด้วยคอนกรีตที่มีส่วนผสมเหมือนกัน ใช้วัสดุผสมคอนกรีตประเภทเดียวกันและใช้วิธีการเทคอนกรีตแบบเดียวกัน
ข้อแนะนำ
การเทคอนกรีตโดยไม่ต่อเนื่องจะทำให้เกิดรอยต่อ ในกรณีที่จำเป็นต้องมีรอยต่อควรมีการวางแผนเพื่อให้รอยต่อนั้นเป็นเส้นตรงเพื่อความสวยงาม
การตกแต่งผิวหน้าคอนกรีตที่ไม่ได้มีการใช้แบบหล่อ
โดยปกติผิวหน้าคอนกรีตที่ไม่ได้มีการใช้แบบหล่อจะหมายถึงผิวหน้าของคอนกรีตในแนวราบ
1) หลังจากทำให้คอนกรีตแน่นและปาดผิวหน้าคอนกรีต เพื่อให้ได้ระดับและรูปร่างที่ต้องการแล้ว ควรรอให้น้ำที่เยิ้มออกจากคอนกรีตระเหยหรือถูกกำจัดหมดก่อนที่จะตกแต่งผิวหน้าคอนกรีต แต่ไม่ควรตกแต่งผิวมากหรือนานเกินไป
2) รอยแตกที่เกิดบนผิวที่ตกแต่งไปแล้ว สามารถจะกำจัดได้โดยการทำให้แน่นหรือตกแต่งอีกครั้งก่อนคอนกรีตเริ่มก่อตัว
3) ในกรณีที่ต้องการผิวหน้าคอนกรีตที่เรียบและแน่น สามารถทำได้โดยกดเกรียงลงบนผิวหน้าคอนกรีตที่ต้องการตกแต่งให้ทั่ว
4) ควรหลีกเลี่ยงงานตกแต่งผิวหน้าคอนกรีตในขณะที่ฝนตก
ข้อแนะนำ
(1) ถ้าไม่กำจัดน้ำที่เยิ้มขึ้นมาบนผิวหน้าของคอนกรีตก่อนการตกแต่งผิว จะทำให้เกิดรอยแตกเล็กๆ จำนวนมากบนผิวหน้าคอนกรีตหลังจากที่ตกแต่งผิวหน้าคอนกรีตเสร็จแล้ว การที่ตกแต่งผิวมากหรือนานเกินไป จะทำให้ซีเมนต์เพสต์ขึ้นมาอยู่บนผิวหน้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะนำไปสู่การแตกร้าวบนผิวหน้าได้
(2) สาเหตุของรอยแตกก่อนการก่อตัวของคอนกรีต อาจเกิดจากการหดตัวแบบพลาสติก (Plastic Shrinkage) หรือ การทรุดตัว (Settlement) ซึ่งในกรณีหลังจะทำให้เกิดรอยแตกบนผิวคอนกรีตตามแนวเหล็กเสริมได้
(3) การกดเกรียงลงบนผิวหน้าคอนกรีตให้ทั่วเพื่อให้ได้ผิวหน้าคอนกรีตที่แน่นสามารถทำได้โดยรอให้ผิวหน้าคอนกรีตเริ่มมีความแข็งพอประมาณ การทดสอบอาจทำได้โดยใช้นิ้วมือกดดู ช่วงเวลาที่เหมาะสมจะเป็นช่วงที่เมื่อใช้นิ้วมือกดดูแล้วเริ่มไม่ปรากฎรอยนิ้วมือให้เห็นบนผิวหน้าของคอนกรีต
(4) ถ้าฝนตกลงบนคอนกรีตที่เทเสร็จใหม่ๆ น้ำจะชะผิวคอนกรีตสดละทำให้มอร์ต้าร์ที่ผิวหรือใกล้ๆ ผิวน้อยลงได้ ดังนั้น ควรหยุดงานตกแต่งผิวคอนกรีตจนกว่าฝนจะหยุดตก หรือถ้าจะตกแต่งผิวขณะฝนตกควรมีหลังคาป้องกันฝนที่ได้ผลเต็มที่
การตกแต่งผิวหน้าคอนกรีตที่มีการใช้แบบหล่อ
1) โครงสร้างหรือองค์อาคารที่เป็นคอนกรีตเปลือย จะต้องมีการควบคุมการคอนกรีตและการทำให้คอนกรีตแน่น เพื่อให้ได้ผิวหน้าที่มีมอร์ต้าร์ปกคลุมจนทั่ว
2) รอยสันหรือนูนบนผิวคอนกรีตควรได้รับการกำจัดเพื่อให้ได้ผิวหน้าคอนกรีตที่เรียบ ส่วนรูพรุนหรือรอยแตกควรทำการซ่อมแซมด้วยมอร์ต้าร์หรือคอนกรีตที่มีส่วนผสมที่เหมาะสม โดยการสกัดคอนกรีตส่วนที่ไม่แข็งแรงออก พรมน้ำให้เปียกแล้วจึงซ่อมด้วยมอร์ต้าร์หรือคอนกรีตที่เตรียมไว้
3) ในกรณีที่เกิดรอยแตกร้าวอย่างรุนแรงเนื่องจากการหดตัว หรือจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ต้องทำการซ่อมแซมโดยวิธีที่เหมาะสม
ข้อแนะนำ
(1) โดยปกติหลังจากแกะแบบหล่อแล้ว ผิวหน้าของคอนกรีตที่ดีควรจะเป็นผิวหน้าที่เคลือบคลุมไปด้วยมอร์ต้าร์ โดยไม่เห็นเม็ดหินหรือทรายอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ยกเว้นในกรณีพิเศษที่ผิวหน้าถูกออกแบบให้เห็นเม็ดทรายหรือหิน
(2) การตกแต่งผิวเป็นพิเศษบางอย่าง เช่น การใช้แปรง การขัด การถู หรือการฉาบด้วยพลาสเตอร์ อาจทำได้เมื่อถอดแบบแล้ว และคอนกรีตมีกำลังบ้างพอสมควร แต่สำหรับการทำหินขัด การสกัดโดยใช้ฆ้อนหรือใช้ทรายพ่นผิว จะทำได้ก็ต่อเมื่อคอนกรีตแข็งตัวโดยตลอดเสียก่อน การอุดรูพรุนและฟองอากาศอาจทำได้โดยที่ทำให้ผิวคอนกรีตเปียกโดยทั่วกันก่อนแล้วให้ใช้ส่วนผสมปูนซีเมนต์ 1 ส่วนต่อทรายละเอียด 2.5 ส่วน ถูให้ทั่วๆ ด้วยอุปกรณ์แต่งผิว
(3) รอยแตกบางชนิดมีผลเสียต่อการรับแรงขององค์อาคาร ดังนั้น การซ่อมรอยแตกต่างๆ ต้องคำนึงถึงความจำเป็นและวิธีการที่เหมาะสมด้วย การซ่อมบริเวณที่ชำรุดควรกระทำโดยที่ไม่ขัดขวางการบ่มคอนกรีต
การตกแต่งผิวหน้าของคอนกรีตที่รับแรงขัดสี
ถ้าต้องการให้คอนกรีตมีความต้านทานแรงขัดสีสูง ควรใช้คอนกรีตที่มีอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ต่ำและต้องทำให้แน่นเป็นอย่างดี อีกทั้งต้องบ่มให้เพียงพอด้วย
ข้อแนะนำ
โดยปกติผิวคอนกรีตประเภทนี้ หมายถึง ผิวถนน ผิวเขื่อน ทางน้ำล้น ท่อน้ำ เป็นต้น การเพิ่มความต้านทานต่อการขัดสีของคอนกรีต ทำได้โดยใช้คอนกรีตที่มีอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ต่ำ ใช้มวลรวมที่มีความแข็งแรงสูง เทและทำให้แน่นอย่างดี และบ่มให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ การเพิ่มความต้านทานการขัดสี อาจทำได้โดยการใช้คอนกรีตพิเศษชนิดต่างๆ เช่น โพลิเมอร์คอนกรีต หรือคอนกรีตเสริมใยเหล็ก เป็นต้น
5. การบ่มคอนกรีต
คอนกรีตจำเป็นต้องได้รับการบ่มทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการเท และควรบ่มต่อไปจนกระทั่งคอนกรีตมีกำลังอัดตามต้องการ หลักการทั่วไปของการบ่มที่ดีจะต้องสามารถป้องกันคอนกรีตไม่ให้เกิดการสูญเสียความชื้นไม่ว่าจะด้วยความร้อนหรือลม ไม่ให้คอนกรีตร้อนหรือเย็นมากเกินไป ไม่ให้สัมผัสกับสารเคมีที่จะเป็นอันตรายต่อคอนกรีตและไม่ถูกชะล้างโดยน้ำฝนหลังจากเทคอนกรีตเสร็จใหม่ๆ เป็นต้น
การบ่มเปียก
ในกรณีทั่วไปคอนกรีตต้องได้รับการป้องกันจากการสูญเสียความชื้นจากแสงแดดและลมหลังจากเสร็จสิ้นการเทจนกระทั่งคอนกรีตเริ่มแข็งแรง และหลังจากคอนกรีตเริ่มแข็งแรงแล้ว ผิวหน้าของคอนกรีตที่สัมผัสกับบรรยากาศยังต้องคงความเปียกชื้นอยู่ ซึ่งอาจทำได้โดยการปกคลุมด้วยกระสอบเปียกน้ำ ผ้าเปียกน้ำ หรือฉีดน้ำให้ชุ่ม เป็นต้น
- คอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ควรบ่มเปียกติดต่อกันอย่างน้อย 7 วัน
- คอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 3 ควรบ่มอย่างน้อย 3 วัน
- ในกรณีคอนกรีตที่มีวัสดุปอซโซลานผสม ควรบ่มมากกว่า 7 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัสดุปอซโซลานที่ใช้
ข้อแนะนำ
คอนกรีตที่ไม่ได้รับการบ่มอย่างถูกต้องจะไม่มีการพัฒนากำลังเท่าที่ควรเนื่องจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่นต้องการน้ำ นอกจากนั้น การสูญเสียความชื้นจากผิวหน้าของคอนกรีตที่ไม่ได้รับการบ่มจะทำให้เกิดการแตกร้าวด้วย กรณีใช้กระสอบหรือผ้าในการบ่มคอนกรีต กระสอบหรือผ้าที่ใช้ควรเป็นวัสดุที่มีความหนาพอสมควรเพื่อไม่ให้แห้งเร็วเกินไป และต้องรดน้ำให้เปียกชุ่มอยู่ตลอดเวลาการบ่มด้วย โดยปกติ ควรบ่มคอนกรีตที่ใช้วัสดุปอซโซลานผสมแทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วนให้นานกว่าคอนกรีตธรรมดา เนื่องจากปฏิกิริยาปอซโซลานเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นหลังปฏิกิริยาไฮเดรชั่น แต่ถ้าใช้วัสดุปอซโซลานปริมาณน้อย เช่น ไม่เกินร้อยละ 10-15 ของปริมาณวัสดุประสานทั้งหมด ก็อาจบ่มเช่นเดียวกับคอนกรีตธรรมดาก็ได้
สารเคมีสำหรับการบ่ม
โดยปกติสารเคมีสำหรับการบ่มจะใช้ต่อเมื่อไม่สามารถบ่มคอนกรีตแบบเปียกได้ สารเคมีสำหรับการบ่มนั้นจะใช้ฉีดพ่นลงบนผิวหน้าของคอนกรีตที่ต้องการบ่ม โดยควรฉีดพ่นซ้ำมากกว่า 1 เที่ยว เพื่อให้แผ่นฟิล์มเคลือบผิวหน้าคอนกรีตมีความหนาเพียงพอ และควรฉีดพ่นทันทีที่ผิวหน้าคอนกรีตเริ่มแห้งก็ให้ฉีดน้ำบนผิวคอนกรีตให้เปียกชุ่มไว้ก่อน
ข้อแนะนำ
การใช้สารเคมีสำหรับการบ่ม ไม่ควรจะฉีดพ่นสารเคมีเหล่านั้นลงบนเหล็กเสริม หรือรอยต่อของการก่อสร้าง เป็นต้น เนื่องจากบริเวณดังกล่าวต้องการการยึดเกาะที่ดีกับคอนกรีตที่จะเทต่อไปภายหลัง
ข้อควรระวังสำหรับการบ่ม
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้คอนกรีตได้รับความเสียหายในขณะที่บ่มอยู่มีดังต่อไปนี้ การสั่นสะเทือน การกระแทก การรับน้ำหนักมากเกินไป การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างมากในเวลาสั้นๆ เป็นต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอายุต้นๆ ของคอนกรีต
6. การถอดแบบหล่อและค้ำยัน
1) จะถอดแบบหล่อและค้ำยันออกได้ก็ต่อเมื่อคอนกรีตมีกำลังอัดเพียงพอที่จะสามารถรับน้ำหนักของคอนกรีตและน้ำหนักอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการก่อสร้างต่อไป
2) ขั้นตอนและระยะเวลาในการถอดแบบและค้ำยัน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของปูนซีเมนต์ ส่วนผสมของคอนกรีต ความสำคัญของโครงสร้าง ชนิดและขนาดของโครงสร้าง น้ำหนักที่กระทำต่อโครงสร้าง อุณหภูมิ และอื่น ๆ
3) กรณีโครงสร้างทั่วไปซึ่งมิได้มีข้อกำหนดระบุไว้ สามารถถอดแบบหล่อและค้ำยัน โดยมีค่ากำลังอัดของคอนกรีตขั้นต่ำดังแสดงในตารางที่ 1
4) กรณีโครงสร้างทั่วไปซึ่งมิได้มีข้อระบุไว้ และไม่มีผลทดสอบกำลังอัดของคอนกรีต ให้ใช้ระยะเวลาถอดแบบและค้ำยันเร็วที่สุดดังตารางที่ 2
ข้อแนะนำ
(1) ขั้นตอนและลำดับการถอดแบบหล่อและค้ำยัน ควรคำนึงว่าโครงสร้างซึ่งมีค้ำยันค้างอยู่บางส่วนจะสามารถรับแรงหรือโมเมนต์ที่จะเกิดขึ้นได้โดยไม่แตกร้าว
(2) การกองวัสดุบนโครงสร้างคอนกรีต หลังจากการถอดค้ำยันแล้ว ต้องตรวจสอบว่าไม่เป็นอันตรายต่อโครงสร้าง เนื่องจากโครงสร้างขณะนั้นอาจจะยังไม่สามารถรับน้ำหนักบบรรทุกได้ตามที่ออกแบบไว้ นอกจากนี้ อาจจะต้องเคลื่อนย้ายวัสดุที่กองไว้บนโครงสร้างตั้งแต่ก่อนการถอดค้ำยันออกไป หากตรวจพบว่าอาจเกิดอันตรายต่อโครงสร้างเมื่อถอดค้ำยันออก
การค้ำยันกลับ ( Reshoring )
การค้ำยันกลับ หมายถึงการถอดไม้แบบและค้ำยันของโครงสร้างคอนกรีตออกแล้วดำเนินการใส่ค้ำยันกลับคืนอีกครั้งหนึ่ง
1) การค้ำยันกลับเพื่อรองรับน้ำหนักโครงสร้าง ต้องมีการวางแผนไว้ก่อนและได้รับการอนุมัติจากวิศวกรแล้วเท่านั้น
2) โครงสร้างซึ่งกำลังอยู่ในระยะเวลารอการค้ำยันกลับ ห้ามมิให้รับน้ำหนักบรรทุกจร เว้นแต่ตรวจสอบแล้วว่า ไม่เกินความสามารถรับน้ำหนักของโครงสร้างคอนกรีตขณะนั้น
3) ในขั้นตอนการค้ำยันกลับ โครงสร้างต้องไม่รับน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าที่วิศวกรกำหนดให้ อนึ่งการค้ำยันกลับจะต้องดำเนินการโดยเร็วที่สุดภายหลังจากการถอดแบบหล่อและค้ำยันแล้ว
4) ค้ำยันที่ใช้ต้องขันให้แน่น เพื่อให้รับน้ำหนักโครงสร้างตามที่กำหนดไว้ ค้ำยันนี้ต้องคงค้างไว้จนกระทั่งผลทดสอบกำลังอัดคอนกรีตถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ข้อแนะนำ
(1) การค้ำยันกลับมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โครงสร้างคอนกรีตที่เพิ่งถอดแบบสามารถรับน้ำหนักบรรทุก และ/หรือ ถ่ายน้ำหนักบรรทุกที่จะมีเพิ่มขึ้นให้ลงสู่โครงสร้างส่วนล่าง
(2) การค้ำยันกลับอาจเกิดขึ้นได้หลายกรณี อาทิเช่น
- การถอดไม้แบบเพื่อนำไปหมุนเวียนใช้งานในส่วนอื่น แล้วนำค้ำยันมาค้ำกลับแทนเพื่อรับน้ำหนักบรรทุกที่จะเพิ่มขึ้นภายหลัง
- กรณีที่น้ำหนักบรรทุกที่จะเพิ่มขึ้นของโครงสร้างคอนกรีตมากกว่าเกินไม้แบบเดิมจะรับได้ อาจถอดไม้แบบออกเพื่อนำค้ำยันซึ่งแข็งแรงกว่ามาค้ำกลับ
ที่มา : "ข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้างสำหรับโครงสร้างคอนกรีต", คณะอนุกรรมการคอนกรีตและวัสดุ คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, มาตรฐาน ว.ส.ท. E.I.T Standard 1014-40
การเลือกวัสดุปูพื้น
ขั้นตอนที่ 1
การใช้งาน ถ้าต้องมีของหนัก ๆ วาง หรือต้องกา รความแข็งแรงเป็นพิเศษ เช่น โรงรถ ลานบ้าน ควรใ ช้พวกหินขัด หินล้าง หรือกระเบื้องชนิดรับน้ำหนั กได้เป็นพิเศษ พื้นภายนอกที่ต้องโดนแดดโดนฝน วั สดุบางประเภทอาจไม่เหมาะ เช่น หินอ่อน บางบริเว ณต้องการความนุ่มสบายสำหรับเด็ก ก็ควรใช้พวกไวนิ ล หรือพรม
ขั้นตอนที่ 2
โครงสร้างที่รองรับหากบริเวณนั้นเป็นพื้นคอนกรี ต ก็สามารถเลือกใช้วัสดุได้หลายประเภท ตั้งแต่ไ ม้ปาร์เก้ หินต่าง ๆ จนถึงพรม บริเวณที่ติดกับพื ้นดิน ต้องระวังเรื่องความชื้น จึงควรเตรียมพื้ นให้ดี และเลือกวัสดุที่ไม่มีปัญหาเรื่องการดูด ซึมน้ำเช่น กระเบื้องเซรามิค
ขั้นตอนที่ 3
การรักษาความสะอาดบริเวณที่มีโอกาสสกปรกเลอะเทอ ะง่าย ควรเลือกวัสดุที่เป็นผิวเรียบเงา ทำความส ะอาดง่าย ได้แก่ กระเบื้องเซรามิค
ขั้นตอนที่ 4
ความสวยงาม หมายถึง บรรยากาศโดยรวมของบริเวณนั้ น ได้แก่ รูปแบบหรือสไตล์การตกแต่ง ต้องเข้ากันไ ด้ดีด้วย วัสดุจำพวกหินอ่อนหรือหินแกรนิตอาจดูห รูหรา แต่ไม่สามารถสร้างความรู้สึก อบอุ่น ดูสบ าย ๆ ได้เท่าพื้นไม้ธรรมชาติ
ขั้นตอนที่ 5
การติดตั้งวัสดุบางประเภทต้องใช้ความชำนาญในการ ติดตั้ง จึงจะได้พื้นที่ดูงดงาม เรียบร้อยสมราค า เช่น หินแกรนิต หรือพื้นไม้สำเร็จรูป บ้านสร้ างใหม่อาจมีข้อจำกัดในการติดตั้งน้อย แต่ถ้าเป็ นการปรับปรุงบ้านเก่าต้องคำนึงถึงความยุ่งยาก แ ละระยะเวลาในการติดตั้งด้วย เช่น พื้นไม้ปาร์เ ก้ต้องขัดทำให้เกิดฝุ่น และต้องเสียเวลาทาน้ำยา เคลือบผิวไม้ พื้นพรมปูได้โดยเร็ว ใช้งานได้ทั นที
ขั้นตอนที่ 6
งบประมาณก่อนตัดสินใจควรคำนวณราคาประเมินคร่าว ๆ ก่อน ซึ่งนอกเหนือจากค่าวัสดุแล้ว ต้องไม่ลืม นึกถึงค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและเตรียมพื้นที่ เช่น การรื้อวัสดุเดิมออก การปรับให้เรียบ หรือ ยกพื้นให้สูงขึ้นด้วยประเภทของวัสดุพื้นกับการน ำไปใช้งาน
ที่มา: HomePro
การใช้งาน ถ้าต้องมีของหนัก ๆ วาง หรือต้องกา รความแข็งแรงเป็นพิเศษ เช่น โรงรถ ลานบ้าน ควรใ ช้พวกหินขัด หินล้าง หรือกระเบื้องชนิดรับน้ำหนั กได้เป็นพิเศษ พื้นภายนอกที่ต้องโดนแดดโดนฝน วั สดุบางประเภทอาจไม่เหมาะ เช่น หินอ่อน บางบริเว ณต้องการความนุ่มสบายสำหรับเด็ก ก็ควรใช้พวกไวนิ ล หรือพรม
ขั้นตอนที่ 2
โครงสร้างที่รองรับหากบริเวณนั้นเป็นพื้นคอนกรี ต ก็สามารถเลือกใช้วัสดุได้หลายประเภท ตั้งแต่ไ ม้ปาร์เก้ หินต่าง ๆ จนถึงพรม บริเวณที่ติดกับพื ้นดิน ต้องระวังเรื่องความชื้น จึงควรเตรียมพื้ นให้ดี และเลือกวัสดุที่ไม่มีปัญหาเรื่องการดูด ซึมน้ำเช่น กระเบื้องเซรามิค
ขั้นตอนที่ 3
การรักษาความสะอาดบริเวณที่มีโอกาสสกปรกเลอะเทอ ะง่าย ควรเลือกวัสดุที่เป็นผิวเรียบเงา ทำความส ะอาดง่าย ได้แก่ กระเบื้องเซรามิค
ขั้นตอนที่ 4
ความสวยงาม หมายถึง บรรยากาศโดยรวมของบริเวณนั้ น ได้แก่ รูปแบบหรือสไตล์การตกแต่ง ต้องเข้ากันไ ด้ดีด้วย วัสดุจำพวกหินอ่อนหรือหินแกรนิตอาจดูห รูหรา แต่ไม่สามารถสร้างความรู้สึก อบอุ่น ดูสบ าย ๆ ได้เท่าพื้นไม้ธรรมชาติ
ขั้นตอนที่ 5
การติดตั้งวัสดุบางประเภทต้องใช้ความชำนาญในการ ติดตั้ง จึงจะได้พื้นที่ดูงดงาม เรียบร้อยสมราค า เช่น หินแกรนิต หรือพื้นไม้สำเร็จรูป บ้านสร้ างใหม่อาจมีข้อจำกัดในการติดตั้งน้อย แต่ถ้าเป็ นการปรับปรุงบ้านเก่าต้องคำนึงถึงความยุ่งยาก แ ละระยะเวลาในการติดตั้งด้วย เช่น พื้นไม้ปาร์เ ก้ต้องขัดทำให้เกิดฝุ่น และต้องเสียเวลาทาน้ำยา เคลือบผิวไม้ พื้นพรมปูได้โดยเร็ว ใช้งานได้ทั นที
ขั้นตอนที่ 6
งบประมาณก่อนตัดสินใจควรคำนวณราคาประเมินคร่าว ๆ ก่อน ซึ่งนอกเหนือจากค่าวัสดุแล้ว ต้องไม่ลืม นึกถึงค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและเตรียมพื้นที่ เช่น การรื้อวัสดุเดิมออก การปรับให้เรียบ หรือ ยกพื้นให้สูงขึ้นด้วยประเภทของวัสดุพื้นกับการน ำไปใช้งาน
ที่มา: HomePro
ตกแต่งภายใน (ห้องนอน)
ห้องนอน
1. การจัดวาง ห้องนอนเป็นห้องที่ใช้ในการพักผ่อนและเป็นห้องที่มีความเป็นส่วนตัวมากที่สุด การจัดวางห้องนอนจึงควรจัดให้เป็นห้องที่มีความสบายและผ่อนคลาย โดยทั่วไปแล้วมักจะจัดไม่ให้เตียงนอนหันหัวในทางตรงข้ามกับประตูเข้าห้องนอน นอกจากจะเป็นห้องนอนขนาดใหญ่ที่สามารถเลี่ยงไม่ให้วางเตียงตรงกับประตูได้ ในกรณีที่มีห้องนอนขนาดใหญ่สามารถจัดพื้นที่บางส่วนเป็นส่วนทำงานและเป็นเสมือนด่านหน้าก่อนจะเข้าถึงพื้นที่ส่วนเตียงได้อีกด้วย แต่การจัดห้องทำงานในห้องนอนนั้นก็ควรมีตู้หรือฉากกั้นเป็นสัดส่วน เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดหรือการรบกวนกันของการใช้งานทั้ง 2 ส่วน นอกจากนี้ ปัจจุบันยังนิยมกั้นพื้นที่บริเวณใกล้ห้องน้ำเป็นพื้นที่แต่งตัวอีกด้วย
2. การเลือกวัสดุและสีห้องนอน ห้องนอนเด็กควรตกแต่งห้องให้น่าสนใจด้วยจินตนาการของการเลือกสี เด็กเล็กมักจะให้ความสนใจต่อสี การเลือกเฟอร์นิเจอร์จึงมักเรียบง่ายแต่เน้นสี ให้สะดุดตาห้องนอนผู้ใหญ่จะตกแต่งไปตามสไตล์ความชอบส่วนบุคคล การเลือกโทนสีเนื้อนวล หรือสีโทนร้อนที่ไม่ร้อนแรงเกินไปเช่นสีเปลือกไข่ไก่ สีเหลืองอ่อนๆ จะช่วยทำให้ห้องมีความสว่างสดใสและอบอุ่น มีบรรยากาศพักผ่อนที่ดีอุปกรณ์เครื่องนอนควรเลือกผ้าฝ้ายธรรมชาติ ที่ไม่ผ่านการฟอกย้อม
3. เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวและการตกแต่ง ในห้องนอนโดยมากไม่ควรปูพรมเพราะจะเป็นที่สะสมของไรฝุ่น ควรปูพื้นไม้ที่ให้ความเป็นธรรมชาติและทำความสะอาดง่าย แม้แต่ผ้าเช็ดเท้าหน้าเตียงก็ควรหลีกเลี่ยงพรมขนฟูควรใช้ผ้าฝ้ายผืนพอเหมาะที่สามารถซักได้ และเลือกหมอนที่ซักล้างทำความสะอาดได้ง่าย หากต้องมีพรมให้ใช้พรมขนสัตว์แท้ หรือพรมจากวัสดุธรรมชาติอื่น ๆ แทนพรมสังเคราะห์ ไม่ควรมีเฟอร์นิเจอร์กีดขวางทิศทางจากห้องนอนไปห้องอื่นที่สำคัญในบ้าน เช่น จากเตียงสู่ห้องน้ำเนื่องจากอาจมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าห้องน้ำในเวลากลางคืน เตียงนอนไม่ควรหันปลายเท้าทางประตูทางเข้าเพราะเมื่อมีผู้เข้าออกจะทำให้รบกวนผู้นอน ตู้เสื้อผ้า Built-inจะสร้างได้พอเหมาะกับที่ว่างที่มีอยู่ และใช้ปิดมุมเสาให้ห้องดูนุ่มนวลลงได้ ประตูตู้เป็นบานเปิดหรือบานเลื่อนขึ้นอยู่กับที่ว่างหน้าตู้ที่มีอยู่ ถ้าที่ว่างน้อยควรใช้ประตูเป็นบานเลื่อน
4. แสงและเสียงในห้องนอน ห้องนอนเป็นห้องที่มีความเป็นส่วนตัวมากที่สุดในบ้านการจัดวางทิศทางต้องคำนึงถึงช่องเปิดหรือหน้าต่างที่ จะรับลมได้ดีถ้าไม่มีเครื่องปรับอากาศสำหรับบ้านในกรุงเทพทิศทางลมจะมาจากทุกทิศทางควรทำช่องเปิดมากกว่าหนึ่งด้าน ผู้อยู่อาศัยที่ชื่นชอบแสงเวลาเช้าให้หันทิศทางห้องนอนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ คนส่วนมากที่ไม่ชอบตื่นเช้าให้หันทิศทางห้องและหัวนอนไปทางทิศเหนือ และไม่หันหัวเตียงไปทางหน้าต่าง แสงที่เข้ามาจะเป็น Indirect Light สะท้อนที่ผนังก่อนจะเข้าตา ช่วยไม่ให้แสงแยงเข้าตาเราสามารถแยกส่วนห้องนอนกับห้องแต่งตัวออกจากกันเพื่อให้ห้องนอนมีขนาดกว้างขวางขึ้นบริเวณแต่งตัวและโต๊ะเครื่องแป้งควรแยกเป็นสัดส่วนกับบริเวณนอน และต่อเนื่องกับห้องน้ำในกรณีที่มีห้องน้ำติดกับห้องนอน ไม่ควรอยู่ทางเข้าเนื่องจากจะทำให้เห็นความไม่เรียบร้อย
credit : www.student.chula.ac.th
1. การจัดวาง ห้องนอนเป็นห้องที่ใช้ในการพักผ่อนและเป็นห้องที่มีความเป็นส่วนตัวมากที่สุด การจัดวางห้องนอนจึงควรจัดให้เป็นห้องที่มีความสบายและผ่อนคลาย โดยทั่วไปแล้วมักจะจัดไม่ให้เตียงนอนหันหัวในทางตรงข้ามกับประตูเข้าห้องนอน นอกจากจะเป็นห้องนอนขนาดใหญ่ที่สามารถเลี่ยงไม่ให้วางเตียงตรงกับประตูได้ ในกรณีที่มีห้องนอนขนาดใหญ่สามารถจัดพื้นที่บางส่วนเป็นส่วนทำงานและเป็นเสมือนด่านหน้าก่อนจะเข้าถึงพื้นที่ส่วนเตียงได้อีกด้วย แต่การจัดห้องทำงานในห้องนอนนั้นก็ควรมีตู้หรือฉากกั้นเป็นสัดส่วน เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดหรือการรบกวนกันของการใช้งานทั้ง 2 ส่วน นอกจากนี้ ปัจจุบันยังนิยมกั้นพื้นที่บริเวณใกล้ห้องน้ำเป็นพื้นที่แต่งตัวอีกด้วย
2. การเลือกวัสดุและสีห้องนอน ห้องนอนเด็กควรตกแต่งห้องให้น่าสนใจด้วยจินตนาการของการเลือกสี เด็กเล็กมักจะให้ความสนใจต่อสี การเลือกเฟอร์นิเจอร์จึงมักเรียบง่ายแต่เน้นสี ให้สะดุดตาห้องนอนผู้ใหญ่จะตกแต่งไปตามสไตล์ความชอบส่วนบุคคล การเลือกโทนสีเนื้อนวล หรือสีโทนร้อนที่ไม่ร้อนแรงเกินไปเช่นสีเปลือกไข่ไก่ สีเหลืองอ่อนๆ จะช่วยทำให้ห้องมีความสว่างสดใสและอบอุ่น มีบรรยากาศพักผ่อนที่ดีอุปกรณ์เครื่องนอนควรเลือกผ้าฝ้ายธรรมชาติ ที่ไม่ผ่านการฟอกย้อม
3. เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวและการตกแต่ง ในห้องนอนโดยมากไม่ควรปูพรมเพราะจะเป็นที่สะสมของไรฝุ่น ควรปูพื้นไม้ที่ให้ความเป็นธรรมชาติและทำความสะอาดง่าย แม้แต่ผ้าเช็ดเท้าหน้าเตียงก็ควรหลีกเลี่ยงพรมขนฟูควรใช้ผ้าฝ้ายผืนพอเหมาะที่สามารถซักได้ และเลือกหมอนที่ซักล้างทำความสะอาดได้ง่าย หากต้องมีพรมให้ใช้พรมขนสัตว์แท้ หรือพรมจากวัสดุธรรมชาติอื่น ๆ แทนพรมสังเคราะห์ ไม่ควรมีเฟอร์นิเจอร์กีดขวางทิศทางจากห้องนอนไปห้องอื่นที่สำคัญในบ้าน เช่น จากเตียงสู่ห้องน้ำเนื่องจากอาจมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าห้องน้ำในเวลากลางคืน เตียงนอนไม่ควรหันปลายเท้าทางประตูทางเข้าเพราะเมื่อมีผู้เข้าออกจะทำให้รบกวนผู้นอน ตู้เสื้อผ้า Built-inจะสร้างได้พอเหมาะกับที่ว่างที่มีอยู่ และใช้ปิดมุมเสาให้ห้องดูนุ่มนวลลงได้ ประตูตู้เป็นบานเปิดหรือบานเลื่อนขึ้นอยู่กับที่ว่างหน้าตู้ที่มีอยู่ ถ้าที่ว่างน้อยควรใช้ประตูเป็นบานเลื่อน
4. แสงและเสียงในห้องนอน ห้องนอนเป็นห้องที่มีความเป็นส่วนตัวมากที่สุดในบ้านการจัดวางทิศทางต้องคำนึงถึงช่องเปิดหรือหน้าต่างที่ จะรับลมได้ดีถ้าไม่มีเครื่องปรับอากาศสำหรับบ้านในกรุงเทพทิศทางลมจะมาจากทุกทิศทางควรทำช่องเปิดมากกว่าหนึ่งด้าน ผู้อยู่อาศัยที่ชื่นชอบแสงเวลาเช้าให้หันทิศทางห้องนอนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ คนส่วนมากที่ไม่ชอบตื่นเช้าให้หันทิศทางห้องและหัวนอนไปทางทิศเหนือ และไม่หันหัวเตียงไปทางหน้าต่าง แสงที่เข้ามาจะเป็น Indirect Light สะท้อนที่ผนังก่อนจะเข้าตา ช่วยไม่ให้แสงแยงเข้าตาเราสามารถแยกส่วนห้องนอนกับห้องแต่งตัวออกจากกันเพื่อให้ห้องนอนมีขนาดกว้างขวางขึ้นบริเวณแต่งตัวและโต๊ะเครื่องแป้งควรแยกเป็นสัดส่วนกับบริเวณนอน และต่อเนื่องกับห้องน้ำในกรณีที่มีห้องน้ำติดกับห้องนอน ไม่ควรอยู่ทางเข้าเนื่องจากจะทำให้เห็นความไม่เรียบร้อย
credit : www.student.chula.ac.th
เคล็ดลับเลือกซื้อที่ดิน ปลูกบ้านหลังใหม่ให้ถูกใจ
คนเราคงมีโอกาสซื้อหรือปลูกสร้างบ้านได้ไม่เกิน 1-2 หลัง เพราะว่าบ้านคือหนึ่งในปัจจัยสี่ที่เราต้องอยู่อาศัยไปตลอดชีวิต ยิ่งในยุคเศรษฐกิจชะลอตัว น้ำมันแพง การจะปลูกสร้างบ้านสักหลังจึงต้องคิดให้รอบคอบ
คอลัมน์ "เรื่องน่ารู้ ของคนอยากมีบ้าน" ในหนังสือรับสร้างบ้าน 2005 ของสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน ได้แนะนำเคล็ดลับการปลูกสร้างบ้านไว้อย่างน่าสนใจ โดยในช่วงแรกจะขอนำเสนอถึงวิธีในการเลือกซื้อที่ดิน รวมถึงการพิจารณาระบบสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อมใกล้เคียง
เพราะปัจจุบันแม้ว่าจะมีโครงการหมู่บ้านจัดสรรเกิดขึ้นมากมาย แต่ความต้องการก็ใช่ว่าจะเหมือนกันไปทุกคน บางคนไม่ชอบแบบบ้าน บางคนไม่ชอบทำเล หรือเบื่อกับการที่ต้องอยู่บ้านที่หน้าตาเหมือนกันหมด นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งเลือก "ปลูกบ้านเอง"
ที่ดิน
ที่ดินสำหรับการปลูกสร้างบ้านอาจมี 2 ลักษณะ คือที่ดินที่มีอยู่เดิมจากมรดกตกทอด และที่ดินที่ซื้อเก็บไว้หรือกำลังจะหาซื้อมาไว้ในครอบครอง ที่ดินเป็นมรดกตกทอดคงไม่สามารถเลือกได้ว่าต้องการที่ดินรูปร่างแบบไหน มีน้ำ มีสาธารณูปโภคเข้าถึงหรือไม่ แต่ถ้าเป็นที่ดินที่ซื้อไว้สำหรับสร้างบ้านนั้น ก็ควรจะมีความรู้เบื้องต้น
1.ทำเลที่ตั้ง
พฤติกรรมและความเคยชินเป็นสิ่งที่กำหนดทำเลที่อยู่อาศัยของคน ผู้ที่เคยอยู่อาศัยในย่านใด ก็มักจะไม่ย้ายไปอยู่อาศัยในย่านอื่นๆ ที่ตนเองไม่คุ้นเคย ทำให้การเลือกทำเลเพื่อจะสร้างบ้านของแต่ละคนขึ้นอยู่กับความเคยชินเป็นหลัก
2.ขนาดและรูปร่างที่ดิน ระดับของที่ดิน
สิ่งต่อมาที่ต้องพิจารณาคือ ตัวที่ดิน ได้แก่ ลักษณะกายภาพของที่ดิน ขนาด รูปร่าง ระดับของที่ดิน สิ่งเหล่านี้สำคัญมาก เช่น ที่ดินมีลักษณะเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว (หน้าแคบ แต่ลึก) เพราะที่ดินหน้าแคบจะมีปัญหาในเรื่องเทศบัญญัติเกี่ยวกับระยะร่นด้านข้าง (set back) จะทำให้บ้านแคบมากกว่าเดิม ที่ดินหน้ากว้าง 12 เมตรขึ้นไป น่าจะเหมาะสมกับการซื้อไว้สำหรับสร้างบ้านที่สุด
ระดับที่ดินก็ควรเป็นที่สูง อย่างน้อยควรสูงกว่าระดับถนนในละแวกนั้น เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในหน้าฝน ถ้าเกิดที่ดินมีระดับต่ำก็ควรจะถมดินเพิ่ม แต่ต้องตรวจสอบสภาพความพร้อมของที่ดินที่จะถม และเมื่อถมแล้วก็สามารถก่อสร้างได้เลยไม่จำเป็นต้องรอให้ดินทรุดตัว เพราะความจริงแล้วเราสร้างบ้านอยู่บนเสาเข็มที่ตอกลงไปในชั้นหินหรือชั้นดินแข็งที่ลึกลงไป 16-21 เมตร ไม่ได้สร้างบนดินที่ถมเอาไว้
3.การเข้าถึง
ในการพิจารณาเลือกซื้อที่ดิน สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ การเข้าออกที่สะดวกและมีขนาดใหญ่พอที่จะให้รถขนวัสดุก่อสร้างเข้าไปได้ จะช่วยประหยัดค่าขนส่งได้ นอกจากนั้นควรตรวจสอบว่าทางเข้า-ออกนั้นเป็นที่สาธารณะจริงหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาการถูกหลอกซื้อที่ตาบอด
4.สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
ในการเลือกซื้อที่ดินสำหรับปลูกบ้านนั้น ที่ดินที่คุณเลือกซื้อควรจะมีระบบสาธารณูปโภคครบถ้วน ทั้งไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ สามารถตรวจสอบได้โดยสอบถามจากเพื่อนบ้าน หรือการไฟฟ้าและการประปาในเขตพื้นที่ และควรเลือกบริเวณที่มีท่อน้ำประปาและสายไฟฟ้าผ่านใกล้ที่ดินมากที่สุดเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขอต่อไฟฟ้าและน้ำประปา
5.สภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมที่อยู่รอบบ้านเป็นสิ่งที่จะต้องอยู่ด้วยไปนานเท่ากับบ้าน จึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงสภาพสิ่งแวดล้อมรวมทั้งองค์ประกอบรอบที่ดินผืนนั้น เช่น ถ้าที่ดินของคุณไม่มีเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน ก็ควรระวังเรื่องขโมย หรือถ้าข้างที่ดินมีบ้านสร้างอยู่แล้วก็ควรระวังเรื่องระดับที่ดินของเพื่อนบ้านที่อยู่สูงกว่า เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมได้
อีกเรื่องที่สำคัญคือ ถ้าบริเวณโดยรอบที่ดินมีการสร้างบ้านอยู่แล้ว ต้องใช้เข็มเจาะ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายแพงกว่าเข็มตอก 50-60% แต่จะปลอดภัยสำหรับปัญหาบ้านข้างเคียงร้าวเนื่องจากการตอกเสาเข็ม เรื่องปากท้องก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ควรดูว่าบริเวณนั้นมีตลาดสด ร้านค้า หรือห้างสรรพสินค้าหรือไม่ รวมทั้งโรงพยาบาลหรือคลินิก
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
คอลัมน์ "เรื่องน่ารู้ ของคนอยากมีบ้าน" ในหนังสือรับสร้างบ้าน 2005 ของสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน ได้แนะนำเคล็ดลับการปลูกสร้างบ้านไว้อย่างน่าสนใจ โดยในช่วงแรกจะขอนำเสนอถึงวิธีในการเลือกซื้อที่ดิน รวมถึงการพิจารณาระบบสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อมใกล้เคียง
เพราะปัจจุบันแม้ว่าจะมีโครงการหมู่บ้านจัดสรรเกิดขึ้นมากมาย แต่ความต้องการก็ใช่ว่าจะเหมือนกันไปทุกคน บางคนไม่ชอบแบบบ้าน บางคนไม่ชอบทำเล หรือเบื่อกับการที่ต้องอยู่บ้านที่หน้าตาเหมือนกันหมด นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งเลือก "ปลูกบ้านเอง"
ที่ดิน
ที่ดินสำหรับการปลูกสร้างบ้านอาจมี 2 ลักษณะ คือที่ดินที่มีอยู่เดิมจากมรดกตกทอด และที่ดินที่ซื้อเก็บไว้หรือกำลังจะหาซื้อมาไว้ในครอบครอง ที่ดินเป็นมรดกตกทอดคงไม่สามารถเลือกได้ว่าต้องการที่ดินรูปร่างแบบไหน มีน้ำ มีสาธารณูปโภคเข้าถึงหรือไม่ แต่ถ้าเป็นที่ดินที่ซื้อไว้สำหรับสร้างบ้านนั้น ก็ควรจะมีความรู้เบื้องต้น
1.ทำเลที่ตั้ง
พฤติกรรมและความเคยชินเป็นสิ่งที่กำหนดทำเลที่อยู่อาศัยของคน ผู้ที่เคยอยู่อาศัยในย่านใด ก็มักจะไม่ย้ายไปอยู่อาศัยในย่านอื่นๆ ที่ตนเองไม่คุ้นเคย ทำให้การเลือกทำเลเพื่อจะสร้างบ้านของแต่ละคนขึ้นอยู่กับความเคยชินเป็นหลัก
2.ขนาดและรูปร่างที่ดิน ระดับของที่ดิน
สิ่งต่อมาที่ต้องพิจารณาคือ ตัวที่ดิน ได้แก่ ลักษณะกายภาพของที่ดิน ขนาด รูปร่าง ระดับของที่ดิน สิ่งเหล่านี้สำคัญมาก เช่น ที่ดินมีลักษณะเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว (หน้าแคบ แต่ลึก) เพราะที่ดินหน้าแคบจะมีปัญหาในเรื่องเทศบัญญัติเกี่ยวกับระยะร่นด้านข้าง (set back) จะทำให้บ้านแคบมากกว่าเดิม ที่ดินหน้ากว้าง 12 เมตรขึ้นไป น่าจะเหมาะสมกับการซื้อไว้สำหรับสร้างบ้านที่สุด
ระดับที่ดินก็ควรเป็นที่สูง อย่างน้อยควรสูงกว่าระดับถนนในละแวกนั้น เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในหน้าฝน ถ้าเกิดที่ดินมีระดับต่ำก็ควรจะถมดินเพิ่ม แต่ต้องตรวจสอบสภาพความพร้อมของที่ดินที่จะถม และเมื่อถมแล้วก็สามารถก่อสร้างได้เลยไม่จำเป็นต้องรอให้ดินทรุดตัว เพราะความจริงแล้วเราสร้างบ้านอยู่บนเสาเข็มที่ตอกลงไปในชั้นหินหรือชั้นดินแข็งที่ลึกลงไป 16-21 เมตร ไม่ได้สร้างบนดินที่ถมเอาไว้
3.การเข้าถึง
ในการพิจารณาเลือกซื้อที่ดิน สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ การเข้าออกที่สะดวกและมีขนาดใหญ่พอที่จะให้รถขนวัสดุก่อสร้างเข้าไปได้ จะช่วยประหยัดค่าขนส่งได้ นอกจากนั้นควรตรวจสอบว่าทางเข้า-ออกนั้นเป็นที่สาธารณะจริงหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาการถูกหลอกซื้อที่ตาบอด
4.สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
ในการเลือกซื้อที่ดินสำหรับปลูกบ้านนั้น ที่ดินที่คุณเลือกซื้อควรจะมีระบบสาธารณูปโภคครบถ้วน ทั้งไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ สามารถตรวจสอบได้โดยสอบถามจากเพื่อนบ้าน หรือการไฟฟ้าและการประปาในเขตพื้นที่ และควรเลือกบริเวณที่มีท่อน้ำประปาและสายไฟฟ้าผ่านใกล้ที่ดินมากที่สุดเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขอต่อไฟฟ้าและน้ำประปา
5.สภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมที่อยู่รอบบ้านเป็นสิ่งที่จะต้องอยู่ด้วยไปนานเท่ากับบ้าน จึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงสภาพสิ่งแวดล้อมรวมทั้งองค์ประกอบรอบที่ดินผืนนั้น เช่น ถ้าที่ดินของคุณไม่มีเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน ก็ควรระวังเรื่องขโมย หรือถ้าข้างที่ดินมีบ้านสร้างอยู่แล้วก็ควรระวังเรื่องระดับที่ดินของเพื่อนบ้านที่อยู่สูงกว่า เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมได้
อีกเรื่องที่สำคัญคือ ถ้าบริเวณโดยรอบที่ดินมีการสร้างบ้านอยู่แล้ว ต้องใช้เข็มเจาะ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายแพงกว่าเข็มตอก 50-60% แต่จะปลอดภัยสำหรับปัญหาบ้านข้างเคียงร้าวเนื่องจากการตอกเสาเข็ม เรื่องปากท้องก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ควรดูว่าบริเวณนั้นมีตลาดสด ร้านค้า หรือห้างสรรพสินค้าหรือไม่ รวมทั้งโรงพยาบาลหรือคลินิก
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
ห้องนอนปลอดมลพิษ
นอนอย่างไรก็ไม่รู้สึกสบายสักที ลองหันมาสำรวจห้องนอนคุณดูสิว่าเป็นห้องนอนปลอดมลพิษหรือยัง
ผู้ ที่เป็นหวัดบ่อย ๆ นั้น บางครั้งมาจากสาเหตุของการแพ้สารที่ปะปนอยู่ในอากาศ ทำให้มีอาการคล้ายหวัดเรื้อรัง หรือที่เรียกว่าโรคหวัดจากภูมิแพ้ หรือโรคแพ้อากาศ ซึ่งโรคนี้มีอัตราการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจนติดอันดับโรคยอดนิยมเลยทีเดียว
วง การแพทย์ในปัจจุบัน จึงได้ให้ความสนใจกับการจัดแต่งบ้านและห้องนอนมากขึ้น เนื่องจากเป็นส่วนที่เราสัมผัสอยู่เป็นประจำ ซึ่งแพทย์ได้แนะนำว่าห้องนอนควรจะจัดแต่งด้วยเครื่องประดับที่กอปรด้วยสาร ก่อภูมิแพ้ให้น้อยที่สุด และพยายามรักษาจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ สารที่ก่อภูมิแพ้ ได้แก่ ฝุ่นละอองและ ตัวไรที่ติดมากับฝุ่นในบ้าน ขนสัตว์ และเชื้อเรา
ดังนั้น ห้องนอน นอกจากจะแลดูสวยงามสดชื่นตามสไตล์ที่ชอบแล้ว ยังต้องพิถีพิถันในการเลือกสรรวัสดุและเครื่องเรือนสำหรับการตกแต่งอีกด้วย
เตียงนอนและเครื่องนอน ควรเลือกเตียงนอนแบบไม่มีขาเตียง เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นเข้าไปขังใต้เตียง และที่นอนก็ควรเลือกวัสดุที่ไม่เป็นฝุ่นฟุ้ง ได้แก่ ที่นอนทำด้วย ฟองน้ำ ยาง หรือที่นอนสปริง โดยมีผ้าหุ้มมิดชิด ส่วนผ้าปูที่นอนควรทำด้วยผ้าฝ้าย เพื่อหลีกเลี่ยงสารที่ก่อเกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง และควรเปลี่ยนผ้าปูอย่างน้อยสัปดาห์ ละ 2 ครั้ง ส่วนหมอนนั้น ถ้าทำด้วยใยสังเคราะห์ก็จะเป็นการดีทีเดียว เนื่องจากนำมาซักทำความสะอาดได้ ส่วนของผ้าห่มก็เช่นกันควรจะเลือกที่เป็นใยสังเคราะห์
เครื่องประดับห้อง ควรมีน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้เป็นที่เก็บกักฝุ่นและตัวไร เช่น ตุ๊กตาขนฟู หมอนประดับที่ไม่จำเป็น ส่วนเก็บหนังสือและส่วนแต่งตัว ควรแยกเป็นสัดส่วน เสื้อผ้าเก็บไว้ในตู้ให้เรียบร้อย บริเวณที่แต่งหน้าผัดแป้งใส่น้ำหอม ควรมีฉากปรับเลื่อนกั้นออกจากส่วนนอน หรือจะออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของห้องน้ำก็ได้
พื้นห้องนอน ควรปูด้วยไวนีลหรือพื้นไม้ ไม่ควรปูพรม
ผ้าม่าน เลือกผ้าที่ฝุ่นสะสมยาก และแบบที่ไม่เป็นจีบซับซ้อน หรือเลือกมู่ลี่ที่ถอดทำความสะอาดได้ง่าย
หน้าต่าง และการระบายอากาศ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ควรเปิดหน้าต่างให้อากาศหมุนเวียน และเปิดม่านออกให้ห้องนอนได้รับแสงแดดพอสมควร เพราะห้องนอนควรมีอากาศที่สดชื่น ปราศจากกลิ่นควันของบุหรี่ หรือควันธูป หรือน้ำหอมต่าง ๆ รวมทั้งกลิ่นอาหาร การติดเครื่องกรองอากาศ ควบคู่กับเครื่องปรับอากาศก็เป็นสิ่งที่ช่วยได้แล้วแต่กรณี
การ รักษาห้องนอนให้ปลอดมลพิษ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสร้างเสริมพลานามัย ซึ่งจะต้องควบคู่กับการสร้างเสริมจิตใจที่แจ่มใส หากคุณจะเสริมแต่งผนังให้ดูสนชื่นด้วยภาพเขียนสักภาพละก็ ลงมือจัดการได้ทันทีค่ะ ก่อนจะเกิดโรคเครียดขึ้นมาอีกโรคหนึ่ง....
ที่มาของข้อมูล: http://variety.teenee.com