ก่อสร้างโรงงานต้องมีระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัย

คลิกได้ที่นี่ดู แบบพิมพ์เขียวโกดัง แบบโกดังสำเร็จรูป แบบโรงงาน แบบโกดัง ทั้งหมด 

ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2540)ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
ข้อ 3 กำหนดไว้ดังนี้

"ข้อ 3 ในกรณีที่อาคารซึ่งก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายโดยได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติ
ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีสภาพหรือมีการใช้ที่อาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน หรือ
อาจไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัย หรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญ หรือกระทบกระเทือนต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ได้รับอนญุาตหรือ ใบรับแจ้ง ให้ก่อสร้า้ง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะขยายระยะเวลาออกไปอีกก็ได้ "

และข้อ 5ฯ กำหนดไว้ดังนี้

"ข้อ 5 ในกรณีที่อาคารตามข้อ 3 หรือข้อ 4 เป็นอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารขนาดใหญ่
อาคารสาธารณะ อาคารอยู่อาศัย โรงงาน ภัตตาคาร และสำนักงาน มีสภาพหรือมีการใช้ที่อาจไม่ปลอดภัย
จากอัคคีภัย ให้เ้จ้า้พนักงานท้องถิ่น มีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดำํเนินการแก้ไ้ขให้อาคารดังกล่าวมีระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัยภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำํหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่า
สามสิบวัน ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะขยายระยะเวลาออกไปอีกก็ได้
ในการสั่งการให้แก้ไขอาคารตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครอง
อาคารดำเนินการได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) อาคารที่มีความสูงตั้งแต่สี่ชั้นขึ้นไปให้ติดตั้งบันไดหนีไฟที่ไม่ใช่บันไดในแนวดิ่งเพิ่มจาก
บันไดหลักให้เหมาะสมกับพื้นที่ของอาคารแต่ละชั้น เพื่อให้สามารถลำ เลียงบุคคลทั้งหมดในอาคารออกนอก
อาคารได้ภายในหนึ่งชั่วโมง โดยไม่ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคารแต่ต้องยื่นแบบให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจ
พิจารณาให้ความเห็นชอบ และบันไดหนีไฟต้องมีลักษณะดังนี้
(ก) บันไดหนีไฟภายในอาคารต้องมีผนังทุกด้านโดยรอบที่ทำ ด้วยวัสดุที่ไม่ติดไฟ
(ข) ช่องประตูบันไดหนีไฟต้องเป็นบานเปิดทำ ด้วยวัสดุที่ไม่ติดไฟ พร้อมติดตั้ง
อุปกรณ์ชนิดบังคับให้บานประตูปิดได้เอง เพื่อป้องกันควันและเปลวไฟมิให้เข้าสู่บันไดหนีไฟ และมีความกว้าง
สุทธิไิม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร
(2) จัดให้มีการติดตั้งแบบแปลนแผนผังของอาคารแต่ละชั้นแสดงตำํแหน่งห้องต่างๆ ทุกห้อง
ตำแหน่งที่ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงต่างๆ ประตูหรือทางหนีไี ฟของชั้นนั้นติด ไว้ในตำํแหน่งที่เห็นได้ชัดเจนที่บริเวณห้องโถงหรือหน้า้ลิฟท์ทุกแห่งทุกชั้นของอาคาร และที่บริเวณพื้นชั้นล่างของอาคารต้องจัดให้มีแบบแปลนแผนผังของอาคารทุกชั้นเก็บรักษาไว้เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้โดยสะดวก
(3) ติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือตามชนิดและขนาดที่กำหนดไว้ในตารางท้ายกฎกระทรวงนี้อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับดับเพลิงที่เกิดจากประเภทของวัสดุที่มีในแต่ละชั้น โดยให้มี 1 เครื่องต่อพื้น
ที่ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร ทุกระยะไม่เกิน 45.00 เมตร แต่ไม่น้อยกว่าชั้นละ 1 เครื่อง
การติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือนี้ ต้องติดตั้งให้ส่วนบนสุดของตัวเครื่องสูงจากระดับพื้น
อาคารไม่เกิน 1.50 เมตร ในที่มองเห็น สามารถอ่านคำ แนะนำ การใช้ได้และสามารถเข้าใช้สอยได้สะดวก และต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา
(4) ติดตั้งระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทุกชั้น โดยระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้อย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(ก) อุปกรณ์ส่งสัญญาณเพื่อให้หนีไฟที่สามารถส่งเสียงหรือสัญญาณให้คนที่อยู่ใน
อาคารได้ยินหรือทราบอย่างทั่วถึง
(ข) อุปกรณ์แจ้งเหตุที่มีระบบแจ้งเหตุอัตโนมัติ และระบบแจ้งเหตุที่ใช้มือเพื่อให้อุปกรณ์ตาม (ก) ทำงาน
(5) ติดตั้งระบบไฟส่องสว่างสำ รองเพื่อให้มีแสงสว่างสามารถมองเห็นช่องทางเดินได้ขณะ
เพลิงไหม้ และมีป้ายบอกทางหนีไฟที่ด้านในและด้านนอกของประตูหนีไฟทุกชั้นด้วยตัวอักษรที่สามารถมอง
เห็น ได้ชัดเจนโดยตัวอักษรต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 10 เซนติเมตร
(6) ติดตั้งระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าซึ่งประกอบด้วยเสาล่อฟ้า สายล่อฟ้า สายตัวนำ
สายนำ ลงดิน และหลักสายดินที่เชื่อมโยงกันเป็นระบบ โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยทางไฟ
ฟ้า้ ของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
ในกรณีที่อาคารตามวรรคหนึ่งมีระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัยอยู่แล้ว แต่ไม่อยู่ใน
สภาพที่ใช้งานได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำ นาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารแก้ไขให้ระบบความ
ปลอดภัยดังกล่าวใช้งานได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในกรณีมีเหตุอันควรเจ้า
พนักงานท้องถิ่นจะขยายระยะเวลาออกไปอีกก็ได้ "

ดังนั้นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ ที่จะสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดำเนินการแก้ไขอาคารให้มีระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัยได้ หากตรวจสอบพบเห็นอาคารที่เข้าข่ายตามกฎกระทรวงฯ ข้อ3และข้อ5
สำหรับรายละเอียดของกฎกระทรวงฉบับที่ 47 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ท่านสามารถสืบค้นอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ เวปไซต์ของกรมโยธาธิการและผังเมือง
เมนูกฎหมาย www.dpt.go.th/