การจำแนกชนิดของหลังคา
กวี หวังนิเวศน์กุล,
2552 (191-192) ได้แบ่งชนิดของหลังคาในปัจจุบันนี้เป็น 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
1
หลังคาทรงเพิงแหงน (Shed Roof/Lean-to Roof) หลังคาเพิงหมาแหงน คือ
เป็นหลังคาที่ยกให้อีกด้านสูงกว่าอีกด้านหนึ่ง เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนได้
เหมาะสมสำหรับบ้านขนาดเล็ก เนื่องจากก่อสร้างง่าย รวดเร็ว ราคาประหยัด
แต่ต้องระวังควรให้หลังคามีองศาความลาดเอียงมากพอ
ที่จะระบายน้ำฝนออกได้ทันไม่ไหลย้อนซึมกลับเข้ามาได้
เป็นลักษณะของหลังคาที่มีมุมเอียงลาดไปทางด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว
หลังคาทรงลักษณะนี้จะเป็นแบบที่เรียบง่าย
ก่อสร้างกันมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบัน เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไป เช่น
เพิงในทุ่งนา เพิงขายของริมทาง
เพิงศาลรถรับจ้าง เป็นต้น ซึ่งเพิงต่าง ๆ
ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นลักษณะของเพิงแบบชั่วคราว มีการก่อสร้างแบบง่าย ๆ
และรื้อถอนได้ง่ายต่อมาก็พัฒนามาใช้ในตัวอาคารและก่อสร้างให้มั่นคงมากขึ้น เช่น
หลังคาของอาคารส่วนห้องครัวหรือห้องคนรับใช้ที่อยู่ส่วนท้ายบ้าน
หลังคาเพิงสำหรับโรงจอดรถ หลังคาเพิงของตึแถว
/ทาวน์เฮาส์ และหลังคาเพิงของโกดัง/โรงงาน เป็นต้น
หลังคาเพิงหมาแหงน
มักจะนิยมใช้กับบ้านหลังเล็ก ๆ น่ะนะคะ เพราะสร้างง่าย ประหยัด
หรืออาจจะใช้กับอาคารประเภทอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็ก มีน้อยห้อง เช่น โรงจอดรถ โรงครัว
ที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม
หลังคาแบบนี้เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบันน่ะนะคะ
(บ้านเดี่ยวสไตล์โมเดิร์นก็เริ่มนิยมหลังคาแบบนี้) เพราะสร้างง่าย
ได้รับประโยชน์สูง แลดูแปลกตา วัสดุที่นำมาใช้มุงหลังคาประเภทนี้นั้น
ก็มีทั้งกระเบื้องลอน กระเบื้องแผ่นเรียบ โดยมีโครงสร้างที่เป็นไม้
หลังคาประเภทนี้กันฝนได้ดีทีเดียวค่ะ แต่จะต้องคอยดูแลไม่ให้กระเบื้องที่มุง
แตกหรือชำรุด พราะฝนอาจจะไหลเข้าหรือซึมย้อนเข้ามาในบ้านหรือตัวอาคารได้
ข้อดีของหลังคาเพิงหมาแหงน
เนื่องจากโครงสร้างหลังคาไม่สลับซับซ้อนเหมือนหลังคาประเภทอื่น
ทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้หลายอย่างเลยน่ะนะคะ ตั้งแต่ประหยัดโครงสร้างอาคาร, หลังคา, ค่าแรง, เวลา, โดยรวม
ประหยัดเงินมากกว่าหลังคาประเภทอื่นค่ะ
ข้อเสียของหลังคาเพิงหมาแหงน
บังแดดและฝนได้ทิศทางเดียว ควรระวังเรื่ององศาความลาดเอียงหลังคา
เพื่อป้องกันการไหลย้อนซึมของฝนเข้าสู่ตัวอาคารด้วยนะคะ
2 หลังคาทรงจั่ว (Gable Roof) หรืออาจเรียกว่าทรงมะนิลา
เป็นลักษณะของหลังคาที่มีส่วนเอียงลาดยื่นออกทั้งสองด้าน
มีจั่วยกสูงอยู่ตรงกลาง
หลังคาทรงจั่วนี้พัฒนาต่อมาจากหลังคาทรงเพิงแหงน เพื่อให้สามารถป้องกันแดดหรือฝนได้ดียิ่งขึ้น หรือให้อาคารมีบริเวณกว้างขวางขึ้น
ถ้ายังคงใช้หลังคาเพิงแหงนก็จะต้องยกส่วนเอียงลาดสูงขึ้นมาก
แต่ถ้าเลือกใช้ทรงจั่วก็จะทำให้ไม่ต้องยกส่วนเอียงลาดสูงจนเกินไป
ยกเว้นหลังคาจั่วทรงไทยซึ่งมีการยกจั่วสูงมากเป็นพิเศษ
ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมไทยแต่โบราณที่ให้ประโยชน์ต่อการระบายความร้อนใต้หลังคาได้ดีมาก
3 หลังคาทรงปั้นหยา (Hip Roof) เป็นพัฒนาการต่อเนื่องจากหลังคา
เพื่อให้หลังคาสามารถป้องกันแดดหรือฝนได้รอบตัวอาคาร
โดยมีส่วนเอียงลาดของหลังคาทั้งสี่ทิศทาง และสันของหลังคาทั้งสี่มุมกัน 45
องศาด้วย
การก่อสร้างหลังคาทรงปั้นหยานี้จะใช้ความพิถีพิถันและยากมากขึ้น
และต้องใช้ปริมาณของกระเบื้องมุงหลังคามากกว่าปกติ
เพราะต้องเสียเศษจากการตัดกระเบื้องมุงหลังคาบริเวณสันมุมหลังคาทั้งสี่ด้านมากขึ้น
หลังคาทรงปั้นหยาจะแบ่งได้อีก 2 ลักษณะ คือ ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส (ทรงจัตุรมุข)
และทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะหลังคาประเภทต่าง ๆ
home page: http://baanthaidd.blogspot.com/Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน