ความกว้างช่องทางเดินภายในโรงงาน

เรียนรู้และแบ่งปันความรู้ของ  บ้านไทยดีดี  คลิกที่นี่  http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/p/blog-page_78.html


ตาม กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543)ฯ ช่องทางเดินภายในอาคาร โรงงาน สำนักงาน อาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ อาคารพาณิชย์ มีความกว้างไม่น้อยกว่า1.50 ม.

ความหมายของ คลังสินค้า ตามกฎกระทรวง

เรียนรู้และแบ่งปันความรู้ของ  บ้านไทยดีดี  คลิกที่นี่  http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/p/blog-page_78.html



“คลังสินค้า” หมายความว่า อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่สำหรับเก็บสินค้าหรือสิ่งของเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืออุตสาหกรรม

ระยะร่นสำหรับ โรงงาน

เรียนรู้และแบ่งปันความรู้ของ บริษัท บ้านไทยดีดี จำกัด คลิกที่นี่  http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/p/blog-page_78.html



ที่ว่าง หมายถึง พื้นที่อันปราศจากหลังคาหรือสิ่งก่อสร้างปกคลุม บริเวณที่ว่างให้มีบ่อน้ำ ที่พักมูลฝอย ที่จอด รถที่อยู่นอกอาคารได้ รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่สูงจากระดับดินไม่เกิน 1.20 ม. ไม่มีหลังคาหรือสิ่งปกคลุมเหนือระดับนั้น
โรงงาน พท. อาคารทุกชั้นตั้งแต่ 500 - 1,000 ม^2. ต้องมีที่ว่างห่างจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 6 ม. ทุก ด้าน
โรงงาน พท. อาคารทุกชั้นตั้งแต่ 1,000 ม^2. ขึ้นไป ต้องมีที่ว่างห่างจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 10 ม. ทุกด้าน

ระยะร่นสำหรับโกดังเก็บสินค้า

เรียนรู้และแบ่งปันความรู้ของ  บ้านไทยดีดี  คลิกที่นี่  http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/p/blog-page_78.html

ที่ว่าง หมายถึง พื้นที่อันปราศจากหลังคาหรือสิ่งก่อสร้างปกคลุม บริเวณที่ว่างให้มีบ่อน้ำ ที่พักมูลฝอย ที่จอด รถที่อยู่นอกอาคารได้ รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่สูงจากระดับดินไม่เกิน 1.20 ม. ไม่มีหลังคาหรือสิ่งปกคลุมเหนือระดับนั้น
คลังสินค้า พท. อาคารทุกชั้นตั้งแต่ 100 - 500 ม^2. ต้องมีที่ว่างห่างจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 6 ม.สองด้าน ด้านอื่นที่ว่างไม่น้อยกว่า 3 ม.
คลังสินค้า พท. อาคารทุกชั้นตั้งแต่ 500 ม^2. ขึ้นไป ต้องมีที่ว่างห่างจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 10 ม. สองด้าน ด้านอื่นที่ว่างไม่น้อยกว่า 5 ม.

สถานที่ห้ามตั้งโรงงาน

เรียนรู้และแบ่งปันความรู้ของ บ้านไทยดีดี  คลิกที่นี่  http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/p/blog-page_78.html

โรงงานจำพวกที่ 1, 2 และ 3 ห้ามตั้งโรงงานในบริเวณบ้านจัดสรร อาคารชุด และบ้านเพื่ออาศัย
โรงงานจำพวกที่ 1 และ 2 ห้ามประกอบกิจการภายในระยะ 50 เมตร จากเขตติดต่อสาธารณสถาน ได้แก่ โรงเรียน วัด โรงพยาบาล โบราณสถาน แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
โรงงานจำพวกที่ 3 ห้ามประกอบกิจการโรงงานในระยะ100 เมตร จากเขตติดต่อสาธารณสถาน และต้องอยู่ในสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอ ไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุรำคาญ หรือความเสียหายต่อบุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น

กฎหมายโรงงานกำหนดแบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภท

เรียนรู้และแบ่งปันความรู้ของ  บ้านไทยดีดี  คลิกที่นี่  http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/p/blog-page_78.html


ตามกฎหมายโรงงานแล้ว "โรงงาน" เป็นอาคารสถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 5 แรงม้า หรือเทียบเท่า หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม เพื่อผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุงแปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือ ทำลายสิ่งใดๆ ตามประเภทหรือชนิดกิจการที่กำหนดในกฎกระทรวงอุตสาหกรรม 104 ประเภท

         กฎหมายโรงงานกำหนดแบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภท ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการควบคุมการป้องกันเหตุเดือดร้อน รำคาญการป้องกันความเสียหาย และการป้องกันอันตรายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่จะมี ต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม คือ
         โรงงานจำพวกที่ 1 ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันที
         โรงงานจำพวกที่ 2 ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่เมื่อจะประกอบกิจการโรงงาน ต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบก่อน
         โรงงานจำพวกที่ 3 ได้แก่โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่การตั้งจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินการ

โรงงานจำพวกที่ 1
         - เป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า ไม่ก่อปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมหรือเหตุเดือดร้อนอันตราย เช่น ฟักไข่โดยใช้ตู้อบ ซ่อมรองเท้า ทำเครื่องหนัง ทำขนมจีน ไอศกรีม
         - ผู้ผลิตไม่ต้องขออนุญาต
         - ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบางพื้นที่
         - ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ รวมทั้งออกแบบก่อสร้าง

โรงงานจำพวกที่ 2
         - เป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรเกิน 20 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้า อาจก่อปัญหามลพาหรือเหตุเดือดร้อนรำคาญเล็กน้อยแก้ไขปรับปรุงได้ไม่ยาก เช่น การขุดลอก
กรวด ทราย ดิน การลำเลียงหิน กรวด/ทราย/ดิน ด้วยสายพานลำเลียงโรงงานผลิตน้ำดื่ม ไอศกรีม โรงผลิตน้ำแข็งใช้เครื่องจักร ไม่เกิน 50 แรงม้า
         - ผู้ผลิตไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนทำงาน
         - ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบางพื้นที่
         - ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ รวมทั้งออกแบบก่อสร้าง
         - เสียค่าธรรมเนียมรายปี

โรงงานจำพวกที่ 3
         - เป็นโรงงานที่ไปใช้เครื่องจักรเกิน 50 แรงม้า อาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษหรือเหตุเดือดร้อน รำคาญ หรือเหตุอันตรายต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น โรงงานน้ำตาล
โรงงานผลิตกระดาษ โรงงานผลิตสุรา โรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น
         - ผู้ผลิตต้องขออนุญาตก่อนเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วจึงตั้งโรงงานได้
         - ก่อนดำเนินกิจการต้องแจ้งขอประกอบกิจการก่อน
         - ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบริเวณบางแห่ง
         - ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ รวมทั้งออกแบบก่อสร้าง
         - เสียค่าธรรมเนียมรายปี และเสียค่าใบอนุญาตประกอบกิจการ

หมายเหตุ
         1. โรงงานจำพวกที่ 1, 2, 3 ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบริเวณบ้านจัดสรรเพื่อการพักอาศัยอาคารชุดพักอาศัยและบ้านแถวเพื่อการพักอาศัย
         2. โรงงานจำพวกที่ 1, 2 ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานภายในระยะ 50 เมตร จากเขตติดต่อโรงเรียน สถาบันการศึกษา วัด ศาสนสถาน โรงพยาบาล โบราณสถาน สถานที่ทำงานของหน่วยงานของรัฐ แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง
         3. แวดล้อมตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ต้องตั้งอยู่ในทำเล และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอที่จะประกอบกิจการตามประเภทหรือชนิดของโรงงานโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย

โทษทางกฎหมาย
         1. กรณีโรงงานจำพวกที่ 2 หากผู้ประกอบกิจการโรงงานดำเนินการโดยไม่แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
         2. กรณีโรงงานจำพวกที่ 3 หากผู้ใดประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต หรือตั้งโรงงาน โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ต้องระวางโทษจำคุก 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

        การประกอบกิจการโรงงานในระหว่างที่มีคำสั่งหยุดประกอบกิจการหรือภายหลังที่มีคำสั่งประกอบโรงงาน จะต้องระวางโทษจำคุก 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท และยังต้องถูกปรับรายวันอีก วันละ 5,000 บาท จนกว่าจะหยุดประกอบกิจการ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งให้แก้ไขปรับปรุง หรือสั่งให้ระงับการกระทำ หรือให้กระทำใดๆ ต้องระวางโทษจำคุกหรือปรับ และต้องถูกปรับรายวัน วันละไม่เกิน 5,000 บาท ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนเช่นกัน

ระยะที่ว่างด้านหลังของอาคารพาณิชย์

เรียนรู้และแบ่งปันความรู้ของ  บ้านไทยดีดี  คลิกที่นี่  http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/p/blog-page_78.html

กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2522)ฯ ข้อ 33 กำหนดไว้ดังนี้
ห้องแถวหรือตึกแถว ต้องมีที่ว่างด้านหลังอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร เพื่อใช้ติดต่อถึงกันโดยไม่ให้มีส่วนใดของอาคารยื่นลํ้าเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว เว้นแต่การสร้างบันไดหนีไฟภายนอกอาคารที่ยื่นลํ้าไม่เกิน 1.40 เมตร

ความหมายของอาคารพาณิชย์ตามกฎกระทรวง

เรียนรู้และแบ่งปันความรู้ของ  บ้านไทยดีดี  คลิกที่นี่  http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/p/blog-page_78.html

กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2522)ฯ ข้อ 1 กำหนดไว้ดังนี้
“อาคารพาณิชย์” หมายความว่า อาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการพาณิชยกรรม หรือบริการธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังการผลิตเทียบได้ไม่เกิน 5 แรงม้าและให้หมายความรวมถึงอาคารอื่นใดที่ก่อสร้างห่างจากถนนหรือทางสาธารณะไม่เกิน 20 เมตร ซึ่งอาจใช้เป็นอาคารเพื่อประโยชน์ในการพาณิชยกรรมได้

การออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัยอพาร์ทเม้นท์

1 กรณีอาคารที่ก่อสร้างไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษให้ติดตั้งบันไดหนีไฟและอุปกรณ์เกี่ยวกับการป้อองกันอัคคีภัยตามกฎกระทรวงฉบับที่39(พ.ศ.2537)กฎกระทรวงฉบับที่47(พ.ศ.2540)และกฎกระทรวงฉบับที่55(พ.ศ.2543)และประกาศกรุงเทพมหานครเรื่องข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟและทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร พ.ศ. 2531
2 กรณีอาคารที่ก่อสร้างเข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษให้ติดตั้งบันไดหนีไฟและระบบเกี่ยวกับการป้องกันอัคคี
ภัยตามกฎกระทรวงฉบับที่33(พ.ศ.2535)กฎกระทรวงฉบับที่50(พ.ศ.2540)และประกาศกรุงเทพมหานครเรื่องข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟและทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร พ.ศ. 2531