เรามักจะคุ้นเคยกับการมี "วันเด็กแห่งชาติ" เพื่อเป็นการแสดงถึงความสำคัญกับเด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติ แต่กับเรื่องราวของ "คนแก่" หรือ ผู้สูงอายุ มักจะละเลยหรือลืมเลือนกัน ทั้งที่คนชรานั้นได้สร้างคุณประโยชน์มหาศาลแก่ประเทศชาติไม่แพ้วัยอื่นในช่วงระยะเวลาที่ยังเป็นหนุ่มเป็นสาว
เพื่อให้คนทั้งหลายระลึกถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ จึงได้กำหนดวันสำคัญขึ้นอีกวันในปฏิทินของสากลโลก คือ "วันผู้สูงอายุสากล" ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปีผู้สูงอายุไม่ว่าจะอยู่ประเทศไหนคนเหล่านั้นล้วนสร้างคุณประโยชน์มากมายจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
สำหรับประเทศไทย รู้หรือไม่ว่าอีก 15 ปี ข้างหน้า ตัวเลขผู้สูงอายุในเมืองไทยจะพุ่งสูงขึ้นอีกเท่าตัวของปัจจุบัน เพราะคนที่เกิดช่วงปี 2506 ถึง 2526 เป็นช่วงที่มีคนเกิดมากกว่าปกติ จนถูกเรียกว่า "ยุคเบบี้บูม" จึงทำให้อีก 15 ปีข้างหน้า คนยุคนี้จะแก่กันหมด!!!
ทุกวันนี้ปัญหาของคนแก่จำนวนมาก คือการถูกทอดทิ้ง บางคนถึงแม้จะอยู่กับลูกหลานแต่ก็เหมือนถูกทิ้ง เพราะไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอ ส่วนมากจะเกิดจากความไม่เข้าใจของลูกหลานนั่นเอง
จากการศึกษาวิจัยของหน่วยงานประชากรศาสตร์ พบว่าคนแก่จำนวนมากไม่ต้องการเป็นภาระของลูกหลาน จึงไม่เรียกร้องถึงความต้องการของตัวเอง อย่างไรก็ตามภาครัฐได้มองเห็นความสำคัญ จึงได้กำหนดแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ.2545 ถึง 2564 ในหมวดที่ 2 ว่าด้วยยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมผู้สูงอายุ โดยมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมปลอดภัย
แต่ที่ผ่านมาการศึกษาวิจัยเรื่องสภาพที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุแทบไม่ค่อยได้รับความสนใจจากลูกหลาน ญาติพี่น้อง น้อยคนจะปรับเปลี่ยนสภาพบ้านเรือนให้เหมาะกับผู้สูงอายุ
ทั้งที่ผู้สูงอายุหลายคนมีปัญหาทางกายภาพกับที่อยู่อาศัย ปัญหาที่พบบ่อย คือ หกล้ม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของห้องน้ำ ห้องส้วม ทางเดินตามจุดต่างๆ ภายในบ้าน
นั่นแสดงว่าที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตประจำวัน *ไตรรัตน์ จารุทัศน์* อาจารย์ประจำภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ ได้ศึกษาวิจัยจนมีผลงานเรื่อง "มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับที่พักอาศัย และสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุ"
เป็นงานวิจัยที่เนื้อหาครอบคลุมทางกายภาพและจิตใจของผู้สูงอายุ พร้อมทั้งตัวอย่างแบบแปลนห้องต่างๆของที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุด้วย งานนี้ได้รับการสนับสนุนจาก *สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย*(สกว.) *สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ*(สสส.) และ *มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ*(มสช.)
อาจารย์ไตรรัตน์เอ่ยถึงคอนเซปต์ของงานวิจัยนี้ ว่าแนวคิดเรื่องของคนพิการกับผู้สูงอายุเป็นอย่างเดียวกัน คือ อย่าตราหน้าว่าเขาเป็นคนพิการ หรือเป็นคนแก่แล้วต้องเข้าไปช่วยเหลือทุกอย่าง เพราะบางครั้งเขาไม่อยากเป็นภาระใคร ดังนั้นควรสร้างสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้เขาช่วยตัวเองได้มากที่สุด
"ทำอย่างไรก็ได้ให้เขารู้สึกภาคภูมิใจในการใช้ชีวิตตามปกติ" คือคอนเซ็ปต์ที่อาจารย์ไตรรัตน์กล่าวถึง การทำวิจัยของคณะนี้ใช้เวลาทั้งหมด 18 เดือน โดยสุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุทั่วประเทศประมาณ 400 คน ตั้งแต่การสอบถามประวัติ เช่น ใช้ชีวิตอยู่อย่างไร อยู่กับใคร บ้านที่อยู่เป็นอย่างไร มีการเจ็บป่วยบ้างหรือไม่ เป็นต้น
จากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่เนื้อหา คือทดสอบให้ลองใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น สวิตช์ ปลั๊กไฟ ก๊อกน้ำ ทางเดิน ราวจับ ลูกบิดประตู เพื่อทดสอบว่าเหมาะสมกับการใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง และมีอุปกรณ์อะไรที่ไม่เหมาะบ้าง
ต่อมาเป็นการวัดร่างกาย เพราะคนเราเมื่อแก่ไปร่างกายจะมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ 71 จุด เช่น ความสูง น้ำหนัก รอบเอว ระยะการเอื้อมต่างๆ เป็นต้น
"ที่เราสนใจทางร่างกาย เพราะปกติแล้วเราพบว่าผู้สูงอายุมักจะหลังค่อมและเตี้ยลง การเดินจะช้าลง เวลาเราพูดถึงการออกแบบในบ้านส่วนใหญ่จะใช้มาตรฐานการออกแบบจากหนังสือของฝรั่ง ตั้งแต่ความสูงประตู หน้าต่าง แม้กระทั่งบันไดที่เราก้าวเดิน เพราะฉะนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงให้ความสนใจความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายด้วยเพราะเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับการออกแบบก่อสร้างบ้านผู้สูงอายุ"
ปัญหาที่พบ คือในเมืองไทยไม่ว่าจะผลิตผลิตภัณฑ์อะไรออกมาก็ตาม จะมีเกณฑ์วัดแค่คนอายุ 17-49 ปี เท่านั้น เพราะกลุ่มนี้คือกลุ่มผู้บริโภคหลัก
ดังนั้น งานสร้างของคณะวิจัยชุดนี้ ข้อมูลในการวัดร่างกาย 71 จุดจึงมีความสำคัญในเชิงการผลิตผลิตภัณฑ์มาก เพราะเหมาะกับคนไทยโดยเฉพาะ
อาจารย์ไตรรัตน์ อธิบายว่าข้อมูลหลักของผลวิจัยชิ้นนี้ แยกเป็นชาย และหญิง การวัดร่างกายจะมีท่ายืน ความสูง การเอื้อม เช่น เราอยากจะรู้ว่าผู้สูงอายุไทยเอื้อมจับเคาน์เตอร์ได้สูงสุดแค่ไหน เพราะว่าที่ผ่านมามีผู้สูงอายุหกล้มในบ้านจำนวนตัวเลขสูงมาก สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะการเอื้อม หากสูงเกินไปไม่สามารถเอื้อมได้ก็จะก้าวพลาด
ส่วนการนั่ง การเดิน ผู้สูงอายุจะมีลักษณะการเดินเป็นพิเศษ คือ เดินแบบก้าวทับก้าว สังเกตดูว่าจะเป็นก้าวซ้าย แล้วเอาเท้าขวามาหาเท้าซ้าย แล้วค่อยเดินอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นการเดินแบบนี้จะมีผลเรื่องการออกแบบ เช่น ขั้นบันไดควรจะกว้างขึ้น
"บันไดปกติกฎหมายจะบังคับความกว้างที่ 25 เซนติเมตร แต่ควรออกแบบให้กว้างกว่านั้น ความสูงของบันได กฎหมายให้ถึงได้ 18 เซนติเมตร แต่พอแก่ไปจะก้าวได้ไม่สูงนัก ความสูงของบันไดที่เหมาะควรประมาณ 13 เซนติเมตร"
ที่ลืมไม่ได้ คือ ส้วม คนส่วนใหญ่มักจะซื้อที่นั่งขาลอยให้พ่อแม่ใช้นั่งกับส้วมนั่งยองเดิม แต่จากการวัด ปรากฏว่าที่นั่งขาลอยนั้นสูงเกินไป เพราะฉะนั้นความสูงจากพื้นถึงระยะก้นตรงที่นั่งควรประมาณ 42 เซนติเมตรกำลังดี จะลุกนั่งแบบสบายๆ ถ้าเตี้ยมากอาจจะลุกไม่ขึ้น
"การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายให้สังเกตง่ายๆ คือ อะไรที่เป็นในแกน X (แนวนอน) จะเพิ่มขึ้น ส่วนแกน Y (แนวตั้ง) จะลดลง"
*สรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือ คนแก่จะ อ้วนขึ้น และ เตี้ยลง*
ดังนั้นในการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับแกนนอน ควรจะกว้างขึ้นด้วย อย่างเช่น ประตู ทางลาดที่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยไม่ว่าจะเป็นเท้าแขน มือจับ หรือ รถเข็นก็ควรจะกว้างเกิน 90 เซนติเมตร
ทางลาดของคนแก่ควรใช้สัดส่วน 1:12 ถ้าพื้นสูง 10 เซนติเมตร ต้องมีทางลาดยาวไปถึง 120 เซนติเมตร การเข็นรถเข็นจะได้ง่าย และทางลาดต้องใช้วัสดุต่างสัมผัส มองแล้วรู้ว่าต่างกันระหว่างพื้นเรียบ กับพื้นลาด
ส่วนราวจับควรจะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เซนติเมตร ความสูง 80 เซนติเมตร แล้วราวจับที่ดีไม่ได้มีแค่ตรงบันได ควรจะเลยจากขั้นสุดท้ายไปประมาณ 30 เซนติเมตรเป็นอย่างน้อย จะได้มีระยะจับได้
ลูกบิดประตูบ้าน ปกติยังคุ้นเคยกับลูกบิดกลมๆ แต่คนแก่พอร่างกายเสื่อมถอยลงไปแล้ว จะไม่มีแรงบิด ดังนั้นควรจะใช้เป็นแบบก้านโยกจะเหมาะกว่า แต่ที่เมืองไทยผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังแพงและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
สำหรับระยะเอื้อมควรจะลดลง ปลั๊กไฟควรจะสูงกว่าปกติ ในขณะที่สวิตช์ต้องต่ำลง จะให้ดีตัวหน้ากากกับตัวสวิตช์ควรเป็นคนละสี เคาน์เตอร์ก็ไม่ควรกว้างเกิน 50 เซนติเมตร เป็นต้น
แม้กระทั่งระยะในการมอง ผู้สูงอายุเวลานั่งอยู่จะชอบมองออกไปข้างนอก เพราะฉะนั้นประตูหน้าต่างให้ความสูงลดลง และข้างล่างควรจะลึกขึ้นเพื่อให้มองเห็นแสงเห็นสิ่งแวดล้อมภายนอกได้
อาจารย์ไตรรัตน์ บอกว่า การเปลี่ยนแปลงควรให้ผู้สูงอายุได้อยู่ที่เดิม ไม่ควรย้ายไปสร้างที่อยู่ให้ใหม่โดยเฉพาะ เพราะถึงแม้จะออกแบบตามหลักการ แต่คนแก่มักจะมีเรื่องสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย บางคนถ้าย้ายจะป่วยทันที เพราะเหมือนขาดอะไรบางอย่างทั้งทางสังคมและจิตใจ
"ถึงแม้จะมีหลักการในการออกแบบสร้างบ้านสำหรับผู้สูงอายุอย่างที่กล่าวมา ขาดไม่ได้คือควรจะจัดเอาเฟอร์นิเจอร์เก่าไว้ให้เหมือนวันวานที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกคุ้นเคย เพราะการปรับตัวของผู้สูงอายุปรับตัวได้ยาก ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด ทางที่ดีควรปรับปรุงบ้านที่อยู่อาศัยเดิมแล้วให้ย้ายห้องมาอยู่ชั้นล่าง ส่วนที่เหลือก็สร้างตามหลักเกณฑ์"
การศึกษาวิจัยชิ้นนี้ หากจะคาดหวังในแง่ของการปฏิบัติอาจจะเป็นไปได้ยากสำหรับในบ้านเมืองไทย จะด้วยปัจจัยหลายอย่าง ทั้งเรื่องงบประมาณ และทัศนคติ ความรู้สึกที่ยังไม่มีการปลูกฝังให้เห็นถึงความสำคัญของคนแก่เท่าที่ควร
ถึงกระนั้นการวิจัยก็เป็นการเริ่มต้นที่ให้ความหวัง ว่านโยบายหรือแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้สูงอายุในเมืองไทยอาจได้รับความใส่ใจมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
ที่มา:http://www.thaihomemaster.com/showinformation.php?TYPE=11&ID=600
การเลือกใช้วัสดุพื้นให้เหมาะสมกับพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน
การเลือกวัสดุปูพื้นให้เหมาะสมกับพื้นที่ใช้สอยแต่ละพื้นที่ของบ้านนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจาก พื้นที่ใช้สอยแต่ละพื้นที่ภายในบ้านต้องการคุณสมบัติที่แตกต่างกัน บางพื้นที่ต้องการความคงทนเป็นพิเศษและ ไม่ลื่น บางพื้นที่ต้องการคุณสมบัติที่ไม่เก็บความสกปรก และทำความสะอาดง่าย บางพื้นที่ต้องการความอบอุ่น ไม่เย็นเท้า เวลาเดินเท้าเปล่า บางพื้นที่ต้องการความหรูหรา ดังนั้น การเลือกวัสดุที่ใช้ปูพื้นได้อย่างเหมาะสมกับพื้น ที่ใช้สอยภายในบ้านก็จะเป็นการทำให้ สามารถตอบสนองประโยชน์ใช้สอยได้เป็นอย่างดี ซึ่งวัสดุในการปูพื้น แต่ละชนิด มีความเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ดังนี้
1. กระเบื้องเซรามิก
กระเบื้องผิวหยาบ เหมาะกับพื้นที่ที่ป้องกันการลื่น เช่นพื้นที่ถนน พื้นที่จอดรถ เฉลีpง ระเบียง ห้องน้ำ เพราะกระเบื้องมีคุณสมบัติที่ไม่มัน
กระเบื้องผิวเรียบ และผิวมัน เป็นวัสดุที่เหมาะกับการปูพื้นในส่วนของพื้นที่ภายในบ้านที่ไม่โดนน้ำเช่น ห้องโถง ห้องรับแขก ห้องทานอาหาร เพราะพื้นที่ดังกล่าวต้องการความแข็งแรงคงทนและความเงางาม
2. หินแกรนิต เหมาะกับการนำมาใช้ในการปูพื้น ห้องโถง ห้องรับแขก ห้องทานอาหารพื้นทีที่ต้องการความ แข็งแรงทนทาน หรูหรา ทำความสะอาดง่าย เพราะมีรอยต่อระหว่างแผ่นน้อย และค่อนข้างชิดเวลาปู
3. หินอ่อน เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการตกแต่งให้มีความหรูหรา และสวยงามเนื่องจากหินอ่อนมีลวดลายตาม ธรรมชาติที่สวยงาม ดังนั้น จึงเหมาะสมกับพื้นที่โถงต้อนรับ ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ห้องพักผ่อน เพราะเป็นพื้นๆ สามารถโชว์ลวดลายความสวยงาม ของหินอ่อนได้เป็นอย่างดีแต่ความแข็งแรงทนทาน คงเป็นรองหินแกรนิต เนื่องจากหินอ่อน เป็นพื้นที่ๆมีรอยขีดข่วนได้ง่าย
4. พื้นไม้ธรรมชาติ เป็นวัสดุพื้นที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น เป็นธรรมชาติ สวยงาม และดูมีคุณค่า ดังนั้นพื้นไม้จึงมีราคา แพงกว่าพื้นชนิดอื่น ไม้ธรรมชาติ เหมาะกับพื้นที่ห้องนอน พื้นที่ห้องพักผ่อน พื้นที่ห้องพระ พื้นที่ชั้นบนของบ้าน และเหมาะกับพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งานหนัก และต้องการความสวยงาม แบบธรรมชาติ
5. พื้นไม้ลามิเนต เป็นวัสดุที่เหมาะกับห้องพักผ่อน ห้องนอน พื้นที่ชั้นบนของภายในบ้าน ที่ไม่เปียกน้ำ และไม่มีความชื้น ในขณะที่ไม้ธรรมชาติเริ่มขาดแคลน และมีราคาแพงมาก และพื้นลามิเนตมีคุณสมบัติที่มีผิวหน้า ที่แข็งแรงทนทานมากกว่าพื้นไม้ธรรมชาติ ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีความนิยมนำไม้ลามิเนตมาใช้ทดแทนไม้ธรรมชาติ เพิ่มมากขึ้น อย่างต่อเนื่อง
วัสดุพื้นที่กล่าวมานี้เป็นวัสดุส่วนหนึ่งที่นิยมใช้มาปูพื้น แต่ยังมีวัสดุอื่นๆที่ผลิตออกมาใหม่ อีกมากมายที่ไม่ได้ กล่าวในที่นี้ แต่การนำวัสดุแต่ละชนิดมาใช้ ก็ต้องเลือกให้ดี และเหมาะสมกับพื้นที่ใช้สอยของบ้าน ซึ่งหากมีการเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมถูกต้อง ก็จะทำให้คุณอาศัยในบ้านที่คุณรักได้อย่างมีความสุขสะดวกสบาย และไม่เกิดปัญหาตามมา และต้องมีการแก้ไขในภายหลัง
From: นิตยสาร สามาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน
1. กระเบื้องเซรามิก
กระเบื้องผิวหยาบ เหมาะกับพื้นที่ที่ป้องกันการลื่น เช่นพื้นที่ถนน พื้นที่จอดรถ เฉลีpง ระเบียง ห้องน้ำ เพราะกระเบื้องมีคุณสมบัติที่ไม่มัน
กระเบื้องผิวเรียบ และผิวมัน เป็นวัสดุที่เหมาะกับการปูพื้นในส่วนของพื้นที่ภายในบ้านที่ไม่โดนน้ำเช่น ห้องโถง ห้องรับแขก ห้องทานอาหาร เพราะพื้นที่ดังกล่าวต้องการความแข็งแรงคงทนและความเงางาม
2. หินแกรนิต เหมาะกับการนำมาใช้ในการปูพื้น ห้องโถง ห้องรับแขก ห้องทานอาหารพื้นทีที่ต้องการความ แข็งแรงทนทาน หรูหรา ทำความสะอาดง่าย เพราะมีรอยต่อระหว่างแผ่นน้อย และค่อนข้างชิดเวลาปู
3. หินอ่อน เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการตกแต่งให้มีความหรูหรา และสวยงามเนื่องจากหินอ่อนมีลวดลายตาม ธรรมชาติที่สวยงาม ดังนั้น จึงเหมาะสมกับพื้นที่โถงต้อนรับ ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ห้องพักผ่อน เพราะเป็นพื้นๆ สามารถโชว์ลวดลายความสวยงาม ของหินอ่อนได้เป็นอย่างดีแต่ความแข็งแรงทนทาน คงเป็นรองหินแกรนิต เนื่องจากหินอ่อน เป็นพื้นที่ๆมีรอยขีดข่วนได้ง่าย
4. พื้นไม้ธรรมชาติ เป็นวัสดุพื้นที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น เป็นธรรมชาติ สวยงาม และดูมีคุณค่า ดังนั้นพื้นไม้จึงมีราคา แพงกว่าพื้นชนิดอื่น ไม้ธรรมชาติ เหมาะกับพื้นที่ห้องนอน พื้นที่ห้องพักผ่อน พื้นที่ห้องพระ พื้นที่ชั้นบนของบ้าน และเหมาะกับพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งานหนัก และต้องการความสวยงาม แบบธรรมชาติ
5. พื้นไม้ลามิเนต เป็นวัสดุที่เหมาะกับห้องพักผ่อน ห้องนอน พื้นที่ชั้นบนของภายในบ้าน ที่ไม่เปียกน้ำ และไม่มีความชื้น ในขณะที่ไม้ธรรมชาติเริ่มขาดแคลน และมีราคาแพงมาก และพื้นลามิเนตมีคุณสมบัติที่มีผิวหน้า ที่แข็งแรงทนทานมากกว่าพื้นไม้ธรรมชาติ ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีความนิยมนำไม้ลามิเนตมาใช้ทดแทนไม้ธรรมชาติ เพิ่มมากขึ้น อย่างต่อเนื่อง
วัสดุพื้นที่กล่าวมานี้เป็นวัสดุส่วนหนึ่งที่นิยมใช้มาปูพื้น แต่ยังมีวัสดุอื่นๆที่ผลิตออกมาใหม่ อีกมากมายที่ไม่ได้ กล่าวในที่นี้ แต่การนำวัสดุแต่ละชนิดมาใช้ ก็ต้องเลือกให้ดี และเหมาะสมกับพื้นที่ใช้สอยของบ้าน ซึ่งหากมีการเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมถูกต้อง ก็จะทำให้คุณอาศัยในบ้านที่คุณรักได้อย่างมีความสุขสะดวกสบาย และไม่เกิดปัญหาตามมา และต้องมีการแก้ไขในภายหลัง
From: นิตยสาร สามาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน
การเลือกแบบบ้านที่เหมาะสมกับตัวเรา
ขอบคุณบทความดีๆ จากสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน http://www.hba-th.org
การเลือกแบบบ้านที่เหมาะกับตัวเราสักแบบนึงนั้นเป็นเรื่องที่ต้องคิดหนัก สำหรับคนที่กำลังจะสร้างบ้าน วันนี้ผมมีคำแนะนำเล็กๆน้อยที่พอจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังเลือกแบบ บ้านให้เข้ากับตัวเองอยู่นะครับ
สิ่งที่คนส่วนใหญ่คิดก็คือ การเลือกแบบบ้านจากหนังสือที่วางขายอยู่ทั่วไป จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นแบบบ้านที่ดีและเหมาะกับตัวเรา แบบบ้านที่เราเห็นในหนังสือที่วางขายทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นแบบที่มีความสวยงามอยู่แล้ว เพราะเป็นแบบบ้านของหมู่บ้านจัดสรร หรือไม่ก็เป็นของบริษัทรับสร้างบ้านหรือบริษัทที่ขายแบบบ้านอยู่แล้ว ซึ่งการจะดูว่าแบบไหนดี และ แบบไหนไม่ดี แบบใดเหมาะกับตัวเราและครอบครัว ควรพิจารณาเรื่องเหล่านี้ประกอบด้วยนะครับ
1. ควรเลือกแบบบ้านที่สามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิกภายในครอบครัวได้เป็น อย่างดี เช่น มีจำนวนห้องนอนมากเพียงพอต่อจำนวนสมาชิก หรือห้องน้ำมีขนาดใหญ่ มีหลายห้อง เป็นต้น
2. ควรเลือกแบบบ้านที่มีการออกแบบให้นำพลังงานธรรมชาติมาใช้ภายในตัวอาคาร เพราะจะช่วยให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้มาก เช่นใช้บล๊อกแก้ว ทำช่องแสงบริเวณโถงบันได ใช้กระเบื้องโปร่งแสง บริเวณห้องน้ำ - ห้องครัว ทำให้ไม่ต้องเปิดไฟในเวลากลางวัน มีการกำหนดตำแหน่งหน้าต่างให้ลมเข้าและระบายออกได้ เป็นต้น
แบบบ้านที่ดีต้องมีการออกแบบและจัดวางระบบต่าง ๆ ไว้อย่างดี เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน เช่น มีการวางท่อระบายน้ำไว้รอบบ้านมีการคำนึงถึงตำแหน่งที่ตั้งถังเก็บน้ำสำรอง และปั๊มน้ำ มีการกำหนดตำแหน่งไฟฟ้าไว้สำหรับติดตั้งเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องทำน้ำ อุ่น การเข้าถึงสำหรับการบำรุงรักษาและที่สำคัญควรมีการกำหนดตำแหน่งสิ่งของ หรือเฟอร์นิเจอร์เอา ไว้ในแบบ เพื่อช่วยให้เกิดการจินตนาการ และภาพรวมได้ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ แบบบ้านที่ดียังต้องกำหนดวัสดุที่ดี มีคุณภาพและเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การใช้ไม้สมาร์ทบอร์ด ในบริเวณที่โดนความชื้นตลอดเวลาอย่างห้องน้ำหรือชายคารอบบ้าน หรือการใช้ไม้ฝาทำผนังแทนการใช้ไม้จริงเพราะไม่ผุพัง และที่สำคัญคือปลวกไม่กิน
นอกจากนี้ แบบบ้านยังสัมพันธ์กับงบประมาณด้วยนะครับ หากงบประมาณจำกัด ก็ไม่ควรเลือกแบบที่มีขนาดใหญ่โตมาก จนต้องใช้วิธีปรับเปลี่ยนวัสดุ หรือลดมาตรฐานของวัสดุลงเพื่อให้พอดีกับเงินที่มีอยู่ เพราะจะทำให้ความสวยงามลดลงและไม่ปลอดภัยต่อการอยู่อาศัย ที่สำคัญต้องไม่ลืมว่าเมื่อก่อสร้างบ้านเสร็จแล้ว ยังต้องมีค่าตกแต่ง รวมถึงค่าบำรุงรักษาระบบต่าง ๆ ในภายหลังด้วย ดังนั้นผมจึงขอแนะนำว่าควรเลือกแบบบ้านที่ไม่ต้องดูสวยงามหรูหรามากนัก แต่สร้างแล้วอยู่สบาย แถมยังมีเงินเหลือไว้ทำอย่างอื่นจะดีกว่า และเมื่อได้แบบบ้านที่ถูกใจแล้ว เวลานำไปสร้างจริงอย่าลืมดูเรื่องทิศด้วยนะ ครับ ว่าเราควรหันด้านแคบของตัวบ้านเข้าหาดวงอาทิตย์ จะช่วยให้บ้านไม่ร้อนมาก ควรให้ห้องครัวและห้องน้ำอยู่ด้านทิศตะวันตก ซึ่งจะได้รับประโยชน์โดยตรงจากแสงแดดในเรื่องของความแห้งและสะอาดเพราะแสง แดดช่วยกำจัดเชื้อโรค ทำให้ห้องครัวและห้องน้ำไม่อับชื้นอีกด้วยครับ
สุดท้ายนี้ผมก็หวังเป็นอย่างยิ่งนะครับว่าสิ่งที่ผมนำมาเสนอในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังเลือกหาแบบบ้านให้เหมาะกับตัวคุณ และคนในครอบครัวของคุณไม่มากก็น้อยนะครับ และที่สำหรับใครที่ยังคงอยากจะหาแบบบ้านตามหนังสือแบบบ้านบ้านอยู่ ผมก็ขอแนะนำหนังสือรวมแบบบ้านของทางสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน โดยเนื้อหาจะรวบรวมแบบบ้านใหม่ล่าสุดและแบบบ้านขายดีของกลุ่มบริษัทรับสร้าง บ้านชั้นแนวหน้าของเมืองไทย ซึ่งหนังสือเล่มนี้เหมาะมากสำหรับผู้ที่กำลังจะเลือกแบบบ้านหรือกำลังหา ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการสร้างบ้านอยู่ หากท่านใดสนใจสามารถสอบถามได้ที่ทางสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านครับ
ขอบคุณบทความดีๆ จากสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน
บทความโดย พิเชษฐ มณีรัตนะพร กรรมการบริหารสมาคมรับสร้างบ้าน และกรรมการผู้จัดการบริษัท แลนดี้โฮม จำกัด
การเลือกแบบบ้านที่เหมาะกับตัวเราสักแบบนึงนั้นเป็นเรื่องที่ต้องคิดหนัก สำหรับคนที่กำลังจะสร้างบ้าน วันนี้ผมมีคำแนะนำเล็กๆน้อยที่พอจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังเลือกแบบ บ้านให้เข้ากับตัวเองอยู่นะครับ
สิ่งที่คนส่วนใหญ่คิดก็คือ การเลือกแบบบ้านจากหนังสือที่วางขายอยู่ทั่วไป จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นแบบบ้านที่ดีและเหมาะกับตัวเรา แบบบ้านที่เราเห็นในหนังสือที่วางขายทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นแบบที่มีความสวยงามอยู่แล้ว เพราะเป็นแบบบ้านของหมู่บ้านจัดสรร หรือไม่ก็เป็นของบริษัทรับสร้างบ้านหรือบริษัทที่ขายแบบบ้านอยู่แล้ว ซึ่งการจะดูว่าแบบไหนดี และ แบบไหนไม่ดี แบบใดเหมาะกับตัวเราและครอบครัว ควรพิจารณาเรื่องเหล่านี้ประกอบด้วยนะครับ
1. ควรเลือกแบบบ้านที่สามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิกภายในครอบครัวได้เป็น อย่างดี เช่น มีจำนวนห้องนอนมากเพียงพอต่อจำนวนสมาชิก หรือห้องน้ำมีขนาดใหญ่ มีหลายห้อง เป็นต้น
2. ควรเลือกแบบบ้านที่มีการออกแบบให้นำพลังงานธรรมชาติมาใช้ภายในตัวอาคาร เพราะจะช่วยให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้มาก เช่นใช้บล๊อกแก้ว ทำช่องแสงบริเวณโถงบันได ใช้กระเบื้องโปร่งแสง บริเวณห้องน้ำ - ห้องครัว ทำให้ไม่ต้องเปิดไฟในเวลากลางวัน มีการกำหนดตำแหน่งหน้าต่างให้ลมเข้าและระบายออกได้ เป็นต้น
แบบบ้านที่ดีต้องมีการออกแบบและจัดวางระบบต่าง ๆ ไว้อย่างดี เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน เช่น มีการวางท่อระบายน้ำไว้รอบบ้านมีการคำนึงถึงตำแหน่งที่ตั้งถังเก็บน้ำสำรอง และปั๊มน้ำ มีการกำหนดตำแหน่งไฟฟ้าไว้สำหรับติดตั้งเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องทำน้ำ อุ่น การเข้าถึงสำหรับการบำรุงรักษาและที่สำคัญควรมีการกำหนดตำแหน่งสิ่งของ หรือเฟอร์นิเจอร์เอา ไว้ในแบบ เพื่อช่วยให้เกิดการจินตนาการ และภาพรวมได้ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ แบบบ้านที่ดียังต้องกำหนดวัสดุที่ดี มีคุณภาพและเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การใช้ไม้สมาร์ทบอร์ด ในบริเวณที่โดนความชื้นตลอดเวลาอย่างห้องน้ำหรือชายคารอบบ้าน หรือการใช้ไม้ฝาทำผนังแทนการใช้ไม้จริงเพราะไม่ผุพัง และที่สำคัญคือปลวกไม่กิน
นอกจากนี้ แบบบ้านยังสัมพันธ์กับงบประมาณด้วยนะครับ หากงบประมาณจำกัด ก็ไม่ควรเลือกแบบที่มีขนาดใหญ่โตมาก จนต้องใช้วิธีปรับเปลี่ยนวัสดุ หรือลดมาตรฐานของวัสดุลงเพื่อให้พอดีกับเงินที่มีอยู่ เพราะจะทำให้ความสวยงามลดลงและไม่ปลอดภัยต่อการอยู่อาศัย ที่สำคัญต้องไม่ลืมว่าเมื่อก่อสร้างบ้านเสร็จแล้ว ยังต้องมีค่าตกแต่ง รวมถึงค่าบำรุงรักษาระบบต่าง ๆ ในภายหลังด้วย ดังนั้นผมจึงขอแนะนำว่าควรเลือกแบบบ้านที่ไม่ต้องดูสวยงามหรูหรามากนัก แต่สร้างแล้วอยู่สบาย แถมยังมีเงินเหลือไว้ทำอย่างอื่นจะดีกว่า และเมื่อได้แบบบ้านที่ถูกใจแล้ว เวลานำไปสร้างจริงอย่าลืมดูเรื่องทิศด้วยนะ ครับ ว่าเราควรหันด้านแคบของตัวบ้านเข้าหาดวงอาทิตย์ จะช่วยให้บ้านไม่ร้อนมาก ควรให้ห้องครัวและห้องน้ำอยู่ด้านทิศตะวันตก ซึ่งจะได้รับประโยชน์โดยตรงจากแสงแดดในเรื่องของความแห้งและสะอาดเพราะแสง แดดช่วยกำจัดเชื้อโรค ทำให้ห้องครัวและห้องน้ำไม่อับชื้นอีกด้วยครับ
สุดท้ายนี้ผมก็หวังเป็นอย่างยิ่งนะครับว่าสิ่งที่ผมนำมาเสนอในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังเลือกหาแบบบ้านให้เหมาะกับตัวคุณ และคนในครอบครัวของคุณไม่มากก็น้อยนะครับ และที่สำหรับใครที่ยังคงอยากจะหาแบบบ้านตามหนังสือแบบบ้านบ้านอยู่ ผมก็ขอแนะนำหนังสือรวมแบบบ้านของทางสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน โดยเนื้อหาจะรวบรวมแบบบ้านใหม่ล่าสุดและแบบบ้านขายดีของกลุ่มบริษัทรับสร้าง บ้านชั้นแนวหน้าของเมืองไทย ซึ่งหนังสือเล่มนี้เหมาะมากสำหรับผู้ที่กำลังจะเลือกแบบบ้านหรือกำลังหา ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการสร้างบ้านอยู่ หากท่านใดสนใจสามารถสอบถามได้ที่ทางสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านครับ
ขอบคุณบทความดีๆ จากสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน
บทความโดย พิเชษฐ มณีรัตนะพร กรรมการบริหารสมาคมรับสร้างบ้าน และกรรมการผู้จัดการบริษัท แลนดี้โฮม จำกัด
การพิจารณาเลือกแบบบ้าน ให้เหมาะสมกับที่ดิน
ผู้ที่สร้างบ้านบนที่ดินตนเองนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีที่ดินเป็นของตนเองอยู่แล้ว และกำลังต้องการที่จะเลือก แบบบ้านสักหลัง เพื่อที่จะปลูกสร้างบ้านบนที่ดินแปลงนั้น ในการเลือกแบบบ้านให้เหมาะสมกับที่ดินนั้น เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เนื่องจากการเลือกแบบบ้านที่ดีนั้น ก็จะทำให้ท่านได้บ้านที่น่าอยู่ อยู่แล้วเย็นสบาย การใช้สอยภายในบ้านสะดวกสบายมีความเป็นส่วนตัว และมีมุมมองภายใน และภายนอกที่ดี ซึ่งต่างจากการเลือกซื้อบ้านจัดสรรที่มีการสร้างไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องซื้อตามที่ผู้ประกอบการวางตำแหน่งไว้ให้ และไม่สามารถเลือกได้มากนัก
การสร้างบ้านบนที่ดินตนเองนั้น สามารถเลือกการวางตำแหน่งบ้านและสามารถกำหนดทิศทาง ระยะของการวางบ้านได้ก่อนที่จะมีการสร้างบ้านจริง ซึ่งในขั้นต้นสถาปนิกที่ประจำอยู่ในบริษัทรับสร้างบ้าน ที่ท่านพิจารณาเลือกบ้านนั้น ก็ต้องเป็นผู้ให้คำแนะนำการเลือกแบบบ้าน การวางตำแหน่งบ้านให้เหมาะกับที่ดิน ของท่านก่อน โดยท่านต้องเป็นผู้พิจารณาประกอบกับความต้องการเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สอยอาคารของท่าน เพื่อให้ท่านได้บ้านที่มีความสวยงาม มีประโยชน์ใช้สอยที่ดี และอยู่สบาย ซึ่งปัจจัยในการพิจารณาเบื้องต้น ในการเลือกแบบบ้านให้เหมาะสมกับที่ดินนั้นมีดังนี้
1. พิจารณาเรื่องลักษณะของที่ดินให้เหมาะสมกับแบบบ้าน
ในกรณีที่ดินของท่านมีขนาดกว้างขวาง หรือใหญ่โต ในการเลือกแบบบ้าน คงจะไม่มีข้อจำกัดมากนัก แต่หากว่าท่านมีที่ดินขนาดจำกัด การเลือกรูปทรงแบบบ้านให้เหมาะสมกับรูปที่ดิน ก็เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้าหากรูปทรงที่ดินของคุณ เป็นรูปทรงแนวลึก แต่เลือกแบบบ้านแนวกว้าง ก็อาจจะไม่เหมาะสมนัก หรือหากมีที่ดินแนวกว้าง แต่เลือกแบบบ้านแนวลึก ก็อาจจะไม่เหมาะสมเช่นกัน
2. พิจารณาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมโดยรอบที่ดิน
การพิจารณาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมโดยรอบที่ดินนั้น เป็นตัวกำหนดว่าฟังก์ชั่นการใช้สอยส่วนใดควรอยู่ตรงไหน และฟังก์ชั่นการใช้สอยใดไม่ควรอยู่ตรงไหน เนื่องจากบางพื้นที่ของบ้าน เช่นห้องนอน ห้องทำงาน และห้องพักผ่อน เราต้องการความเป็นส่วนตัว และความสงบเงียบ ดังนั้นพื้นที่ดังกล่าวก็ควรอยู่ในด้านที่ไม่มีเสียงดังและ ไม่ใช่ด้านที่มีผู้คนพลุกพล่านติดถนน หรือติดกับพื้นที่ข้างเคียงที่เป็นหอพัก
3. พิจารณาเกี่ยวกับข้อกฎหมายเกี่ยวกับระยะร่นของอาคาร
การพิจารณาเกี่ยวกับระยะร่นของอาคาร เป็นผลต่อการเลือกแบบบ้านให้เหมาะสมกับที่ดินเช่นกัน เนื่องจากตามกฎหมายนั้น กำหนดให้ช่องเปิดหน้าต่างของบ้านทุกช่องนั้นห่างจากแนวเขตที่ตามกฎหมาย ไม่ต่ำกว่า 2.00 ม. ในกรณที่ี่เป็นบ้าน 2 ชั้น และไม่ต่ำกว่า 3.00 ม. ในกรณีที่บ้านของท่านมี 3 ชั้นขึ้นไป ซึ่งหากเลือกแบบบ้านแล้ว พิจารณาให้ดีกับหัวข้อนี้ด้วยก็จะทำให้บ้านที่ท่านสร้าง ถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ต้องปรับแก้แบบจากแบบมาตรฐานที่ท่านชอบมากนัก
4. พิจารณาเกี่ยวกับทิศทางลม และทิศทางแดด
การพิจารณาเรื่องทิศทางลม ทิศทางแดด ในการวางตำแหน่งบ้านก็มีความสำคัญไม่น้อยเช่นกัน เนื่องจากว่าการเลือกบ้านและการวางตำแหน่งอาคารลงบนที่ดิน หากพิจารณาให้รอบคอบ ก็จะทำให้บ้านมีความเย็นสบาย ไม่ร้อนอบอ้าว พึ่งพาเครื่องปรับอากาศได้น้อยที่สุด และได้เปิดมุมมองสู่ภายนอกได้ดีที่สุด ประเด่นในการพิจารณาก็คือ ควรวางตัวอาคารด้านแคบไว้ตาม แกนทิศตะวันออกและทิศตะวันตก เพื่อรับแสงแดดในตอนสายและตอนเย็นให้น้อยที่สุด
5. พิจารณาเกี่ยวกับพฤติกรรมการอยู่อาศัยของสมาชิกในครอบครัว
ข้อสุดท้ายในการพิจารณาจากพฤติกรรมการใช้สอยของสมาชิกในครอบครัวซึ่งมีความแตกต่างกันแล้วแต่ครอบครัว ซึ่งต้องวิเคราะห์ดูว่าความจำเป็นที่แท้จริงคืออะไรบ้าง ซึ่งหากสร้างขึ้นมาแล้วไม่ได้ใช้ ก็ไม่เกิดประโยชน์ แถมต้องเป็นภาระที่ต้องดูแลภายหลังอีกด้วย
From: นิตยสาร สามาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน
การสร้างบ้านบนที่ดินตนเองนั้น สามารถเลือกการวางตำแหน่งบ้านและสามารถกำหนดทิศทาง ระยะของการวางบ้านได้ก่อนที่จะมีการสร้างบ้านจริง ซึ่งในขั้นต้นสถาปนิกที่ประจำอยู่ในบริษัทรับสร้างบ้าน ที่ท่านพิจารณาเลือกบ้านนั้น ก็ต้องเป็นผู้ให้คำแนะนำการเลือกแบบบ้าน การวางตำแหน่งบ้านให้เหมาะกับที่ดิน ของท่านก่อน โดยท่านต้องเป็นผู้พิจารณาประกอบกับความต้องการเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สอยอาคารของท่าน เพื่อให้ท่านได้บ้านที่มีความสวยงาม มีประโยชน์ใช้สอยที่ดี และอยู่สบาย ซึ่งปัจจัยในการพิจารณาเบื้องต้น ในการเลือกแบบบ้านให้เหมาะสมกับที่ดินนั้นมีดังนี้
1. พิจารณาเรื่องลักษณะของที่ดินให้เหมาะสมกับแบบบ้าน
ในกรณีที่ดินของท่านมีขนาดกว้างขวาง หรือใหญ่โต ในการเลือกแบบบ้าน คงจะไม่มีข้อจำกัดมากนัก แต่หากว่าท่านมีที่ดินขนาดจำกัด การเลือกรูปทรงแบบบ้านให้เหมาะสมกับรูปที่ดิน ก็เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้าหากรูปทรงที่ดินของคุณ เป็นรูปทรงแนวลึก แต่เลือกแบบบ้านแนวกว้าง ก็อาจจะไม่เหมาะสมนัก หรือหากมีที่ดินแนวกว้าง แต่เลือกแบบบ้านแนวลึก ก็อาจจะไม่เหมาะสมเช่นกัน
2. พิจารณาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมโดยรอบที่ดิน
การพิจารณาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมโดยรอบที่ดินนั้น เป็นตัวกำหนดว่าฟังก์ชั่นการใช้สอยส่วนใดควรอยู่ตรงไหน และฟังก์ชั่นการใช้สอยใดไม่ควรอยู่ตรงไหน เนื่องจากบางพื้นที่ของบ้าน เช่นห้องนอน ห้องทำงาน และห้องพักผ่อน เราต้องการความเป็นส่วนตัว และความสงบเงียบ ดังนั้นพื้นที่ดังกล่าวก็ควรอยู่ในด้านที่ไม่มีเสียงดังและ ไม่ใช่ด้านที่มีผู้คนพลุกพล่านติดถนน หรือติดกับพื้นที่ข้างเคียงที่เป็นหอพัก
3. พิจารณาเกี่ยวกับข้อกฎหมายเกี่ยวกับระยะร่นของอาคาร
การพิจารณาเกี่ยวกับระยะร่นของอาคาร เป็นผลต่อการเลือกแบบบ้านให้เหมาะสมกับที่ดินเช่นกัน เนื่องจากตามกฎหมายนั้น กำหนดให้ช่องเปิดหน้าต่างของบ้านทุกช่องนั้นห่างจากแนวเขตที่ตามกฎหมาย ไม่ต่ำกว่า 2.00 ม. ในกรณที่ี่เป็นบ้าน 2 ชั้น และไม่ต่ำกว่า 3.00 ม. ในกรณีที่บ้านของท่านมี 3 ชั้นขึ้นไป ซึ่งหากเลือกแบบบ้านแล้ว พิจารณาให้ดีกับหัวข้อนี้ด้วยก็จะทำให้บ้านที่ท่านสร้าง ถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ต้องปรับแก้แบบจากแบบมาตรฐานที่ท่านชอบมากนัก
4. พิจารณาเกี่ยวกับทิศทางลม และทิศทางแดด
การพิจารณาเรื่องทิศทางลม ทิศทางแดด ในการวางตำแหน่งบ้านก็มีความสำคัญไม่น้อยเช่นกัน เนื่องจากว่าการเลือกบ้านและการวางตำแหน่งอาคารลงบนที่ดิน หากพิจารณาให้รอบคอบ ก็จะทำให้บ้านมีความเย็นสบาย ไม่ร้อนอบอ้าว พึ่งพาเครื่องปรับอากาศได้น้อยที่สุด และได้เปิดมุมมองสู่ภายนอกได้ดีที่สุด ประเด่นในการพิจารณาก็คือ ควรวางตัวอาคารด้านแคบไว้ตาม แกนทิศตะวันออกและทิศตะวันตก เพื่อรับแสงแดดในตอนสายและตอนเย็นให้น้อยที่สุด
5. พิจารณาเกี่ยวกับพฤติกรรมการอยู่อาศัยของสมาชิกในครอบครัว
ข้อสุดท้ายในการพิจารณาจากพฤติกรรมการใช้สอยของสมาชิกในครอบครัวซึ่งมีความแตกต่างกันแล้วแต่ครอบครัว ซึ่งต้องวิเคราะห์ดูว่าความจำเป็นที่แท้จริงคืออะไรบ้าง ซึ่งหากสร้างขึ้นมาแล้วไม่ได้ใช้ ก็ไม่เกิดประโยชน์ แถมต้องเป็นภาระที่ต้องดูแลภายหลังอีกด้วย
From: นิตยสาร สามาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน
ลงทุน “อพาร์ทเม้นท์” หรือ “คอนโดมิเนียม” อย่างไหนคุ้มกว่ากัน ?
ลงทุน “อพาร์ทเม้นท์” หรือ “คอนโดมิเนียม” อย่างไหนคุ้มกว่ากัน ?
พรรคพวกผมได้แนะนำผมให้รู้จักกับเจ้าของที่ดิน ซึ่งมีพื้นเพและประกอบธุรกิจวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ในจังหวัดชลบุรี มากว่า 20 ปี ปัจจุบันมีที่ดินอยู่หลายแปลง หลายทำเลที่ยังไม่ได้ทำประโยชน์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
ที่ดินว่างเปล่ามีทั้งตั้งอยู่ในทำเลที่แตกต่างกันไป ที่ดินบางแปลงเหมาะทำหรือสร้างอพาร์ทเม้นท์หรือคอนโดมิเนียม เพราะพื้นที่มีจำกัดและอยู่ในแหล่งชุมชน ที่ดินบางแปลงที่มีอยู่ถึงแม้ว่าจะมีพื้นที่ค่อนข้างมาก แต่ไม่เหมาะพัฒนาหรือจัดสรร เนื่องจากความเจริญของชุมชนยังไปไม่ถึง
เรื่องที่ผมและเจ้าของที่ดินได้พูดคุยหารือร่วมกันเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำว่า ที่ดินแปลงซึ่งมีศักยภาพ อยู่ในแหล่งชุมชน มีความเจริญมากขึ้นในอนาคต ควรพัฒนาที่ดินในรูปแบบ “อพาร์ทเม้นท์ให้เช่า” หรือ “คอนโดมิเนียมเพื่อขายกรรมสิทธิ์”
รูปแบบใดจะเกิดประโยชน์มากน้อยแตกต่างกันอย่างไร?
หรือมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร?
ท่านผู้อ่านหลายท่านอาจมีที่ดินซึ่งมีความพร้อมตั้งอยู่ในทำเลที่ดี อาจอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าสมควรจะสร้างอพาร์ทเม้นท์ให้เช่าหรือคอนโดมิเนียม หรือฝากเงินไว้กับสถาบันการเงินหรือเล่นหุ้น หรือซื้อพันธบัตร หรือตราสารหนี้ ว่ารูปแบบใด จะสร้างประโยชน์และความคุ้มค่าให้กับตนเองมากที่สุด
“คำตอบ” ที่แตกต่างมีให้เห็นอยู่ไม่กี่ข้อ อาทิ
สร้างอพาร์ทเม้นท์ให้เช่า มีข้อดี ได้แก่ มีรายได้จากการให้เช่าในระยะยาว มีข้อเสีย ได้แก่ ความเสี่ยงของการนำเม็ดเงินมาลงทุนและต้องปรับปรุงห้องพักให้ดูดีอยู่เสมอ และจัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงรักษาสภาพอาคารและห้องพักมิให้ดูเสื่อมโทรม
สร้างคอนโดมิเนียม มีข้อดี ได้แก่ ได้กำไรเป็นเงินก้อนโต ไม่เป็นภาระดูแลบำรุงรักษาอาคารและห้องชุด ข้อเสียได้แก่ ความเสี่ยงของการลงทุนอาจไม่ประสบความสำเร็จจากการขายห้องชุด เป็นต้น
สำหรับการลงทุนในหุ้นกับตลาดหลักทรัพย์มีข้อดี ได้แก่ ไม่ต้องใช้งบลงทุนจำนวนมาก มี ข้อเสีย ได้แก่ ความผันผวนหรือการเปลี่ยนแปลงกรณีมีการปั่นหุ้นและมีข้อมูลข่าวสารที่ติดตามไม่ทันเหตุการณ์ ซึ่งแตกต่างกับการลงทุนในสถาบันการเงินหรือการซื้อพันธบัตรของรัฐบาล มีข้อดี ได้แก่ ไม่มีความเสี่ยง แต่มีข้อเสีย ได้แก่ อัตราผลตอบแทนต่ำไม่คุ้มค่ากับการลงทุนในระยะยาว
มีเหตุผลแตกต่างกันแล้วแต่ว่าใครจะชอบลงทุนในรูปแบบใด?
ถ้าคิดจะเลือกลงทุนเพื่อพัฒนาที่ดินในรูปแบบอพาร์ทเม้นท์ให้เช่า หรือการสร้างคอนโดมิเนียมเพื่อขายกรรมสิทธิ์ให้บุคคลภายนอก ผมมองว่าน่าจะเกิดประโยชน์ต่อเจ้าของที่ดินมากกว่าการลงทุนในรูปแบบอื่นๆ
เรื่องซึ่งเจ้าของที่ดินจะต้องดำเนินการทำการบ้าน“เหมือนกัน” ไม่ว่าจะพัฒนาที่ดินในรูปแบบ “อพาร์ทเม้นท์ให้เช่า” และ “คอนโดมิเนียมเพื่อขายกรรมสิทธิ์” ดังนี้
1. ศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาโครงการ
กรณีที่ดินที่จะพัฒนาขึ้นเป็น “อพาร์ทเม้นท์” หรือ “คอนโดมิเนียม” เจ้าของที่ดินจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาโครงการว่ารูปแบบใดจะสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและวิถีชีวิตการอยู่อาศัยภายในชุมชน
2. สำรวจและวิจัยด้านการตลาด
การสำรวจและวิจัยด้านการตลาดของการตลาดของการพัฒนาโครงการรูปแบบ “อพาร์ทเม้นท์ให้เช่า” และ “คอนโดมิเนียม” มีความจำเป็นต้องสำรวจและวิจัยด้านการตลาดว่ามีความต้องการได้ที่อยู่อาศัยประเภทเช่าหรือซื้อกรรมสิทธิ์มากกว่ากัน
ข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้เป็นรายละเอียดศึกษาเพื่อเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการ
3. การออกแบบ รายการคำนวณและการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารกับเจ้าพนักงานท้องถิ่น
การพัฒนาที่ดินไม่ว่าจะเป็น “อพาร์ทเม้นท์ให้เช่า” และ “คอนโดมิเนียม” เจ้าของที่ดินจำเป็นตัองว่าจ้างสถาปนิก วิศวกรทำการออกแบบอาคาร พร้อมรายการคำนวณตลอดจนยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคารกับเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กฎกระทรวงและเทศบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
4. จัดเตรียมงบประมาณการตลาดและการประชาสัมพันธ์ให้โครงการเป็นที่รู้จัก
เมื่อโครงการได้รับ “ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร” จากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียบร้อยแล้ว เจ้าของที่ดินหรือผู้ประกอบการโครงการจำเป็นต้องจัดเตรียมงบประมาณส่วนหนึ่ง เพื่อทำการตลาดและประชาสัมพันธ์โครงการ อาทิ โบรชัวร์ ใบราคาเช่า – ขาย ห้องพักและห้องชุด ป้ายโฆษณาหรือป้าย คัทเอาท์ การออกบูธประชาสัมพันธ์ ณ แหล่งชุมชนห้างสรรพสินค้า การจัดทำ “ม็อคอัพ” หรือ “ห้องตัวอย่าง” ให้ผู้สนใจได้ชม เป็นต้น
5. จัดทำและเสนอแผนธุรกิจเพื่อขออนุมัติสินเชื่อพัฒนาโครงการกับสถาบันการเงิน
งบประมาณการก่อสร้างอาคารประเภท “ อพาร์ทเม้นท์” และ “คอนโดมิเนียม” ผู้ประกอบการจำเป็นต้องอาศัยเงินกู้จากสถาบันการเงินมาใช้ในการพัฒนาโครงการ ผู้ประกอบการซึ่งจำเป็นต้องจัดทำแผนธุรกิจเสนอให้สถาบันการเงินพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ นอกจากแผนธุรกิจแล้ว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องจัดทำงบกระแสเงินสด (CASH FLOW) เสนอให้สถาบันการเงินพิจารณาประกอบพร้อมกันไปด้วย
6. จัดหา “ที่ปรึกษาโครงการ” ทั้งงานด้านก่อสร้าง งานบัญชี – การเงิน – ภาษี งานขายและ การตลาดและงานด้านกฎหมาย ให้คำแนะนำ
ผู้ประกอบการซึ่งขาดความชำนาญหรือยังไม่มีประสบการณ์เห็นควรให้ท่านพิจารณาจัดหา “ที่ปรึกษาโครงการ” ที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญในงานแต่ละด้านเข้ามารองรับเพื่อลดการสูญเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
อย่ามองว่างานไม่มีปัญหาและอุปสรรคและเสียดายงบประมาณการว่าจ้างที่ปรึกษาโครงการเข้ามารองรับในงานแต่ละประเภทที่เกี่ยวข้อง
งานบางประเภท ผู้ประกอบการอาจอาศัย “OUTSOURCE” ที่มีประสบการณ์ ความชำนาญเข้ามารองรับเพื่อลดความเสี่ยงในการพัฒนาโครงการจะเกิดประโยชน์ยิ่ง
ส่วน “ข้อแตกต่าง” หรือ “ไม่เหมือนกัน” ระหว่างการสร้าง “อพาร์ทเม้นท์” และ “คอนโดมิเนียม” มีดังนี้
1. โฉนดที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคาร
การพัฒนาที่ดินในรูปแบบ “อพาร์ทเม้นท์” โฉนดที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกอบการ แต่โฉนดที่ดินของอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคาร เมื่อได้รับการจดทะเบียนอาคารชุด โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ “กรมที่ดิน” ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522โฉนดที่ดิน ทั้งสองฉบับจะถูกบันทึกและเก็บไว้ในสารบบของ “กรมที่ดิน” ตามระเบียบปฏิบัติของราชการ “กรมที่ดิน” ผู้ประกอบการไม่สามารถนำโฉนดที่ดินไป “แปะโป้งหรือจำนอง”ได้
แต่โฉนดที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้ง “อพาร์ทเม้นท์” ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต
2. การถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและอาคารที่ดิน
ผู้ประกอบการหรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีสิ่งปลูกสร้างประเภท “อพาร์ทเม้นท์” เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทั้งที่ดินและอาคารรวมถึงห้องพักภายในอาคารทั้งหมดโดยชอบตามกฎหมาย
แต่ “คอนโดมิเนียม” กลายเป็นเจ้าของห้องชุดแต่ละห้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคล ได้แก่ ห้องชุดและทรัพย์ส่วนกลาง อาทิ โถงทางเดิน ลานจอดรถยนต์ ลิฟท์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆร่วมกัน
กฎหมายบังคับว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลและทรัพย์ส่วนกลางจะแยกออกจากกันไม่ได้ เมื่อมีการฟ้องคดีทั้งทรัพย์ส่วนบุคคลและทรัพย์ส่วนกลาง จะติดตามพร้อมกันไปทุกครั้ง
ห้องชุดแต่ละห้อง จะปรากฏเป็น “โฉนดลอยฟ้า” หรือ “หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด”ให้ไว้กับผู้เป็นเจ้าของห้องชุดแต่ละราย
3. ห้องพักอพาร์ทเม้นท์ไม่สามารถทำนิติกรรมและสัญญาแต่ห้องชุดสามารถทำนิติกรรมและสัญญาได้
ห้องชุดในอาคารชุดสามารถใช้ประโยชน์ทางอื่นๆได้ อาทิ การซื้อ – ขาย การแลกเปลี่ยน การจำนอง การขายฝาก การให้ เป็นต้น แต่ห้องพัก “อพาร์ทเม้นท์” ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ให้กับเจ้าของโครงการได้ เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ
4. การขายกรรมสิทธิ์อาคารและห้องชุด
ผู้ประกอบการ “อพาร์ทเม้นท์” สามารถขายโครงการได้โดยยกโครงการทั้งหมด แต่อาคารชุดไม่สามารถขายยกโครงการทั้งหมดได้เมื่อขอจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ “กรมที่ดิน” ตามพ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ.2522
“อพาร์ทเม้นท์” สามารถให้บุคลใดๆเช่าพักอาศัยได้ เช่นเดียวกับ “อาคารชุด”
“อาคารชุด” สามารถขายกรรมสิทธิ์ให้บุคคลภายนอก และมีการจดทะเบียนต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน
5. ผู้อาศัยในอพาร์ทเม้นท์อยู่ภายใต้กฎระเบียบของเจ้าของอาคาร อาคารชุดอยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับและมิติของการประชุมเจ้าของร่วม
เจ้าของอาคาร “อพาร์ทเม้นท์” เป็นผู้กำหนดระเบียบการใช้ห้องพักภายในอพาร์ทเม้นท์ภายใต้กรอบของกฎหมาย แต่อาคารชุดและห้องชุด อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับและมติของการประชุมเจ้าของร่วม ตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
ข้อสุดท้ายซึ่งมีความแตกต่างหรือไม่เหมือนกันอีกข้อ ได้แก่ ภาระผูกพันในการบำรุงดูแลรักษาอพาร์ทเม้นท์ จะตกกับเจ้าของอาคารทั้งหมด แต่อาคารชุดหรือคอนโดมิเนียม ภาระผูกพันในการดูแลห้องชุดและทรัพย์ส่วนกลางจะตกกับเจ้าของห้องชุดและเจ้าของร่วมภายในอาคารชุดทั้งหมด
นายพิสิฐ ชูประสิทธิ์
นายกสมาคมนักบริหารอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรร
พรรคพวกผมได้แนะนำผมให้รู้จักกับเจ้าของที่ดิน ซึ่งมีพื้นเพและประกอบธุรกิจวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ในจังหวัดชลบุรี มากว่า 20 ปี ปัจจุบันมีที่ดินอยู่หลายแปลง หลายทำเลที่ยังไม่ได้ทำประโยชน์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
ที่ดินว่างเปล่ามีทั้งตั้งอยู่ในทำเลที่แตกต่างกันไป ที่ดินบางแปลงเหมาะทำหรือสร้างอพาร์ทเม้นท์หรือคอนโดมิเนียม เพราะพื้นที่มีจำกัดและอยู่ในแหล่งชุมชน ที่ดินบางแปลงที่มีอยู่ถึงแม้ว่าจะมีพื้นที่ค่อนข้างมาก แต่ไม่เหมาะพัฒนาหรือจัดสรร เนื่องจากความเจริญของชุมชนยังไปไม่ถึง
เรื่องที่ผมและเจ้าของที่ดินได้พูดคุยหารือร่วมกันเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำว่า ที่ดินแปลงซึ่งมีศักยภาพ อยู่ในแหล่งชุมชน มีความเจริญมากขึ้นในอนาคต ควรพัฒนาที่ดินในรูปแบบ “อพาร์ทเม้นท์ให้เช่า” หรือ “คอนโดมิเนียมเพื่อขายกรรมสิทธิ์”
รูปแบบใดจะเกิดประโยชน์มากน้อยแตกต่างกันอย่างไร?
หรือมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร?
ท่านผู้อ่านหลายท่านอาจมีที่ดินซึ่งมีความพร้อมตั้งอยู่ในทำเลที่ดี อาจอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าสมควรจะสร้างอพาร์ทเม้นท์ให้เช่าหรือคอนโดมิเนียม หรือฝากเงินไว้กับสถาบันการเงินหรือเล่นหุ้น หรือซื้อพันธบัตร หรือตราสารหนี้ ว่ารูปแบบใด จะสร้างประโยชน์และความคุ้มค่าให้กับตนเองมากที่สุด
“คำตอบ” ที่แตกต่างมีให้เห็นอยู่ไม่กี่ข้อ อาทิ
สร้างอพาร์ทเม้นท์ให้เช่า มีข้อดี ได้แก่ มีรายได้จากการให้เช่าในระยะยาว มีข้อเสีย ได้แก่ ความเสี่ยงของการนำเม็ดเงินมาลงทุนและต้องปรับปรุงห้องพักให้ดูดีอยู่เสมอ และจัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงรักษาสภาพอาคารและห้องพักมิให้ดูเสื่อมโทรม
สร้างคอนโดมิเนียม มีข้อดี ได้แก่ ได้กำไรเป็นเงินก้อนโต ไม่เป็นภาระดูแลบำรุงรักษาอาคารและห้องชุด ข้อเสียได้แก่ ความเสี่ยงของการลงทุนอาจไม่ประสบความสำเร็จจากการขายห้องชุด เป็นต้น
สำหรับการลงทุนในหุ้นกับตลาดหลักทรัพย์มีข้อดี ได้แก่ ไม่ต้องใช้งบลงทุนจำนวนมาก มี ข้อเสีย ได้แก่ ความผันผวนหรือการเปลี่ยนแปลงกรณีมีการปั่นหุ้นและมีข้อมูลข่าวสารที่ติดตามไม่ทันเหตุการณ์ ซึ่งแตกต่างกับการลงทุนในสถาบันการเงินหรือการซื้อพันธบัตรของรัฐบาล มีข้อดี ได้แก่ ไม่มีความเสี่ยง แต่มีข้อเสีย ได้แก่ อัตราผลตอบแทนต่ำไม่คุ้มค่ากับการลงทุนในระยะยาว
มีเหตุผลแตกต่างกันแล้วแต่ว่าใครจะชอบลงทุนในรูปแบบใด?
ถ้าคิดจะเลือกลงทุนเพื่อพัฒนาที่ดินในรูปแบบอพาร์ทเม้นท์ให้เช่า หรือการสร้างคอนโดมิเนียมเพื่อขายกรรมสิทธิ์ให้บุคคลภายนอก ผมมองว่าน่าจะเกิดประโยชน์ต่อเจ้าของที่ดินมากกว่าการลงทุนในรูปแบบอื่นๆ
เรื่องซึ่งเจ้าของที่ดินจะต้องดำเนินการทำการบ้าน“เหมือนกัน” ไม่ว่าจะพัฒนาที่ดินในรูปแบบ “อพาร์ทเม้นท์ให้เช่า” และ “คอนโดมิเนียมเพื่อขายกรรมสิทธิ์” ดังนี้
1. ศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาโครงการ
กรณีที่ดินที่จะพัฒนาขึ้นเป็น “อพาร์ทเม้นท์” หรือ “คอนโดมิเนียม” เจ้าของที่ดินจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาโครงการว่ารูปแบบใดจะสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและวิถีชีวิตการอยู่อาศัยภายในชุมชน
2. สำรวจและวิจัยด้านการตลาด
การสำรวจและวิจัยด้านการตลาดของการตลาดของการพัฒนาโครงการรูปแบบ “อพาร์ทเม้นท์ให้เช่า” และ “คอนโดมิเนียม” มีความจำเป็นต้องสำรวจและวิจัยด้านการตลาดว่ามีความต้องการได้ที่อยู่อาศัยประเภทเช่าหรือซื้อกรรมสิทธิ์มากกว่ากัน
ข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้เป็นรายละเอียดศึกษาเพื่อเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการ
3. การออกแบบ รายการคำนวณและการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารกับเจ้าพนักงานท้องถิ่น
การพัฒนาที่ดินไม่ว่าจะเป็น “อพาร์ทเม้นท์ให้เช่า” และ “คอนโดมิเนียม” เจ้าของที่ดินจำเป็นตัองว่าจ้างสถาปนิก วิศวกรทำการออกแบบอาคาร พร้อมรายการคำนวณตลอดจนยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคารกับเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กฎกระทรวงและเทศบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
4. จัดเตรียมงบประมาณการตลาดและการประชาสัมพันธ์ให้โครงการเป็นที่รู้จัก
เมื่อโครงการได้รับ “ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร” จากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียบร้อยแล้ว เจ้าของที่ดินหรือผู้ประกอบการโครงการจำเป็นต้องจัดเตรียมงบประมาณส่วนหนึ่ง เพื่อทำการตลาดและประชาสัมพันธ์โครงการ อาทิ โบรชัวร์ ใบราคาเช่า – ขาย ห้องพักและห้องชุด ป้ายโฆษณาหรือป้าย คัทเอาท์ การออกบูธประชาสัมพันธ์ ณ แหล่งชุมชนห้างสรรพสินค้า การจัดทำ “ม็อคอัพ” หรือ “ห้องตัวอย่าง” ให้ผู้สนใจได้ชม เป็นต้น
5. จัดทำและเสนอแผนธุรกิจเพื่อขออนุมัติสินเชื่อพัฒนาโครงการกับสถาบันการเงิน
งบประมาณการก่อสร้างอาคารประเภท “ อพาร์ทเม้นท์” และ “คอนโดมิเนียม” ผู้ประกอบการจำเป็นต้องอาศัยเงินกู้จากสถาบันการเงินมาใช้ในการพัฒนาโครงการ ผู้ประกอบการซึ่งจำเป็นต้องจัดทำแผนธุรกิจเสนอให้สถาบันการเงินพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ นอกจากแผนธุรกิจแล้ว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องจัดทำงบกระแสเงินสด (CASH FLOW) เสนอให้สถาบันการเงินพิจารณาประกอบพร้อมกันไปด้วย
6. จัดหา “ที่ปรึกษาโครงการ” ทั้งงานด้านก่อสร้าง งานบัญชี – การเงิน – ภาษี งานขายและ การตลาดและงานด้านกฎหมาย ให้คำแนะนำ
ผู้ประกอบการซึ่งขาดความชำนาญหรือยังไม่มีประสบการณ์เห็นควรให้ท่านพิจารณาจัดหา “ที่ปรึกษาโครงการ” ที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญในงานแต่ละด้านเข้ามารองรับเพื่อลดการสูญเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
อย่ามองว่างานไม่มีปัญหาและอุปสรรคและเสียดายงบประมาณการว่าจ้างที่ปรึกษาโครงการเข้ามารองรับในงานแต่ละประเภทที่เกี่ยวข้อง
งานบางประเภท ผู้ประกอบการอาจอาศัย “OUTSOURCE” ที่มีประสบการณ์ ความชำนาญเข้ามารองรับเพื่อลดความเสี่ยงในการพัฒนาโครงการจะเกิดประโยชน์ยิ่ง
ส่วน “ข้อแตกต่าง” หรือ “ไม่เหมือนกัน” ระหว่างการสร้าง “อพาร์ทเม้นท์” และ “คอนโดมิเนียม” มีดังนี้
1. โฉนดที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคาร
การพัฒนาที่ดินในรูปแบบ “อพาร์ทเม้นท์” โฉนดที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกอบการ แต่โฉนดที่ดินของอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคาร เมื่อได้รับการจดทะเบียนอาคารชุด โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ “กรมที่ดิน” ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522โฉนดที่ดิน ทั้งสองฉบับจะถูกบันทึกและเก็บไว้ในสารบบของ “กรมที่ดิน” ตามระเบียบปฏิบัติของราชการ “กรมที่ดิน” ผู้ประกอบการไม่สามารถนำโฉนดที่ดินไป “แปะโป้งหรือจำนอง”ได้
แต่โฉนดที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้ง “อพาร์ทเม้นท์” ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต
2. การถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและอาคารที่ดิน
ผู้ประกอบการหรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีสิ่งปลูกสร้างประเภท “อพาร์ทเม้นท์” เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทั้งที่ดินและอาคารรวมถึงห้องพักภายในอาคารทั้งหมดโดยชอบตามกฎหมาย
แต่ “คอนโดมิเนียม” กลายเป็นเจ้าของห้องชุดแต่ละห้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคล ได้แก่ ห้องชุดและทรัพย์ส่วนกลาง อาทิ โถงทางเดิน ลานจอดรถยนต์ ลิฟท์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆร่วมกัน
กฎหมายบังคับว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลและทรัพย์ส่วนกลางจะแยกออกจากกันไม่ได้ เมื่อมีการฟ้องคดีทั้งทรัพย์ส่วนบุคคลและทรัพย์ส่วนกลาง จะติดตามพร้อมกันไปทุกครั้ง
ห้องชุดแต่ละห้อง จะปรากฏเป็น “โฉนดลอยฟ้า” หรือ “หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด”ให้ไว้กับผู้เป็นเจ้าของห้องชุดแต่ละราย
3. ห้องพักอพาร์ทเม้นท์ไม่สามารถทำนิติกรรมและสัญญาแต่ห้องชุดสามารถทำนิติกรรมและสัญญาได้
ห้องชุดในอาคารชุดสามารถใช้ประโยชน์ทางอื่นๆได้ อาทิ การซื้อ – ขาย การแลกเปลี่ยน การจำนอง การขายฝาก การให้ เป็นต้น แต่ห้องพัก “อพาร์ทเม้นท์” ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ให้กับเจ้าของโครงการได้ เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ
4. การขายกรรมสิทธิ์อาคารและห้องชุด
ผู้ประกอบการ “อพาร์ทเม้นท์” สามารถขายโครงการได้โดยยกโครงการทั้งหมด แต่อาคารชุดไม่สามารถขายยกโครงการทั้งหมดได้เมื่อขอจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ “กรมที่ดิน” ตามพ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ.2522
“อพาร์ทเม้นท์” สามารถให้บุคลใดๆเช่าพักอาศัยได้ เช่นเดียวกับ “อาคารชุด”
“อาคารชุด” สามารถขายกรรมสิทธิ์ให้บุคคลภายนอก และมีการจดทะเบียนต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน
5. ผู้อาศัยในอพาร์ทเม้นท์อยู่ภายใต้กฎระเบียบของเจ้าของอาคาร อาคารชุดอยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับและมิติของการประชุมเจ้าของร่วม
เจ้าของอาคาร “อพาร์ทเม้นท์” เป็นผู้กำหนดระเบียบการใช้ห้องพักภายในอพาร์ทเม้นท์ภายใต้กรอบของกฎหมาย แต่อาคารชุดและห้องชุด อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับและมติของการประชุมเจ้าของร่วม ตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
ข้อสุดท้ายซึ่งมีความแตกต่างหรือไม่เหมือนกันอีกข้อ ได้แก่ ภาระผูกพันในการบำรุงดูแลรักษาอพาร์ทเม้นท์ จะตกกับเจ้าของอาคารทั้งหมด แต่อาคารชุดหรือคอนโดมิเนียม ภาระผูกพันในการดูแลห้องชุดและทรัพย์ส่วนกลางจะตกกับเจ้าของห้องชุดและเจ้าของร่วมภายในอาคารชุดทั้งหมด
นายพิสิฐ ชูประสิทธิ์
นายกสมาคมนักบริหารอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรร
สร้างบ้านไม้
หากใครคิดที่จะสร้างบ้านไม้ควรมาศึกษาเรื่องไม้ต่างๆ
1. ประเภทไม้
1.1 ไม้เนื้อแข็ง
ไม้เนื้อแข็งจากป่าที่นิยมมากๆ คือ ไม้มะค่าดีๆ ต้องมาจากเขมร จากลาวก็พอได้ ไม้เนื้อแข็งที่พอได้ก็มี เต็งลาว ประดู่ ตะแบก เต็งจะหาง่ายหน่อยดูที่เนื้อแน่นๆ ประดู่ก็มีลายไม้สวย ไม้เนื้อแข็งจากสวน ไม่ยุ่งยาก ก็มีไม้สะเดาทนแดดทนฝนได้ ตอนเป็นต้นด้วงชอบทำลายแต่พอตัดออกมาใช้งาน ปลวกไม่กิน ไม้สะเดาไสแล้วเนื้อนวลบางสวยเอามาทำตง คาน พื้นกระดาน ได้ดี หาต้นใหญ่ๆ หน่อยอีกอย่างไม้มะขามเทศที่ต้นใหญ่พอถูกแดดไปนานๆ จะมีสีแดงสวย เนื้อแน่นไสแล้วนวลดี น่าเอาไปทำบันได ลูกขั้นแบบหนาๆ เรียกแบบเท่ห์ก็เป็นไม้กวางแดงลาว
ไม้มะขามเปรี้ยว เหมาะสำหรับทำเขียง เนื้อไม้แข็งเหนียว ลองเอามาทำกระดานดูปรากฎว่าชอบบิ้งเบี้ยวโตมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 นิ้ว
1.2 ไม้เนื้อปานกลาง
พวกยางนา หากเป็นไม้ใหญ่นานๆ อายุเป็นร้อยปีหากอายุอ่อนจะอ่อน
ไม้เลีอน หรือไม้มะเลี้ยน จากป่าแถวสีคิ้ว เนื้อไม้เนียนสวยเหมือนกัน ลายดี
ไม้กระถิ่นยักษ์ ขนาดโตๆ มาเลื่อยเป็นกระดานได้ลวดลายดี มาจากป่าเขาใหญ่
ไม้กระถิ่นณรงค์เป็นไม้ที่เลื่อยออกมาสวยเหมือนไม้สัก หากอายุเกิน 20 ปี ลำต้นมักจะกลวงต้องรีบตัดมาใช้งาน
1.3 ไม้เนื้ออ่อน
พวกไม้สักจะอ่อน อะไรตกใส่ก็จะยุบ แต่สักโบราณก็เป็นไม้แข็งเหมือนกัน
พวกไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ เช่นพวกไม้ยางพาราซึ่งเบาและอ่อน สีขาว เนื้อนวล ส่งออกต่างประเทศดี ญี่ปุ่นชอบไม้ยางพารามาก
พวกไม้สวนผลไม้ที่เอามาทำประตู วงกบ และไม้เส้นตกแต่งร้านก็มี ไม้มะม่วง ลวดลายสวยเหมือนไม้สัก เอาไปกลับทำแจกัน หรือแกะสลักได้ ไม้ขนุนหากแก่ๆ จะมีสีเหลือง
พวกไม้ก้ามปูหรือจามจุรี จะมีขนาดโตหากเป็นแกนที่เป็นสีแดงจะแข็ง หากเป็นส่วนกระพี้หรือเปลือกก็จะอ่อนเหมาะสำหรับทำพาเลสหรือไม้ลัง
ไม้สยาเป็นไม้อ่อนที่มีมากแถบมาเลเซียเนื้อไม้ทำวงกบ ทำประตู หน้าต่าง
2. การหาไม้
ต้องไปหาแถบๆ ประเทศลาว กัมพูชา หรือพม่าไปซื้อเป็นต้นๆ ก็ได้ หรือไปหาซื้อไม้ท่อน หรือไม้แปรรูปที่ถูกยึดมา
การหาไม้เก่าจากบ้านเก่า ก็อาจหาได้จากการซื้อเป็นหลังๆ แถวบุรีรัมย์ โนนดินแดง นางรอง แถวๆ สีคิ้ว ลำปาง แต่ละแห่งเป็นไม้ไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นแถวๆ บุรีรัมย์ก็มักเป็น ไม้เต็งรัง ไม้มะค่า ไม้ตะเคียนหิน หากเป็นแถบภาคเหนือก็จะเป็นพวกไม้สัก ไม้เต็งรัง
การหาไม้เก่าจากร้านขายไม้เก่า ที่เขาไปประมูลซื้อแล้วก็ซื้อมาขายเป็นชิ้นๆ รอให้นักสร้างบ้านไม้ พวกทำรีสอต จะมาซื้อมาหา ร้านขายไม้เก่าก็มีแถวๆ อ.ภาชี และ อ.นครหลวง จ.อยุธยา แถวๆ จ.สระบุรี ก็มีแถวๆ บัวลอย อ.หนองแค และแถวถนนบายพาสไปโคราช แถวๆ จ.นครนายกก็มีแถวคลองรังสิต มีอยู่หลายเจ้าเหมือนกัน
การหาไม้อาจใช้วิธีไปซื้อต้นไม้เป็นต้นๆ ต้นละประมาณ 1,000-1,200 บาท เช่นไม้สะเดา จ้างคนไปตัดเป็นท่อนๆละ 2.5-4.0 เมตร ค่าจ้างประมาณ 700 บาท/ตัน ขึ้นรถบรรทุกมาที่โรงเลื่อย
3. การเลื่อยไม้
ไม้เป็นท่อนๆ ก็จะบรรทุกลงมาที่จุดแปรงรูปไม้อุปกรณ์แบบง่ายๆ ก็ประกอบด้วยโต๊ะเลื่อยไม้ขนาดวงเดือน 36 นิ้ว ต่อแบริ่ง ด้านเดียวต่อมาก็เป็นปุลเล่ย์ แล้วก็สายพานตัววีไปยังเครื่องต้นกำลังที่เป็นมอเตอร์หรือเครื่องยนต์
ครั้งแรก จะเอาท่อนไม้ใส่ตัวรับเพื่อให้ลุนท่อนไม้ไปตามลูกกลิ้ง เลื่อยเอาเปลือกออกด้านแรก พอสุดก็ดันท่อนไม้กลับ เอาไม้รองออกจากนั้นก็พื้นเรียบๆ วาง แล้วดันตัดเปลือกอีก พอสุดก็ดันกลับ จากนั้นก็ดันด้านที่สาม ซึ่งจะทำแนวรับเพื่อให้ขนาดไม้หนาเท่ากัน พวกครบ 3 ด้าน ก็มาดันไม้ เพื่อเลื่อยตามขนาดที่ต้องการ โดยเล็งกับแนวที่มาร์คไว้ที่แท่นเลื่อย จนหมดจึงหยุด
ปีกไม้ก็เอามากองๆ ไป หากเป็นไม้ไม่ดีก็เอาไปทำฟืน หากเป็นปีกไม้สักก็จะเอาไปขายได้ทำผนังก็ดี ขี้เลื้อยก็ใส่รถบรรทุก 6 ล้อ ไปขายเที่ยวละ 1,500 บาท
4. เอาไม้ไปอบ
เพื่อให้เนื้อไม้มีความชื้นลดลงเหลือประมาณ 12 - 17% การอบจะค่อยเป็นค่อยไป ต้มหม้อไอน้ำด้วยฟืน เดินท่อมาแล้ว เอาขดลวดท่อน้ำร้อนมาใส่ในโรงอบไม้ ช่วงแรกๆ จะพ่นไอน้ำแล้วใช้พัดลมเป่ากวนให้ทั่วถึง เพื่อป้องกันไม้หดตัวแล้วแตก หลังจากนั้นก็ไม่ต้องพ่นไอน้ำหลังจากความชื้นพื้นผิวไม้ลดลงใกล้เคียงเนื้อในอบประมาณ 10-14 วัน
หากเป็นไม้เนื้อแข็งจะหดน้อย ไม้เนื้ออ่อนก็จะเขาขึ้นมาก
การเรียงไม้ในเตาอบก็ให้โปร่งๆ ลมวิ่งสะดวก ทั่วถึง
5. ไม้หลังอบ
ควรเก็บไม้หลังอบให้ดีๆ มิเช่นนั้นจะบิดงอ ขนาดไม้เต็งแข็งขนาด 2X10 นิ้ว ยาว 5 เมตร ยังบิดงอโค้งได้
6. บทส่งท้าย
ความรู้เรื่องไม้ เพื่อที่จะเลือกชนิดไม้ให้สอดคล้องกับจุดติดตั้งว่าเป็นฝาผนังภายนอกหรือภายในจะตีฝ้าหรือพื้นหรือเอาไปทำเสา เสานั้นจะกลมหรือเป็นเหลี่ยม จะทำบันไดแบบในร่มหรือแบบทนแดดทนฟ้า ไม้เชิงชายปิดปลายหลังคาควรจะเป็นไม้เนื้อแข็ง เพราะต้องทนแดดและทนน้ำฝน
ความรู้เรื่องไม้ อาจหาวิธีการทำให้ใช้ไม้ต้นทุนถูกก็ได้ตลอดจนบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องเอาไปเอาไม้ป่ามาทำก็ได้ ไม้ไร่ไม้สวนไม้ปลูกมาทำก็ได้
ภาคคำนวน
ส่วนใหญ่ไม้จะขายเป็น ลบ.ฟุต แต่ผู้ใช้มักจะต้องคิดเป็นตารางเมตรตามแบบแปลนบ้าน
1 ลบ.ฟุต = 0.3048x0.3048x0.3048 ลบ.ม.
1 ลบ.ม. = 0.0283168 ลบ.ม.
1 ลบ.ม. = 1/0.283168 = 35.3147
หรือประมาณ 35 ลบ.ฟุต./ลบ.ม. *
ไม้หนา 1 นิ้ว ทำไม้กระดานพื้น 1 ลบ.ฟุต ทำได้ 12 แผ่น
1 แผ่น 0.348x0.3048 = 0.092903 ต.ร.ม
12 แผ่น 0.092903x12 = 1.1148 ต.ร.ม
หรือ ประมาณ 1 ลบ.ฟ/ตารางเมตร (ไม้หนา 1 นิ้ว)
ที่มา http://www.budmgt.com
1. ประเภทไม้
1.1 ไม้เนื้อแข็ง
ไม้เนื้อแข็งจากป่าที่นิยมมากๆ คือ ไม้มะค่าดีๆ ต้องมาจากเขมร จากลาวก็พอได้ ไม้เนื้อแข็งที่พอได้ก็มี เต็งลาว ประดู่ ตะแบก เต็งจะหาง่ายหน่อยดูที่เนื้อแน่นๆ ประดู่ก็มีลายไม้สวย ไม้เนื้อแข็งจากสวน ไม่ยุ่งยาก ก็มีไม้สะเดาทนแดดทนฝนได้ ตอนเป็นต้นด้วงชอบทำลายแต่พอตัดออกมาใช้งาน ปลวกไม่กิน ไม้สะเดาไสแล้วเนื้อนวลบางสวยเอามาทำตง คาน พื้นกระดาน ได้ดี หาต้นใหญ่ๆ หน่อยอีกอย่างไม้มะขามเทศที่ต้นใหญ่พอถูกแดดไปนานๆ จะมีสีแดงสวย เนื้อแน่นไสแล้วนวลดี น่าเอาไปทำบันได ลูกขั้นแบบหนาๆ เรียกแบบเท่ห์ก็เป็นไม้กวางแดงลาว
ไม้มะขามเปรี้ยว เหมาะสำหรับทำเขียง เนื้อไม้แข็งเหนียว ลองเอามาทำกระดานดูปรากฎว่าชอบบิ้งเบี้ยวโตมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 นิ้ว
1.2 ไม้เนื้อปานกลาง
พวกยางนา หากเป็นไม้ใหญ่นานๆ อายุเป็นร้อยปีหากอายุอ่อนจะอ่อน
ไม้เลีอน หรือไม้มะเลี้ยน จากป่าแถวสีคิ้ว เนื้อไม้เนียนสวยเหมือนกัน ลายดี
ไม้กระถิ่นยักษ์ ขนาดโตๆ มาเลื่อยเป็นกระดานได้ลวดลายดี มาจากป่าเขาใหญ่
ไม้กระถิ่นณรงค์เป็นไม้ที่เลื่อยออกมาสวยเหมือนไม้สัก หากอายุเกิน 20 ปี ลำต้นมักจะกลวงต้องรีบตัดมาใช้งาน
1.3 ไม้เนื้ออ่อน
พวกไม้สักจะอ่อน อะไรตกใส่ก็จะยุบ แต่สักโบราณก็เป็นไม้แข็งเหมือนกัน
พวกไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ เช่นพวกไม้ยางพาราซึ่งเบาและอ่อน สีขาว เนื้อนวล ส่งออกต่างประเทศดี ญี่ปุ่นชอบไม้ยางพารามาก
พวกไม้สวนผลไม้ที่เอามาทำประตู วงกบ และไม้เส้นตกแต่งร้านก็มี ไม้มะม่วง ลวดลายสวยเหมือนไม้สัก เอาไปกลับทำแจกัน หรือแกะสลักได้ ไม้ขนุนหากแก่ๆ จะมีสีเหลือง
พวกไม้ก้ามปูหรือจามจุรี จะมีขนาดโตหากเป็นแกนที่เป็นสีแดงจะแข็ง หากเป็นส่วนกระพี้หรือเปลือกก็จะอ่อนเหมาะสำหรับทำพาเลสหรือไม้ลัง
ไม้สยาเป็นไม้อ่อนที่มีมากแถบมาเลเซียเนื้อไม้ทำวงกบ ทำประตู หน้าต่าง
2. การหาไม้
ต้องไปหาแถบๆ ประเทศลาว กัมพูชา หรือพม่าไปซื้อเป็นต้นๆ ก็ได้ หรือไปหาซื้อไม้ท่อน หรือไม้แปรรูปที่ถูกยึดมา
การหาไม้เก่าจากบ้านเก่า ก็อาจหาได้จากการซื้อเป็นหลังๆ แถวบุรีรัมย์ โนนดินแดง นางรอง แถวๆ สีคิ้ว ลำปาง แต่ละแห่งเป็นไม้ไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นแถวๆ บุรีรัมย์ก็มักเป็น ไม้เต็งรัง ไม้มะค่า ไม้ตะเคียนหิน หากเป็นแถบภาคเหนือก็จะเป็นพวกไม้สัก ไม้เต็งรัง
การหาไม้เก่าจากร้านขายไม้เก่า ที่เขาไปประมูลซื้อแล้วก็ซื้อมาขายเป็นชิ้นๆ รอให้นักสร้างบ้านไม้ พวกทำรีสอต จะมาซื้อมาหา ร้านขายไม้เก่าก็มีแถวๆ อ.ภาชี และ อ.นครหลวง จ.อยุธยา แถวๆ จ.สระบุรี ก็มีแถวๆ บัวลอย อ.หนองแค และแถวถนนบายพาสไปโคราช แถวๆ จ.นครนายกก็มีแถวคลองรังสิต มีอยู่หลายเจ้าเหมือนกัน
การหาไม้อาจใช้วิธีไปซื้อต้นไม้เป็นต้นๆ ต้นละประมาณ 1,000-1,200 บาท เช่นไม้สะเดา จ้างคนไปตัดเป็นท่อนๆละ 2.5-4.0 เมตร ค่าจ้างประมาณ 700 บาท/ตัน ขึ้นรถบรรทุกมาที่โรงเลื่อย
3. การเลื่อยไม้
ไม้เป็นท่อนๆ ก็จะบรรทุกลงมาที่จุดแปรงรูปไม้อุปกรณ์แบบง่ายๆ ก็ประกอบด้วยโต๊ะเลื่อยไม้ขนาดวงเดือน 36 นิ้ว ต่อแบริ่ง ด้านเดียวต่อมาก็เป็นปุลเล่ย์ แล้วก็สายพานตัววีไปยังเครื่องต้นกำลังที่เป็นมอเตอร์หรือเครื่องยนต์
ครั้งแรก จะเอาท่อนไม้ใส่ตัวรับเพื่อให้ลุนท่อนไม้ไปตามลูกกลิ้ง เลื่อยเอาเปลือกออกด้านแรก พอสุดก็ดันท่อนไม้กลับ เอาไม้รองออกจากนั้นก็พื้นเรียบๆ วาง แล้วดันตัดเปลือกอีก พอสุดก็ดันกลับ จากนั้นก็ดันด้านที่สาม ซึ่งจะทำแนวรับเพื่อให้ขนาดไม้หนาเท่ากัน พวกครบ 3 ด้าน ก็มาดันไม้ เพื่อเลื่อยตามขนาดที่ต้องการ โดยเล็งกับแนวที่มาร์คไว้ที่แท่นเลื่อย จนหมดจึงหยุด
ปีกไม้ก็เอามากองๆ ไป หากเป็นไม้ไม่ดีก็เอาไปทำฟืน หากเป็นปีกไม้สักก็จะเอาไปขายได้ทำผนังก็ดี ขี้เลื้อยก็ใส่รถบรรทุก 6 ล้อ ไปขายเที่ยวละ 1,500 บาท
4. เอาไม้ไปอบ
เพื่อให้เนื้อไม้มีความชื้นลดลงเหลือประมาณ 12 - 17% การอบจะค่อยเป็นค่อยไป ต้มหม้อไอน้ำด้วยฟืน เดินท่อมาแล้ว เอาขดลวดท่อน้ำร้อนมาใส่ในโรงอบไม้ ช่วงแรกๆ จะพ่นไอน้ำแล้วใช้พัดลมเป่ากวนให้ทั่วถึง เพื่อป้องกันไม้หดตัวแล้วแตก หลังจากนั้นก็ไม่ต้องพ่นไอน้ำหลังจากความชื้นพื้นผิวไม้ลดลงใกล้เคียงเนื้อในอบประมาณ 10-14 วัน
หากเป็นไม้เนื้อแข็งจะหดน้อย ไม้เนื้ออ่อนก็จะเขาขึ้นมาก
การเรียงไม้ในเตาอบก็ให้โปร่งๆ ลมวิ่งสะดวก ทั่วถึง
5. ไม้หลังอบ
ควรเก็บไม้หลังอบให้ดีๆ มิเช่นนั้นจะบิดงอ ขนาดไม้เต็งแข็งขนาด 2X10 นิ้ว ยาว 5 เมตร ยังบิดงอโค้งได้
6. บทส่งท้าย
ความรู้เรื่องไม้ เพื่อที่จะเลือกชนิดไม้ให้สอดคล้องกับจุดติดตั้งว่าเป็นฝาผนังภายนอกหรือภายในจะตีฝ้าหรือพื้นหรือเอาไปทำเสา เสานั้นจะกลมหรือเป็นเหลี่ยม จะทำบันไดแบบในร่มหรือแบบทนแดดทนฟ้า ไม้เชิงชายปิดปลายหลังคาควรจะเป็นไม้เนื้อแข็ง เพราะต้องทนแดดและทนน้ำฝน
ความรู้เรื่องไม้ อาจหาวิธีการทำให้ใช้ไม้ต้นทุนถูกก็ได้ตลอดจนบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องเอาไปเอาไม้ป่ามาทำก็ได้ ไม้ไร่ไม้สวนไม้ปลูกมาทำก็ได้
ภาคคำนวน
ส่วนใหญ่ไม้จะขายเป็น ลบ.ฟุต แต่ผู้ใช้มักจะต้องคิดเป็นตารางเมตรตามแบบแปลนบ้าน
1 ลบ.ฟุต = 0.3048x0.3048x0.3048 ลบ.ม.
1 ลบ.ม. = 0.0283168 ลบ.ม.
1 ลบ.ม. = 1/0.283168 = 35.3147
หรือประมาณ 35 ลบ.ฟุต./ลบ.ม. *
ไม้หนา 1 นิ้ว ทำไม้กระดานพื้น 1 ลบ.ฟุต ทำได้ 12 แผ่น
1 แผ่น 0.348x0.3048 = 0.092903 ต.ร.ม
12 แผ่น 0.092903x12 = 1.1148 ต.ร.ม
หรือ ประมาณ 1 ลบ.ฟ/ตารางเมตร (ไม้หนา 1 นิ้ว)
ที่มา http://www.budmgt.com