"แก้ปัญหาดาดฟ้ารั่ว…คุณก็ทำได้
หน้าฝนทีไรปัญหาที่สร้างความหนักอกหนักใจให้กับเจ้าของบ้าน โดยเฉพาะบ้านที่มีดาดฟ้า การรั่วซึมของน้ำที่ดาดฟ้าเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไป และมักสร้างความรำคาญให้กับเจ้าของบ้านอยู่เสมอ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะพื้นที่บริเวณดาดฟ้าต้องถูกแดดถูกฝนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ทำให้ปูนซึ่งมีลักษณะเป็นรูพรุนเสื่อมสภาพได้ง่าย แม้ว่าตอนก่อสร้างแรก ๆ จะมีการเทพื้นดาดฟ้าอย่างดี ไม่มีรอยแตกร้าวเกิดขึ้นเลย แต่อย่าลืมครับว่า ปัญหา การรั่วซึมของน้ำบนดาดฟ้านั้นยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ดาดฟ้าเกิดการรั่วซึมขึ้นมา เป็นต้นว่า
- พื้นดาดฟ้ามีความลาดชัน (Slope) น้อยเกินไป ทำให้เวลาฝนตกลงมา น้ำไม่สามารถไหลระบายไปได้อย่างที่ควรจะเป็น
- มีแอ่งหลุมบนดาดฟ้า ทำให้น้ำท่วมขังเป็นแห่ง ๆ บนพื้นดาดฟ้า
- พื้นหลังคาเป็นหลังเต่า เนินทั้ง 2 ด้านทำให้ น้ำขังเป็นเวลานาน
- พื้นหลังคามีรอยรั่ว อาจเกิดจากการเทคอนกรีตหรือกรรมวิธีการก่อสร้าง
มาตรวจสอบรอยรั่วบนดาดฟ้ากันเถอะ
รอยรั่วบนดาดฟ้าที่เกิดขึ้นบางครั้งเราสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน อาจมีรอยน้ำหยดเป็นทาง หรือเพียงแค่ ซึม ๆ แต่หลายครั้งที่เราอาจไม่ทันสังเกต เพราะรอยรั่วมีขนาดเล็ก แต่สามารถสร้างความเสียหาย หรือสร้างความรำคาญให้กับห้องที่อยู่ใต้บริเวณรอยรั่วได้ ฉะนั้นก่อนอื่นเราต้องหารอยรั่วนั้นเสียก่อน
ในกรณีที่มองไม่เห็นรอยรั่ว แต่เรารู้ว่ามีรอยรั่วเกิดขึ้น ในตอนที่แดดออกให้ลองเอาน้ำราดพื้นดาดฟ้าบริเวณที่คาดว่าจะมีรอยรั่ว ดูว่ามีรอยแตกที่พื้นดาดฟ้าหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่านั่นเป็นช่องที่น้ำเล็ดลอดลงไปข้างล่าง แต่หากดูแล้วไม่มีรอยแตกอาจเกิดจากรอยต่อที่บริเวณขอบของผนังดาดฟ้าก็เป็นได้
แก้ไขดาดฟ้ารั่วด้วยตัวเอง
การแก้ไขดาดฟ้ารั่วมีหลายวิธี หากรอยรั่วไม่มากหรือมีขนาดไม่ใหญ่สามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เช่น
- นำเอาฟลิ้นโค้ทมายาแนวตรงบริเวณที่มีรอยแตก แล้วขังน้ำเอาไว้ หากไม่มีน้ำรั่วลงไปแสดงว่าแก้ปัญหาถูกจุด
- หากรอยแตกใหญ่และกินบริเวณกว้าง ควรเรียกบริษัททำระบบกันซึมมาทำระบบกันซึมให้ ซึ่งการทำ จะมีทั้งชนิดที่ใช้น้ำยาทาหรือจะเป็นแผ่นยางบาง ๆ วางซ้อนทับกันหลาย ๆ ชั้น แล้วจึงเทปูนทับหน้า หรือจะใช้แผ่น Solar Slab ปูทับก็ได้เช่นกัน
- ปูกระเบื้องเซรามิกทับลงไปบนพื้นดาดฟ้า วิธีนี้ต้องลงทุนเพิ่มเพราะกระเบื้องเซรามิกสามารถกันน้ำซึมได้ดี แถมยังทนทานต่อแดดฝนได้ดีกว่าปูนซีเมนต์ แต่ต้องระวังเรื่องการยาแนวบริเวณรอยต่อของกระเบื้อง ต้องเลือกใช้กาวยาแนวคุณภาพดี และหมั่นดูแลซ่อมแซมกำจัดสิ่งสกปรกหรือเศษพื้นปูนที่แตกกะเทาะหลุดล่อน
- ไม่ควรแก้ปัญหาดาดฟ้ารั่วด้วยการเทปูนทับหน้าลงไปอีก เพราะคุณสมบัติของปูนซีเมนต์มีรูพรุนน้ำสามารถซึมผ่านได้ตลอดเวลา ยิ่งถ้ามีความชื้นหรือ น้ำท่วมขังอยู่บนพื้นผิวเป็นเวลานาน น้ำซึมจากดาดฟ้า รั่วก็เกิดขึ้นได้อีก แถมยังเป็นการไปเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้างโดยไม่จำเป็น
เทคนิคซ่อมดาดฟ้ารั่วแบบประหยัด
การเลือกว่าจะซ่อมแซมดาดฟ้ารั่วด้วยวิธีใดขึ้นอยู่กับความสะดวกและงบประมาณของแต่ละคนครับ แต่สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีงบเท่าไหร่ เราก็มีวิธีการซ่อมแซมดาดฟ้าอย่างง่าย ๆ มาแนะนำกัน ดังนี้
1. เมื่อสำรวจเจอรอยน้ำรั่วซึมแล้ว หากรอยร้าวเป็นร่องลึกให้ใช้ซีเมนต์ทากันซึม โดยให้ผสมน้ำแล้วทาบริเวณรอยที่รั่ว ทิ้งไว้ให้แห้ง วิธีนี้ใช้ได้กับดาดฟ้า กำแพงที่ร้าว ทาก่อนปูกระเบื้องห้องน้ำ หรือแม้แต่ทาก่อนทาสีทับหน้า เพื่อกันน้ำซึมและไม่ทำให้สีที่ทาไปแล้วหลุดลอกออกมา
2. หากรอยร้าวเป็นร่องใหญ่ ให้ใช้ซีเมนต์แห้งเร็วอุดบริเวณน้ำรั่ว โดยใช้ผสมกับน้ำแล้วอุดรอยรั่ว ซีเมนต์จะแห้งภายใน 3 นาที แต่หากเป็นการรั่วบริเวณรอยต่อให้ใช้ซิลิโคนแทน เนื่องจากซิลิโคนมีคุณสมบัติยืดหยุ่นมากกว่าซีเมนต์แห้งเร็ว ยิ่งเป็นบ้านหรืออาคารที่อยู่ใกล้ริมถนน หรือบริเวณที่มีรถวิ่งผ่านตลอดเวลา การใช้ซิลิโคนจะช่วยให้บริเวณที่อุดซ่อมแซมไม่หลุดล่อนง่าย อันเนื่องมาจากแรงสั่นสะเทือนขณะที่รถวิ่งผ่าน
แค่นี้คุณก็หมดปัญหากวนใจจากดาดฟ้ารั่วในช่วงหน้าฝนแล้วครับ"
ที่มา:
www.gearmag.info
ออกแบบบ้านอย่างไร...อยู่แล้วมีความสุข
คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า “การตกแต่งภายใน” คือการพา Interior Designer (มัณฑนากร) มาเลือกซื้อของเข้าบ้าน จัดวางเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน หรือออกแบบเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน (Built in Furniture)
แต่จริงๆ แล้วการตกแต่งภายในมีความหมายครอบคลุมถึงการออกแบบและการตกแต่งบ้านที่ต้องคำนึงถึงฟังก์ชั่นและการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้อยู่อาศัยว่า...ทำอย่างไรให้มีความสุขในบ้านหลังนี้? โดยเน้นหลักของการจัดวางตำแหน่งพื้นที่ของห้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องรับแขก ห้องทานอาหาร ตำแหน่งเฟอร์นิเจอร์ การเลือกใช้สี การจัดแสงไฟ การเลือกใช้วัสดุปิดผิวต่างๆ รวมถึงการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ด้วย สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งช่วยให้บ้านของคุณมีความน่าอยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น และเป็นสิ่งที่จะแสดงถึงสไตล์ หรือรสนิยมของเจ้าของบ้านนั่นเอง เรามักจะได้พบได้เห็นกันอยู่บ่อยๆ ว่า บ้านที่ไม่ได้รับการออกแบบตกแต่งที่ถูกต้อง มักจะมีเหตุการณ์แปลกประหลาดอยู่ในบ้านนั้น เช่น พื้นที่ระหว่างเสาที่ไม่สามารถวางตู้ได้ ห้องครัวที่ยากต่อการใช้สอย แสงในห้องที่ไม่เพียงพอ โต๊ะกินข้าวที่สมาชิกในบ้านไม่สามารถนั่งพร้อมกันได้ หรือแม้กระทั่งห้องรับแขกที่เหมือนจะบอกแขกผู้มาเยือนว่าเมื่อไหร่จะกลับบ้านซักที เป็นต้น “สิ่งเหล่านี้” มักจะเป็นสิ่งที่เราไม่เคยต้องการ แต่มันพาลจะเข้ามาอยู่ในบ้านกับเราซะงั้น!!! แต่คุณไม่ต้องกังวลใจไป เพราะเมื่อคุณเลือกที่จะใช้มัณฑนากรมาเป็นผู้รังสรรค์ความคิดฝันในไอเดียของคุณให้กลายเป็นความจริง การออกแบบตกแต่งภายในก็จะสามารถปรับเปลี่ยนและจัดพื้นที่ บรรยากาศ ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของบ้านคุณได้อย่างสวยงามและลงตัว อย่างเช่น ทิศทางของแสงแดด ทิศทางของลม การจัดบรรยากาศของห้องต่างๆ ให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เจ้าของบ้านได้ นอกจากความสะดวกสบายแล้ว ยังต้องสวยงามผสมผสานกับศิลปะ ฟังก์ชั่นที่ดี ฟอร์มก็ต้องดีตามด้วยนะครับ อย่างเรื่องการเลือกใช้วัสดุปิดผิวที่ในท้องตลาดมีมากมายหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็เหมาะกับงานในแต่ละสไตล์ เช่น กระเบื้อง ก็มีแบบหลายสิบแบบให้เลือกสรร ทั้งกระเบื้องธรรมชาติ กระเบื้องมัน กระเบื้องเงา กระเบื้องแกรนิตโต้ กระจกก็มีเป็นสิบๆ ชนิด ไม่ว่าจะเป็นกระจกลามิเนท กระจกฝ้า กระจกใส กระจกเงา กระจกลายผ้า นี่ยังไม่นับวัสดุอีกเป็นหลายสิบชนิดเช่นกัน ซึ่งเราสามารถนำเอาวัสดุต่างๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ จัดให้สวยงาม เกิดเป็นรูปแบบที่ลงตัวและเกิดประโยชน์ด้วย อย่างห้องเล็กๆ อาจจะใช้กระจกเงาเข้ามาตกแต่งผนัง แล้วอาศัยแสงไฟช่วยซักเล็กน้อย ก็สามารถทำให้ห้องดูกว้าง น่าอยู่ เป็นต้น ความหลากหลายของวัสดุ บวกกับความชอบของเจ้าของบ้านแบบใหม่ๆ (แถวบ้านเรียก “แนว”) จึงก่อให้เกิดรูปแบบสไตล์การออกแบบตกแต่งภายในที่หลากหลาย สไตล์ใคร สไตล์มัน เกิดเป็นความยูนีคขึ้น เป็นบ้านหลังเดียวในโลก ไม่มีใครเหมือน และไม่มีเหมือนใคร สรุปสั้นๆ ง่ายๆ ว่าหากวันนี้คุณกำลังจะเริ่มการออกแบบตกแต่งภายในของบ้านในฝันหรือเรือนหอรักของคุณกับใครสักคน การตกแต่งภายในนั้นจะทำให้ชีวิตของคุณมีความสุขกับบ้านแสนรักหลังนี้ได้ โดยมัณฑนากรจะขัดเกลาจากการนำเอาความคิด ความชอบ บวกลักษณะนิสัยส่วนตัวของเจ้าของบ้าน มาคลุกเคล้ากับศิลปะและทักษะของผู้ออกแบบเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งด้านประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามในสไตล์ที่เป็นคุณนั่นเองครับ
ที่มา : สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์
แต่จริงๆ แล้วการตกแต่งภายในมีความหมายครอบคลุมถึงการออกแบบและการตกแต่งบ้านที่ต้องคำนึงถึงฟังก์ชั่นและการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้อยู่อาศัยว่า...ทำอย่างไรให้มีความสุขในบ้านหลังนี้? โดยเน้นหลักของการจัดวางตำแหน่งพื้นที่ของห้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องรับแขก ห้องทานอาหาร ตำแหน่งเฟอร์นิเจอร์ การเลือกใช้สี การจัดแสงไฟ การเลือกใช้วัสดุปิดผิวต่างๆ รวมถึงการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ด้วย สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งช่วยให้บ้านของคุณมีความน่าอยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น และเป็นสิ่งที่จะแสดงถึงสไตล์ หรือรสนิยมของเจ้าของบ้านนั่นเอง เรามักจะได้พบได้เห็นกันอยู่บ่อยๆ ว่า บ้านที่ไม่ได้รับการออกแบบตกแต่งที่ถูกต้อง มักจะมีเหตุการณ์แปลกประหลาดอยู่ในบ้านนั้น เช่น พื้นที่ระหว่างเสาที่ไม่สามารถวางตู้ได้ ห้องครัวที่ยากต่อการใช้สอย แสงในห้องที่ไม่เพียงพอ โต๊ะกินข้าวที่สมาชิกในบ้านไม่สามารถนั่งพร้อมกันได้ หรือแม้กระทั่งห้องรับแขกที่เหมือนจะบอกแขกผู้มาเยือนว่าเมื่อไหร่จะกลับบ้านซักที เป็นต้น “สิ่งเหล่านี้” มักจะเป็นสิ่งที่เราไม่เคยต้องการ แต่มันพาลจะเข้ามาอยู่ในบ้านกับเราซะงั้น!!! แต่คุณไม่ต้องกังวลใจไป เพราะเมื่อคุณเลือกที่จะใช้มัณฑนากรมาเป็นผู้รังสรรค์ความคิดฝันในไอเดียของคุณให้กลายเป็นความจริง การออกแบบตกแต่งภายในก็จะสามารถปรับเปลี่ยนและจัดพื้นที่ บรรยากาศ ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของบ้านคุณได้อย่างสวยงามและลงตัว อย่างเช่น ทิศทางของแสงแดด ทิศทางของลม การจัดบรรยากาศของห้องต่างๆ ให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เจ้าของบ้านได้ นอกจากความสะดวกสบายแล้ว ยังต้องสวยงามผสมผสานกับศิลปะ ฟังก์ชั่นที่ดี ฟอร์มก็ต้องดีตามด้วยนะครับ อย่างเรื่องการเลือกใช้วัสดุปิดผิวที่ในท้องตลาดมีมากมายหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็เหมาะกับงานในแต่ละสไตล์ เช่น กระเบื้อง ก็มีแบบหลายสิบแบบให้เลือกสรร ทั้งกระเบื้องธรรมชาติ กระเบื้องมัน กระเบื้องเงา กระเบื้องแกรนิตโต้ กระจกก็มีเป็นสิบๆ ชนิด ไม่ว่าจะเป็นกระจกลามิเนท กระจกฝ้า กระจกใส กระจกเงา กระจกลายผ้า นี่ยังไม่นับวัสดุอีกเป็นหลายสิบชนิดเช่นกัน ซึ่งเราสามารถนำเอาวัสดุต่างๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ จัดให้สวยงาม เกิดเป็นรูปแบบที่ลงตัวและเกิดประโยชน์ด้วย อย่างห้องเล็กๆ อาจจะใช้กระจกเงาเข้ามาตกแต่งผนัง แล้วอาศัยแสงไฟช่วยซักเล็กน้อย ก็สามารถทำให้ห้องดูกว้าง น่าอยู่ เป็นต้น ความหลากหลายของวัสดุ บวกกับความชอบของเจ้าของบ้านแบบใหม่ๆ (แถวบ้านเรียก “แนว”) จึงก่อให้เกิดรูปแบบสไตล์การออกแบบตกแต่งภายในที่หลากหลาย สไตล์ใคร สไตล์มัน เกิดเป็นความยูนีคขึ้น เป็นบ้านหลังเดียวในโลก ไม่มีใครเหมือน และไม่มีเหมือนใคร สรุปสั้นๆ ง่ายๆ ว่าหากวันนี้คุณกำลังจะเริ่มการออกแบบตกแต่งภายในของบ้านในฝันหรือเรือนหอรักของคุณกับใครสักคน การตกแต่งภายในนั้นจะทำให้ชีวิตของคุณมีความสุขกับบ้านแสนรักหลังนี้ได้ โดยมัณฑนากรจะขัดเกลาจากการนำเอาความคิด ความชอบ บวกลักษณะนิสัยส่วนตัวของเจ้าของบ้าน มาคลุกเคล้ากับศิลปะและทักษะของผู้ออกแบบเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งด้านประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามในสไตล์ที่เป็นคุณนั่นเองครับ
ที่มา : สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์
ฮวงจุ้ยกับการตกแต่งบ้าน
การแต่งบ้านให้น่าอยู่ เงินทองไหลมาเทมา คนสมัยก่อนส่วนใหญ่มักจะถือหลักฮวงจุ้ย จะช่วยเสริมให้บ้านและผู้อาศัยเจริญรุ่งเรือง..รับแต่สิ่งดีๆ เข้ามาภายในบ้าน...
แสง ภายในบ้านควรมีแสงสว่างอย่างพอเพียง บริเวณพื้นที่นอกตัวบ้านหรือภายในสวนก็ควรมีแสงสว่างมากๆ ในยามค่ำคืน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะใช้ไฟในบริเวณนอกบ้านน้อยมากหรือไม่ใช้เลย ทำให้บริเวณรอบบ้านดูมืดอึมครึม แต่ถ้าเปิดไฟไว้บริเวณนอกตัวบ้านหรือภายในสวน ก็จะกระตุ้นความเจิดจ้าและความมีชีวิตชีวาให้แก่ผู้คนในบ้านนั้น แต่ในตัวบ้านไม่ต้องใช้ไฟปริมาณมากเกินไปจนสว่างจ้า เพราะจะส่งผลให้ประสาทตาต้องทำงานหนักเกินไป แสงไฟควรนุ่มนวลพอดี และไม่มืดหม่นสลัวลางเกินไป ไฟที่มีแสงออกแกมสีเขียวด้วยนั้น ไม่ควรนำมาติดไว้ในบ้านเด็ดขาด ! เพราะเวลาแสงไฟส่องต้องใบหน้าคนในบ้านแล้วจะดูเหมือนใบหน้าคนตายไร้สีเลือด ไฟที่มีรูปทรงเป็นโคมระย้า ก็ถือว่าเป็นรูปทรงที่ดี เพราะทำให้ชี่ที่รุนแรงกระจายตัวออกไปอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรแขวนไว้ในตำแหน่งที่ต่ำจนเกินไป กระจกเงา กระจกเงาช่วยแก้ไขฮวงจุ้ยให้ดีขึ้นได้ แต่ก็ต้องติดไว้อย่างถูกที่ถูกทางด้วย จึงจะส่งผลดีให้แก่ผู้อยู่อาศัย หากนอกบ้านมีสระน้ำหรือแม่น้ำ เราควรติดกระจกเงาที่ผนังในตำแหน่งซึ่งกระจกเงาสามารถสะท้อนภาพของแม่น้ำได้ คือ ดึงเอาภาพของน้ำมาไว้ในห้องนั่นเอง การแขวนกระจกเงาไว้บนผนัง ไม่ว่าเพื่อแก้ไข หรือเสริมกรณีใดก็ตาม ที่ถูกต้องก็คือ จะต้องแขวนไว้ในระดับที่ไม่สูงจนเกินไป หรือต่ำกว่าระดับศีรษะของคนในครอบครัว กระจกเงาช่วยให้ห้องเล็กๆ ดูกว้างขึ้นและสว่างขึ้น อีกทั้งยังสะท้อนพลังงานของชี่ให้กระจายออกมา แต่ว่าตำแหน่งของกระจกเงาที่จะส่งผลร้ายให้มี ก็เช่นกัน เป็นต้นว่า เมื่อคุณกลับเข้าบ้าน ทันทีที่ก้าวเาเข้าประตูหน้าบ้าน แล้วเห็นเงาของตัวเองที่สะท้อนอยู่ในกระจกบานใหญ่ ซึ่งติดไว้ที่ผนัง เช่นนี้ก็ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะกระจกเงาตรงนั้นจะสะท้อนเอาพลังที่ดี โชคลาภที่ดีกลับออกไปหมด และการติดกระจกเงาหลายๆ บานในห้องเดียวกันก็ไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะภาพที่สะท้อนจะทำให้ดูเหมือนว่ามีเงาผู้คนเต็มไปหมดในห้องนั้น ส่งผลร้ายต่อระบบประสาทและสุขภาพจิต ทำให้ป่วยไข้ไม่สบายได้ง่ายๆอีกด้วย สี ตามหลักจิตวิทยาและทฤษฎีสีนั้นก็บ่องบอกอยู่แล้วว่า “สี” มีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึกของคนเราอย่างมาก สีมีผลทำให้ผนังของห้องเย็นลงหรืออบอุ่นขึ้น หากจะใช้สีให้ถูกต้องจริงๆ ก็ต้องพิจารณาดู “ธาติ” ของเจ้าขอห้องกับห้องด้วยอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นคนธาตุน้ำ และคุณใช้สีอ่อนกับห้องของคุณ ก็จะนับว่าสมดุลกันยิ่ง หรืออีกนัยหนึ่งอาจอิงที่ฤดูกาลก็ได้ ผู้ที่เกิดในฤดูหนาว อาจใช้สีสว่างๆ อย่างสีชมพู สีเขียวจัด กับห้องนอนของตน ผู้ที่เกิดในฤดูหนาว อาจใช้สีสว่างๆ อย่างสีชมพู สีเขียวจัด กับห้องนอนของตน ผู้ที่เกิดในฤดูร้อน อาจใช้สีฟ้าอ่อนหรือสีตองอ่อนก็เหมาะสม แต่การใช้สีเดียวกันหมดทั้งบ้าน รวมทั้งเครื่องเรือนต่างๆ เป็นต้นว่า ม่านก็สีเขียวทั้งบ้าน พรมก็สีเขียว โซฟาก็เขียว ผ้าปูที่นอนก็เขียว ผนังห้องก็เขียว อย่างนี้เป็นเรื่องของความชอบความพอใจแต่ไม่ถูกต้องแน่นอน เพราะภายหลังคุณจะรู้สึกถึงความอ่อนเพลียและหมดความกระชุ่มกระชวยลงโดยไม่รู้สาเหตุ ดังนั้นการพิจารณาอิทธิพลของสีกับธาตุหรือวันเกิดของเจ้าของห้องก่อนก็จะเป็นการดี สีแดง คือสีอันเป็นมงคลในหมู่ชาวจีน และหมายถึงความร่าเริงในทางสากล สีม่วง คือสีที่แสดงความรู้สึกเคารพนอบน้อม สีเหลือง คือสีของดวงตะวัน หมายถึงความรุ่งเรืองและอายุยืน สีเขียว คือสีของอารมณ์ริษยา สีแห่งความสงบ-สดชื่น สีขาว คือสีแห่งความหดหู่ในหมู่ชาวจีน แต่หมายถึงความบริสุทธิ์ ในทางสากล แม้ว่าคุณจะเป็นคนที่ชอบสีขาวมากจนทาผนังห้องทุกห้องเป็นสีขาวและเครื่องใช้เครื่องเรือนทั้งหมดเป็นสีขาวก็ตาม ควรจะเพิ่มสีสันอื่นบ้าง เพื่อสร้างความสดใจและส่งผลดีต่อจิตใจซึ่งแตกต่างกับสีขาวล้วนๆ เพียงสีเดียว ภาพเขียน การประดับฝาผนังบ้านด้วยภาพเขียน นอกจากจะให้ความงดงามต่อสายตาแล้ว ยังส่งอิทธิพลอันดีถึงภายในบ้านอีกด้วยภาพวิวทิวทัศน์อันร่มรื่นก็จะช่วยให้บรรยากาศในบ้านอบอุ่นเหมือนฤดูใบไม้ผลิ ภาพแห่งธรรมชาติที่มีสายน้ำ โขดหิน และก้อนเมฆ ภาพทิวไม้และท้องฟ้าก็ถือว่าเป็นภาพที่ดีเช่นเดียวกับภาพวาดดอกไม้และไม้ยืนต้น ถือว่าแทนความมีโชคและความคงทนยั่งยืน ภาพของเทพ ควรเป็นเทพที่คุ้มครองผู้คนจากปีศาจด้วย ลวดลาย ลวดลายต่างๆ นั้นเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายในตัวเอง ลวดลายบนกระเบื้องปูพื้น หรือลวดลายบนวอลเปเปอร์ หรือลวดลายบนริมผ้าม่านหรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ หากเลือกให้ดีจะส่งผลดีตามความหมายของตัวมันเอง กวาง สัญลักษณ์ของความมั่งมี ร่ำรวย กระดองเต่า สัญลักษณ์ของความมีอายุยืนนาน ช้าง สัญลักษณ์ของสติปัญญาและความแข็งแรง แจกัน สัญลักษณ์ของความสงบสุข ดอกเบญจมาศ สัญลักษณ์ของความยั่งยืนคงทน ดอกไม้ สัญลักษณ์ของความสดชื่น มั่งมีศรีสุข เมฆ สัญลักษณ์ของสติปัญญาและพรสวรรค์ มังกร สัญลักษณ์ของอำนาจ เหรียญ สัญลักษณ์ของความมั่งมีศรีสุข บัว สัญลักษณ์ของความซื่อตรงและคงทน ปลา สัญลักษณ์ของความเยือกเย็นและความสำเร็จ เสียง ภายในบ้านหรือบริเวณบ้านควรมีเสียงที่ไพเราะ และดังพอประมาณ ไม่ดังเกินไปจนกลายเป็นเสียงที่รบกวนการประดับระฆังเล็กๆ หรือกระดิ่งนั่นเป็นการปรับปรุงแก้ไขที่ดีประการหนึ่ง เนื่องเพราะพลังงานชี่ที่เฉื่อยจะสลายไปโดยการกระทำของเสียงดนตรีที่ล่องลอยมาในสายลม เป็นการกระตุ้นสภาพอากาศที่หยุดนิ่งให้มีการเคลื่อนไหว ส่งผลให้มีความรื่นรมย์และเกิดความสุขสงบในครอบครัว สิ่งประดับมงคล การตั้งตุ๊กตา ฮก ลก ซิ่ว 3 เทพที่ให้สิริมงคลก็เป็นที่นิยมดีเช่นกัน แต่ควรตั้งไว้โดยหันหน้าเทพทั้ง 3 เข้าหาเก้าอี้ในห้องรับแขกหรือตะอาหาร ไม่ควรตั้งประดับไว้โดยหันหน้าเข้าหาประตูบ้านเด็ดขาดและจะต้องคอยปัดฝุ่นเสมอๆ อย่าให้ฝุ่นจับเพราะจะทำให้เสียความเป็นมงคล จากความหมาย 3 เทพ คือ “ฮก” หมายถึงทรัพย์สิน โชคลาภ “ลก” คือยศศักดิ์ “ซิ่ว” คืออายุ ม้า นกยูง ก็ถือเป็นสัตว์มงคลที่ให้ความสง่างามน่าเกรางขามแก่ห้องนั้นๆ ได้ สิงโต ช้าง ก็เป็นสัตว์มงคลที่ให้พลังอำนาจและความแข็งแกร่ง เขาวัว เขาควาย ก็เป็นสิ่งประดับที่แสดงถึงความแข็งแรง แต่ไม่เหมาะจะประดับในบ้านที่มีเด็กๆ เพราะเป็นสัตว์แห่งความดุร้ายอาจส่งผลในทางลบ เช่น เกิดความรุนแรงในครอบครัว แต่อาจใช้ประดับในร้านค้าที่มีการแข่งขันกันสูง สิ่งประดับประเภทนี้ควรแขวนในตำแหน่งที่ห่างจากห้องน้ำและห้องครัวพอสมควร ตู้ปลา การใช้ตู้ปลาหรืออ่างเลี้ยงปลา ก็นับเป็นศิลปะการตกแต่งบ้านที่ถูกกับหลักฮวงจุ้ยมากทีเดียว เพราะเป็นทฤษฎีของ “การสร้างสิ่งมีชีวิตให้เคลื่อนไหวในความสงบนิ่ง” ปลาเงิน ปลาทอง ให้ความหมายที่ดีเพราะเป็นสัญลักษณ์ของทรัพย์ และยังเป็นสัญลักษณ์ของการปัดเป่าพลังชั่วร้ายให้พ้นผ่านไปอีกด้วย อ่างปลาหรือโถแก้วใบใหญ่ที่มีลักษณะเป็นทรงกลม ถือว่าเป็นรูปทรงที่ดีที่สุด ตู้ปลาควรมีปั๊มลมเพื่อให้ภายในตู้มีการเคลื่อนไหวของน้ำ มิใช่อยู่ในลักษณะ “น้ำตาย” การเริ่มเลี้ยงปลาในครั้งแรก มีจำนวนปลาเท่าใดก็ควรรักษาระดับจำนวนนั้นไว้ ไม่ควรให้ลดลง ควรให้เพิ่มขึ้นจึงจะถือว่าดี หากมีปลาตายก็ต้องรีบช้อนออกทันที ถ้าจะถือเล็ดตัวเลข ก็ควรเลี้ยงปลาจำนวน 9 ตัว ก็จะเป็นมงคล แต่คนธาตุไฟ ไม่ควรตั้งตู้ปลาไว้ในบ้าน และคนธาตุน้ำก็ไม้จำเป็นต้องเลี้ยงปลา เพราะในตู้ปลามีน้ำและตัวเองก็เป็นธาตุน้ำอยู่แล้ว คนธาตุอื่นๆ จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะเลี้ยงปลาสักตู้หนึ่งเพื่อเสริมโชคและสิริมงคล
ที่มา : TLCThai.com
แสง ภายในบ้านควรมีแสงสว่างอย่างพอเพียง บริเวณพื้นที่นอกตัวบ้านหรือภายในสวนก็ควรมีแสงสว่างมากๆ ในยามค่ำคืน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะใช้ไฟในบริเวณนอกบ้านน้อยมากหรือไม่ใช้เลย ทำให้บริเวณรอบบ้านดูมืดอึมครึม แต่ถ้าเปิดไฟไว้บริเวณนอกตัวบ้านหรือภายในสวน ก็จะกระตุ้นความเจิดจ้าและความมีชีวิตชีวาให้แก่ผู้คนในบ้านนั้น แต่ในตัวบ้านไม่ต้องใช้ไฟปริมาณมากเกินไปจนสว่างจ้า เพราะจะส่งผลให้ประสาทตาต้องทำงานหนักเกินไป แสงไฟควรนุ่มนวลพอดี และไม่มืดหม่นสลัวลางเกินไป ไฟที่มีแสงออกแกมสีเขียวด้วยนั้น ไม่ควรนำมาติดไว้ในบ้านเด็ดขาด ! เพราะเวลาแสงไฟส่องต้องใบหน้าคนในบ้านแล้วจะดูเหมือนใบหน้าคนตายไร้สีเลือด ไฟที่มีรูปทรงเป็นโคมระย้า ก็ถือว่าเป็นรูปทรงที่ดี เพราะทำให้ชี่ที่รุนแรงกระจายตัวออกไปอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรแขวนไว้ในตำแหน่งที่ต่ำจนเกินไป กระจกเงา กระจกเงาช่วยแก้ไขฮวงจุ้ยให้ดีขึ้นได้ แต่ก็ต้องติดไว้อย่างถูกที่ถูกทางด้วย จึงจะส่งผลดีให้แก่ผู้อยู่อาศัย หากนอกบ้านมีสระน้ำหรือแม่น้ำ เราควรติดกระจกเงาที่ผนังในตำแหน่งซึ่งกระจกเงาสามารถสะท้อนภาพของแม่น้ำได้ คือ ดึงเอาภาพของน้ำมาไว้ในห้องนั่นเอง การแขวนกระจกเงาไว้บนผนัง ไม่ว่าเพื่อแก้ไข หรือเสริมกรณีใดก็ตาม ที่ถูกต้องก็คือ จะต้องแขวนไว้ในระดับที่ไม่สูงจนเกินไป หรือต่ำกว่าระดับศีรษะของคนในครอบครัว กระจกเงาช่วยให้ห้องเล็กๆ ดูกว้างขึ้นและสว่างขึ้น อีกทั้งยังสะท้อนพลังงานของชี่ให้กระจายออกมา แต่ว่าตำแหน่งของกระจกเงาที่จะส่งผลร้ายให้มี ก็เช่นกัน เป็นต้นว่า เมื่อคุณกลับเข้าบ้าน ทันทีที่ก้าวเาเข้าประตูหน้าบ้าน แล้วเห็นเงาของตัวเองที่สะท้อนอยู่ในกระจกบานใหญ่ ซึ่งติดไว้ที่ผนัง เช่นนี้ก็ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะกระจกเงาตรงนั้นจะสะท้อนเอาพลังที่ดี โชคลาภที่ดีกลับออกไปหมด และการติดกระจกเงาหลายๆ บานในห้องเดียวกันก็ไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะภาพที่สะท้อนจะทำให้ดูเหมือนว่ามีเงาผู้คนเต็มไปหมดในห้องนั้น ส่งผลร้ายต่อระบบประสาทและสุขภาพจิต ทำให้ป่วยไข้ไม่สบายได้ง่ายๆอีกด้วย สี ตามหลักจิตวิทยาและทฤษฎีสีนั้นก็บ่องบอกอยู่แล้วว่า “สี” มีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึกของคนเราอย่างมาก สีมีผลทำให้ผนังของห้องเย็นลงหรืออบอุ่นขึ้น หากจะใช้สีให้ถูกต้องจริงๆ ก็ต้องพิจารณาดู “ธาติ” ของเจ้าขอห้องกับห้องด้วยอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นคนธาตุน้ำ และคุณใช้สีอ่อนกับห้องของคุณ ก็จะนับว่าสมดุลกันยิ่ง หรืออีกนัยหนึ่งอาจอิงที่ฤดูกาลก็ได้ ผู้ที่เกิดในฤดูหนาว อาจใช้สีสว่างๆ อย่างสีชมพู สีเขียวจัด กับห้องนอนของตน ผู้ที่เกิดในฤดูหนาว อาจใช้สีสว่างๆ อย่างสีชมพู สีเขียวจัด กับห้องนอนของตน ผู้ที่เกิดในฤดูร้อน อาจใช้สีฟ้าอ่อนหรือสีตองอ่อนก็เหมาะสม แต่การใช้สีเดียวกันหมดทั้งบ้าน รวมทั้งเครื่องเรือนต่างๆ เป็นต้นว่า ม่านก็สีเขียวทั้งบ้าน พรมก็สีเขียว โซฟาก็เขียว ผ้าปูที่นอนก็เขียว ผนังห้องก็เขียว อย่างนี้เป็นเรื่องของความชอบความพอใจแต่ไม่ถูกต้องแน่นอน เพราะภายหลังคุณจะรู้สึกถึงความอ่อนเพลียและหมดความกระชุ่มกระชวยลงโดยไม่รู้สาเหตุ ดังนั้นการพิจารณาอิทธิพลของสีกับธาตุหรือวันเกิดของเจ้าของห้องก่อนก็จะเป็นการดี สีแดง คือสีอันเป็นมงคลในหมู่ชาวจีน และหมายถึงความร่าเริงในทางสากล สีม่วง คือสีที่แสดงความรู้สึกเคารพนอบน้อม สีเหลือง คือสีของดวงตะวัน หมายถึงความรุ่งเรืองและอายุยืน สีเขียว คือสีของอารมณ์ริษยา สีแห่งความสงบ-สดชื่น สีขาว คือสีแห่งความหดหู่ในหมู่ชาวจีน แต่หมายถึงความบริสุทธิ์ ในทางสากล แม้ว่าคุณจะเป็นคนที่ชอบสีขาวมากจนทาผนังห้องทุกห้องเป็นสีขาวและเครื่องใช้เครื่องเรือนทั้งหมดเป็นสีขาวก็ตาม ควรจะเพิ่มสีสันอื่นบ้าง เพื่อสร้างความสดใจและส่งผลดีต่อจิตใจซึ่งแตกต่างกับสีขาวล้วนๆ เพียงสีเดียว ภาพเขียน การประดับฝาผนังบ้านด้วยภาพเขียน นอกจากจะให้ความงดงามต่อสายตาแล้ว ยังส่งอิทธิพลอันดีถึงภายในบ้านอีกด้วยภาพวิวทิวทัศน์อันร่มรื่นก็จะช่วยให้บรรยากาศในบ้านอบอุ่นเหมือนฤดูใบไม้ผลิ ภาพแห่งธรรมชาติที่มีสายน้ำ โขดหิน และก้อนเมฆ ภาพทิวไม้และท้องฟ้าก็ถือว่าเป็นภาพที่ดีเช่นเดียวกับภาพวาดดอกไม้และไม้ยืนต้น ถือว่าแทนความมีโชคและความคงทนยั่งยืน ภาพของเทพ ควรเป็นเทพที่คุ้มครองผู้คนจากปีศาจด้วย ลวดลาย ลวดลายต่างๆ นั้นเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายในตัวเอง ลวดลายบนกระเบื้องปูพื้น หรือลวดลายบนวอลเปเปอร์ หรือลวดลายบนริมผ้าม่านหรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ หากเลือกให้ดีจะส่งผลดีตามความหมายของตัวมันเอง กวาง สัญลักษณ์ของความมั่งมี ร่ำรวย กระดองเต่า สัญลักษณ์ของความมีอายุยืนนาน ช้าง สัญลักษณ์ของสติปัญญาและความแข็งแรง แจกัน สัญลักษณ์ของความสงบสุข ดอกเบญจมาศ สัญลักษณ์ของความยั่งยืนคงทน ดอกไม้ สัญลักษณ์ของความสดชื่น มั่งมีศรีสุข เมฆ สัญลักษณ์ของสติปัญญาและพรสวรรค์ มังกร สัญลักษณ์ของอำนาจ เหรียญ สัญลักษณ์ของความมั่งมีศรีสุข บัว สัญลักษณ์ของความซื่อตรงและคงทน ปลา สัญลักษณ์ของความเยือกเย็นและความสำเร็จ เสียง ภายในบ้านหรือบริเวณบ้านควรมีเสียงที่ไพเราะ และดังพอประมาณ ไม่ดังเกินไปจนกลายเป็นเสียงที่รบกวนการประดับระฆังเล็กๆ หรือกระดิ่งนั่นเป็นการปรับปรุงแก้ไขที่ดีประการหนึ่ง เนื่องเพราะพลังงานชี่ที่เฉื่อยจะสลายไปโดยการกระทำของเสียงดนตรีที่ล่องลอยมาในสายลม เป็นการกระตุ้นสภาพอากาศที่หยุดนิ่งให้มีการเคลื่อนไหว ส่งผลให้มีความรื่นรมย์และเกิดความสุขสงบในครอบครัว สิ่งประดับมงคล การตั้งตุ๊กตา ฮก ลก ซิ่ว 3 เทพที่ให้สิริมงคลก็เป็นที่นิยมดีเช่นกัน แต่ควรตั้งไว้โดยหันหน้าเทพทั้ง 3 เข้าหาเก้าอี้ในห้องรับแขกหรือตะอาหาร ไม่ควรตั้งประดับไว้โดยหันหน้าเข้าหาประตูบ้านเด็ดขาดและจะต้องคอยปัดฝุ่นเสมอๆ อย่าให้ฝุ่นจับเพราะจะทำให้เสียความเป็นมงคล จากความหมาย 3 เทพ คือ “ฮก” หมายถึงทรัพย์สิน โชคลาภ “ลก” คือยศศักดิ์ “ซิ่ว” คืออายุ ม้า นกยูง ก็ถือเป็นสัตว์มงคลที่ให้ความสง่างามน่าเกรางขามแก่ห้องนั้นๆ ได้ สิงโต ช้าง ก็เป็นสัตว์มงคลที่ให้พลังอำนาจและความแข็งแกร่ง เขาวัว เขาควาย ก็เป็นสิ่งประดับที่แสดงถึงความแข็งแรง แต่ไม่เหมาะจะประดับในบ้านที่มีเด็กๆ เพราะเป็นสัตว์แห่งความดุร้ายอาจส่งผลในทางลบ เช่น เกิดความรุนแรงในครอบครัว แต่อาจใช้ประดับในร้านค้าที่มีการแข่งขันกันสูง สิ่งประดับประเภทนี้ควรแขวนในตำแหน่งที่ห่างจากห้องน้ำและห้องครัวพอสมควร ตู้ปลา การใช้ตู้ปลาหรืออ่างเลี้ยงปลา ก็นับเป็นศิลปะการตกแต่งบ้านที่ถูกกับหลักฮวงจุ้ยมากทีเดียว เพราะเป็นทฤษฎีของ “การสร้างสิ่งมีชีวิตให้เคลื่อนไหวในความสงบนิ่ง” ปลาเงิน ปลาทอง ให้ความหมายที่ดีเพราะเป็นสัญลักษณ์ของทรัพย์ และยังเป็นสัญลักษณ์ของการปัดเป่าพลังชั่วร้ายให้พ้นผ่านไปอีกด้วย อ่างปลาหรือโถแก้วใบใหญ่ที่มีลักษณะเป็นทรงกลม ถือว่าเป็นรูปทรงที่ดีที่สุด ตู้ปลาควรมีปั๊มลมเพื่อให้ภายในตู้มีการเคลื่อนไหวของน้ำ มิใช่อยู่ในลักษณะ “น้ำตาย” การเริ่มเลี้ยงปลาในครั้งแรก มีจำนวนปลาเท่าใดก็ควรรักษาระดับจำนวนนั้นไว้ ไม่ควรให้ลดลง ควรให้เพิ่มขึ้นจึงจะถือว่าดี หากมีปลาตายก็ต้องรีบช้อนออกทันที ถ้าจะถือเล็ดตัวเลข ก็ควรเลี้ยงปลาจำนวน 9 ตัว ก็จะเป็นมงคล แต่คนธาตุไฟ ไม่ควรตั้งตู้ปลาไว้ในบ้าน และคนธาตุน้ำก็ไม้จำเป็นต้องเลี้ยงปลา เพราะในตู้ปลามีน้ำและตัวเองก็เป็นธาตุน้ำอยู่แล้ว คนธาตุอื่นๆ จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะเลี้ยงปลาสักตู้หนึ่งเพื่อเสริมโชคและสิริมงคล
ที่มา : TLCThai.com
การจัดบ้านปลอดภัยให้เจ้าตัวเล็ก
บ้านไหนมีสมาชิกเป็นเด็กตัวเล็ก ในวัยกำลังหัดคลาน ยืน เดิน คงมีเรื่องให้ปวดหัวไม่เว้นแต่ละวัน ที่ต้องคอยเฝ้าระวังไม่ให้สมาชิกตัวน้อยเคลื่อน ไหวไปชนสิ่งของต่างๆ ภายในบ้าน...
ถ้าจะให้ดี พ่อแม่ ผู้ปกครองควรจะต้องจัดบ้านให้เรียบร้อยกันเสียแต่ต้นมือ เคล็ดลับในการจัดบ้านให้ปลอดภัยสำหรับเด็กๆ มีดังนี้ 1. ไม่ควรปล่อยให้ลูกอยู่ในรถหัดเดินคนเดียว หากที่บ้านมีพื้นต่างระดับ เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ 2. บันไดขึ้นลง ควรติดตั้งประตูกั้นขวางทางขึ้นลงไว้เพื่อความปลอดภัย 3. ควรหาพลาสติกป้องกันไม่ให้เด็กแหย่นิ้วเข้าไปในช่องปลั๊กไฟ 4. ไม่ควรปล่อยให้ลูกนั่งเล่นใกล้พัดลม เพราะอาจแหย่นิ้วเข้าไปโดนใบพัด 5. ไม่ควรให้ลูกเข้าใกล้ขณะที่ผู้ใหญ่รีดผ้า เพราะเพียงแค่เผลอนิดเดียว เขาอาจจะคว้าเตารีดลงไปแล้ว 6. เมื่อ ลูกคลานได้คล่อง เขาจะเริ่มจับยึดเฟอร์นิเจอร์เพื่อพยุงตัวเองให้ยืนและเดินได้ จึงควรตรวจดูชั้นวางของและสิ่งต่างๆให้มั่นคงแข็งแรงพอ หากไม่แข็งแรง เวลาเขาจับยึดอาจล้มลงมาทับได้ 7. เก้าอี้ทำงานที่มีขาเป็นล้อเลื่อนควรเก็บให้ห่าง เพราะถ้าเด็กจับยึดเกาะอาจทำให้ลื่นล้ม 8. ไม่ควรวางของโงนเงนได้ง่ายอย่างแจกันดอกไม้ไว้หลังตู้ หากเจ้าตัวเล็กไถรถหัดเดินไปชนตู้อาจทำให้แจกันตกลงมาใส่ได้ 9. เวลาให้ลูกนั่งเก้าอี้สำหรับเด็ก (high chair) ควรรัดเข็มขัดทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย 10. ไม่ควรเปิดประตูห้องต่างๆทิ้งไว้ เพราะอาจหนีบนิ้วเด็กๆ.
ที่มา : นิตยสาร First Year of Life
ถ้าจะให้ดี พ่อแม่ ผู้ปกครองควรจะต้องจัดบ้านให้เรียบร้อยกันเสียแต่ต้นมือ เคล็ดลับในการจัดบ้านให้ปลอดภัยสำหรับเด็กๆ มีดังนี้ 1. ไม่ควรปล่อยให้ลูกอยู่ในรถหัดเดินคนเดียว หากที่บ้านมีพื้นต่างระดับ เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ 2. บันไดขึ้นลง ควรติดตั้งประตูกั้นขวางทางขึ้นลงไว้เพื่อความปลอดภัย 3. ควรหาพลาสติกป้องกันไม่ให้เด็กแหย่นิ้วเข้าไปในช่องปลั๊กไฟ 4. ไม่ควรปล่อยให้ลูกนั่งเล่นใกล้พัดลม เพราะอาจแหย่นิ้วเข้าไปโดนใบพัด 5. ไม่ควรให้ลูกเข้าใกล้ขณะที่ผู้ใหญ่รีดผ้า เพราะเพียงแค่เผลอนิดเดียว เขาอาจจะคว้าเตารีดลงไปแล้ว 6. เมื่อ ลูกคลานได้คล่อง เขาจะเริ่มจับยึดเฟอร์นิเจอร์เพื่อพยุงตัวเองให้ยืนและเดินได้ จึงควรตรวจดูชั้นวางของและสิ่งต่างๆให้มั่นคงแข็งแรงพอ หากไม่แข็งแรง เวลาเขาจับยึดอาจล้มลงมาทับได้ 7. เก้าอี้ทำงานที่มีขาเป็นล้อเลื่อนควรเก็บให้ห่าง เพราะถ้าเด็กจับยึดเกาะอาจทำให้ลื่นล้ม 8. ไม่ควรวางของโงนเงนได้ง่ายอย่างแจกันดอกไม้ไว้หลังตู้ หากเจ้าตัวเล็กไถรถหัดเดินไปชนตู้อาจทำให้แจกันตกลงมาใส่ได้ 9. เวลาให้ลูกนั่งเก้าอี้สำหรับเด็ก (high chair) ควรรัดเข็มขัดทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย 10. ไม่ควรเปิดประตูห้องต่างๆทิ้งไว้ เพราะอาจหนีบนิ้วเด็กๆ.
ที่มา : นิตยสาร First Year of Life
บ้าน(ใหม่) แบบไหน ปลอดภัยจากน้ำท่วม?
เรียเรียงโดย : รัชด ชมภูนิช คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คําถามที่เกิดขึ้นอย่างมากมายระหว่างวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ นอกเหนือจากการซ่อมแซมบ้านและที่อยู่อาศัยแล้วคงเป็นเรื่ิองที่ว่า เราจะออกแบบบ้านใหม่หรืิอปลูกบ้านใหม่กันอย่างไรดีถึงจะอยู่รอดปลอดภัยจากน้ำท่วมกันอย่างไร
ผมเชื่อว่าหลังจากวิกฤตการณ์นี้ผ่านพ้นไป เราคงได้เห็นนวัตกรรมทางการออกแบบบ้านและที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับสถานการณ์น้ำในรอบใหม่จากบรรดานักออกแบบและผู้เกี่ยวข้องกันอีกมากมายแน่ๆ ครับ ซึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องดีที่สังคมจะมีโอกาสมากขึ้นในการได้เรียนรู้ ได้เลือกซื้อหาบ้านแบบใหม่ๆ ที่อยู่อาศัยใหม่ๆ ซึ่งแตกต่างจากโจทย์ในการอยู่อาศัยแบบเดิมๆ ที่คุ้นเคยกันมาอย่างแน่นอนครับ
อย่างไรก็ตาม ผมขอนําเสนอหลักการเบื้องต้นสําหรับบ้านคนไทยยุคใหม่ที่สามารถหนีน้ำหรืออยู่ร่วมกับน้ำท่วมได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพ หลายเรื่องก็เป็นการนําภูมิปัญญาแบบไทยๆ ของเราแต่ครั้งอดีตกาลที่เราอาจหลงลืมกันไปมาใช้กันอีกครั้ง
ส่วนหลายเรื่องก็เป็นการปรับแก้ไขจากการใช้งานเดิมๆ ที่มีปัญหาจากสภาพน้ำท่วมที่ผ่านมา เพื่อนําไปประยุกต์ให้เข้ากับรสนิยม สไตล์ ทําเลที่ตั้ง และความชอบส่วนบุคคลของแต่ละท่านได้ แล้วหลังจากนั้นเนื้อหาตอนต่อๆ ไปในหนังสือเล่มนี้จะค่อยๆ ลงรายละเอียดปลีกย่อยในแต่ละส่วน แต่ละองค์ประกอบของการออกแบบบ้านและที่พักอาศัยประเภทต่างๆ ต่อไปครับ
รูปแบบบ้าน : ในภาพรวมของการออกแบบบ้านหากท่านไม่อยากนั่งกังวลหรือนั่งลุ้นกับน้ำว่าจะท่วมหรือไม่ท่วมบ้านท่านในปีต่อๆ ไป แนะนําว่าท่านควรยกระดับพื้นบ้านเป็นใต้ถุนโล่งแบบบ้านเรือนไทยเดิมความสูงตั้งแต่ 1.20-2.00 เมตรตามสภาพระดับน้ำและภูมิประเทศ เพื่อลดผลกระทบจากน้ำท่วมขังและลดความเสียหายของตัวอาคารและทรัพย์สินในฤดูน้ำ นอกจากนี้แล้วการเปิดใต้ถุนโล่งยังลดความเสี่ยงจากปลวกใต้ดินเข้าเยี่ยมเยือนตัวบ้านรวมทั้งท่านยังสามารถบํารุงรักษาและซ่อมแซมท่อและระบบอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ภายใต้พื้นบ้านได้สะดวกยิ่งขึ้นครับ
สําหรับระบบการสัญจรเข้าสู่ตัวบ้านและภายในบ้านนอกเหนือจากบันไดปกติแล้ว ควรพิจารณาใช้ทางลาดเอียง (Ramp) ที่มีความลาดชันตามกฏหมายควบคู่กันไปด้วย (1:12) เพื่อความสะดวกในการเดินเหินของผู้อาศัยที่เป็นผู้สูงอายุและเด็ก รวมทั้งยังทําให้การเคลื่อนย้ายสิ่งของและผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉินทําได้สะดวกเช่นกันครับ
สําหรับจํานวนชั้นของบ้านจากเดิมที่เคยเป็นชั้นเดียวหรือสองชั้น อาจพิจารณาเพิ่มเป็นสองชั้นครึ่งหรือสามชั้นเพื่อให้มีพื้นที่บ้านรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินเพิ่มขึ้นก็เป็นได้ครับ นอกจากนี้ในส่วนชั้นล่างที่เป็นใต้ถุนโล่งอาจออกแบบให้เป็นพื้นที่ใช้งานในช่วงปลอดน้ำได้ครับ โดยเลือกใช้ผนังสําเร็จรูปที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้สอยหรือถอดประกอบได้เมื่ออยู่ในช่วงน้ำหลากหรือน้ำท่วมขังนานๆ ครับ
ส่วนของวัสดุประกอบสําคัญในตัวบ้านทั้งส่วนพื้น ผนัง และฝ้าเพดานยังสามารถใช้วัสดุก่อสร้างแบบเดิมๆ ที่มีขายอยู่ในท้องตลาดได้ แต่ควรพิจารณาความแข็งแรงทนทานจากน้ำท่วมขังนานๆ หรือน้ำกัดเซาะในพื้นที่น้ำหลากซึ่งจะเป็นไปในลักษณะของการเลือกวัสดุปูพื้นบ้านชั้นล่างควรเลือกใช้หินประเภทต่างๆ หรือกระเบื้องมากกว่าไม้ ปาร์เก้และไม้ลามิเนตครับ
ผนังบ้านชั้นล่างหรือจุดที่น้ำท่วมถึงควรเลือกใช้ผนังปูนมากกว่าผนังไม้รวมทั้งหลีกเลี่ยงการตกแต่งประดับผนังชั้นล่างด้วยวัสดุไม้เพื่อลดความเสียหายครับ รวมทั้งควรเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างในส่วนฐานราก คานคอดิน แลวัสดุของตัวบ้านชั้นล่างครับ
ประตู หน้าต่างสําหรับชั้นที่น้ำท่วมถึงควรหลีกเลี่ยงประตูและวงกบไม้เนื้อแข็งเพื่อลดความเสี่ยงจากการความเสียหายจากน้ำท่วม ควรเลือกใช้ประตู หน้าต่างอลูมิเนียมจะทนน้ำท่วมได้ดีกว่าครับ
ระบบไฟฟ้า : ควรแยกวงจรจ่ายกระแสไฟฟ้าแต่ละชั้นออกจากกันอย่างสิ้นเชิงทั้งในแง่ของการติดตั้งและความละเอียดของวงจร เช่น แยกวงจรไฟฟ้าแสงสว่างและอุปกรณ์ไฟฟ้าออกจากระบบปรับอากาศ แยกวงจรควบคุมออกเป็นชั้นและส่วนๆ ตามลักษณะการใช้งาน เพื่อความยืดหยุ่นในการตัดการจ่ายกระแสไฟฟ้าออกจากกัน และควรเดินสายไฟลอยเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบและซ่อมแซมครับ
สําหรับชั้นล่างควรเดินระบบสายไฟฟ้าสํารองเพิ่มเติมเพื่อแยกใช้งานในกรณีฉุกเฉิน เพื่อสํารองสําหรับการใช้ไฟฟ้าแสงสว่าง อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ นอกจากนี้ในจุดที่มีความสําคัญของบ้านชั้นล่างอาจพิจารณาเลือกใช้สายไฟฟ้าประเภททนน้ำและฝังดินได้เพื่อความมั่นใจในการใช้งานขณะน้ำท่วมขังครับ รวมทั้งการเดินสายโทรศัพท์ในบ้านก็ต้องพิจารณารูปแบบและตําแหน่งเชื่อมต่อที่มีความเสี่ยงจากน้ำท่วมน้อยที่สุดครับ
สําหรับระดับการติดตั้งปลั๊กและสวิทช์บ้านชั้นล่างที่มีความเสี่ยงจากน้ำท่วมถึง ควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ในระดับต่ําใกล้พื้นแบบเดิม ควรติดตั้งสูงจากระดับพื้นประมาณ 1.20-1.40 เมตรเพื่อลดความเสี่ยงจากความเสียหายของอุปกรณ์จากน้ำท่วมขังครับ
ระบบประปา : แนวทางการเดินระบบประปาควรแยกการควบคุมแต่ละชั้นออกจากกันเช่นเดียวกับระบบไฟฟ้าโดยเฉพาะชั้นล่างๆ ตัวท่อไม่ว่าจะเป็นท่อน้้ําหรือท่อน้ำโสโครกควรติดตั้งแบบเดินลอยสูงจากพื้นประมาณ 0.40-0.50 เมตร เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบและซ่อมแซมทั้งขณะน้ำท่วมและช่วงปกติครับ ควรติดตั้งท่ออากาศในท่อน้ำโสโครกให้ครบทุกจุดและวางให้ปลายท่ออากาศยาวพ้นระดับน้ำท่วมอย่างเพียงพอ เพื่อรักษาสภาพการใช้งานให้มีประสิทธิภาพทั้งในภาวะปกติและน้ำท่วมครับ รวมทั้งควรเลือกใช้ท่อ PE แทนท่อ PVC เนื่องจากตัวท่อจะมีความยืดหยุ่นและทนทานต่อความเสียหายได้ดีกว่าครับ
นอกจากนี้การติดตั้งปั๊มน้ำควรติดตั้งสูงจากระดับพื้นชั้นล่างอย่างน้อย 0.50 เมตรหรือเหนือระดับน้ำท่วมขังเพื่อให้ระบบประปายังใช้งานได้เป็นปกติตลอดเวลาขณะน้ำท่วม และยังลดความเสี่ยงจากความเสียหายของอุปกรณ์ครับ
สําหรับตําแหน่งการติดตั้งถังเก็บน้ำในบ้านควรหลีกเลี่ยงการฝังดินเพื่อป้องกันน้ำท่วมไหลเข้าสู่ถังเก็บน้ำซึ่งจะมีผลต่อสุขอนามัยในการใช้งาน ควรเลือกใช้ถังเก็บน้ำสําเร็จรูปแบบวางตั้งพื้นจะมีความเสี่ยงจากน้ำท่วมไหลย้อนเข้าฝาถังได้ดีกว่า เนื่องจากระดับฝาถังจะอยู่สูงกว่าระดับน้ำท่วมขังมากกว่าการติดตั้งถังแบบฝังดินครับ
ระบบบําบัดน้ำเสียควรเลือกใช้ถังบําบัดสําเร็จรูปมากกว่าบ่อเกรอะ บ่อซึมเพราะจะทํางานได้ดีกว่าในช่วงน้ำท่วมขัง และมีระบบการป้องกันน้ำท่วมไหลเข้าฝาถังบําบัด นอกจากนี้ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมควรพิจารณาติดตั้งถังบําบัดน้ำเสียสําเร็จรูปสํารองสําหรับใช้งานในช่วงน้ำท่วมเพิ่มเติมตั้งอยู่ที่ระดับดินเพื่อการใช้งานได้อย่างปกติในขณะน้ำท่วมครับ
นอกจากนี้การติดตั้งปั๊มน้ำควรติดตั้งไว้ที่ระดับชั้นสองเพื่อลดความเสียหายของอุปกรณ์และการใช้งานในช่วงน้ำท่วมได้ครับ
ระบบท่อระบายน้ำควรพิจารณาจัดทําพื้นที่เก็บกักน้ำหรือ Sump Area เพื่อเป็นพื้นที่รองรับน้ำในจุดที่ต่ําที่สุดของท่อระบายน้ำภายในบ้านและเตรียมการติดตั้งปั๊มน้ำเพื่อการสูบน้ำท่วมขังออก และติดตั้งประตูน้ำเพื่อควบคุมน้ำไหลย้อนกลับเข้าท่อระบายน้ำภายในและตัวบ้าน จะช่วยแก้ปัญหาจากสภาพน้ำท่วมขังในบริเวณบ้านได้ครับ
ระบบปรับอากาศ : สําหรับอุปกรณ์ปรับอากาศที่ใช้งานในบ้านทุกชั้น ไม่ควรวางคอยล์ร้อนหรือคอนเดนเซอร์ไว้ที่ระดับพื้นดิน อย่างน้อยควรติดตั้งที่ระดับพื้นชั้นสองหรือติดตั้งบนตะแกรงเหล็กที่รับน้ำหนักตัวเครื่องได้ในระดับพื้นชั้นสองขึ้นไป เพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายของอุปกรณ์จากน้ำท่วมขัง
เฟอร์นิเจอร์ : การเลือกใช้งานเฟอร์นิเจอร์ในชั้นล่างหรือชั้นที่มีความเสี่ยงจากน้ำท่วม ควรหลีกเลี่ยงเฟอร์นิเจอร์แบบ Built-in หรือควรเป็นรูปแบบที่ท่านสามารถถอดประกอบได้ หรือหากจําเป็นควรหลีกเลี่ยงการออกแบบให้ตัวเฟอร์นิเจอร์ Built-in ยาวจรดพื้น ควรเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัวเป็นหลักเพื่อความสะดวกในการขนย้ายและห่อหุ้มป้องกันน้ำได้สะดวกกว่าครับ
อุปกรณ์คู่บ้าน : สิ่งที่ต้องเตรียมไว้คู่กับบ้านใหม่ในยุคน้ำท่วมทุกบ้าน ควรมีอุปกรณ์ป้องกันน้ำเข้าบ้านเบื้องต้นที่สามารถนํามาใช้งานได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นถุงห่อรถ แผ่นพลาสติกผืนใหญ่กันน้ำ ถุงกันน้ำขนาดใหญ่ ปืนยิงซิลิโคน วัสดุอุดต่างๆ เครื่องสูบน้ำ รวมทั้งอุปกรณ์ยังชีพในขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟฉาย เชือก เสื้อชูชีพ รองเท้าบูทกันน้ำ ยา อาหารแห้ง เชื้อเพลิง ฯลฯ ก็ควรจัดเตรียมไว้ทั้งในระดับตัวบุคคลและสําหรับครอบครัวในช่วงเทศกาลน้ำหลากในครั้งต่อๆ ไปครับ
ที่มา http://www.prasong.com
คําถามที่เกิดขึ้นอย่างมากมายระหว่างวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ นอกเหนือจากการซ่อมแซมบ้านและที่อยู่อาศัยแล้วคงเป็นเรื่ิองที่ว่า เราจะออกแบบบ้านใหม่หรืิอปลูกบ้านใหม่กันอย่างไรดีถึงจะอยู่รอดปลอดภัยจากน้ำท่วมกันอย่างไร
ผมเชื่อว่าหลังจากวิกฤตการณ์นี้ผ่านพ้นไป เราคงได้เห็นนวัตกรรมทางการออกแบบบ้านและที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับสถานการณ์น้ำในรอบใหม่จากบรรดานักออกแบบและผู้เกี่ยวข้องกันอีกมากมายแน่ๆ ครับ ซึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องดีที่สังคมจะมีโอกาสมากขึ้นในการได้เรียนรู้ ได้เลือกซื้อหาบ้านแบบใหม่ๆ ที่อยู่อาศัยใหม่ๆ ซึ่งแตกต่างจากโจทย์ในการอยู่อาศัยแบบเดิมๆ ที่คุ้นเคยกันมาอย่างแน่นอนครับ
อย่างไรก็ตาม ผมขอนําเสนอหลักการเบื้องต้นสําหรับบ้านคนไทยยุคใหม่ที่สามารถหนีน้ำหรืออยู่ร่วมกับน้ำท่วมได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพ หลายเรื่องก็เป็นการนําภูมิปัญญาแบบไทยๆ ของเราแต่ครั้งอดีตกาลที่เราอาจหลงลืมกันไปมาใช้กันอีกครั้ง
ส่วนหลายเรื่องก็เป็นการปรับแก้ไขจากการใช้งานเดิมๆ ที่มีปัญหาจากสภาพน้ำท่วมที่ผ่านมา เพื่อนําไปประยุกต์ให้เข้ากับรสนิยม สไตล์ ทําเลที่ตั้ง และความชอบส่วนบุคคลของแต่ละท่านได้ แล้วหลังจากนั้นเนื้อหาตอนต่อๆ ไปในหนังสือเล่มนี้จะค่อยๆ ลงรายละเอียดปลีกย่อยในแต่ละส่วน แต่ละองค์ประกอบของการออกแบบบ้านและที่พักอาศัยประเภทต่างๆ ต่อไปครับ
รูปแบบบ้าน : ในภาพรวมของการออกแบบบ้านหากท่านไม่อยากนั่งกังวลหรือนั่งลุ้นกับน้ำว่าจะท่วมหรือไม่ท่วมบ้านท่านในปีต่อๆ ไป แนะนําว่าท่านควรยกระดับพื้นบ้านเป็นใต้ถุนโล่งแบบบ้านเรือนไทยเดิมความสูงตั้งแต่ 1.20-2.00 เมตรตามสภาพระดับน้ำและภูมิประเทศ เพื่อลดผลกระทบจากน้ำท่วมขังและลดความเสียหายของตัวอาคารและทรัพย์สินในฤดูน้ำ นอกจากนี้แล้วการเปิดใต้ถุนโล่งยังลดความเสี่ยงจากปลวกใต้ดินเข้าเยี่ยมเยือนตัวบ้านรวมทั้งท่านยังสามารถบํารุงรักษาและซ่อมแซมท่อและระบบอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ภายใต้พื้นบ้านได้สะดวกยิ่งขึ้นครับ
สําหรับระบบการสัญจรเข้าสู่ตัวบ้านและภายในบ้านนอกเหนือจากบันไดปกติแล้ว ควรพิจารณาใช้ทางลาดเอียง (Ramp) ที่มีความลาดชันตามกฏหมายควบคู่กันไปด้วย (1:12) เพื่อความสะดวกในการเดินเหินของผู้อาศัยที่เป็นผู้สูงอายุและเด็ก รวมทั้งยังทําให้การเคลื่อนย้ายสิ่งของและผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉินทําได้สะดวกเช่นกันครับ
สําหรับจํานวนชั้นของบ้านจากเดิมที่เคยเป็นชั้นเดียวหรือสองชั้น อาจพิจารณาเพิ่มเป็นสองชั้นครึ่งหรือสามชั้นเพื่อให้มีพื้นที่บ้านรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินเพิ่มขึ้นก็เป็นได้ครับ นอกจากนี้ในส่วนชั้นล่างที่เป็นใต้ถุนโล่งอาจออกแบบให้เป็นพื้นที่ใช้งานในช่วงปลอดน้ำได้ครับ โดยเลือกใช้ผนังสําเร็จรูปที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้สอยหรือถอดประกอบได้เมื่ออยู่ในช่วงน้ำหลากหรือน้ำท่วมขังนานๆ ครับ
ส่วนของวัสดุประกอบสําคัญในตัวบ้านทั้งส่วนพื้น ผนัง และฝ้าเพดานยังสามารถใช้วัสดุก่อสร้างแบบเดิมๆ ที่มีขายอยู่ในท้องตลาดได้ แต่ควรพิจารณาความแข็งแรงทนทานจากน้ำท่วมขังนานๆ หรือน้ำกัดเซาะในพื้นที่น้ำหลากซึ่งจะเป็นไปในลักษณะของการเลือกวัสดุปูพื้นบ้านชั้นล่างควรเลือกใช้หินประเภทต่างๆ หรือกระเบื้องมากกว่าไม้ ปาร์เก้และไม้ลามิเนตครับ
ผนังบ้านชั้นล่างหรือจุดที่น้ำท่วมถึงควรเลือกใช้ผนังปูนมากกว่าผนังไม้รวมทั้งหลีกเลี่ยงการตกแต่งประดับผนังชั้นล่างด้วยวัสดุไม้เพื่อลดความเสียหายครับ รวมทั้งควรเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างในส่วนฐานราก คานคอดิน แลวัสดุของตัวบ้านชั้นล่างครับ
ประตู หน้าต่างสําหรับชั้นที่น้ำท่วมถึงควรหลีกเลี่ยงประตูและวงกบไม้เนื้อแข็งเพื่อลดความเสี่ยงจากการความเสียหายจากน้ำท่วม ควรเลือกใช้ประตู หน้าต่างอลูมิเนียมจะทนน้ำท่วมได้ดีกว่าครับ
ระบบไฟฟ้า : ควรแยกวงจรจ่ายกระแสไฟฟ้าแต่ละชั้นออกจากกันอย่างสิ้นเชิงทั้งในแง่ของการติดตั้งและความละเอียดของวงจร เช่น แยกวงจรไฟฟ้าแสงสว่างและอุปกรณ์ไฟฟ้าออกจากระบบปรับอากาศ แยกวงจรควบคุมออกเป็นชั้นและส่วนๆ ตามลักษณะการใช้งาน เพื่อความยืดหยุ่นในการตัดการจ่ายกระแสไฟฟ้าออกจากกัน และควรเดินสายไฟลอยเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบและซ่อมแซมครับ
สําหรับชั้นล่างควรเดินระบบสายไฟฟ้าสํารองเพิ่มเติมเพื่อแยกใช้งานในกรณีฉุกเฉิน เพื่อสํารองสําหรับการใช้ไฟฟ้าแสงสว่าง อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ นอกจากนี้ในจุดที่มีความสําคัญของบ้านชั้นล่างอาจพิจารณาเลือกใช้สายไฟฟ้าประเภททนน้ำและฝังดินได้เพื่อความมั่นใจในการใช้งานขณะน้ำท่วมขังครับ รวมทั้งการเดินสายโทรศัพท์ในบ้านก็ต้องพิจารณารูปแบบและตําแหน่งเชื่อมต่อที่มีความเสี่ยงจากน้ำท่วมน้อยที่สุดครับ
สําหรับระดับการติดตั้งปลั๊กและสวิทช์บ้านชั้นล่างที่มีความเสี่ยงจากน้ำท่วมถึง ควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ในระดับต่ําใกล้พื้นแบบเดิม ควรติดตั้งสูงจากระดับพื้นประมาณ 1.20-1.40 เมตรเพื่อลดความเสี่ยงจากความเสียหายของอุปกรณ์จากน้ำท่วมขังครับ
ระบบประปา : แนวทางการเดินระบบประปาควรแยกการควบคุมแต่ละชั้นออกจากกันเช่นเดียวกับระบบไฟฟ้าโดยเฉพาะชั้นล่างๆ ตัวท่อไม่ว่าจะเป็นท่อน้้ําหรือท่อน้ำโสโครกควรติดตั้งแบบเดินลอยสูงจากพื้นประมาณ 0.40-0.50 เมตร เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบและซ่อมแซมทั้งขณะน้ำท่วมและช่วงปกติครับ ควรติดตั้งท่ออากาศในท่อน้ำโสโครกให้ครบทุกจุดและวางให้ปลายท่ออากาศยาวพ้นระดับน้ำท่วมอย่างเพียงพอ เพื่อรักษาสภาพการใช้งานให้มีประสิทธิภาพทั้งในภาวะปกติและน้ำท่วมครับ รวมทั้งควรเลือกใช้ท่อ PE แทนท่อ PVC เนื่องจากตัวท่อจะมีความยืดหยุ่นและทนทานต่อความเสียหายได้ดีกว่าครับ
นอกจากนี้การติดตั้งปั๊มน้ำควรติดตั้งสูงจากระดับพื้นชั้นล่างอย่างน้อย 0.50 เมตรหรือเหนือระดับน้ำท่วมขังเพื่อให้ระบบประปายังใช้งานได้เป็นปกติตลอดเวลาขณะน้ำท่วม และยังลดความเสี่ยงจากความเสียหายของอุปกรณ์ครับ
สําหรับตําแหน่งการติดตั้งถังเก็บน้ำในบ้านควรหลีกเลี่ยงการฝังดินเพื่อป้องกันน้ำท่วมไหลเข้าสู่ถังเก็บน้ำซึ่งจะมีผลต่อสุขอนามัยในการใช้งาน ควรเลือกใช้ถังเก็บน้ำสําเร็จรูปแบบวางตั้งพื้นจะมีความเสี่ยงจากน้ำท่วมไหลย้อนเข้าฝาถังได้ดีกว่า เนื่องจากระดับฝาถังจะอยู่สูงกว่าระดับน้ำท่วมขังมากกว่าการติดตั้งถังแบบฝังดินครับ
ระบบบําบัดน้ำเสียควรเลือกใช้ถังบําบัดสําเร็จรูปมากกว่าบ่อเกรอะ บ่อซึมเพราะจะทํางานได้ดีกว่าในช่วงน้ำท่วมขัง และมีระบบการป้องกันน้ำท่วมไหลเข้าฝาถังบําบัด นอกจากนี้ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมควรพิจารณาติดตั้งถังบําบัดน้ำเสียสําเร็จรูปสํารองสําหรับใช้งานในช่วงน้ำท่วมเพิ่มเติมตั้งอยู่ที่ระดับดินเพื่อการใช้งานได้อย่างปกติในขณะน้ำท่วมครับ
นอกจากนี้การติดตั้งปั๊มน้ำควรติดตั้งไว้ที่ระดับชั้นสองเพื่อลดความเสียหายของอุปกรณ์และการใช้งานในช่วงน้ำท่วมได้ครับ
ระบบท่อระบายน้ำควรพิจารณาจัดทําพื้นที่เก็บกักน้ำหรือ Sump Area เพื่อเป็นพื้นที่รองรับน้ำในจุดที่ต่ําที่สุดของท่อระบายน้ำภายในบ้านและเตรียมการติดตั้งปั๊มน้ำเพื่อการสูบน้ำท่วมขังออก และติดตั้งประตูน้ำเพื่อควบคุมน้ำไหลย้อนกลับเข้าท่อระบายน้ำภายในและตัวบ้าน จะช่วยแก้ปัญหาจากสภาพน้ำท่วมขังในบริเวณบ้านได้ครับ
ระบบปรับอากาศ : สําหรับอุปกรณ์ปรับอากาศที่ใช้งานในบ้านทุกชั้น ไม่ควรวางคอยล์ร้อนหรือคอนเดนเซอร์ไว้ที่ระดับพื้นดิน อย่างน้อยควรติดตั้งที่ระดับพื้นชั้นสองหรือติดตั้งบนตะแกรงเหล็กที่รับน้ำหนักตัวเครื่องได้ในระดับพื้นชั้นสองขึ้นไป เพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายของอุปกรณ์จากน้ำท่วมขัง
เฟอร์นิเจอร์ : การเลือกใช้งานเฟอร์นิเจอร์ในชั้นล่างหรือชั้นที่มีความเสี่ยงจากน้ำท่วม ควรหลีกเลี่ยงเฟอร์นิเจอร์แบบ Built-in หรือควรเป็นรูปแบบที่ท่านสามารถถอดประกอบได้ หรือหากจําเป็นควรหลีกเลี่ยงการออกแบบให้ตัวเฟอร์นิเจอร์ Built-in ยาวจรดพื้น ควรเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัวเป็นหลักเพื่อความสะดวกในการขนย้ายและห่อหุ้มป้องกันน้ำได้สะดวกกว่าครับ
อุปกรณ์คู่บ้าน : สิ่งที่ต้องเตรียมไว้คู่กับบ้านใหม่ในยุคน้ำท่วมทุกบ้าน ควรมีอุปกรณ์ป้องกันน้ำเข้าบ้านเบื้องต้นที่สามารถนํามาใช้งานได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นถุงห่อรถ แผ่นพลาสติกผืนใหญ่กันน้ำ ถุงกันน้ำขนาดใหญ่ ปืนยิงซิลิโคน วัสดุอุดต่างๆ เครื่องสูบน้ำ รวมทั้งอุปกรณ์ยังชีพในขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟฉาย เชือก เสื้อชูชีพ รองเท้าบูทกันน้ำ ยา อาหารแห้ง เชื้อเพลิง ฯลฯ ก็ควรจัดเตรียมไว้ทั้งในระดับตัวบุคคลและสําหรับครอบครัวในช่วงเทศกาลน้ำหลากในครั้งต่อๆ ไปครับ
ที่มา http://www.prasong.com
การรักษาความปลอดภัย "ป้องกันโจรขโมยขึ้นบ้าน
1.ประตู
ประตูควรจะมีความแน่นหนา ใช้วัสดุที่แข็งแรงทนทานยากต่อการทำลาย ช่องว่างระหว่างบานประตูกับวงกบไม่ควรห่างกันเกิน 1/8 นิ้ว
บานพับประตูจะต้องอยู่ภายในอาคาร เพื่อยากจากการถอดจากด้านนอก ประตูที่เป็นประตูเลื่อน ควรจะเอาไม้มาวางในล่องรางของประตูเวลาที่เราปิด
เพื่อป้องกันการบุกรุกอีกชั้นหนึ่ง เนื่องจากประตูเลื่อนเป็นประตู ที่งัดแงะ ได้ง่ายที่สุด
2.หน้าต่าง
หน้าต่างที่อยู่ชั้นล่าง ของตัวอาคาร ควรจะมีล็อคที่ดี เนื่องจาก เป็นทางที่ผู้บุกรุก จะเข้ามาได้ง่ายอีกทางหนึ่ง หากจำเป็นให้คำนึงถึง การติดลูกกรง แต่ต้องให้แน่ใจว่า จะสามารถถอดลูกกรงได้ หากมีเหตุอัคคีภัย หรือ เหตุฉุกเฉินอื่นๆ หน้าต่าง glass block จะให้ความปลอดภัยที่ดี สำหรับหน้าต่างในห้องใต้ดิน ล็อคของประตูควรจะอยู่ห่างจากหน้าต่างอย่างน้อย 40 นิ้ว เพื่อมิให้สามารถเอื้อมมา เปิดล็อคจากหน้าต่างได้
3.ล็อค
ให้แน่ใจว่าประตูทุกบานที่เปิดออกไปข้างนอกมีล็อคที่ดี ประตูมุ่งลวดและประตูกันพายุ ประตูเฉลียงแม้ว่าจะอยู่ชั้น 2 ก็ควรจะมีล็อคอย่างหนาแน่น ควรปิดล็อคทุกครั้งที่ออกจากบ้าน เนื่องจาก 50% ของการบุกรุก เกิดจากการบุกรุกผ่านประตูที่ไม่ได้ล็อค
4.กุญแจ
อย่าซ่อนกุญแจไว้ข้างนอก เช่น ใต้กระถางต้นไม้ ถ้าจำเป็น ควรฝากกุญแจไว้กับเพื่อนบ้าน ที่ไว้ใจได้จะดีกว่า
อย่าให้กุญแจไว้กับช่าง หรือ คนที่มาส่งของ อย่าเขียนชื่อ ที่อยู่ไว้กับพวงกุญแจ หรือ กุญแจดอกไหนใช้กับห้องอะไร ถ้าท่านทำกุญแจหาย ผู้ที่เก็บได้อาจเป็นขโมย ก็จะรู้ว่าเป็นกุญแจของบ้านใด ถ้าท่านย้ายเข้าบ้านใหม่ หรือทำกุญแจหาย ควรเปลี่ยนกุญแจทั้งหมดทันที
5.สิ่งของที่อยู่นอกบ้าน
สิ่งของที่วางอยู่ในสนามหญ้า เป็นเป้าหมายที่ง่ายสำหรับการขโมย การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การเก็บสิ่งของพวกนี้ไว้ในห้องเก็บของ หรือโรงรถที่ล็อคได้ ถ้าจำเป็นที่จะต้องวางสิ่งของไว้นอกบ้าน เช่น เครื่องตัดหญ้า หรือเตาบาร์บิคิว ควรจะหาอะไรคลุมให้มิดชิด ไม่ให้เป็นเป้าสายตา ประตูรั้วควรจะปิดด้วยล็อคอย่างดี
6.พุ่มไม้และไฟ
เฉลียงและทางเข้าอื่นๆ ควรจะติดไฟให้สว่าง บ้านที่ติดไฟสว่าง จะปลอดภัยกว่าบ้านที่ปิดไฟมืด หรือไม่มีไฟ พุ่มไม่ที่ใหญ่โตเกินไป
จะทำให้ขโมยมีที่ซุกซ่อน ควรจะตัดเล็มให้ขนาดพอสมควร พุ่มไม้ที่มีหนาม เช่น ตะบองเพชร จะช่วยป้องกันได้ถ้าปลูกไว้ข้างใต้หน้าต่าง
ให้ใช้กรวดขนาดใหญ่ไว้ข้างใต้หน้าต่าง เพื่อให้เกิดเสียง เมื่อมีคนเหยียบเดิน ย่ำ
7.การใช้เทคโนโลยี
ทำให้บ้านของท่านเหมือนมีคนอยู่ตลอดเวลา เวลาออกไปข้างนอกในตอนกลางคืน ให้เปิดไฟและวิทยุทิ้งไว้ อย่าเปิดไฟดวงเล็กตามทางเดิน หรือมุมห้อง เนื่องจากการกระทำเช่นนี้ จะแสดงให้เห็นว่าไม่มีใครอยู่บ้าน หรี่เสียงเรียกเข้าของโทรศัพท์ให้ต่ำสุด ถ้าขโมยได้ยินเสียงโทรศัพท์ดัง แล้วไม่มีคนรับสาย เขาจะรู้ได้ทันทีว่าไม่มีคนอยู่บ้าน ถ้าท่านไม่อยู่บ้านในตอนกลางวัน หรือไปต่างจังหวัด ท่านควรจะใช้เครื่อง เปิด-ปิดอัตโนมัติ เพื่อเปิด- ปิดไฟและวิทยุตามเวลาที่กำหนด
8.อย่าให้ความช่วยเหลือขโมย...
ควรจะล็อคบันไดและเครื่องมือไว้ให้เรียบร้อย อย่าช่วยขโมยโดยวางเครื่องมือไว้ให้เขาใช้ ถ้าท่านได้ซื้อทีวี เครื่องเสียง หรืออุปกรณ์ใช้สอยอื่นๆมาใหม่ อย่าโยนกล่อง ทิ้งไว้ในถังขยะ หน้าบ้าน เพราะจะเป็นเหตุ จูงใจให้น่าเข้ามาขโมย ถ้าไม่อยู่บ้านนานๆ ควรให้เพื่อนบ้าน ที่ไว้ใจได้ช่วยเก็บจดหมาย หรือหนังสือพิมพ์ไว้ให้ อย่าทิ้งโน๊ตไว้ที่ประตู ว่าไม่อยู่บ้าน และอย่าฝากข้อความไว้ ในเครื่องรับโทรศัพท์ว่าจะไม่อยู่บ้าน หรือกำลังอยู่นอกบ้าน
9.ควรติดตั้งอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย
หากคุณพอที่จะมีเงินอยู่บ้าง สิ่งที่สำคัญในปัจจุบันนี้เลยคืออุปกรณ์รักษาความปลอดภัย เพราะหัวขโมยสมัยนี้มักจะมีวิธีการที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
ซึ่งทำให้คุณไม่สามารถจะรู้ได้ว่า ขโมย จะเข้ามาเมื่อไหร่ ระบบรักษาความปลอดภัยที่เห็นกันโดยทั่วไปก็จะเป็นชุด กล้องวงจรปิด และอุปกรณ์/
บันทึกสัญญาณ เพื่อทำหน้าที่เป็นตำรวจประจำบ้านของคุณ
ที่มา http://www.py-security.com
ประตูควรจะมีความแน่นหนา ใช้วัสดุที่แข็งแรงทนทานยากต่อการทำลาย ช่องว่างระหว่างบานประตูกับวงกบไม่ควรห่างกันเกิน 1/8 นิ้ว
บานพับประตูจะต้องอยู่ภายในอาคาร เพื่อยากจากการถอดจากด้านนอก ประตูที่เป็นประตูเลื่อน ควรจะเอาไม้มาวางในล่องรางของประตูเวลาที่เราปิด
เพื่อป้องกันการบุกรุกอีกชั้นหนึ่ง เนื่องจากประตูเลื่อนเป็นประตู ที่งัดแงะ ได้ง่ายที่สุด
2.หน้าต่าง
หน้าต่างที่อยู่ชั้นล่าง ของตัวอาคาร ควรจะมีล็อคที่ดี เนื่องจาก เป็นทางที่ผู้บุกรุก จะเข้ามาได้ง่ายอีกทางหนึ่ง หากจำเป็นให้คำนึงถึง การติดลูกกรง แต่ต้องให้แน่ใจว่า จะสามารถถอดลูกกรงได้ หากมีเหตุอัคคีภัย หรือ เหตุฉุกเฉินอื่นๆ หน้าต่าง glass block จะให้ความปลอดภัยที่ดี สำหรับหน้าต่างในห้องใต้ดิน ล็อคของประตูควรจะอยู่ห่างจากหน้าต่างอย่างน้อย 40 นิ้ว เพื่อมิให้สามารถเอื้อมมา เปิดล็อคจากหน้าต่างได้
3.ล็อค
ให้แน่ใจว่าประตูทุกบานที่เปิดออกไปข้างนอกมีล็อคที่ดี ประตูมุ่งลวดและประตูกันพายุ ประตูเฉลียงแม้ว่าจะอยู่ชั้น 2 ก็ควรจะมีล็อคอย่างหนาแน่น ควรปิดล็อคทุกครั้งที่ออกจากบ้าน เนื่องจาก 50% ของการบุกรุก เกิดจากการบุกรุกผ่านประตูที่ไม่ได้ล็อค
4.กุญแจ
อย่าซ่อนกุญแจไว้ข้างนอก เช่น ใต้กระถางต้นไม้ ถ้าจำเป็น ควรฝากกุญแจไว้กับเพื่อนบ้าน ที่ไว้ใจได้จะดีกว่า
อย่าให้กุญแจไว้กับช่าง หรือ คนที่มาส่งของ อย่าเขียนชื่อ ที่อยู่ไว้กับพวงกุญแจ หรือ กุญแจดอกไหนใช้กับห้องอะไร ถ้าท่านทำกุญแจหาย ผู้ที่เก็บได้อาจเป็นขโมย ก็จะรู้ว่าเป็นกุญแจของบ้านใด ถ้าท่านย้ายเข้าบ้านใหม่ หรือทำกุญแจหาย ควรเปลี่ยนกุญแจทั้งหมดทันที
5.สิ่งของที่อยู่นอกบ้าน
สิ่งของที่วางอยู่ในสนามหญ้า เป็นเป้าหมายที่ง่ายสำหรับการขโมย การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การเก็บสิ่งของพวกนี้ไว้ในห้องเก็บของ หรือโรงรถที่ล็อคได้ ถ้าจำเป็นที่จะต้องวางสิ่งของไว้นอกบ้าน เช่น เครื่องตัดหญ้า หรือเตาบาร์บิคิว ควรจะหาอะไรคลุมให้มิดชิด ไม่ให้เป็นเป้าสายตา ประตูรั้วควรจะปิดด้วยล็อคอย่างดี
6.พุ่มไม้และไฟ
เฉลียงและทางเข้าอื่นๆ ควรจะติดไฟให้สว่าง บ้านที่ติดไฟสว่าง จะปลอดภัยกว่าบ้านที่ปิดไฟมืด หรือไม่มีไฟ พุ่มไม่ที่ใหญ่โตเกินไป
จะทำให้ขโมยมีที่ซุกซ่อน ควรจะตัดเล็มให้ขนาดพอสมควร พุ่มไม้ที่มีหนาม เช่น ตะบองเพชร จะช่วยป้องกันได้ถ้าปลูกไว้ข้างใต้หน้าต่าง
ให้ใช้กรวดขนาดใหญ่ไว้ข้างใต้หน้าต่าง เพื่อให้เกิดเสียง เมื่อมีคนเหยียบเดิน ย่ำ
7.การใช้เทคโนโลยี
ทำให้บ้านของท่านเหมือนมีคนอยู่ตลอดเวลา เวลาออกไปข้างนอกในตอนกลางคืน ให้เปิดไฟและวิทยุทิ้งไว้ อย่าเปิดไฟดวงเล็กตามทางเดิน หรือมุมห้อง เนื่องจากการกระทำเช่นนี้ จะแสดงให้เห็นว่าไม่มีใครอยู่บ้าน หรี่เสียงเรียกเข้าของโทรศัพท์ให้ต่ำสุด ถ้าขโมยได้ยินเสียงโทรศัพท์ดัง แล้วไม่มีคนรับสาย เขาจะรู้ได้ทันทีว่าไม่มีคนอยู่บ้าน ถ้าท่านไม่อยู่บ้านในตอนกลางวัน หรือไปต่างจังหวัด ท่านควรจะใช้เครื่อง เปิด-ปิดอัตโนมัติ เพื่อเปิด- ปิดไฟและวิทยุตามเวลาที่กำหนด
8.อย่าให้ความช่วยเหลือขโมย...
ควรจะล็อคบันไดและเครื่องมือไว้ให้เรียบร้อย อย่าช่วยขโมยโดยวางเครื่องมือไว้ให้เขาใช้ ถ้าท่านได้ซื้อทีวี เครื่องเสียง หรืออุปกรณ์ใช้สอยอื่นๆมาใหม่ อย่าโยนกล่อง ทิ้งไว้ในถังขยะ หน้าบ้าน เพราะจะเป็นเหตุ จูงใจให้น่าเข้ามาขโมย ถ้าไม่อยู่บ้านนานๆ ควรให้เพื่อนบ้าน ที่ไว้ใจได้ช่วยเก็บจดหมาย หรือหนังสือพิมพ์ไว้ให้ อย่าทิ้งโน๊ตไว้ที่ประตู ว่าไม่อยู่บ้าน และอย่าฝากข้อความไว้ ในเครื่องรับโทรศัพท์ว่าจะไม่อยู่บ้าน หรือกำลังอยู่นอกบ้าน
9.ควรติดตั้งอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย
หากคุณพอที่จะมีเงินอยู่บ้าง สิ่งที่สำคัญในปัจจุบันนี้เลยคืออุปกรณ์รักษาความปลอดภัย เพราะหัวขโมยสมัยนี้มักจะมีวิธีการที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
ซึ่งทำให้คุณไม่สามารถจะรู้ได้ว่า ขโมย จะเข้ามาเมื่อไหร่ ระบบรักษาความปลอดภัยที่เห็นกันโดยทั่วไปก็จะเป็นชุด กล้องวงจรปิด และอุปกรณ์/
บันทึกสัญญาณ เพื่อทำหน้าที่เป็นตำรวจประจำบ้านของคุณ
ที่มา http://www.py-security.com