หลักการเลือกซื้อเหล็กเส้น เหล็กเต็มที่ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัย


หากจะพูดถึงเรื่อง “เหล็ก” ที่ใช้ในงานก่อสร้าง หลายคนอาจรู้จักแค่เพียง เหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย เหล็กฉาก แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าเหล็กทั้งหลายยังมีการแบ่งเป็น “เหล็กเต็ม” กับ “เหล็กเบา” อีกด้วย

เหล็กเต็ม หรือ เหล็กโรงใหญ่ หมายถึงเหล็กที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง และน้ำหนักของเหล็กได้มาตรฐาน มอก. แต่ เหล็กเบา หรือ เหล็กโรงเล็ก เป็นเหล็กที่ผลิตให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน มอก. มักเป็นเหล็กรีดซ้ำ (นำเศษเหล็กที่ใช้งานแล้ว หรือเศษเหล็กเสียสภาพมารีดใหม่อีกครั้ง)

ในตลาดเหล็กทั่วประเทศ เหล็กเบาจะมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ประมาณ 10-15% และจะมีราคาต่ำกว่าเหล็กเต็มประมาณ 40สตางค์ – 1 บาทต่อ 1 กิโลกรัม
การเลือกซื้อเหล็กเบา มาใช้ในงานก่อสร้าง แม้จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะมีราคาที่ถูกกว่าเหล็กเต็ม แต่ก็อาจก่อให้เกิดอันตราย เพราะขนาด ความยาว และน้ำหนักที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจไม่สามารถรับน้ำหนักตามที่แบบกำหนดไว้ได้

ลาภทวี เสนะวงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “งานก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ อาทิ งานคอนโดมิเนียม งานก่อสร้างรถไฟฟ้า โอกาสเจอเหล็กเบาน้อยมาก แต่งานก่อสร้างโครงสร้างเล็ก ๆ เช่น งานโรงจอดรถ หรืองานต่อเติมบ้าน  ระบบควบคุมไม่ดี มีโอกาสเจอเหล็กเบาสูงมาก เจ้าของบ้านเองมักไม่รู้ และไม่เข้าใจ ส่วนใหญ่มักยกหน้าที่เลือกซื้อเหล็กให้กับผู้รับเหมา ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ผลิตที่ต้องมีความรับผิดชอบ ผลิตเหล็กตามมาตรฐาน”

วิธีการตรวจสอบ “เหล็กเต็ม” สามารถทำได้โดย การนำเหล็กที่มีความยาว 1 เมตรมาชั่ง แล้วนำน้ำหนักที่ได้ไปเปรียบเทียบกับน้ำหนักต่ำสุดที่ยอมรับได้ตามมาตรฐาน บังคับ มอก. ถ้ามีน้ำหนักน้อยกว่าแสดงว่าเป็นเหล็กเบา ซึ่งไม่ควรนำมาใช้ก่อสร้าง

ถ้าไม่มีเครื่องมือตรวจวัด ชั่งน้ำหนัก การตรวจสอบที่ง่ายที่สุดคือการตรวจดูเส้นผ่าศูนย์กลาง เพราะเหล็กเบามักถูกรีดให้มีขนาดเล็กกว่ามาตรฐาน อย่างไรก็ตามเหล็กเต็มกับเหล็กเบาก็มักมีขนาดไม่ต่างกันมากนัก มองด้วยตาเปล่าอาจลำบาก

“ผู้บริโภคต้องยืนยันในหลักการที่จะใช้เหล็กเต็มที่ได้มาตรฐาน เพราะเหล็กเป็นโครงสร้างสำคัญของบ้าน  เจ้าของบ้านต้องบังคับให้ผู้รับเหมารู้ว่าเราใส่ใจเรื่องนี้ ผู้ผลิตเองก็ต้องแสดงความรับผิดชอบ อย่างทาทาสตีลเองก็จะตีตราทาทาทิสคอนลงบนเหล็กทุกเส้น เพื่อแสดงให้ผู้บริโภคเห็นว่าใครเป็นผู้ผลิต” ลาภทวี เสนะวงษ์ กล่าวสรุป
สำหรับลักษณะเหล็กเต็มที่ดี มีคุณภาพ ทาทาสตีลแนะนำให้พิจารณาจากคุณสมบัติ 5 ประการ 1. ต้องมียี่ห้อ ขนาดระบุบนเหล็กเส้น 2. ผิวเหล็กกลมต้องเรียบเกลี้ยงไม่เบี้ยว ไม่มีรอยปริแตก ส่วนเหล็กข้ออ้อยต้องมีบั้งระยะเท่ากัน สม่ำเสมอตลอดเส้น 3. เส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนักต้องถูกต้องตามมาตรฐาน 4. เมื่อดัดโค้ง งอ ต้องไม่ปริแตก หัก ง่าย 5. เหล็กต้องไม่เป็นสนิมขุมกินเข้าไปใน     เนื้อเหล็ก.

article@dailynews.co.th

home page: http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน

อาคารสำเร็จรูป ทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง

ส่วนประกอบของระบบสำเร็จรูป


     ในหลายรูปแบบของระบบสำเร็จดังที่กล่าวมาข้างต้นสามารถแยกส่วนประกอบต่างๆ ได้ดังนี้
     คาน และตง
     คานและตงคอนกรีตสำเร็จรูปมีหลากหลายรูปแบบ ที่เป็นรู้จักกันดีได้แก่ คานรูปสี่เหลี่ยม รูปตัว
T รูปตัว L หรือ รูปตัว I เป็นต้น ความลึกของคานและตงขึ้นอยู่กับระยะห่างของช่วงเสา น้ำหนักที่จะ
รองรับ ชนิดของคอนกรีต และความต้องการของสถาปนิกและงานระบบในอาคาร ระยะความลึกของคาน
คอนกรีตสำเร็จรูปจะอยู่ที่ประมาณ 1:10 ถึง 1:20 ของระยะพาด คานสำเร็จรูปที่มีระยะพาดมากกว่า
5-6 เมตร ควรจะใช้ระบบ Pre-stressed เข้ามาช่วย ให้ความลึกคานไม่มากเกินไป
     เสา
     อาจจะสูงมากกว่าหนึ่งชั้น และมีส่วนยื่นหรือส่วนรองรับคานในแต่ละระยะชั้น นิยมทำเป็นรูปสี่
เหลี่ยมจตุรัสหรือ สี่เหลี่ยมผืนผ้า อาจจะมีรูปตัว I บ้าง ระบบเสาสำเร็จรูปจะต้องคำนึงถึงการต่อระหว่าง
เสากับฐานราก และเสากับคานหรือตงของอาคาร อาจจะเป็นระบบใช้น็อต หรือการฝังเหล็กไว้ในเสาเพื่อ
การเชื่อมติดกับส่วนประกอบอื่น การซ่อนส่วนเชื่อมต่ออาจจะมีความต้องการเพื่อความงามทางสถาปัตย
กรรม การยื่นต่อเพื่อรับคานอาจจะเป็นส่วนตกแต่งให้สวยงามได้
     พื้น
     พื้นสำเร็จอาจจะวางอยู่บนผนังรับน้ำหนักหรือคานหรือเสา อาจจะทิ้งสำเร็จเลยหรือเททับด้วยคอน
กรีตอีกทีก็ได้ พื้นสำเร็จมีหลายรูปแบบเช่น พื้นเรียบ พื้นรูปตัว T รูปตัว U คว่ำ เป็นต้น พื้นสำเร็จสามารถ
แยกออกเป็นพื้นตัน (Solid Flat-Slab) และ พื้นโปร่ง (Hollow-Core)
     Hollow Core เป็นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปที่เว้นช่องไว้ส่วนกลางทั้งความยาวของพื้น สามารถ
วางบนช่วงพาดที่ยาวได้ถึง 15 เมตร ซึ่งหากใช้พื้นสำเร็จธรรมดาอาจจะต้องมีความหนามากกว่านี้หรือ
จะต้องมีคานเสริมและมีน้ำหนักมากกว่า น้ำหนักของพื้นหากใช้ Hollow Care จะลดลงประมาณ 65%
เมื่อเทียบกับพื้นตันคอนกรีต ในขณะเดียวกับช่องว่างภายในพื้นก็สามารถที่จะใช้เป็นที่เก็บท่อสายไฟ
และท่อของงานระบบอื่นๆ ได้ พื้นสำเร็จ Hollow Core มักจะมีความกว้าง 1.2 ม. ในหลายๆ
ประเทศมีความกว้างแตกต่างกันไป ตั้งแต่ 0.60,0.90, 2.40 และ 2.70 ม. และมักจะเป็น
Pre-stressed Slab ความหนาของพื้นอยู่ที่ประมาณ 1:30-1:40 ของระยะพาด
     พื้นสำเร็จจะทำให้ระยะพื้นอาคารบางลงและสามารถทิ้งเป็นผิวได้โดยไม่ต้องฉาบทับ
     ผนัง
     ผนังสำเร็จรูปมีหน้าที่เหมือนผนังอาคารทั่วไป คือ เป็นตัวกั้นสเปซ เป็นฉนวนกันความร้อน กัน
เสียง เป็นหน้าตาของผนังภายนอกอาคาร เป็นโครงสร้างรับน้ำหนักพื้น เป็นที่ใส่ หน้าต่าง ประตู สายไฟ
ท่อต่างๆดังนั้นผนังสำเร็จรูปจึงต้องใส่องค์ประกอบเหล่านั้นพร้อมจากโรงงานเลยก่อนการนำมาติดตั้ง
จึงประกอบด้วย ผิวประดับภายนอก ฉนวน อาจจะมีเฟรมหน้าต่างหรือกระจกพร้อม ท่อร้อยสายไป หรือ
อื่นๆ โดยทั่วไปหากคิดเฉพาะผนังซึ่งใช้รับน้ำหนักอย่างเดียวอาจจะใช้ความหนาที่ 12 ซม. หากไม่
รับน้ำหนักลดเหลือ 8 ซม. ได้ ส่วนที่เพิ่มขึ้นคือ ฉนวน พื้นตกแต่งภายนอก และช่องท่อต่างๆ เป็นต้น
รวมแล้วจะอยู่ระหว่าง 20-28 ซม.ขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นฉนวน ความสูงของผนังชั้นเดียวอยู่ระ
หว่าง 2.70-3.50 ม. ในขณะที่ผนังสองชั้นอยู่ที่ 5.40-7.00 ม. ทั้งนี้ต้องไม่ลืมคำนึงถึงกฎ
หมายจราจรสำหรับการขนส่ง สำหรับความยาวมีตั้งแต่ 3-4 เมตรสำหรับห้องเดียวหรือ 6-7 เมตรสำ
หรับความยาวผนังสองห้อง น้ำหนักที่เหมาะสมในการยกขึ้นติดตั้งอยู่ที่ 4-7 ตัน แต่บางที่ก็ใช้ถึง
8-10 ตัน
ที่มา ผศ.ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

home page: http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน

โปรแกรม เครื่องมือคำนวณสินเชื่อบ้าน ธ.กรุงศรี


เครื่องคำนวณความสามารถในการกู้ 
ความสามารถในการผ่อนชำระต่อเดือน
คำนวณระยะเวลากู้
ความสามารถในการกู้ Refinance Savings Calculator
Rate Comparison Calculator

ที่มา http://www.krungsri.com/th/calculator.aspx
  home page: http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน

ไม่มีเงินก็สร้างได้ บ้านกรุงศรี






ลักษณะเด่นของบริการ
วงเงินกู้สูงสุด 100% ของค่าจ้างปลูกสร้าง กรณีขอสินเชื่อเพื่อปลูกสร้างบ้านบนที่ดินซึ่งผู้ขอสินเชื่อเป็นเจ้าของหรือเจ้าของร่วมไม่มีเงินก็สร้างได้
 • วงเงินกู้รวมสูงสุด 90% ของราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กรณีขอสินเชื่อเพื่อปลูกสร้างบ้าน พร้อมสินเชื่อกรุงศรีโฮมฟอร์แคชบนที่ดิน ซึ่งผู้ขอสินเชื่อเป็นเจ้าของหรือเจ้าของร่วม 
• ให้บริการหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการขอสินเชื่อเพื่อปลูกสร้างบ้าน /สินเชื่อเพื่อปลูกสร้างบ้านพร้อมซื้อที่ดิน / สินเชื่อเพื่อปลูกสร้างบ้านพร้อมรีไฟแนนซ์ค่าที่ดิน หรือ สินเชื่อเพื่อปลูกสร้างบ้านพร้อมสินเชื่อกรุงศรีโฮมฟอร์แคช • สะดวก รวดเร็วด้วยทีมงานขายนอกสถานที่
 • อัตราดอกเบี้ยต่ำ
 • อนุมัติเร็ว
 • สบายๆ กับการผ่อนชำระนานสูงสุด 30 ปี (ระยะเวลาผ่อนชำระรวมกับอายุผู้กู้แล้วต้องไม่เกิน 65 ปี)

ที่มา http://www.krungsri.com/th/consumer-detail.aspx?did=82&sub=true
home page: http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน

ออกแบบบ้านและเขียนแบบใหถูกกฎหมาย หรือ พรบ.


 - กำหนดระยะเวลาในใบอนุญาต สำหรับอาคารที่มีพื้นที่รวมกันน้อยกว่า 10‚000 ตารางเมตร กำหนดไว้ที่ 1 ปี หากประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาตจะต้องทำก่อนใบอนุญาตหมดอายุ (หมวดที่ 2 ข้อที่ 17)       

    
 - บันไดของบ้านพักอาศัย ต้องมีอย่างหนึ่งบันได ที่มีความกว้างไม่ต่ำกว่า 90 เซนติเมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร บันไดที่สูงเกิน 3 เมตร ต้องมีชานพักบันไดทุกช่วง 3 เมตร  (หมวดที่ 4 ข้อที่ 38)
     - อาคารก่อสร้างใกล้ถนนสาธารณะ ซึ่งถนนสาธารณะนั้น มีความกว่างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะ อย่างน้อย 3 เมตร มิให้ส่วนของอาคารล้ำเข้ามาในแนวร่นดังกล่าว ยกเว้นกำแพงกันแนวเขตที่ดินซึ่งสูงได้ไม่เกิน 2 เมตร (หมวดที่ 5 ข้อที่ 50)
    
- อาคารสูงเกิน 2 ชั้น หรือ เกิน 8 เมตร อาคารขนาดใหญ่ห้องแถว ตึกแถว อาคารพาณิชย์ ยกเว้นอาคารอยู่อาศัยสูงไม่เกิน 3 ชั้น หรือไม่เกิน 10 เมตร ต้องมีระยะร่นดังต่อไปนี้ (หมวดที่ 5 ข้อที่ 50)
    - ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 6 เมตร
    - ถ้าถนนนั้นกว้างกว่า 10 เมตร แต่ไม่เกิน 20 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างถนนสาธารณะ
     - ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร ในการสร้างบ้านบนที่ดินของตนเองแต่ละหลัง จะต้องเว้นที่ว่าง บนแปลงที่ดินไม่น้อยกว่า 30% ของพื้นที่ที่ดินทั้งหมด                    (หมวดที่ 5 ข้อที่ 52)
     - บ้านพักอาศัยที่อยู่ติดกับที่ดินแปลงอื่น การทำช่องเปิดประตูหน้าต่าง ช่องระบายอากาศ หรือ ริมระเบียง สำหรับชั้น 2 ลงมา หรือสูงไม่เกิน 9 เมตร ต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินบ้านข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2 เมตร สำหรับชั้นสามของบ้านสามชั้น หรือสูงไม่เกินกว่า 9 เมตร ต้องอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินทั่วไปเกิน 3 เมตร (หมวดที่ 5 ข้อที่ 54)
    - อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร ยกเว้นบ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร จะต้องมีที่ว่างรอบอาคารไม่ต่ำกว่า 1 เมตร (หมวดที่ 5 ข้อที่ 56)
     - บ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่เกิน 300 ตารางเมตร ให้ผนังที่ไม่มีช่องเปิด สามารถห่างจากแนวเขตที่ดินได้ น้อยกว่า 1 เมตร แต่ถ้าห่างจากแนวเขตที่ดินน้อยกว่า 50 ซ.ม. จะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือ จากเจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง ในด้านนั้นด้วย (หมวดที่ 5 ข้อที่ 56)
   
  - ห้องน้ำและห้องส้วมที่แยกจากกันต้องมีขนาดพื้นที่ห้องแต่ละห้องไม่ต่ำกว่า 0.90 ตารางเมตร   (จุดเก้าศูนย์ตารางเมตร) หากห้องส้วมและห้องอาบน้ำใช้ร่วมกันต้องมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 1.50 ตารางเมตร
    - ต้องมีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ห้อง ความสูงจากพื้นห้องน้ำถึงฝ้าเพดานไม่ต่ำกว่า 2 เมตร            (หมวดที่ 5 ข้อที่ 61)
    - ที่จอดรถ 1 คัน จะต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร ยาวไม่น้อยกว่า 5 เมตร (หมวดที่ 9 ข้อที่ 86)
    - ในการก่อสร้างอาคาร ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องจัดทำรั้วชั่วคราวทึบสูงไม่น้อยกว่า 2 เมตร ปิดกั้นตามแนวที่อยู่ติดกันสาธารณะ หรือ บ้านข้างเคียง เว้นแต่จะมีรั้วทึบ หรือ กำแพงเดิมสูงไม่น้อยกว่า 2 เมตร (หมวดที่ 11 ข้อที่ 113)
    - ในระหว่างการก่อสร้างอาคาร ที่มีความสูงเหนือกว่าระดับดินเกิน 10 เมตร ด้านที่มีระยะราบวัดจากแนวอาคารด้านนอกถึงที่สาธารณะ หรือ ที่ดินต่างเจ้าของ น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของความสูงของอาคาร
    - ต้องจัดให้มีการกำจัดฝุ่นทำความสะอาดพื้นทุกวัน ต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันวัสดุร่วงหล่น มีความสูงไม่น้อยกว่าความสูงของอาคารที่ได้รับอนุญาต และต้องรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี ตลอดระยะเวลาการก่อสร้าง (หมวดที่ 11 ข้อที่ 113)
    - ห้ามก่อสร้าง หรือกระทำการใด ๆ ในบริเวณที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง ระหว่างเวลา 22.00-6.00 น (หมวดที่ 11 ข้อที่ 113)

*ข้อมูลอ้างอิง จากข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ.2534

  • ห้องนอนในอาคารให้มีด้านกว้าง สำหรับด้านที่แคบที่สุดไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร และพื้นที่ไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร           (ส่วนที่ 2 ข้อที่ 20)
  • ช่องทางเดินภายในบ้าน จะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร (ส่วนที่ 2 ข้อที่ 21)
  • ระดับความสูงของพื้นที่ถึงฝ้าเพดานภายในตัวบ้าน ต้องสูงไม่น้อยกว่า 2.6 เมตร(ส่วนที่ 2 ข้อที่ 22)
  • อาคารที่ก่อสร้างใกล้ คูคลอง ลำราง ลำประโดง แหล่งน้ำสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะนั้น ไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ถ้าแหล่งน้ำ สาธารณะที่มีความกว้าง 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารไม่น้อยกว่า 6 เมตร (หมวดที่ 4 ข้อที่ 42)
  • สำหรับอาคารที่ก่อสร้างใกล้แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ ต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 12 เมตร (หมวดที่ 4 ข้อที่ 42)
* ข้อมูลอ้างอิง จากกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543)
home page: http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน