“โรงงาน” หมายความว่าอะไร

รวมเทคนิคการออกแบบและก่อสร้างอาคาร คำแนะนำ เทคนิคดีๆโดยคุณบี(คลิกเข้าดู) http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/p/0867431141_21.html

กฏกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543)ฯดังต่อไปนี้
“สำนักงาน” หมายความว่า อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นสำนักงานหรือที่ทำการ
“คลังสินค้า” หมายความว่า อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่สำหรับเก็บสินค้าหรือสิ่งของเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืออุตสาหกรรม
“โรงงาน” หมายความว่า อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน

เขียนบทความโดย 
คุณ "บี" โทร 0867431141 ขอคำปรึกษาสอบถามได้ตลอดครับ ยินดีมากๆ
รับออกแบบบ้านและอาคาร  เขียนแบบบ้าน  พร้อมให้คำแนะนำ เทคนิคดีๆ 
รับเขียนแบบ รับเขียนแบบก่อสร้าง  แบบยื่นขออนุญาตก่อสร้าง แบบอพาร์ทเม้นท์ แบบคอนโด แบบโรงแรม แบบโรงงาน แบบโกดัง แบบอาคารพาณิชย์ แบบทาวน์เฮ้าส์ แบบสำนักงาน  แบบบ้าน  แบบขออนุญาต  ออกแบบพร้อมก่อสร้าง รับเขียนแบบก่อสร้างอาคารทุกประเภท

กฎหมายโรงงาน

รวมเทคนิคการออกแบบและก่อสร้างอาคาร คำแนะนำ เทคนิคดีๆโดยคุณบี(คลิกเข้าดู) http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/p/0867431141_21.html


กฎหมายโรงงานที่ผู้ประกอบการควรรู้
โรงงานคืออะไร
– อาคาร สถานที่หรือยานพาหนะ (เช่น เรือดูดทราย)
– ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5 แรงม้า หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป
– เพื่อผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุงแปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือ ทำลายสิ่งใด ๆ
– ตามประเภทหรือชนิดกิจการที่กำหนดในกฎกระทรวงอุตสาหกรรม 104 ประเภท

โรงงานแบ่งออกเป็น 3 จำพวก

โรงงานจำพวกที่ 1
– เป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า ไม่ก่อปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมหรือเหตุเดือดร้อนอันตราย เช่น ฟักไข่โดยใช้ตู้อบ ซ่อมรองเท้า ทำเครื่องหนัง ทำขนมจีน ไอศกรีม
– ไม่ต้องขออนุญาต
– ห้ามตั้งโรงงานในบางพื้นที่
– ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ

โรงงานจำพวกที่ 2
– เป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรเกิน 20 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้า อาจก่อปัญหามลพาหรือเหตุเดือดร้อนรำคาญเล็กน้อยแก้ไขปรับปรุงได้ไม่ยาก เช่น การขุดลอก กรวด ทราย ดิน การลำเลียงหิน กรวด/ทราย/ดิน ด้วยสายพานลำเลียงโรงงานผลิตน้ำดื่ม ไอศกรีม โรงผลิตน้ำแข็งใช้เครื่องจักร ไม่เกิน 50 แรงม้า
– ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนทำงาน
– ห้ามตั้งโรงงานในบางพื้นที่
– ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ
– เสียค่าธรรมเนียมรายปี

โรงงานจำพวกที่ 3
– เป็นโรงงานที่ไปใช้เครื่องจักรเกิน 50 แรงม้า อาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษหรือเหตุเดือดร้อน รำคาญ หรือเหตุอันตรายต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น โรงงานน้ำตาล โรงงานผลิตกระดาษ โรงงานผลิตสุรา โรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น
– ต้องขออนุญาตก่อนเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วจึงตั้งโรงงานได้
– ก่อนดำเนินกิจการต้องแจ้งขอประกอบกิจการก่อน
– ห้ามตั้งโรงงานในบริเวณบางแห่ง
– ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ
– เสียค่าธรรมเนียมรายปี
– เสียค่าใบอนุญาตประกอบกิจการ

หมายเหตุ
1. โรงงานจำพวกที่ 1,2,3
– ห้ามตั้งโรงงานในบริเวณบ้านจัดสรรเพื่อการพักอาศัยอาคารชุดพักอาศัยและบ้านแถวเพื่อการพักอาศัย
2. โรงงานจำพวกที่ 1,2
– ห้ามตั้งโรงงานภายในระยะ 50 เมตร จากเขตติดต่อโรงเรียน สถาบันการศึกษา วัด ศาสนสถาน โรงพยาบาล โบราณสถาน สถานที่ทำงานของหน่วยงานของรัฐ แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
– ต้องตั้งอยู่ในทำเล และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอที่จะประกอบกิจการตามประเภทหรือชนิดของโรงงานโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย

การประกอบกิจการของโรงงานจำพวกที่ 2
การประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 จะต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนที่จะประกอบกิจการโรงงาน เพื่อขอใบรับแจ้งประกอบกิจการโดยใช้หลักฐานประกอบการขออนุญาต ดังนี้
1. สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบุคคลธรรมดา)
2. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ที่ระบุชื่อผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล ที่ตั้งสำนักงาน วัตถุประสงค์นิติบุคคล (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล)
3. แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณโรงงานขนาดเหมาะสมและถูกต้องตามมาตราส่วน
4. เอกสารอื่นตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด

การประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3
การประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ต้องขออนุญาตก่อน เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว จึงจะตั้งโรงงานได้ โดยใช้หลักฐานประกอบการขออนุญาต ดังนี้
1. สำเนาทะเบียนและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบุคคลธรรมดา)
2. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ที่ระบุชื่อผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล ที่ตั้งสำนักงาน วัตถุประสงค์นิติบุคคล (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล)
3. แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณโรงงานขนาดเหมาะสมและถูกต้องตามมาตราส่วน
4. แผนผังแสดงการติดตั้งเครื่องจักรขนาดเหมาะสมและถูกต้องตามมาตราส่วน โดยมีคำรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือบุคคลอื่นที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด
5. แบบแปลนอาคารโรงงานขนาดเหมาะสมและถูกต้องตามมาตราส่วน โดยมีคำรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือบุคคลอื่นที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด
6. แบบแปลน แผนผัง และคำอธิบายโดยละเอียดแสดงวิธีป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ ความเสียหาย อันตราย การควบคุมการปล่อยของเสียมลพิษใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน ทั้งนี้ โดยมีคำรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือบุคคลอื่นที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด
7. เอกสารอื่น ๆ ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด

การขยายโรงงาน
– การเพิ่มจำนวน เปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร ทำให้มีกำลังรวมเพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป ในกรณีที่เครื่องจักรเดิมมีกำลังรวมไม่เกิน 100 แรงม้า หรือกำลังเทียบเท่าไม่เกิน 100 แรงม้า หรือเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 50 แรงม้า ขึ้นไป ในกรณีเครื่องจักรเดิมมีกำลังรวม เกิน 100 แรงม้า หรือ กำลังเทียบเท่าเกินกว่า 100 แรงม้า
– การเพิ่มหรือแก้ไขส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารโรงงานทำให้รากฐานเดิมของอาคารโรงงานฐานใดฐานหนึ่งต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 500 กิโลกรัม ขึ้นไป
– การขยายโรงงานต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตก่อนจึงจะดำเนินการตั้งตัวเครื่องจักรได้

การโอนใบอนุญาต
ผู้ปะกอบอุตสาหกรรมจะต้องเตรียมเอกสารประกอบคำขอรับโอนกิจการ ดังนี้
1. สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีผู้ขอรับโอนเป็นบุคคลธรรมดา)
2. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุชื่อผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล ที่ตั้งสำนักงาน วัตถุประสงค์ของนิติบุคคล (กรณีผู้ขอรับโอนเป็นนิติบุคคล)
3. สำเนาสัญญาเช่าหรือเช่าซื้อโรงงาน
4. สำเนาสัญญา ชื้อขายโรงงาน
5. สำเนาหลักฐานการโอนการประกอบกิจการโรงงาน
6. บัญชีทายาท (ในกรณีทายาทมากกว่าหนึ่งคน ให้แสดงหลักฐานที่บรรดาทายาทอื่น ๆ ทุกนามให้ความยินยอม) และสำเนาใบมรณะบัตร
7. หลักฐานแสดงความเป็นผู้จัดการมรดก และสำเนาใบมรณะบัตร
8. สำเนาคำสั่งศาลแสดงว่าเป็นผู้มีสิทธิขอรับโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
การเลิกประกอบกิจการโรงงาน
ถ้าผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ประสงค์จะเลิกประกอบกิจการต้องดำเนินการ ดังนี้
1. ผู้รับอนุญาตต้องยื่นคำขอและชี้แจงเหตุผลต่อผู้อนุญาต ผู้อนุญาตสามารถมีหนังสือสั่งให้ยกเลิก
2. การเลิกประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันเลิกประกอบกิจการ
3. การเลิกประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 เลิกประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อผู้อนุญาตภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันเลิกประกอบกิจการโรงงาน
การดำเนินคดีกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
เจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ สามารถสั่งดำเนินคดีกับโรงงานได้ทั้ง 3 จำพวก ถึงแม้ว่า โรงงานจำพวกที่ 1 และ 2 ไม่ต้องขออนุญาตตั้งโรงงานก็ตามนอกจากนั้นกฎหมายใหม่ยังให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจเข้าตรวจโรงงานหรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสาร มีอำนาจสั่งแก้ไขปรับปรุงโดยมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิด พ.ร.บ. โรงงาน และที่สำคัญมีอำนาจสั่งให้เปรียบเทียบ โดยคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีได้ โดยไม่ต้องถูกฟ้องร้องต่อศาล
ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานทุกจำพวกไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินอาจถูกสั่งให้หยุดประกอบกิจการโรงงาน ถูกสั่งปิดโรงงาน กรณีเป็นโรงงานจำพวกที่ 3 สั่งปิดโรงงานเท่ากับเป็นการเพิกถอนใบอนุญาตด้วยทันที

โทษทางกฎหมาย
1. กรณีโรงงานจำพวกที่ 2
หากผู้ประกอบกิจการโรงงานดำเนินการโดยไม่แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. กรณีโรงงานจำพวกที่ 3
หากผู้ใดประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต หรือตั้งโรงงาน โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ต้องระวางโทษจำคุก 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การประกอบกิจการโรงงานในระหว่างที่มีคำสั่งหยุดประกอบกิจการหรือภายหลังที่มีคำสั่งประกอบโรงงาน จะต้องระวางโทษจำคุก 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท และยังต้องถูกปรับรายวันอีก วันละ 5,000 บาท จนกว่าจะหยุดประกอบกิจการ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งให้แก้ไขปรับปรุง หรือสั่งให้ระงับการกระทำ หรือให้กระทำใด ๆ ต้องระวางโทษจำคุกหรือปรับ และต้องถูกปรับรายวัน วันละไม่เกิน 5,000 บาท ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนเช่นกัน