การออกแบบระบบ Passive การออกแบบระบบ Active


การออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของผู้อยู่อาศัยในเรื่องพื้นที่ใช้สอย การเชื่อมต่อพื้นที่ใช้งานและความยืดหยุ่นในการวางตำแหน่งอาคาร การออกแบบระบบ Passive การออกแบบระบบ Active ซึ่งสามารถสรุปผลเป็นรูปธรรมต่อรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ดังนี้
- การวางแนวอาคารในทิศเหนือ-ใต้ เพื่อให้พื้นที่รับแดดอยู่ด้านแคบ แต่เปิดรับลมได้ดี กำหนดตำแหน่งช่องเปิดให้รับลมประจำทิศใต้ ให้สามารถเข้า-ออก และกระจายทั่วอาคารได้ ปรับสภาพแวดล้อมรอบอาคาร โดยอาศัยประโยชน์จากธรรมชาติ
- หลังคาใช้รูปทรงปั้นหยาที่มีหน้าจั่ว ความชัน 40 องศาที่ช่วยกันฝนทุกด้าน แต่สามารถระบายอากาศได้ดี แนวหลังคาติดฉนวนใยแก้ว 2 นิ้ว ขนานไปกับแนวลาดเอียง เว้นช่องว่างอากาศ 25 ซม. ยื่นชายคา 1.2 – 1.5 ม. ตีฝ้าระแนงเว้นร่องระบายอากาศ
- ผนังใช้คอนกรีตมวลเบา ฉาบปูนเรียบ เนื่องจากมีมวลสารน้อย การกักเก็บความร้อนภายในเนื้อวัสดุจึงน้อยตาม เหมาะกับส่วนที่ต้องปรับอากาศ ซึ่งเป็นส่วนที่มีการใช้พลังงานมากที่สุดในอาคาร
- พื้นภายนอกใช้ทรายล้างหรือวัสดุผิวด้านและปลูกหญ้ารอบอาคาร เพื่อลดการสะสมความร้อนและการสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์กับพื้นแข็งหรือพื้นผิวเรียบ ฝ้าเพดานระแนงไม้ชายคาเว้นช่องระบายอากาศเพื่อระบายอากาศร้อนภายในโพรงหลังคา ภายในยิบซั่มบอร์ด
- ช่องแสงใช้กระจกเขียวตัดแสง 6 มม. ที่สามารถป้องกันความร้อนมากกว่ากระจกใสอีกทั้งทัศนียภาพก็เห็นชัดไม่มืดทึบ ช่องเปิดชั้นล่างใช้แบบที่มีเกล็ดผสมเพื่อระบายอากาศและมีขนาดและจำนวนมากกว่าชั้นบนที่เพียงแค่พอสำหรับระบายอากาศ
- ระบบปรับอากาศเตรียมพื้นที่วาง CDU ให้มีที่ว่างโดยรอบ 50 ซม. ติด FCU ในตำแหน่งที่ไกลช่องเปิดแต่กระจายลมได้ดี
เมื่อนำองค์ประกอบทั้งหมดมาผสานกันในการออกแบบ ทำให้สามารถออกแบบอาคารเพื่อใช้เป็นบ้านต้นแบบได้ ดังแสดงในบทที่ 5 เรื่องการนำเสนอผลงาน ซึ่งกำหนดให้หน้าบ้านหันทางทิศใต้ เพื่อความเข้าใจตรงกันในเรื่องการทดสอบศักยภาพอาคารต่อไป
ในการทดสอบศักยภาพอาคารแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ ด้านพลังงาน และด้านสภาพอากาศ โดยส่วนของพลังงาน จะได้ค่าการถ่ายเทความร้อนของผนัง OTTV 29.898 วัตต์/ตรม. ค่าการถ่ายเทความร้อนของหลังคา RTTV 13.680 วัตต์/ตรม. เมื่อเทียบกับอาคารอื่นที่มีขนาดใกล้เคียงกันจากกรณีศึกษา ที่มีการใช้วัสดุหลักเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูน หลังคาไม่มีฉนวน และใช้กระจกใส 6 มม. จะได้ค่า OTTV 40.661 วัตต์/ตรม. RTTV 24.217 วัตต์/ตรม. จากผลต่างที่ได้พบว่ารูปแบบอาคารและวัสดุประกอบอาคารล้วนส่งผลต่อค่าการถ่ายเทความร้อนทั้งสิ้น ส่วนการทดสอบศักยภาพด้านสภาพอากาศจะแบ่งเป็นเรื่องของกระแสลมและการระบายอากาศ ซึ่งผลทดสอบพบว่า อาคารสามารถระบายอากาศได้เพียงพอแม้ขณะอาคารเปิดหรือปิดก็ตาม ส่วนการทดสอบสุดท้ายในเรื่องของการบังแดดจะเห็นว่า ด้านที่โดนแดดคือด้านใต้และตะวันตกจะมีการใช้ระเบียง ชายคา และอุปกรณ์บังแดดที่สามารถให้ร่มเงาและบังแสงแดดได้ระดับที่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้งานพื้นที่
home page: http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน