สมาคมสาธารณสุขอเมริกัน (American Public Health Administration) ได้กำหนดมาตรฐานความต้องการในเรื่องบ้านพักอาศัย ดังนี้คือ
•บ้านพักอาศัยจะต้องมีลักษณะเป็นไปตามความต้องการทางด้านร่างกายของผู้อยู่-อาศัย (Fundamental Physiological Needs)
•บ้านพักอาศัยจะต้องเป็นไปตามความต้องการทางด้านจิตใจของผู้อยู่อาศัย (Fundamental Psychological Needs)
•ต้องป้องกันโรคติดต่อภายในบ้าน (Provision against Communicable Diseases)
•สามารถป้องกันอุบัติเหตุภายในบ้าน (Provision against Accidents)
1. ความต้องการพื้นฐานทางด้านร่างกาย (Fundamental Physiological Needs)
หมายถึง การจัดสิ่งแวดล้อมของที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมสนองความต้องการทางร่างกาย แก่ผู้อยู่อาศัยได้ เช่น การจัดระบบระบายอากาศให้เหมาะสม มีแสงสว่างเพียงพอ เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้อยู่อาศัยที่จะต้องพิจารณาจัดให้ถูกต้องด้วย ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่
1.1 อุณหภูมิและความชื้น (Temperature and Humidity)
อุณหภูมิและความชื้นมีส่วนทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกสบาย หากมีอากาศร้อนและความชื้นสูงจะทำให้รู้สึกเฉื่อยชา (sluggish) แต่ถ้าหากมีอากาศเย็นหรือแห้งและความชื้นต่ำ มักจะมีความกระตือรือร้น อย่างไรก็ตาม มนุษย์แต่ละพื้นที่จะมีความรู้สึกสบายต่ออุณหภูมิและความชื้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ เช่น ความไวต่อความรู้สึก (sensation) สุขภาพอนามัย (health) เพศ (sex) กิจกรรมที่กำลังกระทำ (activities) เครื่องแต่งกาย และอายุของผู้อยู่อาศัย เป็นต้น ในประเทศไทย อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับคนไทยมีการเสนอแนะว่า ควรอยู่ในช่วง 26.5-29 องศาเซลเซียส ความเร็วลม 1 ฟุตต่อวินาที ที่ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 เปอร์เซ็นต์ และที่อุณหภูมิเบี่ยงเบน 3-6 องศาเซลเซียส
1.2 การระบายอากาศ (Ventilation)
การระบายอากาศที่ดี เป็นการช่วยให้บ้านพักอาศัยปราศจากมลพิษทางอากาศภายในบ้านพักอาศัย (Indoor Air Pollution) เป็นการลดอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังและเยื่อบุอักเสบต่าง ๆ (chronic respiratory diseases and malignancies) สารมลพิษต่างๆ ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการสันดาปเชื้อเพลิงที่เกิดจากการหุงต้มภายในบ้าน เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สารประกอบอินทรีย์ ควันบุหรี่ เป็นต้น
• การระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ (Natural Ventilation) เป็นการออกแบบและสร้างส่วนต่างๆภายในบ้าน ให้มีการระบายอากาศเป็นไปโดยธรรมชาติ เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องครัว ห้องน้ำ ห้องส้วม เป็นต้น การเคหะแห่งชาติได้กำหนดมาตรฐานส่วนต่างๆ ภายในที่อยู่อาศัย เพื่อการระบายอากาศที่เหมาะสม ดังนี้
ก. การระบายอากาศของพื้นที่อยู่อาศัย
• ความสูงจากพื้นถึงเพดานของพื้นที่ใช้อยู่อาศัย ต้องไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร
• ปริมาตรพื้นที่อยู่อาศัยต้องไม่น้อยกว่า 10 ลูกบาศก์เมตรต่อคน โดยนับรวมห้องที่อยู่อาศัยทั้งหมดของบ้าน
• พื้นที่ของประตู หน้าต่าง ช่องระบายลม รวมกันจะต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 ของพื้นที่ห้องนั้น ๆ
ข. การระบายอากาศของพื้นที่ที่ไม่ใช้อยู่อาศัย
• การระบายอากาศใต้ถุน อาคารที่มีพื้นที่ชั้นล่างลอยพ้นจากระดับดิน ซึ่งบางส่วน หรือทั้งหมดของโครงสร้างนั้นเป็นไม้จะต้องมีช่องระบายอากาศอย่างน้อย ร้อยละ 10 ของเนื้อที่ใต้ถุนทั้งหมด
• การระบายอากาศห้องหลังคา และเนื้อที่เหนือเพดาน ต้องจัดให้มีทางลมผ่านตลอด มีขนาดเท่ากับร้อยละ 5 ของพื้นที่เพดาน ในกรณีที่ใช้ห้องหลังคาเป็นที่อยู่อาศัย จะต้องจัดให้มีการระบายอากาศ เช่นเดียวกับการระบายอากาศของพื้นที่อยู่อาศัย
• การระบายอากาศโดยอาศัยเครื่องมือกล (Mechanical Ventilation)ได้แก่ การระบายอากาศโดยการติดตั้งพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ เพื่อช่วยปรับระดับของอุณหภูมิและเกิดการถ่ายเทอากาศภายในห้อง หรืออาคารที่อยู่อาศัยตามความเหมาะสมที่ต้องการ โดยปกติแล้วไม่ควรน้อยกว่า 15 ลูกบาศก์ฟุตต่อคนต่อนาที ถ้า 25 ลูกบาศก์ฟุตต่อคนต่อนาที จะช่วยระบายกลิ่นได้ด้วย แต่ไม่ควรเกิน 50 ลูกบาศก์ฟุตต่อคนต่อนาที เพราะจะทำให้รู้สึกไม่สบาย สำหรับ เครื่องปรับอากาศ ควรมีอุณหภูมิ ระหว่าง 24–29 องศาเซลเซียส
1.3 แสงสว่าง (Lighting)
แสงสว่างในที่อยู่อาศัย ควรจะต้องจัดให้มีพอเพียงตามความต้องการของผู้อยู่ อาศัย สำหรับประกอบกิจกรรมต่างๆ ภายในบ้านได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้สายตา โดยปกติ ควรจัดให้มีพื้นที่ประตู หน้าต่าง และช่องลม รวมกันแล้ว ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 ของพื้นที่ห้อง เพื่อให้สามารถเปิดให้แสงสว่างจากภายนอกส่องเข้ามาข้างในได้ มีสภาพแสงที่เหมาะสมต่อการทำกิจกรรม บางแห่งของที่อยู่อาศัย มีเพียงแหล่งแสงสว่างจากภายนอกเท่านั้นก็เพียงพอ แต่ในบางแห่ง จำเป็นต้องมีแหล่งแสงจากหลอดไฟประดิษฐ์เพิ่มเติมในบางจุด เพื่อให้มีความเข้มของการส่องสว่างเพียงพอตามลักษณะงานที่ทำ รวมถึงการที่ต้องเปิดหลอดไฟประดิษฐ์ในตอนกลางคืนด้วย
กรณีที่ต้องใช้หลอดไฟประดิษฐ์นั้น มีข้อควรคำนึงอยู่หลายประการ ดังนี้คือ
- ห้ามใช้แสงจ้าหรือแสงมืดสลัว เพราะจะมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบประสาทตา กล้ามเนื้อที่ยึดเลนส์นัยน์ตาจะทำงานผิดปกติ ทำให้อวัยวะที่เกี่ยวกับตา และประสาทตาเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ แสงจ้าจะทำให้ตาพร่ามัว รู้สึกแสบตา ส่วนแสงสลัว จะทำให้ต้องเพ่งสายตามากขึ้น อาจทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า และมองเห็นไม่ชัด อาจเกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย
- ห้ามใช้แสงกระพริบ เพราะจะทำให้เกิดการกระตุ้นประสาทตาให้เป็นไปตามจังหวะของการกระพริบของแสงนั้น สายตาและประสาทตาจะเสื่อมเสียเร็วกว่าปกติ
- พยายามจัดให้มีความสว่างกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอทั่วทุกพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเงาหรือให้มีน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุได้เป็นอย่างดี และยังก่อให้เกิดความสะดวกสบายต่อการอยู่อาศัยและการทำงานด้วย
การจัดแสงสว่างในที่อยู่อาศัย สามารถจัดได้ 2 ลักษณะคือ
• โดยใช้แสงสว่างจากธรรมชาติ (Natural lighting)
• โดยใช้ดวงไฟ (Artificial lighting)
1. การจัดแสงสว่าง โดยใช้แหล่งของแสงจากธรรมชาติ (Natural lighting)
แหล่งของแสงสว่างจากธรรมชาติคือแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ซึ่งจะอาศัยได้เฉพาะเวลากลางวันเท่านั้น โดยไม่ต้องลงทุน เพียงแต่จะต้องจัดให้มีช่องเปิดรับแสงที่เพียงพอ สมควรได้รับการพิจารณาเป็นอันดับแรก ในการจัดแสงเข้าสู่ภายในตัวอาคารที่อยู่อาศัย แต่มีเกณฑ์ที่ควรคำนึงถึง ดังนี้คือ
• ให้มีพื้นที่ของหน้าต่างต่อพื้นที่ของตัวอาคารอยู่ในสัดส่วน 1 ต่อ 4
• เพื่อให้การกระจายของแสงสว่างเป็นไปด้วยดี ควรให้ระดับขอบล่างของหน้าต่างอยู่สูงกว่าระดับของพื้นห้อง ประมาณครึ่งกลางของความสูงของห้อง และควรให้ระดับขอบบนของหน้าต่างอยู่ชิดกับขอบของเพดานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
• เพดานของห้องครัว ควรจะมีสีขาวหรือสีอ่อนๆ เพื่อให้สามารถสะท้อนแสงได้มากขึ้น พื้น และฝาผนังห้องควรมีการเคลือบเงาบางๆ เพื่อลดความแตกต่างหรือความตัดกันระหว่างหน้าต่างและสีขาวของพื้นห้อง
2. แสงสว่างที่ประดิษฐ์หรือสร้างขึ้น (Artificial lighting)
แสงสว่างที่ได้ อาจมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น ไม้ น้ำมัน ไข เทียนไข ไต้หรือก๊าซ เป็นต้น หรือแสงสว่างที่ได้จากกระแสไฟฟ้าผ่านทางหลอดไฟที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาได้แก่ ตะเกียงหลอดไฟฟ้า โคมไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งการจัดสภาพแสงมีองค์ประกอบที่ต้องพิจารณา ได้แก่
• ลักษณะของงาน งานแต่ละอย่าง อาจต้องการปริมาณและคุณภาพของแสงไม่เท่ากัน ควรจัดให้เพียงพอสำหรับการมองเห็นที่ดี ไม่ให้จ้าหรือสลัวมากเกินไป ทิศทางของแสงอาจเป็นลำแสงส่องมาทางใดทางหนึ่งเฉพาะ หรือเลือกเป็นแบบที่กระจายมาจากหลายทิศทาง ขึ้นกับความต้องการของผู้ที่จะใช้แสงปฏิบัติงาน
• บริเวณที่ต้องทำงาน มีข้อควรพิจารณา ดังนี้
• บริเวณที่ต้องทำงานมีขนาดเนื้อที่เท่าใด พื้น ผนัง เพดานของบริเวณ นั้นทำด้วยวัสดุอะไร ทาสีอะไร และสะท้อนแสงได้ดีเพียงใด เพื่อนำไปประกอบการคำนวณปริมาณของดวงไฟที่ต้องใช้เพื่อให้ได้ปริมาณแสงสว่างที่เพียงพอ
• แสงสว่างที่สะท้อนจากผนัง เพดาน และพื้นของบริเวณที่ทำงาน ควรให้เหมาะสมต่อการมอง อย่าให้เกิดความแตกต่างของแสงสว่าง (contrast) มากเกินไป เพราะจะทำให้ต้องปรับสายตาอยู่เสมอ อาจเกิดความไม่สบายตาและเป็นอุปสรรคต่อการมองเห็น
• ลักษณะพื้นผิวหน้าของวัตถุต่างๆ ซึ่งอยู่ในบริเวณที่ทำงาน เช่น ผนัง เพดาน และพื้นห้อง เอื้ออำนวยที่จะทำให้เกิดแสงมากเกินต้องการจากการสะท้อนแสงจากดวงไฟหรือไม่
• ควรจัดแสงด้วยแบบที่ให้แสงสว่างกับบริเวณโดยทั่วไปเท่าเทียมกัน (General Lighting) หรือแบบที่ต้องให้มีแสงสว่างเสริมเฉพาะจุดที่ต้องการ (Supplementary Lighting)
• การเลือกโคมไฟ มีข้อควรพิจารณาหลายประการได้แก่ จะเลือกโคมไฟที่ให้แสงประเภทใด เช่น ส่องตรงๆ โดยผ่านโป๊ะไฟที่เป็นกระจกใสหรือให้แสงที่กระจายโดยผ่านโป๊ะไฟที่เป็นกระจกฝ้า การเลือกจัดระบบให้แสงสว่างให้สอดรับกับลักษณะของผนังเพดานและพื้น รวมทั้งความเหมาะสมในแง่เศรษฐกิจของระบบแสงสว่างจากโคมไฟแต่ละชนิด เป็นต้น
• การวางผังติดตั้งโคมไฟ การติดตั้งโคมไฟ จะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ได้ผล ตามต้องการมากที่สุด ให้เพียงพอต่อการส่องสว่างบนชิ้นงานหรือสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป นอกจากนี้ จะต้องทำให้รู้สึกสบายตาและสบายใจของผู้ทำงานในบริเวณนี้ด้วย
• การบำรุงรักษา หลอดไฟที่นำมาใช้งาน แต่ละชนิดจะมีอายุการใช้งานของตนเอง แผนเกี่ยวกับการบำรุงรักษาระบบแสงสว่างจึงมีความจำเป็น เพื่อการเปลี่ยนหลอดไฟที่หมดอายุตามกำหนดหรือเปลี่ยนหลอดไฟที่ชำรุด หรือหากโคมไฟสกปรก เนื่องจากมีฝุ่นละอองหรือเขม่าควันไปจับ จนทำให้ปริมาณการส่องสว่างลดลง จำเป็นจะต้องทำการเช็ดล้างให้สะอาด เพื่อให้ความสว่างกลับมาดีเท่าเดิม ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดความสบายตาในการมองเห็น
นอกจากองค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ความสว่างที่เกิดขึ้นภายในที่อยู่อาศัย ยังได้รับแสงสะท้อน (Reflex light) จากภายในอาคารเองด้วย โดยเป็นความสว่างที่สะท้อนจากฝาผนัง พื้น เพดาน และสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสีของพื้นผิวนั้น ดังนั้น การเลือกใช้สีทาพื้นผนัง หรือเพดาน จึงมีส่วนช่วยให้เกิดความสว่างในอาคารที่อยู่อาศัยด้วย โดยเฉพาะในเวลาเปิดไฟฟ้า จะมีส่วนช่วยให้แสงสว่างเพิ่มขึ้น หากต้องการให้มีความสว่างมากขึ้น ก็ควรเลือกทาด้วยสีที่มีเปอร์เซ็นต์ความสามารถสะท้อนแสงสูง เช่น สีขาว สีครีม หรือหากต้องการได้สีสันสวยงามตามต้องการ ก็อาจเลือกใช้สีทีมีการสะท้อนแสงลดต่ำลงตามลำดับ ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ชนิดของสีและความสามารถในการสะท้อนแสง
ชนิดของสี
ความสามารถสะท้อนแสง (%)
สีขาวพลาสเตอร์
สีขาวธรรมดา
สีขาวงาช้าง
สีครีมอ่อน
สีครีม
สีชมพูอ่อน
สีเหลืองอ่อน
สีฟ้าอ่อน
สีเทาอ่อน
สีเขียวอ่อน
สีแดง
90–92
81
79
74
69–74
67
65
61
49
47
13
1.4 เสียงรบกวน (Noise)
เสียงรบกวนหรือเสียงอึกทึกหมายถึงเสียงที่ก่อให้เกิดความรำคาญหรือเสียงที่ไม่ต้องการ อันตรายของเสียงมีสาเหตุมาจากระดับของเสียง (Pitch) ได้แก่ เสียงสูง เสียงต่ำ โดยเฉพาะเสียงสูงเป็นอันตรายต่อระบบการได้ยินของหูมาก และความดังของเสียง (Loudness) ซึ่งมีหน่วยเป็นเดซิเบล (dB) การที่ต้องอาศัยในที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน อาจมีผลทำให้หูชั้นในถูกทำลาย เกิดหูหนวก หูตึง ปวดศีรษะ การเต้นของหัวใจผิดปกติ นอนไม่หลับ เป็นต้น
เสียงดังที่เกิดขึ้นภายในบ้าน มักเกิดจากการทำกิจกรรมต่างๆ โดยเป็นเสียงดังจากเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องปั่นไฟฟ้า เครื่องดูดฝุ่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องเสียง เป็นต้น และอาจมีเสียงดังจากภายนอกที่มาจากชุมชนรอบบ้าน ได้แก่ เสียงคุย เอะอะ จอแจ เสียงเครื่องขยายเสียง เสียงจากเครื่องจักร เครื่องยนต์ต่างๆ เสียงดังเหล่านี้ อาจเกิดการผสมกัน ก่อให้เกิดเสียงดังมากขึ้น และจะเกิดความเดือดร้อนมากขึ้น หากเป็นเวลากลางคืน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ต้องการความเงียบเพื่อการพักผ่อนหลับนอน เสียงในบ้านพักควรอยู่ในช่วงประมาณ 40-50 เดซิเบลเอ (dBA) ถ้าในช่วงของการพักผ่อนหรือนอนหลับ ไม่ควรเกิน 30 dBA เสียงดังตลอดเวลา 8 ชั่วโมงในหนึ่งวัน ไม่ควรเกิน 75 dBA และระดับความดังของเสียงไม่ควรเกิน 130 dBA เพราะอาจมีผลทำให้สูญเสียการได้ยินอย่างถาวรได้
2. ความต้องการพื้นฐานทางด้านจิตใจและสังคม (Fundamental Psychological and Social Needs)
หมายถึง การจัดสิ่งแวดล้อมของที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้อาศัยมีความสุขสบายทางจิตใจ เช่น ความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่แออัดหรือคับแคบ สมาชิกภายในบ้านมีความสามัคคีกลมเกลียวกันดี มีชีวิตความเป็นอยู่กับเพื่อนบ้านได้ดี ภายในที่อยู่อาศัยมีสิ่งอำนวยความสะดวกตามความจำเป็นพื้นฐาน เป็นต้น ความต้องการทางจิตใจของผู้อยู่อาศัยที่สำคัญ มีดังต่อไปนี้
• ความเป็นสัดส่วน และเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย โดยความเป็นจริงตามธรรมชาติ มนุษย์ย่อมมีความต้องการความเป็นอิสระในการอยู่อาศัย ปราศจากการรบกวนจากผู้อื่น ดังนั้น จึงมักจะหาที่อยู่อาศัยแยกออกมาอยู่เฉพาะครอบครัวตน โดยภายในที่อยู่อาศัย จำเป็นต้องจัดให้มีห้องต่างๆ เป็นสัดส่วน เช่น ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องครัว ห้องสุขา เป็นต้น เพื่อประโยชน์ใช้สอยตามความเหมาะสม
• ความสะอาดของที่อยู่อาศัย ความสะอาดของที่อยู่อาศัยนอกจากจะช่วยส่งเสริมสุขภาพทางกายแล้ว ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพทางจิตด้วย ทำให้เกิดความสบายตา สบายใจเมื่อได้พบเห็น ดังนั้น ที่อยู่อาศัยควรหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ รวมไปถึงบริเวณบ้านก็ต้องสะอาด มีการจัดการขยะมูลฝอย และสิ่งสกปรกต่างๆ รวมทั้งของเสียที่เกิดจากที่อยู่อาศัย เช่น น้ำเสีย จะต้องจัดการอย่างเหมาะสม การทำความสะอาดที่อยู่อาศัย อาจแบ่งตามลักษณะงานได้ 3 ขั้นตอนคือ
- การทำความสะอาดทุกวัน ได้แก่ การทำสะอาดพื้นที่ที่ต้องใช้งานทุกวัน เช่น การกวาดพื้น ปัดที่นอน โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น
- การทำความสะอาดเป็นรายสัปดาห์ เช่น ปัดฝุ่นละอองตามตู้ จัดตู้กับข้าว ล้างตู้เย็น ล้างพื้นห้องน้ำ เป็นต้น
- การทำความสะอาดเป็นรายเดือน เช่น การกวาดหยากไย่ เช็ดหน้าต่าง ประตูมุ้งลวด เป็นต้น
• ความสวยงาม และความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยปกติแล้ว ผู้อยู่อาศัยมักต้องการที่อยู่อาศัยที่สวยงาม ภูมิฐาน และมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่สกปรกเลอะเทอะทั้งภายนอก ภายในอาคาร และบริเวณบ้าน ทั้งนี้จะต้องมีสภาพที่เข้ากับสภาพของชุมชนโดยส่วนรวมได้ จึงจะทำให้ผู้อาศัยเกิดความภาคภูมิใจ และมีความสบายใจได้
• ความสะดวกสบาย ผู้อยู่อาศัยมีความต้องการให้ที่อยู่อาศัยมีความสะดวกสบาย โดยพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้
- การเลือกทำเลที่ตั้งบ้าน จะต้องอยู่ในบริเวณที่ไม่ห่างจากที่ทำงาน ตลาด โรงเรียนมากนัก มีความสะดวกในการเดินทางไปมา มีสิ่งสาธารณูปโภคต่างๆ เข้าถึง เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ เป็นต้น
- การจัดวางตัวบ้านบนที่ดิน ควรให้มีความสะดวกต่อการเดินทางเข้าออกประตูใหญ่ วางตำแหน่งตัวบ้านให้ได้รับแดด และรับลมแต่พอสมควร
- การจัดวางเครื่องเรือนเครื่องใช้เหมาะกับบ้าน และจัดลำดับให้ต่อเนื่องของงาน ทำให้เกิดความสะดวกสบายไม่เปลืองแรงงาน
3. การป้องกันโรคติดต่อ (Protection against Communicable Diseases)
การติดต่อของโรคภายในบ้านพักอาศัย จะเป็นไปได้ง่ายหรือยาก ขึ้นกับองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ ตัวบุคคล (Host) เชื้อโรค (Agents) และสิ่งแวดล้อมโดยรวม (Environment) ดังนั้น การจะควบคุมป้องกันโรคติดต่อภายในบ้านอย่างได้ผล จำเป็นจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบเหล่านี้ อันได้แก่ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่คนภายในครอบครัว จัดให้มีสุขวิทยาส่วนบุคคลและส่วนรวมที่ดี ขจัดตัวการที่ทำให้เกิดโรคหรือพาหะนำโรคติดต่อต่างๆ เช่น แมลงวัน แมลงสาบ ยุง เป็นต้น การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โดยจัดให้มีน้ำดื่ม น้ำใช้ที่สะอาด พอเพียง มีการกำจัดสิ่งปฏิกูลมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะ มีการระบายน้ำเสียที่เหมาะสม การเตรียมอาหารที่ปลอดภัยต่อการบริโภค ตลอดจน สิ่งต่างๆที่อยู่โดยรอบ ให้มีสภาพที่ปลอดภัย ไม่เอื้อต่อการเกิดโรคติดต่อภายในบ้าน
• การมีน้ำสะอาดปลอดภัย (Safe Water Supply)
น้ำมีความจำเป็นต่อการดำรงชีพอย่างมาก ทั้งนี้เพื่อการอุปโภค และบริโภค ได้แก่ การดื่ม การซักล้าง การหุงต้มอาหาร การกำจัดสิ่งปฏิกูล ฯลฯ แต่ต้องเป็นน้ำที่สะอาดเท่านั้น จึงจะก่อให้เกิดความปลอดภัยจากการเจ็บป่วยอันเนื่องจากโรคที่มีน้ำเป็นสื่อ (Water Borne Diseases) ซึ่งก็คือโรคที่เกิดกับระบบทางเดินอาหาร นั่นเอง
โดยปกติ ภายในอาคารบ้านเรือน น้ำจะถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท ตามจุดประสงค์ของการใช้สอยคือ น้ำดื่มและน้ำใช้ โดยมีข้อควรคำนึงในด้านคุณภาพของน้ำในน้ำดื่มมากกว่าน้ำใช้ น้ำดื่มจะต้องได้มาตรฐานน้ำดื่มสะอาดคือต้องปราศจากจุลินทรีย์ และสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย ใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ฯลฯ แต่เมื่อคิดในเชิงปริมาณแล้ว ความต้องการทั้งน้ำดื่มน้ำใช้ สำหรับผู้อยู่อาศัยในชุมชนเมืองใหญ่ ประมาณ 270–300 ลิตร/คน/วัน ชุมชนขนาดเล็กมีความต้องการน้ำประมาณ 120–150 ลิตร/คน/วัน ส่วนในชุมชนชนบทมีความต้องการน้ำประมาณ 45–70 ลิตร/คน/วัน
แหล่งน้ำสะอาดที่ได้ในเขตเมือง มักจะเป็นน้ำที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งมีกิจการประปาสาธารณะ ให้บริการจ่ายน้ำไปตามท่อประปาสาธารณะ และต่อท่อประปาเข้าภายในบ้าน ส่วนในเขตชนบทบางแห่ง อาจมีระบบประปาหมู่บ้านที่จะให้บริการน้ำจ่ายไปท่อประปาสาธารณะ แต่ทั้งนี้ จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลด้านคุณภาพอย่างใกล้ชิด และควรได้รับรองคุณภาพจากกรมอนามัย จึงจะมั่นใจในความปลอดภัย ส่วนพื้นที่บางแห่งในเขตเมืองหรือเขตชนบทก็ตามที่ระบบประปาเข้าไม่ถึงหรือยังไม่มีระบบประปา จำเป็นจะต้องมีแหล่งน้ำใช้แหล่งใดแหล่งหนึ่ง อาจเป็นน้ำฝน น้ำบ่อ น้ำสระ ฯลฯ หากไม่แน่ใจเรื่องคุณภาพน้ำ จะต้องนำมาปรับปรุงคุณภาพให้ดีก่อน เช่น การต้ม การกรอง การทำให้ตกตะกอน เป็นต้น อีกทั้งต้องคำนึงถึงการปนเปื้อนอีกด้วย ภาชนะที่ใช้จ้วงตัก ต้องมีไว้เพื่อการนี้โดยเฉพาะหรือภาชนะเก็บกักน้ำ เช่น ถังเก็บน้ำฝน หรือตุ่มน้ำ ควรหมั่นดูแลทำความสะอาดเป็นระยะ มีฝาปิดมิดชิดไม่ให้สิ่งสกปรกตกลงไป
• การเตรียมอาหารที่ปลอดภัย (Safe Food Preparation)
อาหารเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีพในชีวิตประจำวันเพราะโดยส่วนใหญ่ ผู้อยู่อาศัยจะเตรียมอาหาร ปรุง ประกอบและรับประทานอาหารภายในบ้านพักอาศัย ยกเว้นบางมื้อสำหรับผู้ที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน อาหารสำหรับบริโภคจะต้องสะอาด ปลอดภัยต่อสมาชิกภายในครัวเรือน ดังนั้น ควรจะต้องคำนึงถึงตั้งแต่การเลือกซื้อ การปรุงประกอบ การเก็บรักษา ขั้นตอนต่างๆต้องพยายามป้องกันการปนเปื้อนสิ่งสกปรก เชื้อโรค โดยคำนึงถึงสุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้ปรุงผู้เสิร์ฟ ร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้าต้องสะอาด สวมชุดกันเปื้อน ส่วนภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบอาหาร ใส่อาหารก็ต้องสะอาด ปลอดภัยใช้ประกอบอาหารได้ นอกจากนี้แล้ว อาหารที่เตรียมไว้เพื่อรอรับประทานหรืออาหารที่เหลือจากการรับประทาน ควรเก็บไว้ในภาชนะที่มิดชิด เช่น ฝาชี หรือตู้กับข้าว เพื่อป้องกันพาหะนำโรค จำพวกสัตว์และแมลง เช่น หนู แมลงวัน แมลงสาบ ฯลฯไต่ตอม อันเป็นเหตุ ทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหารได้ ข้อพิจารณาเพิ่มเติมคืออาหารเหล่านั้น ควรมีคุณค่าทางโภชนาการ มีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ตามความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะวัยเด็กที่กำลังเจริญเติบโต
• การกำจัดสิ่งปฏิกูลอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Excreta Disposal)
สิ่งปฏิกูลคือของเสียที่ขับถ่ายออกมาจากร่างกายของมนุษย์ รวมถึงสัตว์เลี้ยงด้วย หากมีการกำจัดไม่ดี อาจเป็นสาเหตุของการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่มากับระบบทางเดิน - อาหารได้ โดยการแพร่ไปกับแหล่งน้ำหรือผิวดิน ตลอดจนมีพาหะนำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบ นำเชื้อไปปนเปื้อนโดยการไต่ตอมอาหาร ทำให้โรคระบาดไป อย่างรวดเร็ว
การควบคุมป้องกันกำจัดสิ่งปฏิกูลอย่างถูกหลักสุขาภิบาลจึงถูกกำหนดขึ้นในกฎหมาย โดยเฉพาะในเขตเมือง เพื่อป้องกันการระบาดของโรค ยกตัวอย่าง ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องการควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ได้กำหนดให้อาคารที่บุคคลเข้าพักอาศัยหรือใช้สอยได้ ต้องมีห้องส้วมที่มีขนาดเนื้อที่ภายใน ไม่น้อยกว่า 0.90 เมตร ถ้าเป็นห้องอาบน้ำด้วย ต้องมีเนื้อที่ภายในไม่น้อยกว่า 1.5 ตารางเมตร มีลักษณะที่จะรักษาความสะอาดได้ง่าย และต้องมีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ห้อง หรือมีพัดลมระบายอากาศ และกำหนดให้ส้วมต้องเป็นชนิดชำระสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำลงสู่บ่อเกราะ บ่อซึม หากการสร้างส้วมภายในระยะ 20 เมตร จากเขตคูคลองสาธารณะ ต้องสร้างเป็นส้วมถังเก็บชนิดน้ำซึมไม่ได้
ส่วนการกำจัดสิ่งปฏิกูลในชนบทนั้น ถึงแม้ไม่ได้มีกฎหมายกำหนดไว้เด่นชัดก็ตาม แต่ก็มีการรณรงค์ให้มีและใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ โดยครอบคลุมทุกหลังคาเรือน หลายๆจังหวัดประกาศตัวว่าเป็นพื้นที่ที่มีและใช้ส้วม 100% ไปแล้ว และคงขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมมากไปเรื่อย ๆ เพราะเห็นผลได้ในมาตรการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ทำให้ลดอัตราการป่วย ด้วยโรคอันเนื่องจากอาหารและน้ำเป็นสื่อลงไปได้มาก เนื่องจากตัดขั้นตอนตรงแหล่งเชื้อในสิ่งปฏิกูลทั้งหลาย แต่ปัญหาใหม่ที่ยังแก้ไม่ตกในปัจจุบันคือรถที่บริการสูบส้วมที่นำอุจจาระไประบายทิ้งลงในบริเวณที่สาธารณะ โดยไม่นำไปกำจัดอย่างถูกสุขลักษณะ อันเกิดจากความมักง่ายของผู้ประกอบการ ทำให้เป็นปัญหาที่ต้องกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อการควบคุมป้องกันโรคอย่างได้ผล
• การกำจัดมูลฝอย (Disposal of Solid Waste)
มูลฝอยเป็นของเสีย ของทิ้งจาการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ทั้งที่เป็นขยะเปียก ขยะแห้ง ขี้เถ้า และอื่นๆ มูลฝอยเหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วจะต้องมีวิธีเก็บกักและนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ไม่เช่นนั้นแล้ว จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์และแมลงนำโรคหลายชนิด รวมถึงการส่งกลิ่นเหม็น สกปรกไม่น่าดู และการได้รับอุบัติเหตุ อันเกิดจากมูลฝอยอันตรายบางจำพวก
ปัจจุบัน ในเขตชุมชนเมืองมีผู้คนเข้าไปอยู่อาศัยเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดปัญหาในการจัดการด้านสาธารณูปโภค และการให้บริการต่างๆ ด้วย โดยเฉพาะ ด้านกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ความไม่เพียงพอของที่รองรับมูลฝอย ปัญหาการกำจัด ไม่สามารถกำจัดได้ทันกับปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จนในบางช่วง เขตเมืองบางแห่ง ถึงกับกลายเป็นปัญหาชุมชนลงข่าวหน้าหนึ่งเลยก็มี ต่อมา ปัญหาเริ่มลุกลามเข้าไปถึงชุมชนขนาดใหญ่หลายแห่ง จนถึงกับหยิบยกเอาเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน มาจัดอยู่ในอันดับต้นๆของท้องถิ่น หากมีการละเลยไม่ใส่ใจที่จะกำหนดมาตรการควบคุมป้องกันแก้ไขอย่างได้ผลแล้ว จะทำให้กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้น ถึงแม้ว่า จะมีกลุ่มองค์กรบางกลุ่มจะเคลื่อนไหวกระตุ้นมวลชนให้มีการลดการสร้างขยะ และการกำจัดมูลฝอยเองภายในครัวเรือนก็ตาม แต่ก็ได้รับความร่วมมือจากชุมชนไม่เท่าที่ควร
การแก้ปัญหามูลฝอยที่เกิดจากครัวเรือนอย่างได้ผล จำเป็นต้องให้ความรู้ สร้างจิตสำนึกให้เกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญในการจัดการมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะ ผนวกด้วยมาตรการทางกฎหมาย ที่เกิดจากแนวคิดที่ว่า “ ผู้สร้างมูลฝอย ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการกำจัดด้วย ” มีอัตราค่าบริการในการกำจัด เพิ่มขึ้นตามปริมาณที่เกิดขึ้น บางประเทศกำหนดอัตราค่าบริการกำจัดมูลฝอยที่แพงมาก เช่น ญี่ปุ่น จนประชาชนจะต้องหาทางลดการสร้างขยะหรือกำจัดเอง ผลที่ตามมาคือความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดสะอ้านของบ้านเมือง การรณรงค์ให้แยกขยะเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ก็เป็นอีกมาตรการหนึ่ง ที่จะช่วยลดปริมาณขยะที่จะต้องนำไปกำจัด
• การระบายน้ำเสียและน้ำผิวดิน (Drainage of Waste water and Surface water)
น้ำเสียที่เกิดจากการใช้น้ำในชีวิตประจำวันของผู้คนในอาคารบ้านเรือน ตลอดจนน้ำผิวดิน ในที่นี้หมายถึงน้ำฝนที่ตกลงมาขังในแอ่ง ในที่ลุ่ม ตามบริเวณรอบบ้าน หากมีการกำจัดที่ไม่ถูกต้อง ย่อมทำให้น้ำจากทั้งสองแหล่งเกิดปัญหา ทำให้เกิดความสกปรก เปรอะเปื้อน ขังเป็นแอ่ง กลายเป็นแหล่งวางไข่ของยุง แมลงวัน หรือแมลงนำโรคชนิดอื่นๆได้ เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น และมีสภาพที่ไม่น่าดูด้วย
โดยทั่วไป ปัญหาน้ำเสียมักจะเกิดขึ้นในเขตชุมชนเมือง ในบริเวณอาคารบ้านพักอาศัยที่มีระบบการระบายน้ำเสีย และน้ำฝนไม่ดีพอ เช่น ตึกแถว ชุมชนแออัด เป็นต้น แต่ในอาคารบ้านพักอาศัยส่วนใหญ่ จะมีกฎหมายควบคุม ดูแลไว้อยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 33 พ . ศ .2535 ได้กำหนดให้มีการระบายน้ำฝนออกจากอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ จะระบายลงสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้งโดยตรงก็ได้ แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดภยันตรายต่อสุขภาพ ร่างกาย หรือทรัพย์สินหรือกระทบกระเทือนต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และระบบระบายน้ำเสียจะแยกเป็นอิสระเฉพาะอาคารหรือเป็นระบบรวมของส่วนกลางก็ได้ แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดเสียง กลิ่น ฟอง กาก หรือสิ่งอื่นใดที่เกิดจากการบำบัดนั้น จนถึงขนาดที่อาจเกิดภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สินกระทบกระเทือนต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อาศัยอยู่ใกล้เคียง น้ำเสียต้องผ่านระบบบำบัดน้ำเสียจนเป็นน้ำทิ้งก่อนระบายสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้ง โดยคุณภาพน้ำทิ้งให้เป็นไปตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่องกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากอาคาร
• สุขวิทยาส่วนบุคคล (Personal and Domestic Hygiene)
สุขวิทยาส่วนบุคคล เป็นเรื่องการดูแลความฉลาดและสุขภาพของบุคคลให้อยู่ในสภาพดี ไม่เป็นแหล่งแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นๆ ในครอบครัว หรือไม่มีพฤติกรรมที่จะนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายของตนเอง เช่น การชำระล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำกับสบู่หลังจากอุจจาระ ปัสสาวะ หรือการล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร การตัดเล็บให้สั้น การสระผม อาบน้ำชำระล้างร่างกายอยู่เสมอ การซักเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มอยู่เป็นนิจ เครื่องนอนมีการซัก การผึ่งแดด ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับตัวบุคคล และคนภายในครอบครัวแล้ว
หากบุคคลภายในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วย จำเป็นต้องแยกตัวออกไปต่างหากและรีบรักษาพยาบาลให้หายโดยเร็ว เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่นๆ นอกจากนี้ ยังควรคำนึงถึงความสะดวก เป็นระเบียบเรียบร้อยภายในบ้าน ควรหมั่นทำความสะอาด เช็ดถู ขอบประตูหน้าต่าง บานมุ้งลวด พื้น ผนังห้องจะต้องปราศจากฝุ่น คราบ สิ่งสกปรก หยากไย่ หรือสิ่งอื่นใดที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย เป็นการจัดสภาวะแวดล้อมให้มีสุขลักษณะที่ดี น่าอยู่ น่าอาศัย และปลอดภัยจากอันตราย และเชื้อโรค
• โครงสร้างของบ้านสามารถป้องกันการแพร่กระจายของโรคได้ (Structural Safeguards against Disease Transmission)
บ้านพักอาศัยที่มีการออกแบบให้มีโครงสร้างที่ดี และถูกสุขลักษณะ จะช่วยป้องกัน การแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ มีการแบ่งพื้นที่ว่างภายในบ้านอย่างเหมาะสมเป็นสัดส่วน ไม่อยู่อย่างแออัดยัดเยียด มีการระบายอากาศที่ดี การก่อสร้างบ้าน โดยป้องกันไม่ให้แมลงและสัตว์ฟันแทะ จำพวกหนู สามารถเข้าไปอยู่อาศัยภายในบ้านได้ เช่น ช่องใต้ประตู หน้าต่างมุ้งลวด เพื่อป้องกันยุงและแมลงเข้าไปในบ้านพักอาศัยได้ เป็นต้น การระบายอากาศและการอยู่อาศัยที่ไม่แออัดจนเกินไป จะช่วยลดปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจได้ เช่น วัณโรค โรคปอดบวม หลอดลมอักเสบ โรคหวัด โรคไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ หรือโรคที่เกิดจากอากาศเป็นสื่อนำ เช่น การอักเสบเยื่อบุ โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคไอกรน ฯลฯ
4. การป้องกันอุบัติเหตุ (Protection against Accidents)
อุบัติเหตุหมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้คาดคิดไว้ล่วงหน้า หรือไม่มีเจตนาทำให้เกิดขึ้น เมื่อเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว มีผลก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวบุคคลหรือทรัพย์สินต่างๆ ได้
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในที่อยู่อาศัย ทั้งในบริเวณตัวบ้านหรือบริเวณนอกบ้าน ซึ่งอยู่ภายในรั้วบ้านก็ตาม มีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อกับสมาชิกคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนในบ้าน โดยเฉพาะภายในที่อยู่อาศัยที่ขาดมาตรการป้องกันอุบัติเหตุ ผลของอุบัติเหตุอาจทำให้สมาชิกในบ้านบาดเจ็บตั้งแต่เล็กน้อย จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ หรืออาจมีผลเฉพาะทำให้ทรัพย์สินภายในบ้านชำรุดเสียหายเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นเพียงอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย แต่ก็ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เพราะมีความเชื่อใจอยู่ว่าบ้านน่าจะเป็นสถานที่ปลอดภัยที่สุด เมื่อบุคคลอยู่ในบ้านจึงปล่อยตัวปล่อยใจอิสระ อาจเกิดการเผอเรอไม่ได้ทันระวังตัว จนเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันได้ ลักษณะของการเกิดอุบัติเหตุภายในบ้าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่าย จึงนำมาจัดกลุ่มแบ่งแยกตามความคล้ายคลึงและความถี่ในการเกิดที่มีอยู่บ่อยๆ ดังนี้ คือ
• อุบัติเหตุอันเกิดจากการพลัดตกหกล้ม
อุบัติเหตุในลักษณะนี้ ได้แก่ การเดินพลัดตกจากบันได ตกจากหน้าต่าง ตกลงมาจากระเบียง หรือดาดฟ้า การพลัดตกจากเก้าอี้ เป็นต้น การออกแบบก่อสร้างและเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม จึงมีความสำคัญมาก เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ควรต้องทำราวบันได มีแถบกันลื่นที่บันไดแต่ละขั้น จัดให้มีแสงสว่างที่เพียงพอตรงบันได หรือตามบริเวณทางเดินภายในบ้านอย่างพอเพียง
• อุบัติเหตุอันเนื่องจากอัคคีภัย
อัคคีภัยหรือไฟไหม้ภายในบ้าน อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่สันนิษฐานกัน มักจะออกมาใน 2 ลักษณะคือ ไฟไหม้เนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจร กับไฟไหม้เนื่องจากการจุดติดไฟของเชื้อเพลิงที่มีอยู่ในบ้าน อาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตาม แหล่งที่อาจเกิดเพลิงไหม้ได้ง่ายคือบริเวณภายในครัว ซึ่งมีการหุงต้มอาหาร อาจลืมปิดแก๊สหุงต้ม แก๊สรั่ว หรือเกิดภายในห้องพระที่จุดเทียน ธูป แล้วลืมดับ การซุกซนของเด็กที่เล่นไม้ขีดไฟ และอีกมากมายหลายสาเหตุ รวมทั้ง ไฟฟ้าลัดวงจรเนื่องจากปลั๊กไฟเก่าหรือชำรุด การลัดวงจรไฟฟ้าที่สะพานไฟเนื่องจากการใช้ฟิวส์ไม่ได้ขนาดหรือเป็นวัสดุที่หลอมเหลวยาก ความเสียหายอาจไม่มาก ถ้าดับได้ทัน หรืออาจถูกเพลิงไหม้วอดไปทั้งหลังก็เป็นได้ จำเป็นอยู่ดีที่ผู้อยู่อาศัยต้องหมั่นตรวจตราความเรียบร้อยอยู่เสมอ โดยเฉพาะ การคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า และรีบหาทางป้องกันไว้ก่อน เช่น ควรจัดหาเครื่องควบคุมป้องกันกระแสไฟฟ้าดูด และลัดวงจรติดป้องกันไว้ ควรมีเครื่องดับเพลิงไว้ใช้ประจำบ้านยามฉุกเฉิน โดยติดตั้งไว้ทางเข้าออกของบ้าน โดยให้มีประตูอย่างน้อย 2 ทางอยู่ห่างจากกันคือ มีประตูหน้าและประตูหลังกว้างขวางพอที่จะเข้าออกได้สะดวก หากจำเป็นต้องติดลูกกรงเหล็กดัดเพื่อป้องกันโจร ผู้ร้าย ก็ควรทำเป็นแบบเปิดจากภายในได้ เมื่อเกิดเพลิงไหม้จะสามารถเปิดออกหนีจากอาคารได้อย่างปลอดภัย
• อุบัติเหตุอันเกิดจากไฟฟ้าดูดหรือไฟฟ้าช็อต
อุบัติเหตุที่เกิดจากไฟฟ้านี้ มักเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจมีไฟฟ้ารั่วตามเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปสัมผัสถูกเข้า เกิดการดูดหรือช็อตขึ้นได้ สายไฟฟ้าที่ชำรุด ปลอกหุ้มแตกปริ เมื่อมือที่เปียกน้ำสัมผัสเข้าก็เกิดไฟฟ้าช็อตได้ ควรหมั่นตรวจสอบสภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอ หากพบอาการผิดปกติที่เป็นสาเหตุของไฟฟ้ารั่ว ควรรีบดำเนินการซ่อมแซมแก้ไขโดยทันที เช่นเดียวกับสายไฟฟ้า ต้องเลือกใช้สายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน เช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เป็นต้น การเดินสายไฟอย่างถูกต้อง การให้ความรู้แก่คนในบ้านเกี่ยวกับวิธีแก้ไขเหตุฉุกเฉินอย่างปลอดภัย
• อุบัติเหตุอันเกิดจากพิษของสารเคมีหรือสารพิษ
ในปัจจุบันมีการนำเอาสารเคมีมาใช้ในบ้านมากขึ้น เช่น สารฆ่าแมลงฉีดฆ่ายุง มด แมลงสาบ น้ำยาล้างห้องน้ำ คลอรีน ยารักษาโรคชนิดต่างๆ เครื่องสำอาง เป็นต้น ปัญหาเกิดจากการใช้ในปริมาณที่มากเกินไป หรือการใช้ผิดวัตถุประสงค์ หรือการใช้ที่ผิดพลาด เช่น การกินยาที่ระบุให้ใช้ภายนอก การกินยาเกินขนาด หรือการใส่ปุ๋ยเคมีลงในอาหารโดยคิดว่าเป็นน้ำตาลทราย การใช้สารฆ่าแมลงชนิดผงละเอียดโดยคิดว่าเป็นแป้งสำหรับทำอาหาร เป็นต้น
• อุบัติเหตุอันเกิดจากของมีคม
ของมีคมที่ใช้กันในบ้านพักอาศัย ได้แก่ มีด กรรไกร กระจก สิ่ว ฯลฯ เป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อาจเกิดอุบัติเหตุได้จากการไม่ระมัดระวัง อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ การเหยียบเศษแก้วที่แตกบนพื้น การเดินชนกระจกใสที่ใช้ทำเป็นบานประตู หรือหน้าต่าง เพื่อทำให้เกิดความสวยงามและเป็นการเพิ่มแสงสว่างจากภายนอก หากไม่ได้ติดสติ๊กเกอร์หรือคำเตือน “ ระวังชนกระจก ” แล้ว อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกายขึ้นได้
• อุบัติเหตุอันเกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์
อุบัติเหตุเช่นนี้ เกิดจากพฤติกรรมอันไม่ปลอดภัยของมนุษย์ (Unsafe Acts) นั่นเอง เช่น การหยอกล้อกันขณะทำงาน การซ่อมแซมแก้ไขไฟฟ้าภายในบ้านโดยขาดความรู้ที่ถูกต้อง การรับประทานยาที่ทำให้มีอาการง่วงซึมแล้วเดินสะดุดหกล้ม การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จนเกิดอาการมึนเมา เดินขึ้นบันไดบ้านโดยไม่จับราวบันไดแล้วพลัดตกลงไป ตลอดจน พฤติกรรมอื่นๆ ที่ผิดพลาดจนเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
ที่มา http://cyberclass.msu.ac.th/cyberclass/cyberclass-uploads/libs/html/31823/unit6.html
http://www.softbizplus.com/knowledge-management/852-sanitary-housing
ขออนุญาตปลูกสร้างต้องทำเมื่อไหร่
การขออนุญาตปลูกสร้างดัดแปลงอาคารนั้น ต้องทำเมื่อต้องการปลูกสร้าง หรือ ดัดแปลงอาคารส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารเกิน 10 ตารางเมตรขึ้นไป หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้อาคารบางส่วนในสาระสำคัญ โดยการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารมี 2 ประเภท คือ
1. การขออนุญาตแบบ 39 ทวิ คือให้วุฒิสถาปนิกวิศวกรลงนามแล้ว หลังจากยื่นเรื่องขออนุญาตก็สามารถปลูกสร้างอาคารได้ทันที แต่มีข้อแม้ว่าหากแบบที่ได้ยื่นขอนั้นมีรายละเอียดที่เจ้าหน้าที่ทักท้วงแล้วว่าไม่ถูกต้องตามกฎระเบียบจะต้องได้รับการแก้ไข จากเจ้าของอาคารโดยไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งการขออนุญาตแบบนี้ต้องตรวจสอบให้ดี เพราะหากสร้างไปแล้ว ต้องมาแก้ไข หรือทุบทิ้งบางส่วน จะเสียหายได้
2. การขออนุญาตแบบปกติ (แบบฟอร์ม ข.1) เป็นการขออนุญาตโดยยื่นแบบเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแบบก่อน โดยจะตรวจสอบว่าแบบอาคารที่ยื่นขออนุญาตนั้น ขัดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร, กฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมอาคารหรือไม่ หากพบว่าไม่มีข้อขัดแย้งใด ๆ ทางหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบก็จะออกใบอนุญาตปลูกสร้างได้ โดยทั่วไปก็จะใช้เวลาประมาณ 90 วัน สำหรับขั้นตอนการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารและขณะก่อสร้างก็จะต้องหาสถาปนิกและวิศวกร แจ้งควบคุมงานกฎหมายด้วย
อายุของใบอนุญาตหากเป็นอาคารที่มีพื้นที่ไม่เกิน 10,000 ตารางเมตร นั้นก็มีอายุ 1 ปี หมายความว่าต้องก่อสร้างภายใน 1 ปี นับจากวันที่ได้รับใบอนุญาต หากสร้างไม่เสร็จภายใน 1 ปี ก็สามารถต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี และจะต้องมีวิศวกรและสถาปนิกผู้ควบคุมงาน ลงนามควบคุมงานตามกฎหมาย เพื่อรับรองว่าจะสร้างให้ถูกต้องตามแบบที่ได้รับอนุญาตทุกประการ และดำเนินการป้องกันความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดและไม่ทำให้อาคารข้างเคียงได้รับความเสียหาย เป็นต้น สำหรับอาคารสาธารณะประเภทอาคารขนาดใหญ่นั้น เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จะต้องทำการเปิดใช้อาคารด้วย.
ที่มา dailynews.co.th
1. การขออนุญาตแบบ 39 ทวิ คือให้วุฒิสถาปนิกวิศวกรลงนามแล้ว หลังจากยื่นเรื่องขออนุญาตก็สามารถปลูกสร้างอาคารได้ทันที แต่มีข้อแม้ว่าหากแบบที่ได้ยื่นขอนั้นมีรายละเอียดที่เจ้าหน้าที่ทักท้วงแล้วว่าไม่ถูกต้องตามกฎระเบียบจะต้องได้รับการแก้ไข จากเจ้าของอาคารโดยไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งการขออนุญาตแบบนี้ต้องตรวจสอบให้ดี เพราะหากสร้างไปแล้ว ต้องมาแก้ไข หรือทุบทิ้งบางส่วน จะเสียหายได้
2. การขออนุญาตแบบปกติ (แบบฟอร์ม ข.1) เป็นการขออนุญาตโดยยื่นแบบเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแบบก่อน โดยจะตรวจสอบว่าแบบอาคารที่ยื่นขออนุญาตนั้น ขัดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร, กฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมอาคารหรือไม่ หากพบว่าไม่มีข้อขัดแย้งใด ๆ ทางหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบก็จะออกใบอนุญาตปลูกสร้างได้ โดยทั่วไปก็จะใช้เวลาประมาณ 90 วัน สำหรับขั้นตอนการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารและขณะก่อสร้างก็จะต้องหาสถาปนิกและวิศวกร แจ้งควบคุมงานกฎหมายด้วย
อายุของใบอนุญาตหากเป็นอาคารที่มีพื้นที่ไม่เกิน 10,000 ตารางเมตร นั้นก็มีอายุ 1 ปี หมายความว่าต้องก่อสร้างภายใน 1 ปี นับจากวันที่ได้รับใบอนุญาต หากสร้างไม่เสร็จภายใน 1 ปี ก็สามารถต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี และจะต้องมีวิศวกรและสถาปนิกผู้ควบคุมงาน ลงนามควบคุมงานตามกฎหมาย เพื่อรับรองว่าจะสร้างให้ถูกต้องตามแบบที่ได้รับอนุญาตทุกประการ และดำเนินการป้องกันความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดและไม่ทำให้อาคารข้างเคียงได้รับความเสียหาย เป็นต้น สำหรับอาคารสาธารณะประเภทอาคารขนาดใหญ่นั้น เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จะต้องทำการเปิดใช้อาคารด้วย.
ที่มา dailynews.co.th
รังวัดและสอบหมุดที่ดินก่อนออกแบบปลูกสร้างอาคาร
ก่อนจะทำการออกแบบปลูกสร้างอาคารโดยสถาปนิกผู้ชำนาญนั้น ท่านควรจะทำการแจ้งทำรังวัดและสอบหมุดที่ดินก่อน เพื่อจะได้สามารถทราบแนวเขตที่แน่ชัดของที่ดิน เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบอาคารเพราะการออกแบบอาคารกับแนวระยะถอยร่นต่าง ๆนั้น เจ้าหน้าที่จะวัดกันละเอียดมากเป็นระดับเซนติเมตรเลยทีเดียว หากออกแบบอาคารโดยไม่ทราบขนาดที่ดินที่แน่นอนนั้นอาจจะทำให้ขนาดของอาคารผิดเพี้ยนไปได้และหากมีการวัดภายหลังจากที่ยื่นเรื่องขออนุญาตปลูกสร้างแล้วพบว่าแนวเขตบางแนวสั้นกว่าขนาดตามโฉนด อาจต้องเขียนแบบแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง และเมื่อคำนวณพื้นที่รวมของโฉนดที่ดินแล้วนั้นควรจะมีพื้นที่ตรงตามทั้งโฉนดที่ระบุไว้
หากแต่บางทีระยะอาจมีเคลื่อนไปบ้าง เช่น ด้านกว้างลดลง 2 เซนติเมตร แต่ตอนลึกเพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร และหากเมื่อคำนวณแล้วพื้นที่ดินควรจะต้องมีขนาดเท่าเดิมตามโฉนดและเป็นการตรวจสอบแนวเขตข้างเคียงไปในตัวด้วย ดังนั้นจึงควรขอสำเนาแผนที่รังวัดไว้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบขณะยื่นขออนุญาตจะทำให้ขั้นตอนสามารถทำได้ง่ายขึ้น โดยขั้นตอนการทำรังวัดจะใช้เวลาประมาณ 45 วัน เพราะทางเจ้าหน้าที่จะต้องรับรองโครงการที่ออกแบบ เพื่อขออนุญาตปลูกสร้างอาคารต่อหน่วยงานราชการด้วย
ที่มา dailynews.co.th
หากแต่บางทีระยะอาจมีเคลื่อนไปบ้าง เช่น ด้านกว้างลดลง 2 เซนติเมตร แต่ตอนลึกเพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร และหากเมื่อคำนวณแล้วพื้นที่ดินควรจะต้องมีขนาดเท่าเดิมตามโฉนดและเป็นการตรวจสอบแนวเขตข้างเคียงไปในตัวด้วย ดังนั้นจึงควรขอสำเนาแผนที่รังวัดไว้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบขณะยื่นขออนุญาตจะทำให้ขั้นตอนสามารถทำได้ง่ายขึ้น โดยขั้นตอนการทำรังวัดจะใช้เวลาประมาณ 45 วัน เพราะทางเจ้าหน้าที่จะต้องรับรองโครงการที่ออกแบบ เพื่อขออนุญาตปลูกสร้างอาคารต่อหน่วยงานราชการด้วย
ที่มา dailynews.co.th
การจดจำนอง อสังหาริมทรัพย์
การจำนองคือการที่คน ๆ หนึ่งที่จะเรียกได้ว่าเป็นผู้จำนอง ต้องเอาอสังหาริมทรัพย์ที่ตนเองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เช่นบ้าน, ที่ดิน หรือ ทรัพย์อื่นที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ไปจดทะเบียนจำนอง เพื่อเป็นหลักประกันหนี้กู้ยืมเงิน หรือหนี้สินอื่น กับบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าหนี้ หรือเรียกว่าผู้รับจำนอง ทั้งนี้ผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบการครอบครอง บ้าน, ที่ดิน หรือ ทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนองแต่อย่างใด
ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น เรามีที่ดินเปล่าหนึ่งแปลง ต้องการกู้เงินจากสถาบันการเงิน เพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย เราก็สามารถไปขอกู้เงินกับสถาบันการเงินนั้น ๆ เมื่อสถาบันการเงินอนุมัติเงินกู้ สถาบันการเงินก็จะให้เราจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวไว้กับสถาบันการเงินผู้รับจำนอง เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ถ้าเราไม่สามารถ ชำระหนี้ให้สถาบันการเงินได้ตามสัญญา สถาบันการเงินก็จะฟ้องร้องบังคับจำนองกับหลักประกันต่อไป โดยการจำนอง ต้องจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินที่ทรัพย์ตั้งอยู่เท่านั้น ถึงจะถูกต้องตามกฎหมาย และจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนองในอัตราร้อยละ 1 ของมูลค่าจำนองแต่ไม่เกิน 200,000 บาท หรือให้อัตราร้อยละ 0.5 อย่างสูงไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีจำนองสำหรับการให้สินเชื่อเพื่อการ เกษตร
การจำนองมี 2 รูปแบบคือการจำนอง เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ของตนเอง และการจำนอง เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ของบุคคลอื่น ทั้งนี้กฎหมายกำหนดแบบของการจำนองไว้ว่า จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน ถ้าไม่เช่นนั้นย่อมเป็นโมฆะโดยสัญญาจะต้องระบุข้อความให้ชัดเจน ว่าเป็นประกันมูลหนี้ใด ต้องมีการกำหนดวงเงินที่ต้องการจะจำนองไว้เป็นประกันอย่างชัดเจน และจะต้องกำหนดในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยให้ชัดเจนด้วย
การฟ้องร้องบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองอาจบังคับเอาหลักทรัพย์จำนอง เป็นสิทธิของตนได้ แต่ต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังนี้คือ 1) ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาเป็นเวลาถึง 5 ปี 2) ผู้จำนองมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า ราคาทรัพย์สินนั้นท่วมจำนวนเงินที่ค้างชำระอยู่ และ 3) ไม่มีการจำนองรายอื่น หรือบุริมสิทธิอื่นได้ จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้เอง
เมื่อมีการบังคับทรัพย์จำนองโดยการขายทอดตลาด เงินได้ที่จากการขายทอดตลาด ภายหลังหักค่าฤชาธรรมเนียมแล้วเหลือเป็นจำนวนเท่าไหร่ จะต้องนำไปจัดสรรชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ด้วย ถ้าเจ้าหนี้ได้รับครบถ้วนแล้ว เหลือเงินเท่าไหร่ก็ต้องคืนให้แก่ผู้จำนอง แต่ถ้าขายแล้วเงินไม่พอชำระหนี้ ลูกหนี้ก็ไม่ต้องรับผิดชอบในเงินนั้นอีก ยกเว้นเสียแต่มีข้อตกลงในสัญญาจำนอง ว่าถ้าเงินที่ขายทอดตลาดไม่เพียงพอเจ้าหนี้สามารถเรียกร้องส่วนที่ขาดได้ โดยเหตุที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนอง ยังคงเป็นของผู้จำนอง ดังนั้นผู้จำนองอาจจำหน่ายทรัพย์สินได้ แต่ทั้งนี้ผู้รับโอนทรัพย์สิน ต้องรับภาระจำนองที่ติดกับทรัพย์สินนั้นด้วยนะครับ.
ดินสอพอง
ที่มา http://dailynews.co.th
ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น เรามีที่ดินเปล่าหนึ่งแปลง ต้องการกู้เงินจากสถาบันการเงิน เพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย เราก็สามารถไปขอกู้เงินกับสถาบันการเงินนั้น ๆ เมื่อสถาบันการเงินอนุมัติเงินกู้ สถาบันการเงินก็จะให้เราจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวไว้กับสถาบันการเงินผู้รับจำนอง เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ถ้าเราไม่สามารถ ชำระหนี้ให้สถาบันการเงินได้ตามสัญญา สถาบันการเงินก็จะฟ้องร้องบังคับจำนองกับหลักประกันต่อไป โดยการจำนอง ต้องจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินที่ทรัพย์ตั้งอยู่เท่านั้น ถึงจะถูกต้องตามกฎหมาย และจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนองในอัตราร้อยละ 1 ของมูลค่าจำนองแต่ไม่เกิน 200,000 บาท หรือให้อัตราร้อยละ 0.5 อย่างสูงไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีจำนองสำหรับการให้สินเชื่อเพื่อการ เกษตร
การจำนองมี 2 รูปแบบคือการจำนอง เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ของตนเอง และการจำนอง เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ของบุคคลอื่น ทั้งนี้กฎหมายกำหนดแบบของการจำนองไว้ว่า จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน ถ้าไม่เช่นนั้นย่อมเป็นโมฆะโดยสัญญาจะต้องระบุข้อความให้ชัดเจน ว่าเป็นประกันมูลหนี้ใด ต้องมีการกำหนดวงเงินที่ต้องการจะจำนองไว้เป็นประกันอย่างชัดเจน และจะต้องกำหนดในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยให้ชัดเจนด้วย
การฟ้องร้องบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองอาจบังคับเอาหลักทรัพย์จำนอง เป็นสิทธิของตนได้ แต่ต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังนี้คือ 1) ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาเป็นเวลาถึง 5 ปี 2) ผู้จำนองมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า ราคาทรัพย์สินนั้นท่วมจำนวนเงินที่ค้างชำระอยู่ และ 3) ไม่มีการจำนองรายอื่น หรือบุริมสิทธิอื่นได้ จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้เอง
เมื่อมีการบังคับทรัพย์จำนองโดยการขายทอดตลาด เงินได้ที่จากการขายทอดตลาด ภายหลังหักค่าฤชาธรรมเนียมแล้วเหลือเป็นจำนวนเท่าไหร่ จะต้องนำไปจัดสรรชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ด้วย ถ้าเจ้าหนี้ได้รับครบถ้วนแล้ว เหลือเงินเท่าไหร่ก็ต้องคืนให้แก่ผู้จำนอง แต่ถ้าขายแล้วเงินไม่พอชำระหนี้ ลูกหนี้ก็ไม่ต้องรับผิดชอบในเงินนั้นอีก ยกเว้นเสียแต่มีข้อตกลงในสัญญาจำนอง ว่าถ้าเงินที่ขายทอดตลาดไม่เพียงพอเจ้าหนี้สามารถเรียกร้องส่วนที่ขาดได้ โดยเหตุที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนอง ยังคงเป็นของผู้จำนอง ดังนั้นผู้จำนองอาจจำหน่ายทรัพย์สินได้ แต่ทั้งนี้ผู้รับโอนทรัพย์สิน ต้องรับภาระจำนองที่ติดกับทรัพย์สินนั้นด้วยนะครับ.
ดินสอพอง
ที่มา http://dailynews.co.th
การปลูกสร้างบ้านเอง กับ ขั้นตอนทางกฎหมาย
ขั้นตอนการปลูกสร้างบ้านนั้น สำหรับพื้นที่ในเขตที่มีการประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมือง บ้านหรืออาคารที่จะปลูกสร้าง ต้องได้รับอนุญาตแบบก่อเสียก่อน และจะสร้างเกินกว่าแบบที่ได้รับอนุญาตไม่ได้ โดยจะยื่นคำร้องได้ ที่สำนักงานปกครองท้องถิ่นที่จะปลูกสร้างนั้น ๆ สำหรับนอกเขตประกาศควบคุมดังกล่าวข้างต้น บ้านหรืออาคารที่ปลูกสร้างไม่ต้องได้รับอนุญาตสามารถปลูกสร้างได้เลย
เมื่อมีการปลูกบ้านหรืออาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เจ้าของบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่นั้น ๆ เช่น นายทะเบียนท้องถิ่น หรือกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน หรือปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมือง สำนักเขต กรุงเทพมหานคร ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณีเพื่อขอเลขประจำบ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันปลูกสร้างบ้านเสร็จ หากไม่ไปแจ้งตามกำหนดมีความผิดตามกฎหมายมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ส่วนเรื่องหลักฐานที่จะต้องใช้ประกอบการขอเลขประจำบ้านนั้นก็คือ หนังสือหรือเอกสารได้รับอนุญาตการปลูกสร้างบ้านหรืออาคาร (เฉพาะในเขตพื้นที่ที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมอาคาร หรือกฎหมายผังเมือง), สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวของผู้แจ้ง กรณีผู้ที่ได้รับมอบหมายให้นำบัตรประจำตัวของผู้มอบและหนังสือมอบหมาย (ถ้ามี) ไปแสดงด้วย, หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้างบ้าน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า (ถ้ามี), ผู้แจ้งให้ยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งพร้อมหลักฐานที่นำไปแสดง
เมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการสร้างบ้านใหม่แล้ว นายทะเบียนก็จะตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดง เมื่อเห็นว่าถูกต้อง ก็ให้กำหนดเลขหมายประจำบ้านให้พร้อมกับจัดทำทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านต่อไป โดยจะมอบสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่เจ้าของบ้านผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินการในเรื่องการย้ายบุคคลเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านต่อไป หรือจะดำเนินการในคราวเดียวกันก็ได้ ส่วนเลขประจำบ้านที่นายทะเบียนกำหนดให้นั้น เจ้าของบ้านจะต้องจัดทำเลขประจำบ้านติดไว้ที่หน้าบ้านหรือที่รั้ว (จุดที่สามารถเห็นได้ชัดเจน)
ส่วนเรื่องการรื้อถอนบ้านหรืออาคารที่มีเลขประจำบ้านแล้วนั้น หากเป็นการรื้อถอนโดยไม่ประสงค์จะปลูกสร้างใหม่ในที่ดินนั้นอีก หรือรื้อเพื่อไปปลูกสร้างที่อื่น ให้เจ้าของบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับผิดชอบภายใน 1 วัน นับแต่วันรื้อถอนเสร็จพร้อมกับนำสำเนาทะเบียนบ้านคืนแก่นายทะเบียนด้วย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และการใช้สอยอาคาร ภายในเขตเทศบาลต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาลเสียก่อน จึงจะดำเนินการได้ เพราะเทศบาลมีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกในการจราจร เพื่อประโยชน์ของผู้อยู่อาศัยในอาคารนั้น ๆ.
ดินสอพอง
ที่มา http://dailynews.co.th
เมื่อมีการปลูกบ้านหรืออาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เจ้าของบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่นั้น ๆ เช่น นายทะเบียนท้องถิ่น หรือกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน หรือปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมือง สำนักเขต กรุงเทพมหานคร ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณีเพื่อขอเลขประจำบ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันปลูกสร้างบ้านเสร็จ หากไม่ไปแจ้งตามกำหนดมีความผิดตามกฎหมายมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ส่วนเรื่องหลักฐานที่จะต้องใช้ประกอบการขอเลขประจำบ้านนั้นก็คือ หนังสือหรือเอกสารได้รับอนุญาตการปลูกสร้างบ้านหรืออาคาร (เฉพาะในเขตพื้นที่ที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมอาคาร หรือกฎหมายผังเมือง), สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวของผู้แจ้ง กรณีผู้ที่ได้รับมอบหมายให้นำบัตรประจำตัวของผู้มอบและหนังสือมอบหมาย (ถ้ามี) ไปแสดงด้วย, หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้างบ้าน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า (ถ้ามี), ผู้แจ้งให้ยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งพร้อมหลักฐานที่นำไปแสดง
เมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการสร้างบ้านใหม่แล้ว นายทะเบียนก็จะตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดง เมื่อเห็นว่าถูกต้อง ก็ให้กำหนดเลขหมายประจำบ้านให้พร้อมกับจัดทำทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านต่อไป โดยจะมอบสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่เจ้าของบ้านผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินการในเรื่องการย้ายบุคคลเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านต่อไป หรือจะดำเนินการในคราวเดียวกันก็ได้ ส่วนเลขประจำบ้านที่นายทะเบียนกำหนดให้นั้น เจ้าของบ้านจะต้องจัดทำเลขประจำบ้านติดไว้ที่หน้าบ้านหรือที่รั้ว (จุดที่สามารถเห็นได้ชัดเจน)
ส่วนเรื่องการรื้อถอนบ้านหรืออาคารที่มีเลขประจำบ้านแล้วนั้น หากเป็นการรื้อถอนโดยไม่ประสงค์จะปลูกสร้างใหม่ในที่ดินนั้นอีก หรือรื้อเพื่อไปปลูกสร้างที่อื่น ให้เจ้าของบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับผิดชอบภายใน 1 วัน นับแต่วันรื้อถอนเสร็จพร้อมกับนำสำเนาทะเบียนบ้านคืนแก่นายทะเบียนด้วย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และการใช้สอยอาคาร ภายในเขตเทศบาลต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาลเสียก่อน จึงจะดำเนินการได้ เพราะเทศบาลมีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกในการจราจร เพื่อประโยชน์ของผู้อยู่อาศัยในอาคารนั้น ๆ.
ดินสอพอง
ที่มา http://dailynews.co.th
การปรับระดับพื้นที่ดิน
ระดับดินที่เหมาะสม
ก่อนที่จะทำการสร้างบ้าน หรือสิ่งก่อสร้างใดๆ เจ้าของเทบทุกรายจะต้องเกิดคำถามว่า ระดับดินของบ้านหรือโครงการนั้นจะเอาสูงแค่ไหน การที่จะตอบปัญหาข้อนี้ควรจะดูปัจจัยต่างๆอย่างเช่น
บริเวณพื้นที่นั้น มีน้ำท่วมหรือเปล่า ท่วมสูงแค่ไหน อาจจะต้องสอบถามจากผู้คนแถวๆนั้น หรือถ้าสามารถดูร่องรอยน้ำท่วมที่อยู่ตามสิ่งก่อสร้างต่างๆได้ก็ยิ่งดีครับ
ระดับท่อระบายน้ำและบ่อพักสูงแต่ไหน ระดับน้ำในระบบท่อระบายน้ำในพื้นที่นั้นอยู่ที่ระดับไหน สามารถสอบถามได้จากหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบอยู่ หากระดับที่คุณต้องการถมอยู่ค่อนข้างสูงก็ไม่เป็นไรจะไม่มีปัญหาเรื่องการระบายน้ำ แต่ถ้าระดับของคุณค่อนข้างต่ำกว่าพื้นที่ข้างเคียง(ไม่ควร แต่จะด้วยเหตุจำเป็นใดๆก็ตาม) ควรจะเชคตัวนี้ด้วยครับเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำในบ้านเราสามารถระบายออกสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะได้
ระดับถนนหน้าบ้าน และระดับดินพื้นที่ข้างเคียง ปัจจุบันมีการถมยกระดับถนนกันมาก แข่งกันถมทั้งถนน ทั้งเพื่อนบ้าน ถ้าสามารถให้ระดับดินของเราใกล้เคียงกับพื้นที่รอบๆก็น่าจะดีครับ ทั้งในแง่ความปลอดภัยของโครงสร้างรั้ว การระบายน้ำ ฯลฯ
การกำหนดระดับดินถมควรดูปัจจัยรอบๆด้าน ถมสูงหน่อยได้เปรียบ แต่ค่าถมและค่ากำแพงกันดินจะแพงขึ้นตามระดับครับ
ทำไมต้องใช้ลูกรัง
ดินลูกรังสามารถบดอัดได้ดี เมื่อบดอัดแล้วจะแน่นแข็ง เหมาะแก่การถมเพื่อทำผิวถนนคอนกรีต แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ทำสวน ในการถมที่ปลูกบ้านอาจจะแบ่งโซนเป็นดินลูกรังเฉพาะส่วนถนนก็ได้ครับ
ถมดินก่อสร้างบ้าน หรือ ถมทีหลังดี
การถมดินก่อนสร้างบ้านเครื่องจักรจะทำงานได้ง่าย อีกทั้งดินที่ถมทิ้งไว้จะยุบตัวไปบางส่วนขณะทำการก่อสร้าง เมื่อท่านสร้างบ้านเสร็จแล้วค่อยปรับระดับหน้าดิน และบดอัดดินทำถนนอีกครั้ง ดินจะยุบตัวอีกหลังจากนั้นไม่มากแล้วครับ
ถมดินอย่างไรไม่ทรุด (สำหรับดินบริเวณทั่วไป หรือ จัดสวน)
เรื่องการทรุดตัวของดินเกิดจากหลายสาเหตุคือ
ดินที่นำมาถมเมื่อถูกขุดและขนย้ายแล้วนำมาถม เนื่อดินจะไม่แน่นมีโพรงอยู่ข้างใน เมื่อถมทิ้งไว้สักหลายๆเดือนดินจะค่อยๆยุบตัวโดยที่โพรงอากาศข้างในจะถูกน้ำหนักดินกดเอาเนื้อดินเข้ามาแทนที่ ทางแก้ ใช้รถแบคโฮ รถบรรทุกดินหรือรถแทรกเตอร์ วิ่งบดไปบดมาเป็นชั้นๆละ 30-50 เซนติเมตร จะทำให้โพรงเหล่านี้ยุบลงไปได้มาก กรณีของถนนต้องใช้เสปกสำหรับทำถนนซึ่งยุ่งยากทีเดียว
ดินเดิมเมื่อถูกน้ำหนักดินถมกดลงมาก็จะยุบตัว ยุบมากยุบน้อยขึ้นอยู่กับสภาพดินเดิมว่ามีความแน่นเพียงใด เช่นดินเดิมที่เคยใช้เป็นลานจอดรถมานานและมีรถเข้าออกจอดอยู่เสมอก็จะทรุดน้อย ดินเดิมที่เป็นท้องนาหรือที่ต่ำขังน้ำดินอุ้มน้ำไว้มากจะทรุดตัวมาก ไม่มีทางแก้ครับ ดินจะทรุดไปตามธรรมชาติ แต่ไม่นานอาการนี้จะหยุดไปเอง
ดินทรุดจากการสูบน้ำบาดาลในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล อันนี้ก็ไม่มีทางแก้เช่นกัน ต้องทรุดลงไปเรื่อยๆอยู่แล้ว อาการนี้ไม่หยุด (ยกเว้นจะหยุดสูบน้ำบาดาลอาการก็จะค่อยๆช้าลง)
อินทรีย์วัตถุผิวดิน เช่นบริเวณน้ำขังจะมีขี้เลนซึ่งเป็นอินทรีย์วัตถถุจากการเน่าเปื่อยของพืชน้ำ รวมทั้งซากต้นไม้ต่างๆด้วย เมื่อถมดินกลบไปแล้วจะค่อยๆย่อยสลายยุบตัวแล้วดินถมที่อยู่ข้างบนก็จะยุบตัวตามลงมา ทางแก้ กรณีเป็นที่น้ำขัง ถ้ามีขี้เลนเหลวๆ รวมทั้งพืชน้ำต่างๆ ให้ลอกออกก่อน ถ้าเป็นที่แห้งให้ถางพืชต่างๆรวมทั้งขุดตอไม้ใหญ่ออกด้วย หรืออาจใช้วิธีจุดไฟเผาก็ได้ถ้าสามารถควบคุมการลุกลามของไฟได้ ดินถมบริเวณใดไม่ได้มีการลอกเลน หรือบริเวณที่มีอินทรีย์วัตถุออกอยู่มากเอาออกไม่หมด ก็จะยุบเป็นหลุมๆ
หากมีการคุมงานที่ดี ตามวิธีในข้อ 1 และข้อ 4 แล้วดินที่ถมจะไม่ยุบมาก ไม่ต้องมาปรับระดับที่หลังอีกที (หรือปรับไม่มาก) ครับ ในการพิจารณาว่าต้องมีการบดอัด หรือมาตราการป้องกันดีแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าเราต้องใช้พื้นที่บริเวณนั้นอย่างไร เช่นถ้าใช้เป็นถนนคอนกรีตจะต้องมีการบดอัด และกำจัดเศษวัชพืชอย่างดี เนื่องจากการทรุดตัวของดินต่างกันเล็กน้อยก็อาจทำให้ผิวถนนแตกร้าวได้ แต่ถ้าใช้เป็นพื้นที่จัดสวนนั้นเราสามารถปรับระดับดินภายหลังจากที่ทิ้งให้ดินยุบตัวไปสักปีสองปีแล้ว แต่ก็ควรจะบดอัดบ้างเหมือนกันถ้าเราต้องการสวนที่สวยเรียบในปีแรกๆครับ
ระวังรั้วเอียงด้วยนะจ๊ะ
ธรรมชาติดินนั้นมันไม่ใช่เพียงอยู่นิ่งๆเท่านั้น แต่มันจะมีแรงดันทางด้านข้างด้วย ดินที่ระดับเท่ากันต่างคนต่างดันกันเองกับเพื่อนๆรอบตัวมัน ก็ไม่เป็นไร แต่ดินต่างระดับความสูงที่ถูกกั้นไว้ด้วยกำแพงรั้วนั้น ดินที่สูงกว่าจะมีแรงดันมากกว่าผลักออกไปทางดินที่ต่ำกว่า แรงนี้เองที่กำแพงรั้วจะต้องรับไว้ คุณจึงเอากำแพงรั้วแบบธรรมดามาใช้เป็นกันดินที่ต่างระดับมากๆไม่ได้ครับ โครงสร้างกำแพงรั้วต้องออกแบบให้รับแรงดันดินได้โดยไม่เอียง
ถมดินอย่างไรไม่โดนโก่งราคา ในการถมดินสำหรับเจ้าของงานนั้นไม่แนะนำให้จ้างรถดินขน และจ้างรถบดเข้ามาเองครับ เนื่องจากถ้าไม่คุ้นเคยกับงานแล้วอาจจะโดนโกงได้ง่าย ควรจะจ้างผู้รับเหมาถมดินให้จัดการให้เสร็จ แล้วทีนี้การติดต่อกับผู้รับเหมาถมดิน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าราคาควรจะเป็นเท่าไหร่ ตกลงกันตรงไหน
เริ่มที่การคิดปริมาณดิน ก็คือ กว้างคูณยาวคูณสูง หรือพื้นที่คูณความสูงนั่นเอง ในกรณีที่พื้นที่เดิมไม่สม่ำเสมออาจจะต้องเฉลี่ยระดับ กรณีพื้นที่กว้างๆ มูลค่างานมาก ควรจะจ้างช่างสำรวจหาระดับดินในตำแหน่งต่างๆ แล้วคำณวณปริมาณดินออกมา
ราคาต่อหน่วย เมื่อทราบปริมาณดินที่ต้องการแล้วคูณด้วยราคาต่อหน่วยก็จะเป็นราคารวม ราคาต่อหน่วยนี้ต้องสูงกว่าราคาดินจากรถขนดิน เนื้องจากเวลานำดินมาบดอัดแล้วปริมาตรจะยุบตัวลงไป และผู้รับเหมาต้องบวกค่าดำเนินการ กำไรต่างๆด้วย ให้ลองเชคราคาดูกับผู้รับเหมาหลายๆราย ก็จะทำให้เราทราบราคาตลาดครับ
ข้อกำหนดในการทำงาน เช่นต้องลอกเลนหรือไม่(น่าจะลอกนะครับ) บดอัดทุก 30 ซม หรือ 50 ซม. ซึ่งจะคุมเข้มแค่ไหนขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งานพื้นที่ เช่นพื้นที่ถมทิ้งไว้เฉยๆ หรือใช้จัดสวน ก็ควรมีการบดอัดบ้าง แต่ถ้าเป็นถนนต้องมีการบดอัดและควบคุมคุณภาพอย่างดีไม่งั้นถนนจะแตกร้าวได้ครับ
ตอนทำงานควรไปดูบ่อยๆด้วยครับ ผู้รับเหมาจะได้ทำตามที่ได้ตกลงกัน
ก่อนเริ่มทำการถม ควรมีการทำระดับอ้างอิงไว้เพื่อตรวจสอบ เช่นการพ่นสี ตอกตะปูกำหนดระดับไว้ตามเสาไฟฟ้า หรือสิ่งก่อสร้างข้างเคียงที่มีลักษณะถาวร ไม่เคลื่อนย้าย เมื่อผู้รับเหมาจะส่งมอบงานจะได้ทำการตรวจสอบได้ครับ
ที่มา: http://www.brcproperty.com
ก่อนที่จะทำการสร้างบ้าน หรือสิ่งก่อสร้างใดๆ เจ้าของเทบทุกรายจะต้องเกิดคำถามว่า ระดับดินของบ้านหรือโครงการนั้นจะเอาสูงแค่ไหน การที่จะตอบปัญหาข้อนี้ควรจะดูปัจจัยต่างๆอย่างเช่น
บริเวณพื้นที่นั้น มีน้ำท่วมหรือเปล่า ท่วมสูงแค่ไหน อาจจะต้องสอบถามจากผู้คนแถวๆนั้น หรือถ้าสามารถดูร่องรอยน้ำท่วมที่อยู่ตามสิ่งก่อสร้างต่างๆได้ก็ยิ่งดีครับ
ระดับท่อระบายน้ำและบ่อพักสูงแต่ไหน ระดับน้ำในระบบท่อระบายน้ำในพื้นที่นั้นอยู่ที่ระดับไหน สามารถสอบถามได้จากหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบอยู่ หากระดับที่คุณต้องการถมอยู่ค่อนข้างสูงก็ไม่เป็นไรจะไม่มีปัญหาเรื่องการระบายน้ำ แต่ถ้าระดับของคุณค่อนข้างต่ำกว่าพื้นที่ข้างเคียง(ไม่ควร แต่จะด้วยเหตุจำเป็นใดๆก็ตาม) ควรจะเชคตัวนี้ด้วยครับเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำในบ้านเราสามารถระบายออกสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะได้
ระดับถนนหน้าบ้าน และระดับดินพื้นที่ข้างเคียง ปัจจุบันมีการถมยกระดับถนนกันมาก แข่งกันถมทั้งถนน ทั้งเพื่อนบ้าน ถ้าสามารถให้ระดับดินของเราใกล้เคียงกับพื้นที่รอบๆก็น่าจะดีครับ ทั้งในแง่ความปลอดภัยของโครงสร้างรั้ว การระบายน้ำ ฯลฯ
การกำหนดระดับดินถมควรดูปัจจัยรอบๆด้าน ถมสูงหน่อยได้เปรียบ แต่ค่าถมและค่ากำแพงกันดินจะแพงขึ้นตามระดับครับ
ทำไมต้องใช้ลูกรัง
ดินลูกรังสามารถบดอัดได้ดี เมื่อบดอัดแล้วจะแน่นแข็ง เหมาะแก่การถมเพื่อทำผิวถนนคอนกรีต แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ทำสวน ในการถมที่ปลูกบ้านอาจจะแบ่งโซนเป็นดินลูกรังเฉพาะส่วนถนนก็ได้ครับ
ถมดินก่อสร้างบ้าน หรือ ถมทีหลังดี
การถมดินก่อนสร้างบ้านเครื่องจักรจะทำงานได้ง่าย อีกทั้งดินที่ถมทิ้งไว้จะยุบตัวไปบางส่วนขณะทำการก่อสร้าง เมื่อท่านสร้างบ้านเสร็จแล้วค่อยปรับระดับหน้าดิน และบดอัดดินทำถนนอีกครั้ง ดินจะยุบตัวอีกหลังจากนั้นไม่มากแล้วครับ
ถมดินอย่างไรไม่ทรุด (สำหรับดินบริเวณทั่วไป หรือ จัดสวน)
เรื่องการทรุดตัวของดินเกิดจากหลายสาเหตุคือ
ดินที่นำมาถมเมื่อถูกขุดและขนย้ายแล้วนำมาถม เนื่อดินจะไม่แน่นมีโพรงอยู่ข้างใน เมื่อถมทิ้งไว้สักหลายๆเดือนดินจะค่อยๆยุบตัวโดยที่โพรงอากาศข้างในจะถูกน้ำหนักดินกดเอาเนื้อดินเข้ามาแทนที่ ทางแก้ ใช้รถแบคโฮ รถบรรทุกดินหรือรถแทรกเตอร์ วิ่งบดไปบดมาเป็นชั้นๆละ 30-50 เซนติเมตร จะทำให้โพรงเหล่านี้ยุบลงไปได้มาก กรณีของถนนต้องใช้เสปกสำหรับทำถนนซึ่งยุ่งยากทีเดียว
ดินเดิมเมื่อถูกน้ำหนักดินถมกดลงมาก็จะยุบตัว ยุบมากยุบน้อยขึ้นอยู่กับสภาพดินเดิมว่ามีความแน่นเพียงใด เช่นดินเดิมที่เคยใช้เป็นลานจอดรถมานานและมีรถเข้าออกจอดอยู่เสมอก็จะทรุดน้อย ดินเดิมที่เป็นท้องนาหรือที่ต่ำขังน้ำดินอุ้มน้ำไว้มากจะทรุดตัวมาก ไม่มีทางแก้ครับ ดินจะทรุดไปตามธรรมชาติ แต่ไม่นานอาการนี้จะหยุดไปเอง
ดินทรุดจากการสูบน้ำบาดาลในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล อันนี้ก็ไม่มีทางแก้เช่นกัน ต้องทรุดลงไปเรื่อยๆอยู่แล้ว อาการนี้ไม่หยุด (ยกเว้นจะหยุดสูบน้ำบาดาลอาการก็จะค่อยๆช้าลง)
อินทรีย์วัตถุผิวดิน เช่นบริเวณน้ำขังจะมีขี้เลนซึ่งเป็นอินทรีย์วัตถถุจากการเน่าเปื่อยของพืชน้ำ รวมทั้งซากต้นไม้ต่างๆด้วย เมื่อถมดินกลบไปแล้วจะค่อยๆย่อยสลายยุบตัวแล้วดินถมที่อยู่ข้างบนก็จะยุบตัวตามลงมา ทางแก้ กรณีเป็นที่น้ำขัง ถ้ามีขี้เลนเหลวๆ รวมทั้งพืชน้ำต่างๆ ให้ลอกออกก่อน ถ้าเป็นที่แห้งให้ถางพืชต่างๆรวมทั้งขุดตอไม้ใหญ่ออกด้วย หรืออาจใช้วิธีจุดไฟเผาก็ได้ถ้าสามารถควบคุมการลุกลามของไฟได้ ดินถมบริเวณใดไม่ได้มีการลอกเลน หรือบริเวณที่มีอินทรีย์วัตถุออกอยู่มากเอาออกไม่หมด ก็จะยุบเป็นหลุมๆ
หากมีการคุมงานที่ดี ตามวิธีในข้อ 1 และข้อ 4 แล้วดินที่ถมจะไม่ยุบมาก ไม่ต้องมาปรับระดับที่หลังอีกที (หรือปรับไม่มาก) ครับ ในการพิจารณาว่าต้องมีการบดอัด หรือมาตราการป้องกันดีแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าเราต้องใช้พื้นที่บริเวณนั้นอย่างไร เช่นถ้าใช้เป็นถนนคอนกรีตจะต้องมีการบดอัด และกำจัดเศษวัชพืชอย่างดี เนื่องจากการทรุดตัวของดินต่างกันเล็กน้อยก็อาจทำให้ผิวถนนแตกร้าวได้ แต่ถ้าใช้เป็นพื้นที่จัดสวนนั้นเราสามารถปรับระดับดินภายหลังจากที่ทิ้งให้ดินยุบตัวไปสักปีสองปีแล้ว แต่ก็ควรจะบดอัดบ้างเหมือนกันถ้าเราต้องการสวนที่สวยเรียบในปีแรกๆครับ
ระวังรั้วเอียงด้วยนะจ๊ะ
ธรรมชาติดินนั้นมันไม่ใช่เพียงอยู่นิ่งๆเท่านั้น แต่มันจะมีแรงดันทางด้านข้างด้วย ดินที่ระดับเท่ากันต่างคนต่างดันกันเองกับเพื่อนๆรอบตัวมัน ก็ไม่เป็นไร แต่ดินต่างระดับความสูงที่ถูกกั้นไว้ด้วยกำแพงรั้วนั้น ดินที่สูงกว่าจะมีแรงดันมากกว่าผลักออกไปทางดินที่ต่ำกว่า แรงนี้เองที่กำแพงรั้วจะต้องรับไว้ คุณจึงเอากำแพงรั้วแบบธรรมดามาใช้เป็นกันดินที่ต่างระดับมากๆไม่ได้ครับ โครงสร้างกำแพงรั้วต้องออกแบบให้รับแรงดันดินได้โดยไม่เอียง
ถมดินอย่างไรไม่โดนโก่งราคา ในการถมดินสำหรับเจ้าของงานนั้นไม่แนะนำให้จ้างรถดินขน และจ้างรถบดเข้ามาเองครับ เนื่องจากถ้าไม่คุ้นเคยกับงานแล้วอาจจะโดนโกงได้ง่าย ควรจะจ้างผู้รับเหมาถมดินให้จัดการให้เสร็จ แล้วทีนี้การติดต่อกับผู้รับเหมาถมดิน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าราคาควรจะเป็นเท่าไหร่ ตกลงกันตรงไหน
เริ่มที่การคิดปริมาณดิน ก็คือ กว้างคูณยาวคูณสูง หรือพื้นที่คูณความสูงนั่นเอง ในกรณีที่พื้นที่เดิมไม่สม่ำเสมออาจจะต้องเฉลี่ยระดับ กรณีพื้นที่กว้างๆ มูลค่างานมาก ควรจะจ้างช่างสำรวจหาระดับดินในตำแหน่งต่างๆ แล้วคำณวณปริมาณดินออกมา
ราคาต่อหน่วย เมื่อทราบปริมาณดินที่ต้องการแล้วคูณด้วยราคาต่อหน่วยก็จะเป็นราคารวม ราคาต่อหน่วยนี้ต้องสูงกว่าราคาดินจากรถขนดิน เนื้องจากเวลานำดินมาบดอัดแล้วปริมาตรจะยุบตัวลงไป และผู้รับเหมาต้องบวกค่าดำเนินการ กำไรต่างๆด้วย ให้ลองเชคราคาดูกับผู้รับเหมาหลายๆราย ก็จะทำให้เราทราบราคาตลาดครับ
ข้อกำหนดในการทำงาน เช่นต้องลอกเลนหรือไม่(น่าจะลอกนะครับ) บดอัดทุก 30 ซม หรือ 50 ซม. ซึ่งจะคุมเข้มแค่ไหนขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งานพื้นที่ เช่นพื้นที่ถมทิ้งไว้เฉยๆ หรือใช้จัดสวน ก็ควรมีการบดอัดบ้าง แต่ถ้าเป็นถนนต้องมีการบดอัดและควบคุมคุณภาพอย่างดีไม่งั้นถนนจะแตกร้าวได้ครับ
ตอนทำงานควรไปดูบ่อยๆด้วยครับ ผู้รับเหมาจะได้ทำตามที่ได้ตกลงกัน
ก่อนเริ่มทำการถม ควรมีการทำระดับอ้างอิงไว้เพื่อตรวจสอบ เช่นการพ่นสี ตอกตะปูกำหนดระดับไว้ตามเสาไฟฟ้า หรือสิ่งก่อสร้างข้างเคียงที่มีลักษณะถาวร ไม่เคลื่อนย้าย เมื่อผู้รับเหมาจะส่งมอบงานจะได้ทำการตรวจสอบได้ครับ
ที่มา: http://www.brcproperty.com
การเลือกทรงบ้าน ที่ดินตามฮวงจุ้ย
ตามลักษณะและรูปทรงของที่ดิน
1. บ้านที่มีที่ดินด้านหลังบ้านแคบแต่ด้านหน้าบ้านกว้าง ถือว่าไม่เป็นมงคล แต่เราสามารถแก้ฮวงจุ้ยได้ด้วยการติดกระจกบริเวณที่แคบทั้งสองด้าน เพื่อให้ความรู้สึกกว้างและลึก
2. บ้านที่มีลักษณะหน้าบ้านแคบแต่หลังบ้านกว้าง ตามตำราฮวงจุ้ยถือว่าเป็นลักษณะที่ดี จะเป็นถุงเงินถุงทองให้กับคนที่อยู่อาศัย แต่ถ้าหากมีลักษณะเป็นรูปทรงหน้ากว้างหลังแคบจะเก็บเงินไม่อยู่ จะยากจน
3. บ้านที่สร้างแล้วมีความลึกมากกว่าความกว้าง จัดว่าเป็นฮวงจุ้ยทีดี อยู่แล้วจะเจริญรุ่งเรือง
4. บ้านหรือที่ดินบ้านที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตามหลักฮวงจุ้ยถือว่าเป็นมงคลอย่างมาก
5. บ้านมีพื้นที่เว้าแหว่งเป็นบางส่วน ถือว่าขัดต่อหลักฮวยจุ้ยเป็นอย่างมาก จะส่งผลให้คนในบ้านมีอันเป็นไป ถ้าหากแหว่งทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จะส่งผลถึงแม่หรือหญิงเจ้าของบ้าน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือจะส่งผลถึงพ่อหรือชายเจ้าของบ้าน ทิศตะวันออกและตะวันตกคือลูกชายคนโต และลูกสาวคนเล็ก ทิศเหนือและใต้จะส่งผลกระทบต่อลูกสาวคนกลาง ทิศใต้จะเกิดความเสียหายแก่ลูกชายคนกลาง และทิศเหนือจะมีเรื่องคดีความ
6. ทางเข้าบ้านที่มีความแคบหรือกว้างเกินไป ถือว่าไม่เป็นมงคล ดังนั้น การออกแบบสร้างบ้านจะต้องดูทางเข้าให้ได้สัดส่วนและกลมกลืนกับขนาดพื้นที่ของบ้านด้วย นอกจากนี้ไม่ควรทำทางเข้าบ้านเป็นทางลาดเทออกไป เพราะจะทำให้พลังชี่ไหลเวียนออกไปจนหมด ส่งผลให้โชคดีและเงินทองไหลออกไปได้อีกด้วย
7. บ้านที่มีถนนโค้งออก จะทำให้อยู่อาศัยแล้วไม่เจริญและยากจน อีกทั้งบ้านที่มีถนนล้อมรอบทั้ง 4 ด้านก็ถือว่าไม่เป็นมงคลเช่นกัน หากคุณมีบ้านอยู่ใกล้สี่แยกให้ตั้งประตูใหญ่ให้ถูกรหัสราศีของเจ้าของบ้าน และอีกด้านให้ปลูกต้นไม้แทนภูเขาเพื่อแก้เคล็ด
ลักษณะตัวบ้าน
1. หน้าบ้านเป็นทางผ่านของโชคลาภ ฉะนั้นบานประตูหน้าบ้านจะต้องทำให้แข็งแรง หากมีส่วนใดเสียหายควรรีบซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดบริเวณหน้าบ้านอยู่เสมอ ไม่ควรปล่อยให้ใบไม้แห้งหล่นเกลื่อนกลาดหรือมีสิ่งกีดขวางทาง เพราะถ้าฮวงจุ้ยดีก็ช่วยเสริมสิริมงคลต่อตัวบ้านให้ดียิ่งขึ้น
2. บริเวณหน้าบ้านถือเป็นทางเข้าออกของพลังชี่หรือลม และเป็นเส้นทางของการนำเงินทองเข้ามาสู่ชีวิต ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการตั้งประตูหน้าต่างในแนวเดียวกัน ห้ามทำซุ้มประตูเลียนแบบศาลเจ้า เน้นให้วงกบตรงไม่คดงอ ทำกันสาดยื่นกันแดดออกมาเล็กน้อย จะทำให้บ้านรับเงินทองได้ดี
3. หน้าบ้านที่มีต้นไม้ใหญ่ตายยืนต้น ควรโค่นทิ้งเลยทันที เพราะจะทำให้พบกับความยากจน
4. บ้านที่มีกำแพงเก่าไม่ดี ควรทาสีให้ใหม่เสมอ เวลากลางคืนควรติดไฟให้สว่างจะพบแต่ความเจริญ หรือหากคุณเข้าไปอยู่บ้านที่เก่าควรทาสีให้ใหม่ กลอนประตูควรเปลี่ยนใหม่ จะนำโชคลาภมาให้
5. ซุ้มประตูบ้านสูงกว่าหลังคา ตามหลักแล้วถือว่าไม่เป็นมงคล
6. ประตูหน้าบ้านมีสะพานพุ่งเข้าหน้าบ้าน ถือเป็นฮวงจุ้ยไม่ดี
7. ถ้าบ้านเป็นรูปสามเหลี่ยม ตามหลักฮวงจุ้ยเรียกว่าถังขยะ ผิดหลักอย่างแรง จะทำให้ธุรกิจเสียหายหรืออาจทำให้ผู้อยู่อาศัยเป็นมะเร็ง และอัมพาต
8. บ้านที่อยู่ระหว่างช่องว่างของตึกสูง เรียกว่าลมพิฆาต ตามหลักฮวงจุ้ยถือว่าไม่ดีและวิบัติรุนแรง
9. บ้านมีตึกสูงอยู่ใกล้ๆ แสดงถึงมีผู้ให้ความช่วยเหลือคุ้มครอง
10. บ้านที่อยู่รวมกันแล้วหลังคาชนกัน ถือว่าไม่เป็นมงคล
11. บ้านที่เพดานเฉียง และคานไม่เสมอกัน ถือว่าไม่เป็นมงคล
12. บ้านรูปทรงตัว H และตัว U ตามหลักฮวงจุ้ยถือว่าไม่ดีถือว่าบ้านเว้าแหว่ง จะทำให้เสียทรัพย์และชื่อเสียง
แหล่งที่มา : ขอขอบคุณข้อมูลจาก homepro.co.th
1. บ้านที่มีที่ดินด้านหลังบ้านแคบแต่ด้านหน้าบ้านกว้าง ถือว่าไม่เป็นมงคล แต่เราสามารถแก้ฮวงจุ้ยได้ด้วยการติดกระจกบริเวณที่แคบทั้งสองด้าน เพื่อให้ความรู้สึกกว้างและลึก
2. บ้านที่มีลักษณะหน้าบ้านแคบแต่หลังบ้านกว้าง ตามตำราฮวงจุ้ยถือว่าเป็นลักษณะที่ดี จะเป็นถุงเงินถุงทองให้กับคนที่อยู่อาศัย แต่ถ้าหากมีลักษณะเป็นรูปทรงหน้ากว้างหลังแคบจะเก็บเงินไม่อยู่ จะยากจน
3. บ้านที่สร้างแล้วมีความลึกมากกว่าความกว้าง จัดว่าเป็นฮวงจุ้ยทีดี อยู่แล้วจะเจริญรุ่งเรือง
4. บ้านหรือที่ดินบ้านที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตามหลักฮวงจุ้ยถือว่าเป็นมงคลอย่างมาก
5. บ้านมีพื้นที่เว้าแหว่งเป็นบางส่วน ถือว่าขัดต่อหลักฮวยจุ้ยเป็นอย่างมาก จะส่งผลให้คนในบ้านมีอันเป็นไป ถ้าหากแหว่งทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จะส่งผลถึงแม่หรือหญิงเจ้าของบ้าน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือจะส่งผลถึงพ่อหรือชายเจ้าของบ้าน ทิศตะวันออกและตะวันตกคือลูกชายคนโต และลูกสาวคนเล็ก ทิศเหนือและใต้จะส่งผลกระทบต่อลูกสาวคนกลาง ทิศใต้จะเกิดความเสียหายแก่ลูกชายคนกลาง และทิศเหนือจะมีเรื่องคดีความ
6. ทางเข้าบ้านที่มีความแคบหรือกว้างเกินไป ถือว่าไม่เป็นมงคล ดังนั้น การออกแบบสร้างบ้านจะต้องดูทางเข้าให้ได้สัดส่วนและกลมกลืนกับขนาดพื้นที่ของบ้านด้วย นอกจากนี้ไม่ควรทำทางเข้าบ้านเป็นทางลาดเทออกไป เพราะจะทำให้พลังชี่ไหลเวียนออกไปจนหมด ส่งผลให้โชคดีและเงินทองไหลออกไปได้อีกด้วย
7. บ้านที่มีถนนโค้งออก จะทำให้อยู่อาศัยแล้วไม่เจริญและยากจน อีกทั้งบ้านที่มีถนนล้อมรอบทั้ง 4 ด้านก็ถือว่าไม่เป็นมงคลเช่นกัน หากคุณมีบ้านอยู่ใกล้สี่แยกให้ตั้งประตูใหญ่ให้ถูกรหัสราศีของเจ้าของบ้าน และอีกด้านให้ปลูกต้นไม้แทนภูเขาเพื่อแก้เคล็ด
ลักษณะตัวบ้าน
1. หน้าบ้านเป็นทางผ่านของโชคลาภ ฉะนั้นบานประตูหน้าบ้านจะต้องทำให้แข็งแรง หากมีส่วนใดเสียหายควรรีบซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดบริเวณหน้าบ้านอยู่เสมอ ไม่ควรปล่อยให้ใบไม้แห้งหล่นเกลื่อนกลาดหรือมีสิ่งกีดขวางทาง เพราะถ้าฮวงจุ้ยดีก็ช่วยเสริมสิริมงคลต่อตัวบ้านให้ดียิ่งขึ้น
2. บริเวณหน้าบ้านถือเป็นทางเข้าออกของพลังชี่หรือลม และเป็นเส้นทางของการนำเงินทองเข้ามาสู่ชีวิต ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการตั้งประตูหน้าต่างในแนวเดียวกัน ห้ามทำซุ้มประตูเลียนแบบศาลเจ้า เน้นให้วงกบตรงไม่คดงอ ทำกันสาดยื่นกันแดดออกมาเล็กน้อย จะทำให้บ้านรับเงินทองได้ดี
3. หน้าบ้านที่มีต้นไม้ใหญ่ตายยืนต้น ควรโค่นทิ้งเลยทันที เพราะจะทำให้พบกับความยากจน
4. บ้านที่มีกำแพงเก่าไม่ดี ควรทาสีให้ใหม่เสมอ เวลากลางคืนควรติดไฟให้สว่างจะพบแต่ความเจริญ หรือหากคุณเข้าไปอยู่บ้านที่เก่าควรทาสีให้ใหม่ กลอนประตูควรเปลี่ยนใหม่ จะนำโชคลาภมาให้
5. ซุ้มประตูบ้านสูงกว่าหลังคา ตามหลักแล้วถือว่าไม่เป็นมงคล
6. ประตูหน้าบ้านมีสะพานพุ่งเข้าหน้าบ้าน ถือเป็นฮวงจุ้ยไม่ดี
7. ถ้าบ้านเป็นรูปสามเหลี่ยม ตามหลักฮวงจุ้ยเรียกว่าถังขยะ ผิดหลักอย่างแรง จะทำให้ธุรกิจเสียหายหรืออาจทำให้ผู้อยู่อาศัยเป็นมะเร็ง และอัมพาต
8. บ้านที่อยู่ระหว่างช่องว่างของตึกสูง เรียกว่าลมพิฆาต ตามหลักฮวงจุ้ยถือว่าไม่ดีและวิบัติรุนแรง
9. บ้านมีตึกสูงอยู่ใกล้ๆ แสดงถึงมีผู้ให้ความช่วยเหลือคุ้มครอง
10. บ้านที่อยู่รวมกันแล้วหลังคาชนกัน ถือว่าไม่เป็นมงคล
11. บ้านที่เพดานเฉียง และคานไม่เสมอกัน ถือว่าไม่เป็นมงคล
12. บ้านรูปทรงตัว H และตัว U ตามหลักฮวงจุ้ยถือว่าไม่ดีถือว่าบ้านเว้าแหว่ง จะทำให้เสียทรัพย์และชื่อเสียง
แหล่งที่มา : ขอขอบคุณข้อมูลจาก homepro.co.th
การคิดค่าไฟฟ้าด้วยตนเอง
จากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน ส่งผลทำให้หลายบ้านต้องสำรวจและควบคุมค่าใช้จ่าย ในการครองชีพของตัวเองไม่ว่าจะเป็น ค่าใช้จ่ายในการกินอยู่ ตลอดจนค่าใช้จ่าย ในด้านสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าน้ำมันรถ เพื่อให้เพียงพอกับเงินรายได้ที่ตนได้รับ สำหรับค่าใช้จ่ายที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ค่าไฟฟ้านั้น เรามีวิธีตรวจสอบค่าใช้จ่ายว่า เราใช้ไฟฟ้าไปกี่หน่วย จะต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นจำนวนเงินเท่าไร อีกทั้งยังสามารถหาแนวทางการประหยัดไฟฟ้าได้อีกด้วย
ก่อนที่เราจะทราบอัตราค่าไฟฟ้านั้น เราควรจะทราบว่า เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ใช้ไฟฟ้าหรือกินไฟเท่าไหร่เสียก่อน โดยสังเกตคู่มือการใช้งาน หรือแถบป้ายที่ติดอยู่กับเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เขียนว่า กำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีจำนวนวัตต์มาก ก็กินไฟมากตามไปด้วย ดังนั้น ท่านสามารถคำนวณดูจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ในบ้านท่านว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้ากี่ชนิดแต่ละชนิดกินไฟกี่วัตต์ และเปิดใช้งานประมาณเดือนละกี่ชั่วโมง หลังจากนั้น ท่านก็นำมาคิดคำนวณ ท่านจะทราบว่าในแแต่ละเดือนท่านใช้ไฟฟ้าไปประมาณกี่หน่วยเพื่อเป็นแนวทางในการประหยัดค่าไฟฟ้าได้
สำหรับการใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยหรือ 1 ยูนิตคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด 1,000 วัตต์ที่ใช้งานใน 1 ชั่วโมง หรือใช้สูตรการคำนวณดังนี้
กำลังไฟฟ้า (วัตต์)ชนิดนั้นๆ x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า / 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานใน 1 วัน = จำนวนหน่วยหรือยูนิต
ตัวอย่าง บ้านอยู่อาศัยทั่วไป สมมุติว่าบ้านของท่านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 6 อย่างดังต่อไปนี้ สังเกตจำนวนวัตต์เพื่อมาคำนวณ การใช้ได้จากป้ายที่ติดหรือคู่มือของเครื่องใช้ไฟฟ้า
1. มีหลอดไฟฟ้าขนาด 40 วัตต์ (รวมบัลลาสต์อีก 10 วัตต์ เป็น 50 วัตต์) จำนวน 10 ดวง เปิดใช้ประมาณวันละ 6 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 50x10 / 1,000x6 = 3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x3)=90 หน่วย
2. หม้อหุงข้าว ขนาด 600 วัตต์ จำนวน 1 ใบ เปิดใช้ประมาณวันละ 30 นาที จะใช้ไฟฟ้าวันละ 600x1/1000x0.5=0.3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.3)=9 หน่วย
3. ตู้เย็น ขนาด 125 วัตต์ จำนวน 1 ตู้ เปิดตลอด 24 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงาน 8 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 125x1/1000x8= 1 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x1)= 30 หน่วย
4. เครื่องปรับอากาศ ขนาด 2,000 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 12 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 2,000x1/1000x8= 16 หน่วย หรือประมาณดือนละ (30x16)= 480 หน่วย
5. เครื่องปรับอากาศ ขนาด 1,300 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 8 ชั่วโมง สมมุติคอมเรสเซอร์ทำงานวันละ 5 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 1,300x1/ 1,000x5= 6.5 หน่วย หรือประมาณวันละ (30x6.5) = 195 หน่วย
6. เตารีดไฟฟ้า ขนาด 800 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 1 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 800x1/1000x1 = 0.8 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.8)= 24 หน่วย
7. ทีวีสีขนาด 100 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 3 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 100x1 / x3 = 0.3 หรือประมาณเดือนละ (30x0.3) = 9 หน่วย
8. เครื่องทำน้ำอุ่น ขนาด 4,500 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 1 ชั่วโมงจะใช้ไฟฟ้าวันละ 4,500x1 / 1000x1=4.5 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x4.5) = 135 หน่วย
9. เตาไมโครเวฟ ขนาด 1,200 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 30 นาที จะใช้งานวันละ 1,200x1 / 1000x0.5 = 0.6 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.6) = 18 หน่วย
ดังนั้นในแต่ละเดือนบ้านของท่านใช้ไฟฟ้าไปทั้งหมดประมาณ 990 หน่วย จากนั้นท่านก็สามารถคำนวณค่าไฟฟ้าของท่านได้ตามอัตราค่าไฟฟ้าดังนี้
อัตราค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ซึ่งมีผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
1.1 ประเภทมีการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือนมีอัตรา ดังต่อไปนี้ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ค่าไฟฟ้าต่ำสุด คือ ไม่มีการใช้ไฟฟ้า 4.67 บาท
5 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก (หน่วยที่ 1-5) เป็นเงิน 4.96 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 6-15) หน่วยละ 0.7124 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 16-25) หน่วยละ 0.8993 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26-35) หน่วยละ 1.1516 บาท
65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36-100) หน่วยละ 1.5348 บาท
50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101-150) หน่วยละ 1.6282 บาท
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151-400) หน่วยละ 2.1329 บาท
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401เป็นต้นไป) หน่วยละ 2.4226 บาท
1.2 ประเภทปริมาณการใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือนมีอัตราดังต่อไปนี้(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ค่าไฟฟ้าต่ำสุด คือ ไม่มีการใช้ไฟฟ้า เดือนละ 83.18 บาท
35 หน่วย(กิโลวัตต์ชั่วโมง) (หน่วยที่ 1-35) เป็นเงิน 85.21 บาท
115 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36-150) หน่วยละ 1.1236 บาท
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151-400) หน่วยละ 2.1329 บาท
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่401เป็นต้นไป) หน่วยละ 2.4226 บาท
ปัจจุบัน การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ยังไม่มีการปรับโครงสร้างค่ากระแสไฟฟ้าแต่อย่างใด ซึ่งอัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้ในปัจจุบันได้เริ่มใช้มาตั้งแต่เดือนมกราคม 2540 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามการคิดค่าไฟฟ้านั้น มีปัจจัยอย่างหนึ่งที่จะต้องมาคำนวณด้วย นั้นก็คือค่าการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือที่เราเรียกว่าค่า Ft (Energy Adjustment charge) หลายท่านคงสงสัยว่าค่า Ft คืออะไร ความหมายของค่าดังกล่าวคือเป็นตัวประกอบ ที่ใช้ในการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติมีค่าเป็นสตางค์ต่อหน่วยใช้สำหรับปรับค่าไฟฟ้าที่ขึ้นลง ในแต่ละเดือนโดยนำไปคูณ กับหน่วยการใช้ประจำเดือน ค่า Ft ดังกล่าวอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ทั้งนี้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถตรวจสอบได้จากใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีค่าไฟฟ้าประจำเดือนนั้นๆ
ตัวอย่างวิธีการคิดค่าไฟฟ้า
สมมุติว่าเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.2 ใช้ไฟฟ้าไป 990 หน่วย
35 หน่วยแรก
85.21
บาท
115 หน่วยต่อไป (115x1.1236 บาท)
129.21
บาท
250 หน่วยต่อไป (250x2.1329 บาท)
533.22
บาท
ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย (990-400 = 590 x 2.4226 บาท)
1,429.33
บาท
รวมเป็นเงิน
2,176.97
บาท
คำนวณค่า Ft โดยดูได้จากใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน หรือสอบถามจากการไฟฟ้านครหลวง
ตัวอย่าง ค่า Ft มิถุนายน 2541 หน่วยละ 5.45 สตางค์
990 หน่วย x 0.05045 บาท
499.46
บาท
รวมเงิน 2,176.97+499.46 =
2,676.43
บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 10% = 2,676.43 x 7/ 100 =
187.35
บาท
รวมเป็นเงิน 2,863.78 บาท ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ
2,863.75
บาท
หมายเหตุ ในกรณีที่คำนวณค่าไฟฟ้าแล้วเศษสตางค์ที่คำนวณได้มีค่าต่ำกว่า 12.50 สตางค์ กฟน. จะทำการปัดเศษลง ให้เต็ม จำนวน ทุกๆ 25 สตางค์ และถ้าเศษสตางค์ มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 12.5 สตางค์ กฟน.จะปัดเศษขึ้นให้เต็มจำนวนทุก ๆ 25 สตางค์
สำหรับตัวอย่างการคิดค่าไฟฟ้าที่ให้มาข้างต้นนี้ท่านสามารถนำไปคำนวณการใช้ไฟฟ้าในบ้านของท่านได้ เพื่อเป็นแนวทางในการประหยัดค่าไฟฟ้า อย่างไรก็ตามการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพนั้น ท่านควรรู้จักเลือกเครื่องไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน และใช้เท่าที่จำเป็นซึ่งจะช่วยให้ท่าน สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างมาก
ที่มา : www.smilehomes.com
ก่อนที่เราจะทราบอัตราค่าไฟฟ้านั้น เราควรจะทราบว่า เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ใช้ไฟฟ้าหรือกินไฟเท่าไหร่เสียก่อน โดยสังเกตคู่มือการใช้งาน หรือแถบป้ายที่ติดอยู่กับเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เขียนว่า กำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีจำนวนวัตต์มาก ก็กินไฟมากตามไปด้วย ดังนั้น ท่านสามารถคำนวณดูจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ในบ้านท่านว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้ากี่ชนิดแต่ละชนิดกินไฟกี่วัตต์ และเปิดใช้งานประมาณเดือนละกี่ชั่วโมง หลังจากนั้น ท่านก็นำมาคิดคำนวณ ท่านจะทราบว่าในแแต่ละเดือนท่านใช้ไฟฟ้าไปประมาณกี่หน่วยเพื่อเป็นแนวทางในการประหยัดค่าไฟฟ้าได้
สำหรับการใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยหรือ 1 ยูนิตคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด 1,000 วัตต์ที่ใช้งานใน 1 ชั่วโมง หรือใช้สูตรการคำนวณดังนี้
กำลังไฟฟ้า (วัตต์)ชนิดนั้นๆ x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า / 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานใน 1 วัน = จำนวนหน่วยหรือยูนิต
ตัวอย่าง บ้านอยู่อาศัยทั่วไป สมมุติว่าบ้านของท่านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 6 อย่างดังต่อไปนี้ สังเกตจำนวนวัตต์เพื่อมาคำนวณ การใช้ได้จากป้ายที่ติดหรือคู่มือของเครื่องใช้ไฟฟ้า
1. มีหลอดไฟฟ้าขนาด 40 วัตต์ (รวมบัลลาสต์อีก 10 วัตต์ เป็น 50 วัตต์) จำนวน 10 ดวง เปิดใช้ประมาณวันละ 6 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 50x10 / 1,000x6 = 3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x3)=90 หน่วย
2. หม้อหุงข้าว ขนาด 600 วัตต์ จำนวน 1 ใบ เปิดใช้ประมาณวันละ 30 นาที จะใช้ไฟฟ้าวันละ 600x1/1000x0.5=0.3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.3)=9 หน่วย
3. ตู้เย็น ขนาด 125 วัตต์ จำนวน 1 ตู้ เปิดตลอด 24 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงาน 8 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 125x1/1000x8= 1 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x1)= 30 หน่วย
4. เครื่องปรับอากาศ ขนาด 2,000 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 12 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 2,000x1/1000x8= 16 หน่วย หรือประมาณดือนละ (30x16)= 480 หน่วย
5. เครื่องปรับอากาศ ขนาด 1,300 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 8 ชั่วโมง สมมุติคอมเรสเซอร์ทำงานวันละ 5 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 1,300x1/ 1,000x5= 6.5 หน่วย หรือประมาณวันละ (30x6.5) = 195 หน่วย
6. เตารีดไฟฟ้า ขนาด 800 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 1 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 800x1/1000x1 = 0.8 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.8)= 24 หน่วย
7. ทีวีสีขนาด 100 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 3 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 100x1 / x3 = 0.3 หรือประมาณเดือนละ (30x0.3) = 9 หน่วย
8. เครื่องทำน้ำอุ่น ขนาด 4,500 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 1 ชั่วโมงจะใช้ไฟฟ้าวันละ 4,500x1 / 1000x1=4.5 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x4.5) = 135 หน่วย
9. เตาไมโครเวฟ ขนาด 1,200 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 30 นาที จะใช้งานวันละ 1,200x1 / 1000x0.5 = 0.6 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.6) = 18 หน่วย
ดังนั้นในแต่ละเดือนบ้านของท่านใช้ไฟฟ้าไปทั้งหมดประมาณ 990 หน่วย จากนั้นท่านก็สามารถคำนวณค่าไฟฟ้าของท่านได้ตามอัตราค่าไฟฟ้าดังนี้
อัตราค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ซึ่งมีผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
1.1 ประเภทมีการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือนมีอัตรา ดังต่อไปนี้ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ค่าไฟฟ้าต่ำสุด คือ ไม่มีการใช้ไฟฟ้า 4.67 บาท
5 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก (หน่วยที่ 1-5) เป็นเงิน 4.96 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 6-15) หน่วยละ 0.7124 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 16-25) หน่วยละ 0.8993 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26-35) หน่วยละ 1.1516 บาท
65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36-100) หน่วยละ 1.5348 บาท
50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101-150) หน่วยละ 1.6282 บาท
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151-400) หน่วยละ 2.1329 บาท
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401เป็นต้นไป) หน่วยละ 2.4226 บาท
1.2 ประเภทปริมาณการใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือนมีอัตราดังต่อไปนี้(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ค่าไฟฟ้าต่ำสุด คือ ไม่มีการใช้ไฟฟ้า เดือนละ 83.18 บาท
35 หน่วย(กิโลวัตต์ชั่วโมง) (หน่วยที่ 1-35) เป็นเงิน 85.21 บาท
115 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36-150) หน่วยละ 1.1236 บาท
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151-400) หน่วยละ 2.1329 บาท
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่401เป็นต้นไป) หน่วยละ 2.4226 บาท
ปัจจุบัน การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ยังไม่มีการปรับโครงสร้างค่ากระแสไฟฟ้าแต่อย่างใด ซึ่งอัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้ในปัจจุบันได้เริ่มใช้มาตั้งแต่เดือนมกราคม 2540 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามการคิดค่าไฟฟ้านั้น มีปัจจัยอย่างหนึ่งที่จะต้องมาคำนวณด้วย นั้นก็คือค่าการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือที่เราเรียกว่าค่า Ft (Energy Adjustment charge) หลายท่านคงสงสัยว่าค่า Ft คืออะไร ความหมายของค่าดังกล่าวคือเป็นตัวประกอบ ที่ใช้ในการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติมีค่าเป็นสตางค์ต่อหน่วยใช้สำหรับปรับค่าไฟฟ้าที่ขึ้นลง ในแต่ละเดือนโดยนำไปคูณ กับหน่วยการใช้ประจำเดือน ค่า Ft ดังกล่าวอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ทั้งนี้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถตรวจสอบได้จากใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีค่าไฟฟ้าประจำเดือนนั้นๆ
ตัวอย่างวิธีการคิดค่าไฟฟ้า
สมมุติว่าเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.2 ใช้ไฟฟ้าไป 990 หน่วย
35 หน่วยแรก
85.21
บาท
115 หน่วยต่อไป (115x1.1236 บาท)
129.21
บาท
250 หน่วยต่อไป (250x2.1329 บาท)
533.22
บาท
ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย (990-400 = 590 x 2.4226 บาท)
1,429.33
บาท
รวมเป็นเงิน
2,176.97
บาท
คำนวณค่า Ft โดยดูได้จากใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน หรือสอบถามจากการไฟฟ้านครหลวง
ตัวอย่าง ค่า Ft มิถุนายน 2541 หน่วยละ 5.45 สตางค์
990 หน่วย x 0.05045 บาท
499.46
บาท
รวมเงิน 2,176.97+499.46 =
2,676.43
บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 10% = 2,676.43 x 7/ 100 =
187.35
บาท
รวมเป็นเงิน 2,863.78 บาท ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ
2,863.75
บาท
หมายเหตุ ในกรณีที่คำนวณค่าไฟฟ้าแล้วเศษสตางค์ที่คำนวณได้มีค่าต่ำกว่า 12.50 สตางค์ กฟน. จะทำการปัดเศษลง ให้เต็ม จำนวน ทุกๆ 25 สตางค์ และถ้าเศษสตางค์ มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 12.5 สตางค์ กฟน.จะปัดเศษขึ้นให้เต็มจำนวนทุก ๆ 25 สตางค์
สำหรับตัวอย่างการคิดค่าไฟฟ้าที่ให้มาข้างต้นนี้ท่านสามารถนำไปคำนวณการใช้ไฟฟ้าในบ้านของท่านได้ เพื่อเป็นแนวทางในการประหยัดค่าไฟฟ้า อย่างไรก็ตามการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพนั้น ท่านควรรู้จักเลือกเครื่องไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน และใช้เท่าที่จำเป็นซึ่งจะช่วยให้ท่าน สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างมาก
ที่มา : www.smilehomes.com
ออกแบบจัดสวนสวยประหยัดพลังงาน
ปัจจุบันการปรับปรุงสภาวะแวดล้อมบริเวณที่พักอาศัย โดยใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ กำลังเป็นที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งการจัดสวนเป็นวิธีหนึ่ง ที่นอกจากทำให้บ้านสวยงานร่มรื่นและดูสดชื่นแล้ว ยังทำให้บ้านประหยัดพลังงานด้วยเช่นกัน
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จึงได้มีการจัดโครงการ "สวนสวยช่วยประหยัดพลังงาน" เพื่อแนะนำวิธีการปลูกต้นไม้ และจัดสวน ให้เหมาะสมกับที่อยู่อาศัย โดยออกแบบสวนพร้อมแบบแปลน 5 แบบ ประกอบด้วย บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ตึกแถว คอนโดมิเนียม และหอพัก ซึ่งเป็นแนวทางการจัดสวนบริเวณที่พักอาศัยให้เกิดความร่มเย็น และช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้
โดยผลจากงานวิจัยพบว่า การปลูกต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงา 1 ต้น จะช่วยให้อุณหภูมิ ลดลงประมาณ 1-2 องศา หรือสามารถดูดซับความร้อนได้ประมาณ 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง หรือเทียบเท่ากับเครื่องปรับอากาศขนาด 1 ตัน และเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดความร่มรื่นเย็นสบายเวลาเดินในสวนสาธารณะ
ส่วนการจัดสวนนั้นไม่ใช่เรื่องยาก การเลือกบริเวณปลูกต้นไม้แต่ละชนิด ควรเรียนรู้ว่าต้นไม้แต่ละชนิด ต้องการน้ำและแสงมากน้อยแค่ไหน ตลอดจนเลือกพันธุ์ไม้ที่มีความต้องการ ดิน น้ำ แสง เหมือนกัน ปลูกไว้ด้วยกัน การบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ สิ่งสำคัญควรเข้าใจถึงตำแหน่งของดวงอาทิตย์ จะทำให้ตกแต่งสวนได้อย่างถูกต้อง และต้นไม้ได้รับแสงอย่างเพียงพอ ดังนี้
ทิศเหนือ หากอาคารมีความสูงมากกว่า 1 ชั้น หรือประมาณ 6 เมตร เงาของบ้านจะทำให้ต้นไม้ที่ปลูกในทิศนี้ ได้รับแสงแดดน้อย หรือไม่ได้เลย ควรเลือกพันธุ์ไม้ที่ชอบร่มรำไร เช่น สาวน้อยประแป้ง เขียวหมื่นปี พลูชนิดต่างๆ และพันธุ์ไม้ใบอยู่ในที่ร่มได้ ส่วนพันธุ์ไม้คลุมดิน ได้แก่ พลูเลื้อยต่างๆ พลูทอง ดีปลี เป็นต้น
ทิศใต้ เป็นทิศที่มีแดดตลอดทั้งวันและเกือบตลอดปี การใช้ต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา จึงเป็นการป้องกันแดดได้ดีอย่างหนึ่ง ควรปลูกต้นไม้ที่มีใบทึบด้านบน และโปร่งด้านล่าง เพื่อให้ลมพัดผ่านเข้าบ้านได้ เช่น กระทิง สารภี มะขาม หรือพันธุ์ไม้ดอกสวยงาม เช่น กัลปพฤกษ์ คูน หางนกยูง หรือเลือกพันธุ์ไม้ ดอกหอม เช่น จำปี จำปา พิกุล เป็นต้น
ทิศตะวันตก ทิศนี้ได้รับแดดจัดตลอดบ่าย พันธุ์ไม้ที่ปลูกควรให้ร่มเงาเช่นกัน เช่น เสลา กัลปพฤกษ์ ประดู่แดง เป็นต้น ช่วยกันแดด ทำให้ผนังบ้านเย็น และช่วยประหยัดพลังงานในเวลากลางคืน แต่หากเป็นบ้านที่มีพื้นที่ไม่มาก อาจใช้พันธุ์ไม้ไต่หรือเกาะผนัง เช่น ตีนตุ๊กแก ดีปลี ก็ช่วยกันแดดได้ดีขึ้น
ทิศตะวันออก แดดจะเข้าในช่วงเช้า ส่วนหลังเที่ยงจะได้ร่มเงาจากตัวบ้าน จึงควรปลูกต้นไม้ที่ไม่ต้องการแดดตลอดวัน เช่น ไผ่ หรือพันธุ์ไม้ที่มีใบละเอียด หรือใบเล็ก จะดูสวยงามเมื่อมองผ่านแดดตอนเช้า ได้แก่ ปีป โมก หลิวจีน เป็นต้น หรือประเภทไม้พุ่ม ได้แก่ ฤษีผสม พรมญี่ปุ่น ไผ่แคระ ไม้ตระกูลใบเงิน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับบ้านที่ไม่มีบริเวณ เช่น ทาวน์เฮ้าส์ ห้องชุด คอนโดมิเนียม หรืออพาร์ทเมนท์ หากมีพื้นที่เพียงเล็กน้อย เช่น บริเวณระเบียง หรือดาดฟ้า ก็สามารถจัดสวนให้สวย เพื่อช่วยประหยัดพลังงานได้เหมือนกัน
เคล็ดไม่ลับเหล่านี้ ไม่เพียงทำให้ธรรมชาติได้เข้ามาอยู่ใกล้เรามากยิ่งขึ้น แต่ยังช่วยประหยัดพลังงาน และสร้างความสดชื่นให้กับบ้านของเราด้วย โดยผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับคู่มือ "สวนสวย ช่วยประหยัดพลังงาน" ได้ที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์รวมพลังหารสอง สนพ. ได้ทุกวัน ในเวลาราชการ
ที่มา สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จึงได้มีการจัดโครงการ "สวนสวยช่วยประหยัดพลังงาน" เพื่อแนะนำวิธีการปลูกต้นไม้ และจัดสวน ให้เหมาะสมกับที่อยู่อาศัย โดยออกแบบสวนพร้อมแบบแปลน 5 แบบ ประกอบด้วย บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ตึกแถว คอนโดมิเนียม และหอพัก ซึ่งเป็นแนวทางการจัดสวนบริเวณที่พักอาศัยให้เกิดความร่มเย็น และช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้
โดยผลจากงานวิจัยพบว่า การปลูกต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงา 1 ต้น จะช่วยให้อุณหภูมิ ลดลงประมาณ 1-2 องศา หรือสามารถดูดซับความร้อนได้ประมาณ 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง หรือเทียบเท่ากับเครื่องปรับอากาศขนาด 1 ตัน และเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดความร่มรื่นเย็นสบายเวลาเดินในสวนสาธารณะ
ส่วนการจัดสวนนั้นไม่ใช่เรื่องยาก การเลือกบริเวณปลูกต้นไม้แต่ละชนิด ควรเรียนรู้ว่าต้นไม้แต่ละชนิด ต้องการน้ำและแสงมากน้อยแค่ไหน ตลอดจนเลือกพันธุ์ไม้ที่มีความต้องการ ดิน น้ำ แสง เหมือนกัน ปลูกไว้ด้วยกัน การบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ สิ่งสำคัญควรเข้าใจถึงตำแหน่งของดวงอาทิตย์ จะทำให้ตกแต่งสวนได้อย่างถูกต้อง และต้นไม้ได้รับแสงอย่างเพียงพอ ดังนี้
ทิศเหนือ หากอาคารมีความสูงมากกว่า 1 ชั้น หรือประมาณ 6 เมตร เงาของบ้านจะทำให้ต้นไม้ที่ปลูกในทิศนี้ ได้รับแสงแดดน้อย หรือไม่ได้เลย ควรเลือกพันธุ์ไม้ที่ชอบร่มรำไร เช่น สาวน้อยประแป้ง เขียวหมื่นปี พลูชนิดต่างๆ และพันธุ์ไม้ใบอยู่ในที่ร่มได้ ส่วนพันธุ์ไม้คลุมดิน ได้แก่ พลูเลื้อยต่างๆ พลูทอง ดีปลี เป็นต้น
ทิศใต้ เป็นทิศที่มีแดดตลอดทั้งวันและเกือบตลอดปี การใช้ต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา จึงเป็นการป้องกันแดดได้ดีอย่างหนึ่ง ควรปลูกต้นไม้ที่มีใบทึบด้านบน และโปร่งด้านล่าง เพื่อให้ลมพัดผ่านเข้าบ้านได้ เช่น กระทิง สารภี มะขาม หรือพันธุ์ไม้ดอกสวยงาม เช่น กัลปพฤกษ์ คูน หางนกยูง หรือเลือกพันธุ์ไม้ ดอกหอม เช่น จำปี จำปา พิกุล เป็นต้น
ทิศตะวันตก ทิศนี้ได้รับแดดจัดตลอดบ่าย พันธุ์ไม้ที่ปลูกควรให้ร่มเงาเช่นกัน เช่น เสลา กัลปพฤกษ์ ประดู่แดง เป็นต้น ช่วยกันแดด ทำให้ผนังบ้านเย็น และช่วยประหยัดพลังงานในเวลากลางคืน แต่หากเป็นบ้านที่มีพื้นที่ไม่มาก อาจใช้พันธุ์ไม้ไต่หรือเกาะผนัง เช่น ตีนตุ๊กแก ดีปลี ก็ช่วยกันแดดได้ดีขึ้น
ทิศตะวันออก แดดจะเข้าในช่วงเช้า ส่วนหลังเที่ยงจะได้ร่มเงาจากตัวบ้าน จึงควรปลูกต้นไม้ที่ไม่ต้องการแดดตลอดวัน เช่น ไผ่ หรือพันธุ์ไม้ที่มีใบละเอียด หรือใบเล็ก จะดูสวยงามเมื่อมองผ่านแดดตอนเช้า ได้แก่ ปีป โมก หลิวจีน เป็นต้น หรือประเภทไม้พุ่ม ได้แก่ ฤษีผสม พรมญี่ปุ่น ไผ่แคระ ไม้ตระกูลใบเงิน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับบ้านที่ไม่มีบริเวณ เช่น ทาวน์เฮ้าส์ ห้องชุด คอนโดมิเนียม หรืออพาร์ทเมนท์ หากมีพื้นที่เพียงเล็กน้อย เช่น บริเวณระเบียง หรือดาดฟ้า ก็สามารถจัดสวนให้สวย เพื่อช่วยประหยัดพลังงานได้เหมือนกัน
เคล็ดไม่ลับเหล่านี้ ไม่เพียงทำให้ธรรมชาติได้เข้ามาอยู่ใกล้เรามากยิ่งขึ้น แต่ยังช่วยประหยัดพลังงาน และสร้างความสดชื่นให้กับบ้านของเราด้วย โดยผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับคู่มือ "สวนสวย ช่วยประหยัดพลังงาน" ได้ที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์รวมพลังหารสอง สนพ. ได้ทุกวัน ในเวลาราชการ
ที่มา สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)