การเลือกใช้วัสดุมุงหลังคาในงานก่อสร้าง

            1.  จำแนกชนิดของหลังคาได้
                2.  อธิบายส่วนประกอบของโครงสร้างหลังคาได้
                3.  บอกขนาดของวัสดุมุงหลังคาได้
                4.  บอกคุณสมบัติของวัสดุมุงหลังคาได้
                5.  อธิบายการเก็บรักษาวัสดุมุงหลังคาได้
                6.  เลือกใช้วัสดุมุงหลังคาในงานก่อสร้างได้

                หลังคาเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างอาคารที่ทำหน้าที่ป้องกันแดด ฝน พายุ แสงว่าง และภัยธรรมชาติต่าง ๆ อีกหลายประการ  เพราะฉะนั้นวัสดุที่จะใช้ในการมุงหลังคานั้นก็จะมีความแตกต่างกันไปในโครงสร้างของหลังคา  มุมเอียงเองหลังคา ตลอดจนถึงวัสดุที่ใช้ยึดเหนี่ยววัสดุสำนักงานมุงหลังคาด้วย
                วัสดุมุงหลังคาที่ใช้มุงกระเบื้องหลังคานั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับงานก่อสร้าง จึงจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญตั้งแต่รูปทรงของหลังคา ชนิดของวัสดุมุงหลังคาเนื่องจากบ้านที่มุงด้วยกระเบื้องอาจจะให้ความรู้สึกอบอุ่น ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกในปัจจุบันนี้เพราะวัสดุมุงหลังคาแต่ละชนิดนั้นได้มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับประโยชน์การใช้งาน ราคาและความปลอดภัย การเลือกใช้วัสดุมุงหลังคาในงานก่อสร้าง ให้มีคุณสมบัติของความแข็งแรง ทนทานและน้ำหนักเพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับโครงสร้างมากนัก  ซึ่งต้องศึกษาขนาด คุณสมบัติและวิธีการใช้อย่างละเอียด

ประเภทของกระเบื้องหลังคาแบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่ กระเบื้องหลังคาดินเผา เป็นกระเบื้องมุงหลังคาแบบท้องถิ่น ส่วนใหญ่ผลิตขึ้นใช้เองในลักษณะอุตสาหกรรมในครัวเรือน วัตถุดิบที่นำมาผลิตกระเบื้องหลังคาประเภทนี้ คือ ดิน โดยอัดจากแบบเป็นรูปต่างๆ แล้วนำมาเผา ซึ่งมีทั้งกระเบื้องหลังคาแบบลอนและกระเบื้องหลังคาแบบเรียบ ทั้งเคลือบสีและไม่เคลือบสี มักรู้จักกันในชื่อ กระเบื้องหลังคาหางมน กระเบื้องหลังคาหางเหยี่ยว และกระเบื้องหลังคากาบกล้วย กระเบื้องหลังคาทั้งสามรูปแบบนี้ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการโชว์ความสวยงามของกระเบื้องหลังคา เช่น บ้านทรงไทย เป็นต้น การมุงกระเบื้องหลังคาประเภทนี้จะต้องมีการทำโครงสร้างหลังคาที่มีมุมลาดชันมาก (มุมลาดเอียงต่ำสุดประมาณ 20 องศา) เพราะกระเบื้องหลังคาเหล่านี้จะมีขนาดค่อนข้างเล็ก หากมุมของหลังคาไม่ได้องศาตามที่กำหนดไว้ อาจทำให้เกิดปัญหาน้ำฝนรั่วซึมตามรอยต่อลงมาได้ กระเบื้องหลังคาซีเมนต์ใยหิน เป็นกระเบื้องหลังคาที่นิยมใช้มานานแล้ว มักเรียกว่า กระเบื้องหลังคาลูกฟูก กระเบื้องหลังคาประเภทนี้เป็นกระเบื้องแผ่นใหญ่มีขนาดประมาณ 0.50×1.2 เมตรขึ้นไป และมีความหนาประมาณ 4×6 มิลลิเมตร จุดเด่นของกระเบื้องหลังคาลูกฟูก คือ สามารถเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี ไม่ไหม้ไฟ ด้วยเหตุที่เป็นกระเบื้องแผ่นใหญ่นี่เองทำให้มุงหลังคาที่มีมุมลาดเอียงน้อยได้ แต่ไม่ควรต่ำกว่า 10 องศา กระเบื้องหลังคาประเภทนี้ทำการติดตั้งได้ง่าย มีราคาไม่แพง ได้รับการพัฒนามาจากกระเบื้องหลังคาดินเผา โดยแบ่งเป็นกระเบื้องหลังคาลูกฟูกแบบลอนเล็ก และกระเบื้องหลังคาลอนใหญ่ลูกฟูก นิยมใช้กับบ้านเรือนที่พักอาศัย และอาคารขนาดเล็ก ส่วนกระเบื้องหลังคาลูกฟูกลอนใหญ่นั้นจะมีขนาดกว้างเป็นสองเท่า เน้นใช้กับอาคารขนาดใหญ่ เช่น คลังสินค้า เป็นต้น กระเบื้องหลังคาลอนคู่ มีขนาดของลอนค่อนข้างลึกและกว้าง มีการระบายน้ำที่ดีกว่ากระเบื้องหลังคาลูกฟูก เพราะมีรางน้ำขนาดใหญ่กว่า เหมาะสำหรับใช้มุงอาคารขนาดใหญ่ เช่น โรงเรียน โรงงาน กระเบื้องหลังคาราง จะมีขนาดที่ใหญ่มากกว่ากระเบื้องหลังคาลูกฟูกและกระเบื้องหลังคาลอนคู่ คือ มีขนาดประมาณ 1×5 เมตร สามารถติดตั้งได้ง่าย เพียงวางพาดบนคานรองรับที่ปลายทั้งสองข้างได้โดยไม่ต้องใช้แปช่วยรองรับกลางแผ่น เหมาะในการใช้เป็นหลังคาของสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ต้องการแสดงความงดงามของหลังคา มีลักษณะคล้ายแผ่นพับ กระเบื้องหลังคาซีเมนต์อัดลอนหรือกระเบื้องหลังคาคอนกรีต ใช้ปูนซีเมนต์เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต แบ่งออกเป็นกระเบื้องหลังคาสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือกระเบื้องหลังคาว่าว เป็นกระเบื้องหลังคาคอนกรีตชนิดแรกที่มีการนำเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย โครงสร้างของหลังคาที่ใช้มุงควรมีความลาดชันพอประมาณ คือ ระหว่าง 30-45 องศา ทั้งนี้เพื่อให้คันกั้นน้ำย้อนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีฝนตกทำให้น้ำฝนไหลลงจากหลังคาได้อย่างรวดเร็ว นำไปใช้ได้ดีกับหลังคาประเภทหลังคาปั้นหยา หลังคาทรงสูงต่างๆ หรืออาคารโบราณ เช่น แบบโคโลเนียล กระเบื้องหลังคาคอนกรีตหรือกระเบื้องหลังคาโมเนียร์ เป็นกระเบื้องที่พบได้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ใช้ในการมุงหลังคาที่มีมุมลาดชัน 17-18 องศา มักเคลือบด้วยสีต่างๆ และมีความแข็งแรงทนทานมากกว่ากระเบื้องหลังคาใยหิน แต่ราคาแพงประกอบกับน้ำหนักมาก 
      ดังนั้นหลังคาที่มุงด้วยกระเบื้องหลังคาประเภทนี้ จึงจำเป็นต้องทำโครงสร้างของหลังคาให้แข็งแรงมากพอที่จะรับน้ำหนักได้ และสุดท้ายกระเบื้องหลังคาคอนกรีตแผ่นเรียบ จัดเป็นกระเบื้องหลังคาคอนกรีตแบบใหม่ล่าสุด ทรงสี่เหลี่ยม กระเบื้องหลังคาประเภทนี้ให้อารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างจากรูปแบบหลังคามีลอนทั่วไป เนื่องจากผิวของกระเบื้องหลังคามีความเนียนเรียบสวยงาม ผ่านกระบวนการพ่นและเคลือบสีถึง 3 ชั้น เนื้อสีจึงหนา ติดแน่น สวยทนทานนานกว่า 10 ปี เหมาะสำหรับเป็นทางเลือกใหม่ในการใช้งาน และมีการคาดหมายว่ากระเบื้องหลังคาประเภทนี้จะได้รับความนิยมมากขึ้นในเมืองใหญ่ๆ อีกด้วย
home page: http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน

กระเบื้องซีแพคโมเนียความยาวจันทัน ความลาดเอียง(องศา)


ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการติดตั้งกระเบื้องหลังคาคอนกรีตซีแพคโมเนีย
1.      ควรจัดเก็บกระเบื้องหลังคาตาม คู่มือมาตรฐานการจัดบรรทุก ขนส่ง และกองเก็บสินค้าที่ทางบริษัทฯ กำหนด 
2.      ขณะติดตั้งกระเบื้องหลังคาซีแพคโมเนีย   ต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลทุกครั้ง เช่น เข็มขัดนิรภัย (Safety Belt) และสายยึดโยง (Life Line) เป็นต้น  และควรปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง
3.      การยึดกระเบื้องหลังคาซีแพคโมเนียสำหรับอาคารทั่วไป ความสูงไม่เกิน 2 ชั้น ต้องยึดด้วยตะปูเกลียวอย่างน้อย แถวเว้นแถว สำหรับอาคารที่มีความเสี่ยงต่อการปลิวหลุดของกระเบื้องหลังคาอันเนื่องมาจากแรงลม เช่น อาคารที่ตั้งอยู่ ณ พื้นที่โล่งแจ้ง อาคารที่ตั้งอยู่ริมทะเล ปากอ่าว ทะเลสาป อาคารที่ตั้งอยู่บนหน้าผา เนินเขา อาคารที่มีลักษณะโค้งโอบลม อาคารสูงเกิน 2 ชั้น อาคารขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่หลังคามากกว่า 1,000 ตร.ม. ต้องได้รับการออกแบบหรือได้รับคำปรึกษาจากทางบริษัทเป็นกรณีพิเศษ 
4.      การตัดกระเบื้องหลังคาซีแพคโมเนียต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน ได้แก่ ผ้าปิดจมูก ถุงมือ ที่อุดหู และแว่นตานิรภัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันอันตรายระหว่างการตัดกระเบื้อง และหลังจากตัดกระเบื้องเรียบร้อยแล้ว ต้องทำความสะอาดผืนกระเบื้องหลังคาทันที เพื่อป้องกันคราบฝุ่นปูนติดผิวกระเบื้อง
5.      ไม่ควรทำงานบนหลังคาในขณะที่มีฝนตก หรือมีลมแรง หรือมีฝนฟ้าคะนอง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้ติดตั้งได้
6.      ห้ามขึ้นบนกระเบื้องหลังคาซีแพคโมเนียในขณะที่กระเบื้องเปียกหรือมีความชื้น เพราะอาจเป็นอันตรายทำให้ลื่นตกหลังคาได้
7.      ความลาดเอียง(องศา) ของหลังคา กับ ความยาวจันทัน   ต้องมีความสัมพันธ์กัน  เพื่อป้องกันน้ำล้นลิ้นรางด้านข้างของกระเบื้องเมื่อฝนตก  ดังตารางด้านล่างนี้
ความลาดเอียงของหลังคา( องศา)
17
18
19
20
21
22
มากกว่า 22
ความยาวจันทันไม่ควรเกิน ( เมตร)
5.5
6
6.5
7
7.5
8
ไม่จำกัด
home page: http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน

แบ่งชนิดของหลังคา


 การจำแนกชนิดของหลังคา
            กวี หวังนิเวศน์กุล,  2552 (191-192) ได้แบ่งชนิดของหลังคาในปัจจุบันนี้เป็น 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
   1  หลังคาทรงเพิงแหงน (Shed  Roof/Lean-to Roof)  หลังคาเพิงหมาแหงน คือ เป็นหลังคาที่ยกให้อีกด้านสูงกว่าอีกด้านหนึ่ง เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนได้ เหมาะสมสำหรับบ้านขนาดเล็ก เนื่องจากก่อสร้างง่าย รวดเร็ว ราคาประหยัด แต่ต้องระวังควรให้หลังคามีองศาความลาดเอียงมากพอ ที่จะระบายน้ำฝนออกได้ทันไม่ไหลย้อนซึมกลับเข้ามาได้
เป็นลักษณะของหลังคาที่มีมุมเอียงลาดไปทางด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว หลังคาทรงลักษณะนี้จะเป็นแบบที่เรียบง่าย ก่อสร้างกันมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบัน เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไป เช่น เพิงในทุ่งนา  เพิงขายของริมทาง เพิงศาลรถรับจ้าง เป็นต้น ซึ่งเพิงต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นลักษณะของเพิงแบบชั่วคราว มีการก่อสร้างแบบง่าย ๆ และรื้อถอนได้ง่ายต่อมาก็พัฒนามาใช้ในตัวอาคารและก่อสร้างให้มั่นคงมากขึ้น เช่น หลังคาของอาคารส่วนห้องครัวหรือห้องคนรับใช้ที่อยู่ส่วนท้ายบ้าน หลังคาเพิงสำหรับโรงจอดรถ  หลังคาเพิงของตึแถว /ทาวน์เฮาส์ และหลังคาเพิงของโกดัง/โรงงาน เป็นต้น
หลังคาเพิงหมาแหงน มักจะนิยมใช้กับบ้านหลังเล็ก ๆ น่ะนะคะ เพราะสร้างง่าย ประหยัด หรืออาจจะใช้กับอาคารประเภทอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็ก มีน้อยห้อง เช่น โรงจอดรถ โรงครัว ที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หลังคาแบบนี้เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบันน่ะนะคะ (บ้านเดี่ยวสไตล์โมเดิร์นก็เริ่มนิยมหลังคาแบบนี้) เพราะสร้างง่าย ได้รับประโยชน์สูง แลดูแปลกตา วัสดุที่นำมาใช้มุงหลังคาประเภทนี้นั้น ก็มีทั้งกระเบื้องลอน กระเบื้องแผ่นเรียบ โดยมีโครงสร้างที่เป็นไม้ หลังคาประเภทนี้กันฝนได้ดีทีเดียวค่ะ แต่จะต้องคอยดูแลไม่ให้กระเบื้องที่มุง แตกหรือชำรุด พราะฝนอาจจะไหลเข้าหรือซึมย้อนเข้ามาในบ้านหรือตัวอาคารได้
ข้อดีของหลังคาเพิงหมาแหงน เนื่องจากโครงสร้างหลังคาไม่สลับซับซ้อนเหมือนหลังคาประเภทอื่น ทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้หลายอย่างเลยน่ะนะคะ ตั้งแต่ประหยัดโครงสร้างอาคาร, หลังคาค่าแรงเวลา, โดยรวม ประหยัดเงินมากกว่าหลังคาประเภทอื่นค่ะ
ข้อเสียของหลังคาเพิงหมาแหงน บังแดดและฝนได้ทิศทางเดียว ควรระวังเรื่ององศาความลาดเอียงหลังคา เพื่อป้องกันการไหลย้อนซึมของฝนเข้าสู่ตัวอาคารด้วยนะคะ
  หลังคาทรงจั่ว (Gable  Roof) หรืออาจเรียกว่าทรงมะนิลา เป็นลักษณะของหลังคาที่มีส่วนเอียงลาดยื่นออกทั้งสองด้าน มีจั่วยกสูงอยู่ตรงกลาง  หลังคาทรงจั่วนี้พัฒนาต่อมาจากหลังคาทรงเพิงแหงน  เพื่อให้สามารถป้องกันแดดหรือฝนได้ดียิ่งขึ้น  หรือให้อาคารมีบริเวณกว้างขวางขึ้น  ถ้ายังคงใช้หลังคาเพิงแหงนก็จะต้องยกส่วนเอียงลาดสูงขึ้นมาก แต่ถ้าเลือกใช้ทรงจั่วก็จะทำให้ไม่ต้องยกส่วนเอียงลาดสูงจนเกินไป ยกเว้นหลังคาจั่วทรงไทยซึ่งมีการยกจั่วสูงมากเป็นพิเศษ  ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมไทยแต่โบราณที่ให้ประโยชน์ต่อการระบายความร้อนใต้หลังคาได้ดีมาก
3  หลังคาทรงปั้นหยา (Hip  Roof)  เป็นพัฒนาการต่อเนื่องจากหลังคา เพื่อให้หลังคาสามารถป้องกันแดดหรือฝนได้รอบตัวอาคาร โดยมีส่วนเอียงลาดของหลังคาทั้งสี่ทิศทาง และสันของหลังคาทั้งสี่มุมกัน 45 องศาด้วย  การก่อสร้างหลังคาทรงปั้นหยานี้จะใช้ความพิถีพิถันและยากมากขึ้น และต้องใช้ปริมาณของกระเบื้องมุงหลังคามากกว่าปกติ  เพราะต้องเสียเศษจากการตัดกระเบื้องมุงหลังคาบริเวณสันมุมหลังคาทั้งสี่ด้านมากขึ้น หลังคาทรงปั้นหยาจะแบ่งได้อีก 2 ลักษณะ คือ ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส (ทรงจัตุรมุข) และทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะหลังคาประเภทต่าง ๆ 
home page: http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน

กระเบื้องลูกฟูกมีกี่ชนิด แต่ละชนิดขนาดเท่าไรบ้าง


กระเบื้องลูกฟูก เป็นผลิตภัณฑ์จากกระเบื้องซีเมนต์ใยหิน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ลูกฟูกลอนเล็กและลูกฟูกใหญ่  โดยกระเบื้องลูกฟูกลอนเล็กจะมีความสูงของลอนเพียง 2 เซนติเมตร  เหมาะสำหรับพื้นที่หลังคาที่ไม่ใหญ่มากนัก  และควรใช้กับหลังคาที่มีส่วนลาดเอียงไม่น้อยกว่า 15 องศา เช่น  บ้านพักอาศัยทั่วไป บ้านหลังคาทรงไทย เป็นต้น ส่วนกระเบื้องลูกฟูกลอนใหญ่จะมีความสูงของลอน 5 เซนติเมตร  เหมาะสำหรับหลังคาอาคารทั่วไปที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่มาก ๆ และต้องการความแข็งแรงของกระเบื้องมุงหลังคามากขึ้น  และมีส่วนเอียงลาดไม่น้อยกว่า 10 องศา


กระเบื้องลูกฟูกมี 2 ชนิด คือ กระเบื้องลูกฟูกลอนเล็ก กระเบื้องลูกฟูกลอนใหญ่
                1.  กระเบื้องลูกฟูกลอนเล็ก ขนาด 54x120x0.4 เซนติเมตร และ 54x150x0.4 เซนติเมตร
                2.  กระเบื้องลูกฟูกลอนใหญ่ ขนาด 102x120x0.6 เซนติเมตร และ 102x150x0.6 เซนติเมตร             
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน

ขนาดของกระเบื้องลอนคู่


กระเบื้องลอนคู่  ขนาดของกระเบื้องลอนคู่และข้อมูลจำเพาะจะแสดงไว้ในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลจำเพาะของกระเบื้องลอนคู่
ชนิด
ขนาด (กว้าง x ยาว x หนา)
น้ำหนัก/แผ่น
(กก.)
กระเบื้องลอนคู่
50x120x0.5
50x150x0.5
6.2
7.7

กระเบื้องลอนคู่  เป็นผลิตภัณฑ์จากกระเบื้องซีเมนต์ใยหินเช่นเดียวกับกระเบื้องลูกฟูกขนาดใหญ่  จะแตกต่างกันเฉพาะรูปทรง  ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในการเลือกใช้ กระเบื้องลอนคู่จะมีความสูงของลอน 5 เซนติเมตร  เป็นกระเบื้องมุงหลังคาที่ได้รับความนิยมเป็นอันมาก เหมาะสำหรับพื้นที่หลังคาทั่ว ๆ ไป และมีส่วนเอียงลาดไม่น้อยกว่า 10 องศา เช่น บ้านพักอาศัย ทาวน์เฮาส์ โรงเรียน โรงงาน เป็นต้น


home page: http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน