ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550

ในข้อกำหนดฉบับใหม่นี้ ได้มีการปรับปรุง เพิ่มเติมข้อกำหนดในหลายเรื่อง เช่น

1. ขนาดที่ดินแปลงย่อย - กรณีเพื่อการจำหน่ายเฉพาะที่ดิน หรือที่ดินพร้อมบ้านเดี่ยว จะต้องมีความยาวไม่ต่ำกว่า 12.00 เมตร (เดิม 10.00 เมตร) และกรณีที่ดินพร้อมบ้านแฝด ต้องมีความกว้างไม่ต่ำกว่า 9.00 เมตร (เดิม 8.00 เมตร)

2. ปรับปรุงเพิ่มเติมข้อกำหนดในเรื่องระบบการระบายน้ำ เช่น
2.1 กรณีมีระบบป้องกันน้ำท่วมแบบ Polder System กำหนดความสูงและลักษณะของคันกั้นน้ำถาวร
2.2 กำหนดว่าคุณภาพน้ำทิ้งที่ระบายสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้ง ต้องเป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งฉบับล่าสุดของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร
2.3 กำหนดเกณฑ์การคำนวณปริมาณน้ำท่า (Runoff) ของระบบการระบายน้ำ
2.4 กำหนดวิธีการคำนวณขีดความสามารถการระบายน้ำของท่อระบายน้ำ
2.5 บ่อสูบหรือสถานีสูบน้ำที่บรรจบกับระบบระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งรองรับน้ำสาธารณะ ให้มีประตูน้ำ
2.6 บ่อผันน้ำลงสู่ทางน้ำสาธารณะต้องจัดให้มีตะแกรงดักขยะ
2.7 รายการคำนวณระบบการระบายน้ำ มีรายการเพิ่มเติมที่ต้องนำเสนอด้วย ได้แก่ กราฟน้ำฝนออกแบบ, สูตรที่ใช้คำนวณน้ำฝน - น้ำท่า, สูตรที่ใช้คำนวณชลศาสตร์การไหลของน้ำในท่อระบายน้ำ, ความลาดเอียงของเส้นชลศาสตร์การไหล, ขนาดของบ่อสูบหรือสถานีสูบ (ถ้ามี), แสดงปริมาณน้ำท่าที่ระบายออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะ, ระดับน้ำสูงสุดของแหล่งรองรับน้ำทิ้งของระบบการระบายน้ำ เป็นต้น

3. ระบบบำบัดน้ำเสีย กรณีที่ดินจัดสรรต่ำกว่า 100 แปลง อนุโลมให้ใช้มาตรฐาน ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด สำหรับอาคารประเภท ค. มาใช้แทนได้

4. ถนนสาธารณประโยชน์ที่เป็นทางเข้าออกของโครงการ ต้องมีความกว้างของผิวจราจรไม่ต่ำกว่า 5.00 เมตร หรือเขตทางไม่ต่ำกว่า 6.00 เมตรและผิวจราจรต้องไม่ต่ำกว่า 5.00 เมตร

5. ปรับปรุงข้อกำหนดเรื่องถนนปลายตันให้ชัดเจนและเหมาะสมขึ้น จากเดิมกำหนดเพียงว่าให้มีที่กลับรถทุกๆ ระยะไม่เกิน 100 เมตรกับที่ปลายถนน ทำให้ถนนที่ยาวเกิน 100 เมตร ไม่มาก จะต้องมีที่กลับรถถึง 2 แห่ง ในข้อกำหนดใหม่ กำหนดว่า ถ้าเศษของ 100 เมตร หากไม่ถึง 50 เมตร ก็สามารถทำที่กลับรถที่ปลายเพียงตำแหน่งเดียวก็ได้

6. ปรับปรุงมาตรฐานที่กลับรถ กรณีเป็นวงเวียน ผิวจราจรต้องกว้างไม่ต่ำกว่า 6.00 เมตร (เดิม 4.00 เมตร), กรณีเป็นรูปตัว T หรือตัว Y เฉพาะที่จัดทำที่บริเวณปลายตัน ให้มีความยาวของไหล่ตัวทีด้านละไม่ต่ำกว่า 2.50 เมตร (เดิม 5.00 เมตร ทุกกรณี)

7. ทางเดินและทางเท้า เฉพาะส่วนที่เป็นทางเดินและทางเท้าสุทธิที่กำหนดไว้ ให้ใช้เพื่อสัญจรเท่านั้น ห้ามใช้ประโยชน์อย่างอื่นที่ก่อให้เกิดความไม่สะดวก

8. สวน สนามเด็กเล่น หรือสนามกีฬา ได้กำหนดให้ชัดเจนขึ้นในเรื่องที่ตั้ง ขนาด และรูปทรงว่าให้เหมาะสมสะดวกแก่การเข้าใช้ประโยชน์ และมีระยะแต่ละด้านไม่ต่ำกว่า 10.00 เมตร นอกจากนั้นยังกำหนดให้ปลูกไม้ยืนต้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่สวน ตามหลักวิชาการด้านภูมิสถาปัตยกรรม และพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นสวน สนามเด็กเล่น หรือสนามกีฬา จะต้องปลอดจากภาระผูกพันและการรอนสิทธิใดๆ

9. กรณีโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องจัดให้มีพื้นที่สำหรับจัดตั้งโรงเรียนอนุบาล กำหนดเพิ่มว่า ต้องจัดทำให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี

10. กรณีผู้จัดสรรที่ดินมีความประสงค์จะให้มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ผู้จัดสรรที่ดินจะต้องจัดหาพื้นที่สำหรับเป็นที่ตั้งสำนักงานนิติบุคคลหมู่ บ้านจัดสรร และกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับกรณีจัดที่ดินเปล่า, ที่ดินพร้อมอาคาร, และพื้นที่ส่วนอื่นที่ได้จัดไว้ให้เป็นที่ตั้งสำนักงาน ซึ่งข้อกำหนดนี้ก็จะเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางซึ่งได้ ประกาศออกมาก่อนหน้านี้ไม่นาน และคณะกรรมการจัดสรรที่ดินของจังหวัดต่างๆ ได้เริ่มเพิ่มเติมลงในข้อกำหนดจัดสรรที่ดินสำหรับจังหวัดของตนอยู่ในขณะนี้
ที่มา http://www.sunsrang.com

ก่อนซื้อที่ดินตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายผังเมือง

ตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายผังเมืองว่าที่ดินหรืออาคารที่ก่อสร้าง
สามรถดำเนินการได้หรือไม่ ซึ่งกฎหมายผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครแบ่งการใช้ที่ดินออกเป็น 13 ประเภท คือ
1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง)
2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม)
3. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีน้ำตาล)
4. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม (สีแดง)
5. ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง)
6. ที่ดินประเภทคลังสินค้า (สีเม็ดมะปราง)
7. ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ (สีม่วงอ่อน)
8. ที่ดินประเภทชนบทและอุตสาหกรรม (สีเขียว)
9. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก)
10. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียวมีครอบและเส้นทะแทงเขียว)
11. ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย (สีน้ำตาลอ่อน)
12. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน)
13. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)

แต่ละประเภทการใช้ที่ดินมีข้อกำหนดการใช้ต่างกันควรต้องศึกษารายละเอียดก่อนการตัดสินใจซื้อทีดิน

ที่มา http://www.sunsrang.com