หลังคาทรงสูง ภูมิปัญญา ที่ลงตัวกับบรรยากาศไทยและบ้านไทยประยุกต์


เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมหลังคาบ้านทรงไทยแบบดั้งเดิม ถึงมีองศาความชันหลังคาที่สูง หรือมีมุมแหลมมากกว่าที่จะเป็นมุมป้าน แน่นอนว่ารูปทรงแบบนั้นเป็นศิลปะของไทยมาแต่ช้านาน รวมถึงเป็นรสนิยม และแนวทางศิลปะ และสถาปัตยกรรมในยุคก่อน ถูกต้องว่านั่นคือส่วนประกอบหนึ่ง มากไปกว่านั้น มันคือหนึ่งในภูมิปัญญาที่ชาญฉลาดของคนโบราณที่บ่งบอกวิถีชีวิตในการอยู่อาศัยกับสภาพภูมิอากาศที่เจอทั้งร้อนทั้งฝนได้อย่างลงตัว นอกจากจะสวยงามมีเอกลักษณ์แล้ว ประโยชน์ใช้สอยคือหนึ่งในสิ่งที่สะท้อนเหตุผลที่ว่า ทำไมหลังคาทรงสูงจึงเหมาะกับบรรยากาศแบบไทยๆรวมถึงบ้านไทยประยุกต์ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
               

ด้วยความที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน และมีแสงแดดจ้าในตอนกลางวัน หลังคาทรงสูงนั้น จะช่วยให้อากาศภายในเบาเกิดการลอยตัว ที่สำคัญมุมสูงชัน ทำให้เกิดพื้นผิวรับแสงแดดได้น้อยกว่าหลังคามุมป้าน เนื่องจากหลังคามุมป้านมีองศาความชันน้อย หลังคาบ้านแผ่ตัวกว้าง ทำให้รับแสงแดดจากดวงอาทิตย์โดยตรงในตอนกลางวัน อีกทั้งยังส่งผลให้ตัวบ้านเก็บความร้อน และทำให้อบอ้าวในตอนกลางคืน ในขณะหลังคาทรงสูงที่มีความชัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดได้ดีกว่า ทำให้ความร้อนถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้านได้อย่างช้าๆ นั่นเอง นอกจากหลังคาที่มีความสูงชัน จะช่วยลดปัญหาความร้อนที่ได้รับจากแสงอาทิตย์ การสร้างชายคา หรือไขรา ให้มีความยาวเกินหลังคาเพื่อครอบคลุมและปกป้องฝาบ้านจากการแผดเผาของแสงแดด นอกเหนือไปกว่านั้น หลังคาทรงสูงที่มีความชันมาก ยังจะช่วยให้บ้านไทยประยุกต์ของคุณ พร้อมรับมือกับฝนตกชุกได้อย่างดี เพราะหลังคาทรงสูงจะช่วยทำหน้าที่ระบายน้ำได้รวดเร็วกว่าด้วย
               
นอกจากหลังคาทรงสูงที่เอื้อประโยชน์ให้กับบ้านไทยประยุกต์ในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศแบบไทยๆ แล้ว กระเบื้องหลังคาก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยให้บ้านไทยประยุกต์มีหลังคาที่สมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะกระเบื้องหลังคาที่ผสมผสานเทคโนโลยีไฟเบอร์ซีเมนต์ มีคุณสมบัติที่คงทนแข็งแรงต่อสภาพแวดล้อมที่แปรปรวนของบ้านเราที่เจอทั้งฝนทั้งแดด ยิ่งกระเบื้องหลังคามีลอนที่พลิ้วไหวขนาดพอเหมาะด้วยแล้ว ยิ่งทำให้หลังคาทรงสูงแบบไทยๆ ตอบโจทย์ทุกสภาพแวดล้อม และดูสวยงามคู่บ้านไทยประยุกต์ของคุณได้เป็นอย่างดี