ขนาด กระเบื้อง ว่าว


ขนาดกระเบื้องว่าว 9 x 9นิ้ว
ระยะห่างแป 14 ซม. Center to Center
ขนาดกระเบื้องว่าว 13 x 13นิ้ว
ระยะห่างแป 21 ซม. Center to Center
ความลาดชันหลังคาต่ำสุด
35 องศา
ความลาดชันหลังคาสูงสุด
45 องศา


จำนวนการใช้งาน
ขนาด 9" x 9"
26 แผ่น/ตรม.
ขนาด 13" x 13"
12 แผ่น/ตรม.
น้ำหนักคงที่ที่ใช้ในการออกแบบโครงหลังคา 9" x 9"
( 33.8 ) กก./ตรม.
น้ำหนักคงที่ที่ใช้ในการออกแบบโครงหลังคา 13" x 13"
( 38.4 ) กก./ตรม.

home page: http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน

ทำไมต้องประมูลราคาค่าก่อสร้าง

เมื่อกล่าวถึงเรื่องของการก่อสร้างอาคาร โรงงาน หรือโครงการใดๆ ก็ตาม เจ้าของโครงการย่อมต้องการที่จะให้ต้นทุนที่ใช้ในการก่อสร้างโครงการของตนนั้นต่ำที่สุด แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องการวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างที่มีคุณภาพด้วย ดังนั้น “การประมูลราคาค่าก่อสร้าง” ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถสนองความต้องการดังกล่าวของเจ้าของโครงการได้ วิธีการนี้ ทำให้เกิดการแข่งขันกันระหว่างผู้รับเหมาด้วยกัน โดยผู้รับเหมาที่เสนอราคาก่อสร้างต่ำที่สุด ภายใต้ Spec. การก่อสร้างที่เจ้าของโครงการกำหนดขึ้น จะเป็นผู้ชนะการประมูล และเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างในโครงการนั้นๆ ดังนั้น วิธีการนี้จึงนิยมนำมาใช้ในการจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อทำการก่อสร้างอาคาร หรือโครงการต่างๆ

เอกสารประกอบการเสนอประกวดราคาก่อสร้าง ได้แก่

- แบบก่อสร้าง (Drawings) มีจำนวนรวมทั้งหมดกี่แผ่นตามรายการสรุปจำนวนแบบก่อสร้าง ได้แก่ แบบด้านงานสถาปัตยกรรม โครงสร้าง งานครุภัณฑ์ งานไฟฟ้า งานสุขาภิบาล งานระบบปรับอากาศและระบบอากาศ งานระบบดับเพลิงและป้องกันเพลิงไหม้ งานลิฟท์ บันไดเลื่อน งานตกแต่งบริเวณ และจัดสวน โดยงานต่างๆ มีแบบแบ่งแยกเป็นชุดมาประกอบกัน หรือเขียนปะปนรวมกันอยู่
- รายละเอียดประกอบการก่อสร้าง (Specifications) โดยทั่วไปจะมีรายละเอียดของงานที่จะต้องเสนอประกวดราคาครบถ้วนหรือมีทั้งงานสถาปัตยกรรม งานโครงสร้าง งานระบบประกอบอาคารต่างๆ รวมอยู่ในเอกสารชุดเดียวกัน หรือแยกเป็นส่วนๆ ตามระบบงาน ขอบเขตความรับผิดชอบระหว่างงานต่างๆ ข้อความทั่วไปในรายละเอียดต่างๆ มีข้อควรสังเกตหรือที่มีผลต่อการบริหารดำเนินการในขณะก่อสร้างอย่างไรบ้าง
- เงื่อนไขทั่วไปในการเสนอราคาก่อสร้างและเงื่อนไขสัญญาก่อสร้าง (General conditions & Contract) ได้มีการกำหนดขอบเขตการเสนอราคาก่อสร้างไว้อย่างไร การเสนอราคาต้องมีการค้ำประกันการเสนอราคาอย่างไร สถานที่ติดต่อหากมีข้อสงสัยในด้านแบบและรายการประกอบการก่อสร้าง กำหนดการยื่นเสนอราคา มีการใช้สัญญาแบบปรับราคาได้หรือไม่ ตัวอย่างเงื่อนไขสัญญาก่อสร้างในด้านต่างๆ
- เอกสารสำหรับเสนอราคาก่อสร้าง (Proposal Form) กำหนดให้ใช้แบบฟอร์มใดในการเสนอราคา ให้เสนอราคารวมตอบขอบเขตงานทั้งหมด หรือเสนอราคารวมแต่มีการกรอกรายการเสนอราคาละเอียดตามเอกสาร รายการจำนวนวัสดุและราคาก่อสร้างหรือมีแต่หัวข้องานหมวดหมู่ต่างๆ มาให้ แต่ให้ลงรายการจำนวนวัสดุและราคาก่อสร้างเอง ซึ่งหากมีเอกสาร รายการจำนวนวัสดุและราคาก่อสร้างมาให้ลงรายการเสนอราคา จะต้องตรวจสอบว่าเป็นการจัดทำเอกสารโดยมีวิธีการสำรวจตรวจวัดอย่างไร มีข้อมูลแสดงไว้หรือไม่ จำนวนวัสดุที่แสดงไว้ ถือเป็นแนวทางให้ผู้เสนอราคาแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มลดจำนวน หรือรายการได้หรือไม่ หรือให้ผู้เสนอราคายึดถือจำนวนตามที่แสดงไว้ โดยลงรายการราคาการจัดหาจัดทำเท่านั้น โดยจะตรวจวัดจำนวนวัสดุที่ใช้จริงในขณะก่อสร้าง และเพิ่มลดเงินค่าก่อสร้างกันตามความเป็นจริงตามที่เสนอราคาการจัดทำต่อหน่วยไว้
home page: http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน

ก่อสร้างบ้านให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ต้องอาศัยใครบ้าง

การดำเนินการก่อสร้างโครงการทุกโครงการ ต้องอาศัยบุคลากรด้วยกันหลายฝ่าย เพื่อที่จะทำให้โครงการนั้นๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ได้แก่ 


1. เจ้าของโครงการ ได้แก่ บุคคลธรรมดา นิติบุคคล และกลุ่มนักลงทุนร่วมกัน
 2. ที่ปรึกษาโครงการ สำหรับโครงการขนาดใหญ่ อาจมีการตั้งทีมที่ปรึกษาโครงการเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในด้านต่างๆ เช่น ด้านความเป็นไปได้ทางการเงิน การบริหารโครงการ การควบคุมเวลา และงบประมาณในการดำเนินโครงการ เป็นต้น
 3. สถาปนิก-วิศวกร เป็นผู้ออกแบบโครงการก่อสร้างให้เป็นไปตามความต้องการของเจ้าของโครงการ เช่น การออกแบบสถาปัตยกรรม โครงสร้าง ระบบประกอบอาคาร ได้แก่ ระบบไฟฟ้า ระบบสุขาภิบาล ระบบปรับอากาศ ระบบลิฟท์ ทางเลื่อน รวมทั้งการตกแต่งภายในอาคาร เป็นต้น
 4. ผู้รับเหมาก่อสร้าง เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโครงการตามแบบ และรายละเอียดการก่อสร้าง โดยต้องดำเนินการบริหารการก่อสร้าง จัดหาวัสดุก่อสร้าง รวมทั้งทำการติดตั้งโดยใช้แรงงานประเภทต่างๆ
 5. ผู้ควบคุมการก่อสร้าง อาจเป็นไปได้ทั้งเจ้าของ ตัวแทนของเจ้าของ คณะที่ปรึกษา หรือสถาปนิก-วิศวกรผู้ออกแบบโครงการ โดยผู้ควบคุมการก่อสร้างจะเป็นผู้ตรวจสอบ และควบคุมดูแลให้การดำเนินการก่อสร้างเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
home page: http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน