การต่อเติมบ้าน การทรุดตัวของบ้านเกิดรอยแตกร้าว

โดยทั่วไปคนมักเข้าใจว่าการต่อเติมบ้านก็คือแค่การเพิ่มพื้นที่ของบ้านขึ้นมาเฉยๆ แต่ที่จริงเราต้องเปรียบให้เหมือนกับการปลูกบ้านเล็กๆอีกหลังขึ้นมาข้างบ้านเก่าเลยทีเดียว การทรุดตัวของบ้าน นอกจากการเห็นรอยแตกร้าวที่ภายนอกแล้ว ยังอาจส่งผลถึงสิ่งที่เรามองไม่เห็น อย่างปัญหาหลังคารั่วซึม หรืองานท่อและงานระบบต่างๆ อีกด้วย ดังนั้นเราจึงควรพิจารณาเรื่องต่างๆ พร้อมไปด้วย ดังนี้ค่ะ


1. ต้องใช้เสาเข็มที่มีความยาวเท่ากับอาคารเดิมหรือยาวกว่าประมาณ 2 เมตร ไม่ว่าจะต่อเติมบ้านออกไปเป็นจำนวนชั้นเท่ากับอาคารเดิมหรือเพียงแค่ชั้นเดียวก็ตาม เพราะไม่ว่าอย่างไรอย่างน้อยปลายของเสาเข็มที่รองรับส่วนต่อเติมจะต้องอยู่บนชั้นดินเดียวกับอาคารเดิม จึงจะทำให้การทรุดตัวไม่แตกต่างกันมากนัก และถ้าเป็นไปได้ควรใช้เสาเข็มชนิดเดียวกัน เพราะเสาเข็มแต่ละชนิดถึงจะระบุไว้ว่ารับน้ำหนักเท่ากัน แต่ก็จะมีอัตราการทรุดตัวไม่เท่ากัน


2.ต้องแยกโครงสร้างอาคารเดิมกับโครงสร้างส่วนต่อเติมให้ออกจากกันโดยเด็ดขาด เพราะถึงแม้ว่าจะใช้เสาเข็มชนิดเดียวกัน มีความยาวเท่ากัน แต่อัตราการทรุดตัวของอาคารใหม่ก็จะมีมากกว่าอาคารเก่าอยู่ดี และเมื่อเราแยกโครงสร้างออกจากกันแล้ว ก็จะเกิดเป็นร่องเล็กๆ ตลอดแนว หากรอยต่อนั้นอยู่ภายในอาคาร ก็ให้ใช้วิธียาแนวเพื่อปิดช่องระหว่างรอยต่อนั้นๆด้วยซิลิโคน และให้หมั่นตรวจสอบสภาพซิลิโคนเหล่านั้นอยู่เสมอ เพื่ออัดฉีดใหม่เมื่อซิลิโคนเสื่อมสภาพ หรือถ้าอยู่ภายนอกอาคารก็อาจออกแบบให้เป็นทางระบายน้ำ แล้วโรยกรวดหรือหินสีเพื่อตกแต่งและปิดรอยต่อไปในตัว


3.ในกรณีที่จุดเชื่อต่อเป็นหลังคา ต้องแยกโครงสร้างเช่นเดียวกับจุดเชื่อมต่ออื่นๆ ทำปีกนกเพื่อบังน้ำฝนบริเวณรอยต่อ และไม่ควรให้มีส่วนใดส่วนหนึ่งของหลังคาของส่วนต่อเติมอยู่สูงกว่าหลังคาของอาคารเดิม เพราะอย่างไรก็ตามส่วนต่อเติมก็จะมีอัตราในการทรุดตัวสูงกว่าอาคารเดิม และหากมีฝ้าเพดานภายในก็ควรใช้วิธีการเล่นระดับลดหลั่น หรือดร็อปฝ้าเพดาน เพื่อซ่อนรอยต่อ


4.หลีกเลี่ยงการเดินงานระบบต่างๆ โดยเฉพาะระบบประปา ด้วยวิธีการซ่อนในโครงสร้าง ผ่านบริเวณจุดเชื่อมต่อดังกล่าว หากจำเป็นควรใช้วิธีการเดินระบบแบบระบบลอยเพื่อให้สามารถสังเกตเห็นความผิดปกติได้ง่าย และใช้ข้อต่อชนิดที่ยืดหยุ่นได้ (ข้ออ่อน) เพื่อช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเมื่ออาคารเกิดการทรุดตัว
ที่มาขอขอบคุณวิศวกรและสถาปนิก  บ้านและสวน
http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน

ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน โซลาร์ เซลล์ (Solar Cell)



หลังการพื้นฐานของเทคโนโลยี

>> เซลล์แสงอาทิตย์ หรือโซลาร์ เซลล์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง เซลล์แสงอาทิตย์ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ ซึ่งดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยไฟฟ้าที่ได้จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง
>> เซลล์แสงอาทิตย์ เป็นอุปกรณ์ผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงอื่นใดนอกจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานที่ได้เปล่า ไม่มีของเสียที่จะทำให้เกิดมลพิษขณะใช้งาน เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ ขณะทำงาน จึงไม่มีปัญหาด้านความสึกหรอ หรือต้องการการบำรุงรักษาเหมือนอุปกรณ์ผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบอื่นๆ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ด้วยน้ำมันดีเซล นอกจากนั้นเซลล์แสงอาทิตย์ยังมีน้ำหนักเบา จึงทำให้ได้อัตราส่วนระหว่างกำลังไฟฟ้าต่อน้ำหนักได้ดีที่สุด
ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน ประกอบด้วย แผงเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา ภายในจะมีชุดแปรงกระแสไฟฟ้า (อินเวอร์เตอร์) โดยมีหลักการทำงานของระบบดังนี้
1. เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมดจะผลิตกระแสไฟ้ฟ้าตรง ผ่านระบบควบคุมเข้าอินเวอร์เตอร์
2. อินเวอร์เตอร์จะเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับจ่ายเข้าระบบไฟฟ้าภายในบ้าน
3. ในช่วงที่ความเข้มของแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ หรือมีการใช้อุปกรณ์ที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงกว่ากำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์แล้ว ระบบก็จะนำกำลังไฟฟ้าส่วนขาดจากระบบจำหน่ายไฟ้ฟ้าแบบปกติของการไฟฟ้าฯ มาใช้เพื่อให้อุปกรณ์ไฟฟ้าสามารถทำงานได้

ประเภทของการใช้งาน
ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน เหมาะสมกับผู้ที่ต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าเสริมกับระบบไฟฟ้าปกติภายในบ้าน

ประโยชน์ของเทคโนโลยี
>> สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายให้กับการไฟฟ้าฯ โดยจะประหยัดค่าไฟฟ้าในส่วนที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ทดแทนการใช้ไฟปกติ
>> ลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการผลิตไฟฟ้าด้วยรูปแบบอื่นเช่น การผลิตไฟฟ้าจากน้ำมัน หรือถ่านหิน ซึ่งเชื้อเพลิงเหล่านี้มีส่วนทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติทั้งสิ้น
>> ส่งเสริม และปลูกจิตสำนึกให้รับรู้ถึ งเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่สะอาด รู้คุณค่าของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จริง และร่วมกันใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัด

ข้อพิจารณาในการนำมาใช้
ลักษณะของบ้าน
หลังคาบ้านที่ติดตั้งจะต้องมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะสามารถรองรับน้ำหนักของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้
แหล่งพลังงาน
ต้องไม่มีร่มเงามาบดบังทิศทางของแสงอาทิตย์ที่ส่องลงไปบนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้าน เพราะเซลล์แสงอาทิตย์ต้องใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้า

ที่มา กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน